การใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

ปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้นพืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ10 ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมด จะทำปฏิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก พืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งปุ๋ยชนิดเดียวกันสูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิเช่นปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้องการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้ แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า “เกรด ปุ๋ย” หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O)สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ย เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามี อยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ มีอยู่ 5 กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม และเป็นที่ ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้ เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหาร ในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดิน นาในภาคกลาง ซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น ปุ๋ยสูตร 18-46-0 , 28-28-0 , 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น
สำหรับ “เรโช” ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสูตรปุ๋ย เรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อย ๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ของสูตรปุ๋ยนั้น ๆ เช่น 16-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8
20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหาร ตลอดด้วย 5
นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกัน ที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก 30 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก 60 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่า เป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดัง นั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา 50 กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะ ต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง 25 กก. / ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน
ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง ก็จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่ง และแต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน ส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณ และสัดส่วน เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้น สามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมี
ปุ๋ยที่มีเรโชของ N สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ P และ K มักจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้น เร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบ หรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรง ส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย ระดับความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสาน และภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น

(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโต และให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่าง ๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ย จะช่วยยกระดับธาตุอาหาร ที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุอาหารนั้น ๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วง จังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ
(1) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก และการเติบโตในระยะ 30-45 วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่
(2) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอ และระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นระยะที่มีอายุ 45 – 60 วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก และ
(3) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้ จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืช ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
3.1 การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
3.2 การใส่ครั้งแรกคือ ใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทสเซียมนั้น จะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
3.3 การใส่ครั้งที่สอง ควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมาก ๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่ เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก เพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเตรท จะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทัน ก็จะสูญเสียไปหมด และไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไป โดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้ จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูก ชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดี จะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยา เพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเตรท (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก
ฟอสฟอรัสในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่าย แต่เมื่ออยู่ในดิน จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่าย ก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิม ก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1-5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืช จึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุด เพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดิน จะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไป ได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจน ที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่า ใส่บนผิวดิน
ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟต แต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ย ละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากมีประจุบวก ซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม จึงสามารถใส่บนผิวดิน หรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจน และในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็ จะน้อยกว่าด้วย
วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด คือ พืชใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ลดการสูญเสีย ให้ใช้คาถา 4 ถูก คือ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี
ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร
หมายถึง ใส่ปุ๋ยสูตรเหมาะสม มีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และภูมิอากาศ
เช่น ปลูกข้าวในนาดินทรายแต่จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ที่ใช้กับนาดินเหนียว แบบนี้เรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตร เพราะนาดินทรายควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หรือ 16-16-8 จะถูกสูตรมากกว่า และถ้าจะให้ใส่ปุ๋ยถูกสูตรที่สุดควรต้องวิเคราะห์ดินแล้วคำนวณหาสูตรปุ๋ยสั่งตัดรายแปลงก็จะยิ่งได้ปุ๋ยที่ถูกสูตรมากยิ่งขึ้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอหรือพอดีกับความต้องการของพืช เช่น ปุ๋ยสั่งตัดสำหรับมันสำปะหลังให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-20 จำนวน 70 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าใส่ 100 กิโลกรัมก็มากเกินไปเกิดความสูญเสียไป 30 กิโลกรัมโดยไม่ได้ผลผลิตเพิ่ม หรือถ้าใส่เพียง 40 กิโลกรัมต่อไร่ก็น้อยเกินไป ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกเวลา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ถ้าจะใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลโต หรือเพิ่มน้ำหนัก ก็ต้องใส่ปุ๋ยก่อนช่วงที่พืชจะต้องใช้งานอย่างน้อย 30 วัน เพราะโพแทสเซียมเป็นธาตุเคลื่อนย้ายช้า ถ้าไปใส่ตอนที่ผลโตแล้วเรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกเวลา เพราะกว่าปุ๋ยจะถูกลำเลียงขึ้นไปถึงใบ ผลก็แก่ได้เวลาเก็บไปแล้ว ปุ๋ยที่ใส่จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย หรือใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังก็ต้องใส่ในช่วงอายุ 45-90 วัน เพราะระบบรากสมบูรณ์ดีที่สุด ถ้าไปใส่ตอน 8 เดือนเพื่อระเบิดหัวจะไม่ได้ผลเพราะมันสำปะหลังอายุเกิน 4 เดือนเหลือรากน้อยมาก เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจึงมักสูญเสียไปมากกว่าจะโดดดูดมาใช้
ใส่ปุ๋ยให้ถูกวิธี
เช่น เวลาจะใส่ปุ๋ยนาข้าวก็อย่าใส่ตอนที่ระดับน้ำลึกนัก ปุ๋ยจะละลายหายไปเสียหมด ให้ใส่ตอนที่มีระดับน้ำประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือใส่ปุ๋ยยางพารา ปาล์มน้ำมัน หรือไม้ผล ก็ให้ใส่ที่แนวรัศมีพุ่มใบเพราะรากฝอยพืชอยู่บริเวณนั้น ไม่ใช่ใส่จนชิดโคนต้นที่มีแต่รากฝอยใหญ่ๆ ที่ดูดธาตุอาหารไม่ได้ เป็นต้น และดีที่สุดคือใส่ปุ๋ยแล้วควรกลบเพื่อลดการสูญเสีย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และ NPK Thailand

*** แนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพในนาข้าว ***


-ระยะต้นกล้า ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 


-ระยะแตกกอ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะสร้างรวงสร้างช่อดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง+ดินเทพ 5-10ซีซี ผสมน้ำ 100ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

*** วิธีการใช้ดินเทพช่วงเตรียมดิน ***
– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40 – 50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นลงดินให้ทั่วแปลง 1 ไร่
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-