Tag Archives: จุลินทรีย์ในดิน

การดูแลไม้ผลหลังเก็บเกี่ยว

การเตรียมสภาพต้น ให้พร้อมสำหรับการออกดอก


ประเด็นสำคัญประการหนึ่งในการจัดการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ ได้แก่การชักนำให้ออกดอกในเวลาและปริมาณที่ต้องการ และการที่จะสามารถควบคุมกระบวนการออกดอกของทุเรียนได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการออกดอก เพื่อให้สามารถกำหนดเป็นวิธีการจัดการที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละช่วงของการพัฒนาการของพืช ในสภาพการปลูกทุเรียนโดยทั่วไปจะพบว่า สภาพของต้นที่ได้รับการ บำรุงรักษาเป็นอย่างดี มีใบสมบูรณ์ในปริมาณหนาแน่นพอสมควรจะออกดอกได้มาก และสม่ำเสมอกว่าต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย และยังพบอีกว่าก่อนที่ทุเรียนจะออกดอกนั้น จะต้องมีการพักตัวในช่วงแล้งมาระยะหนึ่ง เมื่อมีการจัดการน้ำที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ออกดอกได้ โดยต้นที่มีความสมบูรณ์มากกว่า ก็จะตอบสนองต่อการจัดการน้ำได้ดีกว่าด้วย ดังนั้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก ของทุเรียนที่สำคัญ ได้แก่


1. ความสมบูรณ์ต้น หมายถึงต้นต้องมีใบสมบูรณ์ ปริมาณหนาแน่นพอควร สีเขียวสดใส เป็นมัน เป็นใบแก่ทั้งต้น ไม่มีการเข้าทำลายของโรคและแมลง หรือมีน้อยใบแก่ที่สมบูรณ์เหล่านี้จะเป็นแหล่งสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารที่สำคัญ ของทุเรียน นอกเหนือจากลำต้นและราก สำหรับใช้ในกระบวนการออกดอก การพัฒนาการของดอก ผล และใบอ่อน ต่อไป โดยปกติแล้วต้นทุเรียนจะมีการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง การแตกใบอ่อนชุดที่สอง จะมีปริมาณใบมากกว่าชุดแรกประมาณ 10 – 15 % และใบอ่อน จะใช้เวลาประมาณ 35–45 วัน ในการพัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ จะสังเกตพบว่าต้นที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าสู่ กระบวนการออกดอกหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 พัฒนาเป็นใบแก่ได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่รากมีการพัฒนาสูงสุด และมีความสมบูรณ์เต็มที่
2. สภาวะเครียดเนื่องจากขาดน้ำ ต้นทุเรียนต้องการช่วงแล้งที่ต่อเนื่องกันนานประมาณ 15 – 30 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ ต้นเกิดความเครียด เนื่องจากการขาดน้ำ และกระตุ้นให้เกิด การสังเคราะห์สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชทำให้สัดส่วนของสารควบคุมฯภายใน พืชเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในระดับ ที่พอเหมาะต่อกระบวนการออกดอก
ดังนั้นจึงพอจะสรุปคำแนะนำการปฏิบัติในระยะเตรียมสภาพต้นให้พร้อมเพื่อการออกดอกในแต่ละชนิดพืชได้ ดังนี้คือ1. ตัดแต่งกิ่งทันทีภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
2. ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 อัตรา 250-300 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3- 5 กิโลกรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร
3. ดึงใบอ่อนชุดที่ 1 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 27-5-5 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน จะช่วยให้ทุเรียนออก ใบอ่อนพร้อมกันและเร็วขึ้น
4. ป้องกันและรักษาใบอ่อนชุดที่ 1 ไม่ให้แมลงและโรคเข้าทำลายด้วยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
5. ดึงใบอ่อนชุดที่ 2 และ 3 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 27-5-5 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) และรักษาใบอ่อนชุดที่ 2 และ3 ให้สมบูรณ์ไม่ให้มีโรคและแมลงเข้าทำลาย
6. ในระยะใบเพสลาดของใบชุดที่ 3 หรือก่อนออกดอก 30-45 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 14-7-28 อัตรา 200 – 250 กรัม เพื่อหยุดการพัฒนาการของตาใบ และให้ใบสะสมอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม ที่ไม่ถูกแสงแดดออก
7 เมื่อใบทุเรียนแก่จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็ว สังเกตอาการของใบ เมื่อใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะหนาเป็นมัน ปลายยอดตั้งชันขึ้น หยุดการให้น้ำเพื่อให้ต้นทุเรียนผ่านสภาพแล้ง แต่ต้องหมั่นสังเกตลักษณะของใบและสภาพภูมิอากาศ ถ้าอากาศแห้งแล้งและร้อนจัดมาก ใบเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ควรให้น้ำได้บ้างในปริมาณน้อย
9. เมื่ออากาศเย็นและผ่านช่วงแล้งต่อเนื่องกันนาน 10-15 วันต้นทุเรียนจะออกดอกได้มากและเป็นรุ่นเดียวกันแต่ถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เหมาะสม ทุเรียนจะออกดอกน้อยและมีดอกหลายรุ่นในต้นเดียวกันทำให้ยุ่งยากในการจัดการ

 

การดูแลรักษาระยะดอก


1. หลังจากดอกทุเรียนเข้าสู่ระยะเหยียดตีนหนู ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นทีละน้อย ถ้าให้น้ำมากจนเกินไป กลุ่มตาดอกอาจจะกลายเป็นกิ่งแขนงได้
2. ระยะกระดุมมะเขือพวงจนถึงดอกบาน ควรฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลง (เพลี้ยไฟ หนอน เจาะดอก) อย่างน้อย 2 ครั้ง
3. ก่อนดอกบาน 4-7 วัน ควรลดปริมาณการให้น้ำเพื่อทำให้เกสรดอกตัวเมียมีความเหนียว เตรียมพร้อมรับการผสมให้มากขึ้น และยังช่วยให้ดอกทุเรียนไม่บานจนเกินไป
การใส่ปุ๋ย – ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 1.5 กิโลกรัม / ต้น
– ปริมาณการให้น้ำ ระยะเหยียดตีนหนู 100 ลิตร / ต้น / วัน
– ระยะกระดุมมะเขือพวง 150 ลิตร / ต้น / วัน
– ระยะหัวกำไล 100 ลิตร / ต้น / วัน
ระยะเหยียดตีนหนู – ระยะหัวกำไล ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-52-7 อัตรา 200 กรัม + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
6. ระยะดอกบาน แนวทางการปฏิบัติ
– ช่วยผสมเกสรด้วยวิธีการปัดดอก ในช่วงเวลา 19.00-21.00 น.
– จดบันทึกวันดอกบาน เพื่อมากำหนดปฏิทินในการดูแลทุเรียนในแต่ละระยะและวางแผนในการเก็บเกี่ยว
***ห้ามฉีดพ่นสารเคมี/สารชีวภัณฑ์ทุกชนิด***
7. ระยะ 10 วันหลังดอกบาน ระยะนี้ทุเรียนจะเริ่มเข้าสู่ระยะการติดผล
– ควรฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลง (เพลี้ยไฟ) เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทุเรียนหนามจีบ
– ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการให้น้ำ ไม่ควรให้น้ำมากจนเกินไปจะทำให้ผลทุเรียนร่วงได้
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1.0 กิโลกรัม / ต้น
การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 100 ลิตร / ต้น / วัน การพ่นอาหารเสริม/ป้องกันโรคและแมลง (อัตรา / น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด 10-52-7 อัตรา 200 กรัม+ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
8. ระยะ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะไข่ไก่)
ระยะนี้ทุเรียนกำลังเข้าสู่การพัฒนาเปลือกและเมล็ดควรมีแนวทางดังนี้ ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมออก (คงเหลือไว้ 2-3 เท่าของจำนวนที่ต้องการไว้ผล)
ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) การใส่ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-11-18 หรือ 12-12-24 และ 15-15-15 อัตรา 1.5+0.5 กิโลกรัม / ต้นการให้น้ำปริมาณการให้น้ำ 200 ลิตร / ต้น / วัน
9. ระยะ 5-8 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะกระป๋องนม)
ระยะนี้ทุเรียนสร้างเมล็ดเสร็จสมบูรณ์และกำลังพัฒนาเนื้ออย่างรวดเร็วควรมีแนวทางดังนี้ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม (เหลือไว้ตามจำนวนที่ต้องการไว้ผล) ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) ควรโยงกิ่งให้มีความมั่นคง แข็งแรงสามารถรับน้ำหนักผลผลิตต่อกิ่งได้ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-11-18 อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม/ต้น การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 250 ลิตร / ต้น / วัน
การตัดแต่งผล ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ก้นจีบ เก็บผลที่มีลักษณะหนามสวย ขั้วผลใหญ่ ผลเดี่ยว ควรให้มีระยะระหว่างผล 30-50 เซนติเมตร ผลกลุ่มๆละ 2-4 ผล ห่างกันกลุ่มละ 1-2 เมตร ควรปลิดผลทุเรียนรุ่นที่มีผลผลิตน้อยกว่าออกการพ่นอาหารเสริม / ป้องกันโรคและแมลง (อัตรา / น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำตาลทางด่วน อัตรา 200 มิลลิลิตร ปุ๋ยเกล็ด 12-27-23 อัตรา 500 กรัม+ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
**ฉีดพ่นเดือนละ 2 ครั้งจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20-30 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม**
10. ระยะ 8-10 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะขยายพู)
ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม (เหลือไว้ตามจำนวนที่ต้องการไว้ผล) ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) ควรโยงกิ่งให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักผลผลิตต่อกิ่งได้ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-3-36 หรือ 15-15-15 อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม/ต้น การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 300 ลิตร / ต้น / วัน
ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ก้นจีบ เก็บผลที่มีลักษณะหนามเขียวสวยขั้วผลใหญ่ ** ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด 12-27-23 อัตรา 500 กรัม + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) ฉีดพ่นเดือนละ 2 ครั้งจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20-30 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มของต้นทุเรียน **
11. ระยะ 10-12 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะเริ่มสุกแก่)
แนวทางการปฏิบัติการเก็บเกี่ยว
** ควรงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3-4 วัน ** ควรตัดทุเรียนที่มีความแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์หรือวัดแป้งได้ 32 เปอร์เซ็นต์ ก่อนเก็บเกี่ยวทุเรียน 3-4 วันต้องตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ความแก่ของทุเรียน ขณะเก็บเกี่ยว ห้ามวางทุเรียนกับพื้นดินโดยเด็ดขาด การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 150 ลิตร / ต้น / วัน
**ห้ามฉีดพ่นสารเคมี / สารชีวภัณฑ์ทุกชนิด**
ปัญหาการติดผลน้อยของทุเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียนพันธุ์ชะนี เป็นปัญหาที่สำคัญ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรจากทุเรียนต่างพันธุ์ จึงเป็นการช่วยทำให้กระบวนการถ่ายละอองเกสรประสบความสำเร็จ และนำไปสู่การปฏิสนธิ ปริมาณการติดผลจึงเพิ่มขึ้น ผลทุเรียนที่เกิดจากการช่วยผสมเกสร จะมีการเจริญเติบโตเร็ว รูปทรงดี พูเต็ม คุณภาพเนื้อดี สีเนื้อ และรสชาติไม่แตกต่างจากพันธุ์แม่ ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ต่อผลเพิ่มขึ้น โดยทำการฉีดพ่นด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อช่วยในการผสมเกสร แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องใช้เวลาและแรงงานในการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นเกษตรกรรายใหญ่จะ นิยมช่วยการผสมเกสรมากว่าเกษตรกรรายย่อย ในกรณีเกษตรกรที่มีพื้นที่ในการปลูกทุเรียนตั้งแต่ 3-15 ไร่ ก็อาจจะใช้วิธีการช่วยผสมเกสรได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนในระหว่างพัฒนาการของผลอ่อนเป็นสิ่งจำเป็นเพราะหากมีการ แตกใบอ่อนในช่วงนี้ ผลอ่อนจะไม่สามารถแข่งขันเพื่อแย่งอาหารสะสมกับใบอ่อนได้ ผลอ่อนที่กำลังพัฒนา ก็จะหยุดชะงัก และเกิดผลกระทบในด้านคุณภาพของผล โดยมีการจัดการ ดังนี้
การชะลอการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารเมพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5 พีพีเอ็ม ให้ทั่วต้น การปลิดใบอ่อน ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตา เริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา ให้ยับยั้งด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท สูตร 13-0-45 อัตรา 150-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ายังพบว่ายอดทุเรียนยังพัฒนาต่อ ควรฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 1-2 สัปดาห์การช่วยผสมเกสรการควบคุมไม่ให้แตกใบอ่อนการลดความเสียหาย ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ (อาหารเสริม) เพื่อช่วยให้ผลทุเรียนมีการพัฒนาที่สมบูรณ์ขึ้นด้วยการพ่นด้วยปุ๋ยน้ำตาลทางด่วน

การใช้ไร่เทพและดินเทพกับทุเรียน
– ระยะดึงใบอ่อน ชุดที่1-3 ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะใบเพสลาด ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเริ่มดอก-ก่อนดอกบาน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะผลอ่อน – ไข่ไก่ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** กรณีใช้ดินเทพช่วงฟื้นฟูระบบราก ใช้ดินเทพอัตรา 160 – 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร รดรอบโคนต้น ๆ ละ 3-5 ลิตร ช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
การใช้โล่เขียวกับทุเรียน
– ระยะดึงใบอ่อน ชุดที่1-3 ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะใบเพสลาด ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะเริ่มดอก–ก่อนดอกบาน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะผลอ่อน – ไข่ไก่ ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะขยายพู-สร้างเนื้อ-เข้าสี ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม , สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

ลำไยและลิ้นจี่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต  

ลำไยในฤดูผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี และลิ้นจี่ในฤดูผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี  ปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรที่มีผลผลิตลำไยและลิ้นจี่ในสวนและคุณภาพดี ราคาลำไยรูดผลขาย หรือคัดขนาดบรรจุตะกร้าราคาดีมาก  เป็นธรรมดาของสินค้าโดยทั่วไป  สินค้ามีน้อยความต้องการมีมากราคาก็แพง  แต่ผลผลิตทางด้านการเกษตรจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการปฏิบัติดูแลเอาใจใส  อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ถึงจะได้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ  หลังจากเกษตรกรชาวสวนลำไยและลิ้นจี่เก็บผลผลิตขายได้เงินแล้ว  ก็ควรที่จะแบ่งให้ต้นลำไยและลิ้นจี่บ้าง  และควรจะเริ่มต้นในการบริหารจัดการสวนลำไยและลิ้นจี่ของท่านได้แล้ว  ถ้าหากท่านเริ่มต้นเร็วและถูกต้องเหมาะสมลำไย และลิ้นจี่ของท่านก็จะให้ผลผลิตกับท่านอย่างเป็นกอบเป็นกำสิ่งแรกที่ต้องทำคือ  การตัดแต่งกิ่ง

 

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง

  1. เร่งให้ลำไยและลิ้นจี่แตกใบอ่อน การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อนมีผลทำให้ต้นลำไยและลิ้นจี่ฟื้นตัวได้เร็ว และใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป
  2. ควบคุมความสูงของทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และสะดวกต่อการดูแลรักษา เช่น การพ่นปุ๋ยทางใบหรือสารป้องกันการกำจัดศัตรูพืช ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องไม้ค้ำยันกิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
  3. ลดการระบาดของโรคและแมลง ต้นลำไยและลิ้นจี่ที่มีทรงพุ่มทึบมักเป็นแหล่งอาศัยของแมลง นอกจากนี้ทรงพุ่มทึบจะมีความชื้นสูงและก่อให้เกิดโรค เช่น โรคราดำ โรคจุดสาหร่ายสนิม และไลเคนส์ เป็นต้น การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดสามารถส่องทะลุเข้าไปในทรงพุ่ม จะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง
  4. ต้นลำไยตอบสนองต่อสารคลอเรต ต้นลำไยที่มีอายุมากเมื่อให้สารโพแทสเซียมคลอเรต มักจะออกดอกน้อยหรือออกดอกไม่สม่ำเสมอ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยให้ต้นลำไย ตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี ทำให้ออกดอกมากขึ้น และจะทำให้ใช้ปริมาณสารคลอเรตลดลง
  5. ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นลำไยและลิ้นจี่ที่มีทรงพุ่มทึบ ถ้าหากออกดอกติดผลดกส่งผลให้มีผลขนาดเล็ก ผลผลิตคุณภาพต่ำ การตัดแต่งกิ่งออกบางส่วนจะช่วยลดพื้นที่ออกดอกติดผลลงบ้าง ทำให้ขนาดผลใหญ่ขึ้น และคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้น

การดูแลระยะใบแก่ 

ควรมีการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยตัดเฉพาะกิ่งแตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งน้ำค้าง  การใส่ปุ๋ยในระยะใบแก่จัด ควรใส่ปุ๋ยเคมีตัวกลางและตัวท้ายสูง  เช่นสูตร  9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น  เพื่อบำรุงต้นเพื่อให้มีการสะสมอาหาร และสร้างตาดอกต่อไป ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)  จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้นและช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน หากมีฝนตกในช่วงนี้

การให้น้ำ  หลังจากหมดฝนแล้วงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ถ้ามีการระบาดของโรคพุ่มไม้กวาดให้ทำการตัดทิ้ง และพ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลงตามการระบาดของโรคแมลง เช่น หนอนเจาะกิ่ง หนอนคืบกินใบ เช่น คาร์บาริล โมโนโครโตฟอส และโรคราน้ำค้าง  เช่น  แมนโคเซบ

 

 

 *** เพิ่มเติมสำหรับการทำลิ้นจี่ออกดอกได้ดีขึ้น  เลือกทำที่กิ่งลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว จากนั้นนำเลื่อยมาเลื่อยเฉพาะเปลือกระวังห้ามโดนเนื้อไม้ การเลื่อยควรให้เป็นแนวเส้นเดียวให้ตรงกัน จากนั้นนำลวด 1เส้นมารัดกิ่งบริเวณที่เลื่อยไว้ให้แน่น โดยเกษตรกรต้องทำทุกกิ่ง ยกเว้นกิ่งที่อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้ทำหน้าที่หาอาหาร เลี้ยงลำต้น ปล่อยทิ้งไว้ 30วัน แล้วจึงนำลวดที่รัดไว้ออก วิธีนี้ให้เริ่มทำตั้งแต่เดือน ตุลาคม เป็นต้นไป สามารถบังคับให้ต้นชะลอการแตกใบอ่อน และจะทำให้ลิ้นจี่ออกช่อดก เป็นประจำทุกปี

การดูแลระยะแทงช่อดอก 

การให้น้ำ  เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ

การใส่ปุ๋ย  ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี เช่น ปุ๋ยสูตร 10-45-10, 10-52-17 อัตรา 100กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไยและลิ้นจี่ ควรทำการพ่นสารเคมีเป็นระยะ เช่น คาร์บาริล,โมโนโครโตฟอส

การดูแลระยะดอกบาน

การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การช่วยผสมเกสร  ควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด

การดูแลระยะติดผลขนาดเล็ก

การให้น้ำ  ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก

การใส่ปุ๋ย  ระยะติดผลขนาด 5 มิลลิเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-3 กิโลกรัม ต่อต้นเพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอ   ระยะผลโตปานกลาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา ประมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อตัน

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริล

การดูแลระยะผลกำลังเจริญเติบโต

การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง

การใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น

การค้ำกิ่งระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล

การดูแลระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

การให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

การเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จนหมดต้น อย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพลดลง

   ข้อมูลอ้างอิง  :  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6

 

คำแนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพกับลำไยและลิ้นจี่

– ระยะดึงใบอ่อน                                   ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะใบเพสลาด                                ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเริ่มแทงช่อดอก                           ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะผลอ่อน – ก่อนเก็บเกี่ยว               ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

                *** กรณีใช้ดินเทพช่วงฟื้นฟูระบบราก ใช้ดินเทพอัตรา 80 – 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง   ผสมน้ำ 100 ลิตร รดรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 ลิตร  ช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง

ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน

 

การใช้โล่เขียวกับลำไยและลิ้นจี่

– ระยะดึงใบอ่อน                                    ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะใบเพสลาด                                 ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะเริ่มแทงช่อดอก                            ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะผลอ่อน                                        ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะสร้างเนื้อ-เพิ่มรสชาติ                 ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช  ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยอินทรีย์

 

คือปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นซากพืช ซากสัตว์ ผลิตผลที่ได้จากตัวสัตว์ หรือแม้แต่เศษซากจากกระบวนการบางอย่างของเหล่าจุลินทรีย์ ความแตกต่างของที่มาส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยอินทรีย์นั้นแตกต่างกัน และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนและเป็นต้นแบบเพื่อการต่อยอดให้กับปุ๋ยประเภทอื่น เรารู้จักการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่ยังไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบของมันเสียอีก โดยคาดว่าปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกน่าจะเป็นชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้งาน


1. ปุ๋ยคอก (Animal manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ตัวอย่างของประเภทสัตว์ที่นิยมใช้กันได้แก่ มูลโค มูลไก่ มูลเป็ด และมูลสุกร แน่นอนว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่มูลของสัตว์เหล่านี้หาได้ง่ายกว่า อีกทั้งส่วนมากยังเป็นผลพลอยได้ของการเกษตรเชิงผสมผสานอยู่แล้วด้วย มูลสัตว์นั้นไม่ใช่ของเสียแต่เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารมาแล้ว จึงมีธาตุอาหารหลายชนิดที่ดีต่อพืชและดิน


2. ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากระบวนการหมักจนเกิดการย่อยสลายในเชิงชีววิทยา จากข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์กล่าวว่า ส่วนมากนิยมใช้ของเหลือในกิจกรรมทางการเกษตร เช่น หยวกกล้วย ฟางข้าว เป็นต้น นำวัตถุดิบมาทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำไปหมักในสภาวะอันเหมาะสม เพื่อรอให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ของมัน สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์เป็นปุ๋ยหมักที่มีเนื้อยุ่ย อนุภาคแยกจากกันได้โดยง่าย มีคุณสมบัติพร้อมทั้งการบำรุงและปรับปรุงกายภาพของดิน


3. ปุ๋ยพืชสด (Green manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเลือกพืชบางชนิดมาเพาะปลูกในพื้นที่ เมื่อโตได้ระยะหนึ่งก็ไถกลบเพื่อให้พืชนั้นย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ จุดเด่นของปุ๋ยชนิดนี้อยู่ที่การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่ดิน เพราะพืชที่นิยมใช้ทำปุ๋ยพืชสดนั้น นอกจากต้องเติบโตได้เร็วแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติตรึงธาตุไนโตรเจนได้ดีมากด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วทั้งหมด ปอเทือง โสน เป็นต้น จะเรียกว่าเป็นการบำรุงดินครั้งใหญ่หลังจากเสื่อมโทรมเพราะการเพาะปลูกก่อนหน้านี้ก็ได้

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2550 หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากความหมายของปุ๋ยชีวภาพแล้ว ยังมีคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยชีวภาพที่ควรทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้ซื้อ หรือจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “ ชนิดของจุลินทรีย์ ” หมายความว่า กลุ่มหรือสกุลของจุลินทรีย์ เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์ “ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ” หมายความว่า จุลินทรีย์ชีวภาพที่มี จำนวนเซลล์ต่อหน่วยสูงซึ่งถูกเพาะเลี้ยงโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ “ วัสดุรองรับ ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง ” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารับรองถึงจำนวนเซลล์รวม หรือจำนวนสปอร์รวม หรือจำนวนตามที่หน่วยวัดอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีอยู่ในปุ๋ยชีวภาพหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ตนผลิตหรือนำข้าแล้วแต่กรณี “ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค ” หมายความว่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์สัตว์ หรือพืชและให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ สามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแก่พืช ได้ 2 ประเภท คือ

1.ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารพืชจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรีย และแอคติโนมัยสีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีชุดยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส ( Nitrogenase enzyme ) และควบคุมกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศที่มีประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบในจีโนมปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะ
ความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ( Symbiotic nitrogen fixation ) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้ มีแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากเป็นส่วนประกอบ สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า 50-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการสร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับ พืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียไรโซเบียม กับพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ การสร้างปมที่รากสน ของแฟรงเคีย ( Frankia ) การสร้างปมที่รากปรงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลนอสทอค ( Nostoc ) การอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดง ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลอะนาบีนา ( Anabaena ) เป็นต้น ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตรเจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิต และคุณภาพพืชได้อย่างมีระสิทธิภาพ


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ ( Non-symbiotic nitrogen fixation ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยระหว่าง 5 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์ชนิดของพืชอาศัย และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
2.1 แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ สกุลอะโซโตแบคเตอร์ ( Azotobacter ) และ สกุลไบเจอริงเคีย ( Beijerinckia ) เป็นต้น
2.2 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม ( Azospirillum ) และสกุลบาซิลลัส ( Bacillus ) เป็นต้น
2.3 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช ได้แก่ กลูคอนอะซีโตแบคเตอร์ไดอะโซโตรฟิคัส ( Gluconacetobacter diazotrophicus ) ที่พบในอ้อย และกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม ( Herbaspirillum ) ที่พบในข้าว อ้อย และพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอาร์คัส ( Azoarcus ) ที่พบในข้าวและหญ้า เป็นต้น

2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี จะสร้างกรดอินทรีย์ หรือเอนไซม์บางชนิด เพื่อละลายธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา ประกอบด้วยกลุ่มราไมคอร์ไรซาที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยจะสร้างเส้นใยเข้าไปในราก และเส้นใยบางส่วนจะเจริญอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช ช่วยดูดธาตุอาหารต่าง ๆ และละลายฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน แล้วส่งผ่านธาตุอาหารไปทางเส้นใยราเข้าสู่รากพืช ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตอย่างเพียงพอ ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาที่มีการนำมาใช้ทางการเกษตรมี 2 กลุ่ม คือ 1) อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ( Arbuscular mycorrhiza ) ใช้กับพืชสวน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และ 2) เอ็คโตไมคอร์ไรซา ( Ectomycorrhiza ) ใช้กับไม้ผลไม้ป่า และไม้โตเร็ว


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่ม ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส โดยการสร้างและปลดปล่อยกรดอินทรีย์และกรดอนินทรีย์ ออกมานอกเซลล์เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสะสมในดิน นอกจากนี้ยังสร้างและปลดปล่อยเอนไซม์บางชนิดออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในดิน ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างเอนไซม์ไฟเตส ( Phytase ) ในการย่อยสลายไฟเตท ( Phytate ) และปลดปล่อย โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ( HPO42 – ) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ( H2PO4 – ) ออกมาในสารละลายดิน ซึ่งพืชจะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตต่อไป
กลุ่มที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียม ได้แก่ สกุลบาร์ซิลลัส ( Bacillus ) สกุลคลาโดสปอริออยเดส ( Cladosporioides ) สกุลคลาโดสปอเรียม ( Cladosporium ) สกุลคลอสทริเดียม ( Clostridium ) สกุลเพนนิซิลเลียม ( Penicillium ) และสกุลไทโอบาร์ซิลลัส ( Thiobacillus ) เป็นต้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างกรดอินทรีย์ และอนินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากการตรึงของแร่ดินเหนียวบางชนิดจึงสามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ สามารถใช้ได้ผลดีทั้ง ในพืชสวนและพืชไร่

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

มหัศจรรย์ “แฝก”อุ้มน้ำ ห่มดิน

มหัศจรรย์ “ แฝก ” อุ้มน้ำ ห่มดิน

ลักษณะของแฝก
แฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่
๑.กลุ่มพันธุ์แฝกกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ
๒.กลุ่มพันธุ์แฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
แฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

ลักษณะพิเศษของแฝก

การที่แฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
๑.มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
๒.มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
๓.แฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
๔.ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
๕.มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
๖.ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
๗.บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
๘.ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
๙.ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

การขยายพันธุ์แฝก

การขยายแม่พันธุ์ คือ การนำแม่พันธุ์แฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. การขยายแม่พันธุ์แฝก
๑.๑การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น ๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุได้ ๑ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๑.๒ การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน ๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป

 


๒. การขยายกล้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
๒.๑ การเตรียมกล้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (๒x๖ นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
๒.๒ การเตรียมกล้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว ๑-๒ เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน

การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกแฝก

๑.การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
๒.การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
๓.การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
๔.การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
๕.การปลูกกล้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
๖.ความห่างของแถวแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง ๑.๕-๓ เมตร
๗.กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
๘.ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง

การดูแลรักษาแฝก

 

๑.การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ ๔๕ ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วแฝก ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
๒.การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า ๑๕ วันขึ้นไป
๓.การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕ เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้แฝกแตกใบเขียว ในฤดูแล้ง
๔.การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวแฝกก็จะเป็นการช่วยให้แฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวแฝกได้ชัดเจน ช่วยให้แฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
๕.การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วแฝกที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่

การปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม

 

สำหรับการปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกแฝกในพื้นที่ลาดชัน
ควรปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร แฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน ๔-๖ เดือน
๒.การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ
นำกล้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ และแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกแฝก ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกแฝกไม่เกิน ๒ เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ ควรปลูกแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
๓.การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้
ควรปลูกแฝกในสวนผลไม้ ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล ๒.๕ เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ แฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป
๔.การปลูกแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่
การปลูกแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกแฝก หรือปลูกแฝกเป็นแนะระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น ในช่วงต้นฤดูฝน
๕.การปลูกแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม
ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องแฝก จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
๖.การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน
ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง ๑ แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ และระบบรากของแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย

รูปแบบการปลูกแฝกตามหลักวิชาการ

เพื่อให้การดำเนินการปลูกแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
การปลูกแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร โดยปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถว ตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก
๒.สระน้ำปลูก ๒ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกห่างขอบบ่อ ๕๐ เซนติเมตร จนรอบบ่อ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
๓.อ่างเก็บน้ำปลูก ๓ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวตั้ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคัน หรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๓ ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
๔.ปลูกริมคลองส่งน้ำ ๑ แถว ห่างขอบคลองส่ง ๓๐ เซนติเมตร
๕.ปลูกบนร่องสวน ๑ แถว ห่างขอบแปลง ๓๐ เซนติเมตร
๖.ปลูกอยู่บนไหล่ถนน ๑ แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
๗.ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๓ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๙ เมตร
๘.ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๑๒ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๑๘ เมตร

การปลูกแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
ข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การใช้ปุ๋ยพืชสด

การใช้ปุ๋ยพืชสด

โดย … อัญชลี พัดมีเทศ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการไถกลบต้น ใบและส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในระยะช่วงออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารในลําต้นสูงสุด แล้วปล่อยไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา ปุ๋ยพืชสดนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักแก่พืชแล้ว ยังให้ธาตุอาหารรองอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่พืช ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทําให้ดินร่วนซุยสะดวกต่อการไถพรวน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาในการกําจัดวัชพืชได้อีกด้วย

ลักษณะของพืชที่จะนํามาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดควรมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ดังนี้คือ

  1. ปลูกได้ง่ายเจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรงออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30-60 วัน
  2. สามารถให้นํ้าหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2000 กิโลกรัม / ไร่ขึ้นไป
  3. ทนแล้งและทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดีสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
  4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
  5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อทันและเพียงพอต่อความต้องการเมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
  6. ทําการเก็บเกี่ยว ตัดสับ และไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมาก เพราะจะทําให้ไม่สะดวกในการไถกลบ
  7. ลําต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้รวดเร็ว และมีธาตุอาหารพืชสูงชนิดของปุ๋ยพืชสด

พืชที่ใช้ทําเป็นพืชสดนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่เหมาะจะนํามาเป็นปุ๋ยพืชสดมากกว่าพืชประเภทอื่น เพราะเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารพืชสูง เมื่อตัดสับและไถกลบจะเน่าเปื่อยผุพังเร็ว โดยเฉพาะจะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช เพราะในการที่พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงนั้นพืชจะต้องได้รับธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งพืชตะกูลถั่วภายหลังไถกลบและเน่าเปื่อยผุพังแล้วก็สามารถจะให้ธาตุอาหารนี้แก่พืชที่ปลูกตามหลังอย่างมากมาย เพราะ รากถั่วจะมีปมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ปมรากถั่ว (nodule bacteria) ซึ่งมีเชื่อจุลินทรีย์ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก

จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถดึงเอาธาตุไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศมาไว้ในปมรากถั่ว เปรียบเสมือนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยไนโตรเจน จากนั้นเมื่อเราปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบํารุงดินก็จะเป็นการประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง และในขณะเดียวกันเศษ            พืชที่สลายตัวเน่าเปื่อยลงไปในดินก็จะเพิ่มธาตุอาหารพืชที่สําคัญ ๆหลายชนิดให้แก่ดินตลอดจนเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุแก้ดินช่วยปรับปรุงสภาพของดินอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมในการปลูกพืชพืชปุ๋ยสดเป็นพืชตระกูลถั่ว ก่อนปลูกควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ที่จะปลูก                        ลักษณะ  และคุณภาพของดินประกอบด้วย เพื่อให้สามารถใช้ได้ดี และให้ปริมาณนํ้าหนักพืชสดสูง โดยพิจารณาชนิดพืชที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ดังนี้

1.1 โสนไต้หวัน (Sesbania sesban) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ สามารถขึ้นได้ในดินทั่วๆ ไป แต่จะขึ้นได้ดีในดินเหนียวที่มีนํ้าขัง หรือบริเวณที่ลุ่มที่มีนํ้าท่วมถึง จึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวภาคกลาง หรือดินภาคอื่น ๆ ที่มีสภาพของดินและสภาพพื้นที่เหมือนกัน นอกจากนี้โสนไต้หวันยังทนแล้งได้ด้วย

1.2 โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) เป็นพืชที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ ดอกใหญ่กว่าดอกโสนไทย และโสนไต้หวัน มีลําต้นสูงและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าโสนไต้หวัน เป็นพืชที่ให้นํ้าหนักสดสูงมากพืชหนึ่งโสนอินเดียชอบดินที่ค่อนข้างจะเป็นด่าง จึงนิยมปลูกบนที่ดอนไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินทราย ก็สามารถปลูกขึ้นได้ดีเมื่อขึ้นแล้วนํ้าขังก็ไม่ตาย

1.3 โสนคางคก (sesbania aculeata) เป็นพืชที่มีลําต้นขรุขระขึ้นได้ดีในบริเวณที่มีนํ้าขัง และสามารถขึ้นได้ดีในดินเค็ม ฉะนั้นจึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวที่ปลูกในดินเค็ม

1.4 ปอเทือง (Crotalaria juncea) มีลําต้นคล้ายปอแก้ว ดอกจะมีสีเหลืองอยู่กระจัดกระจาย จัดว่าเป็นพืชปุ๋ยสดที่ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง ซึ่งจะหาพืชชนิดอื่นเทียบได้ยาก เนื่องจากเมื่อไถกลบแล้วจะผุพังได้รวดเร็ว และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินในปริมาณมาก ปอเทืองสามารถขึ้นได้ในดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินลูกรัง แต่ไม่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นหรือมีนํ้าขังดังนั้นจึงนิยมปลูกบนที่ดอน

1.5 ถั่วพร้า (Canvalia ensiformis) เป็นพืชที่มีลําต้นตรง บางชนิดก็เลื้อยพัน เจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีรากลึก ใบใหญ่ กว้าง ลําต้นแข็งแรง ดอกมีสีแดงอ่อน ม่วงอ่อน หรือขาว เป็นพืชทนแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไปแต่นิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ปลูกพืชไร่ แต่บางครั้งก็นํามาปลูกในดินนาช่วงหน้าแล้งไม่มีนํ้าขังได้ดีเหมือนกัน

1.6 ถั่วประเภทเถาเลื้อย เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร่หนามเว็ลเว็ท คาโลโปโกเนียม ซีรูเลียม

และอัญชัน พืชเหล่านี้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นพืชคลุมดินในสวนผลไม้เพื่อปราบวัชพืชบางชนิด ใบที่ร่วงหล่นทําเป็นปุ๋ยบํารุงดิน อันเป็นประโยชน์แก่ไม้ผล ที่ปลูกมากกว่าจะตัดสับแล้วไถกลบ

1.7 ถั่วประเภทใช้เมล็ดอื่น ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วนา ถั่วลิสง ก็สามารถใช้ปลูกทําเป็นปุ๋ยพืชสดได้

  1. พืชชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เช่น พวกพืชตระกูลหญ้าก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ แต่พืชพวกนี้ส่วนใหญ่จะให้แต่เพียงอินทรีย์วัตถุ ส่วนธาตุอาหารพืชอย่างอื่นมีปริมาณน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว ฉะนั้นขณะที่ทําการไถกลบพืชตระกูลหญ้าลงไปในดิน จึงนิยมหว่านปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเพิ่งลงไปด้วยในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่อายุของพืชที่ถูกกลบ

      3. พืชนํ้า พืชนํ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว คือแหนแดง (Azolla) เนื่องจากแหนงแดงเป็นที่อาศัยของแอลจีบางชนิด

สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศมาให้ แหนแดงเน่าเปื่อยผุพังก็จะให้ไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุแก่ดิน แหนแดงสามารถเลี้ยงขยายในนาข้าวแล้วทําเป็นปุ๋ยพืชสด โดยจะให้ไนโตรเจนได้ถึง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ยังนํามาเพาะขยายพันธุ์ได้ในดินที่มีนํ้าขัง เราจึงมักพบเห็นแหนแดงมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติบริเวณที่มีนํ้าขังเสมอ

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงดิน

ในการปลูกพืชปุ๋ยสดให้ได้ผลดีนั้นควรพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการ คือ

  1. ลักษณะของดิน เนื่องจากพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ นั้น ขึ้นได้ดีในดินที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นดินเปรี้ยว ควรใส่ปูนลงไปก่อน ถ้าเป็นดินทราย ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 3-8-6 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ หวานเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้นํ้าหนักสดสูงด้วย
  2. เวลาฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝนหรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังมีอยู่ หรือปลุกก่อนการปลูกพืช หรือปักดําข้าวประมาณ 3 เดือน ในช่วงปลายฤดูฝนก็สามารถปลูกได้แต่ต้องมีความชื้นในดินอยู่บ้าง
  3. วิธีการปลูก มีหลายวิธีด้วยกัน คือการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็นหลุม หรือหว่านเมล็ดลงไปถั่วแปลงก็ได้แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีหว่าน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดแรงงานกว่า ซึ่งควรทําการไถดะก่อนแล้งจึงหว่านเมล็ดลงไป หลังจากนั้นจึงทําการคราดกลบเมล็ด ถ้าเป็นพืชที่มีเมล็ดใหญ่ควรคราดกลบให้ลึกหน่อย เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น

การใช้เมล็ดพันธุ์พืชสดที่เหมาะสมเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ด ดังนี้

ปอเทือง 5 กก.

ถั่วนา 8 กก.

โสนอินเดีย 5 กก.

ถั่วลาย 2 กก.

โสนคางคก 5 กก.

ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก.

โสนไต้หวัน 4 กก.

ไมยราบไร้หนาม 2 กก.

ถั่วพร้า 5 กก.

ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก.

ถั่วเขียว 5 กก.

คาโลโปโกเนียม 2 กก.

ถั่วเหลือง 8 กก.

อัญชัน 3 กก.

ถั่วพุ่ม 8 กก.

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสดแบ่งการใช้ได้เป็น 3 วิธีคือ

  1. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทําการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย ก่อนที่จะปลูกพืชหลักชนิดอื่น ๆ ตามมา
  2. ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ปลุก โดยปลูกพืชปุ๋ยสดหลังจากพืชหลักเติบโตเต็มที่แล้วเพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารในดิน เมื่อพืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานก็ทําการตัดสับ และไถกลบลงไปในดินระหว่างร่องปลูกพืชหลัก
  3. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่า หรือ ตามหัวไร่คันนาแล้วตัดสับเอาส่วนของพืชปุ๋ยสดนํามาใส่ในแปลงเพื่อจะทําการปลูกพืชหลัก แล้วไถกลบลงไปในดินการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดในการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดนั้น จําเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชปุ๋ยสดเป็นสําคัญ ควรกระทําเมื่อมีปริมารธาตุไนโตรเจนในพืชสูงสุด และให้นํ้าหนักพืชปุ๋ยสดสูงด้วย ฉะนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดสับและไถกลบ จึงควรทําขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถัวเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมแก่การสลายตัว เมื่อไถกลบแล้วจะทําให้มีปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย แต่ถ้าหากอายุแก่เลยระยะนี้ไปแล้วจํานวนธาตุไนโตรเจนในพืชลดลง

ตารางแสดงอายุการตัดสับและไถกลบ น้ำหนักสดและธาตุไนโตรเจนที่ได้รับของพืชปุ๋ยสดบางชนิด

 

ชนิดพืชปุ๋ยสด

อายุการตัดสับ

และไถกลบ (วัน)

นํ้าหนักสดที่ได้

(ตัน/ไร่)

ธาตุไนโตรเจน

(กก./ไร่)

ปอเทือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วข้าว

ถั่วเหลือง

ถั่วเขียว

โสนจีนแดง

75-90

40-50

60-75

50-60

40-50

75-90

3-4

2-3

3-4

1.5-2

2

3-4

15-20

20

20

5

5-6

7-8

 

นอกจากนี้ยังมีพืชปุ๋ยสดบงชนิดที่มีอายุยาวมาก จึงแนะนําให้ตัดสับและไถกลบ ดังนี้

โสนอินเดีย     ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ                80-80 วัน

คราม             ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ              100-80 วัน

โสนใต้หวัน     ไถกลบ                       เมื่ออายุ                75-80 วัน

ถั่วเว็ลเว็ท       ไถกลบ                       เมื่ออายุ                80-80 วัน

ถั่วนา              ไถกลบ                       เมื่ออายุ                     75 วัน

 

พืชปุ๋ยสดชนิดใดที่มีลําต้นเตี้ยทําให้การไถกลบด้วยแรงสัตว์ได้เลย แต่ถ้ามีลําต้นสูง หรือเถาเลื้อยก็ควรตัดให้ติดผิวดิน โดยตัดเป็นท่อน ๆ เสียก่อน แล้วจึงไถกลบ เมื่อพืชไถกลบถูกฝังอยู่ใต้ดินแล้วก็จะเริ่มเน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ยทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 628 สัปดาห์ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและอายุของเศษพืชนั้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและความชื้นในดินด้วย หลังจากนั้นจึงทําการปลูกพืชตามได้ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน
  2. ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. ช่วยบํารุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  4. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มนํ้าได้ดีขึ้น
  5. ทําให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  6. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  7. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด จะช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แกพืชได้มากยิ่งขึ้น
  8. ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง
  9. ลดอัตราการสูญเสียของดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. ช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นมีปัญหา คือ พืชบางชนิดเก็บเมล็ดได้ง่าย บางชนิดเก็บได้ยากหรือเก็บไม่ได้เลย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาในการปลูกก็แล้วแต่ชนิดของพันธุ์พืชและวิธีการปลูก ดังนั้น จึงสมควรที่จะต้องทราบวิธีการปลูกพืชที่จะนํามาใช้ทําเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. การเลือกที่ดิน ควรเลือกดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนตะกอน มีการระบายนํ้าดีมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 6-7 ถ้าดินมีธาตุอาหารและความชื้นพอเหมาะ ผลผลิตเมล็ดพันธุ์จะสูงมาก แต่ถ้าเป็นดินที่ขาดธาตุอาหารต้องให้ปุ๋ยเคมีช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชในระยะแรกด้วย
  2. ฤดูปลูกที่เหมาะสม ภาคกลางควรปลูกปลายฤดูฝน ประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน สําหรับภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หรือจะปลูกเมื่อฤดูฝนหมดแล้วก็ได้แต่จะต้องเก็บเมล็ดในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า ถ้ามีฝนตกระหว่างการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฝักจะขึ้นรา และเมล็ดจะเสียด้วย นอกจากนี้การตาก นวด และฝัด จะทําได้ไม่สะดวก
  3. การเตรียมดิน ผลผลิตของพืชปุ๋ยสดขึ้นอยู่กับการเตรียมดินด้วย ฉะนั้นจึงต้องเตรียมดินให้ดีก่อนที่จะหยอดเมล็ดพันธุ์โดยการไถดะลึกแล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เพื่อทําลายวัชพืชให้น้อยลงแล้วจึงไถแปรตามอีกครั้ง เมื่อความชื้นในดินพอเหมาะก็ปลูกได้ ซึ่งความชื้นในดินมีความสําคัญต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อนมาก
  4. การเตรียมเมล็ดพันธุ์เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนการนําไปปลูก เมล็ดพันธุ์ถั่วบางชนิดหากเก็บไว้เกิน 5 เดือนความงอกของเมล็ดจะลดตํ่าลงกว่า 50% เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสงเป็นต้น นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์จะต้องสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ควรคัดเอาเมล็ดลีบออกให้หมดเวลาปลูกจะได้งอกสมํ่าเสมอ
  5. อัตราของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก พืชปุ๋ยสดที่ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมปลูกเป็นแถว โดยมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว จํานวนเมล็ดที่ใช้ปลูกต่อ 1 ไร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดและระยะปลูก ถ้าเมล็ดขนาดเล็ก จะใช้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดขนาดใหญ่จะใช้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม/ไร่

อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่ใช้ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขอแนะนําดังนี้

  1. วิธีการปลูก มีด้วยกันหลายวิธีคือ ปลูกแบบโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม และหว่านเมล็ดลงไปทั่วแปลง แต่ในการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมใช้วิธีการปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะปลูกใช้ตามคําแนะนํา โดนปลูก 4-6 แถวติต่อกันและควรเว้นทางไว้สําหรับเข้าไปพ่นยาปราบศัตรูพืช แต่ถ้าเป็นวิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ด ให้หยอดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด แล้วกลบเมล็ด ถ้าเมล็ดเล็กไม่ควรหยอดให้ลึก แต่ถ้าเมล็ดใหญ่หยอดให้ลึกได้จะช่วยให้การงอกดีขึ้นสําหรับเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่งอกยาก เช่น โสนอินเดีย ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ฯลฯ ควรใช้นํ้าร้อนจัด 2 ส่วน ผสมนํ้าเย็น 1 ส่วน แล้วเทเมล็ดลงไปในนํ้าอุ่นใช้ไม้คนให้ทั่ว แช่ทิ้งไว้12 ชั่วโมง หรือ 1 คืน จากนั้นเทนํ้าทิ้งพอเมล็ดหมาด ๆ จึงนําไปปลูกได้
  2. การดูแลรักษา ในการปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ควรมีการพรวนดินกําจัดวัชพืช และถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกหลังจากหยอดเมล็ดไปแล้วประมาณ 7-10 วัน โดยเหลือไว้หลุมละ 2-3 ต้น การพรวนดินกลบโคนต้นควรทําเมื่อพืชอายุไม่เกิน 30 วัน จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ต้นไม่ล้มง่าย
  3. การใส่ปุ๋ย แปลงพืชปุ๋ยสดควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตอัตรา 10 กก/ไร่ หรือใช้แอมโมเนียซัลเฟต 10 กก. ผสมกับปุ๋ยแอมโมฟอส(16-20-0) 10 กก. รวม 20 กก./ไร่ ใส่หลังจากพรวนดินและกําจัดวัชพืชเมื่ออายุประมาณ 3 สัปดาห์หลังปลูก ในดินบางแห่งที่เป็นกรด จําเป็นต้องใส่ปูนขาวอัตรา100 กก./ไร่ ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี
  4. การป้องกันกําจัดศัตรูพืช การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ถ้าไม่มีการป้องกันกําจัดศัตรูพืชแล้ว จะเก็บเมล็ดไม่ได้ ซึ่งศัตรูของพืชปุ๋ยสดมีหลายชนิด เช่น หนอนม้วนใบ หนอนกัดกินใบ และยอดอ่อนหนอนเจาะลําต้น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการตรวจดูหนอนและแมลงให้ทั่วแปลง ตั้งแต่ปุ๋ยสดเริ่มออกดอกไปจนกระทั่งถึงระยะติดเมล็ดในช่วงเช้าก่อนมีแสงแดด เมื่อตรวจพบก็รีบฉีดยาปราบศัตรูพืชทันทีโดยใช้ ดี.ดี.ที. 25% ชนิดนํ้า จํานวน 4 ช้อนต่อนํ้า 1 ปี๊บ หรือ ดีลดริล 2-3 ช้อน ต่อนํ้า 1 ปี๊บ ทําการฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุกระยะ 5-7 วัน นอกจากหนอนและแมลงแล้ว ปุ๋ยพืชสดบางชนิด เช่น ปอเทืองจะมีโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยที่แมลงเป็นพาหะ ทําให้ใบพืชเล็ก ดอกเป็นฝอยไม่ติดฝัก ป้องกันกําจัดได้โดย หลีกเลี่ยงการปลูกพืชซํ้าที่เดิม
  5. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดต่างชนิดกันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันดังนี้

 ชนิดพืช

 อายุเก็บเกี่ยว (วัน)

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้

(กก./ไร่)

 

วิธีเก็บเกี่ยว

ปอเทือง

โสนอินเดีย

ถั่วเขียว

ถั่วเหลือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วลาย

ถั่วเสี้ยนป่า

100-200

150-160

60-70

100-120

65-80

270-300

90-120

80

40

150

300

75

10

30

เก็บทั้งกิ่งหรือทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บต้นที่มีฝักแก่ทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

 

ฝักของพืชปุ๋ยสดบางชนิดที่แก่แล้ว ถ้าไม่เก็บเกี่ยวเมื่อถูกแสงแดดฝักจะแตก เมล็ดร่วงลงดินหมด ถ้าฝักไม่แตกสังเกตดูสีของฝักหรือเขย่าฝักดูการเก็บฝักควรเก็บในตอนเช้า เพื่อป้องกันการแตกของฝัก แล้วขนไปตากในลานนวด ก่อนนวดต้องตากแดดไว้   3-4 วัน ควรนวดเฉพาะตอนบ่าย เพราะฝักจะแตกง่ายและทุ่นเวลาในการนวด การนวดอาจใช้คนหรือสัตว์ยํ่าให้ฝักแตกแล้วจึงนําไปฟาดเอาเมล็ดที่เสียและลีบออก ให้เหลือแต่เมล็ดที่สมบูรณ์ตากแดดให้เมล็ดพันธุ์แห้งกะว่ามีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน 15% ก่อนนําเข้าเก็บ

  1. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นาน 5 เดือน จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตํ่าเมื่อนําไปปลูกทําให้ไม่งอกหรืองอกน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ฉะนั้นเมื่อได้เมล็ดมาก็นําไปปลูกได้เลยไม่ควรเก็บไว้แต่เมล็ดพันธุ์บางชนิดสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปีก็ยังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง เช่น ปอเทืองโสนอินเดีย ฯลฯ ฉะนั้น จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ดังนี้คือ

– เก็บไว้ในโอ่ง ถัง ปี๊บ ไห หรือกล่องที่สามารถปิดได้มิดชิด แมลงไม่สามารถเข้าไปได้และอย่าเก็บไว้ในที่ชื้น

– ใช้เมล็ดพันธุ์คลุกขี้เถ้าแกลบ

– ใช้สารเคมีคลุกเมล็ด

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1.การคลุมดิน ( Mulching )

เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนำน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ


-ชนิดวัสดุคลุมดิน
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ประโยชน์ของการคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ
-รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
-ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำและลดการชะล้างพังทลายของดิน
ด้านเคมี
-ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2.การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่นการปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping )

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือตะกูลหญ้า

-ชนิดวัสดุคลุมดิน
พืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว ( ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนแอฟริกัน ถั่วมะแฮะ ) ถั่วปินตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

พืชตระกูลหญ้า หญ้าเนเปีย หญ้าแพงโกลา หญ้ากินนี

 

แฝก ( ตัดใบคลุมดิน )

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดีเพราะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน
-รักษาความชุ่มชื้นในดิน
ด้านเคมี
-เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช คืนความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านอื่น ๆ
-ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี -เพิ่มรายได้ / ลดค่าใช้จ่าย

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบได้ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ระบบการปลูกพืช การจัดการดินที่ใช้น้ำน้อยด้วยระบบการปลูกพืชโดยการนำพืชปุ๋ยสดมาใช้ในพื้นที่ เป็นการพักดินจากการปลูกพืชหลัก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหาร ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และคงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมต่อไป ระบบการปลูกพืช มีดังนี้
1.ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ( Crop rotation ) คือการปลูกพืชสองชนิด หรือมากกว่าหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ด้วยการจัดชนิดของพืชและเวลาปลูกให้เหมาะสม เช่น
-การปลูกและไถกลบปอเทือง ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน
-การไถกลบถั่วพุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกงาขาว
2.ระบบปลูกพืชแซม ( Inter cropping ) คือการปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในพื้นที่ และเวลาเดียวกัน ซึ่งพืชชนิดที่สอง จะปลูกแซมลงในระหว่างแถวของพืชแรก หรือพืชหลัก ซึ่งระบบรากของพืชทั้ง 2 ชนิด จะมีความลึกแตกต่างกัน เช่น
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วพุ่ม
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียว


3.ระบบปลูกพืชแบบแถบพืช ( Strip cropping ) คือการปลูกพืชที่มีระยะปลูกถี่และห่างเป็นแถบสลับกันขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับ หรืออาจไม่เป็นไปตามแนวระดับก็ได้ เช่น
-การปลูกแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( กระถินผสมถัวมะแฮะ ) จะสามารถลดปริมาณการสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ที่มีความลาดชันและช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้
4.ระบบปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping ) คือการปลูกพืชหญ้า หรือพืชตระกูลถั่วคลุมดินซึ่งจะช่วยควบคุมการกร่อนของดิน และช่วยปรับปรุงบำรุงดิน เช่น
– การปลูกถั่วปินตอย ถั่วคุดซู่ (Kudzu) ถั่วคาโลโปโกเนียม ( Calopogonium )และถั่วเวอราโน( Verano ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดินได้
– การปลูกถั่วเซนโตรซีมา( Centrosema ) กับถั่วคาโลโปโกเนียม( Calopogonium ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเก็บความชื้นในดินมากยิ่งขึ้น
5.ระบบปลูกพืชเหลื่อมฤดู ( Relay cropping ) คือการปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกัน โดยพืชชนิดที่สองจะปลูกในระหว่างแถวของพืชแรกซึ่งอยู่ในช่วงสะสมน้ำหนักของผลผลิตแต่ยังสุกแก่ไม่เต็มที่
6.การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( Alley cropping ) คือการปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน พบในพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยและต้องการปลูกพืชตามแนวระดับ
หลักปฏิบัติถ้าต้องปลูกพืชหลังนาในสภาพน้ำน้อย
การปลูกพืชหลังนา ในสภาพพื้นที่มีน้ำจำกัด โดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำตลอดฤดูปลูกควรปฏิบัติดังนี้
-เลือกพืชปลูกที่มีอายุสั้น พืชทนแล้ง พืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว นิยมปลูกพืชตระกูลถั่ว
-เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อม เลือกใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เป็นเมล็ดที่สะอาด สมบูรณ์ไม่ลีบเล็ก
-เตรียมดินและปลูกเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว ในขณะความชื้นยังมีอยู่ในนา ซึ่งทดสอบโดยกำดินด้วยมือ ถ้ายังจับตัวเป็นก้อนไม่แตกร่วน แสดงว่าความชื้นยังมีพอ ปฏิบัติดังนี้
หว่านก่อนเกี่ยวข้าว 1 – 2 วัน ปล่อยให้เมล็ดงอก หรืออาจใช้รถไถคราดกลบจะช่วยให้งอกได้สม่ำเสมอ มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
หว่านหลังเก็บเกี่ยวข้าว หว่านเมล็ดพืชอายุสั้น พืชตระกูลถั่ว หรือ พืชปุ๋ยสดในแปลงนา ปล่อยให้เมล็ดงอก หรือใช้รถไถเตรียมดินที่ยังมีความชื้นพอหว่านเมล็ดพันธุ์ปลูก และคราดกลบ จะทำให้งอกได้สม่ำเสมอเจริญเติบโตดีขึ้น

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง : กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
—————————-

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน