Tag Archives: เพิ่มผลผลิต

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

ถั่วเหลืองฝักสด ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง

ในขณะที่ดอกเบี้ย จากหนี้เก่าของค่าปุ๋ยจากการปลูกข้าวรอบที่แล้ว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าข้าวที่ฉีดไร่เทพ ชาวนาก็ต้องมาปวดหัวอีกรอบว่า ข้าวนาปรังครั้งนี้เอายังไงดี ครั้นจะลงทุนปลูกข้าวอีกทีก็รู้สึกเข็ดขยาด ครั้นจะปล่อยทิ้งให้ที่นาว่างเปล่า ก็เสียโอกาสโดยใช่เหตุ อย่ากระนั้นเลย วันนี้ฤทธิรอน ของอาสาหาข้อมูลมาแบ่งบันกับพี่น้องชาวนา ให้หันมาปลูก ถั่วเหลืองฝักสดแทนการปลูกข้าวนาปรังกันครับ

เก็บเกี่ยวไว (สั้นกว่าเท่าตัว) ใช้น้ำน้อย (กว่า 5 เท่า)

ถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) เป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 68-70 วัน ในขณะที่ข้าวนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ต่างกันเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เพียง 300 ลบ.ม ต่อไร่ น้อยกว่าข้าวนาถึง 5 เท่า คือ 1500 ลบ.ม. เหมาะมากสำหรับช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

แก้ดินเสื่อม เสริมไนโตเจน

การทำนาอย่างต่อเนื่องโดยปีหนึ่ง 2-3 ครั้งนั้น ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม การปลูกพืชหมุนเวียน จึงเป็นทางออก นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วนั้นยังมีจุลินทรีย์ในปมราก (ไรโซเบียม) ช่วยตรึงไนโตเจนลงสู่พื้นดิน และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถไถ่กลบ กลายเป็นปุ๋ยพืชสด  ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดินอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีปลูกถั่วเหลืองฝักสดโดยละเอียดสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่:

เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 50 โดย ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/soybean.pdf

 

นอกจากนี้ยังสามารถ รับชมข้อมูลการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ตามลิ้งนี้

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

การปลููก และดูแลมันสำปะหลังแบบขั้นเทพ

การปลูกและการดูแลมันสำปะหลังแบบขั้นเทพ

การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลผลิตมันสำปะหลัง

หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี

เช่นการ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือการฉีดผลิตภัณฑ์ไร่เทพ ลงดินเพื่อเพิ่มสารอาหารในดิน

 

การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง

หลักสำคัญก็คือ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าดินดี ควรปลูกพันธุ์ระยอง 5 และ ระยอง 72 และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลาง ควรปลูกพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบ่ง 60 ระยอง 9 และพันธุ์ยอดฮิต แขกดำ ส่วนพันธุ์ระยอง 7 เหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรำยที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริบเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

การเตรียมดิน

ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่ำงน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และ

ทำลำยวัชพืชต่ำง ๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาล 3 ติดทายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาล 7 อีก 1 ครั้ง จะได้

ผลผลิตมันสำปะหลังสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้ำงของดิน และถ้ำดิน

ระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย

 

การเตรียมท่อนพันธุ์

การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 ซม. เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 10เดือนขึ้นไป แช่ท่อนพันธุ์ในอาหารเสริมพืชไร่เทพ โดยผสม 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยแช่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือ 1คืนแล้วนำไปปลูกในแปลง

การปลูก

หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูกที่มีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด เลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตำถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 ซม. ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของ

ความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 ม. และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่

เตรียมไว้ ควรปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ กำรดูแลรักษาระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก  การปักตรง 90 องศา และปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน มันสำปะหลังจะงอกเร็ว และสะดวกต่อ

การกำจัดวัชพืช, การปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่มง่ายต่อกำรเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15% การปลูกที่ได้ผลผลิตสูงก็คือ กำรปักตรง 90 องศา และเทคนิคการเฉือนตาข้างของท่อนปลูกออกเพื่อให้เกิดหัว

เพิ่มขึ้นอย่ากระทำโดยเด็ดขาด เพราะรากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกก็มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารได้แล้ว และการเฉือนอาจทำให้เกิดเชื้อราที่ท่อนพันธุ์ได้

การใส่ปุ๋ย

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลง

ตำมไปด้วย ดังนั้นกำรปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจาก

ปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากนี้ควรเสริมธาตุอาหารให้พืชด้วยการฉีดพ่นอาหารเสริมไร่เทพทางใบ ในอัตราส่วน ไร่เทพ 1ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของมันสำปะหลังได้ดีขึ้น (ข้อแนะนำก่อนฉีดพ่นอาหารเสริมไร่เทพทางใบ ควรกำจัดวัชพืชก่อน) สามารถฉีดได้เรื่อยจะครบอายุการเก็บเกี่ยว

การควบคุมวัชพืช

ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลาวิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัวและจะกำจัดวัชพืชไม่ทัน ให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการกำจัด

วัชพืชโดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง หลังจำก 4 เดือน ไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระท ำ อาจเริ่มที่ 15

วันหลังจากปลูก ยิ่งล่ำช้ำออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูกและอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการ

ฉีดสารเคมีคุมเมล็ดวัชพืชหลังจากการปลูกมันสำปะหลัง 1-2 วัน เป็นการคลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรก ๆ หลังจากใส่ปุ๋ยครบและกำจัดวัชพืชได้ดังกล่าวแล้วก็เพียงแต่รอครบเวลา 12 เดือน หลังปลูกก็จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่ต่ำ

กว่า 7-10 ตันต่อไร่แน่นอน

 

รีวิวการใช้ไร่เทพ ในสวนทุเรียน

😊ไร่เทพของดีต้องมีโชว์😊

รีวิวการใช้ไร่เทพ ในสวนทุเรียนที่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ของคุณเฉลิมชัย

😊คุณเฉลิมชัย เล่าว่า : ถ้ากลุ่มฮอร์โมนพืข หรืออาหารเสริมพืช ผมใช้ไร่เทพตัวเดียว ใช้มานานมาก ไม่ต้องบอกว่าดีอย่างไร ดูจากภาพที่ผมส่งให้นะครับ พูดคำเดียวว่า ถ้าไม่ดีจริงผมไม่ใช้หรอก สุดยอดจริง ไร่เทพ

😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ

สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-