Category Archives: บทความ

แตงกวาพืชทนแล้ง

แตงกวาพืชทนร้อน

แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูกแตงกวากับพืชอื่น ๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืช หนึ่งที่สามารถทํารายได้ดีทีเดียว สําหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถนําไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนําไปแกงจืด ผัด จิ้มนํ้าพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่า แตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

แตงกวามีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3,000 ปีและมีการปลูกในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนําผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือ ของทวีปแอฟริกาในศตวรรษที่ 6 ได้นําไปปลูกในประเทศจีนโดยสันนิษฐานว่าได้นําเข้าประเทศจีนสองทาง คือเส้นทางสายไหมโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในตวรรษที่ 9-14 ได้นําไปปลูกในทวีปยุโรปและได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นําไปปลูกในทวีปอเมริกา กลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีจํานวนโครโมโซม2n=14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียวเถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจํานวนมากรากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร ลําต้นเป็นเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออกมา ตามข้อโดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้นใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็น ดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุมใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจนส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสร ดอกจะหุบตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วงแสงและอุณหภูมิ กล่าวคือจะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ในสภาพช่วงแสงสั้น และมีอุณหภูมิกลางคืนตํ่าซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผลและในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม้มีไส้เนื้อกรอบ และนํ้าหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสด-แปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดํา สีหนามสีขาว แดง นํ้าตาล และดํา

การจำแนกแตงกวา


แตงกวาสามารถจําแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้ 1. พันธุ์สําหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผล มีนํ้ามากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่ หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนําไปดอง แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น 1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้าน ซึ่งมีความยาวผลอย่าง น้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือ ขาวและเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้นจะมีสีเขียวเข้มสมํ่าเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนําไปดองจะคงรูปร่างได้ดีไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่ง แบ่งตามขนาดได้ดังนี้ 2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมี ความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความ กว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้นๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโต ได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สําหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการนํ้ามากแต่ขาดนํ้าไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดีควรมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ใน สภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัดจําเป็นต้องปรับปรุงบํารุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้นควรจะวิเคราะห์หาค่ากรด-ด่าง ก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน

เยี่ยมชมเว็บไซต์

ก่อนการปลูกแตงกวาทําการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทําลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรียลงไปปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกําหนด ระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สําหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางพื้นที่อาจใช้พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลง ไม่ให้เข้ามาทําลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์

ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์นับว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญในการปลูกแตงกวาซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือมีการบรรจุหีบห่อเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศจากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมีเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทําการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากันแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสําหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทําการบ่มเมล็ด โดยนําเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ผสมอัตรา 5 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อ ทําลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนํามาแช่นํ้า 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบนํ้าหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นบ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตรจึงนําไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นําเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จํานวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร การดูแลรักษากล้าหลังจากหยอดเมล็ดแล้วให้นํ้าทันทีโดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทําได้ ปริมาณนํ้าที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อนควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้นํ้าทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไป เมื่อแตงกวาเริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของ ต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกําจัดโดยเร็วและเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบจะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก
5. การเพาะกล้าในถาดเพาะ
ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า “ มีเดีย , พีทมอส ” แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูงมีราคาแพงทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสมดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว

 

การปลูก  

 วิธีการปลูกแตงกวานั้นพบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ดหากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้วจะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จําเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อนจึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่นประหยัดเมล็ดพันธุ์ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้าเป็นต้น

สําหรับการย้ายกล้าปลูกนั้นให้ดําเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้วและเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กําหนด จากนั้นนําต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กําหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทําให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้นํ้า

หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้นํ้าทันทีระบบการให้นํ้านั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้นํ้าตามร่องเพราะว่าจะไม่ทําให้ลําต้นและใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้นํ้าในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้นํ้าให้นานขึ้น ข้อควรคํานึงสําหรับการให้นํ้านั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สมํ่าเสมอตลอดแปลงและตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทําให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้นอาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 10-10-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตรา ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15- 15-15 หรือ 10-10-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

 

แมลงศัตรูแตงกวา


ในแตงกวานั้นมีศัตรูที่ทําลายแตงกวาแบ่งได้คือแมลงศัตรูแตงแตงกวานั้นเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีแมลงศัตรูเข้าทําลายมาก และที่พบบ่อยและทําความเสียหายกับแตงกวามากได้แก่
1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola) ลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอกและผลอ่อน
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทําให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทางระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสําคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกําจัด ให้นํ้าเพิ่มความชื้นในแปลงปลูกโดยให้นํ้าเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้ ใช้สารฆ่าแมลง คือ พอสซ์ เมซูโรล ไดคาร์โซล ออลคอล อีมาเม็กตินเบนโซเอต เป็นต้น
2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii) ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลําตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลําตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดําและมีปีก
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทําให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนําไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า โดยมีมดเป็นตัวนําหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ
3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.) ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทําให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทําลาย ร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีกําจัดไร ได้แก่ ไพริดาเบน โพรพาไกด์ อามีทราซ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์เป็นต้น
4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดํา (Black cucurbit beetle: A. frontalis) ลักษณะเป็นแมลงปากแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดําเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนาหรือตามกอหญ้า
การทําลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตทําให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้นตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกําจัด ควรทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน็อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จีหรือคูราแทร์ 3 จีใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar:Helicoverpa armigera) ลักษณะหนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมี เส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมี ขนาดใหญ่กว่า ลําตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีนํ้าตาลดํา มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทําลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผล และเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทําลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต สไปนีโทแรม คลอแรนทานิลิโพร ทามารอน อโซดริน หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

 

โรคในแตงกวา แตงกวามีโรคที่เป็นศัตรูสําคัญ ได้แก่


1. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทําให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกนํ้าค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทําให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตําแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดํา
การป้องกันกําจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซด ก่อนปลูกหรือจะนําเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายนํ้าเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้เมื่อมีโรคระบาดในแปลง และในช่วงมีหมอกและนํ้าค้างมากควรฉีด Curzate-M8, Antrachor หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ
2. โรคใบด่าง (Mosaic) เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง
การป้องกันกําจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทําได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทําความสะอาดแปลงปลูก พร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ
3. โรคผลเน่า (Fruit rot) เชื้อสาเหตุ Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทําให้เกิดแผลก่อนจะพบมาก ในสภาพที่เย็นและชื้นกรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉํ่านํ้าเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุมกรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ็อกโทเนีย จะเป็นแผลเน่าฉํ่านํ้าบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีนํ้าตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้นบริเวณ ส่วนปลายของผลที่เน่าจะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกําจัด ทําลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ Oidium sp. ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่ เป็นหย่อมๆกระจายทั่วไปเมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทําให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น แมนโคเซป เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

 

การเก็บเกี่ยว


อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสําหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมี หนามอยู่บ้างถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนามการเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้นเพราะจะทําให้ผลผลิตทั้งหมดลดลงโดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประมาณ 1 เดือน
ที่มาข้อมูล : การปลูกแตงกวา เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, ภัสรา ชวประดิษฐ, กลุ่มพืชผักกองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงกวา


การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะต้นอ่อน (อายุ 7-14 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (อายุ 10-25 วัน : โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะดอกแรก (อายุ 25-35 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะผลอ่อน – เก็บเกี่ยว ดอกต่อเนื่อง (อายุ 40-60 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกมะเขือเทศให้งาม

มะเขือเทศ

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum Mill. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมพืชหนึ่งของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และมะเขือเทศรับประทานผลสด จากสถิติการปลูกพืชผักรายปีของกรมส่งเสริมการเกษตร แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทยประมาณปีละ 40,000 ไร่ ในช่วงปี 2532 – 2533 เป็นช่วงที่มีการขยายพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุดถึง 90,000 ไร่ แล้วค่อย ๆ ลดลงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูกมะเขือเทศส่วนใหญ่ 80 – 90 % เป็นการปลูกสำหรับส่งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปริมาณการผลิตขึ้นอยู่กับภาวะความต้องการของตลาดโลก เมื่อประเทศต่าง ๆ สามารถผลิตมะเขือเทศได้ดีทำให้มีปริมาณผลิตภัณฑ์มะเขือเทศมากเกินความต้องการ   ราคาผลผลิตตกต่ำจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลง มีผลให้พื้นที่ปลูกในประเทศไทยลดลงด้วย    สำหรับพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเพื่อบริโภคผลสดคาดว่า มีเพียงประมาณ  8,000 – 9,000 ไร่ คนไทยคุ้นเคยกับการรับประทานมะเขือเทศผลเล็ก สีชมพู มานานโดยนำไปใช้ปรุงรสและกลิ่นของอาหาร เช่น ส้มตำ อย่างไรก็ดีการบริโภคมะเขือเทศ ไม่จำกัดอยู่เพียงลักษณะผลเล็กสีชมพูเท่านั้น  คนไทยยังนำมะเขือเทศผลใหญ่สีแดง ที่ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมมาบริโภคด้วย  นอกจากนี้หลังจากที่มีการนำมะเขือเทศผลเล็กจิ๋ว หรือมะเขือเทศเชอรี่ ซึ่งมีน้ำหนักผลน้อยกว่า 10 กรัม มาวางจำหน่ายในท้องตลาดปรากฎว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจมะเขือเทศเชอรี่ค่อนข้างมากเพราะเป็นมะเขือเทศที่มีรสหวานเมล็ดน้อยสามารถนำไปบริโภคโดยตรงแทนผลไม้ได้

       ลักษณะการเจริญเติบโต

       ลักษณะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศแบ่งออกเป็นลักษณะดังนี้

       แบบเลื้อย   มะเขือเทศประเภทนี้ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะสามารถเจริญเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุดมีกิ่งแขนงขนาดใกล้เคียงกับลำต้น 2 – 3 แขนง และมีแขนงย่อยได้อีกไม่จำกัด ช่อดอกแรกเกิดระหว่างข้อที่ 8 และ 9   ช่อดอกต่อมาจะเกิดขึ้นทุก ๆ 3 ข้อ ลำต้นอาจจะสูงหรือยาวกว่า 10 เมตร

       แบบพุ่ม   มีลำต้นตั้งตรงกิ่งแขนงหลายแขนงเกิดตามข้อบนลำต้นด้านล่าง และอาจมีแขนงย่อยได้อีก ช่อดอกเกิดระหว่างข้อทุกข้อในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะหยุดการเจริญเติบโต มะเขือเทศบางพันธุ์เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะมีกิ่งแขนงเกิดที่ข้อใต้ช่อดอกเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เรียกว่าเจริญเติบโต

       สภาพภูมิอากาศและฤดูปลูกที่เหมาะสม

       มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของมะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ที่ระหว่าง 25 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16 – 20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยมาก ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาว โดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย  การปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน คือ ฤดูฝนจะมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตกถ้าต้องการจะปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ

  1. เลือกพื้นที่ปลูกที่สูง มีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ
  2. ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5 – 6.8
  3. ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละฤดู คือให้ผลดกในฤดูฝน และฤดูร้อน
  4. มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูกต้อง คือเตรียมดินใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง ฉีดพ่นสารสมุนไพรหรือสารชีวภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันกําจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ ไม่ปล่อยให้โรคทําลายก่อนแล้วจึงป้องกันกําจัด

       สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิ

       มะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย ความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะสมประมาณ 5.5 – 7.0 และเป็นดินที่ระบายน้ำดี มะเขือเทศไม่ชอบน้ำขังแฉะ ถ้าฝนตกติดต่อกันจะต้องเร่งระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ควรเป็นแหล่งที่ไม่เคยปลูกมะเขือเทศมาก่อนในระยะ 1 – 2 ปีที่ผ่านมา เพราะจะมีโรคและแมลงสะสมทำให้การป้องกันกำจัดทำได้ยาก

       ปัญหาการไม่ติดผลและการแก้ไข

       ในฤดูหนาวสามารถปลูกมะเขือเทศได้ง่ายที่สุด แต่การบริโภคมะเขือเทศไม่ได้ถูกจำกัดเพียงฤดูเดียว ดังนั้นจึงมีความพยายามปลูกมะเขือเทศนอกฤดูในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งปัญหาที่สำคัญคืออุณหภูมิสูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ทำให้ดอกมะเขือเทศร่วงไม่ติดผล แต่เนื่องจากราคาผลผลิตในช่วงปลายฤดูร้อนค่อนข้างสูง จึงมีเกษตรกรยอมเสี่ยงปลูก การแก้ไขปัญหาการไม่ติดผลของมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูร้อนสามารถทำได้หลายวิธี

  1. ปลูกมะเขือเทศบนภูเขาสูง ปกติบนภูเขาสูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าในพื้นราบ จึงมีการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูกันมาก เช่น ที่จังหวัดเชียงราย เพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่บนภูเขาสูงมักมีปัญหาแหล่งน้ำจำกัด อาจใช้ปลูกมะเขือเทศได้ไม่ตลอดฤดูปลูก จึงต้องเลือกแหล่งที่มีน้ำสมบูรณ์จริง ๆ
  2. ใช้พันธุ์ทนร้อน ร่วมกับการจัดการที่ดี พันธุ์มะเขือเทศทั่วไปจะไม่สามารถติดผลได้ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส แต่พันธุ์ทนร้อนสามารถติดผลได้แม้ว่าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีถ้าอุณหภูมิกลางวันสูงเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ก็ทำให้มะเขือเทศพันธุ์ทนร้อนติดผลได้ยาก การปลูกมะเขือเทศในฤดูร้อน นอกจากจะใช้พันธุ์ทนร้อนแล้วจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอย่างประณีต โดยเฉพาะการให้น้ำทั้งนี้เพราะเมื่ออากาศร้อนและแห้ง ต้นมะเขือเทศต้องการน้ำมากกว่าในฤดูปลูกปกติถึง 2 เท่า และการระเหยน้ำจากดินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการให้น้ำบ่อยครั้งขึ้น ถ้าเป็นการให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอยควรให้ทุกวันตอนเช้า เพื่อให้ดินและอากาศรอบ ๆ แปลงปลูกมีความชื้นพอเพียง และเป็นการลดอุณหภูมิในแปลงปลูกลงด้วย
  3. การฉีดพ่นมารฮอร์โมนช่วยเร่งการติดตามผลและอาหารเสริม การใช้ฮอร์โมน 4-CPA (chloro phenoxy acetic acid) ความเข้มข้น 25 – 50 ppm. ช่วยให้เปอร์เซ็นต์การติดผลของมะเขือเทศเพิ่มขึ้น แต่ก่อนฉีดพ่นฮอร์โมนนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพของต้นมะเขือเทศว่ามีความแข็งแรงพร้อมที่จะติดผลได้หรือไม่ (โดยสังเกตจากขนาดของก้านช่อดอก ถ้าก้านช่อดอกมีขนาดใหญ่แนวโน้มที่จะติดผลได้มีมากกว่าก้านช่อดอกที่มีขนาดเล็ก)  และช่วงที่ฉีดพ่นควรเป็นช่วงที่มีปริมาณดอกค่อนข้างมาก สารฮอร์โมนชนิดนี้ เมื่อฉีดพ่นถูกใบมักทำให้ใบผิดปกติม้วนงอ ใบยอดหดเล็กลง (การใช้สารฮอร์โมนช่วยให้ผลผลิตในมะเขือเทศพันธุ์ผลโต มักใช้พู่กันจุ่มฮอร์โมนป้ายตามช่อดอกไม่ให้ถูกใบ) ผลที่เติบโตขึ้นเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด และบ่อยครั้งจะพบผลที่มีรูปร่างผิดปกติ จึงไม่ควรฉีดพ่นเกินกว่า 2 ครั้ง และควรฉีดพ่นในช่วงที่อากาศไม่ร้อน เช่น ตอนเช้ามืดหรือตอนเย็น อย่างไรก็ดีแม้ว่าสารฮอร์โมนจะช่วยให้เกิดการติดผลได้ แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศไม่สมบูรณ์ ก็ไม่สามารถทำให้ผลที่ติดแล้วเจริญเติบโตต่อไปเป็นผลที่มีรูปร่างปกติได้ จึงอาจจำเป็นต้องฉีดพ่นด้วยอาหารเสริมทางใบ และบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินพร้อมกับให้น้ำอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ขึ้น มีอาหารส่งไปยังผลอย่างพอเพียง ผลจะเติบโตเป็นผลที่มีรูปร่างปกติต่อไป

       พันธุ์ปลูก

       พันธุ์มะเขือเทศที่ใช้ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพันธุ์ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ โดยโรงงานที่รับซื้อผลผลิตเป็นผู้จัดหามา  ส่วนพันธุ์มะเขือเทศผลเล็กสีชมพูสำหรับรับประทานสด เกษตรกรอาจเลือกซื้อได้จากร้านค้าเมล็ดพันธุ์ หรือเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศทนร้อนที่มีลักษณะผลสีชมพูคล้ายพันธุ์สีดาจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ สีดาทิพย์ 1, สีดาทิพย์ 2, สีดาทิพย์ 3 และมะเขือเทศลูกผสมสีดาทิพย์ 92

 นอกจากนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ไต้หวัน นำพันธุ์มะเขือเทศผลเล็กจิ๋วหรือมะเขือเทศเชอรี่ เข้ามาปลูกทดสอบหลายพันธุ์ พันธุ์ที่น่าสนใจมากคือ CH154 และ CH 155 ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ มีการเจริญเติบโตแบบกึ่งเลื้อย ความสูงของต้น ประมาณ 100 – 150 ซม. มีกิ่งแขนง 6 – 10 แขนง อายุดอกบานประมาณ 40 – 45 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ช่อดอกเกิดบนลำต้นเกือบทุกข้อ แต่ละช่อดอกมีดอกย่อย 8 – 15 ดอก ในฤดูหนาวสามารถติดผลได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีผลมากกว่า 300 ผลต่อต้น ผลผลิตประมาณ 4 – 5 ตันต่อไร่   รูปร่างผลยาวรี รสหวาน เนื้อแน่น มีเมล็ดน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด ผลเริ่มสุกแดงประมาณ 50 วัน หลังจากย้ายปลูกหรือประมาณ 70 – 75 วันหลังจากหยอดเมล็ด   การเก็บเกี่ยวผลควรรอให้ผลสุกแดงจนสีผลเป็นสีเข้ม จะมีรสชาติหวานกว่าผลที่เพิ่งเริ่มสุก และเมื่อผลสุกแล้วสามารถปล่อยทิ้งไว้บนต้นได้นานถึง 20 วัน โดยผลไม่เน่าเละซึ่งเป็นข้อดีที่สามารถชลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปได้ระยะหนึ่ง  มะเขือเทศเชอรี่พันธุ์ CH154 และ CH155 นี้ เป็นพันธุ์ผสมปล่อยสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อไปได้ เมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็กกว่ามะเขือเทศทั่วไปโดยน้ำหนักเมล็ด 1 กรัมมีจำนวนเมล็ดประมาณ  450 – 500 เมล็ด

       การปลูก

       การปลูกทำได้ 2 วิธี 

       

      1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก   โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30 – 40 กรัม หยอดลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าว หรือ หญ้าแห้งบาง ๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุมแปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โรคที่สำคัญในแปลงกล้า คือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกัน ความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17 – 22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข็งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมาก หลังจากย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมักจะใช้กล้าอายุประมาณ 21 – 25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3 – 4 ใบ

  1. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่าย แต่จะเสียเวลาและแรงงานในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80 – 100 กรัม ต่อไร่ สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร ระยะระหว่างต้น 25 – 50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่นจะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น ๆ

       การปฏิบัติดูแลรักษา

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างมากในแปลงมะเขือเทศ เริ่มตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังจากย้ายปลูกหากปล่อยให้วัชพืชขึ้นในแปลง จะส่งผลท้าให้ทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศลดลง

      -การใช้แรงงาน หรือเครื่องมือกล การใช้มือถอน หรือใช้จอบถาก อาจท้า 1-2 ครั้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตของผัก โดยเฉพาะวัชพืชที่ขยายพันธุ์ ด้วยหัว หรือเหง้า เช่น แห้วหมู ควรเก็บออกให้มากที่สุด

      – การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตกหรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 – 40 % แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเธี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรคลุมให้ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป

       – การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 – 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 – 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช

       – การใส่ปุ๋ย

  1. ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2,000 กก./ไร่ และโบแรกซ์ 4 กก./ไร่
  2. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 7 – 10 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 46 – 0 – 0 หรือ 21 – 0 – 0 อัตรา 10 หรือ 20 กก./ไร่ ถ้าเปลี่ยนแปลงปลูกที่เคยปลูกผักกินใบ เช่น ผักชี มาก่อนควรใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 แทน
  3. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 21 – 25 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กก./ไร่
  4. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 40 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 30 กก./ไร่
  5. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 60 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศค่อนข้างโทรมมีผลน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5

       ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมเช่น ร้อนเกินไปหรือมีฝนตกบ่อยทำให้ต้นมะเขือเทศไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีอาการเฝือใบ อาจช่วยได้โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรต่าง ๆ ตามระยะการเจริญเติบโต เช่น ในระยะยังไม่ออกดอกอาจใช้ปุ๋ยใบสูตรเสมอ เช่น 25 – 25 – 25 ส่วนในระยะออกดอกแล้วควรใช้ปุ๋ยใบที่มีฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง เช่น 10 – 23 – 20 หรือ 10 – 30 – 20 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยใบที่มีธาตุอาหารรองหลายชนิดอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส เหล็ก สังกะสี โบรอน จะช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

       – การให้น้ำ ระยะที่มะเขือเทศต้องการน้ำมากคือ ช่วงแรกของการเติบโตและช่วงที่ผลกำลังขยายขนาด (ประมาณ 35 – 50 วัน หลังจากย้ายกล้า) สำหรับช่วงที่กำลังติดผล (20 – 35 วัน) ไม่ต้องการน้ำมากนักแต่ต้องการการพรวนดิน เพื่อให้รากเจริญเติบโตลงไปได้ลึก และรากกระจายทางด้านข้างได้สะดวก

       – การปักค้าง มีความจำเป็นมากเมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน หรือ ปลูกด้วยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแบบเลื้อย การปักค้างแบบค้างเดี๋ยวหรือแบบกระโจม จะช่วยให้ผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้นกว่าการไม่ปักค้าง 20 % และทำให้การฉีดยาป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติงานอื่น ๆ ในแปลงสะดวกขึ้น นอกจากปักค้างแล้วต้องหมั่นผูกต้นมะเขือเทศติดกับค้างด้วย มิฉะนั้นแขนงที่เกิดใหม่จะเจริญเติบโตทอดไปกับดินทำให้ผลเน่าเสียหายได้

 การป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ โรคที่สำคัญได้แก่

      1.โรคกล้าเน่า-เน่าคอดินสาเหตุ (เชื้อรา Pythium perilum Drechsler) ราเข้าทำลายเมล็ด ทำให้เมล็ดเน่าทั้งที่ยังไม่งอก หรืองอกอยู่ในดิน ซึ่งทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากเมล็ดงอกโผล่จากดินแล้วเจริญเป็นต้นกล้า ราเข้าทำลายที่ระดับดินโคนต้นกล้าเกิดอาการฉ่ำน้ำ ต้นกล้าล้มพับอยู่เหนือดิน แต่ใบเลี้ยงยังคงเขียว ไม่มีอาการเหี่ยว หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ความชื้นสูง จะทำให้ต้นกล้าเน่าเป็นหย่อมๆ ในแปลงกล้าหรือในกระบะเพาะกล้า

การป้องกันกำจัด : 1. แปลงเพาะกล้าควรย่อยดินให้ละเอียดและตากแดดเป็นเวลานานพอสมควรก่อนหว่านเมล็ด

  1. ไม่เพาะกล้าและรดน้ำในแปลงกล้ามากเกินไป
  2. แปลงกล้าควรมีการระบายน้ำได้ดี
  3. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล เพื่อควบคุมราที่อาจติดมากับเมล็ดและป้องกันการเข้าทำลายจากราอื่นที่อยู่ในดิน
  4. หากพบว่ามีการระบาดของโรค ให้รีบควบคุมราด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และเก็บต้นกล้าที่เป็นโรคออกจากแปลง เพื่อน้าไปเผาทิ้งทำลาย

       2.โรคใบไหม้ สาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora infestans มักเกิดกับใบล่างของต้น อาการใบไหม้ เริ่มแรกใบเป็นจุดช้ำสีเขียวเข้มและขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็ว ส่วนด้านล่างของใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก บนแผลพบเส้นใยและกลุ่มสปอร์สีขาวอยู่รอบ ๆ เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง ในบางครั้งโรคแสดงอาการที่ส่วนของกิ่งและลำต้น โดยมีลักษณะเป็นจุดช้ำน้ำและมีแผลสีดำเช่นเดียวกับอาการที่ใบ ถ้าเกิดแผลที่โคนกิ่งจะทำให้ส่วนยอดของกิ่งแสดงอาการเหี่ยวเฉา เนื่องจากน้ำและอาหารส่งไปเลี้ยงส่วยยอดได้ไม่ หากมีการเข้าทำลายอย่างรุนแรงพืชจะตายภายใน 1สัปดาห์

การป้องกันกำจัด : 1. ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง

  1. เมื่อพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรค ควรรีบถอนออกเผาทำลาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราที่เป็น

สาเหตุโรคแพร่ระบาด

  1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศในบริเวณที่เคยมีโรคนี้ระบาด
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่น เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 72% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 70 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

      โรคราแป้ง สาเหตุ : เชื้อรา Oidiopsis sp. ลักษณะอาการ : พบกลุ่มสปอร์และเส้นใยสีขาว-เทาบนผิวใบ ลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายแป้งฝุ่นหรือผงชอล์กปกคลุม อาการเริ่มแรกมักเป็นหย่อมๆ แล้วขยายจนเต็มใบ ถ้าเป็น รุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย อาการส่วนใหญ่มักเกิดกับใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนที่เจริญเต็มที่แล้ว และในสภาพอากาศเย็นจะทำให้เชื้อลุกลามไปยังกิ่งได้

การป้องกันกำจัด : 1. ตัดแต่งกิ่ง ใบ ให้ทรงต้นโปร่ง และเก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อลดแพร่กระจายของโรค

  1. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งที่ตัดแต่ง
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ซัลเฟอร์ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน

      โรคใบหงิกเหลือง สาเหตุ : เชื้อไวรัส Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV ใบอ่อนที่แตกใหม่มีขนาดเล็ก ขอบใบม้วนงอ ผิวใบไม่เรียบและมีสีเหลือง ต่อมาใบยอดเป็นพุ่มและหงิกเหลือง ช่อดอกฝ่อทำให้ดอกหลุดร่วงง่าย ถ้าเชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นกล้าพืชแสดงอาการของโรคอย่างรุนแรง ต้นแคระแกร็น และไม่ติดดอก

การป้องกันกำจัด : 1. ถ้าพบต้นที่เป็นโรคควรถอนต้นพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้งทันที

  1. กำจัดพืชอาศัยชนิดอื่นในแปลงปลูก เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อและแมลงพาหะ
  2. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยของไวรัส

 การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ    แมลงศัตรูที่สำคัญมีดังนี้

      หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm)  หนอนชนิดนี้ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิดเข้าทำลายมะเขือเทศโดยการกัดกินส่วนของ ดอก ใบ และเจาะผลมะเขือเทศ หนอน ขนาดใหญ่ (วัย 4-5) มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงสูง

การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพื่อกำจัดดักแด้หนอนเจาะสมอฝ้ายที่อยู่ในดิน การทำลายซากพืชอาหาร ทำให้ช่วยลดการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้ายในการปลูกมะเขือเทศครั้งต่อไป

  1. การใช้วิธีกล เช่น เก็บหนอนไปทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
  2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstakii อัตรา 60-80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในช่วงเวลาเย็น
  3. การใช้เชื้อไวรัส เอ็นพีวี (นิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนเจาะสมอฝ้าย DOA BIO V2 (กรมวิชาการเกษตร) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ในช่วงเวลาเย็นโดยผสมกับสารจับใบ
  4. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด เช่น อินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี หรือ สไปนีโทแรม 12% เอสซี หรือ  อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 15, 20 และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามล้าดับ

      แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) แมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเทศ โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบ และเป็นพาหะน้าโรคที่เกิดจากไวรัส ทำให้ใบหงิก ยอดไม่เจริญ ไม่ออกดอก และ ต้นมะเขือเทศแคระแกร็นไม่สมบูรณ์

การป้องกันกำจัด  1. คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้าด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 25% เอสที อัตรา 40 กรัม/เมล็ด 1 กก.

  1. ใช้อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นตามการระบาด

      แมลงวันหนอนชอนใบ (leaf miner flies) แมลงวันหนอนชอนใบมีหลายชนิด พืชผักหรือไม้ดอกบางชนิดที่ถูกทำลายเกิดจากตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็ก วางไข่ภายในผิวใบ หนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ถ้าระบาดรุนแรง จะทำให้ใบร่วง เพศเมียวางไข่ที่มีขนาดเล็กภายในผิวพืช ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อน้าใบพืชมาส่องดูจะพบตัวหนอนตัวเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งแสง ใส อยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด  1. การใช้วิธีกล การเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายเนื่องจากหนอนชอนใบตามพื้นดิน จะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย

  1. การใช้สารสกัดสะเดาอัตรา 100 พีพีเอ็ม สามารถป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบได้ดี
  2. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เบตาไซฟลูทริน 2.5% อีซีหรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 30 มล. และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ

      หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) หนอนกระทู้ผักเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด หนอนวัยแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ต่อมาการทำลายรุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่และกัดกินพืชอย่างรวดเร็ว กัดกินทั้ง ใบ ดอก ผล การทำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยวางไข่และพบการระบาดได้ตลอดทั้งปี

การป้องกันกำจัด

  1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้และลดแหล่งสะสมและขยายพันธุ์
  2. การใช้กลวิธี โดยการเก็บกลุ่มไข่ และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
  3. การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus- thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki การใช้เชื้อไวรัส (นิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนกระทู้ผัก
  4. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น คลอร์ฟินาเพอร์ (chlorfenapyr), อินดอกซาคาร์บ (indoxacarb), สไปนีโทแรม (spinetoram) ตามคำแนะนำในฉลาก

        การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 50-60 วันหลังปลูก โดยมะเขือ เทศที่ส่งขายโรงงานอุตสาหกรรมเก็บเมื่อผลยังคงสีเขียวและเริ่มเปลี่ยนสีและปลิดขั้วออก ส่วนมะเขือเทศที่ใช้รับประทานสดเก็บเมื่อผลสุกและให้มีขั้วผลกลุ่มไม่ทอดเลื้อย สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งต้น กลุ่มทอดเลื้อย จะทยอยเก็บเกี่ยวได้นานต่อเนื่อง 2-3 เดือน

      

ที่มาข้อมูล : รู้จริงเรื่องพืช (กรมวิชาการเกษตร) , ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับมะเขือเทศ

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะตั้งตัว (อายุ 7-10 วัน)           :          โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร     ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะเจริญทางลำต้น-ใบ (อายุ 10-25 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-35 วัน)      :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100  ลิตร      ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผลสร้างเนื้อ (อายุ 35-50 วัน)   :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะเริ่มต้นเก็บเกี่ยว (อายุ 50-80 วัน)   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

วิธีปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตงที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย  ซึ่งมีสภาพความเป็นกรด – เป็นด่าง ประมาณ  5.0 – 7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี   แตงโมเป็นพืชที่เกษตรกรให้ความนิยมปลูก เนื่องจากใช้เวลาปลูกสั้นเพียง 60-65 วัน และพันธุ์หนัก 70-85 วัน ปลูกหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี จึงสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกแตงโมทั่วประเทศมีประมาณ 54,677 ไร่ สามารถสร้างผลผลิตมากถึง 145,000 ตัน

ฤดูปลูก : เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝน เพราะว่าในช่วงดังกล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุก จะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัด เหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดูแล้งหรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

พันธุ์แตงโมที่นิยมปลูก : ในปัจจุบันมีเกษตรกรนิยมปลูกแตงโมพันธุ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           -แตงโมพันธุ์จินตหรา  มีลักษณะผิวลายสีขาว ผลโต เนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์กินรี  มีลักษณะลายสีดำ แถบดำ ผลโตเนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลทรงกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ตอปิโด ลักษณะเปลือกเป็นสีเขียวเข้มมีลายเส้นสีดำ เนื้อสีแดงลำต้นแข็งแรง ติดผลง่ายผล ทรงยาวรี  น้ำหนักผล 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ซอนญ่า สีเขียวอ่อนสลับแถบสีเขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ทรงกลมรี เนื้อสีแดงสวย กรอบ ติดผลดี

การเตรียมดิน : แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดนํ้าได้เป็นอย่างดี ในระยะที่ต้นแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทําให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดิน ซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยทําให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็นประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจําเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดินหรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า

ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า  “ มีเดีย , พีทมอส ”  แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูง มีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสม ดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว  ** สําหรับผู้ที่เพาะเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่าถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติฉะนั้นเพื่อ ขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่น ๆ ในบ้านจะช่วยทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ

การย้ายกล้าแตงโมลงแปลงปลูก

หลังจากนำเมล็ดพันธุ์ลงถาดหลุมได้สัก 10-15 วัน ก็จะสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ โดยสังเกตจากต้นกล้าที่พร้อมจะต้องแตกยอดและออกใบจริงอย่างน้อย 2 ใบ โดยก่อนการขนย้ายถาดหลุมต้นกล้าแตงโมไปปลูกในแปลง ควรมีการงดการรดน้ำเสียก่อน ให้วัสดุปลูกแข็งเป็นก้อนเล็กน้อยเพื่อให้สะดวกตอนขนย้าย และง่ายต่อการดึงต้นกล้าออกจากถาดหลุมได้โดยง่ายถ้าเรารดน้ำให้กล้าแตงโมก่อนการย้ายปลูก เมื่อถอดออกจากหลุมจะทำให้ดินวัสดุปลูกแตกออกจากรากแตงโม ยกตัวอย่างว่า จะย้ายกล้าแตงโมปลูกในช่วงเย็นควรงดน้ำในช่วงบ่าย รดแค่ตอนเช้าครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตวัสดุปลูกของเกษตรกรอีกทีว่าควรจะงดน้ำช่วงเวลาใด โดยมีวิธีการปลูก เราก็ย้ายลงแปลงปลูกโดยให้ระยะระหว่างต้น 50-70 เซนติเมตร (ระยะขึ้นอยู่กับฤดูปลูก และวิธีการเด็ดยอด) โดยก่อนปลูกต้องขึ้นน้ำในร่องให้ชุ่มเสียก่อน วิธีการปลูกใช้ไม้กระทุ้งหลุมให้ลึก ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ให้รองก้นหลุมด้วยสาร ไดโนทีฟูแรน (dinotefuran) 20% SG หลุมละ 1 กรัม เพื่อป้องกันแมลงทำลายของแมลงกินใบและแมลงปากดูดต่าง ๆ ในช่วงแรกของการปลูกแตงโม ปลูกแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อเพิ่มอัตราการรอดของกล้าแตงโม ( การรดน้ำตามคือใช้สายยางหรือบัวรดน้ำตามคนปลูกเลยทันที เพื่อลดความร้อนของดินปลูก ทำให้ดินเกาะกระชับรากแตงโมได้ดี )

การดูแลรักษา :

เมื่อย้ายกล้าลงแปลงแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3-4 เมตร แล้วปลูกหลุมละ 3 ต้น รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

การให้ปุ๋ยแตงโม : ควรใส่ปุ๋ยคอกการใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสําคัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทําให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทําให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยทําให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุล เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 2-4 ตัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมาก หรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ ต่อรอบฤดูปลูก  วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมีลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยละลายนํ้าลงไปสู่รากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้เป็นวิธีที่จะทําให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโพแทสเซียมจากปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโมมากพอสมควรทีเดียว ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีจึงควรใส่ไว้ใต้ดินเป็นกลุ่ม ๆ เช่นใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่มแตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่  ปุ๋ยที่ใส่เสริมหลังปลูก ต้องคํานึงถึงอยู่เสมอว่ารากแตงโมส่วนใหญ่ เดินตามแนวนอนขนานกับผิวดินและเถาของแตงโม ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ยเข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ยอยู่ในรูปที่ค่อย ๆ ละลายนํ้าเพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน หลังย้ายปลูก) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ (ใส่ทางดินรองพื้นก้นหลุม) และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 1 กิโลกรัม  ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-9-20 อัตรา 4 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ผ่านระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะติดดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16  อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะขยายผล สร้างเนื้อ เข้าสี (อายุ 35-55 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-24 อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด ให้ปุ๋ยวันเว้นวัน ต่อเนื่อง 11 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน ช่วยบำรุงขยายผล สร้างเนื้อ เพิ่มน้ำหนัก ให้แตงโมลูกใหญ่ และเพิ่มรสชาติความหวานอร่อย

การให้นํ้าและการดูแลรักษาแปลง

 ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกําลังเจริญเติบโตเป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการนํ้ามาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลง ควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึกซึ่งจะทําให้ดินขาดอากาศออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใดรากแตงโมจะได้รับนํ้า และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จํากัดไปด้วย ดินที่ขาดนํ้าแล้วแห้งแข็งทําให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโม จะไม่ขาดอากาศแม้ว่าจะขาดนํ้าก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมาก ๆ ได้เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึกเท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้เพราะเนื้อดินทั้งเหนียว และแน่นอุ้มนํ้าไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายนํ้าออกจากผิวดินได้ไวมากและดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทรายหรือดินร่วนทราย จึงทําให้ต้องให้นํ้ากับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่าคือต้องให้นํ้าอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดนํ้าทุกวันๆ ละ ครั้ง

การคลุมแปลงด้วยฟาง หรือใช้พลาสติก

เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟาง การคลุมดินด้วยฟางจะมีผล ดังนี้คือ  

1) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทําให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน

2) ทําให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน

3) ป้องกันไม่ให้หน้าดินร้อนจัดเกินไป

4) เป็นการรองผลทําให้สีของผลสมํ่าเสมอ

5) ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทําให้ใบแตงโมสังเคราะห์แสงปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมดภายในเวลา 2-3 สัปดาห์เท่านั้น

การจัดเถาแตงโม

: ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับ กัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทําให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึง เพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเหล่านั้นออกให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ(การต่อดอก)

ผู้ปลูกแตงโมมักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผลเนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทําให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ถูกสารฆ่าแมลง ตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้ง แต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแล้วดอกตัวเมีย จะหุบและไม่ยอมรับการ ผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทําได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณูซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงควํ่าดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บน เกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า “การต่อดอก”

การปลิดผลทิ้ง

: แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วยควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผลให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่ และรูปทรงผลได้รูปสมํ่าเสมอทั้งผลไว้ซึ่งจะทําให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงเพราะ ขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้ว ผลเล็กก็จะเล็ก

การดูแลแตงโมภายหลังผสมติดเป็นผลแล้ว

: ดอกตัวเมียของแตงโมที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมํ่าเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน   เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับกะลามะพร้าว ควรเอาฟางรองใต้ผลเพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง และกลับด้านที่ไม่โดนแสงขึ้น เพื่อให้ผลแตงมีสีสมํ่าเสมอทั่วทั้งผล จะทําให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

การเก็บผลแตงโม

แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือ พริกซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับผลมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยังจึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย คือ

1) คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิ ของอากาศ

1.1 แตงโมพันธุ์เบา จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน  

1.2 แตงโมพันธุ์หนัก จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอก บานประมาณ 42-45 วัน

2) คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่

2.1 มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน

2.2 วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียง ผสมกันระหว่างเสียงกังวานและเสียงทึบแตงจะแก่พอดี (แก่75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียง กังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาว บ้านเรียกว่า “ไส้ล่ม” (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย) ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผล ตอนเช้าเพราะจะทําให้ผลแตงแตกได้

2.3 สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่พร้อมที่จะเก็บผลผลิตได้แล้ว

โรคพืชที่สําคัญในแตงโม 1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม Fusarium spp.)

แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับดิน จะแตกตามยาวและมีนํ้าเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าดูภายในจะเห็นไส้กลางเป็นสีนํ้าตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก และการปลูกซํ้าที่เดิมโรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก สาเหตุที่เกิดโรคนี้มาจาก

  1. เชื้อรานี้เจริญและทําลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส
  2. ขณะแตงกําลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) อยู่ตํ่า

4.ดินเป็นกรดจัด

การป้องกัน 1) ไม่ปลูกแตงโมซํ้าในที่แปลงเดิม และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทนเอ็ม-45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนําไปปลูก    

2) ใช้ปูนขาวโรยลงไปในดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 100 กิโลกรัม

3) ใช้สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทน ตามอัตราแนะนำของผู้ผลิต ฉีดพ่นที่ต้นพืชจะช่วยทําให้เชื้อโรคชะงักลง   

4) สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบีเช่น เทอราคลอร์ในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุมแตงโมที่เกิดโรค และบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน

  1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial wilt) ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้น สาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งนํ้าเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลําต้นในเถาฉํ่านํ้ามากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตง ต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบ ของแมลงเต่าแตงนี้เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อนํ้าและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้โดยฉีด สารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล85%) ป้องกันแมลงเต่าแตง และใช้ยาปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จําหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้สารเคมีนี้ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อเสียคือเสื่อมคุณภาพเร็ว จึงต้องซื้อแต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปีขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
  2. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) ลักษณะที่มองเห็นได้คือเกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบและขยายตัวใหญ่ขึ้น จํานวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตําแหน่งเดียวกันจะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทา เกาะกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทําลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยคุณภาพผลแก่ก็ตํ่าด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดีคือ ไดเมโทมอร์ฟ, แคปเทน, ไซเน็บ, มาแน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร (1 ปิ๊บ)หรือตามอัตราที่ผู้ผลิตแนะนำข้างฉลาก

แมลงศัตรูพืชที่สําคัญในแตงโม

  1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดํามีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดนํ้าเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทําให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้น ชาวบ้านเรียก โรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กละเอียด คล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้งความชื้นในอากาศตํ่าลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทําลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกันเช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทําลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยาเพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกันและกําจัดใช้สารเคมีหลาย ชนิด เช่น ฟิโพรนิล ไรเนต เมซูโรล หรืออิมิดาโคลพริด และอาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทําลายจะต้านทานได้และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  2. เต่าแตง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อน ต้นแตงโมหรือพืชพวกฟัก แฟง แตงกวาอื่น ๆ มักจะไม่ทําความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนําเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเราจึงต้องป้องกันกําจัดโดยฉีดพ่น ด้วยสารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล 85%) ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อน สัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อนแล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทําให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน
  3. แมลงวันแตง เข้าทําลายตั้งแต่ระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยว ใช้พอสซ์ (carbosulfan20% W/V EC) หรือ อโซดริน ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันกำจัด

ข้อมูลอ้างอิง : การปลูกแตงโม (เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, เกตุอร ราชบุตร) เอกสารเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงโม

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน)     :     โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร    ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100-150 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ    100  ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผล สร้างเนื้อ (อายุ 35-55 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

เทคนิคการทำนาแกล้งข้าว

ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายนานาชาติด้านน้ำ และระบบนิเวศในนาข้าว (International Network for Water and Ecosystem in Paddy Fields, INWEPF) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับนาข้าว  ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งเครือข่ายนี้เมื่อปีพ.ศ.2547  ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 17 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บังกลาเทศ จีน เนปาล อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้          ศรีลังกา  เวียดนาม  อียิปต์  ปากีสถาน  อินเดีย และไทย

เทคนิคการทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว หรือ AWD (Alternative Wetting and Drying) เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดน้ำในการทำนาที่หลาย ๆ ประเทศนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ สำหรับประเทศไทยบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัดเป็นหนึ่งในผู้นำ ที่ร่วมส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่มีอาชีพทำนานำไปปฏิบัติอย่างได้ผล จนเป็นที่แพร่หลายและทุกภาคส่วนให้การยอมรับ การทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวนั้นได้มีการศึกษาวิจัย  และพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาได้ถึงร้อยละ28  ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำนาแบบทั่วไป  ซึ่งโดยปกติจะใช้น้ำปริมาณ 1200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาแบบแกล้งข้าวจะใช้น้ำเพียง 860ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เท่านั้น นอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำแล้วยังช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยการใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลงจากไร่ละ ประมาณ 5600 บาท เหลือประมาณ 3400 บาท หรือราวร้อยละ 40 รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้น เพิ่มผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 1200 กิโลกรัม  เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นและที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้นเยาวชนรุ่นหลัง ๆ  จึงหันมาสนใจการทำนาซึ่งจะเป็นการรักษาพื้นที่ชลประทาน ให้คงที่เกิดความสามัคคีในชุมชนที่ไม่ต้องแย่งน้ำกันต่อไป

เทคนิคการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว

การทำนาแบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” (Alternate Wetting and Drying : AWD) หรือเรียกอีกอย่างว่า การทำนาแบบใช้น้ำน้อย คือการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรง โดยทั่วไปจะขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 เซนติเมตร ในช่วงหลังปักดำ จนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้องออกดอกจึงจะเพิ่มระดับน้ำในแปลงอยู่ที่ 7-10 เซนติเมตร  ช่วงที่ปล่อยให้ข้าวขาดน้ำหรือแกล้งข้าวมี 2 ช่วงคือ

ครั้งที่ 1 ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้น (อายุข้าว 35-45 วัน) เป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าระดับน้ำ ในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

ครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวแตกกอสูงสุด (อายุข้าว 60-65 วัน) เป็นเวลาอีก 14 วัน เช่นเดียวกัน หรือ จนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหงแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

*** หมายเหตุ         – วิธีการทำนาเปียกสลับแห้งนี้ไม่เหมาะกับดินทรายและดินเค็ม  

– ควรหลีกเลี่ยงช่วงข้าวตั้งท้อง อย่าปล่อยให้น้ำแห้ง

– ข้าวแต่ละพันธุ์มีอายุแตกต่างกันตามชนิดและพื้นที่ปลูก

การทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวส่งผลดีต่อข้าวดังนี้

1) ความชื้นที่โคนกอข้าวต่ำอุณหภูมิหน้าดินจะสูง ๆ ต่ำ ๆ ช่วยป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

2) ต้นข้าวไม่อวบน้ำ  ลำต้นแข็ง แตกกอดี  แตกรากใหม่มากขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหาร

3) ลดการหักล้มของต้นข้าว และช่วยประหยัดน้ำได้  30 – 50  เปอร์เซ็นต์

4) จุลินทรีย์สามารถใช้ออกซิเจน สำหรับการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

โดยทั่วไปการทำนาจะมีขั้นตอนอยู่ประมาณ 7-8 ขั้นตอน เริ่มจากการเตรียมดินไปจนถึงการดูแล รักษาต้นข้าวให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้

การเตรียมดิน : ลดการเผาตอซังและปรับปรุงคุณภาพดินด้วยปุ๋ยพืชสด โดยก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตให้หว่านปอเทืองในวันที่มีการเก็บเกี่ยว แล้วรถเกี่ยวจะกระจายฟาง เพื่อให้คลุมดินรักษาความชื้นไว้ และไม่ต้องทำการไถกลบเมล็ดปอเทืองก็จะงอกภายใน 3 วัน เมื่อปอเทืองออกดอก (50-60 วันหลังหว่าน) จึงทำการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดต่อไป การเตรียมดินเมื่อปอเทือง ออกดอกจะทำการไถกลบ หมักเทือกโดยใช้สารชีวภาพเร่งการย่อยสลายของปอเทือง ฟางข้าว และเศษวัชพืช โดยปกติฟางข้าวจะย่อยเองได้ 15-20 วัน แต่หากใช้สารชีวภาพช่วยเร่งจะย่อยได้ 7 วัน

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ : โดยทั่วไปการเตรียมเมล็ดพันธุ์คุณภาพประมาณ 10-20 กิโลกรัม/ไร่ แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโครเดอมาร์ นาน 24 ชั่วโมง บ่มเมล็ดพันธุ์ไว้ 1 วัน แล้วนำไปหว่าน

การหว่านเมล็ดพันธุ์ : ระบายน้ำออกให้หมด แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ด้วยเครื่องมือให้สม่ำเสมอ

1- อายุข้าวได้ 1 วัน ฉีดยาคุมวัชพืช    2- ถ้าพื้นที่ตรงไหนไม่เสมอ มีน้ำขังข้าวจะไม่งอกจึงใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา ใส่ทำให้ข้าวงอก ดีไม่ตาย    3- การผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์จะต้องไม่มีการซ่อมข้าวเพราะ จะทำให้การสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ไม่สม่ำเสมอ

การเพาะกล้า(นาดำ)   1- ควรเพาะกล้าก่อนปลูกไม่เกิน 20 วัน และเมื่อถอนกล้าไปปลูกรากข้าวจะต้องได้รับการ กระทบกระเทือนน้อย      2- แช่เมล็ดพันธุ์ นาน 12-24 ชั่วโมง ในน้ำอุ่น 35-40 องศาเซลเซียส จะดีที่สุดหรือตามแบบที่เคยทำมาหากมีปัญหาเรื่องบั่ว ขอแนะนำให้แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำสะเดา

การขนย้ายกล้า   1- ย้ายต้นอ่อนเมื่ออายุไม่เกิน 20 วัน หากปลูกต้นกล้าที่แก่กว่านี้การผลิตหน่อ หรือแตกหน่อจะลดลง     2- ควรถอนต้นกล้าเบาๆ เพื่อรบกวนต้นกล้าน้อยที่สุด คอยระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจาก เมล็ด และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง   3- ให้ขนย้ายต้นกล้าไปยังแปลงปลูกทันที แล้วปักดำไม่เกินครึ่งชั่วโมงหลังจากถอนต้นกล้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้รากต้นกล้าแห้ง   4-ให้ถอนต้นกล้าและขนย้ายอย่างเบามือ อย่าให้ช้ำ อย่าล้างราก อย่าทิ้งไว้กลางแดด เพราะต้นกล้าอ่อน ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากต้นกล้าได้รับการสัมผัสเบา ๆ การเติบโตจะไม่ชะงัก และใบจะไม่เหลือง

การดำนาหรือปักดำ  1- ปักดำต้นกล้าทีละต้นจะให้ผลดีที่สุด เพราะต้นข้าวจะแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดดกัน        2- ปลูกเป็นรูปตาราง 40×40 หรือ 33×33 หรือ 25×25 เซนติเมตร (ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง) เพื่อให้ต้นกล้าอยู่ห่างกัน ให้รากได้แผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น อีกทั้งยังสะดวกในการกำจัดวัชพืชระหว่างแถวและระหว่างต้น    3- การปลูกระยะ 40×40 เซนติเมตร จะปลูกได้เร็วกว่าเหมาะกับแปลงใหญ่ๆ ซึ่งง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และเน้นประหยัดเมล็ดพันธุ์   4- เผื่อต้นกล้าไว้ปักที่ขอบแปลง เอาไว้แทนต้นกล้าที่ตายหรือเสียหาย

การควบคุมน้ำในแปลงนา  :  การควบคุมน้ำในแปลงนา  

1- ขณะดำนาให้ใช้น้ำแต่น้อย โดยให้น้ำมากพอที่จะทำ ให้ดินเป็นโคลนเท่านั้น   

2- เมื่อข้าวเริ่มตั้งตัวหลังจากปักดำประมาณ 10 วัน เติมน้ำเข้านาให้ท่วมสูงจากดินไม่เกิน  5 เซนติเมตร

3- ขณะที่ข้าวแตกกอสามารถทำให้นาแห้งได้ 2 ครั้ง   · ครั้งที่ 1 ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้น (อายุข้าว 35-45 วัน) เป็นเวลา 14 วัน หรือ จนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา   · ครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวแตกกอสูงสุด (อายุข้าว 60-65 วัน) เป็นเวลาอีก 14 วัน เช่นเดียวกัน หรือจนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหงแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา   

4- หลังจากหน้าดินแตก ก็ค่อยใส่ปุ๋ยลงไปในนา ปุ๋ยจะลงไปในรอยแตก ทำให้รากข้าวดูดซึม สารอาหารได้เต็มที่   

5- เมื่อข้าวเริ่มออกรวงปล่อยให้น้ำท่วม 7-10 เซนติเมตร **หากข้าวขาดน้ำในระยะนี้เมล็ดจะลีบ และผลผลิตลดลง   

6- ปล่อยน้ำออกจากนาก่อนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน 

*** ข้อเท็จจริง*** การปล่อยให้ผืนนาแห้งจนดินแตกในช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตนั้น ช่วยให้ข้าวได้รับแสงแดดอย่าง เพียงพอ รากได้รับออกซิเจนมากขึ้น มีการเกิดรากใหม่หาอาหารได้มากขึ้น ข้าวมีการแตกกอดี ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง มีไส้เดือนมาช่วยย่อยอินทรียวัตถุในนา

การดูแลรักษา

การกำจัดวัชพืช : ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง อาจใช้เครื่องทุ่นแรงที่ผลิตจากโรงงาน (Rotary Weeder) หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง หรือถอนด้วยมือก็ได้ ในการกำจัดวัชพืชต้องใช้เวลา และแรงงานมากพอสมควร แต่ในการกำจัดวัชพืชแต่ละครั้งช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่คุ้มกับการลงทุน เพราะทำให้อากาศเข้าไปในดินได้มากซึ่งเป็นเหตุให้รากข้าวได้รับ ออกซิเจนโดยตรง มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว

การควบคุมและกำจัดศัตรูพืช : การทำนาเปียกสลับแห้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงสมบูรณ์สามารถต้านโรคและศัตรูพืชได้ดีกว่านาน้ำขัง ทั่วไป วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีทางธรรมชาติมีดังนี้

1- แมลงและโรคบางชนิดใช้สารธรรมชาติ เช่นสะเดาป้องกันและกำจัดได้  2- ปู ให้ใช้เมล็ดมะขาม, ดอกทองกวาว, ยอดมันสำปะหลัง, กับดัก   3- หอยเชอรี่ใช้กับดักและสมุนไพรบางชนิดฉีดพ่น   4- การใช้แหนแดง เพื่อคลุมหน้าดินป้องกันวัชพืช เป็นปุ๋ยพืชสด ตรึงไนโตรเจนในอากาศและเป็นอาหารเป็ด    5- การเลี้ยงเป็ดในนาเพื่อให้กินแมลง วัชพืช หอยเชอรี่ รบกวนแหล่งที่อยู่แมลงศัตรูพืชในนา ย่ำหญ้า ( โดยปล่อยเป็ดเข้านาหลังปักดำแล้ว 4 สัปดาห์ )

การใช้สารชีวภัณฑ์ต้านโรคและแมลง   

1- ข้าวอายุ 1-20 วัน จะมีเพลี้ยไฟเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีด พ่นให้ทั่วแปลง  

2- ข้าวอายุ 20-40 วัน จะมีหนอนเป็นศัตรู  (ถ้ามี) ใช้เชื้อบีที อัตรา 50 ซีซี และผสมเชื้อราไตร โครเดอร์มา อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง    

3- ข้าวอายุ 50-90 วัน จะเป็นเชื้อรา  (ถ้ามี) ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 

4- ข้าวอายุ 50-90 วัน จะมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย และเชื้อราเมตาไรเซียม อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

การให้ปุ๋ย :  ครั้งที่1  ข้าวอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 18-46-0 จำนวน 8 กิโลกรัม/ไร่ และสูตร 0-0-60 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่    

ครั้งที่2  ข้าวอายุ 50-55 วันแต่ที่สำคัญต้องนำต้นที่สมบูรณ์ที่สุดมาผ่าต้นดูถ้าในโคน ต้นคล้ายขนนกแปลว่าข้าวเริ่มสร้างรวง ให้ใส่ปุ๋ยได้ทันทีเพราะเป็นระยะที่เราสามารถเพิ่มปริมาณเมล็ด ของข้าวในแต่ละรวงได้ แต่ถ้าดูที่อายุข้าวอาจจะเป็นการใส่ปุ๋ยไม่ตรงช่วง เพราะการฉีดสารกำจัดวัชพืชและการให้น้ำแต่ละครั้งทำให้ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงการออกรวง และเพิ่มปริมาณผลผลิตของข้าวแต่ละฤดูกาลได้ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่  สูตร 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่  สูตร 18-46-0 จำนวน 8 กิโลกรัม/ไร่ และ สูตร 0-0-60 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่  

ครั้งที่3 ให้ดูข้าวมีความสมบูรณ์แค่ไหนถ้าไม่สมบูรณ์ให้ใส่ สูตร 46-0-0 ประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ หรือตามความเหมาะสม *** หมายเหตุ การฉีดสารป้องกันกำจัดโรคแมลงจะต้องสำรวจระบบนิเวศก่อนทุกครั้ง ถ้าไม่ถึงขั้นระบาดก็ไม่ต้องฉีด การใช้สารชีวภัณฑ์จะฉีดเวลาตอนเย็น

 

วางแผนการดำเนินการ : วิธีการทำนาแกล้งข้าว หลังจากการปักดำจะทำการขังน้ำในแปลงนาที่ระดับ 5 เซนติเมตร  เหนือผิวดิน และทำการปล่อยให้น้ำในแปลงแห้ง จำนวน 2 ครั้ง

ครั้งแรกหลังปักดำเมื่อต้นข้าวอายุ 35-45 วันจะหยุดส่งน้ำเข้าแปลง และปล่อยให้น้ำแห้งจนระดับน้ำแห้งต่ำกว่าผิวดิน 15 เซนติเมตร หรือไม่ให้น้ำจนครบจำนวน 14 วัน แล้วจึงส่งน้ำกลับมาที่ระดับ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดิน                                                ครั้งที่ 2 เมื่อต้นข้าวอายุ 55-65 วัน จะปล่อยให้น้ำแห้งต่ำกว่าผิวดิน 15 เซนติเมตร หรือไม่ให้น้ำจนครบ 14 วัน แล้วจึงส่งน้ำกลับมาที่ระดับ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดินอีกครั้ง และเมื่อถึงระยะที่ข้าวออกดอกประมาณร้อยละ75 ของแปลงจะส่งน้ำเพื่อให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงขึ้นอยู่ที่ ระดับ 7-10 เซนติเมตรเหนือผิวดิน และเมื่อข้าวเริ่มสุกจะหยุดส่งน้ำ และระบายน้ำออกจากแปลงก่อนเก็บ เกี่ยวประมาณ 15 วัน

วิธีการให้น้ำแปลงเพาะปลูก

: จัดทำกระบอกวัดระดับน้ำหรือท่อแกล้งข้าวโดยใช้ท่อ PVC อย่างหนา ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว สูง 30 เซนติเมตร เจาะรูโดยรอบ 40รู โดยเว้นระยะ 5 เซนติเมตรที่ปลายขอบด้านบน และช่วงความลึก เมื่อนำไปฝังลงไปในแปลงนา  กดให้ท่อจมลงไปในดินให้เสมอกับส่วนที่เจาะรู หรือประมาณ 25 เซนติเมตร โดยจะเหลือส่วนที่ไม่เจาะรูอยู่เหนือผิวดิน 5 เซนติเมตร

 

การรวบรวมข้อมูล

1- บันทึกจำนวนครั้งที่ส่งน้ำ ระดับหรือปริมาณน้ำที่ส่งและระบายน้ำทุกครั้ง

2- บันทึกข้อมูล วัน  ชื่อสารและอัตราการใช้สารเคมี หรือชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ และปริมาณการใช้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และสารต่าง ๆ ฉีดพ่นทางใบ และอื่น ๆ

3- วัดองค์ประกอบผลผลิตดังนี้ จำนวนต้นต่อกอ  ความสูงของต้นข้าว  น้ำหนักผลผลิตจากตัวอย่างกอข้าว จำนวน 10 จุด น้ำหนักข้าวทั้งหมดหลังเก็บเกี่ยวทั้งแปลง

4- ทำบัญชีบันทึกต้นทุนการผลิตตลอดการเพาะปลูก

   อ้างอิง   :   กรมการข้าว , สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน

   คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับนาข้าว

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมแปลง ทำเทือก    :    ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ แล้วทำการปั่นดิน ลูบเทือก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า                   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  200 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะแตกกอ                   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150-200 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะสร้างรวงอ่อน          :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100-150 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะข้าวตั้งท้อง             :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว         :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ   100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

การปลูกดาวเรืองตัดดอก

ดาวเรือง

ถือเป็นดอกไม้มงคล ที่เชื่อกันว่าจะนำพาโชคลาภมาให้แก่คนในบ้าน อีกทั้งยังเป็นดอกไม้สีเหลืองที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งปลูกตัดดอกประดับ บูชาพระถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จัดสถานที่ แถมยังเป็นพืชเศรษฐกิจช่วยสร้างรายได้อีก วันนี้พาทุกคนไปรู้จักกับดอกดาวเรืองให้มากขึ้น ทั้งพันธุ์ที่นิยมปลูก ความแตกต่างของดาวเรือง แต่ละสายพันธุ์ วิธีดูแล การเก็บดอก และประโยชน์อีกหลายอย่าง สำหรับการปลูกดาวเรืองตามบ้านเรือนนั้น ไม่ได้ปลูกเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่มีความเชื่อกันว่าดาวเรืองเป็นต้นไม้มงคล เพราะสีเหลืองทองอร่ามของดอกดาวเรืองเปรียบเสมือนเงินทอง หากปลูกไว้หน้าบ้านหรือบริเวณบ้านก็จะเป็นสิริมงคลแก่คนในบ้าน ช่วยให้เงินทองไหลมาเทมา ยิ่งออกดอกมากก็จะยิ่งมีโชคมีลาภ ทำกิจการใด ๆ ก็จะก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

ดาวเรืองที่ปลูกในปัจจุบันจำแนกเป็น 5 ประเภท คือ


1. ดาวเรืองอเมริกัน (American marigold) มีทั้งพันธุ์เตี้ย พันธุ์สูง ปานกลาง และพันธุ์สูง มีลักษณะลำต้นสูง 25-100 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลือง สีทอง สีส้ม และสีขาว ขนาด ดอกใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 เซนติเมตร ปลูกในดูหนาวอายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน ปลูกใน ฤดูร้อนอายุการเก็บเกี่ยวจะช้าลงกว่าปกติ 10-15 วัน 2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French marigold) เป็นดาวเรืองต้นเตี้ย สูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร ดอกขนาด 3-5 เซนติเมตร สีเหลือง สีทอง สีส้ม สีแดง และสีน้ำตาลอมแดง นิยมปลูกในแปลงเพื่อตัดดอก เติบโตได้ดีในฤดูหนาว หากปลูกในฤดูอื่นมักออกดอกน้อย
3. ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds) เป็นพันธุ์ผสมของดาวเรืองอเมริกันกับ ดาวเรืองฝรั่งเศส
4. ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet marigold) มีลักษณะลำต้นเตี้ย ดอกขนาดเล็ก 1.5 – 2 เซนติเมตร นิยมปลูกในแปลงจัดสวนประดับ
5. ดาวเรืองใบ (Foliage marigold) เป็นดาวเรืองที่เด่นในเรื่องใบ ใบมีลักษณะ สวยงาม ทรงพุ่มแน่น นิยมปลูกประดับในแปลงจัดสวน

การดูแลต้นกล้า

: ระยะที่ 1 เมล็ดเริ่มมีพัฒนาการงอก มีรากและมีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือวัสดุเพาะ การดูแลโดยทั่วไป ควรให้ต้นกล้าได้รับการพรางแสงประมาณ 80% 3-5 วัน เพื่อลดอุณภูมิและเพิ่มความชื้นให้เหมาะสมต่อ การงอก การรดน้ำควรรดน้ำเปล่า
ระยะที่ 2 ต้นกล้าเริ่มพัฒนามีรากและใบเลี้ยง – การดูแลในระยะนี้ควรนำต้นกล้าไว้ในสภาพที่มีการพรางแสง 50% เพื่อให้ต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ประมาณ 2 วัน การให้น้ำระยะนี้ให้น้ำ แล้วแต่สภาพอากาศและความชื้น
ระยะที่ 3 ต้นกล้าเริ่มมีใบจริงเจริญขึ้นมา 1คู่ – ระยะนี้ควรให้ต้นกล้าอยู่ในสภาพแสงแดดปกติ ไม่มีการ พรางแสง เพื่อให้ลำต้น และใบเจริญอย่างสมบูรณ์
ระยะที่ 4 ต้นกล้าเจริญเติบโตมากขึ้นมีใบจริงเพิ่มมากขึ้น สังเกตุราก เริ่มจะเจริญเต็มหลุม การดูแลเช่นเดียวกับต้นกล้าระยะที่ 3 วิธีการสังเกต ต้นกล้าพร้อมย้ายปลูกหรือไม่โดยการนับ อายุของต้นกล้า จากวันเพาะ ประมาณ 15-18 วัน แล้วแต่ฤดูกาลหรือสังเกตจากการเจริญของราก

การดูแลรักษาดอกดาวเรือง


1 หลังจากย้ายปลูกลงแปลงครบ 10 วันหรือสังเกตจากดาวเรืองมีใบจริงจำนวน 3คู่ ให้เด็ดยอดดาวเรืองออก เพื่อให้เกิดการแตกของกิ่งข้างของดาวเรือง
2 หลังจากเด็ดยอดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อต้น โดยหว่านปุ๋ย รอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 20 ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช และทำค้างสำหรับป้องกันต้นดาวเรืองล้มเพราะหากทำค้างดาวเรืองช้าเกินไปช่วงนี้ไปรากของดาวเรืองจะเจริญเติบโตมาก
3 หลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (เริ่มเห็นตุ่มดอก) ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1 กรัม (ครึ่งช้อนชาต่อต้น) โดยหว่านปุ๋ยรอบโคนต้นห่างจาก โคนต้นประมาณ 20 ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช ในกรณีที่ไม่สามารถหาปุ๋ยสูตร 15-0-0 หรือ 0-0-60 ได้ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 แทนโดยใช้ในอัตรา 3 กรัม (ครึ่งช้อนโต๊ะ) ต่อต้นทั้งสองระยะ หลังการให้ปุ๋ยจะต้องให้น้ำตามทุกครั้งเสมอ
4 การพ่นปุ๋ยทางใบและอาหารเสริม ช่วงหลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (ช่วงเป็นตุ่มดอก) ให้ เริ่มพ่นอาหารเสริมพวก แคลเซียม – โบรอน และอาหารเสริมต่าง ๆ **ยกเว้นธาตุอาหารเสริมกลุ่มที่เป็นธาตุเหล็ก (Fe) โดยพ่นทุก ๆ 3-4 วันก่อนที่ตุ่มดอกจะเริ่มเห็นสีดอก
5 การให้น้ำดาวเรือง ดาวเรืองเป็นพืชที่ชอบการให้น้ำในลักษณะให้น้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง หรือชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะและน้ำท่วมขัง
6 การเก็บเกี่ยว ดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55 – 65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลาง เป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้าน ดอกที่ติดมามีขนาดยาว การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน

การปลูกดาวเรือง : การปลูกดาวเรืองมีขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

การเตรียมแปลงปลูก

ดินที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร และปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและ แมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึง ย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม

 

วิธีการปลูก :

(1) การเตรียมหลุมปลูกขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต หรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบ ปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
(2) การย้ายกล้าควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำ ตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
(3) การปลูกต้นกล้าปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปาก หลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา

การให้น้ำ : ดาวเรืองเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องการสม่ำเสมอ การให้น้ำควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่ โครงสร้างของดิน แหล่งน้ำ และปริมาณน้ำ รวมถึงฤดูกาลผลิตด้วย ปัจจุบันมีระบบการให้น้ำอยู่หลายวิธีซึ่งแล้วแต่ความสะดวกและเหมาะสม


– ระบบให้น้ำในร่อง เป็นระบบที่เกษตรกรไทยรู้จักกันดี เป็นวิธีการที่ง่าย และลงทุนต่ำ วิธีการนี้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ราบเรียบ หรือมีระดับลาดเทเล็กน้อย และดินควรจะเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนดินร่วนก็ได้
– ระบบให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น จำเป็นต้องลงทุนสูงขึ้น แต่จะเป็นการลงทุนครั้งแรกและใช้ได้ระยะยาว ประหยัดแรงงานวิธีการนี้เหมาะสมสำหรับทุกพื้นที่ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีความชื้นสูง ส่งเสริมการเข้าทำลายของโรค แมลง และมีผลเสียต่อผลผลิตคือ เนื่องจากดอกดาวเรืองเป็นจำพวกดอกซ้อน เมื่อดอกบาน จึงสามารถเก็บน้ำในดอกได้มาก ซึ่งจะส่งผลไปสู่ การเข้าทำลายของเชื้อราต่าง ๆ เช่น Botrytis เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวิธีการส่งเสริมปริมาณของวัชพืชอีกด้วย
– ระบบให้น้ำแบบน้ำหยด เป็นระบบการให้น้ำแบบใหม่ที่เหมาะสมต่อการผลิตดอกดาวเรืองมากที่สุด และสามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ ระบบนี้จำเป็นต้องลงทุนสูงในช่วงแรก แต่สามารถใช้ได้ระยะยาว และยังเป็นการประหยัดแรงงาน

โรคและแมลงศัตรูพืชของดาวเรือง

ในปัจจุบันได้มีการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างแพร่หลาย ทั้งถูกบ้างผิดบ้าง แล้วแต่ประสบการณ์และความรู้ของผู้ใช้การใช้ยาฆ่าแมลงอย่างถูกวิธีจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการควบคุมแมลง การใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นมากเกินความจำเป็น หรือมีความเข้มข้นน้อยเกินไปจะส่งผลต่อการดื้อยาของแมลงในอนาคต เมื่อแมลงเกิดการดื้อยาเกษตรกรก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยลดอัตราการเข้าทำลายของแมลง จึงถูกพัฒนาขึ้น การใช้กาวเหนียวดักแมลง โดยการป้ายลงบนแผ่นหรือกระป๋องสีเหลืองจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณ ประชากรแมลงได้อีกทางหนึ่ง และยังสามารถใช้เป็นตัววัดดัชนีการระบาดของแมลงได้อีกทางหนึ่งด้วย

แมลงศัตรูในดาวเรือง


เพลี้ยไฟ (Thrips) เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของดาวเรือง แพร่ระบาดมากในช่วงฤดูร้อน เพลี้ย ไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายส่วนต่าง ๆ ของดาวเรือง โดยจะใช้ปากที่มีลักษณะคล้ายเข็ม (stylet) เขี่ย เนื้อเยื่อพืชให้ช้ำแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช อาการของดาวเรืองที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายคือ ส่วนยอดใบจะ หงิกงอ ส่งผลให้ดอกไม่พัฒนาและลำต้นแคระแกร็น หากเป็นช่วงที่พืชขาดน้ำแล้วไม่ทำการป้องกันกำจัดจะทำให้พืชตายได้

การป้องกันกำจัด :

1. ควรทำการสำรวจบริเวณยอดของดาวเรืองบ่อย ๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบปริมาณของ เพลี้ยไฟ เพื่อที่จะได้เลือกวิธีการป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (Monitoring control)
2. ช่วงฤดูร้อนการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ในแปลงปลูกจะช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟลงได้
3. ใช้กับดักกาวเหนียวสีฟ้า หรือสีขาว จะช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟลงได้ โดยใช้พลาสติกสี ฟ้าหรือสีขาวขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียว
4. หากมีการสำรวจปริมาณของเพลี้ยไฟบริเวณยอดดาวเรืองแล้วพบว่า มีจำนวนประชากรของ เพลี้ยไฟเฉลี่ยต่ำกว่า 10 ตัวต่อยอด ให้เลือกใช้เชื้อราบูเวอเรีย อัตราใช้ตามฉลากแนะนำ

แมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf minors) แมลงวันหนอนชอนใบ เป็นแมลงขนาดเล็ก มีลำตัวสีดำ มีแต้มสีเหลืองที่ข้างหน้าอก และส่วนอกด้านบนปีกใส ลักษณะการเข้าทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบนั้นจะทำลายต้นดาวเรืองได้ 2 วิธีคือ การทำลายที่เกิดจากตัวเต็มวัย โดยตัวเต็มวัยเพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในเซลล์ผิวใบดาวเรือง เขี่ยให้เซลล์แตก แล้วหันมาใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงเซลล์ การทำลายแบบนี้จะทำให้ใบดาวเรืองที่ถูกทำลาย เกิดเป็นรอยเจาะเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ นอกจากนั้นแมลงวันตัวเต็มวัยเพศเมียเมื่อถึงระยะวางไข่จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในเซลล์ผิวใบดาวเรือง และวางไข่ในรอยเจาะการเข้าทำลายจากหนอนชอนใบที่เกิดจากตัวหนอน เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจากไข่ จะเจาะทะลุออกทางด้านที่ไข่ฝังตัวในเซลล์ใบดาวเรือง และเข้าชอนไชกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ผิวใบ ทำให้เกิดเป็นรอยทาง คดเคี้ยวเป็นรูปต่าง ๆ การที่หนอนชอนใบกินน้ำเลี้ยงใต้ผิวเป็นรอยทาง ทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นดาวเรืองลดลง ต้นพืชอ่อนแอไม่เจริญเติบโตตามปกติ ผลผลิตลดลง นอกจากนั้น รอยเจาะที่ผิวใบจะเป็น ช่องเปิดทำให้เชื้อราและเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชเข้าทำลายซ้ำ ทำให้ต้นดาวเรืองที่ถูกหนอนชอนใบลง ทำลายมีอาการใบแห้งและตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด

1. ทำการสำรวจแปลงปลูกดาวเรืองบ่อย ๆ เพื่อตรวจสอบประชากรของแมลงวันหนอนชอนใบ โดยดูจากร่องรอยการทำลายที่เกิดจากตัวหนอน และร่องรอยการทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบตัวเต็มวัยเพศเมีย ที่ทำให้ใบเกิดเป็นรอยจุดเล็ก ๆ (Monitoring control) หากทำการสำรวจแล้วพบว่า ร่องรอยการทำลายที่ชอนไชใบเป็นรอยคดเคี้ยวนั้นน้อยกว่า 10 รอยต่อต้น ให้รีบกำจัดไม่ให้แพร่ระบาด
2. ตัดแต่งใบ นำใบที่มีร่องรอยการทำลายไปเผา เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงวันหนอนชอนใบ

3. รักษาความสะอาดบริเวณรอบแปลงปลูก ตัดแต่งทำลายวัชพืชที่อยู่รอบ ๆ แปลงปลูกเพื่อเป็นการลดแหล่งหลบซ่อนตัวหนอนตัวเต็มวัยแมลงวันหนอนชอนใบ (Crop sanitation)
4. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง โดยใช้พลาสติกสีเหลืองขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียว (มีขายทั่วไปตามร้านเคมีเกษตร) ติดเหนือทรงพุ่มต้นดาวเรืองอัตราการใช้ประมาณ 60-80 กับดักต่อไร่ ควรติดให้สูงจากทรงพุ่มประมาณ 30เซนติเมตร เพื่อควบคุมตัวเต็มวัยแมลงวันหนอนชอนใบที่เป็นแมลงบินได้ (Mechanical control)

ไรแดง (Red spider mite) พบมากในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัด พบมากในบริเวณใต้ใบ และจะลามไปทั้งแปลง ไรแดงมี รูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก สีแดง ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้าย แมงมุม คลุมทั้งต้นทั้งใบ ไรแดงจะใช้ปากที่เป็นแบบเจาะดูด เจาะดูดกินเซลล์ใบพืชและเซลล์ดอกพืช ทำให้ใบหงิกงอ ทำให้สีดอก – ใบ มีสีซีด

การป้องกันกำจัดไร

1. เข้าสำรวจต้นดาวเรืองบ่อย ๆ เพื่อสำรวจปริมาณไรแดง โดยไรแดงให้สำรวจบริเวณยอด และใต้ใบดาวเรือง (Monitoring control) หากทำการสำรวจพบว่ามีไรแดงเฉลี่ยน้อยกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้วิธีการป้องกันกำจัดโดยใช้เชื้อ บูเวอร์เรีย อัตราใช้ตามฉลากแนะนำ
2. ตัดแต่งใบที่มีไรแดงอาศัย ออกไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณประชากรของไรแดง (Mechanical control)
3. หากสำรวจแล้วพบว่ามีไรแดงเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อต้นหรือมีไรแดงมากจนไม่สามารถ ควบคุมได้ อาจใช้วีการควบคุมโดยการใช้สารเคมี โดยช่วงเวลาการพ่นสารเคมีควรเป็นช่วงสายและช่วงบ่าย จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด (Chemical control)

โรคของดาวเรือง


โรคเหี่ยวเขียว : สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstoniasolanacearum
ลักษณะอาการ โรคเหี่ยวเขียว หรือโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacteria wilt) ที่เชื้อสาเหตุโรค Ralstoniasolanacearum เป็นโรคที่สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับดาวเรือง ทำให้ต้นดาวเรืองเหี่ยวลู่ลงมาทั้งต้นในขณะที่ใบยังเขียวอยู่ การพัฒนาของโรคจะเร็วมาก สามารถแพร่กระจายได้ดีทางน้ำและติดไป กับอุปกรณ์ทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น การใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดกิ่งที่เป็นโรคออก แล้วอย่านำกรรไกรตัดกิ่งอันเดียวกันไปตัดแต่งกิ่งของต้นปกติ ทำให้ต้นปกติติดเชื้อได้การเดินย่ำแปลงที่เป็นโรค เชื้อสาเหตุสามารถติด มากับดินที่ติดอยู่กับรองเท้าได้ เมื่อเดินเข้าไปในแปลงที่ไม่เป็นโรคเหี่ยว เชื้อสามารถแพร่กระจายได้
การเข้าทำลายพืชและการแพร่กระจายของเชื้อ R. solanacearum เมื่อเชื้อถูกพาให้ระบาดไปและพบกับต้นดาวเรือง เชื้อจะเข้าสู่ทางบาดแผลและช่องเปิดตาม ธรรมชาติที่พืชมีอยู่ เช่น รากเชื้อจะเข้าไปเจริญในท่อน้ำา (Xylem) เชื้อจะเพิ่มจำนวนและแพร่ไปตามส่วน ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เซลล์ของเนื้อเยื่อพืชจะถูกทำลายจนเกิดช่องว่างมีเซลล์ของเชื้อ และสารเมือกซึ่งเป็น สาร extracellular polysaccharide (EPS) ที่มีความหนืดสูงอยู่มากมายในท่อน้ำท่ออาหาร ทำให้เกิดการอุดตันภายในท่อน้ำท่ออาหาร

การป้องกันกำจัดโรค

1. หมั่นสำรวจต้นดาวเรืองในแปลงปลูก เพื่อตรวจติดตามการเกิดโรคเหี่ยวเขียว (Monitoring control) หากพบอาการเหี่ยวของต้นดาวเรืองควรนำมาตรวจสอบหาสาเหตุโรคเหี่ยว เบื้องต้นด้วยวิธีดังที่กล่าวมาข้างต้น
2. ถ้ามีต้นที่แสดงอาการเหี่ยว ควรถอนต้นให้ติดรากขึ้นมาแล้วนำออกนอกแปลงปลูก ระวังอย่าให้ดินร่วงลงพื้นเพราะเชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้ แล้วนำไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของเชื้อที่ อยู่ในลำต้น (Mechanical control)
3. ก่อนการปลูกดาวเรืองครั้งต่อไป ควรไถพรวนพลิกดินตากแดด ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อ เป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเขียว (Mechanical control)
4. หลังจากการไถดินแล้วอาจทำการปรับดินด้วยปูนโดโลไมท์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผสม คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทำการรดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับดิน หลังจากนั้นใช้พลาสติกคลุมแปลงคลุมแปลง ทิ้งไว้ 15 วัน จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ ผลปรากฏว่าสามารถช่วยฆ่าเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดินได้
5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรเช่น จอบ เสียม กรรไกรตัดกิ่ง ด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคที่ติดมากับอุปกรณ์ทางการเกษตร
6. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่ได้คุณภาพ ปราศจากโรคที่ติดมากับเมล็ดและ เลือกสายพันธุ์ ดาวเรืองที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว (Cultural control)
7. การเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นเชื้อปฏิปักษ์ เชื้อไตรโคเดอมาร์ หรือ บาซิลลัส ซับทิลิส เพื่อช่วยควบคุมโรคในดิน
8. หากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ยังไม่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวเขียวได้ อาจเลือกใช้สารเคมี และควรผสมตามอัตราส่วนที่แนะนำราดบริเวณหลุม ที่ถอนต้นดาวเรืองที่แสดงอาการเหี่ยวออกไปแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ของแปลงปลูก

โรคเหี่ยวเหลือง Fusarium sp. สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum
ลักษณะอาการ อาการเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม นั้นจะปรากฏอาการช้ากว่าเชื้อแบคทีเรีย ดาวเรือง มักจะแสดงอาการใบเหลืองร่วมด้วย จะเกิดการชะงักการเจริญเติบโต และใบเหี่ยว โดยระยะแรกจะเหี่ยว ชั่วคราว คือจะแสดงอาการใบเหี่ยวเฉพาะช่วงเวลากลางวันที่แดดร้อน พอผ่านกลางคืน ตอนเช้าจะฟื้นตัว เป็นเช่นนี้ระยะหนึ่ง ต่อมาดาวเรืองจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างถาวร จะยืนต้นทั้งเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การสังเกตุ บริเวณโคนต้นจะเป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าถอนต้นขึ้นมาให้สังเกตุที่รากรากจะมีการเน่าร่วมด้วย ถ้าทำการผ่ากลางต้นดาวเรืองจะพบว่าบริเวณท่อน้ำ ท่ออาหารจะถูกทำลายเป็นแผลสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัดโรค

1. หมั่นสำรวจต้นดาวเรืองในแปลงปลูก เพื่อตรวจติดตามการเกิดโรคเหี่ยวเหลือง (Monitoring control) หากพบอาการเหี่ยวของต้นดาวเรืองควรนำมาตรวจสอบหาสาเหตุโรคเหี่ยวเบื้องต้น โดยตัดส่วนเหนือดิน ตัดใบทิ้ง นำลงไปแช่ในภาชนะใสที่บรรจุน้ำสะอาดเป็นเวลาประมาณ 2-3 นาที ถ้า อาการเหี่ยวของดาวเรืองที่เกิดจากเชื้อรา (โรคเหี่ยวเหลือง) จะไม่มีเมือกสีขาวขุ่นไหลลงมาตามน้ำเป็นสาย ถ้าไม่มีเมือกสีขาวขุ่นไหลลงมา อาจจะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเหี่ยวเหลือง (ควรทำการส่งตรวจสอบในห้องปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่า เป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม)
2. ถ้ามีต้นที่แสดงอาการเหี่ยว ควรถอนต้นให้ติดรากขึ้นมาแล้วนำออกนอกแปลงปลูก ระวังอย่าให้ดินร่วงลงพื้นเพราะเชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้ แล้วนำไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของเชื้อที่ อยู่ในลำต้น
3. ก่อนการปลูกดาวเรืองครั้งต่อไป ควรไถพรวนพลิกดินตากแดด ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเหลือง (Mechanical control)
4. หลังจากการไถดินแล้วอาจทำการปรับดินด้วยปูนโดโลไมท์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทำการลดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับดินหลังจากนั้นใช้พลาสติกคลุมแปลงคลุมแปลง ทิ้งไว้ 15 วัน จากการทดลองในห้องปฏิบัติการผลปรากฏว่าสามารถช่วยฆ่าเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดินได้
5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรเช่น จอบ เสียม กรรไกรตัดกิ่ง ด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคที่ติดมากับอุปกรณ์ทางการเกษตร
6. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่ได้คุณภาพ ปราศจากโรคที่ติดมากับเมล็ดและ เลือกสายพันธุ์ดาวเรืองที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเหลือง “AFM” (Cultural control)
7. หากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ยังไม่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวเหลืองได้ อาจเลือกใช้สารเคมี ควรผสมตามอัตราส่วนที่แนะน าราดบริเวรหลุมที่ถอนต้นดาวเรืองที่แสดงอาการเหลืองออกไปแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อรา แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ของแปลงปลูก

โรคใบจุด อัลเทอนาเรีย (Alternaria) สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ จะพบว่าบริเวณส่วนใบของดาวเรืองเป็นจุดค่อนข้างกลม ภายนอกจะเป็นจุดสีม่วงเข้มภายใน จะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน หากเกิดการระบาดมากจะทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้น้อยลง ส่งผลให้ต้นโทรมอย่างรวดเร็ว ทำให้ดอกเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ พบว่าเชื้ออัลเทอนาเรียสามารถเข้าทำลายส่วนของลำต้นของดาวเรืองได้อีกด้วย โดยลักษณะอาการจะคล้ายกับที่เกิดบริเวณใบคือเป็นจุดภายนอกค่อนข้างกลม ภายในจุดสีน้ำตาลอ่อน ชื่อของโรคนี้อาจเรียกแตกต่างกันไปตามส่วนของดาวเรืองที่เกิดอาการ เช่นโรคเกิดที่ใบเรียก ใบจุด (leaf spot) โรคเกิดที่ลำต้น เรียกลำต้นจุด (stem spot)

การป้องกันกำจัดโรค
1. หมั่นสำรวจต้นดาวเรืองในแปลงปลูก เพื่อตรวจติดตามการเกิดโรคใบจุด (Monitoring control)
2. ทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ดูโปร่งเสมอเพื่อลดการสะสมของโรคใบจุด ถ้าหากใบแสดงอาการ ของโรคใบจุดไม่มาก สามารถใช้แรงงานจัดการได้ ให้รีบตัดแต่งใบที่แสดงอาการของโรคออกจากแปลงปลูก นำไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของโรค เพราะส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราที่เรียกว่าสปอร์ สามารถเจริญเติบโตและปลิวไปตามลมได้
3. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่มีคุณภาพดี ที่ไม่มีความเสี่ยงของโรคที่ติดมากับเมล็ด
4. หากการใช้วิธีต่าง ๆ ดังกล่าวยังไม่สามารถควบคุมโรคใบจุดได้ อาจเลือกการใช้สารเคมีทำการฉีดพ่น เพื่อให้สามารถควบคุมโรคใบจุดได้อย่างทันเวลา
ข้อมูลจาก : ดาวเรือง ( งานวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ )

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับดาวเรือง
การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดินยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ก่อนปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

ปลูกอ้อย คั้นน้ำ

ปลูกอ้อย คั้นน้ำ

พันธุ์อ้อยคั้นน้ำที่เรานิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำอ้อยสดในประเทศไทยเรานั้นมีพันธุ์หลัก ๆ คือพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และ พันธุ์สิงคโปร์ เมื่อปี 2562 กรมวิชาการเกษตรได้มีการเปิดตัวพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ คือพันธุ์ศรีสำโรง 1 และล่าสุดวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ได้ทำการเปิดตัวอ้อยคั้นน้ำโดยใช้ชื่อพันธุ์ ว่า “กวก. สุพรรณบุรี 1 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหากจะพิจารณาเลือกพันธุ์มาปลูก ต้องคำนึงถึงความหวาน สีและความหอมของกลิ่น โดยความหวานที่เหมาะสม คือ 13-17 องศาบริกซ์

พันธุ์อ้อย กวก.สุพรรณบุรี 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เป็นหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาทั้งด้านพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมของอ้อย ได้ทำการวิจัยและพัฒนาในระหว่างปี 2547-2564 รวมระยะเวลา 17 ปี ตั้งแต่กระบวนการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และประเมินผลผลิตขั้นต่าง ๆ เพื่อศึกษาข้อมูลด้านผลผลิต และคุณภาพน้ำอ้อยในแปลงทดลองหน่วยงานเครือข่ายของกรมวิชาการเกษตร และในไร่เกษตรกรที่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยคั้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย จนถึงการประเมินความพึงพอใจและการยอมรับจากเกษตรกรผู้ผลิต จำหน่าย และบริโภค จนประสบผลสำเร็จ ได้อ้อยคั้นน้ำพันธุ์ใหม่ผ่านการรับรองพันธุ์พืชจากคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “กวก.สุพรรณบุรี 1” มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 3622 ลิตรต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 26 ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 11.43 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 21 สีน้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม รสชาติหวาน มีความหวาน 21.54 องศาบริกซ์

อ้อยพันธุ์สิงคโปร์ หรือที่เรียกกันว่าอ้อยสำลี เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรไทยเราใช้ปลูกกันมายาวนานมากว่า 30-40 ปี ให้ผลผลิตอ้อยที่มีผิวเนื้ออ่อน ชานอ้อยนิ่มเมื่อหีบออกมาแล้วจะได้น้ำอ้อยสดสีเหลืองปนเขียว กลิ่นหอม และมีความหวาน 13-15 องศาบริกซ์ ต้นอ้อยที่ได้จะมีลำสีเหลืองแก่ ปล้องสั้นระหว่างปล้องจะมีลำนูนป่อง คล้ายข้าวต้มมัด มีใบสีเขียว แตกกอประมาณกอละ 3-4 ลำ ไม่สามารถไว้ตอได้ ไม่ต้านทานโรคลำต้นเน่าแดง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน สามารถปลูกได้ดีในบริเวณที่ลุ่ม

พันธุ์สุพรรณบุรี50 เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาขึ้น เพื่อแก้จุดด้อยที่มีในพันธุ์สิงคโปร์ โดยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นอ้อยคั้นน้ำที่ให้ความหวาน สี และกลิ่นได้ดีกว่าพันธุ์สิงคโปร์ และยังสามารถไว้ตอได้ถึง 4 ครั้ง แตกกอได้มากถึงกอละ 5-6 ลำและยังมีการปรับตัวสภาพแวดล้อมได้ดีปลูกได้ทั้งที่ลุ่มและที่ดอน และยังต้านทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวเท่ากันกับพันธุ์สิงคโปร์คือ 8 เดือน แต่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า โดยให้ผลผลิตถึงไร่ละ 4,600-5,200 ลิตร เทียบกับพันธุ์สิงคโปร์ที่ให้ผลผลิตไร่ละ 2,100-2,800 ลิตร และยังให้ความหวานได้ถึง 15-17 องศาบริกซ์ ทำให้เพื่อนเกษตรกรหลายพื้นที่หันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้น เพราะได้ผลผลิตสูงและยังสามารถลดต้นทุนได้ เพราะสามารถไว้กอได้  ส่วนพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ล่าสุดคือพันธุ์ศรีสำโรง 1 นั้น เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับสภาพการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีผลผลิตมากกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยให้ผลผลิตถึงไร่ละ 5,647 ลิตรและมีความหวานถึง 17.1 องศาบริกซ์ ส่วนของสีและความหอมนั้นเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและตลาด  อ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ ที่ได้จากการผสมสายพันธุ์ของอ้อยพันธุ์ SP074 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 2533 เสร็จสิ้นการทดลอง ในปี 2539 ลักษณะประจำพันธุ์ มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอก ค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญสีเหลืองและนูน ข้อโปน แตกกอดี เจริญเติบโตเร็ว

การปลูกอ้อย : อ้อยเป็นพืชจัดอยู่ตระกูลหญ้า มีแหล่งกำเนิดที่เกาะนิวกินี ในมหาสมุทรแปซิฟิค ลักษณะภายนอกประกอบด้วยลำต้นที่มีข้อปล้องชัดเจนมีใบเกิดสลับข้างกัน มีส่วนกาบใบหุ้มต้นไว้ โดยกาบใบจะมีไขและขนอยู่ด้วย รากอ้อยเป็นระบบรากฝอยแต่แข็งแรง สามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึก ลำต้นอ้อยสามารถแตกหน่อได้จากตาของข้อด้านล่างๆที่อยู่ชิดดิน

อ้อยจัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งร้อน มีปริมาณน้ำฝนและแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่สูงกว่า 20 องศาเซลเซียส โดยมีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอ ต้องมีปริมาณน้ำฝน 1500 มิลลิเมตรต่อปี อ้อยขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ที่มีอากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก เพราะต้นอ้อยในช่วงเล็กไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้ ดินที่ปลูกจะต้องมีสภาพความเป็นกรด – ด่างที่เหมาะสม มีอินทรียวัตถุและมีธาตุอาหารที่สมบูรณ์

การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย : ควรเป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขังหรือพื้นที่ราบ มีหน้าดินลึกอย่างน้อย 20นิ้ว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานการคมนาคมขนส่งสะดวก

การเตรียมดิน : การเตรียมดินเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกอ้อย เพราะอ้อยมีระบบรากยาวประมาณ 4 เมตร เมื่อปลูกแล้วสามารถรักษาไว้ได้หลายปี เป็นการแตกหน่อใหม่เป็นอ้อยตอ การเตรียมดินที่ดีปฏิบัติดังนี้

1.การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้งและไถขณะที่ดินมีความชื้น พอเหมาะควรไถลึกไม่ต่ำกว่า 20 นิ้ว จะช่วยให้รากหยั่งลึก แข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี ถ้าชั้นล่างเป็นดินดานควรไถระเบิดดินดานก่อนปลูก

2.การปรับพื้นที่ การปรับระดับพื้นที่จะช่วยในการระบายน้ำท่วมขัง คือการไถหน้าดินมากองรวมกัน แล้วปรับระดับดินให้ได้ระดับเดียวกัน และเกลี่ยปรับหน้าดินให้เสมอทั่วทั้งแปลง อาจมีการเติมอินทรียวัตถุต่าง ๆในพื้นที่ ๆ ดินไม่ดี ประมาณ 1-2 ตัน/ไร่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของดิน

3.การเลือกพันธุ์อ้อย การเลือกพันธุ์อ้อยควรมีการพิจารณารายละเอียดดังนี้

 มีการเลือกพันธุ์อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เช่น พันธุ์กลาง พันธุ์หนัก พันธุ์เบา  ให้ผลผลิตต่อไร่มาก และค่าความหวานสูง กลิ่นหอม รสชาติดี  มีความต้านทานต่อโรคและแมลง  มีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และสามารถไว้ตอได้ 2-3 ปี

ฤดูการปลูกอ้อยและวิธีการดูแลบำรุงรักษา

ฤดูกาลปลูกแบ่งเป็น 2 ฤดูคือ  1) ต้นฤดูฝน เขตชลประทานระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ – เดือนเมษายน

2) ปลายฤดูฝนเน้นการปลูกอ้อยข้ามแล้ง เดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม ในพื้นที่ ๆ เป็นดินร่วนปนทราย

วิธีการปลูกอ้อย : 1.ยกร่องปลูกให้มีระยะระหว่างร่อง 1.0-1.5 เมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝน ยกร่องแล้วควรปลูกทันที เพื่อรักษาความชื้นในดิน

2.รองพื้นร่องปลูกด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ที่ผ่านการหมักไว้จนได้ที่ แล้วลอกกาบใบอ้อย ใช้มีดสับท่อนละ 2-3ตา แล้วนำไปวางเรียงปลูกเป็นระยะในร่องปลูกที่เตรียมไว้ ถ้าปลูกฤดูฝนกลบหนา 5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฝน ให้กลบประมาณ 10-15 เซนติเมตร  แล้วรดน้ำตามให้ความชุ่มชื้นตามแนวร่องปลูกให้สม่ำเสมอทั่วแปลง

3.การปลูกจะใช้แรงงานคนวางท่อนพันธุ์ สับ และกลบ หรือใช้เครื่องปลูก ถ้าใช้เครื่องปลูกอ้อยเครื่องปลูกจะเปิดร่อง ใส่ปุ๋ย วางท่อนพันธุ์และกลบดินโดยอัตโนมัติ

4.ในบางพื้นที่ถ้ามีมากเพียงพอ เกษตรกรจะปล่อยน้ำเข้าตามร่องก่อนปลูกอ้อย เมื่อดินแห้งหมาด ๆ จึงนำท่อนพันธุ์ลงแปลงปลูก แล้วกลบดินให้แน่นพอประมาณ หนา 10-15 เซนติเมตร

การบำรุงดูแลรักษา อ้อยมีการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 4 ระยะคือ

1.ระยะงอก : เริ่มปลูก–1เดือนครึ่ง อ้อยจะใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นจากดิน ปุ๋ยรองพื้นจะช่วยให้รากแข็งแรง

2.ระยะแตกกอ : อายุ1เดือนครึ่ง-3เดือน ต้องการธาตุไนโตรเจนมากเพื่อใช้ในการแตกกอและช่วยให้หน่อเจริญเติบโต

3.ระยะย่างปล้อง : อายุ 4 – 5เดือน เป็นระยะกำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อย เป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องใช้ปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ อากาศ น้ำและปุ๋ย

4.ระยะสุกแก่ : เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวเป็นระยะสะสมน้ำตาล ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องใสปุ๋ยทางดิน  อาจฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบและน้ำตาลทางด่วนเพิ่มเติมได้ในช่วงนี้

การใส่ปุ๋ย : การใส่ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกพืชในปัจจุบัน ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดิน ร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีควรมีธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ตัว ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สูตรแนะนำคือ 15-15-15 และ 15-5-25 เป็นต้น

ดินร่วนปนทราย : ครั้งที่1 แนะนำปุ๋ยสูตร 15-15-15, 15-5-25 หรือ 16-16-8 รองก้นร่องพร้อมปลูก หลังแต่งตอ 1เดือน อัตรา 20-25 กิโลกรัม / ไร่  ครั้งที่2 เมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 50-60 กิโลกรัม / ไร่  **ถ้าเป็นอ้อยตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) อัตรา 20 กิโลกรัม / ไร่

ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว : ครั้งที่1 แนะนำปุ๋ยสูตร 18-12-6 , 15-15-15  หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1เดือน อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่  ครั้งที่2 เมื่ออายุ 2-3เดือน อัตรา 40 กิโลกรัม / ไร่  อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทาน เมื่ออ้อยอายุ 2-3เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) ในอัตรา 20 กิโลกรัม / ไร่  **การให้ปุ๋ยทางดินทุกครั้งทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะที่ดินมีความชื้น โดยโรยข้างแถวห่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วฝังกลบ

การให้น้ำ : สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตชลประทานหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรให้น้ำทันทีหลังการปลูกโดยระบบน้ำหยดตามร่องปลูก  หรือสูบน้ำเข้าร่องโดยไม่ต้องระบายน้ำออก

ต้องระวังไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันเกิน 20 วัน ในขณะอ้อยกำลังเจริญเติบโต เช่นช่วงแตกกอ ระยะย่างปล้อง เป็นการสร้างขนาดลำอ้อย และสะสมน้ำตาล

งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2เดือน กรณีฝนตกหนักควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงทันที

อ้อยตอ หลังตัดแต่งตอแล้วควรให้น้ำทันที

การกำจัดวัชพืช : การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4เดือนแรก ถ้าหากวัชพืชมากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง การกำจัดวัชพืชในการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ควรใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรทุ่นแรง เช่น รถพรวนดิน ตัดหญ้า เป็นต้น ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช

 

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคใบขาว : สาเหตุเกิดจาก เชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่เจริญเติบโตในต้นอ้อย หรือในแมลงพาหะเท่านั้น และแมลงพาหะที่ถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมา มี 2ชนิด คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล และเพลี้ยจั๊กจั่นหลังขาว

ลักษณะอาการ : ใบอ้อยเรียวแคบ สีเขียวอ่อน แตกกอเป็นฝอย พบทุกระยะการเจริญเติบโต อาการปรากฎชัดเจนในอ้อยตอที่แตกใหม่อายุ 4-5 เดือนขึ้นไป จะสังเกตได้จากการแตกหน่อสีขาวที่โคนกอหรือตาข้าง พบโรคได้ในทุกแหล่งปลูก และสามารถแพร่ระบาดได้ผ่านทางท่อนพันธุ์ 

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝนในแหล่งปลูกที่เป็นดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด : 1) ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค หากมีความจำเป็นให้แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง

2) ขุดอ้อยที่เป็นโรค ไปเผาหรือฝังทำลายนอกแปลงปลูก เพราะเสี่ยงที่แมลงพาหะจะมาดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายทอดเชื้อใบขาวไปยังกออื่น ๆ

3) ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรโรค เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วพร้า ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือข้าวโพด เป็นต้น  

4) ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคนี้ต่อเนื่อง ให้ทำการรื้อแปลงและทำลายตออ้อยทิ้ง

โรคเหี่ยวเน่าแดง :  สาเหตุจาก เชื้อรา 2 ชนิด Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum

ลักษณะอาการ : ยอดเหลืองแห้ง เนื้อในลำอ้อยเน่าช้ำสีแดง เมื่อผ่าในลำจะเห็นเนื้ออ้อยเน่าช้ำเป็นสีแดงเป็นจ้ำ หรือเนื้ออ้อยเน่าเป็นสีน้ำตาลปนม่วง อ้อยปลูกใหม่จะเริ่มแสดงอาการในเดือนที่ 6-7 ทำให้ผลผลิตเสียหาย และอ้อยตอ จะเริ่มแสดงอาการในเดือนที่ 2-3 หลังจากแต่งตอ เชื้อราสาเหตุติดมากับท่อนพันธุ์  แพร่ขยายไปตามดิน สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม และไหลไปกับน้ำ พบระบาดในแหล่งปลูกภาคกลาง

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝน

การป้องกันกำจัด : 1) ปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค

2)ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค

3)ถ้าพบมีการระบาดในแปลงอ้อยปลูก งดการให้ปุ๋ยและน้ำทันที แล้วรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน

4)ปลูกพืชสลับ เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือถั่วเหลืองก่อนปลูกอ้อยฤดูใหม่

5)ทำลายซากตอเก่าโดยการคราดออกและทำการเผาทำลาย  และไถตากดิน ประมาณ 3 ครั้ง ก่อนปลูกใหม่

โรคแส้ดำ : สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต้นอ้อย

ลักษณะอาการ : ส่วนยอดจะดูเป็นก้านแข็งยาว คล้าย ๆ แส้สีดำ ในส่วนของตออ้อย ถ้าเป็นโรคนี้รุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกรน ดูคล้ายกอตะไคร้ จากนั้นจะแห้งตายทั้งกอผลผลิตจะลดลงมาก ในตอถัดไปมักจะพบโรคนี้ในทุกแหล่งปลูก เชื้อราสาเหตุติดมากับท่อนพันธุ์  แพร่ขยายไปตามดิน สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม และไหลไปกับน้ำ ทำให้ผลผลิตในพันธุ์อ่อนแอต่อโรคจะลดลง 50-80 เปอร์เซ็นต์

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงได้ในทุกฤดู

การป้องกันและกำจัด : 1) ปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์อ้อยที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค

2) ไถทำลายอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งของเชื้อแพร่ระบาดต่อไปในอ้อยปลูก

3) หากอยู่ในพื้นที่เป็นโรครุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์อ่อนแอไม่ต้านทานโรค

4) แช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารป้องกันกำจัดโรคพืช

แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

หนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนเจาะลำต้นอ้อย

ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลเข้มวางไข่เป็นกลุ่มตามใบ กาบใบและลำต้น ตัวหนอนสีขาวนวล โตเต็มที่ประมาณ 2เซนติเมตร มีจุดกลม ขนาดหัวเข็มหมุดหลังลำตัว หนอนจะเจาะเข้าต้นอ้อยบริเวณส่วนยอด แล้วกัดกินเนื้ออ้อย ลงมาถึงโคนต้นพบการระบาดในทุกแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ใกล้แหล่งน้ำหรือติดกับนาข้าว มักเข้าทำลายตั้งแต่ช่วงอ้อยย่างปล้อง อายุประมาณ 5เดือน ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัด : 1) หลังเก็บเกี่ยวใช้ใบอ้อยคลุมดินเพื่อป้องกันการทำลายของหนอน

2) ในแหล่งที่มีการระบาดประจำใช้พันธุ์ที่ต้านทาน

3) ตัดและทำลายต้นที่มีหนอนเข้าทำลายออกจากแปลง

4) ใช้สารชีวภัณฑ์ บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ป้องกันกำจัดหนอน หรือปล่อยแตนเบียนไข่ 20,000 ตัวต่อไร่ เป็นวิธีธรรมชาติ

หนอนกอลายจุดเล็ก

ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาล ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลเข้มมีจุดสีน้ำตาลอยู่ข้างละจุด ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน วางไข่เป็นกลุ่มที่ใบ  ตัวหนอนมีลายสีน้ำตาลดำ สลับขาว หัวสีน้ำตาลเข้ม มีจุดขนาดเล็กบนหลังปล้องละคู่ มักทิ้งตัวลงมากัดกิน ส่วนเจริญเติบโตอ้อย  ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย พบการระบาดในทุกแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดในช่วงอุณหภูมิสูงและอากาศแห้งแล้ง หรือช่วงตั้งแต่อ้อยเริ่มแตกกอ อายุประมาณ 1-4เดือน

การป้องกันกำจัด : 1) หลังเก็บเกี่ยวใช้ใบอ้อยคลุมดินเพื่อป้องกันการทำลายของหนอน

2) ในแหล่งที่มีการระบาดประจำใช้พันธุ์ที่ต้านทาน

3) ตัดและทำลายต้นที่มีหนอนเข้าทำลายออกจากแปลง

4) ใช้สารชีวภัณฑ์ บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ป้องกันกำจัดหนอน หรือปล่อยแตนเบียนไข่ 20,000 ตัวต่อไร่ เป็นวิธีธรรมชาติ

ด้วงหนวดยาว

ลักษณะการเข้าทำลาย : เป็นแมลงศัตรูในดิน ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลแดง เพศเมียส่วนท้องมีลักษณะมน ส่วนเพศผู้ตรงปลายเว้าพบระบาดมากในดินร่วนปนทราย วางไข่ใกล้โคนต้นอ้อย หนอนมีรูปร่างแบนทรงกระบอก สีขาวนวล กัดกินบริเวณรากและเหง้าอ้อย ทำให้ต้นเป็นโพรงแห้งตายทั้งกอ

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในดินร่วนปนทรายช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน

การป้องกันกำจัด : 1) ถ้าเกิดการระบาดทำลายอ้อยปลูกเกิน 24 เปอร์เซ็นต์ ควรไถทิ้งหลังเก็บเกี่ยว

2) ไถตาก ไถพรวนดินหลายๆรอบ ก่อนปลูกอ้อยในแปลง

3) ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เป็นระยะที่พบตัวเต็มวัยจำนวนมาก ใช้กับดักหลุมปูผ้าพลาสติกแล้วจับไปทำลาย

4) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัด

แมลงนูนหลวง

ลักษณะการเข้าทำลาย : เป็นศัตรูในดินตัวเต็มวัยปีกแข็ง วางไข่ในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร หนอนมีลักษณะโค้งงอ สีขาวนวล ปากมีเขี้ยวใหญ่แข็งแรง กัดกินรากอ้อยเหง้าออ้อย แห้งตายทั้งกอ ทำให้อ้อยหักล้ม

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด : 1) ใช้ไฟล่อแมลงและจับตัวเต็มวัยไปทำลาย

2) ไถตาก ไถพรวนดินหลายๆรอบเพื่อทำลายไข่และหนอนในดิน ก่อนปลูกอ้อยในแปลง

3) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัด

ปลวก

ลักษณะการเข้าทำลาย : สร้างรังอยู่ใต้ดินลำตัวสีขาว เข้าทำลายลำอ้อยในระดับต่ำกว่าผิวดิน  กัดกินอ้อยเป็นโพรงแล้วบรรจุดินอัดเข้าแทนที่ เข้าทำลายอ้อยในทุกระยะการเจริญเติบโต พบการระบาดในทุกระยะแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน

การป้องกันกำจัด : 1) ไถดะ 1-2 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน ไถพรวน 2-3 ครั้ง

2) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัดปลวกใต้ดิน

การเก็บเกี่ยว : ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือน หลังปลูก ให้น้ำอ้อยมีค่าความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส หรือค่าบริกซ์ส่วนตรงกลาง และปลายลำแตกต่างกันน้อยกว่า 2

 

วิธีการเก็บเกี่ยว : ใช้มีดถากใบและกาบใบออกทั้ง 2ด้าน แล้วตัดอ้อยให้ชิดดิน  ควรตัดยอดอ้อยต่ำกว่าคอใบประมาณ 25-30 เซนติเมตร ในอ้อยที่ยังไม่ออกดอก และตัดต่ำจากใบธง ประมาณ 100-150 เซนติเมตร ในอ้อยที่ออกดอก แล้วใช้ยอดอ้อยมัดโคนและปลาย มัดละ 10ลำ แล้ววางเรียงกันในไร่

 

การบันทึกข้อมูลแปลง : เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในทุกช่วงเวลา เพื่อให้มีการตรวจสอบได้หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการผลิตพืช และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ดังนี้

1) สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝน

2) พันธุ์ที่ใช้ปลูก และวันที่ปลูก

3) วันที่ให้ปุ๋ย ให้น้ำและปริมาณ  ชนิดปุ๋ยและอัตราการให้

4) วันที่เริ่มมีศัตรูพืชระบาด ชนิดและปริมาณ (โรค และแมลง)

5) วันที่เก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่าย ปริมาณ คุณภาพ ราคาผลผลิต และรายได้

6) ปัญหา อุปสรรค ตลอดฤดูกาลปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง

ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกอ้อย (กรมส่งเสริมการเกษตร) , ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี  

      : เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ (ปิยพร วิสระพันธุ์) , สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับอ้อย

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก     :    ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะงอก ( เริ่มปลูก-1เดือนครึ่ง )       :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะแตกกอ ( 1เดือนครึ่ง-3เดือน )    : โล่เขียว 100-200 ซีซี+ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะย่างปล้อง ( 4-6เดือน )              :  โล่เขียว 200 ซีซี+ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะแก่และสุก ( 8เดือน-เก็บเกี่ยว )  :  โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

 

 

 

 

มะละกอพืชทำเงิน

นอกจากใช้บริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจําวันแล้ว ผลมะละกอดิบ ผล มะละกอสุก และส่วนของยางยังใช้เป็นประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกหลาย ๆ ด้าน เช่น เนื้อมะละกอดิบสามารถนําไปทํามะละกอเชื่อม แช่อิ่ม ดองเค็ม หรือใช้ในโรงงานปลา กระป๋อง ผลมะละกอสุกสามารถใช้ทํานํ้าผลไม้ ผลิตซอส ผลไม้กระป๋อง แยมลูกกวาด และ มะละกอผง เปลือกมะละกอใช้ทําเป็นอาหารสัตว์ หรือสีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในโรงงานผลิตเบียร์ ผลิตนํ้าปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมี และเครื่องสําอางค์ เป็นต้น

มะละกอ เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานผลสุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในต่างประเทศนั้นนิยมมะละกอพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็ก มีนํ้าหนักต่อผลไม้เกิน 600 กรัม แต่มะละกอของไทยยังมีปริมาณการผลิตเพื่อการส่งออกโดยตรงมีน้อย และพันธุ์ที่ปลูกส่วนมาก เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะสําหรับส่งตลาดต่างประเทศ สถานีวิจัยปากช่องได้ผลิตมะละกอสายพันธุ์บริสุทธิ์ปากช่อง 1 ซึ่งมีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป มีรสหวาน 12-14 องศาบริกส์ นํ้าหนักผล 350 กรัม เป็นพันธุ์ที่เหมาะสําหรับส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้าพันธุ์หนึ่ง นอกจากคุณสมบัติของผลดังกล่าวแล้ว มะละกอพันธุ์นี้จะมีลักษณะใบมี 7 แฉกใหญ่ ใบกว้าง 50-60 ซม. ยาว 45-50 ซม. ก้านใบสีเขียวปนม่วง ยาว 70-75 ซม. ระยะเวลาปลูกประมาณ 8 เดือน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้ให้ผลผลิต 30- 35 กิโลกรัมต่อต้นในระยะ 18 เดือน และค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง

พันธุ์มะละกอที่คนไทยคุ้นเคยกันดี คือมะละกอแขกดำ มะละกอแขกดำมีจุดเริ่มต้นที่อำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี จากนั้นก็กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ มะละกอเป็นพืชที่กลายพันธุ์ง่ายเมื่อนำไปปลูกถิ่นอื่นนาน ๆ ลักษณะก็จะเปลี่ยนไป เมื่อพบสิ่งที่ดีผู้ปลูกก็จะเก็บสิ่งนั้นไว้ สถานีวิจัยพืชสวนท่าพระจังหวัดขอนแก่นนำมะละกอแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ ได้ชื่อว่า “แขกดำท่าพระ” ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษนำแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ได้ชื่อว่า “แขกดำศรีสะเกษ” เกษตรกรที่จังหวัดจันทบุรี ปลูกมะละกอแขกดำกันมากจนเกิดการกลายพันธุ์ รู้จักกันดีในนาม “แขกดำหนองแหวน” และพันธุ์อื่น ๆเช่น มะละกอฮอลแลนด์  มะละกอพันธุ์ครั่ง   มะละกอพันธุ์แขกนวล   มะละกอพันธุ์ท่าพระ 1, 2 และ 3 เป็นต้น

การผลิตมะละกอให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพจะต้องเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่การเตรียมต้นกล้า การเตรียมแปลงปลูก การปลูกและการดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนี้

การเตรียมต้นกล้ามะละกอ

มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวาง และต้นกล้าที่งอกใหม่ๆต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ ได้ 2 แบบ คือ

  1. เพาะเมล็ดลงถุง
  2. เพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ แล้วย้ายลงถุง
  3. การเพาะเมล็ดลงถุง การเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรงนั้นเป็นวิธีที่สะดวก เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ด ให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจเป็นเศษหญ้าสับ แกลบ ถ่านหรือเปลือกถั่วก็ได้ แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น นําดินที่ผสมแล้ว ใส่ถุงขนาด 5×8นิ้ว ที่เจาะรูระบายนํ้าเรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รูตั้งเรียงไว้กลางแจ้งใน บริเวณที่สามารถให้นํ้าได้อย่างสมํ่าเสมอทุกวัน หลังจากนั้นฝังเมล็ดมะละกอลงไปใต้ดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร ถุงละ 3 เมล็ด รดนํ้าให้ชุ่มทุกเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 10-14 วัน หลังปลูก เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ ถอนต้นที่อ่อนแอออก ในการเพาะเมล็ดนี้ควรฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดรา พวกแมนโคเซบผสมยาป้องกันแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส และสารจับใบฉีดครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่มงอก และหลังจากนั้น ฉีดทุก ๆ 10 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูกซึ่งจะสามารถย้ายกล้าปลูกเมื่อเพาะเมล็ด ได้ 45-60 วัน หลังจากถอนแยกต้นกล้าเหลือต้นเดียวแล้ว อาจสามารถเร่งให้ต้นกล้าเจริญเติบโต ได้เร็วขึ้นโดยให้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ที่มีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วย โดยใช้ปุ๋ยอัตรา 2 ช้อน แกงต่อนํ้า 20 ลิตร และผสมไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนแนะนำ ฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน
  4. การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ หรือกะบะเพาะแล้วย้ายลงถุง เตรียมแปลงเพาะกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร ให้ความยาวแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือใต้ ย่อยดินให้ละเอียดและผสมปุ๋ยคอกประมาณตารางเมตรละ 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าปุ๋ยคอกกับดินที่ย้อยแล้วให้เข้ากัน แล้วยกเป็นรูปแปลงสูงจากระดับดิน เดิม 15 ซม. แล้วใช้ไม้ขีดทําร่องแถวตามความกว้างของแปลงลึกประมาณ 1 ซม. ให้แถวห่างกัน 25 ซม. จากนั้นโรยเมล็ดมะละกอลงในร่องแถวให้ห่างกันพอประมาณ จนตลอดแปลง หลังจากนั้นจึงรดนํ้าให้ชุ่ม ผสมด้วยยาฆ่าแมลงเพื่อกันมดคาบเมล็ดไป อาจใช้เซฟวิน 85 หรือ S-85 ก็ได้และรดนํ้าให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น-เมื่อต้นกล้ามีใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือ ประมาณ 21-25 วัน หลังจากเพาะให้ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกขนาด 5×8 นิ้ว ถุงละ 1 ต้น ตั้งเรียงไว้ในที่ร่มมีแสง 50% ฉีดยาพ่นป้องกันโรคแมลง และให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรง

การเพาะเมล็ดลงกะบะพลาสติกก็ปฏิบัติคล้ายๆกัน โดยเอากระดาษหนังสือ พิมพ์รองก้นตะกร้าพลาสติก แล้วใส่ดินผสมเช่นเดียวกับที่เตรียมสําหรับเพาะในถุงลงไป เกลี่ยผิวหน้าดินให้เรียบ ทําร่องแถวเพาะห่างกันประมาณ 10 ซม. แล้วนําเมล็ดมะละกอหยอดลงไป รดนํ้าให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น เมื่อกล้ามีใบจริงแล้วจึงย้ายลงถุงต่อไป และเมื่อต้นกล้าในถุงแข็งแรงดีแล้วจึงนําไปปลูกได้ ระยะเวลาตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงย้ายกล้าลงปลูกในแปลงได้ใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการเพาะกล้ามะละกออยู่ในช่วงกลางเดือน มกราคม สามารถย้ายกล้าปลูกได้ในราวกลางเดือนมีนาคมและจะเริ่มเก็บผลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลไม้ชนิด อื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทําให้จําหน่ายได้ราคาสูง

การเลือกพื้นที่ปลูกและการการเตรียมแปลง

มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายนํ้าได้ดีมีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบนํ้าขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ ควรทําแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่มใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทําให้ไม่สะดวกในการป้องกันกําจัดศัตรูของมะละกอ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร แหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผิวมะละกอบาง ทําให้เกิดการชอกชํ้าในการขนส่งได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

  1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อย ดินให้เล็กด้วยผาน 7
  2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูก อีก 2 หลักโดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
  3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับ ระยะปลูก
  4. ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา และใส่ร็อกฟอสเฟตลงไปอีก 100 กรัม ถ้าไม่มีร็อกฟอสเฟตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่แทนจํานวน 20 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดีแล้วใช้จอบกลบ ดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
  5. ก่อนปลูกหาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทําเครื่องหมายที่ตําแหน่ง 0.00, 0.50 เมตร และ 1 เมตร เป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกด้าน

ช่วงเวลาและฤดูการปลูก

ปกติแนะนําให้เกษตรกรเพาะกล้าในช่วงกลางหรือปลายเดือนมกราคม ซึ่งจะสามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกได้ประมาณกลางเดือนมีนาคม และจะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม เป็นต้นไปซึ่งจะเป็นช่วงที่มีผลไม้ประเภทอื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทําให้มะละกอมีราคาสูง ถึงแม้ว่าเกษตรกรชาวสวนที่ปลูกโดยอาศัยนํ้าฝน ก็จะมีผลผลิตออกขายได้ยาวนาน แต่ถ้าเพาะเมล็ดช้าหรือย้ายปลูกช้าจะทําให้ช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลตรงกับช่วงแล้งต้องให้นํ้าชลประทานมากจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขึ้น มาก การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงที่ได้ราคาสูงจะได้น้อยกว่า

วิธีการปลูก

ให้นําต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุง พลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตําแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดย เฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดนํ้าให้ชุ่ม  ถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝน จะช่วยประหยัดทุนและแรงงานในการให้นํ้า โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้นํ้ากับต้นกล้ามะละกอจนตั้งตัวได้โดยรดนํ้า 2-3 วันต่อครั้ง และที่สําคัญคือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผล เป็นช่วงที่ต้องการนํ้ามาก การขาดนํ้าจะทําให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์ การให้นํ้ากับต้นมะละกออย่างสมํ่าเสมอ จึงทําให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอน หรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การให้ปุ๋ย

ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สําหรับรองก้นหลุมนั้น ยังไม่พอเพียงสําหรับการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต จึงต้องมีการให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่มีลําต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือน โดยแบ่งใส่ 3- 4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น และใช้ปุ๋ยทางใบเช่น โล่เขียว + ไร่เทพ ตามอัตราส่วนแนะนำ  ฉีดพ่นเป็นละอองฝอย ทุก ๆ 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกง ต่อนํ้า 20 ลิตร ขณะเดียวกัน ก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตรา ต้นละ 50 กรัมหลังจาก ย้ายปลูก 1 เดือน และใส่ทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสม กับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้น วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้ใส่ปุ๋ยหว่านทางดิน พรวนกลบแล้วรดนํ้าตาม อย่าใส่ปุ๋ยกลบโคนต้น

การกำจัดวัชพืช

ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซม ร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถวระหว่างต้นเมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้น หรือรากมะละกอ จะทําให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทําให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้น ให้หนา ๆ จะทําให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่

การติดดอกออกผล

มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้นคือ ต้นตัวผู้จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจํานวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผลหรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจําหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ

ต้นตัวเมียจะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลําต้น เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน

ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตําแหน่งของเกสร ตัวผู้ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทําให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทําให้ผลบิดเบี้ยวและดอกสมบูรณ์เพศที่ทําให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์ เพศสองชนิดหลังนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรผู้ปลูกต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ นอกจากนั้น แม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมากทําให้ผลเล็กได้จึงขอแนะนําให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลาย ช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สมํ่าเสมอกันทั้งต้น ถ้าทําทั้งสวนจะทําให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย 

โรคและแมลงศัตรูพืชในมะละกอ

เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลําตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้น ฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีนํ้าตาล ถ้าเป็นกับผลทําให้ผลกร้านเป็นสีนํ้าตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบถ้าพบอาจใช้นํ้าฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือใช้ยาฆ่าแมลงพวก ไดเมโธเอท หรือโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุก 5-7 วัน

ไรแดง เป็นสัตวขนาดเล็กมี 8 ขา จะทําให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ๆ จะพบตัวไรสีคลํ้า ๆ อยู่เป็นจํานวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาว กระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติคือด้วงเต่าเล็ก ตัวดําลําตัวรีตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี ถ้ามีไรระบาดมากให้ใช้ยากําจัดไรพวก ไดโคโฟล , อามีทราซ หรือ ไพริดาเบน ตามอัตราส่วนผู้ผลิตแนะนำฉีดพ่นในช่วงที่มีการระบาด

แมลงวันทอง แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทําลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ ทําให้ หนอนที่ฟักเป็นตัว ทําลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้น ตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจุด ช่วงที่ทําความเสียหายให้กับ เกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน มักจะพบในมะละกอสุกทําให้ผู้บริโภคเสียความ รู้สึกในการรับประทาน

การป้องกัน แนวทางป้องกันคือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น ร่วมกับการใช้มาลาไธออนฉีดพ่นทําลายตัวเต็มวัย และล่อตัวผู้ด้วย เมธิลยูจีนอล ผสมยาฆ่าแมลงพวกมาลาไธออน อัตรา 1:1 หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสียเนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึกๆ หรือเผาไฟ

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สําคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบว่ากําลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิต ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง   

โรคพืชที่มักพบในมะละกอ

โรคใบด่าง

อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สี ซีดต่อมาใบร่วงและทําให้ต้นตาย สําหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบ สั้นใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิต น้อยหรือไม่ได้ผลผลิตเลย

สาเหตุเกิดจากเชื้อปาปายาริงสปอทไวรัส ถ้าพบว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นํา มีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทําให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยอื่น ๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกตินอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้

โรคราแป้ง

ลักษณะอาการ อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบและผล ใบอ่อนที่ถูกทําลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมาก ๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้านและขรุขระไม่น่าดูส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่ นอน

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลม แพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว

การป้องกันกําจัด ควรพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรครา เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไดโนแคพ 20 กรัมต่อนํ้า 30 ลิตร

โรคโคนเน่า  

ลักษณะอาการ อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลําต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทําให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตาย หรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลําต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับนํ้าเข้าทําลายต้นอื่น

การป้องกันและกําจัด ถ้าหากมีนํ้าท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มี การระบายนํ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งจําเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทําลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทําลายก็ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลคซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร,  ฟอสอีธิลอลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เป็นต้น

โรคแอนแทรคโนส

ลักษณะอาการ อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีนํ้าตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุก ลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อรา ชนิดนี้ทําลายทั้งใบอ่อนและผล ความสําคัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุ ผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนําเชื้อโรคไป

การป้องกันและกําจัด ถ้าโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แมนโคเซป แคปแทน 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

มะละกอจะมีผลเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 7-8 เดือน และจะให้ผลแก่ทะยอยกันไปเรื่อย ๆ มะละกอมีอายุยืนยาวมากน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ยิ่งอายุมากตําแหน่งของผลจะอยู่สูงขึ้นไปมาก ทําให้ไม่สะดวกในการเก็บเกี่ยวผล การปลูกมะละกอในบางเขตจึงนิยม เก็บเกี่ยวผลจนอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี จึงปลูกใหม่ ปกติผลผลิตมะละกอจะได้ 3-4 ตัน ต่อไร่ ถ้าใช้ระยะปลูก 4 x 3 เมตร แต่ถ้าปลูกให้ถี่ขึ้นจะได้ผลผลิตสูงขึ้น มะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยมีผลในฤดูแล้ง เนื่องจากการขาดนํ้าชลประทานทําให้ดอก และผลอ่อนมะละกอร่วง จึงมีความจําเป็นมากจะต้องปลูกในแหล่งที่มีนํ้าชลประทาน เพื่อให้ได้ ผลผลิตสูงและต่อเนื่องยาวนาน

การเก็บเกี่ยวผลให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้วผลมะละกอให้ติดต้น แล้วตัดขั้วผลมะละกอที่ยาวออกภายหลัง ห้ามใช้มือบิดผลเพราะทําให้ขั้วชํ้า และเชื้อราสามารถจะเข้าทําลายทางขั้วที่ติดต้นทําให้ต้นเน่าเสียหายได้ เลือกเก็บเกี่ยวผลที่มีผิวสีส้มประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวผลผลที่เก็บควรใส่ภาชนะหรือเข่งที่กรุกระดาษหลาย ๆ ชั้นหรือกล่อง กระดาษ ระวังไม่ให้ยางเปื้อนผิว ติดผลวางเข่งหรือกล่องไวในที่ร่มเคลื่อนย้ายไปที่คัดขนาด ด้วยความระมัดระวัง

สรุป : การปลูกมะละกอให้ได้ผลและมีคุณภาพได้ผลดี ต้องมีการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเมื่อกล้ามะละกอยังเล็กจนกระทั่งถึงระยะเก็บเกี่ยวผลโดยยึดหลัก ดังนี้

  1. ต้นกล้าต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่อยู่ในถุงนานเกินไป
  2. หลุมปลูกต้องมีการระบายนํ้าดีมีอาหารอุดมสมบูรณ์
  3. ให้นํ้าชลประทานอย่างสมํ่าเสมอไม่ให้ขาดนํ้าโดยเฉพาะช่วงติดผลและผลเจริญ
  4. มีการให้ปุ๋ยเพิ่ม และมีการป้องกันแมลงและโรคอย่างต่อเนื่อง
  5. มีการตรวจดูทําลายวัชพืชและพืชอาศัยของโรคแมลง ในบริเวณข้างเคียงไม่ให้รบกวน
  6. ในระยะที่ต้นมะละกอยังเล็ก ควรตรวจดูต้นโดยเฉพาะใบแก่ด้านบน และด้านล่างใบว่ามีไร เพลี้ยไฟ หรือโรคจุดเข้าทําลายหรือไม่
  7. ตรวจดูว่ามีต้นแคระแกร็น หรือต้นใบด่างยอดด่างหรือไม่ ถ้าพบต้นแคระแก็รนให้ถอนต้นตรวจดูราก ถ้าใบด่างให้ถอนและเผาไฟทําลายทิ้ง
  8. เก็บใบและต้นใบแห้ง ออกเผาไฟ
  9. นอกจากฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดแมลงที่ต้นและใบแล้ว ให้ราดยาป้องกันกําจัดแมลงที่โคนต้นป้องกันมด และฆ่าเพลี้ยหอยมายังส่วนผลทุก 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
  10. เก็บเกี่ยวผลที่ผิวเริ่มมีสีเหลืองประมาณ 5% ของพื้นที่ผิวผลมะละกอ

อ้างอิง : การปลูกมะละกอ ( คุณฉลองชัย แบบประเสริฐ ) , เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ ( วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2562 )

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับมะละกอ

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ หรือใช้บัวรดในหลุมปลูก 3-5 ลิตร/หลุม ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)   :   โล่เขียว 50-80 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                :    โล่เขียว  100  ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะก่อนออกดอก             :    โล่เขียว  200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต         :    โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง  ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

            

 

ปลูกพริกให้ผลผลิตสูง

 

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ต่อพื้นที่ได้น่าสนใจชนิดหนึ่ง โดยในพื้นที่ปลูกประมาณ 1 ไร่สามารถสร้างได้เฉลี่ยประมาณ 60000 – 100000 บาท  เลยทีเดียว (ข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร) แถมยังเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนอากาศร้อน และปลูกได้ทุกพื้นที่ ทำให้ในแต่ละปีประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 1 แสนไร่ โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ “พริกขี้หนูผลใหญ่” ปัจจุบันความนิยมบริโภคพริกในประเทศนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เกษตรกรหลายพื้นที่เผชิญปัญหาปริมาณและคุณภาพของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ทั้งจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน และปัญหาดินเสื่อมสภาพจากการปลูกพืชชนิดเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน พริกเป็นพืชผักที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 400,000 ไร่ อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยรวมทั้งคนเอเชียทุกครัวเรือน “ ขาดพริกไม่ได้ ” จะต้องมีพริกเกี่ยวข้องในมื้ออาหารที่บริโภคเป็นประจําทุกวัน แม้กระทั่งพริกสด และผลิตภัณฑ์พริกยังถูกส่งไปจําหน่ายในประเทศใกล้เคียง หรือในแถบยุโรป อเมริกา ที่คนเอเซียไปอยู่อาศัย นอกจากใช้บริโภคผลสดแล้ว ผลผลิตยังถูกนําไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมทําผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากพริก เช่น ซอสพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกงเผ็ด พริกแห้ง พริกป่นและยาบรรเทาอาการปวด แมลงกัดต่อย

  1. พันธุ์พริก พริกที่ปลูกในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามขนาดผล

1.1.กลุ่มพริกผลใหญ่ : พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหนุ่ม และพริกเหลือง ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-3 เซนติเมตร รูปร่างผลมีหลายแบบ ส่วนมากผล เรียวยาว ปลายผลแหลม สีผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีเหลือง ส้ม หรือสีแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ผิวผลมัน ผิวอาจเรียบหรือย่น รสชาติค่อนข้างเผ็ด พริกชี้ฟ้า และพริกมันใช้ผลสดทั้งเขียวและแดง ประกอบอาหาร เช่น ผัด แกง และนําไปทําซอสพริก น้ำจิ้มต่าง ๆ ผลแดงเมื่อตากแห้งให้สีแดงสวย นําไปทําเครื่องแกงเผ็ดและพริกป่น สําหรับพริกเหลืองใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงเผ็ด ผัด หรือดองน้ำส้ม ส่วนพริกหนุ่มใช้ทําน้ำพริกหนุ่ม ซอสพริก แต่ไม่นิยมนําไปทําพริกแห้งและพริกป่นเพราะสีไม่สวย เมล็ดพันธุ์ที่มีจําหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ มีพันธุ์ผสมปล่อยอยู่ในแหล่งที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อเนื่องกันมา เช่น พริกมันดําบางช้าง มันดําบางซอ

พริกหยวก ผลยาว 4-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-4 เซนติเมตร ผลยาวรูปทรงกรวย ปลายผล แหลม ตรง ผิวมันและเรียบ เนื้อหนา ผลอ่อนมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีเหลือง และสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกแก่มสีีแดง รสชาติเผ็ดน้อย ใช้ประกอบอาหาร เช่น หลน ผัด ย่าง หรือพริกหยวกยัดไส้

พริกหวาน หรือพริกยักษ์ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 5-12 เซนติเมตร รูปร่างผล ทรงกระบอก ผิวมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกแก่มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง น้ำตาล และม่วง เนื้อหนา รสชาติไม่เผ็ด รับประทานเป็นผักสดในจานสลัด ผัด ทําพริกยัดไส้อบหรือนึ่ง พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด

1.2.กลุ่มพริกผลเล็ก : พริกขี้หนูผลใหญ่ ความยาวผลตั้งแต่ 3-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 0.3-1.0 เซนติเมตร ผลเรียวปลายแหลม ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดงสด รสชาติเผ็ด ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ำพริก ส้มตํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม หรือรับประทานสด ผลแดงทําพริกแห้ง และพริกป่น พันธุ์ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เองเช่น พันธุ์ยอดสน หัวเรือ จินดา ห้วยสีทน แต่พันธุ์ลูกผสมจากบริษัทต่าง ๆได้รับ ความนิยมมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตสูง สีผลมีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์พื้นบ้าน ก้านผลใหญ่ เช่นพันธุ์ซุบเปอร์ฮอท

พริกขี้หนูผลเล็ก ผลขนาดเล็ก ความยาวผลน้อยกว่า 3 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดง รสชาติเผ็ดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทน้ำพริก ต้มยํา ส้มตํา ยํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม และรับประทานสด พบเห็นทั่วไปคือ พริกขี้หนูสวน พริกกระเหรี่ยง

  1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พริกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน ชื้น แสงแดดไม่จัดจนเกินไป จึงมักพบเห็นพริกเติบโตใต้ ต้นไม้ใหญ่ได้ดีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริก อยู่ในช่วง 20 – 30 องศาเซลเซียส (ยกเว้น พริกหวาน ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 18 – 27 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส ทําให้ดอกร่วง และถ้าอุณหภูมิปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน อาจทําให้ผลอ่อนร่วงด้วย นอกจากนี้การขาดน้ำก็มีผลให้ดอกร่วงเช่นกัน พริกชอบดินร่วนโปร่ง ไม่มีน้ำขังแฉะ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม ประมาณ 6.0-6.5 การปลูกพริกในฤดูฝนจําเป็นต้องเลือกปลูกบนที่ดอน หรือดินร่วนทรายหรือยกแปลงปลูกให้สูงเท่าที่จะทําได้เพื่อให้การระบายน้ำ ออกจากแปลงปลูกทําได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน และดินควรได้รับปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก อย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ร่วนโปร่ง และเป็นอาหารสําหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ต้นพริกแข็งแรง ทนทานโรคได้ดี                                                                                                         
  2. การเจริญเติบโต พริกเจริญเติบโตเป็นลําต้นเดี่ยวตั้งตรง เมื่อเติบโตจนถึงข้อที่ 9-15 จะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ เรียกว่าง่ามแรก และที่ง่ามแรกจะมีตาดอกแรกเป็นดอกเดี่ยว 1 ดอก หรือในพริกขี้หนูสวนอาจมีดอก 1-2 ดอก การเจริญเติบโตต่อไปจะแตกยอด จาก 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง ไปเรื่อย ๆ พริกออกดอกที่ข้อเกือบทุกข้อที่โคนลําต้นหลักใต้ง่ามแรก จะมีแขนงย่อยแตกตามข้อ 3-5 แขนง แขนงย่อยอาจมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ สามารถให้ดอกติดผลได้ถ้าใช้ระยะปลูกห่าง แต่ถ้าระยะปลูกแคบ แขนงมักไม่ค่อยสมบูรณ์ติดผลขนาดเล็ก ดังนั้นการปลูกพริกใหญ่จึงมักเด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแย่งอาหารจาก ลําต้นหลักสําหรับพริกขี้หนูซึ่งปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างกว่าพริกผลใหญ่ อาจไม่เด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่าม แรกออกทั้งหมดก็ได้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนงเก็บไว้จะได้ผลผลิตจากกิ่งแขนงด้วย เพราะพริกขี้หนูมีผลขนาดเล็ก ขนาดผลอาจเล็กลงบ้าง แต่ไม่แตกต่างจากผลปรกติมากนัก                                                                                                                                                                                                                                     
  3. เมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกมี 2 ประเภท 1. เมล็ดพันธุ์ลูกผสม มีจําหน่ายตามร้านขายวัสดุเกษตรทั่วไป เมื่อปลูกแล้วไม่ควรเก็บพันธุ์ปลูกต่อไปอีก เพราะรูปร่างผลจะเปลี่ยนแปลงไป มีหลายขนาดหลายลักษณะแตกต่างจากรุ่นแรกที่ซื้อเมล็ดมา ทําให้ตลาดไม่รับซื้อผลผลิต 2. เมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดที่ได้จากท้องถิ่นที่เก็บพันธุ์ปลูกต่อ ๆ กันมานาน มีความแปรปรวนของทรงต้นและลักษณะผลบ้าง ผลผลิตมักจะต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่มีลักษณะเฉพาะตัวดีเด่นในแต่ละพันธุ์เช่น พริกพันธุ์ยอดสน เมื่อตากแห้งแล้วก้านผลมีสีทองสวย การเก็บเมล็ดพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์สามารถทําได้ในพันธุ์ทั้งสองประเภท แต่การคัดพันธุ์จาก เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 6-7 ชั่ว จึงจะได้สายพันธุ์ที่นิ่งคือ มีลักษณะสม่ำเสมอ เหมือนกันในทุกชั่วที่เก็บเมล็ดปลูกต่อ ๆ กันไป ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมการผสมเกสร และคัดเลือก ลักษณะที่ตรงตามต้องการของตลาด ซึ่งผู้ทําการคัดเลือกต้องมีความรู้ในการคัดพันธุ์พอสมควร ส่วนพันธุ์ผสมปล่อยที่มีลักษณะต่าง ๆ แปรปรวนอยู่บ้าง วิธีการคัดพันธุ์คือเลือกต้นที่มีลักษณะดี เช่นผลดก ผลตรง ผลใหญ่ต้นตั้งตรงแข็งแรง แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ดีอาจมีต้นที่มีลักษณะดีหลายต้น เก็บเมล็ดแยกต้นกันนําไปปลูกต่อจากนั้นคัดเลือกต้นที่ดี โดยยึดลักษณะเช่นที่เคยคัดเลือกมาซ้ำ 2-4 ชั่ว ก็จะได้พันธุ์ปลูกที่ดีมีลักษณะตามที่เราคัดเลือก และถ้าให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเร็วขึ้น จะต้องควบคุมการผสมเกสร เพื่อให้ต้นพริกที่เราคัดเลือกไว้ติดผลจากเกสรในดอกเดียวกันหรือของต้นเดียวกัน โดยใช้สําลีหุ้มดอกที่ยังตูมอยู่ ไม่ให้แมลงมาผสมเกสรในดอกนั้น ดอกที่เราคลุมด้วยสําลีจะได้ละอองเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน ติดเป็นผล และผลนี้จะได้เมล็ดเรียกว่าเป็นการผสมตัวเอง ถ้าทําอย่างนี้ไปหลายๆครั้งที่นําเมล็ดไปปลูก ก็จะได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเป็นพันธุ์ของเราเอง และเมื่อลักษณะต่าง ๆ สม่ำเสมอกันทุกต้นแล้วก็ไม่ ต้องทําการผสมตัวเองอีก เก็บเมล็ดจากทุกต้นรวมกันเป็นพันธุ์ปลูกได้ เมล็ดพันธุ์พริกที่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรแกะเมล็ดออกจากผลที่สุกแดงแล้วโดยเร็วจะแกะเมล็ดขณะผลสด หรือเมื่อผลแห้งก็ได้แต่ไม่ควรปล่อยให้ผลที่แห้งแล้วทิ้งไว้นานเกิน 30 วัน เพราะเมล็ดที่อยู่ใน ผลจะเสื่อมความงอกไปเรื่อย ๆ หลังจากแกะเมล็ดออกแล้วควรผึ่งในที่ร่ม หรือตากแดดเฉพาะตอนเช้า ประมาณ 3-4 วัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่นสนิท หรือถุงพลาสติกหนาปิดถุงให้สนิท นําไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้นานกว่า 1 ปี
  4. การปลูกปฏิบัติดูแลรักษา

5.1 การเตรียมแปลงเพาะกล้าหรือวัสดุเพาะกล้า เลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้าที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ขุดดินยกแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับสภาพดินให้ร่วนโปร่งโดยเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหมัก หรือถ่านแกลบ หรือแกลบอัตรา 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ ใช้ไม้ขีดบนผิวหน้าแปลงเป็นรอยตื้นๆประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร แต่ละรอยห่างกัน 10 เซนติเมตร วางเมล็ดพริกลงในรอยห่างกัน 2-3 เซนติเมตร ใช้ถ่านแกลบผสมปุ๋ยหมัก กลบเมล็ดบาง ๆ นำไม้ไผ่มาโค้งเป็นโครงคลุมด้วยตาข่ายไนล่อนป้องกันฝนและแสงแดดจัด เกินไปในระยะต้นกล้ายังอ่อน สําหรับการเพาะกล้าในถาดเพาะ อาจใช้ดินร่วนตามโคนไม้หรือกอไผ่ที่ใบร่วงทับถมและย่อยสลาย ดีแล้ว ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ร่วนซุยโปร่งพรุน อุ้มน้ำดีน้ำหนักเบา หาได้ในท้องถิ่นมาผสมกันเป็น วัสดุเพาะเช่น 1. ดินร่วน : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก อัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร ขณะที่ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันควรรดน้ำเล็กน้อย เพื่อให้วัสดุมีความชื้นพอสมควร ซึ่งจะช่วยให้น้ำซึมลงในวัสดุได้อย่างทั่วถึงเมื่อรดน้ำภายหลังหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว

5.2 การเพาะเมล็ด การป้องกันเชื้อโรคติดมากับเมล็ด ทําโดยนําเมล็ดแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 50 องศา เซลเซียส (ทําโดยใช้น้ำต้มจนเดือด 1 กระป๋องนมขนาดเล็กผสมกับน้ำเย็น 1 กระป๋องนมขนาดใหญ่ ควร เตรียมน้ำอุ่นปริมาณมาก ๆ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ได้นาน หรือแช่ในกระติกน้ำก็ได้) ประมาณ 30 นาทีจากนั้น ผึ่งเมล็ดให้แห้งคลุกยากันรา เช่น เบนเลท แล้วนําไปหยอดลงแปลงปลูกหรือถาดเพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด กลบเมล็ดบาง ๆ รดน้ำแล้วรดด้วยไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราจากวัสดุปลูกเข้าทําลายเมล็ด ปรกติเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะมีความสมบูรณ์ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย สามารถงอกได้ 99-100 % ดังนั้นจึงไม่จําเป็นต้องหยอดเมล็ดเผื่อเกินกว่าหลุมละ 1 เมล็ด ช่วงที่สําคัญที่สุดของการเพาะกล้าอยู่ในช่วง 7 วันหลังจากหยอดเมล็ด ขบวนการงอกเริ่มต้นด้วยเมล็ดดูดน้ำเข้าไป ขบวนการหายใจเริ่มทํางาน สร้างน้ำย่อยในเมล็ด เพื่อเปลี่ยนอาหารที่สะสมไว้เป็นพลังงานในการงอก ระยะนี้ต้องการความชื้นและออกซิเจนจากอากาศ ดังนั้นหลังจากแช่เมล็ดให้ดูดน้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้วจึงนําเมล็ดมาห่อด้วยผ้าชื้นเรียกว่าการบ่ม

ถ้าหยอดเมล็ดลงถาดเพาะโดยไม่มีการบ่มเมล็ด จะต้องรดน้ำรักษาความชื้นถาดเพาะให้สม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะไว้ถ้าวัสดุปลูกแห้งเกินไปเมล็ดที่เริ่มงอกจะชะงักการเติบโต ในมุมกลับถ้าแช่เมล็ดในน้ำนานเกินไปหรืออยู่ในวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ก็จะทําให้เมล็ดขาดอากาศตายได้เช่นกัน การปฏิบัติที่จำเป็นคือ เตรียมวัสดุเพาะอย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆหลายๆ ครั้งให้เข้ากัน ดีบรรจุในถาดให้เต็มหลุมพอดีทุกหลุม หยอดเมล็ดด้วยความระมัดระวัง ไม่ทําให้รากที่เพิ่งเริ่มปริหักออก ทําหลุมหยอดเมล็ดให้ลึกสม่ำเสมอกัน และกลบเมล็ดด้วยวัสดุปลูกบาง ๆ ไม่หนาเกินกว่า 1 เซนติเมตร ดูแลความชื้นในถาดเพาะให้ชื้นพอดีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน การควบคุมความชื้นในถาดเพาะให้ สม่ำเสมอทําได้โดยรดน้ำน้อยๆบ่อยๆ หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะซึ่งเป็นการ ”บ่มถาดเพาะ” เมื่อเมล็ดงอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้าพลาสติกออก การใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเป็นวิธีรักษาความชื้นของดินในถาด เพาะได้ดีสามารถหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะได้ทันทีโดยไม่ต้องนําเมล็ดแช่น้ำและบ่มเมล็ดให้มีรากปริออกก่อน ช่วยให้การหยอดเมล็ดทําได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น (การบ่มเมล็ดด้วยการนําเมล็ดแช่น้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้ว ห่อเมล็ดด้วยผ้าชื้นๆ บ่มในกระติกหรือภาชนะที่มีฝาปิด 2-3 วัน เป็นการช่วยให้เมล็ดงอก แต่หลังจากหยอดเมล็ดแล้วหากแปลงปลูกหรือถาดเพาะมีความชื้นไม่สม่ำเสมอ รากที่ปริออกอาจแห้งตายได้ และการหยอดเมล็ดที่เริ่มปริทําได้ช้า และยากกว่าการหยอดด้วยเมล็ดแห้ง) หลังจากต้นกล้างอกแล้ว ดูแลต้นกล้าในถาดเพาะต่อไปอีก 30 วัน โดยในช่วง 15 และ 20 วัน หลังจากหยอดเมล็ด รดปุ๋ยเคมีสูตร 15: 15 : 15 ละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากรดปุ๋ย แล้วรดน้ำตามเบาๆเพื่อล้างปุ๋ยออกจากใบ และก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ควรทําให้ต้นกล้าพริก แข็งแรงทนทานโดยเปิดตาข่ายที่คลุมต้นกล้าออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดมากขึ้นหรือลดปริมาณน้ำที่ให้ลง อาจงดน้ำนานขึ้นจนต้นกล้าเริ่มเหี่ยวแล้วให้น้ำใหม่ ทําเช่นนี้ 2 ครั้งเป็นการกระตุ้นให้ต้นกล้าสะสมอาหารไว้ในต้นมากขึ้นกว่าปรกติเพื่อใช้ในการงอกรากใหม่ต้นกล้าที่ดีควรมีลําต้นแข็ง ไม่อวบฉ่ำน้ำ การทําให้ต้น กล้าแข็งแรงก่อนย้ายปลูกเป็นการเตรียมความพร้อมต้นกล้าที่จะออกไปสู่แปลงปลูกที่สภาพแวดล้อม เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน ต้นกล้าจะรอดตายมากขึ้น กรณีที่ไม่สามารถย้ายปลูกได้ตามกําหนด ต้นกล้าอยู่ ในถาดเพาะเป็นเวลานาน 50-60 วัน ทําให้รากขดเป็นวง ก่อนนําไปย้ายปลูกควรกรีดด้วยมีดหรือใช้กรรไกร ตัดรากตามแนวเดียวกับลําต้น 1-2 รอย เป็นการตัดรากเพื่อให้รากใหม่เกิดขึ้นได้ง่าย

5.3. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก แปลงปลูกควรได้รับการไถพรวนให้ดินร่วนโปร่งและตากแดดไว้อย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคทางดิน เติมปุ๋ยคอกหมักหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่และถ้าดินในแปลงปลูกมี pHต่ำ ก่อนไถพรวนทุกครั้งที่ปลูกพริกควรหว่านปูนโดโลไมท์ประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร หน้าแปลงปลูกกว้าง 100-120 เซนติเมตร แล้วแต่ขนาดพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้เว้น ช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจํานวนต้นที่เหมาะสมสําหรับพริกผลใหญ่ ประมาณ 5,000-6000 ต้นต่อไร่ พริกผลเล็กประมาณ 4000 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ดีระยะปลูกผันแปรตาม พันธุ์และฤดูปลูก ถ้าเตรียมแปลงปลูกกว้าง 120 เซนติเมตร (ใช้พลาสติกหน้ากว้าง 120 เซนติเมตร) ปลูก 3 แถวบนแปลง ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร มีช่องทางเดินระหว่างแปลง 80 เซนติเมตร จะปลูกได้ 6,000 ต้นต่อไร่ หรือถ้าเตรียมแปลงกว้าง 1 เมตร คลุมแปลงด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร จะปลูกได้ 5,340 ต้นต่อไร่ซึ่ง การปลูกพริกที่ใช้จํานวนต้นมากถึง 8000-10000 ต้นต่อไร่ (ปลูก 4 แถวและใช้ระยะระหว่างต้น 35-40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50-60 เซนติเมตร) มักพบว่าต้นพริกที่อยู่กลางแปลง ให้ผลพริกขนาด เล็กและผลผลิตไม่มาก อีกทั้งเมื่อเกิดโรคในแปลงจะทําให้การระบาดของโรครวดเร็วและรุนแรงมากกว่า เนื่องจากต้นพริกเบียดกันแน่นอากาศในแปลงถ่ายเทไม่สะดวก ต้นที่อยู่กลางแปลงมักอ่อนแอเพราะได้รับ น้ำและแสงแดดไม่เพียงพอ

5.4 การคลุมแปลงปลูก วัตถุประสงค์ของการคลุมแปลงปลูกคือ ป้องกันหน้าดินไม่ให้แน่นหลังจากฝนตก รักษาความชื้นในดิน ป้องกันผิวหน้าดินไม่ให้กระทบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิดินจึงไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนกระทบกับการ เจริญเติบโตของรากพริก และช่วยป้องกันวัชพืชด้วยวัสดุที่ใช้คลุมแปลงเช่น ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ใบหญ้าคา หรือพลาสติก ในฤดูร้อนข้อดีของการใช้ฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมแปลงปลูกคือ จะช่วยให้แปลงปลูกมีอุณหภูมิต่ำเหมาะสมกับพืชกว่าการใช้พลาสติก

5.5.การตัดแต่งกิ่งแขนง พริกผลใหญ่ควรปลิดแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด ทําโดยใช้มือปลิดขณะที่แขนงยังมีขนาด เล็กยาวไม่เกิน 10-15 เซนติเมตร (อายุประมาณดอกแรกบาน) ถ้าเด็ดช้าแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยาก และเป็นแผลใหญ่ อาจต้องใช้กรรไกรตัด ซึ่งจะเสียเวลาและอาจทําให้โรคแพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง จากกรรไกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การเด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออก จะช่วยให้ต้นพริกไม่ต้องเสียอาหารที่สร้างได้ ไปเลี้ยงกิ่งที่อยู่ใต้ทรงพุ่ม และทําให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเท เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งการพ่นยากําจัดศัตรูพืชทําได้ทั่วถึง ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และยังช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลพริกทําได้ สะดวก ผู้ปลูกมักไม่อยากเด็ดแขนงด้านล่างออกเพราะบางแขนงสามารถติดผลได้บ้าง แต่ถ้าสังเกตดูจะ พบว่าแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกมักจะติดผลน้อย ส่วนใหญ่ไม่ติดผลหรือติดผลขนาดเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นแขนง ขนาดเล็ก นอกจากนี้ถ้าย้ายปลูกต้นกล้าพริกอายุมากเกิน 40 วัน ควรเด็ดดอกแรกทิ้งด้วยเพราะดอกแรกเกิดที่ง่ามแรกจะติดเป็นผลที่ห้อยลงติดกับดินหรือพลาสติกคลุมแปลงทําให้ปลายผลงอ หรือผลอาจเน่าเสียและการเด็ดผลแรกออกยังช่วยให้ต้นพริกเติบโตได้ดีกว่าปล่อยให้ติดผลตั้งแต่ต้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเติบโตของพริกเช่น ฝนตกหนักติดต่อกันไม่ค่อยมีแสงแดด เป็นต้น

5.6 การใส่ปุ๋ย มีหลักการดังนี้ 1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี 2. ใส่ปุ๋ยที่มีสัดส่วนธาตุอาหารตามสัดส่วนที่พืชใช้ส่วนใหญ่พืชที่มีผลมักต้องการ N:P:K ประมาณ 3:1:4 คือต้องการ K และ N มาก ส่วน P ใช้น้อย 3. อัตราปุ๋ยที่ใส่ขึ้นกับผลผลิตคือ ถ้าพืชให้ผลผลิตมากก็ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ให้ตลอดฤดูจะตกประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง) 4. เวลาที่ใส่ปุ๋ยตรงกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชคือ ในช่วงแรกหลังย้ายปลูก พืชยังมีขนาดเล็กไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ช่วงที่พืชเติบโตอย่างรวดเร็วมักจะเป็นช่วงอายุ 25-60 วันหลังย้ายปลูก จึงต้องใส่ปุ๋ยค่อนข้างมากในช่วงนี้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ย อาจปฏิบัติดังนี้ – ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แบบหว่านลงแปลงก่อนเตรียมแปลง หรือใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่และต้องคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ดีก่อนย้ายปลูก เพื่อไม่ให้รากต้นพริกกระทบกับปุ๋ยเคมีโดยตรง  ครั้งที่ 1 อายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้างต้นด้วย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 2 อายุ 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 3 อายุ 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 4 อายุ 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

5.7 โรคและแมลงศัตรูพริก

โรคที่สำคัญอาการและการป้องกันกําจัด

1.โรคกุ้งแห้ง หรือแอนแทรคโนส (Anthracnose) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Colletotrichum spp.

    อาการของโรค ผลพริกที่เป็นโรคนี้ผิวผลยุบตัว ลงเป็นรอยบุ๋ม ฉ่ำน้ำ เมื่อแผล ขยายขนาด จะเห็นรอยแผลเป็น วงซ้อนกัน ส่วนกลางแผลมีเมือก สีส้มปนดํา สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค คือสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 30-32 องศา เซลเซียส และฝนตกพรํา ๆ เชื้อรา นี้สามารถปลิวตามลม และ ตกค้างในดิน เมื่อสภาพเหมาะสม เชื้อจะเจริญแพร่กระจายอย่าง รวดเร็ว

   การป้องกันกำจัดโรค  1. เลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค 2. บํารุงต้นให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์เพราะทําให้สปอร์ แพร่กระจายได้ดีและไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะทําให้ผลอวบน้ำ อ่อนแอต่อการ เข้าทําลายของเชื้อโรค 3. เก็บผลเป็นโรคออกจาก แปลงปลูก นําไปเผาทิ้ง เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 4. ไม่ควรปลูกพริกเบียดกัน แน่นทึบจนเกินไป ตัดแต่งทรง พุ่มให้โปร่งเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก 5. ใช้สารเคมีควบคุม เช่น Azoxystrobin, Mancozeb 

2.โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) เชื้อสาเหตุคือ เชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum)

อาการของโรค ต้นพริกเหี่ยวแบบเฉียบพลัน โดย ต้นพริกและใบยังเขียวอยู่ เมื่อตัด โคนต้นระดับคอดิน จะพบท่อ ลําเลียงอาหารช้ำมีสีน้ำตาลเมื่อ ตัดส่วนที่แสดงอาการโรคแช่ใน น้ำ จะเห็นน้ำยางสีขาวขุ่นไหล จากบริเวณท่อลําเลียง

การป้องกันกำจัด 1. ไม่ปลูกพริกในพื้นที่ที่มีประวัติการเกิดโรคเหี่ยวเขียวมาก่อน 2. หมั่นตรวจแปลงปลูกถ้าพบ ต้นเป็นโรคให้นำออกจากแปลงไปเผาไฟทันที 3. การให้น้ำตามร่องควรแบ่งแปลงเป็นช่วง ๆ และกักน้ำเฉพาะร่องนั้น ๆ เพื่อป้องกันการ กระจายของเชื้อแบคทีเรียไป ทั่วทั้งแปลง  4. ปลูกพืชหมุนเวียนและหลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้ำในที่เดิมติดต่อกัน

3.โรคใบด่าง (Cucumber mosaic virus, CMV) เชื้อสาเหตุคือ ไวรัสใบด่างแตง Cucumber mosaic virus

อาการของโรค ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียว อ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิด เบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระแก็รน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิด เบี้ยวผิวขรุขระ จ้ำนูน สีผลไม่ สม่ำเสมอ พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูด น้ำ-อาหารจากพืชและปล่อยเชื้อ เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด  1. พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด แมลงในระยะต้นกล้า โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส หรือคลุม แปลงกล้าด้วยมุ้งไนล่อน 32 ตา ต่อนิ้ว 2. กําจัดวัชพืชในแปลงและรอบ ๆ แปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน 3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นเป็นโรคในระยะแรก ต้องกําจัด ออกจากแปลงทันทีเพราะต้น เป็นโรคจะไม่ให้ผลผลิต และเป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไป

4.โรคใบจุดตากบ (Frog-eye leaf spot) เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อรา Cercospora spp.

อาการของโรค ลักษณะเป็นอาการโรคบนใบแผลกลม ขอบสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบ เมื่อระบาดรุนแรง แผลเชื่อมต่อ ถึงกันทําให้ใบไหม้แห้งกรอบและร่วง แผลบนก้านผลลักษณะยาวรี หรือยาวกลม ขอบแผลสีเข้ม เนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลง

การป้องกันกำจัด  1. หมั่นสํารวจแปลงปลูกพริก เมื่อพบใบเป็นโรคเพียงเล็กน้อย ให้ใช้สารเคมี Mancozeb  พ่นป้องกันทันที 2. หลีกเลี่ยงการขังน้ำระหว่าง ร่องปลูกเป็นเวลานาน ต่อเนื่องกัน เนื่องจากทําให้ ความชื้นในแปลงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี 3. ทําความสะอาดแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเชื้อที่ติดมากับใบที่ ร่วงตามพื้น

5.โรครากเน่าและโคนเน่า (Collar and root rot) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Phytophthora spp.และ Pythium spp.

อาการของโรค จะเกิดอาการเน่าคอดิน ต้นกล้าหักยุบและตาย ในต้นพริกที่โตแล้ว ต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและโคนต้นมีแถบสีดําปน น้ำตาลเข้ม เริ่มจากโคนต้นลาม ไปยอด ปลายรากมีสีดําหรือ น้ำตาลเข้ม และผิวรากลอกหลุด ง่ายเมื่อจับดึงท่อน้ำท่ออาหารมีสี น้ำตาล

การป้องกันกำจัด 1. หลีกเลี่ยงการรดน้ำแปลง กล้าหรือถาดเพาะในตอนเย็น 2. เพาะกล้าในวัสดุที่ปลอดเชื้อ 3. กําจัดต้นที่เป็นโรคจากแปลงปลูก และทําลายโดยนําไปเผา 4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลด ปริมาณเชื้อในดินโดยสลับกับ พืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด ถั่วหรือผักกินใบ 5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ 50-100 กิโลกรัม ผสมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมโรย โคนต้น

แมลงศัตรูพริกการเข้าทำลายและการป้องกันกําจัด

1.เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis Hood) เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงในส่วนยอด อ่อน ใบอ่อน ตาดอกและผลพริก ทําให้พริกชะงักการเจริญเติบโต ยอดอ่อนหงิก ใบห่อ ขอบใบม้วน ขึ้นทางด้านบนทั้งสองข้าง ใบมี ลักษณะเป็นคลื่น ผิวใบด้านล่าง ก้านใบ ก้านดอก และยอดพริก เกิดรอยด้านสีน้ำตาล ดอกร่วง ผล บิดเบี้ยว หงิกงอ สภาพที่เหมาะสม คือ อากาศแห้ง อุณหภูมิสูง

การป้องกันกำจัด 1. กําจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยไฟ 2. ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ช่วยเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก 3. ควรปรับสูตรปุ๋ยให้มีสัดส่วน ไนโตรเจนต่ำลง และเพิ่มการฉีดพ่นด้วยโล่เขียวตามอัตราแนะนำเพื่อให้เซลล์พืชแข็งแรง

2.เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนเข้าทําลายดูดกินน้ำ เลี้ยงส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน ทําให้ใบหงิกงอ เป็นคลื่น ต้นชะงักการเจริญเติบโต มักจะพบมดมา กินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา และมีราดำลงทําลายด้วย

การป้องกันกำจัด 1. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดปริมาณเพลี้ยอ่อน 2. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และใช้สารป้องกันกำจัดฉีดพ่น

3.ไรขาว (Polyphagotarsonemus latus Banks) ไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน และใบอ่อน ทาให้ใบหงิก ขอบใบ ม้วนลง ใบเรียวเล็ก หนาแข็งและ เปราะ ถ้าระบาดรุนแรง ยอดอ่อน ที่ถูกไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยง จะแตกเป็นฝอย ต้นพริกไม่เจริญเติบโต และไม่ติดผล

การป้องกันกำจัด 1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และ ใช้สารเคมีพ่น หรือใช้สาร กํามะถันผงพ่นเป็นระยะ ๆ ในช่วงที่เริ่มระบาด

4.แมลงวันพริก (Bactrocera latifrons) แมลงวันพริกเพศเมียวางไข่ภายใน ผลพริก เมื่อฟักเป็นตัวหนอน จะกัดกินภายในผลพริก เห็นเป็นรอยทาง ไส้พริกมีสีดำ ต่อมาผลพริกจะ เน่าและร่วง

การป้องกันกำจัด 1. ใช้สารล่อแมลง คือลาตีลัวร์ (Lati-lure) ร่วมกับสารฆ่าแมลง ใส่ในกับดักแมลง เพื่อล่อแมลงวันพริกเพศผู้

5.หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนเข้า ทําลายโดยกัดกินดอกและเจาะกิน ภายในผลพริก

 การป้องกันกำจัด ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์และเชื้อ แบคทีเรีย (BT) พ่นในช่วงเย็น หลังให้น้ำแปลงปลูก

 

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน(คู่มือการปลูกพริกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับพริก

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก       ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)                 ใช้โล่เขียว    50 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                              ใช้โล่เขียว  100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะก่อนดอกชุดแรก                        ใช้โล่เขียว  200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต                        ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง  ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

            

การปลูกผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี

ผักใบใหญ่ ต้นขาว อวบ กินง่ายและอยู่ในหลายเมนูประจำบ้านของคนไทย หากินได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นเป็นพืชผักเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดต่อเนื่องทั้งปี ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกผักกาดขาวปลีประมาณ 30816 ไร่ ครอบคลุม 31 จังหวัด โดยแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กาญจนบุรี และตาก ทั้งนี้ แม้ว่า  จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 4 แต่มีผลผลิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เฉลี่ย 3734 กิโลกรัม / ไร่ (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร : พฤศจิกายน 2561)   ผักกาดขาวปลีมีระบบรากตื้น จึงต้องการความชื้นที่พอเพียงและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะระยะที่ห่อหัว ควรรักษาความชื้นไว้ 70-85เปอร์เซ็นต์ ของความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน  หากขาดนํ้าจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต พืชจะแสดงอาการขาดโบรอน และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชสังเกตได้จากลำต้นจะกลวง เนื้อเยื่อเป็นสีดำ ต้นแคระแกร็น ส่วนแกนหรือไส้ของลำต้นจะเกิดอาการแยกแตกออก หรือเน่ากลวง ระบบรากจะไม่สมบูรณ์บางครั้งจะเน่าเสีย แต่ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระบาดของโรคได้  ที่สำคัญระหว่างการปลูกต้องคอยตรวจแปลงให้ละเอียด เพราะหากมีโรคและแมลงเข้ามา จะได้จัดการได้ทันท่วงที โรคจะได้ไม่ลามระบาดสร้างความเสียหาย

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage) เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวันและในประเทศไทย ผักกาดขาวปลีนับว่าเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายส่วนที่ใช้บริโภคได้แก่ส่วนใบ รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรด-ด่าง(pH)ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6.0-6.8  และอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศา เซลเซียส ควรได้รับแสงแดดตลอดวัน

พันธุ์ผักกาดขาวปลี แบ่งตามลักษณะของปลีได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พันธุ์ปลียาว มีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลี หรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง

2.พันธุ์ปลีกลม ลักษณะทรงสั้นกว่า อ้วนกลมกว่า เช่น พันธุ์ซาลาเดียไฮบริด, พันธุ์ทรงบิค คอล ไพรด์ไอบริด ฯลฯ มักเป็นพันธุ์เบาอายุสั้น

3.พันธุ์ปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย พวกนี้มักไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้อากาศไม่หนาวฝนตกชุก ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) ความอร่อยน่ากินและเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้

พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่เกษตรกรนิยมใช้ เช่น – ตราดอกโบตั๋น – ตราช้าง – ตราเครื่องบิน – ตราเครื่องบินพิเศษ – พันธุ์เทียนจิน – พันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 (เป็นพันธุ์ที่ทนร้อนปานกลาง)                                                                                                         

การเตรียมดิน

1. แปลงเพาะกล้า ควรไถดินให้ดีตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก พรวนย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึก เกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน

2.การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่าง กัน เซนติเมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1.0 เซนติเมตร หรือทําเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การเพาะและการย้ายกล้า   

 

ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1 เซนติเมตร  หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ด ควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้อง กันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศ มืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 25 วัน

การปฏิบัติดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 50-100 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่ง โดยใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อ ผักกาดอายุ 14 วัน ครั้งที่ 3 ใส่เมื่อผักกาดอายุ 30 วัน โดยโรยข้างต้นแล้วรดนํ้า สําหรับพวกพันธุ์ปลียาวและปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ย ไนโตรเจน เช่น แคลเซียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 20-30 ก.ก. / ไร่ เมื่ออายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้แล้วรดนํ้าตามทันที ระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบเพราะจะทําให้ใบไหม้
  2. การให้นํ้า ผักกาดขาวปลีต้องการนํ้ามากและสมํ่าเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้นํ้าอย่างเพียงพอในช่วงการเจริญเติบโต และโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
  3. การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทําการพรวนประมาณ 2 -3 ครั้ง การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์ – พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดย เลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง) – พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอด เมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคและถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควรแต่ไม่มากนัก เหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระหว่างการขนส่ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ     

  1. 1. โรคเน่าเละ (Soft rot) สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำนํ้า ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อย และเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิว ดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐาน ว่าเชื้อราบางชนิดทําลายไว้ก่อน การป้องกันกําจัด 1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา 2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน 3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์อัตรา 10-20 กรัม/นํ้า 20 ลิตร  4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร็ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
  2. 2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทําให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลําต้น เพราะผุเปื่อย เป็นสีนํ้าตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด   1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดีมีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก   2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า  3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว  4. ใช้ยาป้องกันกําจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

  1. 3. โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP. ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียด กันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่า และ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลช้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้ง ตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม

การป้องกันกําจัด  1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป  2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายนํ้าในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายนํ้ารดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูนใส่รดแทนนํ้าในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

  1. 4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะ บิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกําจัด 1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค 2. กําจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย 3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี โอเมทโทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./นํ้า 20 ลิตร

  1. 5. โรครานํ้าค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.) ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทําให้ใบไหม้ การป้องกันกําจัด เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง
  2. 6. โรคใบจุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.) ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน การป้องกันกําจัด หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงศัตรูในผักกาดขาวปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตผักกาดขาวปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา      :    รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)

                การปลูกผักกาดขาวปลี (กรมส่งเสริมการเกษตร)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับผักกาดขาวปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

วิธีปลูกกะหล่ำปลี

วิธีการกะหล่ำปลี ให้ได้ผลิตสูง

พันธุ์และการปลูก

 

พันธุ์กะหล่ำปลีมีความหลากหลายของลักษณะหัวและสี เลือกพันธุ์ปลูกที่ตรงกับ ความต้องการของตลาดและมีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เมล็ดพันธุ์การค้าส่วนใหญ่เป็นลูกผสมจากต่างประเทศ การแบ่งพันธุ์ตามอายุการเก็บเกี่ยว ประกอบด้วยพันธุ์หนักที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบาอายุ 60-70 วัน

พันธุ์กะหล่ำปลี

พันธุ์หนัก ลักษณะหัวใหญ่แต่ไม่แน่น น้ำหนักระหว่าง 2-4 กิโลกรัม ไม่ค่อยกรอบและเก็บไว้ได้ไม่นาน ต้องการอากาศเย็นสม่ำเสมอระยะเวลายาวนาน เช่น ชัวเฮทเบอพี, พรีเมี่ยม, แฟลชท์ดัชท์, วิชคอนชั่น รูบี้บอล, รูบี้เพอเฟคชั่น และกะหล่ำปลีจีนพันธุ์เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

พันธุ์กลาง ลักษณะหัวค่อนข้างกลมแบน หัวแน่น น้ำหนักระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ต้องการอากาศเย็นมากกว่าพันธุ์เบา เก็บไว้ได้นานพอสมควรสะดวกในการขนส่ง เช่น เฮนฮูเลนกลอรี่, ซัสเสสชัน และออลซีซั่น

พันธุ์เบา มีลักษณะพันธุ์ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่นโคเปนเฮเกนมาร์เก็ต ลักษณะหัวกลมรี แน่น เส้นใบนูนเด่น มีน้ำหนักระหว่าง 0.3-2 กิโลกรัม ปลูกง่าย ต้องการอากาศหนาวน้อย เออรี่เจอซี่เวดฟิลด์ มีลักษณะหัวเล็กแน่น ฐานโตยอดแหลมมีรสชาติดี น้ำหนักและการปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต มาเรียนมาร์เก็ต, โกลเดนเอเคอร์ ลักษณะหัวค่อนข้างแบน มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ตเล็กน้อย หัวแน่น น้ำหนักดี

การจำแนกตามอายุเก็บเกี่ยวและสี เช่น กะหล่ำปลีพันธุ์หนัก ได้แก่ กะหล่ำปลีสีม่วง กะหล่ำปลีใบย่น กะหล่ำปลีพันธุ์กลาง ได้แก่ กะหล่ำปลีสีเขียว – สีขาว รูปกลม รูปแป้น  กะหล่ำปลีพันธุ์เบา ได้แก่ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม กะหล่ำปลีปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี อุณหภูมิที่เหมาะสม 15-20 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง  6-6.5  ความชื้นในดินสูงพอสมควรและได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน

การเตรียมดินและแปลงปลูก

   ไถดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน / ไร่

   ย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดต่ำกว่า 6.5 ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ดินควรมีความชื้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หรือ ใช้ดินเทพในอัตรา 50-100 ซีซี / น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก

   หลังเตรียมแปลงปลูกแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.0 – 2.0 ตัน / ไร่

               

การเพาะกล้า

   เตรียมดินเหมือนการเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม สูง 15-20 เซนติเมตร ปรับหน้าดินให้เรียบ

   การหว่านเมล็ด ให้กระจายบาง ๆ สม่ำเสมอ หรือทำร่องบนแปลงเพาะร่องห่างกัน 15 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดกลบด้วยดินผสมหรือปุ๋ยหมัก คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆ รดน้ำให้เป็นฝอยทุกวัน

   เพาะกล้าในถาดหลุม โดยใช้วัสดุปลูกหรือดินสำเร็จรูป ต้นกล้าอายุ 25-30 วันเหมาะสมในการย้ายปลูกลงแปลง

  การปลูก

   ปลูกเป็นแถวเดียวหรือแถวคู่ ระยะห่าง 30-40 x 30-40 เซนติเมตร

   รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ และปุ๋ยอินทรีย์ 3.0-4.0 ตัน / ไร่ รดน้ำให้เปียกชื้น

   ปลูกด้วยต้นกล้าอายุ 25-30 วัน โดยรดน้ำให้ความชื้นกับแปลงเพาะกล้าใช้เสียมเล็ก ๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้มีดินติดกับต้นกล้าให้มากที่สุดก่อนนำไปปลูกในแปลง และรดน้ำทันทีหลังปลูกให้ชุ่ม ป้องกันการเหี่ยวเฉา

การใส่ปุ๋ย ให้น้ำและการดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ยกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขณะเตรียมดิน อัตรา 100-150 กก. / ไร่ ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 14-20 วัน อัตรา 100-150 กก. / ไร่

การให้น้ำและการดูแลรักษา

   ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้ขาดน้ำ การให้น้ำมีหลายวิธี เช่น แบบปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน / ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้น้ำมากขึ้น ลดปริมาณน้ำลงเมื่อเริ่มเข้าปลี ป้องกันปลีแตก แบบสปริงเกอร์ หรือใช้สายยาง ควรรดให้แฉะแต่ไม่ให้น้ำขังแปลง

   การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ระยะแรกบ่อย ๆ

การจัดการศัตรูพืช การจัดการโรค แมลง และวัชพืช

โรคพืชในกะหล่ำ และการป้องกันกำจัด 

โรคใบจุด สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola และ A. brassicae ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุชนิดนี้มักทำให้เกิดโรคกับพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง และผักกาดหัว อาการของโรคเกิดทุกส่วน และทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่ อาการระยะแรกบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่เกิดขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เกิดเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีเหลืองต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ แผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การแพร่ระบาด : สปอร์แพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง สัตว์ มนุษย์ และติดไปกับเครื่องมือ โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝนหรือในระยะที่มีความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น ราสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ (seed-borne)

การป้องกันกำจัด :

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกผักกาดหรือกะหล่ำต่าง ๆ ลงในดินที่เคยปลูกและมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 3-4 ปี
  3. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก
  4. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบโรค เช่นคลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) 50% เอสซีหรือ โพรพิโคลนาโซล (propiconazole) 25% อีซีหรือ เตตระโคนาโซล (tetraconazole) 40% อีดับเบิ้ลยู

                โรคราน้ำค้าง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica (Pers. Ex.Fr.) Fr. ลักษณะอาการ : โรคสามารถแสดงอาการได้ทุกระยะการเจริญของพืช ในระยะกล้า ใบเลี้ยงเกิดเป็น จุดช้ำสีน้ำตาลหรือดำ ล่าต้นเน่า ยุบตัว ทำให้พืชตายหรือแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตในระยะต้นโต อาการระยะแรกมักเกิดจุดสีเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นเหลืองด้านหน้าใบ มีเส้นใยสีขาวหรือเทา คล้ายปุยฝ้ายด้านหลังใบ แต่ในสภาพอากาศแห้งมักพบแต่อาการเหลืองซีดเทำนั้น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง แผลขยายขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อใบกลายเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล หรือแห้งตาย ในกะหล่ำดอก และบล็อกโคลี่ ถ้าเชื้อเข้าทำลายใยระยะสร้างดอก จะเกิดเป็นจุดดำเล็ก ๆ บนช่อดอก หากอาการรุนแรงดอกอาจยืด หรือบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ในกะหล่ำปลีเกิดแผลเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบ ไม่ค่อยขยายขนาด

                การแพร่ระบาด : ราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝนหรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อาการของโรคพบได้ทั่วไป สภาวะอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง หมอกหรือน้ำค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค และการระบาดของเชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ผนังหนาซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืช วัชพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

                การป้องกันกำจัด : 1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคแซบ

  1. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป
  2. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บทำลายเศษซากพืชออกจากบริเวณแปลงปลูก
  3. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในแปลงที่เคยมีการระบาด และควรปลูกพืชหมุนเวียน
  4. เมื่อพบอาการของโรคในแปลง ควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไซม็อกซิเมท (cymoxanil)8% + แมนโคเซบ (mancozeb) 64% ดับเบิ้ลยูพี หรือ แมนโคเซบ (mancozeb) 80% ดับเบิ้ลยูพีหรือ เมทาแลกซิล (metalaxyl) + แมนโคเซบ (mancozeb) 72% ดับเบิ้ลยูพีหรือ โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์(propamocarb hydrochloride) 72.2% เอสแอล หรือสารอื่น ๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่ถ้าหากใช้สารประกอบทองแดงในระยะกล้า ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เพราะเป็นพิษต่อกล้า

โรคเน่าเละ สาเหตุ : เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. Carotovora

ลักษณะอาการ : แบคทีเรียสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชทั้งในไร่และโรงเก็บ อาการเริ่มแรกแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลามทำให้แผลเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ บริเวณแผลยุบตัว มีเมือกเยิ้มออกมา เนื้อเยื่อพืชถูกทำลาย

การแพร่ระบาด : ระบาดโดยลม ฝน ทำให้เกิดแผลกับพืช เชื้อเข้าทำลายได้นอกจากนี้ เชื้อยังอยู่ในเศษซากพืชที่เป็นโรคอีกด้วย โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ในสภาพโรงเก็บพบระบาดลุกลามถ้ามีพืชที่เป็นโรคปะปนอยู่ จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด : วิธีเขตกรรม : 1. ไถกลบเศษพืชผักทันทีที่เก็บเกี่ยวแล้ว และทำการตากดินแล้ว ไถกลบอีกครั้ง

  1. ปลูกพืชหมุนเวียนด้วยพวกธัญพืชหรือข้าวโพด

วิธีกล : 1. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผล และทำลายเศษ ซากพืชที่เป็นโรคด้วยการเผา

  1. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนแปลงปลูกผักและโรงเก็บ

แมลงศัตรูในกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

การใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ได้แก่

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา : รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (การผลิตกะหล่ำปลี)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับกะหล่ำปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน      

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-