Tag Archives: ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยอินทรีย์

 

คือปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นซากพืช ซากสัตว์ ผลิตผลที่ได้จากตัวสัตว์ หรือแม้แต่เศษซากจากกระบวนการบางอย่างของเหล่าจุลินทรีย์ ความแตกต่างของที่มาส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยอินทรีย์นั้นแตกต่างกัน และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนและเป็นต้นแบบเพื่อการต่อยอดให้กับปุ๋ยประเภทอื่น เรารู้จักการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่ยังไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบของมันเสียอีก โดยคาดว่าปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกน่าจะเป็นชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้งาน


1. ปุ๋ยคอก (Animal manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ตัวอย่างของประเภทสัตว์ที่นิยมใช้กันได้แก่ มูลโค มูลไก่ มูลเป็ด และมูลสุกร แน่นอนว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่มูลของสัตว์เหล่านี้หาได้ง่ายกว่า อีกทั้งส่วนมากยังเป็นผลพลอยได้ของการเกษตรเชิงผสมผสานอยู่แล้วด้วย มูลสัตว์นั้นไม่ใช่ของเสียแต่เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารมาแล้ว จึงมีธาตุอาหารหลายชนิดที่ดีต่อพืชและดิน


2. ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากระบวนการหมักจนเกิดการย่อยสลายในเชิงชีววิทยา จากข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์กล่าวว่า ส่วนมากนิยมใช้ของเหลือในกิจกรรมทางการเกษตร เช่น หยวกกล้วย ฟางข้าว เป็นต้น นำวัตถุดิบมาทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำไปหมักในสภาวะอันเหมาะสม เพื่อรอให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ของมัน สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์เป็นปุ๋ยหมักที่มีเนื้อยุ่ย อนุภาคแยกจากกันได้โดยง่าย มีคุณสมบัติพร้อมทั้งการบำรุงและปรับปรุงกายภาพของดิน


3. ปุ๋ยพืชสด (Green manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเลือกพืชบางชนิดมาเพาะปลูกในพื้นที่ เมื่อโตได้ระยะหนึ่งก็ไถกลบเพื่อให้พืชนั้นย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ จุดเด่นของปุ๋ยชนิดนี้อยู่ที่การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่ดิน เพราะพืชที่นิยมใช้ทำปุ๋ยพืชสดนั้น นอกจากต้องเติบโตได้เร็วแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติตรึงธาตุไนโตรเจนได้ดีมากด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วทั้งหมด ปอเทือง โสน เป็นต้น จะเรียกว่าเป็นการบำรุงดินครั้งใหญ่หลังจากเสื่อมโทรมเพราะการเพาะปลูกก่อนหน้านี้ก็ได้

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2550 หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากความหมายของปุ๋ยชีวภาพแล้ว ยังมีคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยชีวภาพที่ควรทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้ซื้อ หรือจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “ ชนิดของจุลินทรีย์ ” หมายความว่า กลุ่มหรือสกุลของจุลินทรีย์ เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์ “ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ” หมายความว่า จุลินทรีย์ชีวภาพที่มี จำนวนเซลล์ต่อหน่วยสูงซึ่งถูกเพาะเลี้ยงโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ “ วัสดุรองรับ ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง ” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารับรองถึงจำนวนเซลล์รวม หรือจำนวนสปอร์รวม หรือจำนวนตามที่หน่วยวัดอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีอยู่ในปุ๋ยชีวภาพหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ตนผลิตหรือนำข้าแล้วแต่กรณี “ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค ” หมายความว่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์สัตว์ หรือพืชและให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ สามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแก่พืช ได้ 2 ประเภท คือ

1.ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารพืชจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรีย และแอคติโนมัยสีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีชุดยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส ( Nitrogenase enzyme ) และควบคุมกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศที่มีประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบในจีโนมปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะ
ความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ( Symbiotic nitrogen fixation ) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้ มีแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากเป็นส่วนประกอบ สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า 50-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการสร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับ พืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียไรโซเบียม กับพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ การสร้างปมที่รากสน ของแฟรงเคีย ( Frankia ) การสร้างปมที่รากปรงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลนอสทอค ( Nostoc ) การอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดง ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลอะนาบีนา ( Anabaena ) เป็นต้น ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตรเจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิต และคุณภาพพืชได้อย่างมีระสิทธิภาพ


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ ( Non-symbiotic nitrogen fixation ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยระหว่าง 5 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์ชนิดของพืชอาศัย และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
2.1 แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ สกุลอะโซโตแบคเตอร์ ( Azotobacter ) และ สกุลไบเจอริงเคีย ( Beijerinckia ) เป็นต้น
2.2 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม ( Azospirillum ) และสกุลบาซิลลัส ( Bacillus ) เป็นต้น
2.3 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช ได้แก่ กลูคอนอะซีโตแบคเตอร์ไดอะโซโตรฟิคัส ( Gluconacetobacter diazotrophicus ) ที่พบในอ้อย และกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม ( Herbaspirillum ) ที่พบในข้าว อ้อย และพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอาร์คัส ( Azoarcus ) ที่พบในข้าวและหญ้า เป็นต้น

2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี จะสร้างกรดอินทรีย์ หรือเอนไซม์บางชนิด เพื่อละลายธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา ประกอบด้วยกลุ่มราไมคอร์ไรซาที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยจะสร้างเส้นใยเข้าไปในราก และเส้นใยบางส่วนจะเจริญอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช ช่วยดูดธาตุอาหารต่าง ๆ และละลายฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน แล้วส่งผ่านธาตุอาหารไปทางเส้นใยราเข้าสู่รากพืช ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตอย่างเพียงพอ ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาที่มีการนำมาใช้ทางการเกษตรมี 2 กลุ่ม คือ 1) อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ( Arbuscular mycorrhiza ) ใช้กับพืชสวน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และ 2) เอ็คโตไมคอร์ไรซา ( Ectomycorrhiza ) ใช้กับไม้ผลไม้ป่า และไม้โตเร็ว


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่ม ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส โดยการสร้างและปลดปล่อยกรดอินทรีย์และกรดอนินทรีย์ ออกมานอกเซลล์เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสะสมในดิน นอกจากนี้ยังสร้างและปลดปล่อยเอนไซม์บางชนิดออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในดิน ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างเอนไซม์ไฟเตส ( Phytase ) ในการย่อยสลายไฟเตท ( Phytate ) และปลดปล่อย โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ( HPO42 – ) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ( H2PO4 – ) ออกมาในสารละลายดิน ซึ่งพืชจะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตต่อไป
กลุ่มที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียม ได้แก่ สกุลบาร์ซิลลัส ( Bacillus ) สกุลคลาโดสปอริออยเดส ( Cladosporioides ) สกุลคลาโดสปอเรียม ( Cladosporium ) สกุลคลอสทริเดียม ( Clostridium ) สกุลเพนนิซิลเลียม ( Penicillium ) และสกุลไทโอบาร์ซิลลัส ( Thiobacillus ) เป็นต้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างกรดอินทรีย์ และอนินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากการตรึงของแร่ดินเหนียวบางชนิดจึงสามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ สามารถใช้ได้ผลดีทั้ง ในพืชสวนและพืชไร่

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

ดินในธรรมชาตินั้น กว่าซากพืชซากสัตว์จะสลายตัวได้หน้าดินซัก 1 เซนติเมตรนั้นใช้เวลานานหลายปี หน้าดินเหล่านั้นประกอบด้วยทั้งอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้สมบูรณ์ แต่ทว่าความสมบูรณ์ของดินนั้นมันก็ค่อยๆหมดไป เพราะตั้งแต่ยุคปฏิวัติเกษตรกรรม มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูกเป็นวงกกว้าง เราปลูกพืชและบริโภคพืชไว้เป็นอาหาร ธาตุบางอย่างในดินจึงเริ่มหมดไป ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพืชขาดธาตุอาหารบางอย่าง มันก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

ธาตุองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของพืชนั่นก็คือธาตุคาร์บอน ซึ่งมีที่มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จนกลายเป็นแป้งน้ำตาล ลำต้นและองค์ประกอบอื่นๆของลำต้นพืช ทว่าในปัจจุบันมีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มมากขึ้น กระบวนการทางเกษตรกรรม ปศุสัตว์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกเป็นภาวะโลกร้อน และทางเดียวที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ นั่นคือ ให้พืชดึงคาร์บอนไดออกไซด์จากฟ้าลงสู่ดิน เราจำเป็นต้องปลูกพืชให้เยอะขึ้นแต่ปัญหาก็คือ “เราปลูกพืชได้ไม่ดี เนื่องจากดินไม่ดี” การปรับปรุงดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูกจึงเกิดขึ้นกระบวนการปรับปรุงดินที่สำคัญ คือการเพิ่มสารอินทรีย์ลงสู่ดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีตัวช่วยคือ “จุลินทรีย์” นั่นเอง

ปุ๋ยอินทรีย์จำแนกได้เป็น 4 ประเภท
1.ปุ๋ยพืชสด
ใช้ต้นพืชฝังกลบลงไปในดินโดยตรง โดยพืชบางชนิดมีแบคทีเรียบางตัวอยู่ในปมรากซึ่งสามารถช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงพื้นดินได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นไรโซเบียม ในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
2. ปุ๋ยคอก
เกิดจากมูลสัตว์ที่ทับถมและย่อยสลาย ภายในระยะเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนกับสัตว์เป็นเครื่องบดทั้งเชิงกายภาพและเชิงเคมีทั้งยังมจุลินทรีย์ในระบบการย่อยอาหารของสัตว์เหล่านั้น ช่วยในการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์อีกด้วย
3. ปุ๋ยหมัก
เป็นการจำลองการย่อยอาหารของสัตว์ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายในปริมาณที่มากขึ้น มนุษย์นำซากพืชมาบดสับละเอียดโดยใช้เครื่องบด โรยจุลินทรีย์เข้าไป กลบและพลิก เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ จนกลายเป็นปุ๋ยในที่สุด
4. ปุ๋ยชีวภาพ
คือจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ในดิน เช่นจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์กลุ่มปลดปล่อยฟอสเฟตเป็นต้น ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดิน พืชไม่สามารถนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้ได้ทั้งหมดจำเป็นต้องมีจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายธาตุบางอย่างให้อยู่ในรูปแบบที่พืชสามารถดูดซึมได้

องค์ประกอบของดินที่ดี
1. อากาศ 25%
ดิน ที่ดีควรมีสภาพร่วนซุยดังนั้นการพรวนดินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อทำให้ดินเกิดโพรงอากาศและพืชสามารถดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
2. น้ำ 25%
นอกจากความร่วนซุยของดินแล้วดินที่ดีควรมีภาวะการอุ้มน้ำเพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของพืช
3. อนินทรีย์วัตถุ 45%
เกิดจากการย่อยสลายของหินกลายเป็นอนินทรีย์วัตถุขนาดเล็กลงหรือที่เราเรียกกันว่าเนื้อดินนั่นเอง
4. อินทรีย์วัตถุ 5%
แม้เป็นส่วนที่น้อยที่สุดแต่ว่าเป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน ในส่วนที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ทับถมกันเป็นเวลานานเราเรียกสิ่งนี้ว่าฮิวมัสนั่นเอง

สูตรปรับปรุงดิน

 

ส่วนผสมการปรับปรุงดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูก
1. เนื้อดิน 5 ส่วน ควรเลือกดินที่มาจากแหล่งที่ดี ไม่มีสารตกค้าง พวกโลหะหนัก ฯลฯ
2. กาบมะพร้าวสับ 3 ส่วน
3. แกลบ เผา 1 ส่วน
4. ปุ๋ยชีวภาพ 1 ส่วน
คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทิ้งไว้เป็น 7 วันก็จะสามารถนำไปใช้ปลูกพืชได้

 

นอกจากนี้ เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุและถูกปลดปล่อยธาตุอาหารอันจำเป็นต่อพืชมากขึ้น อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มกรดฮิวมิค (Humic acid) อันเป็นสารจากธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยให้พืชที่ได้รับมีระบบรากที่ดี มีส่วนช่วยในการแตกราก สร้างรากใหม่ ทำให้พืชสามารถดูดอาหารทางดินได้ดีขึ้น  อีกทั้ง ฮิวมิค ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของดิน เมื่อฉีดพ่นลงสู่ดินจะช่วยให้ดินสมบูรณ์ขึ้นอีกด้วย

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-