Tag Archives: ปลูกข้าว

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

ปริมาณการใช้น้ำ 450 – 500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / ฤดูกาลผลผลิต ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม เพื่อไม่ให้กระทบแล้งในช่วงออกดอก ผสมเกสร ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

การเลือกพื้นที่

เป็นพื้นที่เขตชลประทาน หรือพื้นที่สามารถให้น้ำได้ตลอดระยะเวลาปลูก ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินร่วนทราย ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้สำนักงานเกษตรอำเภอตรวจสอบชุดดิน / แผนที่ดินว่ามีความเหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือไม่ และดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 5.5 การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากดินไว้ ประมาณ 5-7 วัน จึงไถแปรพร้อมคราด 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินและให้ดินเก็บความชื้น ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่ และมีดินเป็นดินเหนียวควรทำร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อสะดวกต่อการส่งน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากแปลง ความกว้างของร่องน้ำประมาณ 0.75 – 1 เมตร

การเตรียมพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุวรรณ 4452 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทั้งพันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน
การปลูก ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวน 10,666 – 11,428 ต้นต่อไร่ และควรปลูกซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ยเคมี รองพื้นใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15 , 16-16-8 , 18-8-8 , 27-12-6 อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับดายหญ้าพูนโคนและให้น้ำไปตามร่อง
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 7-8 สัปดาห์หลังปลูก เป็นระยะเริ่มออกไหม และช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้น และธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยข้างร่องหลังจากให้น้ำแล้ว

การใส่ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ตารางการใส่ปุ๋ยปลูกข้าวโพดหวานตามลักษณะดิน

1. ดินเหนียว

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 16-20-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– พร้อมดายหญ้า ใส่ปุ๋ย และใช้ดินกลบ

2. ดินร่วนปนทราย

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย25-30 กก. / ไร่

3. ดินทราย

– หลังปลูก 14 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80 กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่

การให้น้ำ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้ำครั้งต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวชั่วคราวของใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์รดน้ำแปลงข้าวโพด ควรให้แบบทั่วถึงทั้งแปลง หรือแบบปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้น


การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท อายุ 110-120 วันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ หรือสังเกตจากใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวทั้งแปลง และควรตาก 1-2 แดด ก่อนกะเทาะเมล็ดจำหน่าย วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักร
ข้อจำกัดของการปลูกข้าวโพดสัตว์หลังนา
หลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด – ดินกรดถึงกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5)
หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำและที่น้ำท่วมขัง
หลีกเลี่ยงการปลูกล่าช้ากว่าเดือนธันวาคม

 


ข้อควรระวังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

หนู จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูแล้งมักเข้ากัดกินทำลายลำต้นและฝักข้าวโพด เนื่องจากไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมกันกำจัดหนูในพื้นที่พร้อม ๆ กันเป็นบริเวณกว้างก่อนการปลูกข้าวโพด วิธีการป้องกำจัดโดยกำจัดวัชพืชบนคันนา หรือใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว สลับกับโฟลคูมาเฟน เหยื่อพิษสำเร็จรูปประเภทออกฤทธิ์ช้า ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
การตลาด เกษตรกรที่ผลิตส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ร้อยละ 90 ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

**คำแนะนำเพิ่มเติม

สามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง ผสมน้ำ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพกับข้าวโพด

– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน (7-14 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (25-30 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกหัว (30-45 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะฝักอ่อน-ก่อนเก็บเกี่ยว (45 วันขึ้นไป) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มส่งเสริมพืชไร่อุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

ปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้นพืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ10 ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมด จะทำปฏิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก พืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งปุ๋ยชนิดเดียวกันสูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิเช่นปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้องการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้ แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า “เกรด ปุ๋ย” หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O)สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ย เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามี อยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ มีอยู่ 5 กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม และเป็นที่ ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้ เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหาร ในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดิน นาในภาคกลาง ซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น ปุ๋ยสูตร 18-46-0 , 28-28-0 , 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น
สำหรับ “เรโช” ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสูตรปุ๋ย เรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อย ๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ของสูตรปุ๋ยนั้น ๆ เช่น 16-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8
20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหาร ตลอดด้วย 5
นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกัน ที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก 30 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก 60 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่า เป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดัง นั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา 50 กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะ ต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง 25 กก. / ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน
ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง ก็จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่ง และแต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน ส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณ และสัดส่วน เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้น สามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมี
ปุ๋ยที่มีเรโชของ N สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ P และ K มักจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้น เร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบ หรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรง ส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย ระดับความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสาน และภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น

(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโต และให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่าง ๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ย จะช่วยยกระดับธาตุอาหาร ที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุอาหารนั้น ๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วง จังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ
(1) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก และการเติบโตในระยะ 30-45 วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่
(2) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอ และระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นระยะที่มีอายุ 45 – 60 วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก และ
(3) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้ จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืช ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
3.1 การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
3.2 การใส่ครั้งแรกคือ ใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทสเซียมนั้น จะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
3.3 การใส่ครั้งที่สอง ควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมาก ๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่ เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก เพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเตรท จะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทัน ก็จะสูญเสียไปหมด และไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไป โดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้ จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูก ชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดี จะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยา เพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเตรท (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก
ฟอสฟอรัสในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่าย แต่เมื่ออยู่ในดิน จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่าย ก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิม ก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1-5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืช จึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุด เพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดิน จะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไป ได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจน ที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่า ใส่บนผิวดิน
ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟต แต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ย ละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากมีประจุบวก ซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม จึงสามารถใส่บนผิวดิน หรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจน และในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็ จะน้อยกว่าด้วย
วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด คือ พืชใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ลดการสูญเสีย ให้ใช้คาถา 4 ถูก คือ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี
ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร
หมายถึง ใส่ปุ๋ยสูตรเหมาะสม มีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และภูมิอากาศ
เช่น ปลูกข้าวในนาดินทรายแต่จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ที่ใช้กับนาดินเหนียว แบบนี้เรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตร เพราะนาดินทรายควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หรือ 16-16-8 จะถูกสูตรมากกว่า และถ้าจะให้ใส่ปุ๋ยถูกสูตรที่สุดควรต้องวิเคราะห์ดินแล้วคำนวณหาสูตรปุ๋ยสั่งตัดรายแปลงก็จะยิ่งได้ปุ๋ยที่ถูกสูตรมากยิ่งขึ้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอหรือพอดีกับความต้องการของพืช เช่น ปุ๋ยสั่งตัดสำหรับมันสำปะหลังให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-20 จำนวน 70 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าใส่ 100 กิโลกรัมก็มากเกินไปเกิดความสูญเสียไป 30 กิโลกรัมโดยไม่ได้ผลผลิตเพิ่ม หรือถ้าใส่เพียง 40 กิโลกรัมต่อไร่ก็น้อยเกินไป ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกเวลา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ถ้าจะใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลโต หรือเพิ่มน้ำหนัก ก็ต้องใส่ปุ๋ยก่อนช่วงที่พืชจะต้องใช้งานอย่างน้อย 30 วัน เพราะโพแทสเซียมเป็นธาตุเคลื่อนย้ายช้า ถ้าไปใส่ตอนที่ผลโตแล้วเรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกเวลา เพราะกว่าปุ๋ยจะถูกลำเลียงขึ้นไปถึงใบ ผลก็แก่ได้เวลาเก็บไปแล้ว ปุ๋ยที่ใส่จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย หรือใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังก็ต้องใส่ในช่วงอายุ 45-90 วัน เพราะระบบรากสมบูรณ์ดีที่สุด ถ้าไปใส่ตอน 8 เดือนเพื่อระเบิดหัวจะไม่ได้ผลเพราะมันสำปะหลังอายุเกิน 4 เดือนเหลือรากน้อยมาก เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจึงมักสูญเสียไปมากกว่าจะโดดดูดมาใช้
ใส่ปุ๋ยให้ถูกวิธี
เช่น เวลาจะใส่ปุ๋ยนาข้าวก็อย่าใส่ตอนที่ระดับน้ำลึกนัก ปุ๋ยจะละลายหายไปเสียหมด ให้ใส่ตอนที่มีระดับน้ำประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือใส่ปุ๋ยยางพารา ปาล์มน้ำมัน หรือไม้ผล ก็ให้ใส่ที่แนวรัศมีพุ่มใบเพราะรากฝอยพืชอยู่บริเวณนั้น ไม่ใช่ใส่จนชิดโคนต้นที่มีแต่รากฝอยใหญ่ๆ ที่ดูดธาตุอาหารไม่ได้ เป็นต้น และดีที่สุดคือใส่ปุ๋ยแล้วควรกลบเพื่อลดการสูญเสีย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และ NPK Thailand

*** แนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพในนาข้าว ***


-ระยะต้นกล้า ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 


-ระยะแตกกอ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะสร้างรวงสร้างช่อดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง+ดินเทพ 5-10ซีซี ผสมน้ำ 100ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

*** วิธีการใช้ดินเทพช่วงเตรียมดิน ***
– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40 – 50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นลงดินให้ทั่วแปลง 1 ไร่
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ถั่วเหลืองฝักสด ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง

ในขณะที่ดอกเบี้ย จากหนี้เก่าของค่าปุ๋ยจากการปลูกข้าวรอบที่แล้ว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าข้าวที่ฉีดไร่เทพ ชาวนาก็ต้องมาปวดหัวอีกรอบว่า ข้าวนาปรังครั้งนี้เอายังไงดี ครั้นจะลงทุนปลูกข้าวอีกทีก็รู้สึกเข็ดขยาด ครั้นจะปล่อยทิ้งให้ที่นาว่างเปล่า ก็เสียโอกาสโดยใช่เหตุ อย่ากระนั้นเลย วันนี้ฤทธิรอน ของอาสาหาข้อมูลมาแบ่งบันกับพี่น้องชาวนา ให้หันมาปลูก ถั่วเหลืองฝักสดแทนการปลูกข้าวนาปรังกันครับ

เก็บเกี่ยวไว (สั้นกว่าเท่าตัว) ใช้น้ำน้อย (กว่า 5 เท่า)

ถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) เป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 68-70 วัน ในขณะที่ข้าวนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ต่างกันเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เพียง 300 ลบ.ม ต่อไร่ น้อยกว่าข้าวนาถึง 5 เท่า คือ 1500 ลบ.ม. เหมาะมากสำหรับช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

แก้ดินเสื่อม เสริมไนโตเจน

การทำนาอย่างต่อเนื่องโดยปีหนึ่ง 2-3 ครั้งนั้น ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม การปลูกพืชหมุนเวียน จึงเป็นทางออก นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วนั้นยังมีจุลินทรีย์ในปมราก (ไรโซเบียม) ช่วยตรึงไนโตเจนลงสู่พื้นดิน และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถไถ่กลบ กลายเป็นปุ๋ยพืชสด  ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดินอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีปลูกถั่วเหลืองฝักสดโดยละเอียดสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่:

เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 50 โดย ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/soybean.pdf

 

นอกจากนี้ยังสามารถ รับชมข้อมูลการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ตามลิ้งนี้

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

วิธีใช้ไร่เทพ ในนาข้าว ให้ข้าวออกรวง แบบงามสะพรั่ง

วิธีใช้ไร่เทพ ในนาข้าว ให้ข้าวออกรวง แบบงามสะพรั่ง ได้ผลผลิตสูง 

ไร่เทพ ใช้ในนาข้าว จะช่วยให้ข้าว แตกก่อได้ดี รากเยอะ ไม่อั้นรวง รวงใหญ่ ข้าวเต็มเมล็ด ผลิตผลิตเยอะ ทนแล้งทนหนาวได้ดี

อัตราส่วนในการใช้ไร่เทพ ตามระยะของข้าว

1.ระยะต้นกล้า               อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร (สามารถฉีดได้พร้อมกับยาคุมเลนเลย)

2.ระยะแตกกอ               อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 150-200 ลิตร

3.ระยะเริ่มสร้างช่อดอก   อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-150 ลิตร

4.ระยะช่วงข้าวตั้งท้อง     อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-150 ลิตร

5.ระยะก่อนเก็บเกี่ยว       อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-150 ลิตร(ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วัน หรือตอนข้าวเป็นน้ำนม)

 

ไร่เทพสามารถฉีดพ่น พร้อมผสมกับยาฆ่าแมลงและยากันเชื้อราได้

ข้อห้ามเด็ดขาด

1.หลีกเลี่ยงใช้ไร่เทพผสมกับยาฆ่าหญ้า เพราะต้นหญ้าจะได้รับสารอาหารไปด้วยทำให้หญ้าไม่ตาย

2.หลีกเลี่ยงฉีดไร่เทพในช่วงข้าวตากเกสร

3.หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นใกล้ต้นข้าวในระยะใกล้ๆ (ห้ามฉีดจี้) แนะนำให้ฉีดห่างๆ เป็นละอองเท่านั้น

4.หลีกเหลี่ยงฉีดพ่นไร่เทพ ในช่วงแดดจัด แนะนำให้ฉีดในช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้าและฉีดหลัง 5 โมงเย็น

เพราะการฉีดไร่เทพในช่วง เช้าหรือช่วงเย็น หรือช่วงอุณหภูมิต่ำจะเป็นช่วงที่ปากใบเปิด ทำให้ต้นข้าว

ได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ

สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ

  1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
  2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
  3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
  4. อะมิโนจากเลือดปลา
  5. สารพิเศษจากอิสราเอล
  6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ

***ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ใช้ได้ 3-5 ไร่

ต้นทุนไร่เทพ 1 ซอง ราคา 100 ใช้ได้ 3-5 ไร่

ค่าเฉลี่ยประมาณ 20 บาท 1 ไร่เท่านั้น ประหยัดสุดๆ

Website: https://raithep.com/

Youtube : https://bit.ly/2GE2Z0t

💬M.me/RaithepNano

Line id : http://line.me/ti/p/~@raithep

🏬Shopee.co.th/raithep_thailand

🛒Lazada.co.th/raithep-nano

Tel. : 098-280-8200


 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

12 สายพันธ์ุข้าวในประเทศไทย

ข้าว ของไทยเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีตำนาน Continue reading

ข้าวญี่ปุ่นแบบอินทรีย์..ขายได้ราคาดีกว่า

คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกข้าวญี่ปุ่น Continue reading