โครงการห่มดิน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในด้านต่างๆ มีมากมายเหลือคณา โดยเฉพาะ ด้านการเกษตร พระองค์ไม่เคยหยุดทรงคิด ริเริ่ม โครงการห่มดิน เพราะดิน คือจุดเริ่มต้นรน ของผลผลิตที่ดี

ดิน (Soil) ถือเป็นเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ

การห่มดิน คืออะไร การห่มดิน คือ เป็นการป้องกันการระเหยของความชื้นที่อยู่ในดิน และเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จุลินทรีย์ชอบอยู่ในที่มืดที่มีความชุ่มชื้น ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ทำงานและขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะทำให้ดินมีความสมบูรณ์


การห่มดิน เป็นวิธีการป้องกันหญ้าที่ขึ้นในพื้นที่เราได้ด้วย เพราะหญ้าโดนคลุมไว้ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้

การห่มดิน เป็นวิธีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน หรือเป็นการปรับปรุงดินก่อนการเพาะปลูก ดินที่ดีสังเกตจะมีเชื้อราเกิดขึ้น และต้องใช้ร่วมกับ น้ำหมักชีวภาพ จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปลูกหญ้าแฝกด้วย ใบแฝกก็ตัดมาห่มดินได้ ก็เป็นการดี

การห่มดินเพื่อให้จุลินทรีย์ในดินมีความอุดมสมบูรณ์ ถ้าเปลือยดินไว้จะทำให้จุลินทรีย์ตาย ต้นไม้จะไม่สามารถเจริญเติบได้

นักวิชาการเสริมอีกว่า การรักษาดินโดย (1) ไม่ซ้ำเติมดินคืนจุลินทรีย์ให้ดินช่วยปลุกพระแม่ธรณีคืนชีพ (2) ต้องมีความเข้าใจในพื้นที่แต่ละแห่งแล้วลงมือทำอย่างมีความหวังใบไม้แห้งกิ่งไม้แห้งที่ล่วงหล่นยามแล้งอย่ากวาดออกไปปล่อยให้ล่วงหล่นมาห่มดินให้ค่อยๆเรียกความชื้นเพิ่มขึ้นมา(3) ยามที่ฝนฟ้าคะนองเทน้ำมาให้ก็จำบังหน้าดินไม่ให้ถูกกระแทกอย่างรุนแรง แถมยังกักเก็บน้ำไว้ให้หน้าดินได้นาน (4) เมื่อมีความชื้นความอบอุ่นเหล่าสิ่งมีชีวิตตัวเล็กตัวน้อยก็จะมาอาศัยอยู่สร้างกิจกรรมตามธรรมชาติแล้วจะนำมาการฟื้นแผ่นดิน ต่อมามีการศึกษาเรียนรู้ต่อยอดจากประสบการณ์นำแนวคิดการทำเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาปรับใช้ โดยการปรับคุณภาพดินด้วยการ “ห่มดิน” ด้วยฟางข้าว เป็นต้น เพื่อทำให้ดินมีชีวิต การรักษาไม้ยืนต้นเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่สวน และเสริมพันธุ์ไม้ใหม่ที่เหมาะสมกับพืชเดิมที่มีอยู่ ด้วยแนวคิดการปลูกพืช 5 ระดับ คือ พืชใต้ดิน พืชเลื้อย พืชพ้นดิน พืชยืนต้นระดับกลาง และไม้ยืนต้นระยะยาว ในพื้นที่เดียวกัน

โครงการห่มดิน

องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ล้นเกล้าของชาวไทย มีแนวพระราชดำริที่สำคัญหลายโครงการในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน “ทรงเป็นปราชญ์แห่งน้ำและดินแห่งโลก” ปี 2013 (พ.ศ.2556) ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติมีมติประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก” และในปี 2015 (พ.ศ.2558) กำหนดให้เป็น “ปีแห่งดินสากล” วันนี้มาต่อในเรื่องแนวพระราชดำริ “โครงการห่มดิน”

ดินเป็นปัจจัยสำคัญในการกสิกรรม

ดิน (Soil) ถือเป็นเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ ดินจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ หรือ “การกสิกรรม” หรือ “การเกษตรกรรม” การพัฒนารักษาคุ้มครอง “ดิน” การเพิ่มความอุ้มน้ำให้แก่ดิน เช่น การเติมอินทรียวัตถุให้แก่ดินเศษวัชพืช แกลบดิบ ถ้าประสบพบเจอกับอากาศที่หนาวเย็น แห้งแล้งก็ต้องรู้จักรักษาดิน [4] รักษาความนุ่มชุ่มชื้นจากอินทรียวัตถุจากตอซังฟางข้าว หรือเศษซากใบอ้อย ซึ่งรวม ๆ การกระทำดังกล่าวเป็นไปตามหลัก “กสิกรรมธรรมชาติ” หรือ “หลักการเกษตรชีวภาพ” 3 ประการคือ (1) การเลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช (2) การปรุงอาหารเลี้ยงดิน และ (3) การห่มดิน

ในหลวงทรงให้ความรู้เรื่องการห่มดิน

เพราะจะทำให้มีความชื้นค่อยๆ เกิดขึ้นที่หน้าดิน ในหลวงทรงรับสั่งให้ “ห่มดิน อย่าเปลือยดิน” [6] การทำให้โคนเตียนด้วยการถากเท่ากับเป็นการเปลือยดิน ทางที่ดี หากมีแรงจ้างตัดหญ้า น่าจะดี เพราะหญ้าที่ตัดจะเป็นอินทรียวัตถุให้ดินย่อยเป็นปุ๋ย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง นั่นคือ “การห่มดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ทั้งนี้การห่มดินมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดินหรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่, การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้พืชหลักอีกด้วย หนาวแค่ไหนไม่กลัว

“วันดินโลก (World Soil Day)”

คือ วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันสำคัญที่นักปฐพีวิทยาทั่วโลก 60,000 คน จะเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี ซึ่งนักปฐพีวิทยาของไทยทุกคนภาคภูมิใจ เนื่องจากวงการปฐพีวิทยานานาชาติ มีฉันทานุมัติเลือกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก และนักปฐพีวิทยาของไทยมีส่วนร่วมในการเชิดชูพระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรดินขององค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

การเกิดขึ้นของ “วันดินโลก (World Soil Day)” มีความเกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Science : IUSS) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) และองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) จึงควรบันทึกจุดเริ่มต้นและความเป็นมาของ “วันดินโลก” เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบอย่างถูกต้อง


IMAGE : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข้อมูลที่มา : โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15/ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)