Tag Archives: ปุ๋ยอินทรีย์

ผ่านวิกฤตภัยแล้ง..ด้วยไร่เทพ

ลุงพงษ์ นิลพัฒน์  เป็นเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก มีแปลงนามากกว่า 100 ไร่ ทำนามาตลอดชีวิต  อาศัยอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุงพงษ์ เล่าว่า หลังจากหว่านข้าวไปเจอวิกฤตภัยแล้ง

ถึงขนาดที่ว่าน้ำในคลองก็ไม่มีให้วิดมาใช้ ลุงเลยตัดสินใจฉีดพ่นไร่เทพเพิ่มอีก 2 รอบ เพื่อให้ไร่เทพไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช ส่งผลให้พืชสามารถเจริญเติบโตต่อได้  และไร่เทพนอกจากจะช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ไม่ปกติแล้ว ยังช่วยทำให้ดินมีความอุ้มน้ำ ร่วนซุยไม่แข็งกระด้างอีกด้วย ในขณะที่แปลงนาข้างๆ ต้นข้าวล้มตายเกิดความเสียหายอย่างมาก แต่แปลงนาลุงได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีนำไปขายโรงสีได้ราคาดีด้วย

เคล็ดลับขั้นเทพ .. นาลุงจะมีนกเยอะมากมากินข้าวเปลือกตอนหว่านข้าวปลูกข้าว ดังนั้นลุงใช้วิธีการหว่านเผื่อให้นกด้วยกล่าวคือ หว่านข้าวในจำนวนที่มากขึ้นถึงแม้จะมีนกกินข้าวไปก็จะยังเหลือข้าวที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นต้นข้าวได้ ทำให้ไม่มีปัญหานกกินข้าวหมด

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

จ่ายแพงไปทำไม??

ของใช้ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป อยากให้เกษตรกรได้ใช้ของดีที่มีราคาไม่แพง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ที่เมื่อวิเคราะห์ราคากับปริมาณที่ใช้ จะเห็นได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม เพราะราคาที่จ่ายไปกับผลลัพธ์ที่ได้กลับมารับประกันได้เลย การันตีด้วยยอดลูกค้าที่อยู่กับเรายาวนานกว่า 10 ปี

หากท่านกำลังเจอปัญหาพืชเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง พืชขาดธาตุอาหาร ดินเสีย ดินเค็ม ดินแข็ง ไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก รวมถึงปัญหาที่ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรเหล่านี้จะหมดไป หากเกษตรกรหันมาให้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ไร่เทพ อาหารเสริมพืช จะช่วยให้พืชโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ลูกดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง น้ำหนักดี มีคุณภาพดี

โล่เขียว จะช่วยให้พืชเขียวทน เขียวนาน ต้านทานโรคและแมลง และช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ดินเทพ เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ไร้สารตกค้าง ช่วยให้ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก และยังสามารถใช้แทนสารจับใบได้ ช่วยให้สารแผ่กระจายทั่วใบและพืชนำไปใช้ได้เลย

 

ราคาไม่แพง .. หากต้องการผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ไร่เทพ 1 ซอง ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

โล่เขียว 1 ขวด (1000ml.) ฉีดพ่นได้ 15 ไร่

ดินเทพ 1 ขวด (500ml.) ฉีดพ่นได้ 12 ไร่

 

เคล็ดลับไร่เทพ “ปลูกมันสำปะหลังให้โตวันโตคืน”

โตวันโตคืน ทั้งในส่วนมันสำปะหลัง และส่วนของเกษตรกร เคล็ดลับไร่เทพ จะทำให้โตไว ใบเขียวเข้ม มันหัวใหญ่ น้ำหนักดี และเปอร์เซ็นต์แป้งสูง ทำให้เกษตรกรเติบโตมีผลผลิตที่ดี มีกำไร ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง

จากข้อมูลวิจัยกรุงศรีคาดว่าอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ในปี 2566-2568 มีแนวโน้มเติบโตดี ตามทิศทางการขยายตัวของความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเอทานอล) และตลาดส่งออก ตามการขยายตัวของตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลัก ปัจจัยท้าทายของอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ ปริมาณผลผลิตที่มีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาด (โรคใบด่างมันสำปะหลัง) รวมถึงด้านการตลาดที่ยังต้องพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก

เคล็ดลับไร่เทพ
การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย “ไร่เทพและโล่เขียว” จะช่วยเร่งการแตกราก กักตุนอาหารตั้งแต่เริ่มปลูก โดยสูตรแช่ท่อนพันธุ์แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.กรณีแช่ 3-5 ชั่วโมงก่อนปลูก คือ ไร่เทพ 2-4 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตรและโล่เขียว 80-100 ซีซี
2.กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 24 ชม.) คือ ไร่เทพ 1-2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร และ โล่เขียว 50 ซีซี
ต่อมาในช่วง 14-60 วัน ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**
ตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

 

เคล็ดลับเพิ่มผลผลิต “มันสำปะหลัง”

มันสำปะหลังจัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เกษตรกรในหลายพื้นที่สร้างรายได้จากการปลูกมันสำปะหลัง และในอนาคตคาดว่าความต้องการณ์ใช้มันสำปะหลังในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการนำมันสำปะหลังมาผลิตในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน จึงส่งผลให้เกษตรกรใส่ใจกับการปลูกมันสำปะหลังให้มีคุณภาพและปริมาณสูง

      การใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงการเก็บเก็บผลผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลัง ไร่เทพมีเคล็ดลับเพิ่มผลผลิตในการปลูกมันสำปะหลังให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่สูงได้

ในขั้นตอนก่อนปลูก การเตรียมดินให้มีความสมบูรณ์ก่อนปลูกด้วย “ดินเทพ” สารปรับโครงสร้างดินที่เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ทั้งมีความปลอดภัยไม่ทิ้งสารตกค้าง อัตราการใช้ ดินเทพ 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร

การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย “ไร่เทพและโล่เขียว” จะช่วยเร่งการแตกราก กักตุนอาหารตั้งแต่เริ่มปลูก โดยสูตรแช่ท่อนพันธุ์แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  • 1.กรณีแช่ 3-5 ชั่วโมงก่อนปลูก คือ ไร่เทพ 2-4 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตรและโล่เขียว 80-100 ซีซี
  • 2.กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 24 ชม.) คือ ไร่เทพ 1-2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร และ โล่เขียว 50 ซีซี

ต่อมาในช่วง 14-60 วัน ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

ตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

หมายเหตุ ฉีดพ่นทางใบเป็นละออง ไม่ต้องจี้ ควรฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า และหลัง 5 โมงเย็น

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ช่วงนี้เพลี้ยไฟระบาดลงแปลงนาเป็นจำนวนมาก จัดได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องพบเจอ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ฝนที่ทิ้งช่วงยาวนาน รวมทั้งการหนีตายจากแปลงใกล้เคียง

แต่หากเจอเพลี้ยไฟแล้ว ทำไงดี?
ปัญหานี้ตอบได้จากประสบการณ์จริงของแปลงนาผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ กล่าวคือ นาข้าว 50 ไร่ แปลงนี้ มีอายุ 15 วัน ได้ฉีดผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ รอบแรกในอัตราการใช้ดังนี้ ไร่เทพ 12 ซอง ดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) และโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา ส่วนนี้จะทำให้ข้าวได้รากอย่างสมบูรณ์และต้นแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตไปในระยะต่อไป

แต่พอข้าวอายุ 20 วัน เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยไฟในพื้นที่ซึ่งทางเราไม่ได้ฉีดป้องไว้ก่อน เนื่องด้วยไร่เทพมีคุณสมบัติพิเศษที่มีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ในช่วงแรกเพลี้ยไฟยังไม่มาลงแปลงมาจะเห็นว่าเมื่อเทียบกับแปลงนาข้างๆ แปลงนาที่ไม่ได้ใช้ไร่เทพเพลี้ยลงใบข้าวมีสีเขียวอ่อน ซึ่งแตกต่างกับแปลงนาที่ใช้ไร่เทพอย่างชัดเจน แต่เมื่อแปลงนาข้างๆมีการฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยไฟแล้วนั้น ทำให้เพลี้ยไฟเหล่านั้นหนีตายมาแปลงข้างๆ เกิดความเสียหายจากการโดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นข้าวเกิดปลายใบไหม้ ข้าวมีอาการเหลือง แต่เมื่อเทียบอาการเพลี้ยลงแปลงนากับแปลงนาที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ แล้วพบว่าแปลงนาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ มีสีเหลืองที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเจอเพลี้ยไฟหนีตามาลงแปลงนา จึงฉีดพ่นยากำจัดเพลี้ยไฟร่วมกับผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ อัตราการใช้ไร่เทพ 10 ซอง ผสมโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) และดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา

หลังการฉีดพ่น 3 วัน เห็นได้ว่า ข้าวมีการฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้อย่างรวดเร็ว จากที่ต้นข้าวที่มีสีอมเหลืองและใบมีอาการโค้งงอ ปลายใบไหม้ ตอนนี้ต้นข้าวกลับมามีความเขียวสด ต้นข้าวยืดตรงไม่โค้งงอ ระบบรากมีความสมบูรณ์ รากเยอะ รากขาวดูสะอาดไม่เป็นโรค และพร้อมจะยึดเกาะดินที่ร่วนซุยพยุงต้นให้เติบโตต่อไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าแปลงนาข้าวจะเกิดปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นถูกแก้ไขได้ถูกวิธีและรวดเร็วปัญหาเหล่านั่นก็จะหมดไป

#ไร่เทพ #ดินเทพ #โล่เขียว #เพลี้ยไฟ #นาข้าว #เกษตรกร

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ เห็นความสำคัญในการให้โอกาส และการศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิตให้หลุดพ้นจากความจนได้ เนื่องจากปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม เด็กและเยาวชนหลายๆ คนกลายเป็นเด็กด้อยโอกาส ทำให้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณเชอรี่จึงได้มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กๆ พื้นที่ห่างไกล และขาดแคลน ผ่านมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการ “ส่งเสริมการศึกษาให้สว่างไสว สร้างอนาคตที่สดใสให้น้อง” และร่วมบริจาคและจุดไฟแห่งปัญญาให้แก่เด็กๆ เพื่อให้อนาคตของพวกเขาส่องสว่าง และพร้อมส่งต่อสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม โดยพร้อมเป็นแรงสนับสนุนที่จะช่วย “จุดประกายความรู้ สู่พัฒนาการสมวัย” ของเด็กยากไร้ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณเชอรี่ ได้มีการมอบทุนการศึกษานี้อย่างต่อเนื่องและตั้งใจจะทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

 

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เตือนผู้ปลูกทุเรียน เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน ศัตรูพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่ทุเรียน
การระบาดของศัตรูพืชทำให้ผลผลิตทุเรียนลดลง และคุณภาพของผลผลิตต่ำ แมลงและไร ศัตรูพืชที่สำคัญและทำความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ทุเรียน
โดยหนอนเจาะผลทุเรียนมักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ต้นทุเรียนอยู่ในระยะติดผล
เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบการเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก
อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ
การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา
ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน
และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่บริเวณรอยสัมผัสนี้

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

    1. หมั่นตรวจดูผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
    2. ผลทุเรียนที่ถูกหนอนเจาะ ควรทำลายโดยการเผาไฟหรือฝัง
    3. ไร่เทพ เป็นอาหารทางใบที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ช่วยป้องกันแมลงได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังไปช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซม และช่วยเพิ่มผลผลิตด้วย และปุ๋ยโล่เขียว จะช่วยทำให้ผลและใบสมบูรณ์ ใบใหญ่ เขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ผลไม่โทรมและยังช่วยให้ทนต่อโรคได้ดียิ่งขึ้น ส่วนดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน มีอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในดิน จึงช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และช่วยส่งเสริมการสร้างธาตุอาหารในดิน อีกทั้งใช้แทนสารจับใบ ทำให้ไร่เทพและปุ๋ยโล่เขียวมีประสิทธิภาพมากขึ้น (อัตราการใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ผสมปุ๋ยโล่เขียว 100 มิลลิลิตร และผสมดินเทพ 10 มิลลิลิตร)
    4. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป ควรตัดแต่งผลไม่ให้ติดกัน และใช้ใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย สามารถลดการทำลายของหนอนเจาะผลได้
    5. การห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
    6. หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล

 

หมายเหตุ การผลิตทุเรียนส่งออกควรจัดการตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) กรณีการใช้สารเคมีควรใช้อัตราตามฉลาก และเกษตรกรควรทิ้งช่วงก่อนเก็บเกี่ยวหลังจากการพ่นสารครั้งสุดท้ายแล้วอย่างน้อย 7 วัน

 

     

 

 

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

             

                  หลังฤดูการเก็บเกี่ยวก่อนที่จะเข้าหน้าฝนที่เป็นฤดูการปลูกข้าวของเกษตรกร ด้วยหลายๆปัจจัยจึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถเผาฟางได้ วิธีการย่อยสลายตอซังจึงเป็นวิธีที่นิยมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่วิธีการนี้ต้องอาศัยเวลาในการย่อยสลายเพื่อให้อินทรียวัตถุในดินได้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์และเกิดแร่ธาตุอาหารในดินสำหรับการปลูกข้าวครั้งใหม่ได้ แต่ถ้าการย่อยสลายฟางข้าวไม่สมบูรณ์และเริ่มการปลูกข้าวครั้ง ใหม่ทันที ข้าวจะไม่โตและตายในที่สุด ดังนั้นการมีสารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซัง นับเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

“การทำนาโดยไม่เผาตอซังและฟางข้าว มีผลดี คือ รักษาโครงสร้างของดินให้คงสภาพร่วนซุยไม่แข็งกระด้าง ลดปัญหามลพิษทางอากาศ และลดการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญของพืชไม่สูญเสียไป”

ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาฟาง

1.ฝุ่น PM2.5 : ทำให้เกิดฝฝุ่น ควันและก๊าซพิษ “อันตรายถึงชีวิต”

2.ทําให้พื้นที่เพาะปลูกเสื่อมโทรมทำลายบอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินต้องใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดิน “พืชจะอ่อนแอ”

3.ทำลายธาตุอาหารในดิน ทำลายอินทรียวัตถุในดิน สูญเสียธาตุอาหารจากฟาง “ดินมีธาตุอาหารต่ำ”

4.ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น : ธาตุอาหารจะละลายให้พืชดูดกินได้น้อยลง “พืชจะขาดธาตุอาหาร”

5.ทำลายสิ่งมีชีวิต ที่มีประโยชน์ในดิน “ผลผลิตลด”

ฟางข้าวที่อยู่ในนานั้นสามารถเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ย เพราะฟางข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงมากเป็นประโยชน์ต่อดิน โดยมีวิธีการทำดังนี้

  1. นำฟางมาหมักกลบกับดิน แล้วใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย “ดินเทพ” เข้าไป
  2. การใส่จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายโดยใช้สารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” หรือจะหมักเองจากจุลินทรีย์หน่อกล้วยก็ได้ เพราะในหน่อกล้วยมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่โคนกล้วยอยู่แล้วเพราะมีความชื้น จุลินทรีย์ชอบเกาะกลุ่มอยู่ ก็นำมาขยายเชื้อ โดยการใช้กากน้ำตาลผสมกับหน่อกล้วยสับ แล้วก็หมักทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นก็นำมาบีบให้เกิดหัวเชื้อ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย หลังจากนั้นก็นำไปใส่กับน้ำเปล่าแล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คนทุกวัน ทิ้งไว้ประมาณ 5 วัน แล้วก็นำไปปล่อยในแปลงนา
  3. เวลานำไปปล่อยในแปลงนา คนปล่อยไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในนา เพราะเราต้องปล่อยน้ำเข้านาอยู่แล้ว ให้หยด “ดินเทพ” ลงทางเข้าประตูน้ำ เพราะน้ำไปถึงไหนตัวดินเทพก็วิ่งตามไปถึงนั่นเหมือนกัน หรือสามารถเจาะขวด “ดินเทพ” และผูกไปกับท้ายรถตี โดยไม่จำเป็นต้องเดินให้เหนื่อย นี่เป็นเทคนิคง่ายๆ
  4. อัตราส่วนการใช้ดินเทพ 1 ขวด (500 มิลลิลิตร) ใช้ได้ 10-12 ไร่ หรือยิ่งใส่มากก็ยิ่งสลายเร็ว โดยดินเทพจะไปย่อยสลายฟาง เศษวัสดุต่างๆ ที่อยู่ในนาที่เป็นอินทรียวัตถุให้ดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ควรหมักไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน เพื่อให้คายก๊าซ เพราะในฟางข้าวเกิดการทับถมกันอยู่ในดิน จะเกิดก๊าซ มีความร้อน ถ้าก๊าซคายไม่หมดจะทำให้ข้าวต้นเหลืองแห้ง ถ้าเราหว่านข้าวไปแล้วก๊าซไม่หมดแล้วต้นข้าวเหลือง ให้แก้โดยวิธีปล่อยน้ำออกให้แห้ง ให้ดินแตกเป็นหัวระแหงออกมา ให้อากาศเข้าไปถ่ายเทดูดก๊าซออกมาได้ นี่คือวิธีง่ายๆ

 

 

 

 

“การหมักฟางจะทำให้เราประหยัดต้นทุน โดยจะได้ทั้งฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารฟอสฟอรัสจะช่วยในการทำให้ข้าวแข็งแรง และป้องกันโรค ส่วนโพแทสเซียมจะช่วยในการสร้างรวง และสร้างแป้งให้ข้าว ซึ่งสองแร่ธาตุนี้มีอยู่แล้วในฟางข้าว เขาจึงใช้ฟางข้าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

#ดินเทพ #ดินฟู #ร่วนซุย #ปลอดภัย #ไร้สารตกค้าง

ไร่เทพปันน้ำใจบางปลาม้า

ไร่เทพปันน้ำใจ 💚 วันที่ 28 เมษายน 2567

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริชเชอร์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ปุ๋ย ตราไร่เทพ และคณะ ได้บริจาค เตียงผู้ป่วย 2 เตียง , รถเข็นผู้ป่วย 4 คัน จำนวนเงิน 80,000 บาท ให้กับทางโรงพยาบาลบางประม้า จ.สุพรรณบุรี เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ส่งเสริมทางโรงพยาบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม ในโครงการไร่เทพปันน้ำใจ
#ไร่เทพปันน้ำใจ

 

https://www.facebook.com/raithepnano/?locale=th_TH

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยอินทรีย์

 

คือปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นซากพืช ซากสัตว์ ผลิตผลที่ได้จากตัวสัตว์ หรือแม้แต่เศษซากจากกระบวนการบางอย่างของเหล่าจุลินทรีย์ ความแตกต่างของที่มาส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยอินทรีย์นั้นแตกต่างกัน และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนและเป็นต้นแบบเพื่อการต่อยอดให้กับปุ๋ยประเภทอื่น เรารู้จักการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่ยังไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบของมันเสียอีก โดยคาดว่าปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกน่าจะเป็นชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้งาน


1. ปุ๋ยคอก (Animal manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ตัวอย่างของประเภทสัตว์ที่นิยมใช้กันได้แก่ มูลโค มูลไก่ มูลเป็ด และมูลสุกร แน่นอนว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่มูลของสัตว์เหล่านี้หาได้ง่ายกว่า อีกทั้งส่วนมากยังเป็นผลพลอยได้ของการเกษตรเชิงผสมผสานอยู่แล้วด้วย มูลสัตว์นั้นไม่ใช่ของเสียแต่เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารมาแล้ว จึงมีธาตุอาหารหลายชนิดที่ดีต่อพืชและดิน


2. ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากระบวนการหมักจนเกิดการย่อยสลายในเชิงชีววิทยา จากข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์กล่าวว่า ส่วนมากนิยมใช้ของเหลือในกิจกรรมทางการเกษตร เช่น หยวกกล้วย ฟางข้าว เป็นต้น นำวัตถุดิบมาทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำไปหมักในสภาวะอันเหมาะสม เพื่อรอให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ของมัน สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์เป็นปุ๋ยหมักที่มีเนื้อยุ่ย อนุภาคแยกจากกันได้โดยง่าย มีคุณสมบัติพร้อมทั้งการบำรุงและปรับปรุงกายภาพของดิน


3. ปุ๋ยพืชสด (Green manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเลือกพืชบางชนิดมาเพาะปลูกในพื้นที่ เมื่อโตได้ระยะหนึ่งก็ไถกลบเพื่อให้พืชนั้นย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ จุดเด่นของปุ๋ยชนิดนี้อยู่ที่การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่ดิน เพราะพืชที่นิยมใช้ทำปุ๋ยพืชสดนั้น นอกจากต้องเติบโตได้เร็วแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติตรึงธาตุไนโตรเจนได้ดีมากด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วทั้งหมด ปอเทือง โสน เป็นต้น จะเรียกว่าเป็นการบำรุงดินครั้งใหญ่หลังจากเสื่อมโทรมเพราะการเพาะปลูกก่อนหน้านี้ก็ได้

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2550 หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากความหมายของปุ๋ยชีวภาพแล้ว ยังมีคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยชีวภาพที่ควรทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้ซื้อ หรือจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “ ชนิดของจุลินทรีย์ ” หมายความว่า กลุ่มหรือสกุลของจุลินทรีย์ เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์ “ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ” หมายความว่า จุลินทรีย์ชีวภาพที่มี จำนวนเซลล์ต่อหน่วยสูงซึ่งถูกเพาะเลี้ยงโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ “ วัสดุรองรับ ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง ” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารับรองถึงจำนวนเซลล์รวม หรือจำนวนสปอร์รวม หรือจำนวนตามที่หน่วยวัดอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีอยู่ในปุ๋ยชีวภาพหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ตนผลิตหรือนำข้าแล้วแต่กรณี “ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค ” หมายความว่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์สัตว์ หรือพืชและให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ สามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแก่พืช ได้ 2 ประเภท คือ

1.ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารพืชจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรีย และแอคติโนมัยสีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีชุดยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส ( Nitrogenase enzyme ) และควบคุมกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศที่มีประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบในจีโนมปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะ
ความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ( Symbiotic nitrogen fixation ) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้ มีแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากเป็นส่วนประกอบ สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า 50-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการสร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับ พืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียไรโซเบียม กับพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ การสร้างปมที่รากสน ของแฟรงเคีย ( Frankia ) การสร้างปมที่รากปรงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลนอสทอค ( Nostoc ) การอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดง ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลอะนาบีนา ( Anabaena ) เป็นต้น ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตรเจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิต และคุณภาพพืชได้อย่างมีระสิทธิภาพ


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ ( Non-symbiotic nitrogen fixation ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยระหว่าง 5 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์ชนิดของพืชอาศัย และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
2.1 แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ สกุลอะโซโตแบคเตอร์ ( Azotobacter ) และ สกุลไบเจอริงเคีย ( Beijerinckia ) เป็นต้น
2.2 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม ( Azospirillum ) และสกุลบาซิลลัส ( Bacillus ) เป็นต้น
2.3 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช ได้แก่ กลูคอนอะซีโตแบคเตอร์ไดอะโซโตรฟิคัส ( Gluconacetobacter diazotrophicus ) ที่พบในอ้อย และกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม ( Herbaspirillum ) ที่พบในข้าว อ้อย และพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอาร์คัส ( Azoarcus ) ที่พบในข้าวและหญ้า เป็นต้น

2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี จะสร้างกรดอินทรีย์ หรือเอนไซม์บางชนิด เพื่อละลายธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา ประกอบด้วยกลุ่มราไมคอร์ไรซาที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยจะสร้างเส้นใยเข้าไปในราก และเส้นใยบางส่วนจะเจริญอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช ช่วยดูดธาตุอาหารต่าง ๆ และละลายฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน แล้วส่งผ่านธาตุอาหารไปทางเส้นใยราเข้าสู่รากพืช ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตอย่างเพียงพอ ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาที่มีการนำมาใช้ทางการเกษตรมี 2 กลุ่ม คือ 1) อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ( Arbuscular mycorrhiza ) ใช้กับพืชสวน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และ 2) เอ็คโตไมคอร์ไรซา ( Ectomycorrhiza ) ใช้กับไม้ผลไม้ป่า และไม้โตเร็ว


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่ม ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส โดยการสร้างและปลดปล่อยกรดอินทรีย์และกรดอนินทรีย์ ออกมานอกเซลล์เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสะสมในดิน นอกจากนี้ยังสร้างและปลดปล่อยเอนไซม์บางชนิดออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในดิน ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างเอนไซม์ไฟเตส ( Phytase ) ในการย่อยสลายไฟเตท ( Phytate ) และปลดปล่อย โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ( HPO42 – ) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ( H2PO4 – ) ออกมาในสารละลายดิน ซึ่งพืชจะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตต่อไป
กลุ่มที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียม ได้แก่ สกุลบาร์ซิลลัส ( Bacillus ) สกุลคลาโดสปอริออยเดส ( Cladosporioides ) สกุลคลาโดสปอเรียม ( Cladosporium ) สกุลคลอสทริเดียม ( Clostridium ) สกุลเพนนิซิลเลียม ( Penicillium ) และสกุลไทโอบาร์ซิลลัส ( Thiobacillus ) เป็นต้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างกรดอินทรีย์ และอนินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากการตรึงของแร่ดินเหนียวบางชนิดจึงสามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ สามารถใช้ได้ผลดีทั้ง ในพืชสวนและพืชไร่

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

ดินในธรรมชาตินั้น กว่าซากพืชซากสัตว์จะสลายตัวได้หน้าดินซัก 1 เซนติเมตรนั้นใช้เวลานานหลายปี หน้าดินเหล่านั้นประกอบด้วยทั้งอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้สมบูรณ์ แต่ทว่าความสมบูรณ์ของดินนั้นมันก็ค่อยๆหมดไป เพราะตั้งแต่ยุคปฏิวัติเกษตรกรรม มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูกเป็นวงกกว้าง เราปลูกพืชและบริโภคพืชไว้เป็นอาหาร ธาตุบางอย่างในดินจึงเริ่มหมดไป ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพืชขาดธาตุอาหารบางอย่าง มันก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

ธาตุองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของพืชนั่นก็คือธาตุคาร์บอน ซึ่งมีที่มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จนกลายเป็นแป้งน้ำตาล ลำต้นและองค์ประกอบอื่นๆของลำต้นพืช ทว่าในปัจจุบันมีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มมากขึ้น กระบวนการทางเกษตรกรรม ปศุสัตว์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกเป็นภาวะโลกร้อน และทางเดียวที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ นั่นคือ ให้พืชดึงคาร์บอนไดออกไซด์จากฟ้าลงสู่ดิน เราจำเป็นต้องปลูกพืชให้เยอะขึ้นแต่ปัญหาก็คือ “เราปลูกพืชได้ไม่ดี เนื่องจากดินไม่ดี” การปรับปรุงดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูกจึงเกิดขึ้นกระบวนการปรับปรุงดินที่สำคัญ คือการเพิ่มสารอินทรีย์ลงสู่ดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีตัวช่วยคือ “จุลินทรีย์” นั่นเอง

ปุ๋ยอินทรีย์จำแนกได้เป็น 4 ประเภท
1.ปุ๋ยพืชสด
ใช้ต้นพืชฝังกลบลงไปในดินโดยตรง โดยพืชบางชนิดมีแบคทีเรียบางตัวอยู่ในปมรากซึ่งสามารถช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงพื้นดินได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นไรโซเบียม ในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
2. ปุ๋ยคอก
เกิดจากมูลสัตว์ที่ทับถมและย่อยสลาย ภายในระยะเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนกับสัตว์เป็นเครื่องบดทั้งเชิงกายภาพและเชิงเคมีทั้งยังมจุลินทรีย์ในระบบการย่อยอาหารของสัตว์เหล่านั้น ช่วยในการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์อีกด้วย
3. ปุ๋ยหมัก
เป็นการจำลองการย่อยอาหารของสัตว์ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายในปริมาณที่มากขึ้น มนุษย์นำซากพืชมาบดสับละเอียดโดยใช้เครื่องบด โรยจุลินทรีย์เข้าไป กลบและพลิก เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ จนกลายเป็นปุ๋ยในที่สุด
4. ปุ๋ยชีวภาพ
คือจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ในดิน เช่นจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์กลุ่มปลดปล่อยฟอสเฟตเป็นต้น ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดิน พืชไม่สามารถนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้ได้ทั้งหมดจำเป็นต้องมีจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายธาตุบางอย่างให้อยู่ในรูปแบบที่พืชสามารถดูดซึมได้

องค์ประกอบของดินที่ดี
1. อากาศ 25%
ดิน ที่ดีควรมีสภาพร่วนซุยดังนั้นการพรวนดินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อทำให้ดินเกิดโพรงอากาศและพืชสามารถดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
2. น้ำ 25%
นอกจากความร่วนซุยของดินแล้วดินที่ดีควรมีภาวะการอุ้มน้ำเพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของพืช
3. อนินทรีย์วัตถุ 45%
เกิดจากการย่อยสลายของหินกลายเป็นอนินทรีย์วัตถุขนาดเล็กลงหรือที่เราเรียกกันว่าเนื้อดินนั่นเอง
4. อินทรีย์วัตถุ 5%
แม้เป็นส่วนที่น้อยที่สุดแต่ว่าเป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน ในส่วนที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ทับถมกันเป็นเวลานานเราเรียกสิ่งนี้ว่าฮิวมัสนั่นเอง

สูตรปรับปรุงดิน

 

ส่วนผสมการปรับปรุงดินเพื่อใช้ในการเพาะปลูก
1. เนื้อดิน 5 ส่วน ควรเลือกดินที่มาจากแหล่งที่ดี ไม่มีสารตกค้าง พวกโลหะหนัก ฯลฯ
2. กาบมะพร้าวสับ 3 ส่วน
3. แกลบ เผา 1 ส่วน
4. ปุ๋ยชีวภาพ 1 ส่วน
คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทิ้งไว้เป็น 7 วันก็จะสามารถนำไปใช้ปลูกพืชได้

 

นอกจากนี้ เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุและถูกปลดปล่อยธาตุอาหารอันจำเป็นต่อพืชมากขึ้น อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มกรดฮิวมิค (Humic acid) อันเป็นสารจากธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยให้พืชที่ได้รับมีระบบรากที่ดี มีส่วนช่วยในการแตกราก สร้างรากใหม่ ทำให้พืชสามารถดูดอาหารทางดินได้ดีขึ้น  อีกทั้ง ฮิวมิค ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของดิน เมื่อฉีดพ่นลงสู่ดินจะช่วยให้ดินสมบูรณ์ขึ้นอีกด้วย

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-