Tag Archives: ผักสวนครัว

ดินดีขั้นเทพ ปลูกอะไรก็ขึ้น

ดินที่ดี คือ เป็นดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแลตามปกติ ซึ่งจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีปฏิกิริยาดินใกล้เป็นกลางมีค่า pH ในช่วง 5.5-7.0 และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช

องค์ประกอบดินที่ คือ น้ำ 25% อากาศ 25% อินทรียวัตถุ 5% และแร่ธาตุ 45%
ดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน ที่ช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีดินที่ไปช่วยช่วยสลายซากพืช ซากสัตว์ให้เกิดเป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของดีที่ดี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

วิธีการปรับปรุงบำรุงดินแบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
1.การปรับปรุงดินทางกายภาพ คือ การปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นต้น
2. การปรับปรุงบำรุงดินทางด้านเคมี คือ การปรับสภาพทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอ
3. การปรับปรุงบำรุงดินด้านชีวภาพ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ, ใช้ระบบพืชคลุมดิน, ใช้ระบบพืชเหลื่อมฤดู หรือ ใช้การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน เป็นต้น

และเมื่อเราได้ดินที่ดีแล้ว ต้นทุนในการใช้ปุ๋ยก็ลดลงการใช้สารเคมีในการดูแลก็ลดลง เมื่อต้นทุนลดลงและรายได้เพิ่มมากขึ้น

แตงกวาพืชทนแล้ง

แตงกวาพืชทนร้อน

แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูกแตงกวากับพืชอื่น ๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืช หนึ่งที่สามารถทํารายได้ดีทีเดียว สําหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถนําไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนําไปแกงจืด ผัด จิ้มนํ้าพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่า แตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

แตงกวามีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3,000 ปีและมีการปลูกในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนําผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือ ของทวีปแอฟริกาในศตวรรษที่ 6 ได้นําไปปลูกในประเทศจีนโดยสันนิษฐานว่าได้นําเข้าประเทศจีนสองทาง คือเส้นทางสายไหมโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในตวรรษที่ 9-14 ได้นําไปปลูกในทวีปยุโรปและได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นําไปปลูกในทวีปอเมริกา กลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีจํานวนโครโมโซม2n=14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียวเถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจํานวนมากรากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร ลําต้นเป็นเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออกมา ตามข้อโดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้นใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็น ดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุมใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจนส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสร ดอกจะหุบตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วงแสงและอุณหภูมิ กล่าวคือจะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ในสภาพช่วงแสงสั้น และมีอุณหภูมิกลางคืนตํ่าซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผลและในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม้มีไส้เนื้อกรอบ และนํ้าหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสด-แปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดํา สีหนามสีขาว แดง นํ้าตาล และดํา

การจำแนกแตงกวา


แตงกวาสามารถจําแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้ 1. พันธุ์สําหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผล มีนํ้ามากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่ หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนําไปดอง แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น 1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้าน ซึ่งมีความยาวผลอย่าง น้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือ ขาวและเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้นจะมีสีเขียวเข้มสมํ่าเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนําไปดองจะคงรูปร่างได้ดีไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่ง แบ่งตามขนาดได้ดังนี้ 2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมี ความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความ กว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้นๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโต ได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สําหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการนํ้ามากแต่ขาดนํ้าไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดีควรมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ใน สภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัดจําเป็นต้องปรับปรุงบํารุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้นควรจะวิเคราะห์หาค่ากรด-ด่าง ก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน

เยี่ยมชมเว็บไซต์

ก่อนการปลูกแตงกวาทําการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทําลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรียลงไปปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกําหนด ระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สําหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางพื้นที่อาจใช้พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลง ไม่ให้เข้ามาทําลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์

ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์นับว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญในการปลูกแตงกวาซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือมีการบรรจุหีบห่อเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศจากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมีเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทําการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากันแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสําหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทําการบ่มเมล็ด โดยนําเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ผสมอัตรา 5 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อ ทําลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนํามาแช่นํ้า 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบนํ้าหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นบ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตรจึงนําไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นําเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จํานวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร การดูแลรักษากล้าหลังจากหยอดเมล็ดแล้วให้นํ้าทันทีโดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทําได้ ปริมาณนํ้าที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อนควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้นํ้าทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไป เมื่อแตงกวาเริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของ ต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกําจัดโดยเร็วและเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบจะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก
5. การเพาะกล้าในถาดเพาะ
ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า “ มีเดีย , พีทมอส ” แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูงมีราคาแพงทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสมดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว

 

การปลูก  

 วิธีการปลูกแตงกวานั้นพบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ดหากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้วจะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จําเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อนจึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่นประหยัดเมล็ดพันธุ์ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้าเป็นต้น

สําหรับการย้ายกล้าปลูกนั้นให้ดําเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้วและเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กําหนด จากนั้นนําต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กําหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทําให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้นํ้า

หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้นํ้าทันทีระบบการให้นํ้านั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้นํ้าตามร่องเพราะว่าจะไม่ทําให้ลําต้นและใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้นํ้าในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้นํ้าให้นานขึ้น ข้อควรคํานึงสําหรับการให้นํ้านั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สมํ่าเสมอตลอดแปลงและตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทําให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้นอาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 10-10-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตรา ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15- 15-15 หรือ 10-10-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

 

แมลงศัตรูแตงกวา


ในแตงกวานั้นมีศัตรูที่ทําลายแตงกวาแบ่งได้คือแมลงศัตรูแตงแตงกวานั้นเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีแมลงศัตรูเข้าทําลายมาก และที่พบบ่อยและทําความเสียหายกับแตงกวามากได้แก่
1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola) ลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอกและผลอ่อน
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทําให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทางระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสําคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกําจัด ให้นํ้าเพิ่มความชื้นในแปลงปลูกโดยให้นํ้าเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้ ใช้สารฆ่าแมลง คือ พอสซ์ เมซูโรล ไดคาร์โซล ออลคอล อีมาเม็กตินเบนโซเอต เป็นต้น
2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii) ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลําตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลําตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดําและมีปีก
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทําให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนําไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า โดยมีมดเป็นตัวนําหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ
3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.) ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทําให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทําลาย ร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีกําจัดไร ได้แก่ ไพริดาเบน โพรพาไกด์ อามีทราซ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์เป็นต้น
4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดํา (Black cucurbit beetle: A. frontalis) ลักษณะเป็นแมลงปากแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดําเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนาหรือตามกอหญ้า
การทําลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตทําให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้นตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกําจัด ควรทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน็อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จีหรือคูราแทร์ 3 จีใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar:Helicoverpa armigera) ลักษณะหนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมี เส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมี ขนาดใหญ่กว่า ลําตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีนํ้าตาลดํา มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทําลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผล และเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทําลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต สไปนีโทแรม คลอแรนทานิลิโพร ทามารอน อโซดริน หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

 

โรคในแตงกวา แตงกวามีโรคที่เป็นศัตรูสําคัญ ได้แก่


1. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทําให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกนํ้าค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทําให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตําแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดํา
การป้องกันกําจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซด ก่อนปลูกหรือจะนําเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายนํ้าเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้เมื่อมีโรคระบาดในแปลง และในช่วงมีหมอกและนํ้าค้างมากควรฉีด Curzate-M8, Antrachor หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ
2. โรคใบด่าง (Mosaic) เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง
การป้องกันกําจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทําได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทําความสะอาดแปลงปลูก พร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ
3. โรคผลเน่า (Fruit rot) เชื้อสาเหตุ Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทําให้เกิดแผลก่อนจะพบมาก ในสภาพที่เย็นและชื้นกรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉํ่านํ้าเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุมกรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ็อกโทเนีย จะเป็นแผลเน่าฉํ่านํ้าบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีนํ้าตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้นบริเวณ ส่วนปลายของผลที่เน่าจะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกําจัด ทําลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ Oidium sp. ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่ เป็นหย่อมๆกระจายทั่วไปเมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทําให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น แมนโคเซป เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

 

การเก็บเกี่ยว


อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสําหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมี หนามอยู่บ้างถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนามการเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้นเพราะจะทําให้ผลผลิตทั้งหมดลดลงโดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประมาณ 1 เดือน
ที่มาข้อมูล : การปลูกแตงกวา เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, ภัสรา ชวประดิษฐ, กลุ่มพืชผักกองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงกวา


การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะต้นอ่อน (อายุ 7-14 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (อายุ 10-25 วัน : โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะดอกแรก (อายุ 25-35 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะผลอ่อน – เก็บเกี่ยว ดอกต่อเนื่อง (อายุ 40-60 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกมะเขือเทศให้งาม

มะเขือเทศ

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum Mill. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมพืชหนึ่งของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และมะเขือเทศรับประทานผลสด จากสถิติการปลูกพืชผักรายปีของกรมส่งเสริมการเกษตร แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทยประมาณปีละ 40,000 ไร่ ในช่วงปี 2532 – 2533 เป็นช่วงที่มีการขยายพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุดถึง 90,000 ไร่ แล้วค่อย ๆ ลดลงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูกมะเขือเทศส่วนใหญ่ 80 – 90 % เป็นการปลูกสำหรับส่งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปริมาณการผลิตขึ้นอยู่กับภาวะความต้องการของตลาดโลก เมื่อประเทศต่าง ๆ สามารถผลิตมะเขือเทศได้ดีทำให้มีปริมาณผลิตภัณฑ์มะเขือเทศมากเกินความต้องการ   ราคาผลผลิตตกต่ำจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลง มีผลให้พื้นที่ปลูกในประเทศไทยลดลงด้วย    สำหรับพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเพื่อบริโภคผลสดคาดว่า มีเพียงประมาณ  8,000 – 9,000 ไร่ คนไทยคุ้นเคยกับการรับประทานมะเขือเทศผลเล็ก สีชมพู มานานโดยนำไปใช้ปรุงรสและกลิ่นของอาหาร เช่น ส้มตำ อย่างไรก็ดีการบริโภคมะเขือเทศ ไม่จำกัดอยู่เพียงลักษณะผลเล็กสีชมพูเท่านั้น  คนไทยยังนำมะเขือเทศผลใหญ่สีแดง ที่ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมมาบริโภคด้วย  นอกจากนี้หลังจากที่มีการนำมะเขือเทศผลเล็กจิ๋ว หรือมะเขือเทศเชอรี่ ซึ่งมีน้ำหนักผลน้อยกว่า 10 กรัม มาวางจำหน่ายในท้องตลาดปรากฎว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจมะเขือเทศเชอรี่ค่อนข้างมากเพราะเป็นมะเขือเทศที่มีรสหวานเมล็ดน้อยสามารถนำไปบริโภคโดยตรงแทนผลไม้ได้

       ลักษณะการเจริญเติบโต

       ลักษณะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศแบ่งออกเป็นลักษณะดังนี้

       แบบเลื้อย   มะเขือเทศประเภทนี้ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะสามารถเจริญเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุดมีกิ่งแขนงขนาดใกล้เคียงกับลำต้น 2 – 3 แขนง และมีแขนงย่อยได้อีกไม่จำกัด ช่อดอกแรกเกิดระหว่างข้อที่ 8 และ 9   ช่อดอกต่อมาจะเกิดขึ้นทุก ๆ 3 ข้อ ลำต้นอาจจะสูงหรือยาวกว่า 10 เมตร

       แบบพุ่ม   มีลำต้นตั้งตรงกิ่งแขนงหลายแขนงเกิดตามข้อบนลำต้นด้านล่าง และอาจมีแขนงย่อยได้อีก ช่อดอกเกิดระหว่างข้อทุกข้อในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะหยุดการเจริญเติบโต มะเขือเทศบางพันธุ์เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะมีกิ่งแขนงเกิดที่ข้อใต้ช่อดอกเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เรียกว่าเจริญเติบโต

       สภาพภูมิอากาศและฤดูปลูกที่เหมาะสม

       มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของมะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ที่ระหว่าง 25 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16 – 20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยมาก ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาว โดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย  การปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน คือ ฤดูฝนจะมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตกถ้าต้องการจะปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ

  1. เลือกพื้นที่ปลูกที่สูง มีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ
  2. ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5 – 6.8
  3. ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละฤดู คือให้ผลดกในฤดูฝน และฤดูร้อน
  4. มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูกต้อง คือเตรียมดินใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง ฉีดพ่นสารสมุนไพรหรือสารชีวภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันกําจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ ไม่ปล่อยให้โรคทําลายก่อนแล้วจึงป้องกันกําจัด

       สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิ

       มะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย ความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะสมประมาณ 5.5 – 7.0 และเป็นดินที่ระบายน้ำดี มะเขือเทศไม่ชอบน้ำขังแฉะ ถ้าฝนตกติดต่อกันจะต้องเร่งระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ควรเป็นแหล่งที่ไม่เคยปลูกมะเขือเทศมาก่อนในระยะ 1 – 2 ปีที่ผ่านมา เพราะจะมีโรคและแมลงสะสมทำให้การป้องกันกำจัดทำได้ยาก

       ปัญหาการไม่ติดผลและการแก้ไข

       ในฤดูหนาวสามารถปลูกมะเขือเทศได้ง่ายที่สุด แต่การบริโภคมะเขือเทศไม่ได้ถูกจำกัดเพียงฤดูเดียว ดังนั้นจึงมีความพยายามปลูกมะเขือเทศนอกฤดูในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งปัญหาที่สำคัญคืออุณหภูมิสูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ทำให้ดอกมะเขือเทศร่วงไม่ติดผล แต่เนื่องจากราคาผลผลิตในช่วงปลายฤดูร้อนค่อนข้างสูง จึงมีเกษตรกรยอมเสี่ยงปลูก การแก้ไขปัญหาการไม่ติดผลของมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูร้อนสามารถทำได้หลายวิธี

  1. ปลูกมะเขือเทศบนภูเขาสูง ปกติบนภูเขาสูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าในพื้นราบ จึงมีการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูกันมาก เช่น ที่จังหวัดเชียงราย เพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่บนภูเขาสูงมักมีปัญหาแหล่งน้ำจำกัด อาจใช้ปลูกมะเขือเทศได้ไม่ตลอดฤดูปลูก จึงต้องเลือกแหล่งที่มีน้ำสมบูรณ์จริง ๆ
  2. ใช้พันธุ์ทนร้อน ร่วมกับการจัดการที่ดี พันธุ์มะเขือเทศทั่วไปจะไม่สามารถติดผลได้ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส แต่พันธุ์ทนร้อนสามารถติดผลได้แม้ว่าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีถ้าอุณหภูมิกลางวันสูงเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ก็ทำให้มะเขือเทศพันธุ์ทนร้อนติดผลได้ยาก การปลูกมะเขือเทศในฤดูร้อน นอกจากจะใช้พันธุ์ทนร้อนแล้วจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอย่างประณีต โดยเฉพาะการให้น้ำทั้งนี้เพราะเมื่ออากาศร้อนและแห้ง ต้นมะเขือเทศต้องการน้ำมากกว่าในฤดูปลูกปกติถึง 2 เท่า และการระเหยน้ำจากดินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการให้น้ำบ่อยครั้งขึ้น ถ้าเป็นการให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอยควรให้ทุกวันตอนเช้า เพื่อให้ดินและอากาศรอบ ๆ แปลงปลูกมีความชื้นพอเพียง และเป็นการลดอุณหภูมิในแปลงปลูกลงด้วย
  3. การฉีดพ่นมารฮอร์โมนช่วยเร่งการติดตามผลและอาหารเสริม การใช้ฮอร์โมน 4-CPA (chloro phenoxy acetic acid) ความเข้มข้น 25 – 50 ppm. ช่วยให้เปอร์เซ็นต์การติดผลของมะเขือเทศเพิ่มขึ้น แต่ก่อนฉีดพ่นฮอร์โมนนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพของต้นมะเขือเทศว่ามีความแข็งแรงพร้อมที่จะติดผลได้หรือไม่ (โดยสังเกตจากขนาดของก้านช่อดอก ถ้าก้านช่อดอกมีขนาดใหญ่แนวโน้มที่จะติดผลได้มีมากกว่าก้านช่อดอกที่มีขนาดเล็ก)  และช่วงที่ฉีดพ่นควรเป็นช่วงที่มีปริมาณดอกค่อนข้างมาก สารฮอร์โมนชนิดนี้ เมื่อฉีดพ่นถูกใบมักทำให้ใบผิดปกติม้วนงอ ใบยอดหดเล็กลง (การใช้สารฮอร์โมนช่วยให้ผลผลิตในมะเขือเทศพันธุ์ผลโต มักใช้พู่กันจุ่มฮอร์โมนป้ายตามช่อดอกไม่ให้ถูกใบ) ผลที่เติบโตขึ้นเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด และบ่อยครั้งจะพบผลที่มีรูปร่างผิดปกติ จึงไม่ควรฉีดพ่นเกินกว่า 2 ครั้ง และควรฉีดพ่นในช่วงที่อากาศไม่ร้อน เช่น ตอนเช้ามืดหรือตอนเย็น อย่างไรก็ดีแม้ว่าสารฮอร์โมนจะช่วยให้เกิดการติดผลได้ แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศไม่สมบูรณ์ ก็ไม่สามารถทำให้ผลที่ติดแล้วเจริญเติบโตต่อไปเป็นผลที่มีรูปร่างปกติได้ จึงอาจจำเป็นต้องฉีดพ่นด้วยอาหารเสริมทางใบ และบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินพร้อมกับให้น้ำอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ขึ้น มีอาหารส่งไปยังผลอย่างพอเพียง ผลจะเติบโตเป็นผลที่มีรูปร่างปกติต่อไป

       พันธุ์ปลูก

       พันธุ์มะเขือเทศที่ใช้ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพันธุ์ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ โดยโรงงานที่รับซื้อผลผลิตเป็นผู้จัดหามา  ส่วนพันธุ์มะเขือเทศผลเล็กสีชมพูสำหรับรับประทานสด เกษตรกรอาจเลือกซื้อได้จากร้านค้าเมล็ดพันธุ์ หรือเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศทนร้อนที่มีลักษณะผลสีชมพูคล้ายพันธุ์สีดาจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ สีดาทิพย์ 1, สีดาทิพย์ 2, สีดาทิพย์ 3 และมะเขือเทศลูกผสมสีดาทิพย์ 92

 นอกจากนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ไต้หวัน นำพันธุ์มะเขือเทศผลเล็กจิ๋วหรือมะเขือเทศเชอรี่ เข้ามาปลูกทดสอบหลายพันธุ์ พันธุ์ที่น่าสนใจมากคือ CH154 และ CH 155 ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ มีการเจริญเติบโตแบบกึ่งเลื้อย ความสูงของต้น ประมาณ 100 – 150 ซม. มีกิ่งแขนง 6 – 10 แขนง อายุดอกบานประมาณ 40 – 45 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ช่อดอกเกิดบนลำต้นเกือบทุกข้อ แต่ละช่อดอกมีดอกย่อย 8 – 15 ดอก ในฤดูหนาวสามารถติดผลได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีผลมากกว่า 300 ผลต่อต้น ผลผลิตประมาณ 4 – 5 ตันต่อไร่   รูปร่างผลยาวรี รสหวาน เนื้อแน่น มีเมล็ดน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด ผลเริ่มสุกแดงประมาณ 50 วัน หลังจากย้ายปลูกหรือประมาณ 70 – 75 วันหลังจากหยอดเมล็ด   การเก็บเกี่ยวผลควรรอให้ผลสุกแดงจนสีผลเป็นสีเข้ม จะมีรสชาติหวานกว่าผลที่เพิ่งเริ่มสุก และเมื่อผลสุกแล้วสามารถปล่อยทิ้งไว้บนต้นได้นานถึง 20 วัน โดยผลไม่เน่าเละซึ่งเป็นข้อดีที่สามารถชลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปได้ระยะหนึ่ง  มะเขือเทศเชอรี่พันธุ์ CH154 และ CH155 นี้ เป็นพันธุ์ผสมปล่อยสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อไปได้ เมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็กกว่ามะเขือเทศทั่วไปโดยน้ำหนักเมล็ด 1 กรัมมีจำนวนเมล็ดประมาณ  450 – 500 เมล็ด

       การปลูก

       การปลูกทำได้ 2 วิธี 

       

      1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก   โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30 – 40 กรัม หยอดลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าว หรือ หญ้าแห้งบาง ๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุมแปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โรคที่สำคัญในแปลงกล้า คือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกัน ความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17 – 22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข็งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมาก หลังจากย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมักจะใช้กล้าอายุประมาณ 21 – 25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3 – 4 ใบ

  1. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่าย แต่จะเสียเวลาและแรงงานในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80 – 100 กรัม ต่อไร่ สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร ระยะระหว่างต้น 25 – 50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่นจะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น ๆ

       การปฏิบัติดูแลรักษา

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างมากในแปลงมะเขือเทศ เริ่มตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังจากย้ายปลูกหากปล่อยให้วัชพืชขึ้นในแปลง จะส่งผลท้าให้ทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศลดลง

      -การใช้แรงงาน หรือเครื่องมือกล การใช้มือถอน หรือใช้จอบถาก อาจท้า 1-2 ครั้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตของผัก โดยเฉพาะวัชพืชที่ขยายพันธุ์ ด้วยหัว หรือเหง้า เช่น แห้วหมู ควรเก็บออกให้มากที่สุด

      – การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตกหรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 – 40 % แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเธี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรคลุมให้ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป

       – การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 – 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 – 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช

       – การใส่ปุ๋ย

  1. ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2,000 กก./ไร่ และโบแรกซ์ 4 กก./ไร่
  2. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 7 – 10 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 46 – 0 – 0 หรือ 21 – 0 – 0 อัตรา 10 หรือ 20 กก./ไร่ ถ้าเปลี่ยนแปลงปลูกที่เคยปลูกผักกินใบ เช่น ผักชี มาก่อนควรใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 แทน
  3. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 21 – 25 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กก./ไร่
  4. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 40 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 30 กก./ไร่
  5. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 60 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศค่อนข้างโทรมมีผลน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5

       ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมเช่น ร้อนเกินไปหรือมีฝนตกบ่อยทำให้ต้นมะเขือเทศไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีอาการเฝือใบ อาจช่วยได้โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรต่าง ๆ ตามระยะการเจริญเติบโต เช่น ในระยะยังไม่ออกดอกอาจใช้ปุ๋ยใบสูตรเสมอ เช่น 25 – 25 – 25 ส่วนในระยะออกดอกแล้วควรใช้ปุ๋ยใบที่มีฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง เช่น 10 – 23 – 20 หรือ 10 – 30 – 20 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยใบที่มีธาตุอาหารรองหลายชนิดอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส เหล็ก สังกะสี โบรอน จะช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

       – การให้น้ำ ระยะที่มะเขือเทศต้องการน้ำมากคือ ช่วงแรกของการเติบโตและช่วงที่ผลกำลังขยายขนาด (ประมาณ 35 – 50 วัน หลังจากย้ายกล้า) สำหรับช่วงที่กำลังติดผล (20 – 35 วัน) ไม่ต้องการน้ำมากนักแต่ต้องการการพรวนดิน เพื่อให้รากเจริญเติบโตลงไปได้ลึก และรากกระจายทางด้านข้างได้สะดวก

       – การปักค้าง มีความจำเป็นมากเมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน หรือ ปลูกด้วยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแบบเลื้อย การปักค้างแบบค้างเดี๋ยวหรือแบบกระโจม จะช่วยให้ผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้นกว่าการไม่ปักค้าง 20 % และทำให้การฉีดยาป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติงานอื่น ๆ ในแปลงสะดวกขึ้น นอกจากปักค้างแล้วต้องหมั่นผูกต้นมะเขือเทศติดกับค้างด้วย มิฉะนั้นแขนงที่เกิดใหม่จะเจริญเติบโตทอดไปกับดินทำให้ผลเน่าเสียหายได้

 การป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ โรคที่สำคัญได้แก่

      1.โรคกล้าเน่า-เน่าคอดินสาเหตุ (เชื้อรา Pythium perilum Drechsler) ราเข้าทำลายเมล็ด ทำให้เมล็ดเน่าทั้งที่ยังไม่งอก หรืองอกอยู่ในดิน ซึ่งทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากเมล็ดงอกโผล่จากดินแล้วเจริญเป็นต้นกล้า ราเข้าทำลายที่ระดับดินโคนต้นกล้าเกิดอาการฉ่ำน้ำ ต้นกล้าล้มพับอยู่เหนือดิน แต่ใบเลี้ยงยังคงเขียว ไม่มีอาการเหี่ยว หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ความชื้นสูง จะทำให้ต้นกล้าเน่าเป็นหย่อมๆ ในแปลงกล้าหรือในกระบะเพาะกล้า

การป้องกันกำจัด : 1. แปลงเพาะกล้าควรย่อยดินให้ละเอียดและตากแดดเป็นเวลานานพอสมควรก่อนหว่านเมล็ด

  1. ไม่เพาะกล้าและรดน้ำในแปลงกล้ามากเกินไป
  2. แปลงกล้าควรมีการระบายน้ำได้ดี
  3. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล เพื่อควบคุมราที่อาจติดมากับเมล็ดและป้องกันการเข้าทำลายจากราอื่นที่อยู่ในดิน
  4. หากพบว่ามีการระบาดของโรค ให้รีบควบคุมราด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และเก็บต้นกล้าที่เป็นโรคออกจากแปลง เพื่อน้าไปเผาทิ้งทำลาย

       2.โรคใบไหม้ สาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora infestans มักเกิดกับใบล่างของต้น อาการใบไหม้ เริ่มแรกใบเป็นจุดช้ำสีเขียวเข้มและขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็ว ส่วนด้านล่างของใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก บนแผลพบเส้นใยและกลุ่มสปอร์สีขาวอยู่รอบ ๆ เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง ในบางครั้งโรคแสดงอาการที่ส่วนของกิ่งและลำต้น โดยมีลักษณะเป็นจุดช้ำน้ำและมีแผลสีดำเช่นเดียวกับอาการที่ใบ ถ้าเกิดแผลที่โคนกิ่งจะทำให้ส่วนยอดของกิ่งแสดงอาการเหี่ยวเฉา เนื่องจากน้ำและอาหารส่งไปเลี้ยงส่วยยอดได้ไม่ หากมีการเข้าทำลายอย่างรุนแรงพืชจะตายภายใน 1สัปดาห์

การป้องกันกำจัด : 1. ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง

  1. เมื่อพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรค ควรรีบถอนออกเผาทำลาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราที่เป็น

สาเหตุโรคแพร่ระบาด

  1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศในบริเวณที่เคยมีโรคนี้ระบาด
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่น เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 72% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 70 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

      โรคราแป้ง สาเหตุ : เชื้อรา Oidiopsis sp. ลักษณะอาการ : พบกลุ่มสปอร์และเส้นใยสีขาว-เทาบนผิวใบ ลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายแป้งฝุ่นหรือผงชอล์กปกคลุม อาการเริ่มแรกมักเป็นหย่อมๆ แล้วขยายจนเต็มใบ ถ้าเป็น รุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย อาการส่วนใหญ่มักเกิดกับใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนที่เจริญเต็มที่แล้ว และในสภาพอากาศเย็นจะทำให้เชื้อลุกลามไปยังกิ่งได้

การป้องกันกำจัด : 1. ตัดแต่งกิ่ง ใบ ให้ทรงต้นโปร่ง และเก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อลดแพร่กระจายของโรค

  1. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งที่ตัดแต่ง
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ซัลเฟอร์ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน

      โรคใบหงิกเหลือง สาเหตุ : เชื้อไวรัส Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV ใบอ่อนที่แตกใหม่มีขนาดเล็ก ขอบใบม้วนงอ ผิวใบไม่เรียบและมีสีเหลือง ต่อมาใบยอดเป็นพุ่มและหงิกเหลือง ช่อดอกฝ่อทำให้ดอกหลุดร่วงง่าย ถ้าเชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นกล้าพืชแสดงอาการของโรคอย่างรุนแรง ต้นแคระแกร็น และไม่ติดดอก

การป้องกันกำจัด : 1. ถ้าพบต้นที่เป็นโรคควรถอนต้นพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้งทันที

  1. กำจัดพืชอาศัยชนิดอื่นในแปลงปลูก เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อและแมลงพาหะ
  2. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยของไวรัส

 การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ    แมลงศัตรูที่สำคัญมีดังนี้

      หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm)  หนอนชนิดนี้ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิดเข้าทำลายมะเขือเทศโดยการกัดกินส่วนของ ดอก ใบ และเจาะผลมะเขือเทศ หนอน ขนาดใหญ่ (วัย 4-5) มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงสูง

การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพื่อกำจัดดักแด้หนอนเจาะสมอฝ้ายที่อยู่ในดิน การทำลายซากพืชอาหาร ทำให้ช่วยลดการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้ายในการปลูกมะเขือเทศครั้งต่อไป

  1. การใช้วิธีกล เช่น เก็บหนอนไปทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
  2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstakii อัตรา 60-80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในช่วงเวลาเย็น
  3. การใช้เชื้อไวรัส เอ็นพีวี (นิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนเจาะสมอฝ้าย DOA BIO V2 (กรมวิชาการเกษตร) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ในช่วงเวลาเย็นโดยผสมกับสารจับใบ
  4. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด เช่น อินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี หรือ สไปนีโทแรม 12% เอสซี หรือ  อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 15, 20 และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามล้าดับ

      แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) แมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเทศ โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบ และเป็นพาหะน้าโรคที่เกิดจากไวรัส ทำให้ใบหงิก ยอดไม่เจริญ ไม่ออกดอก และ ต้นมะเขือเทศแคระแกร็นไม่สมบูรณ์

การป้องกันกำจัด  1. คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้าด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 25% เอสที อัตรา 40 กรัม/เมล็ด 1 กก.

  1. ใช้อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นตามการระบาด

      แมลงวันหนอนชอนใบ (leaf miner flies) แมลงวันหนอนชอนใบมีหลายชนิด พืชผักหรือไม้ดอกบางชนิดที่ถูกทำลายเกิดจากตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็ก วางไข่ภายในผิวใบ หนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ถ้าระบาดรุนแรง จะทำให้ใบร่วง เพศเมียวางไข่ที่มีขนาดเล็กภายในผิวพืช ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อน้าใบพืชมาส่องดูจะพบตัวหนอนตัวเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งแสง ใส อยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด  1. การใช้วิธีกล การเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายเนื่องจากหนอนชอนใบตามพื้นดิน จะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย

  1. การใช้สารสกัดสะเดาอัตรา 100 พีพีเอ็ม สามารถป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบได้ดี
  2. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เบตาไซฟลูทริน 2.5% อีซีหรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 30 มล. และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ

      หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) หนอนกระทู้ผักเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด หนอนวัยแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ต่อมาการทำลายรุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่และกัดกินพืชอย่างรวดเร็ว กัดกินทั้ง ใบ ดอก ผล การทำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยวางไข่และพบการระบาดได้ตลอดทั้งปี

การป้องกันกำจัด

  1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้และลดแหล่งสะสมและขยายพันธุ์
  2. การใช้กลวิธี โดยการเก็บกลุ่มไข่ และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
  3. การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus- thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki การใช้เชื้อไวรัส (นิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนกระทู้ผัก
  4. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น คลอร์ฟินาเพอร์ (chlorfenapyr), อินดอกซาคาร์บ (indoxacarb), สไปนีโทแรม (spinetoram) ตามคำแนะนำในฉลาก

        การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 50-60 วันหลังปลูก โดยมะเขือ เทศที่ส่งขายโรงงานอุตสาหกรรมเก็บเมื่อผลยังคงสีเขียวและเริ่มเปลี่ยนสีและปลิดขั้วออก ส่วนมะเขือเทศที่ใช้รับประทานสดเก็บเมื่อผลสุกและให้มีขั้วผลกลุ่มไม่ทอดเลื้อย สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งต้น กลุ่มทอดเลื้อย จะทยอยเก็บเกี่ยวได้นานต่อเนื่อง 2-3 เดือน

      

ที่มาข้อมูล : รู้จริงเรื่องพืช (กรมวิชาการเกษตร) , ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับมะเขือเทศ

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะตั้งตัว (อายุ 7-10 วัน)           :          โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร     ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะเจริญทางลำต้น-ใบ (อายุ 10-25 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-35 วัน)      :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100  ลิตร      ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผลสร้างเนื้อ (อายุ 35-50 วัน)   :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะเริ่มต้นเก็บเกี่ยว (อายุ 50-80 วัน)   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การปลูกผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี

ผักใบใหญ่ ต้นขาว อวบ กินง่ายและอยู่ในหลายเมนูประจำบ้านของคนไทย หากินได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นเป็นพืชผักเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดต่อเนื่องทั้งปี ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกผักกาดขาวปลีประมาณ 30816 ไร่ ครอบคลุม 31 จังหวัด โดยแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กาญจนบุรี และตาก ทั้งนี้ แม้ว่า  จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 4 แต่มีผลผลิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เฉลี่ย 3734 กิโลกรัม / ไร่ (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร : พฤศจิกายน 2561)   ผักกาดขาวปลีมีระบบรากตื้น จึงต้องการความชื้นที่พอเพียงและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะระยะที่ห่อหัว ควรรักษาความชื้นไว้ 70-85เปอร์เซ็นต์ ของความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน  หากขาดนํ้าจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต พืชจะแสดงอาการขาดโบรอน และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชสังเกตได้จากลำต้นจะกลวง เนื้อเยื่อเป็นสีดำ ต้นแคระแกร็น ส่วนแกนหรือไส้ของลำต้นจะเกิดอาการแยกแตกออก หรือเน่ากลวง ระบบรากจะไม่สมบูรณ์บางครั้งจะเน่าเสีย แต่ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระบาดของโรคได้  ที่สำคัญระหว่างการปลูกต้องคอยตรวจแปลงให้ละเอียด เพราะหากมีโรคและแมลงเข้ามา จะได้จัดการได้ทันท่วงที โรคจะได้ไม่ลามระบาดสร้างความเสียหาย

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage) เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวันและในประเทศไทย ผักกาดขาวปลีนับว่าเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายส่วนที่ใช้บริโภคได้แก่ส่วนใบ รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรด-ด่าง(pH)ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6.0-6.8  และอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศา เซลเซียส ควรได้รับแสงแดดตลอดวัน

พันธุ์ผักกาดขาวปลี แบ่งตามลักษณะของปลีได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พันธุ์ปลียาว มีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลี หรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง

2.พันธุ์ปลีกลม ลักษณะทรงสั้นกว่า อ้วนกลมกว่า เช่น พันธุ์ซาลาเดียไฮบริด, พันธุ์ทรงบิค คอล ไพรด์ไอบริด ฯลฯ มักเป็นพันธุ์เบาอายุสั้น

3.พันธุ์ปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย พวกนี้มักไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้อากาศไม่หนาวฝนตกชุก ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) ความอร่อยน่ากินและเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้

พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่เกษตรกรนิยมใช้ เช่น – ตราดอกโบตั๋น – ตราช้าง – ตราเครื่องบิน – ตราเครื่องบินพิเศษ – พันธุ์เทียนจิน – พันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 (เป็นพันธุ์ที่ทนร้อนปานกลาง)                                                                                                         

การเตรียมดิน

1. แปลงเพาะกล้า ควรไถดินให้ดีตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก พรวนย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึก เกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน

2.การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่าง กัน เซนติเมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1.0 เซนติเมตร หรือทําเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การเพาะและการย้ายกล้า   

 

ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1 เซนติเมตร  หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ด ควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้อง กันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศ มืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 25 วัน

การปฏิบัติดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 50-100 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่ง โดยใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อ ผักกาดอายุ 14 วัน ครั้งที่ 3 ใส่เมื่อผักกาดอายุ 30 วัน โดยโรยข้างต้นแล้วรดนํ้า สําหรับพวกพันธุ์ปลียาวและปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ย ไนโตรเจน เช่น แคลเซียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 20-30 ก.ก. / ไร่ เมื่ออายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้แล้วรดนํ้าตามทันที ระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบเพราะจะทําให้ใบไหม้
  2. การให้นํ้า ผักกาดขาวปลีต้องการนํ้ามากและสมํ่าเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้นํ้าอย่างเพียงพอในช่วงการเจริญเติบโต และโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
  3. การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทําการพรวนประมาณ 2 -3 ครั้ง การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์ – พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดย เลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง) – พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอด เมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคและถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควรแต่ไม่มากนัก เหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระหว่างการขนส่ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ     

  1. 1. โรคเน่าเละ (Soft rot) สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำนํ้า ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อย และเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิว ดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐาน ว่าเชื้อราบางชนิดทําลายไว้ก่อน การป้องกันกําจัด 1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา 2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน 3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์อัตรา 10-20 กรัม/นํ้า 20 ลิตร  4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร็ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
  2. 2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทําให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลําต้น เพราะผุเปื่อย เป็นสีนํ้าตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด   1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดีมีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก   2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า  3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว  4. ใช้ยาป้องกันกําจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

  1. 3. โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP. ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียด กันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่า และ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลช้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้ง ตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม

การป้องกันกําจัด  1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป  2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายนํ้าในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายนํ้ารดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูนใส่รดแทนนํ้าในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

  1. 4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะ บิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกําจัด 1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค 2. กําจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย 3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี โอเมทโทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./นํ้า 20 ลิตร

  1. 5. โรครานํ้าค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.) ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทําให้ใบไหม้ การป้องกันกําจัด เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง
  2. 6. โรคใบจุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.) ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน การป้องกันกําจัด หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงศัตรูในผักกาดขาวปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตผักกาดขาวปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา      :    รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)

                การปลูกผักกาดขาวปลี (กรมส่งเสริมการเกษตร)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับผักกาดขาวปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

วิธีปลูกกะหล่ำปลี

วิธีการกะหล่ำปลี ให้ได้ผลิตสูง

พันธุ์และการปลูก

 

พันธุ์กะหล่ำปลีมีความหลากหลายของลักษณะหัวและสี เลือกพันธุ์ปลูกที่ตรงกับ ความต้องการของตลาดและมีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เมล็ดพันธุ์การค้าส่วนใหญ่เป็นลูกผสมจากต่างประเทศ การแบ่งพันธุ์ตามอายุการเก็บเกี่ยว ประกอบด้วยพันธุ์หนักที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบาอายุ 60-70 วัน

พันธุ์กะหล่ำปลี

พันธุ์หนัก ลักษณะหัวใหญ่แต่ไม่แน่น น้ำหนักระหว่าง 2-4 กิโลกรัม ไม่ค่อยกรอบและเก็บไว้ได้ไม่นาน ต้องการอากาศเย็นสม่ำเสมอระยะเวลายาวนาน เช่น ชัวเฮทเบอพี, พรีเมี่ยม, แฟลชท์ดัชท์, วิชคอนชั่น รูบี้บอล, รูบี้เพอเฟคชั่น และกะหล่ำปลีจีนพันธุ์เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

พันธุ์กลาง ลักษณะหัวค่อนข้างกลมแบน หัวแน่น น้ำหนักระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ต้องการอากาศเย็นมากกว่าพันธุ์เบา เก็บไว้ได้นานพอสมควรสะดวกในการขนส่ง เช่น เฮนฮูเลนกลอรี่, ซัสเสสชัน และออลซีซั่น

พันธุ์เบา มีลักษณะพันธุ์ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่นโคเปนเฮเกนมาร์เก็ต ลักษณะหัวกลมรี แน่น เส้นใบนูนเด่น มีน้ำหนักระหว่าง 0.3-2 กิโลกรัม ปลูกง่าย ต้องการอากาศหนาวน้อย เออรี่เจอซี่เวดฟิลด์ มีลักษณะหัวเล็กแน่น ฐานโตยอดแหลมมีรสชาติดี น้ำหนักและการปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต มาเรียนมาร์เก็ต, โกลเดนเอเคอร์ ลักษณะหัวค่อนข้างแบน มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ตเล็กน้อย หัวแน่น น้ำหนักดี

การจำแนกตามอายุเก็บเกี่ยวและสี เช่น กะหล่ำปลีพันธุ์หนัก ได้แก่ กะหล่ำปลีสีม่วง กะหล่ำปลีใบย่น กะหล่ำปลีพันธุ์กลาง ได้แก่ กะหล่ำปลีสีเขียว – สีขาว รูปกลม รูปแป้น  กะหล่ำปลีพันธุ์เบา ได้แก่ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม กะหล่ำปลีปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี อุณหภูมิที่เหมาะสม 15-20 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง  6-6.5  ความชื้นในดินสูงพอสมควรและได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน

การเตรียมดินและแปลงปลูก

   ไถดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน / ไร่

   ย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดต่ำกว่า 6.5 ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ดินควรมีความชื้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หรือ ใช้ดินเทพในอัตรา 50-100 ซีซี / น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก

   หลังเตรียมแปลงปลูกแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.0 – 2.0 ตัน / ไร่

               

การเพาะกล้า

   เตรียมดินเหมือนการเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม สูง 15-20 เซนติเมตร ปรับหน้าดินให้เรียบ

   การหว่านเมล็ด ให้กระจายบาง ๆ สม่ำเสมอ หรือทำร่องบนแปลงเพาะร่องห่างกัน 15 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดกลบด้วยดินผสมหรือปุ๋ยหมัก คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆ รดน้ำให้เป็นฝอยทุกวัน

   เพาะกล้าในถาดหลุม โดยใช้วัสดุปลูกหรือดินสำเร็จรูป ต้นกล้าอายุ 25-30 วันเหมาะสมในการย้ายปลูกลงแปลง

  การปลูก

   ปลูกเป็นแถวเดียวหรือแถวคู่ ระยะห่าง 30-40 x 30-40 เซนติเมตร

   รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ และปุ๋ยอินทรีย์ 3.0-4.0 ตัน / ไร่ รดน้ำให้เปียกชื้น

   ปลูกด้วยต้นกล้าอายุ 25-30 วัน โดยรดน้ำให้ความชื้นกับแปลงเพาะกล้าใช้เสียมเล็ก ๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้มีดินติดกับต้นกล้าให้มากที่สุดก่อนนำไปปลูกในแปลง และรดน้ำทันทีหลังปลูกให้ชุ่ม ป้องกันการเหี่ยวเฉา

การใส่ปุ๋ย ให้น้ำและการดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ยกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขณะเตรียมดิน อัตรา 100-150 กก. / ไร่ ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 14-20 วัน อัตรา 100-150 กก. / ไร่

การให้น้ำและการดูแลรักษา

   ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้ขาดน้ำ การให้น้ำมีหลายวิธี เช่น แบบปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน / ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้น้ำมากขึ้น ลดปริมาณน้ำลงเมื่อเริ่มเข้าปลี ป้องกันปลีแตก แบบสปริงเกอร์ หรือใช้สายยาง ควรรดให้แฉะแต่ไม่ให้น้ำขังแปลง

   การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ระยะแรกบ่อย ๆ

การจัดการศัตรูพืช การจัดการโรค แมลง และวัชพืช

โรคพืชในกะหล่ำ และการป้องกันกำจัด 

โรคใบจุด สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola และ A. brassicae ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุชนิดนี้มักทำให้เกิดโรคกับพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง และผักกาดหัว อาการของโรคเกิดทุกส่วน และทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่ อาการระยะแรกบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่เกิดขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เกิดเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีเหลืองต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ แผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การแพร่ระบาด : สปอร์แพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง สัตว์ มนุษย์ และติดไปกับเครื่องมือ โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝนหรือในระยะที่มีความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น ราสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ (seed-borne)

การป้องกันกำจัด :

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกผักกาดหรือกะหล่ำต่าง ๆ ลงในดินที่เคยปลูกและมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 3-4 ปี
  3. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก
  4. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบโรค เช่นคลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) 50% เอสซีหรือ โพรพิโคลนาโซล (propiconazole) 25% อีซีหรือ เตตระโคนาโซล (tetraconazole) 40% อีดับเบิ้ลยู

                โรคราน้ำค้าง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica (Pers. Ex.Fr.) Fr. ลักษณะอาการ : โรคสามารถแสดงอาการได้ทุกระยะการเจริญของพืช ในระยะกล้า ใบเลี้ยงเกิดเป็น จุดช้ำสีน้ำตาลหรือดำ ล่าต้นเน่า ยุบตัว ทำให้พืชตายหรือแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตในระยะต้นโต อาการระยะแรกมักเกิดจุดสีเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นเหลืองด้านหน้าใบ มีเส้นใยสีขาวหรือเทา คล้ายปุยฝ้ายด้านหลังใบ แต่ในสภาพอากาศแห้งมักพบแต่อาการเหลืองซีดเทำนั้น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง แผลขยายขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อใบกลายเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล หรือแห้งตาย ในกะหล่ำดอก และบล็อกโคลี่ ถ้าเชื้อเข้าทำลายใยระยะสร้างดอก จะเกิดเป็นจุดดำเล็ก ๆ บนช่อดอก หากอาการรุนแรงดอกอาจยืด หรือบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ในกะหล่ำปลีเกิดแผลเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบ ไม่ค่อยขยายขนาด

                การแพร่ระบาด : ราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝนหรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อาการของโรคพบได้ทั่วไป สภาวะอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง หมอกหรือน้ำค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค และการระบาดของเชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ผนังหนาซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืช วัชพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

                การป้องกันกำจัด : 1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคแซบ

  1. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป
  2. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บทำลายเศษซากพืชออกจากบริเวณแปลงปลูก
  3. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในแปลงที่เคยมีการระบาด และควรปลูกพืชหมุนเวียน
  4. เมื่อพบอาการของโรคในแปลง ควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไซม็อกซิเมท (cymoxanil)8% + แมนโคเซบ (mancozeb) 64% ดับเบิ้ลยูพี หรือ แมนโคเซบ (mancozeb) 80% ดับเบิ้ลยูพีหรือ เมทาแลกซิล (metalaxyl) + แมนโคเซบ (mancozeb) 72% ดับเบิ้ลยูพีหรือ โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์(propamocarb hydrochloride) 72.2% เอสแอล หรือสารอื่น ๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่ถ้าหากใช้สารประกอบทองแดงในระยะกล้า ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เพราะเป็นพิษต่อกล้า

โรคเน่าเละ สาเหตุ : เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. Carotovora

ลักษณะอาการ : แบคทีเรียสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชทั้งในไร่และโรงเก็บ อาการเริ่มแรกแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลามทำให้แผลเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ บริเวณแผลยุบตัว มีเมือกเยิ้มออกมา เนื้อเยื่อพืชถูกทำลาย

การแพร่ระบาด : ระบาดโดยลม ฝน ทำให้เกิดแผลกับพืช เชื้อเข้าทำลายได้นอกจากนี้ เชื้อยังอยู่ในเศษซากพืชที่เป็นโรคอีกด้วย โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ในสภาพโรงเก็บพบระบาดลุกลามถ้ามีพืชที่เป็นโรคปะปนอยู่ จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด : วิธีเขตกรรม : 1. ไถกลบเศษพืชผักทันทีที่เก็บเกี่ยวแล้ว และทำการตากดินแล้ว ไถกลบอีกครั้ง

  1. ปลูกพืชหมุนเวียนด้วยพวกธัญพืชหรือข้าวโพด

วิธีกล : 1. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผล และทำลายเศษ ซากพืชที่เป็นโรคด้วยการเผา

  1. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนแปลงปลูกผักและโรงเก็บ

แมลงศัตรูในกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

การใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ได้แก่

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา : รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (การผลิตกะหล่ำปลี)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับกะหล่ำปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน      

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

         

วิธีใส่ปุ๋ยผักสวนครัว

ผักสวนครัว (รั้วกินได้)


ผักสวนครัวประจําบ้าน คือ ผักที่เราปลูกเองในที่อยู่อาศัย อาจปลูกในกระถาง กระบะ หรือพื้นดิน เป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ซับซ้อน ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาบริโภคเป็นผักแกล้ม หรือปรุงเป็นอาหารได้สะดวก การปลูกผักภายในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะการปลูกผักที่ใช้เป็นประจำในครอบครัว ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ภายในบริเวณบ้านที่ กว้างขวาง เพียงแค่มีพื้นที่ 1 – 5 ตารางเมตร ก็สามารถปลูกผักไว้รับประทานอย่างเพียงพอได้ โดยหากมีพื้นที่ กว้างพอก็สามารถปลูกลงในดินโดยตรง แต่ถ้ามีพื้นที่ขนาดเล็กสามารถปลูกในภาชนะ และตั้งวางบนพื้นดินหรือแขวนใน บริเวณบ้านที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อยครึ่งวันก็เพียงพอ ที่จะมีผักสดและปลอดภัย ไว้รับประทานเพื่อสุขภาพ ที่ดีของคนในครอบครัว และสอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจ ในปัจจุบันด้วย

ประโยชน์

1. ปลูกเป็นรั้วบ้าน ( รั้วกินได้ ) ผักที่สามารถนำมาปลูก ทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง
ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิต ตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจากสารเคมี
2. ใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวน การนำ ผักปลูกในกระถางแบบแขวน – ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆบ้าน
3. ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
4. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหาร ประจำวัน
5. ได้ผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
6. สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์

ปัจจัยในการปลูก

1. พันธุ์ผัก เป็นสิ่งตั้งต้นที่จะทำให้ได้ผลผลิตผัก ผักส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการขยาย พันธุ์แต่ก็ยังมีอีกหลายชนิดใช้ส่วนอื่น ๆ ในการขยายพันธุ์ดังนี้
1.1 ผักที่ใช้เมล็ดพันธุ์สำหรับปลูก พริก มะเขือเทศ มะเขือคะน้า กวางตุ้งผักกาดขาวผักกาดหอม แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย แคนตาลูป บอน มะระ ฟักทอง ฟักเขียว แฟง ถั่วฝักยาว ถั่วพลูผักบุ้งจีน กระเจี๊ยบเขียว กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ผักชี
1.2 ผักที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ในการปลูก – ใช้กิ่งปักชำ เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม กะเพรา โหระพา แมงลัก และชะพลูเป็นต้น – ใช้เหง้า หัวและ ลำต้น เช่น หอมแบ่ง หอมแดง กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้และมันเทศ เป็นต้น

2. ดิน 2.1 การปลูกในพื้นดินโดยตรง ให้พรวนดินตากแดดไว้ประมาณ 7 – 15 วัน หลังจากนั้นยกแปลงสูง ประมาณ 4 – 5 นิ้ว กว้างประมาณ 1 – 1.2 เมตร ส่วนความยาวตามความยาวของพื้นที่ หรือความต้องการ การวางแปลงให้พิจารณาให้อยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ เพื่อให้ผัก ได้รับแสงแดดทั่วแปลงตลอดวัน ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักจำนวน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดีก่อนการปลูกผัก
2.2 การปลูกผักในภาชนะ ให้ใช้ดินผสมสำหรับการปลูกโดยดินผสมต้องมีความร่วนซุย ระบายน้ำ ได้ดีและมีธาตุอาหารจำเป็น ที่เพียงพอกับการเจริญเติบโต ของผักได้ปัจจุบันมีการจำหน่าย ส่วนผสมในร้านขายต้นไม้หรือวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งสามารถซื้อมาใช้สำหรับการ ปลูกผักได้และหากต้องการทำดินผสม สำหรับการปลูกผักใช้เองให้ ใช้ส่วนผสม ดิน : ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าวหรือขี้เถ้าแกลบ ในส่วนผสม 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี

3. ภาชนะปลูก


3.1 การเลือกภาชนะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ให้พิจารณาจากอายุของผัก ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว หากใช้ระยะ เวลานานหรือเป็นผักยืนต้นต้องพิจารณาให้ใช้ภาชนะมีขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้ มีพื้นที่ในการบรรจุวัสดุปลูกหรือดินผสมที่เพียงพอให้พืชผักหยั่งรากและมีอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งให้คำนึงถึงความยาวของรากพืชผักด้วย ซึ่งโดยทั่วไปหากเป็นพืชผักอายุสั้นรากผักจะเจริญเติบโตและหาอาหารอยู่ที่ระดับ ความลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ดังนั้น ภาชนะปลูกควรมีความลึก 25 – 30 เซนติเมตร แต่หากเป็นผักที่มีอายุปานกลาง เช่น พริก มะเขือต่าง ๆ หรือผักยืนต้น เช่น กะเพรา โหระพา แมงลัก ชะอม ภาชนะปลูกควรมีความลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร จะทำให้ พืชผักสามารถเจริญเติบโตออกผลได้สมบูรณ์ เลือกภาชนะปลูกที่มีความคงทนแข็งแรง พอสมควร หรือมีความแข็งแรงดี
3.2 การเตรียมภาชนะปลูก เมื่อเลือกภาชนะปลูกได้เหมาะสมทั้งกับชนิดของพืชผัก และมีความ แข็งแรงคงทนพอสมควรแล้ว สิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติต่อไปคือ ทำให้ภาชนะปลูก มีรูระบายน้ำ เพื่อให้น้ำในส่วนที่เหลือจากที่ดินไม่สามารถดูดซับได้แล้วจะได้สามารถ ระบายออกได้เพื่อให้ไม่ขังและอยู่ในภาชนะปลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรากเน่าและ ต้นไม่เจริญเติบโตและตายได้ วิธีการทำรูระบายน้ำ โดยการเจาะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาดและจำนวน พอสมควร โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดของภาชนะปลูกเป็นสำคัญ

4. อุปกรณ์สำหรับการให้น้ำผัก เนื่องจากผักเป็นพืชที่มีอายุ สั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ สิ่งจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการให้น้ำ พืชผักคือควรใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม ในการให้น้ำ โดยทั่วไปหากมีการปลูกผัก ไม่มากให้ใช้บัวรดน้ำที่มีหัวฝอยละเอียด เพื่อไม่ให้ความแรงของน้ำทำให้ผักช้ำ หรือ ทำให้ดินกระจายซึ่งจะกระทบกระเทือน ต่อการเจริญเติบโตของผัก หากไม่ใช้บัวรดน้ำอาจใช้สายยางรดน้ำ แต่แนะนำให้ติดหัวฝักบัวที่ปลาย สายยางเพื่อให้น้ำแตกกระจาย ลดความดันของน้ำที่จะทำให้ผักเสียหาย

5. อุปกรณ์ในการพรวนดิน หากเป็นการปลูกในดินโดยตรง ควรมีจอบสำหรับใช้ในการพรวนดิน หรือถ้าเป็นการปลูกในภาชนะปลูกควรมีพลั่วมือทำดินผสมสำหรับการปลูกผัก และใช้ พรวนดินในระหว่างการปลูกโดยเมื่อมีการปลูกผักในระยะหลัง หน้าดินอาจเริ่มอิ่มตัวแน่น ให้ใช้จอบหรือพลั่วมือพรวนดิน รอบ ๆ ต้นผัก เพื่อให้มีการถ่ายเท อากาศทำให้ออกซิเจนสามารถถ่ายเท ลงไปในดินได้และเพื่อประโยชน์กับ รากผักในการเจริญเติบโต ทั้งนี้การพรวนดินต้อง ระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือน ต่อรากหรือลำต้นด้วย

ผักจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่


1. ผักอายุสั้น หมายถึง ผักที่มีอายุ ตั้งแต่ปลูกจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ น้อยกว่า 2 เดือน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ใช้ส่วน ของใบและลำต้นสำหรับการบริโภค มีการ เจริญเติบโตรวดเร็ว ทำให้สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลาสั้น เช่น ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชีเป็นต้น
2. ผักอายุปานกลาง หมายถึง ผักที่มีอายุประมาณ 2 – 5 เดือน ตั้งแต่ปลูกจนสามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปบริโภคได้มีทั้งผักที่ใช้ลำต้น ดอก ผล ในการบริโภค เช่น กะหล่ำปลีผักกาดขาวปลีกะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงโม บวบ มะระ และฟักทอง เป็นต้น
3. ผักยืนต้น หมายถึง ผักที่สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปรับประทานได้อย่างต่อเนื่อง สามารถ ปลูกและอยู่ข้ามปีได้หากเมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วยังมีการดูแลรักษาอย่าง สม่ำเสมอ เช่น ผักหวาน ชะอม กระถิน กะเพรา โหระพา แมงลัก ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้และกระชาย เป็นต้น การเลือกชนิดผัก การเลือกชนิดผักสำหรับปลูก นอกจากจะพิจารณาจากอายุของพืชผัก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภค และสภาพพื้นที่หรือภาชนะปลูกให้เหมาะสมแล้วควรคำนึงถึงฤดูกาลที่จะปลูก ให้เหมาะสม กับชนิดของพืชผักด้วย เพราะจะทำให้ดูแลรักษาง่าย มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ได้ผักที่มีคุณภาพและรสชาติที่ดีด้วย

 


วิธีการปลูกผัก
1. การปลูก
1.1 การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์โดยตรงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำอุ่น (อุณหภูมิ ประมาณ 55 – 60 องศาเซลเซียส) ประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และ สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่ติดมากับดินได้
1.2 การย้ายกล้าปลูกต้องเลือกต้นกล้าที่มียอดลำต้น ใบ และรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงไปปลูก
1.3 การใช้กิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์อื่น ๆ ให้คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง กิ่งมีความแก่พอสมควร หรือกลีบและหัวแน่น เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้สมบูรณ์
2. การเพาะกล้า
การเพาะกล้าสามารถทำแปลงเพาะหรือเพาะในถุงพลาสติก หรือใช้ถาดเพาะ ดินที่ใช้ในการเพาะกล้า ควรเป็นดินผสมที่มีอัตราส่วนของดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2 : 1 หรือดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักและ ขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวในอัตรา 1 : 1 : 1 นำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1 เมล็ด กลบดินบาง ๆ แล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำที่ฝอยละเอียดเพื่อไม่ให้ดิน กระจายตัวควรมีการกันมดหรือแมลง มาคาบเมล็ด โดยใช้ปูนขาว โรยบาง ๆ ล้อมรอบบริเวณ ที่วางถุงหรือถาดเพาะกล้า ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 1 – 2 ครั้ง ในเวลาเช้า และบ่าย โดยทั่วไปอายุกล้า ที่เหมาะสมในการย้ายปลูก ประมาณ 15 – 20 วัน แต่สำหรับ พริก และมะเขือต่าง ๆ ควร มีอายุ 25 – 30 วัน
3. การให้ปุ๋ย ปุ๋ยรองพื้นใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกควรเป็นปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดิน ให้โปร่งร่วนซุย ช่วยในการอุ้มนํ้า และ รักษาความชื้นของดิน ให้เหมาะกับการ เจริญเติบโตของพืช
4. การให้น้ำ พืชผักเป็นพืชอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอทุกระยะการเจริญเติบโตต้องให้ น้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าแฉะหรือมีน้ำขัง เพราะน้ำจะ เข้าไปแทนที่อากาศในดิน ทำให้รากพืชขาดออกซิเจน และเน่าตายได้ควรรดน้ำในช่วงเช้า – เย็น ไม่ควรรด ตอนแดดจัด
5. การกำจัดวัชพืช ได้แก่ หญ้าหรือพืชอื่น ๆ ที่ขึ้นแซมในแปลง จะทำให้แย่งน้ำและธาตุอาหาร ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ไม่ดีรวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่ของศัตรูพืชอื่น ๆ ด้วย การกำจัดโดย การใช้ถอนด้วยมือ หากมีพื้นที่มากใช้พลั่วหรือจอบพรวนดินในการกำจัดวัชพืชไป พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย

6. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การป้องกันกําจัดแมลงที่ปลอดภัยทําได้หลายวิธีดังนี้
6.1 การใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น บาซิลัส ทุริงเยนซิส (BT), ไวรัส NPV, เมธาไรเซียม และบูเวอเรีย บัสเซียนา
6.2 ปลูกพืชผักร่วมกับพืชที่มีกลิ่นไล่แมลง เช่น โหระพา กะเพรา ตะไคร้


7. การป้องกันกำจัดเชื้อโรคในผัก ในการปลูกผัก หากมีการดูแลให้พืชผักมีการ เจริญเติบโตที่แข็งแรง สมบูรณ์ และปลูกไม่ให้ต้นแน่นหรือ ชิดกันเกินไป สามารถช่วย ป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดปัญหาใบจุดหรือ โคนเน่า ให้ทำการเก็บใบหรือ ต้นผักที่เป็นโรคทิ้ง และนำไป ทำลายนอกแปลง และใช้ น้ำปูนใสรดที่แปลงผักหรือ ต้นผัก วิธีการทำน้ำปูนใส ให้ใช้ปูนขาวจำนวน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสม ให้เข้ากัน และทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นให้นำน้ำปูนใสที่ปูนตกตะกอนแล้ว อัตราน้ำปูนใส 1 ส่วน น้ำธรรมดาสำหรับรดผัก 5 ส่วน เพื่อรดในแปลงปลูก
ใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น ไตรโครเดอร์มา ฮาร์เซียนัม และ บาซิลัสซับทีลิส (BS) ช่วยป้องกันกำจัดโรคพืช

8. การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ผักสด รสชาติดีและหากยังไม่ ได้นำไปรับประทานให้ล้างให้สะอาดและนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บ ในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสชาติดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปผลผลิตจะลดลงสำหรับผักใบหลายชนิดเช่น หอมแบ่งผักบุ้งจีน ผักคะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้วโดยยังคงเหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออก ทั้งต้น ราก หรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลผลิตได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่เสมอ การปลูกพืชหมุนเวียน สลับชนิด หรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ ทยอยปลูกครั้งละ 3 – 5 ต้น หรือประมาณว่ารับประทาน ได้ในครอบครัวในแต่ละครั้ง ที่เก็บเกี่ยวก็จะทำให้ผู้ปลูกมี ผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวัน ตลอดปี

รับประทานผักให้มีคุณค่า

ผักเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ โดยวิตามินที่อยู่ในผักมีทั้งวิตามินที่ละลายในน้ำ และวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินบางตัวถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้น เพื่อสงวนคุณค่าทาง โภชนาการของพืชผักต่าง ๆควรหลีกเลี่ยงการแช่ผักที่หั่นฝอยหรือชิ้นเล็ก ๆในน้ำหรือตั้ง ทิ้งไว้ในอากาศเป็นเวลานาน ควรล้างทั้งหัว ทั้งต้นและเปลือก ถ้าจำเป็นต้องปอกเปลือก ควรปอกแต่เพียงบาง ๆก่อนล้างควรเลือกส่วนที่เน่า เสียและส่วนที่ใช้ไม่ได้ออก การต้มผักให้ใช้น้ำน้อย เช่น การลวก นึ่ง ผัด ใช้เวลาสั้น อย่างไรก็ตาม หากสามารถรับประทานผักสดจะได้ประโยชน์และ คุณค่าของผักครบถ้วน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกผักสวนครัว กรมการพัฒนาชุมชน

วิธีการใช้ไร่เทพและดินเทพกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** ในกรณีใช้ดินเทพช่วงเตรียมแปลงก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพอัตรา 40 – 50 ซีซีผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดิน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
วิธีการใช้โล่เขียวกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
โล่เขียว ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค รวมทั้งพบว่าช่วยให้พืชทนทานต่อการขาดน้ำ ในพื้นที่ดินทรายได้ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตเพราะการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การปลูกมะนาว

การปลูกมะนาว

มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่งที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ มะนาวเป็นพืชที่มีประโยชน์และคุณค่ามาก เนื่องจากสามารถใช้ปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา เพราะมีวิตมินซีสูงสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรและนิยมนำไปใช้ในเครื่องสำอาง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบ มีความต้องการมะนาวสูงขึ้นทุกปี ตามเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้มะนาวมีบทบาทสำคัญทางการค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นมะนาวจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติถึง 5 – 10 เท่า เนื่องจากในฤดูแล้งมะนาวจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จึงทำให้มีผู้สนใจปลูกมะนาวนอกฤดูมากขึ้น

พันธุ์มะนาว

พันธุ์มะนาวที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ได้แก่
1.มะนาวแป้น ทรงผลแป้นและมีขนาดกลาง เปลือกบาง สามรถให้ผลผลิตได้ตลอดปี มีหลายพันธุ์ เช่น แป้นรำไพ แป้นพิจิตร แป้นทราย แป้นจริยา เป็นต้น
2.มะนาวหนัง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกค่อนข้างหนาจึงทำให้รักษาผลไว้ได้นาน
3.มะนาวไข่ ผลมีขนาดและลักษณะคล้ายกับมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง คือผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมมน ขนาดผลโตกว่าและมีเปลือกบางกว่ามะนาวหนัง
4.มะนาวตาฮิติ มีลักษณะเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่ ไม่มีเมล็ด และมีเปลือกหนา
5.มะนาวพวง มีลักษณะรูปทรงกลมรี เปลือกหนา ติดผลเป็นช่อมากกว่า 10ผล และให้ผลผลิตตลอดปี

การปลูก

มะนาวสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี มีผลดก และคุณภาพดีก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก คือ ควรมีปริมาณอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 3เปอร์เซ็นต์ และควรเลือกพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรสูงเกิน 1เมตร แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรมีการยกร่องปลูก เพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี โดยเตรียมพื้นที่คันดิน ให้มีพื้นที่กว้างประมาณ 6 – 8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำ เพื่อการระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1เมตร พื้นร่องกว้าง 0.50 – 0.70 เมตร ค่า pH ประมาณ 5.5-6.0 โดยใช้ระยะปลูกประมาณ 4×4 เมตร หรือ 6×6 เมตร ก่อนนำกิ่งพันธุ์ปลูกให้เตรียมดินหากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำให้บำรุงดินในหลุมปลูก ( ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ) ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเข้ากับดินที่ขุดมาอัตราหลุมละ 1กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต 0.50 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 0.1 กิโลกรัม แล้วกลบดินลงไปในหลุม เนื่องจากมะนาวเป็นพืชตระเดียวกับส้ม ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจแพร่มาจากส้มควรเลือกพื้นที่ให้ห่างจากแหล่งปลูกส้มเดิมที่มีแมลงเป็นพาหะอย่างน้อย 10 กิโลเมตร **คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 80 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร หลังผสมแล้วนำไปรดรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 ลิตรหลังปลูกให้ทั่วถึง

การดูแลรักษา

1.การให้น้ำ การปลูกมะนาวในระยะแรกควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง หลังปลูกประมาณ 15 วัน ต้นมะนาวจะสามารถตั้งตัวได้ ควรให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น แล้วควรงดให้น้ำช่วงเดือนมีนาคม จนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับสามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอกช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม หลังจากมะนาวติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล
2.การใส่ปุ๋ย หลังจากมะนาวได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.50 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจากพรวนดินกำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวณรอบทรงพุ่ม แล้วให้น้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลาย เมื่อมะนาวอายุ 1ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 300 กรัม และมะนาวอายุ 2ปี ให้เพิ่มปริมาณปุ๋ยปีละ 2ครั้ง ครั้งละประมาณ 1กิโลกรัมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของต้น และเมื่อมะนาวอายุ 3ปี จะเริ่มให้ผลผลิต จากนั้นช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใสปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม / ต้น ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืชโดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น **คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1 ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองทุก 15 วันในแปลงมะนาวให้ทั่วถึงทั้งแปลง
3.การกำจัดวัชพืช ในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนระบบราก วิธีการกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น กลูโฟซิเนต ไพริเบนโซซิม เป็นต้น โดยการใช้จะต้องระวังอย่าให้ละอองสารนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ใบเหลืองเป็นจุดไหม้ทั้งใบ ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นสารตอนลมสงบ4.การค้ำกิ่ง เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาว เพื่อป้องกันกิ่งฉีก หัก หรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผลและยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้โดยการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2วิธี คือ
– 4.1 การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ทำเป็นง่ามสอดเข้ากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วผูกเชือกมัดกิ่งไว้


– 4.2 การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยมรอบต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งขนาดใหญ่ซิ่งวิธีนี้จะมั่นคงกว่าวิธีแรก

5.การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและช่วยให้ติดผลมาก ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้งและกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด ( กิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง ) แล้วนำไปเผาทำลายอย่าปล่อยทิ้งเพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

โรคของมะนาว


1.โรคแคงเกอร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนทั้งใบ กิ่งก้านและผล โดยการที่ใบและผลจะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟูนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้านเริ่มแรกจะมีแผลฟูนูนสีเหลือง จากนั้นแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอนและไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มาก ๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกันและกำจัด เช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต อบาเม็กติน หรือสไปนีโทแรม เป็นต้น
2.โรคราดำ เกิดจากเชื้อราลักษณะอาการบริเวณใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำสกปรก ทำให้ผลไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ และฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด อเซทามิพริด อีมาเม็กตินเบนโซเอต เพื่อป้องกันแมลงประเภทปากดูด เช่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรสนิม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคราดำ เนื่องจากแมลงเหล่านั้นถ่ายมูลที่มีองค์ประกอบที่เป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารของราดำ
3.โรคกรีนนิ่งหรือใบแก้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการบริเวณใบจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ สังกะสีและแมกนีเซียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้อยู่ระหว่าง 6.0-6.5
4.โรคยางไหล เกิดจากเชื้อราลักษณะอาการมียางไหลบริเวณลำต้นและกิ่งก้านเปลือกจะเน่า และแผลจะลุกลามถึงเนื้อไม้
การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงส่องทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดง หรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลาย
5.โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการรากฝอยและรากแขนงเน่าสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมาๆจะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด อย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยคอยปุ๋ยหมักมากเกินไปในช่วงฤดูฝน หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสอีธิลอลูมินั่ม ฟอสโฟนิคแอซิด เป็นต้น

แมลงศัตรูของมะนาว


1.หนอนชอนใบ จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ สามารถเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นไม่ติดผล
การป้องกันกำจัด โดยการตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กลุ่มอีมาเม็กตินเบนโซเอต อะบาเม็กติน ไซเปอร์เมทริน
2.หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
การป้องกันกำจัด ตรวจดูตามใบอ่อน และยอดอ่อนของมะนาว เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็ให้เก็บมาทำลาย หรือฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เช่นเดียวกับหนอนชอนใบ
3.เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลของการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาดจะขึ้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลจะถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตามความยาวของผล
การป้องกันและกำจัดเด็ดผลที่แคระแกร็นออก หรือหากพบการทำลายของเพลี้ยไฟ ให้ฉีดพ่นด้วย สารกำจัดแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด อเซทามิพริด อีมาเม็กตินเบนโซเอต หรืออบาเม็กติน เป็นต้น
4.ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบแล้วใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมาผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน ในตอนเช้าหรือเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้ หรือหากระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยสาร ไพริดาเบน ไดโคโฟล อมีทราซ เป็นต้น
**คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองทุก 15 วันในแปลงมะนาวให้ทั่วถึง

การเก็บเกี่ยวมะนาว

มะนาวมีอายุเก็บเกี่ยว 7-8 เดือนหลังจากดอกบาน การเก็บมะนาว กรณีต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนักสามารถเก็บโดยใช้มือปลิด แต่หากต้นสูงนิยมเก็บโดยใช้มีดหรือตะขอผูกติดกับด้ามไม้รวกยาว คล้องและกระตุกผลมะนาวลงมา แต่ถ้าต้องการมะนาวที่มีคุณภาพไม่บอบช้ำ ควรใช้ตระกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากขั้วของผลเริ่มมีสีเหลืองเล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหายในขณะขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้วางจำหน่ายได้ไม่นานและทำให้ผลเน่าเสียหายได้เร็ว
การจัดการหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
วิธีเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นานต้องคัดแยกผลมะนาว โดยเลือกเอาผลมะนาวที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่าและควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วยแล้วนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกซ์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรงเพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดบรรจุแข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ
ที่มา เรื่องการปลูกมะนาว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท
*** เคล็ดลับการใช้ไร่เทพ และดินเทพ กับมะนาว ***
-ระยะหลังเก็บเกี่ยว ( ฟื้นสภาพต้น ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะใบอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะสะสมอาหาร ( ใบเพสลาด ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน


-ระยะเริ่มออกดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน


-ระยะติดผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะขยายขนาดผล ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกผืชผักกินเองในวันที่ต้อง (กักตัว) อยู่บ้าน

🥦🥬ปลูกผืชผักกินเองในวันที่ต้อง (กักตัว) อยู่บ้าน🏠
😊อีกหนึ่งไอเดียที่สร้างสรรค์ไม่น้อย แถมไม่น่าเบื่อแถม ในช่วงกักตัว หรือช่วงที่ต้อง work from home ที่ต้องทำงานอยู่กับบ้านคือการทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อยอย่างการปลูกผักสวนครัวเล็กๆ ไว้ทานเอง ไม่ว่าจะเป็นสวนหลังบ้าน สวนในบ้าน สวนระเบียง ก็ช่วยให้บ้านดูมีชีวิตชีวามากขึ้นจากธรรมชาติ พืชผักสวนครัวบางชนิด ที่สามารถโตได้ในระยะสั้น 14 วัน ไม่เกิน 1 เดือน อย่างเช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน หรือผักสลัด ที่ปลูกง่าย และใช้วัสดุอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก และถือว่าเป็นหนึ่งในชาเลนจ์ที่น่าสนใจในช่วงวันกักตัวอยู่บ้านยาว ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์แถมกินมีผักสดไว้ทานได้ด้วย และยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าอีกด้วย
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-