Tag Archives: ผัก

การปลูกผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี

ผักใบใหญ่ ต้นขาว อวบ กินง่ายและอยู่ในหลายเมนูประจำบ้านของคนไทย หากินได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นเป็นพืชผักเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดต่อเนื่องทั้งปี ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกผักกาดขาวปลีประมาณ 30816 ไร่ ครอบคลุม 31 จังหวัด โดยแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กาญจนบุรี และตาก ทั้งนี้ แม้ว่า  จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 4 แต่มีผลผลิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เฉลี่ย 3734 กิโลกรัม / ไร่ (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร : พฤศจิกายน 2561)   ผักกาดขาวปลีมีระบบรากตื้น จึงต้องการความชื้นที่พอเพียงและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะระยะที่ห่อหัว ควรรักษาความชื้นไว้ 70-85เปอร์เซ็นต์ ของความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน  หากขาดนํ้าจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต พืชจะแสดงอาการขาดโบรอน และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชสังเกตได้จากลำต้นจะกลวง เนื้อเยื่อเป็นสีดำ ต้นแคระแกร็น ส่วนแกนหรือไส้ของลำต้นจะเกิดอาการแยกแตกออก หรือเน่ากลวง ระบบรากจะไม่สมบูรณ์บางครั้งจะเน่าเสีย แต่ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระบาดของโรคได้  ที่สำคัญระหว่างการปลูกต้องคอยตรวจแปลงให้ละเอียด เพราะหากมีโรคและแมลงเข้ามา จะได้จัดการได้ทันท่วงที โรคจะได้ไม่ลามระบาดสร้างความเสียหาย

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage) เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวันและในประเทศไทย ผักกาดขาวปลีนับว่าเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายส่วนที่ใช้บริโภคได้แก่ส่วนใบ รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรด-ด่าง(pH)ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6.0-6.8  และอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศา เซลเซียส ควรได้รับแสงแดดตลอดวัน

พันธุ์ผักกาดขาวปลี แบ่งตามลักษณะของปลีได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พันธุ์ปลียาว มีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลี หรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง

2.พันธุ์ปลีกลม ลักษณะทรงสั้นกว่า อ้วนกลมกว่า เช่น พันธุ์ซาลาเดียไฮบริด, พันธุ์ทรงบิค คอล ไพรด์ไอบริด ฯลฯ มักเป็นพันธุ์เบาอายุสั้น

3.พันธุ์ปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย พวกนี้มักไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้อากาศไม่หนาวฝนตกชุก ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) ความอร่อยน่ากินและเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้

พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่เกษตรกรนิยมใช้ เช่น – ตราดอกโบตั๋น – ตราช้าง – ตราเครื่องบิน – ตราเครื่องบินพิเศษ – พันธุ์เทียนจิน – พันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 (เป็นพันธุ์ที่ทนร้อนปานกลาง)                                                                                                         

การเตรียมดิน

1. แปลงเพาะกล้า ควรไถดินให้ดีตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก พรวนย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึก เกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน

2.การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่าง กัน เซนติเมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1.0 เซนติเมตร หรือทําเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การเพาะและการย้ายกล้า   

 

ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1 เซนติเมตร  หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ด ควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้อง กันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศ มืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 25 วัน

การปฏิบัติดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 50-100 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่ง โดยใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อ ผักกาดอายุ 14 วัน ครั้งที่ 3 ใส่เมื่อผักกาดอายุ 30 วัน โดยโรยข้างต้นแล้วรดนํ้า สําหรับพวกพันธุ์ปลียาวและปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ย ไนโตรเจน เช่น แคลเซียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 20-30 ก.ก. / ไร่ เมื่ออายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้แล้วรดนํ้าตามทันที ระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบเพราะจะทําให้ใบไหม้
  2. การให้นํ้า ผักกาดขาวปลีต้องการนํ้ามากและสมํ่าเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้นํ้าอย่างเพียงพอในช่วงการเจริญเติบโต และโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
  3. การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทําการพรวนประมาณ 2 -3 ครั้ง การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์ – พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดย เลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง) – พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอด เมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคและถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควรแต่ไม่มากนัก เหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระหว่างการขนส่ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ     

  1. 1. โรคเน่าเละ (Soft rot) สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำนํ้า ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อย และเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิว ดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐาน ว่าเชื้อราบางชนิดทําลายไว้ก่อน การป้องกันกําจัด 1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา 2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน 3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์อัตรา 10-20 กรัม/นํ้า 20 ลิตร  4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร็ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
  2. 2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทําให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลําต้น เพราะผุเปื่อย เป็นสีนํ้าตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด   1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดีมีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก   2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า  3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว  4. ใช้ยาป้องกันกําจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

  1. 3. โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP. ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียด กันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่า และ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลช้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้ง ตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม

การป้องกันกําจัด  1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป  2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายนํ้าในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายนํ้ารดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูนใส่รดแทนนํ้าในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

  1. 4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะ บิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกําจัด 1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค 2. กําจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย 3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี โอเมทโทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./นํ้า 20 ลิตร

  1. 5. โรครานํ้าค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.) ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทําให้ใบไหม้ การป้องกันกําจัด เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง
  2. 6. โรคใบจุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.) ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน การป้องกันกําจัด หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงศัตรูในผักกาดขาวปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตผักกาดขาวปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา      :    รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)

                การปลูกผักกาดขาวปลี (กรมส่งเสริมการเกษตร)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับผักกาดขาวปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

วิธีปลูกกะหล่ำปลี

วิธีการกะหล่ำปลี ให้ได้ผลิตสูง

พันธุ์และการปลูก

 

พันธุ์กะหล่ำปลีมีความหลากหลายของลักษณะหัวและสี เลือกพันธุ์ปลูกที่ตรงกับ ความต้องการของตลาดและมีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เมล็ดพันธุ์การค้าส่วนใหญ่เป็นลูกผสมจากต่างประเทศ การแบ่งพันธุ์ตามอายุการเก็บเกี่ยว ประกอบด้วยพันธุ์หนักที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบาอายุ 60-70 วัน

พันธุ์กะหล่ำปลี

พันธุ์หนัก ลักษณะหัวใหญ่แต่ไม่แน่น น้ำหนักระหว่าง 2-4 กิโลกรัม ไม่ค่อยกรอบและเก็บไว้ได้ไม่นาน ต้องการอากาศเย็นสม่ำเสมอระยะเวลายาวนาน เช่น ชัวเฮทเบอพี, พรีเมี่ยม, แฟลชท์ดัชท์, วิชคอนชั่น รูบี้บอล, รูบี้เพอเฟคชั่น และกะหล่ำปลีจีนพันธุ์เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

พันธุ์กลาง ลักษณะหัวค่อนข้างกลมแบน หัวแน่น น้ำหนักระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ต้องการอากาศเย็นมากกว่าพันธุ์เบา เก็บไว้ได้นานพอสมควรสะดวกในการขนส่ง เช่น เฮนฮูเลนกลอรี่, ซัสเสสชัน และออลซีซั่น

พันธุ์เบา มีลักษณะพันธุ์ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่นโคเปนเฮเกนมาร์เก็ต ลักษณะหัวกลมรี แน่น เส้นใบนูนเด่น มีน้ำหนักระหว่าง 0.3-2 กิโลกรัม ปลูกง่าย ต้องการอากาศหนาวน้อย เออรี่เจอซี่เวดฟิลด์ มีลักษณะหัวเล็กแน่น ฐานโตยอดแหลมมีรสชาติดี น้ำหนักและการปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต มาเรียนมาร์เก็ต, โกลเดนเอเคอร์ ลักษณะหัวค่อนข้างแบน มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ตเล็กน้อย หัวแน่น น้ำหนักดี

การจำแนกตามอายุเก็บเกี่ยวและสี เช่น กะหล่ำปลีพันธุ์หนัก ได้แก่ กะหล่ำปลีสีม่วง กะหล่ำปลีใบย่น กะหล่ำปลีพันธุ์กลาง ได้แก่ กะหล่ำปลีสีเขียว – สีขาว รูปกลม รูปแป้น  กะหล่ำปลีพันธุ์เบา ได้แก่ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม กะหล่ำปลีปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี อุณหภูมิที่เหมาะสม 15-20 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง  6-6.5  ความชื้นในดินสูงพอสมควรและได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน

การเตรียมดินและแปลงปลูก

   ไถดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน / ไร่

   ย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดต่ำกว่า 6.5 ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ดินควรมีความชื้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หรือ ใช้ดินเทพในอัตรา 50-100 ซีซี / น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก

   หลังเตรียมแปลงปลูกแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.0 – 2.0 ตัน / ไร่

               

การเพาะกล้า

   เตรียมดินเหมือนการเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม สูง 15-20 เซนติเมตร ปรับหน้าดินให้เรียบ

   การหว่านเมล็ด ให้กระจายบาง ๆ สม่ำเสมอ หรือทำร่องบนแปลงเพาะร่องห่างกัน 15 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดกลบด้วยดินผสมหรือปุ๋ยหมัก คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆ รดน้ำให้เป็นฝอยทุกวัน

   เพาะกล้าในถาดหลุม โดยใช้วัสดุปลูกหรือดินสำเร็จรูป ต้นกล้าอายุ 25-30 วันเหมาะสมในการย้ายปลูกลงแปลง

  การปลูก

   ปลูกเป็นแถวเดียวหรือแถวคู่ ระยะห่าง 30-40 x 30-40 เซนติเมตร

   รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ และปุ๋ยอินทรีย์ 3.0-4.0 ตัน / ไร่ รดน้ำให้เปียกชื้น

   ปลูกด้วยต้นกล้าอายุ 25-30 วัน โดยรดน้ำให้ความชื้นกับแปลงเพาะกล้าใช้เสียมเล็ก ๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้มีดินติดกับต้นกล้าให้มากที่สุดก่อนนำไปปลูกในแปลง และรดน้ำทันทีหลังปลูกให้ชุ่ม ป้องกันการเหี่ยวเฉา

การใส่ปุ๋ย ให้น้ำและการดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ยกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขณะเตรียมดิน อัตรา 100-150 กก. / ไร่ ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 14-20 วัน อัตรา 100-150 กก. / ไร่

การให้น้ำและการดูแลรักษา

   ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้ขาดน้ำ การให้น้ำมีหลายวิธี เช่น แบบปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน / ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้น้ำมากขึ้น ลดปริมาณน้ำลงเมื่อเริ่มเข้าปลี ป้องกันปลีแตก แบบสปริงเกอร์ หรือใช้สายยาง ควรรดให้แฉะแต่ไม่ให้น้ำขังแปลง

   การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ระยะแรกบ่อย ๆ

การจัดการศัตรูพืช การจัดการโรค แมลง และวัชพืช

โรคพืชในกะหล่ำ และการป้องกันกำจัด 

โรคใบจุด สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola และ A. brassicae ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุชนิดนี้มักทำให้เกิดโรคกับพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง และผักกาดหัว อาการของโรคเกิดทุกส่วน และทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่ อาการระยะแรกบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่เกิดขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เกิดเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีเหลืองต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ แผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การแพร่ระบาด : สปอร์แพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง สัตว์ มนุษย์ และติดไปกับเครื่องมือ โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝนหรือในระยะที่มีความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น ราสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ (seed-borne)

การป้องกันกำจัด :

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกผักกาดหรือกะหล่ำต่าง ๆ ลงในดินที่เคยปลูกและมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 3-4 ปี
  3. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก
  4. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบโรค เช่นคลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) 50% เอสซีหรือ โพรพิโคลนาโซล (propiconazole) 25% อีซีหรือ เตตระโคนาโซล (tetraconazole) 40% อีดับเบิ้ลยู

                โรคราน้ำค้าง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica (Pers. Ex.Fr.) Fr. ลักษณะอาการ : โรคสามารถแสดงอาการได้ทุกระยะการเจริญของพืช ในระยะกล้า ใบเลี้ยงเกิดเป็น จุดช้ำสีน้ำตาลหรือดำ ล่าต้นเน่า ยุบตัว ทำให้พืชตายหรือแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตในระยะต้นโต อาการระยะแรกมักเกิดจุดสีเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นเหลืองด้านหน้าใบ มีเส้นใยสีขาวหรือเทา คล้ายปุยฝ้ายด้านหลังใบ แต่ในสภาพอากาศแห้งมักพบแต่อาการเหลืองซีดเทำนั้น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง แผลขยายขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อใบกลายเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล หรือแห้งตาย ในกะหล่ำดอก และบล็อกโคลี่ ถ้าเชื้อเข้าทำลายใยระยะสร้างดอก จะเกิดเป็นจุดดำเล็ก ๆ บนช่อดอก หากอาการรุนแรงดอกอาจยืด หรือบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ในกะหล่ำปลีเกิดแผลเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบ ไม่ค่อยขยายขนาด

                การแพร่ระบาด : ราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝนหรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อาการของโรคพบได้ทั่วไป สภาวะอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง หมอกหรือน้ำค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค และการระบาดของเชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ผนังหนาซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืช วัชพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

                การป้องกันกำจัด : 1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคแซบ

  1. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป
  2. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บทำลายเศษซากพืชออกจากบริเวณแปลงปลูก
  3. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในแปลงที่เคยมีการระบาด และควรปลูกพืชหมุนเวียน
  4. เมื่อพบอาการของโรคในแปลง ควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไซม็อกซิเมท (cymoxanil)8% + แมนโคเซบ (mancozeb) 64% ดับเบิ้ลยูพี หรือ แมนโคเซบ (mancozeb) 80% ดับเบิ้ลยูพีหรือ เมทาแลกซิล (metalaxyl) + แมนโคเซบ (mancozeb) 72% ดับเบิ้ลยูพีหรือ โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์(propamocarb hydrochloride) 72.2% เอสแอล หรือสารอื่น ๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่ถ้าหากใช้สารประกอบทองแดงในระยะกล้า ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เพราะเป็นพิษต่อกล้า

โรคเน่าเละ สาเหตุ : เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. Carotovora

ลักษณะอาการ : แบคทีเรียสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชทั้งในไร่และโรงเก็บ อาการเริ่มแรกแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลามทำให้แผลเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ บริเวณแผลยุบตัว มีเมือกเยิ้มออกมา เนื้อเยื่อพืชถูกทำลาย

การแพร่ระบาด : ระบาดโดยลม ฝน ทำให้เกิดแผลกับพืช เชื้อเข้าทำลายได้นอกจากนี้ เชื้อยังอยู่ในเศษซากพืชที่เป็นโรคอีกด้วย โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ในสภาพโรงเก็บพบระบาดลุกลามถ้ามีพืชที่เป็นโรคปะปนอยู่ จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด : วิธีเขตกรรม : 1. ไถกลบเศษพืชผักทันทีที่เก็บเกี่ยวแล้ว และทำการตากดินแล้ว ไถกลบอีกครั้ง

  1. ปลูกพืชหมุนเวียนด้วยพวกธัญพืชหรือข้าวโพด

วิธีกล : 1. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผล และทำลายเศษ ซากพืชที่เป็นโรคด้วยการเผา

  1. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนแปลงปลูกผักและโรงเก็บ

แมลงศัตรูในกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

การใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ได้แก่

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา : รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (การผลิตกะหล่ำปลี)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับกะหล่ำปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน      

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

         

วิธีใส่ปุ๋ยผักสวนครัว

ผักสวนครัว (รั้วกินได้)


ผักสวนครัวประจําบ้าน คือ ผักที่เราปลูกเองในที่อยู่อาศัย อาจปลูกในกระถาง กระบะ หรือพื้นดิน เป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ซับซ้อน ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาบริโภคเป็นผักแกล้ม หรือปรุงเป็นอาหารได้สะดวก การปลูกผักภายในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะการปลูกผักที่ใช้เป็นประจำในครอบครัว ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ภายในบริเวณบ้านที่ กว้างขวาง เพียงแค่มีพื้นที่ 1 – 5 ตารางเมตร ก็สามารถปลูกผักไว้รับประทานอย่างเพียงพอได้ โดยหากมีพื้นที่ กว้างพอก็สามารถปลูกลงในดินโดยตรง แต่ถ้ามีพื้นที่ขนาดเล็กสามารถปลูกในภาชนะ และตั้งวางบนพื้นดินหรือแขวนใน บริเวณบ้านที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อยครึ่งวันก็เพียงพอ ที่จะมีผักสดและปลอดภัย ไว้รับประทานเพื่อสุขภาพ ที่ดีของคนในครอบครัว และสอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจ ในปัจจุบันด้วย

ประโยชน์

1. ปลูกเป็นรั้วบ้าน ( รั้วกินได้ ) ผักที่สามารถนำมาปลูก ทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง
ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิต ตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจากสารเคมี
2. ใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวน การนำ ผักปลูกในกระถางแบบแขวน – ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆบ้าน
3. ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
4. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหาร ประจำวัน
5. ได้ผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
6. สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์

ปัจจัยในการปลูก

1. พันธุ์ผัก เป็นสิ่งตั้งต้นที่จะทำให้ได้ผลผลิตผัก ผักส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการขยาย พันธุ์แต่ก็ยังมีอีกหลายชนิดใช้ส่วนอื่น ๆ ในการขยายพันธุ์ดังนี้
1.1 ผักที่ใช้เมล็ดพันธุ์สำหรับปลูก พริก มะเขือเทศ มะเขือคะน้า กวางตุ้งผักกาดขาวผักกาดหอม แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย แคนตาลูป บอน มะระ ฟักทอง ฟักเขียว แฟง ถั่วฝักยาว ถั่วพลูผักบุ้งจีน กระเจี๊ยบเขียว กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ผักชี
1.2 ผักที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ในการปลูก – ใช้กิ่งปักชำ เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม กะเพรา โหระพา แมงลัก และชะพลูเป็นต้น – ใช้เหง้า หัวและ ลำต้น เช่น หอมแบ่ง หอมแดง กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้และมันเทศ เป็นต้น

2. ดิน 2.1 การปลูกในพื้นดินโดยตรง ให้พรวนดินตากแดดไว้ประมาณ 7 – 15 วัน หลังจากนั้นยกแปลงสูง ประมาณ 4 – 5 นิ้ว กว้างประมาณ 1 – 1.2 เมตร ส่วนความยาวตามความยาวของพื้นที่ หรือความต้องการ การวางแปลงให้พิจารณาให้อยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ เพื่อให้ผัก ได้รับแสงแดดทั่วแปลงตลอดวัน ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักจำนวน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดีก่อนการปลูกผัก
2.2 การปลูกผักในภาชนะ ให้ใช้ดินผสมสำหรับการปลูกโดยดินผสมต้องมีความร่วนซุย ระบายน้ำ ได้ดีและมีธาตุอาหารจำเป็น ที่เพียงพอกับการเจริญเติบโต ของผักได้ปัจจุบันมีการจำหน่าย ส่วนผสมในร้านขายต้นไม้หรือวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งสามารถซื้อมาใช้สำหรับการ ปลูกผักได้และหากต้องการทำดินผสม สำหรับการปลูกผักใช้เองให้ ใช้ส่วนผสม ดิน : ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าวหรือขี้เถ้าแกลบ ในส่วนผสม 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี

3. ภาชนะปลูก


3.1 การเลือกภาชนะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ให้พิจารณาจากอายุของผัก ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว หากใช้ระยะ เวลานานหรือเป็นผักยืนต้นต้องพิจารณาให้ใช้ภาชนะมีขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้ มีพื้นที่ในการบรรจุวัสดุปลูกหรือดินผสมที่เพียงพอให้พืชผักหยั่งรากและมีอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งให้คำนึงถึงความยาวของรากพืชผักด้วย ซึ่งโดยทั่วไปหากเป็นพืชผักอายุสั้นรากผักจะเจริญเติบโตและหาอาหารอยู่ที่ระดับ ความลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ดังนั้น ภาชนะปลูกควรมีความลึก 25 – 30 เซนติเมตร แต่หากเป็นผักที่มีอายุปานกลาง เช่น พริก มะเขือต่าง ๆ หรือผักยืนต้น เช่น กะเพรา โหระพา แมงลัก ชะอม ภาชนะปลูกควรมีความลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร จะทำให้ พืชผักสามารถเจริญเติบโตออกผลได้สมบูรณ์ เลือกภาชนะปลูกที่มีความคงทนแข็งแรง พอสมควร หรือมีความแข็งแรงดี
3.2 การเตรียมภาชนะปลูก เมื่อเลือกภาชนะปลูกได้เหมาะสมทั้งกับชนิดของพืชผัก และมีความ แข็งแรงคงทนพอสมควรแล้ว สิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติต่อไปคือ ทำให้ภาชนะปลูก มีรูระบายน้ำ เพื่อให้น้ำในส่วนที่เหลือจากที่ดินไม่สามารถดูดซับได้แล้วจะได้สามารถ ระบายออกได้เพื่อให้ไม่ขังและอยู่ในภาชนะปลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรากเน่าและ ต้นไม่เจริญเติบโตและตายได้ วิธีการทำรูระบายน้ำ โดยการเจาะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาดและจำนวน พอสมควร โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดของภาชนะปลูกเป็นสำคัญ

4. อุปกรณ์สำหรับการให้น้ำผัก เนื่องจากผักเป็นพืชที่มีอายุ สั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ สิ่งจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการให้น้ำ พืชผักคือควรใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม ในการให้น้ำ โดยทั่วไปหากมีการปลูกผัก ไม่มากให้ใช้บัวรดน้ำที่มีหัวฝอยละเอียด เพื่อไม่ให้ความแรงของน้ำทำให้ผักช้ำ หรือ ทำให้ดินกระจายซึ่งจะกระทบกระเทือน ต่อการเจริญเติบโตของผัก หากไม่ใช้บัวรดน้ำอาจใช้สายยางรดน้ำ แต่แนะนำให้ติดหัวฝักบัวที่ปลาย สายยางเพื่อให้น้ำแตกกระจาย ลดความดันของน้ำที่จะทำให้ผักเสียหาย

5. อุปกรณ์ในการพรวนดิน หากเป็นการปลูกในดินโดยตรง ควรมีจอบสำหรับใช้ในการพรวนดิน หรือถ้าเป็นการปลูกในภาชนะปลูกควรมีพลั่วมือทำดินผสมสำหรับการปลูกผัก และใช้ พรวนดินในระหว่างการปลูกโดยเมื่อมีการปลูกผักในระยะหลัง หน้าดินอาจเริ่มอิ่มตัวแน่น ให้ใช้จอบหรือพลั่วมือพรวนดิน รอบ ๆ ต้นผัก เพื่อให้มีการถ่ายเท อากาศทำให้ออกซิเจนสามารถถ่ายเท ลงไปในดินได้และเพื่อประโยชน์กับ รากผักในการเจริญเติบโต ทั้งนี้การพรวนดินต้อง ระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือน ต่อรากหรือลำต้นด้วย

ผักจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่


1. ผักอายุสั้น หมายถึง ผักที่มีอายุ ตั้งแต่ปลูกจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ น้อยกว่า 2 เดือน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ใช้ส่วน ของใบและลำต้นสำหรับการบริโภค มีการ เจริญเติบโตรวดเร็ว ทำให้สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลาสั้น เช่น ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชีเป็นต้น
2. ผักอายุปานกลาง หมายถึง ผักที่มีอายุประมาณ 2 – 5 เดือน ตั้งแต่ปลูกจนสามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปบริโภคได้มีทั้งผักที่ใช้ลำต้น ดอก ผล ในการบริโภค เช่น กะหล่ำปลีผักกาดขาวปลีกะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงโม บวบ มะระ และฟักทอง เป็นต้น
3. ผักยืนต้น หมายถึง ผักที่สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปรับประทานได้อย่างต่อเนื่อง สามารถ ปลูกและอยู่ข้ามปีได้หากเมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วยังมีการดูแลรักษาอย่าง สม่ำเสมอ เช่น ผักหวาน ชะอม กระถิน กะเพรา โหระพา แมงลัก ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้และกระชาย เป็นต้น การเลือกชนิดผัก การเลือกชนิดผักสำหรับปลูก นอกจากจะพิจารณาจากอายุของพืชผัก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภค และสภาพพื้นที่หรือภาชนะปลูกให้เหมาะสมแล้วควรคำนึงถึงฤดูกาลที่จะปลูก ให้เหมาะสม กับชนิดของพืชผักด้วย เพราะจะทำให้ดูแลรักษาง่าย มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ได้ผักที่มีคุณภาพและรสชาติที่ดีด้วย

 


วิธีการปลูกผัก
1. การปลูก
1.1 การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์โดยตรงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำอุ่น (อุณหภูมิ ประมาณ 55 – 60 องศาเซลเซียส) ประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และ สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่ติดมากับดินได้
1.2 การย้ายกล้าปลูกต้องเลือกต้นกล้าที่มียอดลำต้น ใบ และรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงไปปลูก
1.3 การใช้กิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์อื่น ๆ ให้คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง กิ่งมีความแก่พอสมควร หรือกลีบและหัวแน่น เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้สมบูรณ์
2. การเพาะกล้า
การเพาะกล้าสามารถทำแปลงเพาะหรือเพาะในถุงพลาสติก หรือใช้ถาดเพาะ ดินที่ใช้ในการเพาะกล้า ควรเป็นดินผสมที่มีอัตราส่วนของดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2 : 1 หรือดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักและ ขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวในอัตรา 1 : 1 : 1 นำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1 เมล็ด กลบดินบาง ๆ แล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำที่ฝอยละเอียดเพื่อไม่ให้ดิน กระจายตัวควรมีการกันมดหรือแมลง มาคาบเมล็ด โดยใช้ปูนขาว โรยบาง ๆ ล้อมรอบบริเวณ ที่วางถุงหรือถาดเพาะกล้า ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 1 – 2 ครั้ง ในเวลาเช้า และบ่าย โดยทั่วไปอายุกล้า ที่เหมาะสมในการย้ายปลูก ประมาณ 15 – 20 วัน แต่สำหรับ พริก และมะเขือต่าง ๆ ควร มีอายุ 25 – 30 วัน
3. การให้ปุ๋ย ปุ๋ยรองพื้นใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกควรเป็นปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดิน ให้โปร่งร่วนซุย ช่วยในการอุ้มนํ้า และ รักษาความชื้นของดิน ให้เหมาะกับการ เจริญเติบโตของพืช
4. การให้น้ำ พืชผักเป็นพืชอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอทุกระยะการเจริญเติบโตต้องให้ น้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าแฉะหรือมีน้ำขัง เพราะน้ำจะ เข้าไปแทนที่อากาศในดิน ทำให้รากพืชขาดออกซิเจน และเน่าตายได้ควรรดน้ำในช่วงเช้า – เย็น ไม่ควรรด ตอนแดดจัด
5. การกำจัดวัชพืช ได้แก่ หญ้าหรือพืชอื่น ๆ ที่ขึ้นแซมในแปลง จะทำให้แย่งน้ำและธาตุอาหาร ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ไม่ดีรวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่ของศัตรูพืชอื่น ๆ ด้วย การกำจัดโดย การใช้ถอนด้วยมือ หากมีพื้นที่มากใช้พลั่วหรือจอบพรวนดินในการกำจัดวัชพืชไป พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย

6. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การป้องกันกําจัดแมลงที่ปลอดภัยทําได้หลายวิธีดังนี้
6.1 การใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น บาซิลัส ทุริงเยนซิส (BT), ไวรัส NPV, เมธาไรเซียม และบูเวอเรีย บัสเซียนา
6.2 ปลูกพืชผักร่วมกับพืชที่มีกลิ่นไล่แมลง เช่น โหระพา กะเพรา ตะไคร้


7. การป้องกันกำจัดเชื้อโรคในผัก ในการปลูกผัก หากมีการดูแลให้พืชผักมีการ เจริญเติบโตที่แข็งแรง สมบูรณ์ และปลูกไม่ให้ต้นแน่นหรือ ชิดกันเกินไป สามารถช่วย ป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดปัญหาใบจุดหรือ โคนเน่า ให้ทำการเก็บใบหรือ ต้นผักที่เป็นโรคทิ้ง และนำไป ทำลายนอกแปลง และใช้ น้ำปูนใสรดที่แปลงผักหรือ ต้นผัก วิธีการทำน้ำปูนใส ให้ใช้ปูนขาวจำนวน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสม ให้เข้ากัน และทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นให้นำน้ำปูนใสที่ปูนตกตะกอนแล้ว อัตราน้ำปูนใส 1 ส่วน น้ำธรรมดาสำหรับรดผัก 5 ส่วน เพื่อรดในแปลงปลูก
ใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น ไตรโครเดอร์มา ฮาร์เซียนัม และ บาซิลัสซับทีลิส (BS) ช่วยป้องกันกำจัดโรคพืช

8. การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ผักสด รสชาติดีและหากยังไม่ ได้นำไปรับประทานให้ล้างให้สะอาดและนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บ ในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสชาติดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปผลผลิตจะลดลงสำหรับผักใบหลายชนิดเช่น หอมแบ่งผักบุ้งจีน ผักคะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้วโดยยังคงเหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออก ทั้งต้น ราก หรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลผลิตได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่เสมอ การปลูกพืชหมุนเวียน สลับชนิด หรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ ทยอยปลูกครั้งละ 3 – 5 ต้น หรือประมาณว่ารับประทาน ได้ในครอบครัวในแต่ละครั้ง ที่เก็บเกี่ยวก็จะทำให้ผู้ปลูกมี ผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวัน ตลอดปี

รับประทานผักให้มีคุณค่า

ผักเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ โดยวิตามินที่อยู่ในผักมีทั้งวิตามินที่ละลายในน้ำ และวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินบางตัวถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้น เพื่อสงวนคุณค่าทาง โภชนาการของพืชผักต่าง ๆควรหลีกเลี่ยงการแช่ผักที่หั่นฝอยหรือชิ้นเล็ก ๆในน้ำหรือตั้ง ทิ้งไว้ในอากาศเป็นเวลานาน ควรล้างทั้งหัว ทั้งต้นและเปลือก ถ้าจำเป็นต้องปอกเปลือก ควรปอกแต่เพียงบาง ๆก่อนล้างควรเลือกส่วนที่เน่า เสียและส่วนที่ใช้ไม่ได้ออก การต้มผักให้ใช้น้ำน้อย เช่น การลวก นึ่ง ผัด ใช้เวลาสั้น อย่างไรก็ตาม หากสามารถรับประทานผักสดจะได้ประโยชน์และ คุณค่าของผักครบถ้วน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกผักสวนครัว กรมการพัฒนาชุมชน

วิธีการใช้ไร่เทพและดินเทพกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** ในกรณีใช้ดินเทพช่วงเตรียมแปลงก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพอัตรา 40 – 50 ซีซีผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดิน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
วิธีการใช้โล่เขียวกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
โล่เขียว ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค รวมทั้งพบว่าช่วยให้พืชทนทานต่อการขาดน้ำ ในพื้นที่ดินทรายได้ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตเพราะการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-