Tag Archives: พริก

ปลูกพริกให้ผลผลิตสูง

 

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ต่อพื้นที่ได้น่าสนใจชนิดหนึ่ง โดยในพื้นที่ปลูกประมาณ 1 ไร่สามารถสร้างได้เฉลี่ยประมาณ 60000 – 100000 บาท  เลยทีเดียว (ข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร) แถมยังเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนอากาศร้อน และปลูกได้ทุกพื้นที่ ทำให้ในแต่ละปีประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 1 แสนไร่ โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ “พริกขี้หนูผลใหญ่” ปัจจุบันความนิยมบริโภคพริกในประเทศนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เกษตรกรหลายพื้นที่เผชิญปัญหาปริมาณและคุณภาพของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ทั้งจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน และปัญหาดินเสื่อมสภาพจากการปลูกพืชชนิดเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน พริกเป็นพืชผักที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 400,000 ไร่ อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยรวมทั้งคนเอเชียทุกครัวเรือน “ ขาดพริกไม่ได้ ” จะต้องมีพริกเกี่ยวข้องในมื้ออาหารที่บริโภคเป็นประจําทุกวัน แม้กระทั่งพริกสด และผลิตภัณฑ์พริกยังถูกส่งไปจําหน่ายในประเทศใกล้เคียง หรือในแถบยุโรป อเมริกา ที่คนเอเซียไปอยู่อาศัย นอกจากใช้บริโภคผลสดแล้ว ผลผลิตยังถูกนําไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมทําผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากพริก เช่น ซอสพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกงเผ็ด พริกแห้ง พริกป่นและยาบรรเทาอาการปวด แมลงกัดต่อย

  1. พันธุ์พริก พริกที่ปลูกในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามขนาดผล

1.1.กลุ่มพริกผลใหญ่ : พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหนุ่ม และพริกเหลือง ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-3 เซนติเมตร รูปร่างผลมีหลายแบบ ส่วนมากผล เรียวยาว ปลายผลแหลม สีผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีเหลือง ส้ม หรือสีแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ผิวผลมัน ผิวอาจเรียบหรือย่น รสชาติค่อนข้างเผ็ด พริกชี้ฟ้า และพริกมันใช้ผลสดทั้งเขียวและแดง ประกอบอาหาร เช่น ผัด แกง และนําไปทําซอสพริก น้ำจิ้มต่าง ๆ ผลแดงเมื่อตากแห้งให้สีแดงสวย นําไปทําเครื่องแกงเผ็ดและพริกป่น สําหรับพริกเหลืองใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงเผ็ด ผัด หรือดองน้ำส้ม ส่วนพริกหนุ่มใช้ทําน้ำพริกหนุ่ม ซอสพริก แต่ไม่นิยมนําไปทําพริกแห้งและพริกป่นเพราะสีไม่สวย เมล็ดพันธุ์ที่มีจําหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ มีพันธุ์ผสมปล่อยอยู่ในแหล่งที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อเนื่องกันมา เช่น พริกมันดําบางช้าง มันดําบางซอ

พริกหยวก ผลยาว 4-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-4 เซนติเมตร ผลยาวรูปทรงกรวย ปลายผล แหลม ตรง ผิวมันและเรียบ เนื้อหนา ผลอ่อนมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีเหลือง และสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกแก่มสีีแดง รสชาติเผ็ดน้อย ใช้ประกอบอาหาร เช่น หลน ผัด ย่าง หรือพริกหยวกยัดไส้

พริกหวาน หรือพริกยักษ์ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 5-12 เซนติเมตร รูปร่างผล ทรงกระบอก ผิวมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกแก่มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง น้ำตาล และม่วง เนื้อหนา รสชาติไม่เผ็ด รับประทานเป็นผักสดในจานสลัด ผัด ทําพริกยัดไส้อบหรือนึ่ง พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด

1.2.กลุ่มพริกผลเล็ก : พริกขี้หนูผลใหญ่ ความยาวผลตั้งแต่ 3-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 0.3-1.0 เซนติเมตร ผลเรียวปลายแหลม ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดงสด รสชาติเผ็ด ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ำพริก ส้มตํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม หรือรับประทานสด ผลแดงทําพริกแห้ง และพริกป่น พันธุ์ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เองเช่น พันธุ์ยอดสน หัวเรือ จินดา ห้วยสีทน แต่พันธุ์ลูกผสมจากบริษัทต่าง ๆได้รับ ความนิยมมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตสูง สีผลมีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์พื้นบ้าน ก้านผลใหญ่ เช่นพันธุ์ซุบเปอร์ฮอท

พริกขี้หนูผลเล็ก ผลขนาดเล็ก ความยาวผลน้อยกว่า 3 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดง รสชาติเผ็ดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทน้ำพริก ต้มยํา ส้มตํา ยํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม และรับประทานสด พบเห็นทั่วไปคือ พริกขี้หนูสวน พริกกระเหรี่ยง

  1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พริกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน ชื้น แสงแดดไม่จัดจนเกินไป จึงมักพบเห็นพริกเติบโตใต้ ต้นไม้ใหญ่ได้ดีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริก อยู่ในช่วง 20 – 30 องศาเซลเซียส (ยกเว้น พริกหวาน ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 18 – 27 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส ทําให้ดอกร่วง และถ้าอุณหภูมิปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน อาจทําให้ผลอ่อนร่วงด้วย นอกจากนี้การขาดน้ำก็มีผลให้ดอกร่วงเช่นกัน พริกชอบดินร่วนโปร่ง ไม่มีน้ำขังแฉะ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม ประมาณ 6.0-6.5 การปลูกพริกในฤดูฝนจําเป็นต้องเลือกปลูกบนที่ดอน หรือดินร่วนทรายหรือยกแปลงปลูกให้สูงเท่าที่จะทําได้เพื่อให้การระบายน้ำ ออกจากแปลงปลูกทําได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน และดินควรได้รับปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก อย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ร่วนโปร่ง และเป็นอาหารสําหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ต้นพริกแข็งแรง ทนทานโรคได้ดี                                                                                                         
  2. การเจริญเติบโต พริกเจริญเติบโตเป็นลําต้นเดี่ยวตั้งตรง เมื่อเติบโตจนถึงข้อที่ 9-15 จะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ เรียกว่าง่ามแรก และที่ง่ามแรกจะมีตาดอกแรกเป็นดอกเดี่ยว 1 ดอก หรือในพริกขี้หนูสวนอาจมีดอก 1-2 ดอก การเจริญเติบโตต่อไปจะแตกยอด จาก 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง ไปเรื่อย ๆ พริกออกดอกที่ข้อเกือบทุกข้อที่โคนลําต้นหลักใต้ง่ามแรก จะมีแขนงย่อยแตกตามข้อ 3-5 แขนง แขนงย่อยอาจมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ สามารถให้ดอกติดผลได้ถ้าใช้ระยะปลูกห่าง แต่ถ้าระยะปลูกแคบ แขนงมักไม่ค่อยสมบูรณ์ติดผลขนาดเล็ก ดังนั้นการปลูกพริกใหญ่จึงมักเด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแย่งอาหารจาก ลําต้นหลักสําหรับพริกขี้หนูซึ่งปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างกว่าพริกผลใหญ่ อาจไม่เด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่าม แรกออกทั้งหมดก็ได้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนงเก็บไว้จะได้ผลผลิตจากกิ่งแขนงด้วย เพราะพริกขี้หนูมีผลขนาดเล็ก ขนาดผลอาจเล็กลงบ้าง แต่ไม่แตกต่างจากผลปรกติมากนัก                                                                                                                                                                                                                                     
  3. เมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกมี 2 ประเภท 1. เมล็ดพันธุ์ลูกผสม มีจําหน่ายตามร้านขายวัสดุเกษตรทั่วไป เมื่อปลูกแล้วไม่ควรเก็บพันธุ์ปลูกต่อไปอีก เพราะรูปร่างผลจะเปลี่ยนแปลงไป มีหลายขนาดหลายลักษณะแตกต่างจากรุ่นแรกที่ซื้อเมล็ดมา ทําให้ตลาดไม่รับซื้อผลผลิต 2. เมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดที่ได้จากท้องถิ่นที่เก็บพันธุ์ปลูกต่อ ๆ กันมานาน มีความแปรปรวนของทรงต้นและลักษณะผลบ้าง ผลผลิตมักจะต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่มีลักษณะเฉพาะตัวดีเด่นในแต่ละพันธุ์เช่น พริกพันธุ์ยอดสน เมื่อตากแห้งแล้วก้านผลมีสีทองสวย การเก็บเมล็ดพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์สามารถทําได้ในพันธุ์ทั้งสองประเภท แต่การคัดพันธุ์จาก เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 6-7 ชั่ว จึงจะได้สายพันธุ์ที่นิ่งคือ มีลักษณะสม่ำเสมอ เหมือนกันในทุกชั่วที่เก็บเมล็ดปลูกต่อ ๆ กันไป ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมการผสมเกสร และคัดเลือก ลักษณะที่ตรงตามต้องการของตลาด ซึ่งผู้ทําการคัดเลือกต้องมีความรู้ในการคัดพันธุ์พอสมควร ส่วนพันธุ์ผสมปล่อยที่มีลักษณะต่าง ๆ แปรปรวนอยู่บ้าง วิธีการคัดพันธุ์คือเลือกต้นที่มีลักษณะดี เช่นผลดก ผลตรง ผลใหญ่ต้นตั้งตรงแข็งแรง แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ดีอาจมีต้นที่มีลักษณะดีหลายต้น เก็บเมล็ดแยกต้นกันนําไปปลูกต่อจากนั้นคัดเลือกต้นที่ดี โดยยึดลักษณะเช่นที่เคยคัดเลือกมาซ้ำ 2-4 ชั่ว ก็จะได้พันธุ์ปลูกที่ดีมีลักษณะตามที่เราคัดเลือก และถ้าให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเร็วขึ้น จะต้องควบคุมการผสมเกสร เพื่อให้ต้นพริกที่เราคัดเลือกไว้ติดผลจากเกสรในดอกเดียวกันหรือของต้นเดียวกัน โดยใช้สําลีหุ้มดอกที่ยังตูมอยู่ ไม่ให้แมลงมาผสมเกสรในดอกนั้น ดอกที่เราคลุมด้วยสําลีจะได้ละอองเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน ติดเป็นผล และผลนี้จะได้เมล็ดเรียกว่าเป็นการผสมตัวเอง ถ้าทําอย่างนี้ไปหลายๆครั้งที่นําเมล็ดไปปลูก ก็จะได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเป็นพันธุ์ของเราเอง และเมื่อลักษณะต่าง ๆ สม่ำเสมอกันทุกต้นแล้วก็ไม่ ต้องทําการผสมตัวเองอีก เก็บเมล็ดจากทุกต้นรวมกันเป็นพันธุ์ปลูกได้ เมล็ดพันธุ์พริกที่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรแกะเมล็ดออกจากผลที่สุกแดงแล้วโดยเร็วจะแกะเมล็ดขณะผลสด หรือเมื่อผลแห้งก็ได้แต่ไม่ควรปล่อยให้ผลที่แห้งแล้วทิ้งไว้นานเกิน 30 วัน เพราะเมล็ดที่อยู่ใน ผลจะเสื่อมความงอกไปเรื่อย ๆ หลังจากแกะเมล็ดออกแล้วควรผึ่งในที่ร่ม หรือตากแดดเฉพาะตอนเช้า ประมาณ 3-4 วัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่นสนิท หรือถุงพลาสติกหนาปิดถุงให้สนิท นําไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้นานกว่า 1 ปี
  4. การปลูกปฏิบัติดูแลรักษา

5.1 การเตรียมแปลงเพาะกล้าหรือวัสดุเพาะกล้า เลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้าที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ขุดดินยกแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับสภาพดินให้ร่วนโปร่งโดยเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหมัก หรือถ่านแกลบ หรือแกลบอัตรา 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ ใช้ไม้ขีดบนผิวหน้าแปลงเป็นรอยตื้นๆประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร แต่ละรอยห่างกัน 10 เซนติเมตร วางเมล็ดพริกลงในรอยห่างกัน 2-3 เซนติเมตร ใช้ถ่านแกลบผสมปุ๋ยหมัก กลบเมล็ดบาง ๆ นำไม้ไผ่มาโค้งเป็นโครงคลุมด้วยตาข่ายไนล่อนป้องกันฝนและแสงแดดจัด เกินไปในระยะต้นกล้ายังอ่อน สําหรับการเพาะกล้าในถาดเพาะ อาจใช้ดินร่วนตามโคนไม้หรือกอไผ่ที่ใบร่วงทับถมและย่อยสลาย ดีแล้ว ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ร่วนซุยโปร่งพรุน อุ้มน้ำดีน้ำหนักเบา หาได้ในท้องถิ่นมาผสมกันเป็น วัสดุเพาะเช่น 1. ดินร่วน : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก อัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร ขณะที่ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันควรรดน้ำเล็กน้อย เพื่อให้วัสดุมีความชื้นพอสมควร ซึ่งจะช่วยให้น้ำซึมลงในวัสดุได้อย่างทั่วถึงเมื่อรดน้ำภายหลังหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว

5.2 การเพาะเมล็ด การป้องกันเชื้อโรคติดมากับเมล็ด ทําโดยนําเมล็ดแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 50 องศา เซลเซียส (ทําโดยใช้น้ำต้มจนเดือด 1 กระป๋องนมขนาดเล็กผสมกับน้ำเย็น 1 กระป๋องนมขนาดใหญ่ ควร เตรียมน้ำอุ่นปริมาณมาก ๆ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ได้นาน หรือแช่ในกระติกน้ำก็ได้) ประมาณ 30 นาทีจากนั้น ผึ่งเมล็ดให้แห้งคลุกยากันรา เช่น เบนเลท แล้วนําไปหยอดลงแปลงปลูกหรือถาดเพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด กลบเมล็ดบาง ๆ รดน้ำแล้วรดด้วยไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราจากวัสดุปลูกเข้าทําลายเมล็ด ปรกติเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะมีความสมบูรณ์ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย สามารถงอกได้ 99-100 % ดังนั้นจึงไม่จําเป็นต้องหยอดเมล็ดเผื่อเกินกว่าหลุมละ 1 เมล็ด ช่วงที่สําคัญที่สุดของการเพาะกล้าอยู่ในช่วง 7 วันหลังจากหยอดเมล็ด ขบวนการงอกเริ่มต้นด้วยเมล็ดดูดน้ำเข้าไป ขบวนการหายใจเริ่มทํางาน สร้างน้ำย่อยในเมล็ด เพื่อเปลี่ยนอาหารที่สะสมไว้เป็นพลังงานในการงอก ระยะนี้ต้องการความชื้นและออกซิเจนจากอากาศ ดังนั้นหลังจากแช่เมล็ดให้ดูดน้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้วจึงนําเมล็ดมาห่อด้วยผ้าชื้นเรียกว่าการบ่ม

ถ้าหยอดเมล็ดลงถาดเพาะโดยไม่มีการบ่มเมล็ด จะต้องรดน้ำรักษาความชื้นถาดเพาะให้สม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะไว้ถ้าวัสดุปลูกแห้งเกินไปเมล็ดที่เริ่มงอกจะชะงักการเติบโต ในมุมกลับถ้าแช่เมล็ดในน้ำนานเกินไปหรืออยู่ในวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ก็จะทําให้เมล็ดขาดอากาศตายได้เช่นกัน การปฏิบัติที่จำเป็นคือ เตรียมวัสดุเพาะอย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆหลายๆ ครั้งให้เข้ากัน ดีบรรจุในถาดให้เต็มหลุมพอดีทุกหลุม หยอดเมล็ดด้วยความระมัดระวัง ไม่ทําให้รากที่เพิ่งเริ่มปริหักออก ทําหลุมหยอดเมล็ดให้ลึกสม่ำเสมอกัน และกลบเมล็ดด้วยวัสดุปลูกบาง ๆ ไม่หนาเกินกว่า 1 เซนติเมตร ดูแลความชื้นในถาดเพาะให้ชื้นพอดีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน การควบคุมความชื้นในถาดเพาะให้ สม่ำเสมอทําได้โดยรดน้ำน้อยๆบ่อยๆ หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะซึ่งเป็นการ ”บ่มถาดเพาะ” เมื่อเมล็ดงอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้าพลาสติกออก การใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเป็นวิธีรักษาความชื้นของดินในถาด เพาะได้ดีสามารถหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะได้ทันทีโดยไม่ต้องนําเมล็ดแช่น้ำและบ่มเมล็ดให้มีรากปริออกก่อน ช่วยให้การหยอดเมล็ดทําได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น (การบ่มเมล็ดด้วยการนําเมล็ดแช่น้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้ว ห่อเมล็ดด้วยผ้าชื้นๆ บ่มในกระติกหรือภาชนะที่มีฝาปิด 2-3 วัน เป็นการช่วยให้เมล็ดงอก แต่หลังจากหยอดเมล็ดแล้วหากแปลงปลูกหรือถาดเพาะมีความชื้นไม่สม่ำเสมอ รากที่ปริออกอาจแห้งตายได้ และการหยอดเมล็ดที่เริ่มปริทําได้ช้า และยากกว่าการหยอดด้วยเมล็ดแห้ง) หลังจากต้นกล้างอกแล้ว ดูแลต้นกล้าในถาดเพาะต่อไปอีก 30 วัน โดยในช่วง 15 และ 20 วัน หลังจากหยอดเมล็ด รดปุ๋ยเคมีสูตร 15: 15 : 15 ละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากรดปุ๋ย แล้วรดน้ำตามเบาๆเพื่อล้างปุ๋ยออกจากใบ และก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ควรทําให้ต้นกล้าพริก แข็งแรงทนทานโดยเปิดตาข่ายที่คลุมต้นกล้าออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดมากขึ้นหรือลดปริมาณน้ำที่ให้ลง อาจงดน้ำนานขึ้นจนต้นกล้าเริ่มเหี่ยวแล้วให้น้ำใหม่ ทําเช่นนี้ 2 ครั้งเป็นการกระตุ้นให้ต้นกล้าสะสมอาหารไว้ในต้นมากขึ้นกว่าปรกติเพื่อใช้ในการงอกรากใหม่ต้นกล้าที่ดีควรมีลําต้นแข็ง ไม่อวบฉ่ำน้ำ การทําให้ต้น กล้าแข็งแรงก่อนย้ายปลูกเป็นการเตรียมความพร้อมต้นกล้าที่จะออกไปสู่แปลงปลูกที่สภาพแวดล้อม เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน ต้นกล้าจะรอดตายมากขึ้น กรณีที่ไม่สามารถย้ายปลูกได้ตามกําหนด ต้นกล้าอยู่ ในถาดเพาะเป็นเวลานาน 50-60 วัน ทําให้รากขดเป็นวง ก่อนนําไปย้ายปลูกควรกรีดด้วยมีดหรือใช้กรรไกร ตัดรากตามแนวเดียวกับลําต้น 1-2 รอย เป็นการตัดรากเพื่อให้รากใหม่เกิดขึ้นได้ง่าย

5.3. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก แปลงปลูกควรได้รับการไถพรวนให้ดินร่วนโปร่งและตากแดดไว้อย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคทางดิน เติมปุ๋ยคอกหมักหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่และถ้าดินในแปลงปลูกมี pHต่ำ ก่อนไถพรวนทุกครั้งที่ปลูกพริกควรหว่านปูนโดโลไมท์ประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร หน้าแปลงปลูกกว้าง 100-120 เซนติเมตร แล้วแต่ขนาดพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้เว้น ช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจํานวนต้นที่เหมาะสมสําหรับพริกผลใหญ่ ประมาณ 5,000-6000 ต้นต่อไร่ พริกผลเล็กประมาณ 4000 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ดีระยะปลูกผันแปรตาม พันธุ์และฤดูปลูก ถ้าเตรียมแปลงปลูกกว้าง 120 เซนติเมตร (ใช้พลาสติกหน้ากว้าง 120 เซนติเมตร) ปลูก 3 แถวบนแปลง ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร มีช่องทางเดินระหว่างแปลง 80 เซนติเมตร จะปลูกได้ 6,000 ต้นต่อไร่ หรือถ้าเตรียมแปลงกว้าง 1 เมตร คลุมแปลงด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร จะปลูกได้ 5,340 ต้นต่อไร่ซึ่ง การปลูกพริกที่ใช้จํานวนต้นมากถึง 8000-10000 ต้นต่อไร่ (ปลูก 4 แถวและใช้ระยะระหว่างต้น 35-40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50-60 เซนติเมตร) มักพบว่าต้นพริกที่อยู่กลางแปลง ให้ผลพริกขนาด เล็กและผลผลิตไม่มาก อีกทั้งเมื่อเกิดโรคในแปลงจะทําให้การระบาดของโรครวดเร็วและรุนแรงมากกว่า เนื่องจากต้นพริกเบียดกันแน่นอากาศในแปลงถ่ายเทไม่สะดวก ต้นที่อยู่กลางแปลงมักอ่อนแอเพราะได้รับ น้ำและแสงแดดไม่เพียงพอ

5.4 การคลุมแปลงปลูก วัตถุประสงค์ของการคลุมแปลงปลูกคือ ป้องกันหน้าดินไม่ให้แน่นหลังจากฝนตก รักษาความชื้นในดิน ป้องกันผิวหน้าดินไม่ให้กระทบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิดินจึงไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนกระทบกับการ เจริญเติบโตของรากพริก และช่วยป้องกันวัชพืชด้วยวัสดุที่ใช้คลุมแปลงเช่น ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ใบหญ้าคา หรือพลาสติก ในฤดูร้อนข้อดีของการใช้ฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมแปลงปลูกคือ จะช่วยให้แปลงปลูกมีอุณหภูมิต่ำเหมาะสมกับพืชกว่าการใช้พลาสติก

5.5.การตัดแต่งกิ่งแขนง พริกผลใหญ่ควรปลิดแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด ทําโดยใช้มือปลิดขณะที่แขนงยังมีขนาด เล็กยาวไม่เกิน 10-15 เซนติเมตร (อายุประมาณดอกแรกบาน) ถ้าเด็ดช้าแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยาก และเป็นแผลใหญ่ อาจต้องใช้กรรไกรตัด ซึ่งจะเสียเวลาและอาจทําให้โรคแพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง จากกรรไกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การเด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออก จะช่วยให้ต้นพริกไม่ต้องเสียอาหารที่สร้างได้ ไปเลี้ยงกิ่งที่อยู่ใต้ทรงพุ่ม และทําให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเท เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งการพ่นยากําจัดศัตรูพืชทําได้ทั่วถึง ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และยังช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลพริกทําได้ สะดวก ผู้ปลูกมักไม่อยากเด็ดแขนงด้านล่างออกเพราะบางแขนงสามารถติดผลได้บ้าง แต่ถ้าสังเกตดูจะ พบว่าแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกมักจะติดผลน้อย ส่วนใหญ่ไม่ติดผลหรือติดผลขนาดเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นแขนง ขนาดเล็ก นอกจากนี้ถ้าย้ายปลูกต้นกล้าพริกอายุมากเกิน 40 วัน ควรเด็ดดอกแรกทิ้งด้วยเพราะดอกแรกเกิดที่ง่ามแรกจะติดเป็นผลที่ห้อยลงติดกับดินหรือพลาสติกคลุมแปลงทําให้ปลายผลงอ หรือผลอาจเน่าเสียและการเด็ดผลแรกออกยังช่วยให้ต้นพริกเติบโตได้ดีกว่าปล่อยให้ติดผลตั้งแต่ต้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเติบโตของพริกเช่น ฝนตกหนักติดต่อกันไม่ค่อยมีแสงแดด เป็นต้น

5.6 การใส่ปุ๋ย มีหลักการดังนี้ 1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี 2. ใส่ปุ๋ยที่มีสัดส่วนธาตุอาหารตามสัดส่วนที่พืชใช้ส่วนใหญ่พืชที่มีผลมักต้องการ N:P:K ประมาณ 3:1:4 คือต้องการ K และ N มาก ส่วน P ใช้น้อย 3. อัตราปุ๋ยที่ใส่ขึ้นกับผลผลิตคือ ถ้าพืชให้ผลผลิตมากก็ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ให้ตลอดฤดูจะตกประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง) 4. เวลาที่ใส่ปุ๋ยตรงกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชคือ ในช่วงแรกหลังย้ายปลูก พืชยังมีขนาดเล็กไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ช่วงที่พืชเติบโตอย่างรวดเร็วมักจะเป็นช่วงอายุ 25-60 วันหลังย้ายปลูก จึงต้องใส่ปุ๋ยค่อนข้างมากในช่วงนี้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ย อาจปฏิบัติดังนี้ – ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แบบหว่านลงแปลงก่อนเตรียมแปลง หรือใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่และต้องคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ดีก่อนย้ายปลูก เพื่อไม่ให้รากต้นพริกกระทบกับปุ๋ยเคมีโดยตรง  ครั้งที่ 1 อายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้างต้นด้วย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 2 อายุ 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 3 อายุ 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 4 อายุ 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

5.7 โรคและแมลงศัตรูพริก

โรคที่สำคัญอาการและการป้องกันกําจัด

1.โรคกุ้งแห้ง หรือแอนแทรคโนส (Anthracnose) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Colletotrichum spp.

    อาการของโรค ผลพริกที่เป็นโรคนี้ผิวผลยุบตัว ลงเป็นรอยบุ๋ม ฉ่ำน้ำ เมื่อแผล ขยายขนาด จะเห็นรอยแผลเป็น วงซ้อนกัน ส่วนกลางแผลมีเมือก สีส้มปนดํา สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค คือสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 30-32 องศา เซลเซียส และฝนตกพรํา ๆ เชื้อรา นี้สามารถปลิวตามลม และ ตกค้างในดิน เมื่อสภาพเหมาะสม เชื้อจะเจริญแพร่กระจายอย่าง รวดเร็ว

   การป้องกันกำจัดโรค  1. เลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค 2. บํารุงต้นให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์เพราะทําให้สปอร์ แพร่กระจายได้ดีและไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะทําให้ผลอวบน้ำ อ่อนแอต่อการ เข้าทําลายของเชื้อโรค 3. เก็บผลเป็นโรคออกจาก แปลงปลูก นําไปเผาทิ้ง เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 4. ไม่ควรปลูกพริกเบียดกัน แน่นทึบจนเกินไป ตัดแต่งทรง พุ่มให้โปร่งเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก 5. ใช้สารเคมีควบคุม เช่น Azoxystrobin, Mancozeb 

2.โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) เชื้อสาเหตุคือ เชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum)

อาการของโรค ต้นพริกเหี่ยวแบบเฉียบพลัน โดย ต้นพริกและใบยังเขียวอยู่ เมื่อตัด โคนต้นระดับคอดิน จะพบท่อ ลําเลียงอาหารช้ำมีสีน้ำตาลเมื่อ ตัดส่วนที่แสดงอาการโรคแช่ใน น้ำ จะเห็นน้ำยางสีขาวขุ่นไหล จากบริเวณท่อลําเลียง

การป้องกันกำจัด 1. ไม่ปลูกพริกในพื้นที่ที่มีประวัติการเกิดโรคเหี่ยวเขียวมาก่อน 2. หมั่นตรวจแปลงปลูกถ้าพบ ต้นเป็นโรคให้นำออกจากแปลงไปเผาไฟทันที 3. การให้น้ำตามร่องควรแบ่งแปลงเป็นช่วง ๆ และกักน้ำเฉพาะร่องนั้น ๆ เพื่อป้องกันการ กระจายของเชื้อแบคทีเรียไป ทั่วทั้งแปลง  4. ปลูกพืชหมุนเวียนและหลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้ำในที่เดิมติดต่อกัน

3.โรคใบด่าง (Cucumber mosaic virus, CMV) เชื้อสาเหตุคือ ไวรัสใบด่างแตง Cucumber mosaic virus

อาการของโรค ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียว อ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิด เบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระแก็รน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิด เบี้ยวผิวขรุขระ จ้ำนูน สีผลไม่ สม่ำเสมอ พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูด น้ำ-อาหารจากพืชและปล่อยเชื้อ เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด  1. พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด แมลงในระยะต้นกล้า โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส หรือคลุม แปลงกล้าด้วยมุ้งไนล่อน 32 ตา ต่อนิ้ว 2. กําจัดวัชพืชในแปลงและรอบ ๆ แปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน 3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นเป็นโรคในระยะแรก ต้องกําจัด ออกจากแปลงทันทีเพราะต้น เป็นโรคจะไม่ให้ผลผลิต และเป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไป

4.โรคใบจุดตากบ (Frog-eye leaf spot) เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อรา Cercospora spp.

อาการของโรค ลักษณะเป็นอาการโรคบนใบแผลกลม ขอบสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบ เมื่อระบาดรุนแรง แผลเชื่อมต่อ ถึงกันทําให้ใบไหม้แห้งกรอบและร่วง แผลบนก้านผลลักษณะยาวรี หรือยาวกลม ขอบแผลสีเข้ม เนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลง

การป้องกันกำจัด  1. หมั่นสํารวจแปลงปลูกพริก เมื่อพบใบเป็นโรคเพียงเล็กน้อย ให้ใช้สารเคมี Mancozeb  พ่นป้องกันทันที 2. หลีกเลี่ยงการขังน้ำระหว่าง ร่องปลูกเป็นเวลานาน ต่อเนื่องกัน เนื่องจากทําให้ ความชื้นในแปลงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี 3. ทําความสะอาดแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเชื้อที่ติดมากับใบที่ ร่วงตามพื้น

5.โรครากเน่าและโคนเน่า (Collar and root rot) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Phytophthora spp.และ Pythium spp.

อาการของโรค จะเกิดอาการเน่าคอดิน ต้นกล้าหักยุบและตาย ในต้นพริกที่โตแล้ว ต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและโคนต้นมีแถบสีดําปน น้ำตาลเข้ม เริ่มจากโคนต้นลาม ไปยอด ปลายรากมีสีดําหรือ น้ำตาลเข้ม และผิวรากลอกหลุด ง่ายเมื่อจับดึงท่อน้ำท่ออาหารมีสี น้ำตาล

การป้องกันกำจัด 1. หลีกเลี่ยงการรดน้ำแปลง กล้าหรือถาดเพาะในตอนเย็น 2. เพาะกล้าในวัสดุที่ปลอดเชื้อ 3. กําจัดต้นที่เป็นโรคจากแปลงปลูก และทําลายโดยนําไปเผา 4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลด ปริมาณเชื้อในดินโดยสลับกับ พืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด ถั่วหรือผักกินใบ 5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ 50-100 กิโลกรัม ผสมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมโรย โคนต้น

แมลงศัตรูพริกการเข้าทำลายและการป้องกันกําจัด

1.เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis Hood) เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงในส่วนยอด อ่อน ใบอ่อน ตาดอกและผลพริก ทําให้พริกชะงักการเจริญเติบโต ยอดอ่อนหงิก ใบห่อ ขอบใบม้วน ขึ้นทางด้านบนทั้งสองข้าง ใบมี ลักษณะเป็นคลื่น ผิวใบด้านล่าง ก้านใบ ก้านดอก และยอดพริก เกิดรอยด้านสีน้ำตาล ดอกร่วง ผล บิดเบี้ยว หงิกงอ สภาพที่เหมาะสม คือ อากาศแห้ง อุณหภูมิสูง

การป้องกันกำจัด 1. กําจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยไฟ 2. ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ช่วยเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก 3. ควรปรับสูตรปุ๋ยให้มีสัดส่วน ไนโตรเจนต่ำลง และเพิ่มการฉีดพ่นด้วยโล่เขียวตามอัตราแนะนำเพื่อให้เซลล์พืชแข็งแรง

2.เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนเข้าทําลายดูดกินน้ำ เลี้ยงส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน ทําให้ใบหงิกงอ เป็นคลื่น ต้นชะงักการเจริญเติบโต มักจะพบมดมา กินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา และมีราดำลงทําลายด้วย

การป้องกันกำจัด 1. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดปริมาณเพลี้ยอ่อน 2. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และใช้สารป้องกันกำจัดฉีดพ่น

3.ไรขาว (Polyphagotarsonemus latus Banks) ไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน และใบอ่อน ทาให้ใบหงิก ขอบใบ ม้วนลง ใบเรียวเล็ก หนาแข็งและ เปราะ ถ้าระบาดรุนแรง ยอดอ่อน ที่ถูกไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยง จะแตกเป็นฝอย ต้นพริกไม่เจริญเติบโต และไม่ติดผล

การป้องกันกำจัด 1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และ ใช้สารเคมีพ่น หรือใช้สาร กํามะถันผงพ่นเป็นระยะ ๆ ในช่วงที่เริ่มระบาด

4.แมลงวันพริก (Bactrocera latifrons) แมลงวันพริกเพศเมียวางไข่ภายใน ผลพริก เมื่อฟักเป็นตัวหนอน จะกัดกินภายในผลพริก เห็นเป็นรอยทาง ไส้พริกมีสีดำ ต่อมาผลพริกจะ เน่าและร่วง

การป้องกันกำจัด 1. ใช้สารล่อแมลง คือลาตีลัวร์ (Lati-lure) ร่วมกับสารฆ่าแมลง ใส่ในกับดักแมลง เพื่อล่อแมลงวันพริกเพศผู้

5.หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนเข้า ทําลายโดยกัดกินดอกและเจาะกิน ภายในผลพริก

 การป้องกันกำจัด ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์และเชื้อ แบคทีเรีย (BT) พ่นในช่วงเย็น หลังให้น้ำแปลงปลูก

 

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน(คู่มือการปลูกพริกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับพริก

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก       ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)                 ใช้โล่เขียว    50 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                              ใช้โล่เขียว  100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะก่อนดอกชุดแรก                        ใช้โล่เขียว  200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต                        ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง  ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-