Tag Archives: พืชดอก

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

ปริมาณการใช้น้ำ 450 – 500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / ฤดูกาลผลผลิต ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม เพื่อไม่ให้กระทบแล้งในช่วงออกดอก ผสมเกสร ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

การเลือกพื้นที่

เป็นพื้นที่เขตชลประทาน หรือพื้นที่สามารถให้น้ำได้ตลอดระยะเวลาปลูก ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินร่วนทราย ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้สำนักงานเกษตรอำเภอตรวจสอบชุดดิน / แผนที่ดินว่ามีความเหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือไม่ และดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 5.5 การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากดินไว้ ประมาณ 5-7 วัน จึงไถแปรพร้อมคราด 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินและให้ดินเก็บความชื้น ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่ และมีดินเป็นดินเหนียวควรทำร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อสะดวกต่อการส่งน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากแปลง ความกว้างของร่องน้ำประมาณ 0.75 – 1 เมตร

การเตรียมพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุวรรณ 4452 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทั้งพันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน
การปลูก ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวน 10,666 – 11,428 ต้นต่อไร่ และควรปลูกซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ยเคมี รองพื้นใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15 , 16-16-8 , 18-8-8 , 27-12-6 อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับดายหญ้าพูนโคนและให้น้ำไปตามร่อง
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 7-8 สัปดาห์หลังปลูก เป็นระยะเริ่มออกไหม และช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้น และธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยข้างร่องหลังจากให้น้ำแล้ว

การใส่ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ตารางการใส่ปุ๋ยปลูกข้าวโพดหวานตามลักษณะดิน

1. ดินเหนียว

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 16-20-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– พร้อมดายหญ้า ใส่ปุ๋ย และใช้ดินกลบ

2. ดินร่วนปนทราย

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย25-30 กก. / ไร่

3. ดินทราย

– หลังปลูก 14 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80 กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่

การให้น้ำ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้ำครั้งต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวชั่วคราวของใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์รดน้ำแปลงข้าวโพด ควรให้แบบทั่วถึงทั้งแปลง หรือแบบปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้น


การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท อายุ 110-120 วันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ หรือสังเกตจากใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวทั้งแปลง และควรตาก 1-2 แดด ก่อนกะเทาะเมล็ดจำหน่าย วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักร
ข้อจำกัดของการปลูกข้าวโพดสัตว์หลังนา
หลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด – ดินกรดถึงกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5)
หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำและที่น้ำท่วมขัง
หลีกเลี่ยงการปลูกล่าช้ากว่าเดือนธันวาคม

 


ข้อควรระวังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

หนู จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูแล้งมักเข้ากัดกินทำลายลำต้นและฝักข้าวโพด เนื่องจากไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมกันกำจัดหนูในพื้นที่พร้อม ๆ กันเป็นบริเวณกว้างก่อนการปลูกข้าวโพด วิธีการป้องกำจัดโดยกำจัดวัชพืชบนคันนา หรือใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว สลับกับโฟลคูมาเฟน เหยื่อพิษสำเร็จรูปประเภทออกฤทธิ์ช้า ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
การตลาด เกษตรกรที่ผลิตส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ร้อยละ 90 ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

**คำแนะนำเพิ่มเติม

สามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง ผสมน้ำ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพกับข้าวโพด

– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน (7-14 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (25-30 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกหัว (30-45 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะฝักอ่อน-ก่อนเก็บเกี่ยว (45 วันขึ้นไป) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มส่งเสริมพืชไร่อุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การใช้ปุ๋ยพืชสด

การใช้ปุ๋ยพืชสด

โดย … อัญชลี พัดมีเทศ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการไถกลบต้น ใบและส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในระยะช่วงออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารในลําต้นสูงสุด แล้วปล่อยไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา ปุ๋ยพืชสดนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักแก่พืชแล้ว ยังให้ธาตุอาหารรองอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่พืช ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทําให้ดินร่วนซุยสะดวกต่อการไถพรวน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาในการกําจัดวัชพืชได้อีกด้วย

ลักษณะของพืชที่จะนํามาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดควรมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ดังนี้คือ

  1. ปลูกได้ง่ายเจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรงออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30-60 วัน
  2. สามารถให้นํ้าหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2000 กิโลกรัม / ไร่ขึ้นไป
  3. ทนแล้งและทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดีสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
  4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
  5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อทันและเพียงพอต่อความต้องการเมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
  6. ทําการเก็บเกี่ยว ตัดสับ และไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมาก เพราะจะทําให้ไม่สะดวกในการไถกลบ
  7. ลําต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้รวดเร็ว และมีธาตุอาหารพืชสูงชนิดของปุ๋ยพืชสด

พืชที่ใช้ทําเป็นพืชสดนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่เหมาะจะนํามาเป็นปุ๋ยพืชสดมากกว่าพืชประเภทอื่น เพราะเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารพืชสูง เมื่อตัดสับและไถกลบจะเน่าเปื่อยผุพังเร็ว โดยเฉพาะจะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช เพราะในการที่พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงนั้นพืชจะต้องได้รับธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งพืชตะกูลถั่วภายหลังไถกลบและเน่าเปื่อยผุพังแล้วก็สามารถจะให้ธาตุอาหารนี้แก่พืชที่ปลูกตามหลังอย่างมากมาย เพราะ รากถั่วจะมีปมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ปมรากถั่ว (nodule bacteria) ซึ่งมีเชื่อจุลินทรีย์ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก

จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถดึงเอาธาตุไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศมาไว้ในปมรากถั่ว เปรียบเสมือนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยไนโตรเจน จากนั้นเมื่อเราปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบํารุงดินก็จะเป็นการประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง และในขณะเดียวกันเศษ            พืชที่สลายตัวเน่าเปื่อยลงไปในดินก็จะเพิ่มธาตุอาหารพืชที่สําคัญ ๆหลายชนิดให้แก่ดินตลอดจนเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุแก้ดินช่วยปรับปรุงสภาพของดินอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมในการปลูกพืชพืชปุ๋ยสดเป็นพืชตระกูลถั่ว ก่อนปลูกควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ที่จะปลูก                        ลักษณะ  และคุณภาพของดินประกอบด้วย เพื่อให้สามารถใช้ได้ดี และให้ปริมาณนํ้าหนักพืชสดสูง โดยพิจารณาชนิดพืชที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ดังนี้

1.1 โสนไต้หวัน (Sesbania sesban) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ สามารถขึ้นได้ในดินทั่วๆ ไป แต่จะขึ้นได้ดีในดินเหนียวที่มีนํ้าขัง หรือบริเวณที่ลุ่มที่มีนํ้าท่วมถึง จึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวภาคกลาง หรือดินภาคอื่น ๆ ที่มีสภาพของดินและสภาพพื้นที่เหมือนกัน นอกจากนี้โสนไต้หวันยังทนแล้งได้ด้วย

1.2 โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) เป็นพืชที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ ดอกใหญ่กว่าดอกโสนไทย และโสนไต้หวัน มีลําต้นสูงและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าโสนไต้หวัน เป็นพืชที่ให้นํ้าหนักสดสูงมากพืชหนึ่งโสนอินเดียชอบดินที่ค่อนข้างจะเป็นด่าง จึงนิยมปลูกบนที่ดอนไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินทราย ก็สามารถปลูกขึ้นได้ดีเมื่อขึ้นแล้วนํ้าขังก็ไม่ตาย

1.3 โสนคางคก (sesbania aculeata) เป็นพืชที่มีลําต้นขรุขระขึ้นได้ดีในบริเวณที่มีนํ้าขัง และสามารถขึ้นได้ดีในดินเค็ม ฉะนั้นจึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวที่ปลูกในดินเค็ม

1.4 ปอเทือง (Crotalaria juncea) มีลําต้นคล้ายปอแก้ว ดอกจะมีสีเหลืองอยู่กระจัดกระจาย จัดว่าเป็นพืชปุ๋ยสดที่ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง ซึ่งจะหาพืชชนิดอื่นเทียบได้ยาก เนื่องจากเมื่อไถกลบแล้วจะผุพังได้รวดเร็ว และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินในปริมาณมาก ปอเทืองสามารถขึ้นได้ในดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินลูกรัง แต่ไม่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นหรือมีนํ้าขังดังนั้นจึงนิยมปลูกบนที่ดอน

1.5 ถั่วพร้า (Canvalia ensiformis) เป็นพืชที่มีลําต้นตรง บางชนิดก็เลื้อยพัน เจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีรากลึก ใบใหญ่ กว้าง ลําต้นแข็งแรง ดอกมีสีแดงอ่อน ม่วงอ่อน หรือขาว เป็นพืชทนแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไปแต่นิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ปลูกพืชไร่ แต่บางครั้งก็นํามาปลูกในดินนาช่วงหน้าแล้งไม่มีนํ้าขังได้ดีเหมือนกัน

1.6 ถั่วประเภทเถาเลื้อย เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร่หนามเว็ลเว็ท คาโลโปโกเนียม ซีรูเลียม

และอัญชัน พืชเหล่านี้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นพืชคลุมดินในสวนผลไม้เพื่อปราบวัชพืชบางชนิด ใบที่ร่วงหล่นทําเป็นปุ๋ยบํารุงดิน อันเป็นประโยชน์แก่ไม้ผล ที่ปลูกมากกว่าจะตัดสับแล้วไถกลบ

1.7 ถั่วประเภทใช้เมล็ดอื่น ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วนา ถั่วลิสง ก็สามารถใช้ปลูกทําเป็นปุ๋ยพืชสดได้

  1. พืชชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เช่น พวกพืชตระกูลหญ้าก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ แต่พืชพวกนี้ส่วนใหญ่จะให้แต่เพียงอินทรีย์วัตถุ ส่วนธาตุอาหารพืชอย่างอื่นมีปริมาณน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว ฉะนั้นขณะที่ทําการไถกลบพืชตระกูลหญ้าลงไปในดิน จึงนิยมหว่านปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเพิ่งลงไปด้วยในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่อายุของพืชที่ถูกกลบ

      3. พืชนํ้า พืชนํ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว คือแหนแดง (Azolla) เนื่องจากแหนงแดงเป็นที่อาศัยของแอลจีบางชนิด

สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศมาให้ แหนแดงเน่าเปื่อยผุพังก็จะให้ไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุแก่ดิน แหนแดงสามารถเลี้ยงขยายในนาข้าวแล้วทําเป็นปุ๋ยพืชสด โดยจะให้ไนโตรเจนได้ถึง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ยังนํามาเพาะขยายพันธุ์ได้ในดินที่มีนํ้าขัง เราจึงมักพบเห็นแหนแดงมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติบริเวณที่มีนํ้าขังเสมอ

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงดิน

ในการปลูกพืชปุ๋ยสดให้ได้ผลดีนั้นควรพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการ คือ

  1. ลักษณะของดิน เนื่องจากพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ นั้น ขึ้นได้ดีในดินที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นดินเปรี้ยว ควรใส่ปูนลงไปก่อน ถ้าเป็นดินทราย ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 3-8-6 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ หวานเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้นํ้าหนักสดสูงด้วย
  2. เวลาฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝนหรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังมีอยู่ หรือปลุกก่อนการปลูกพืช หรือปักดําข้าวประมาณ 3 เดือน ในช่วงปลายฤดูฝนก็สามารถปลูกได้แต่ต้องมีความชื้นในดินอยู่บ้าง
  3. วิธีการปลูก มีหลายวิธีด้วยกัน คือการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็นหลุม หรือหว่านเมล็ดลงไปถั่วแปลงก็ได้แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีหว่าน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดแรงงานกว่า ซึ่งควรทําการไถดะก่อนแล้งจึงหว่านเมล็ดลงไป หลังจากนั้นจึงทําการคราดกลบเมล็ด ถ้าเป็นพืชที่มีเมล็ดใหญ่ควรคราดกลบให้ลึกหน่อย เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น

การใช้เมล็ดพันธุ์พืชสดที่เหมาะสมเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ด ดังนี้

ปอเทือง 5 กก.

ถั่วนา 8 กก.

โสนอินเดีย 5 กก.

ถั่วลาย 2 กก.

โสนคางคก 5 กก.

ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก.

โสนไต้หวัน 4 กก.

ไมยราบไร้หนาม 2 กก.

ถั่วพร้า 5 กก.

ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก.

ถั่วเขียว 5 กก.

คาโลโปโกเนียม 2 กก.

ถั่วเหลือง 8 กก.

อัญชัน 3 กก.

ถั่วพุ่ม 8 กก.

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสดแบ่งการใช้ได้เป็น 3 วิธีคือ

  1. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทําการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย ก่อนที่จะปลูกพืชหลักชนิดอื่น ๆ ตามมา
  2. ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ปลุก โดยปลูกพืชปุ๋ยสดหลังจากพืชหลักเติบโตเต็มที่แล้วเพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารในดิน เมื่อพืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานก็ทําการตัดสับ และไถกลบลงไปในดินระหว่างร่องปลูกพืชหลัก
  3. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่า หรือ ตามหัวไร่คันนาแล้วตัดสับเอาส่วนของพืชปุ๋ยสดนํามาใส่ในแปลงเพื่อจะทําการปลูกพืชหลัก แล้วไถกลบลงไปในดินการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดในการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดนั้น จําเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชปุ๋ยสดเป็นสําคัญ ควรกระทําเมื่อมีปริมารธาตุไนโตรเจนในพืชสูงสุด และให้นํ้าหนักพืชปุ๋ยสดสูงด้วย ฉะนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดสับและไถกลบ จึงควรทําขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถัวเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมแก่การสลายตัว เมื่อไถกลบแล้วจะทําให้มีปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย แต่ถ้าหากอายุแก่เลยระยะนี้ไปแล้วจํานวนธาตุไนโตรเจนในพืชลดลง

ตารางแสดงอายุการตัดสับและไถกลบ น้ำหนักสดและธาตุไนโตรเจนที่ได้รับของพืชปุ๋ยสดบางชนิด

 

ชนิดพืชปุ๋ยสด

อายุการตัดสับ

และไถกลบ (วัน)

นํ้าหนักสดที่ได้

(ตัน/ไร่)

ธาตุไนโตรเจน

(กก./ไร่)

ปอเทือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วข้าว

ถั่วเหลือง

ถั่วเขียว

โสนจีนแดง

75-90

40-50

60-75

50-60

40-50

75-90

3-4

2-3

3-4

1.5-2

2

3-4

15-20

20

20

5

5-6

7-8

 

นอกจากนี้ยังมีพืชปุ๋ยสดบงชนิดที่มีอายุยาวมาก จึงแนะนําให้ตัดสับและไถกลบ ดังนี้

โสนอินเดีย     ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ                80-80 วัน

คราม             ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ              100-80 วัน

โสนใต้หวัน     ไถกลบ                       เมื่ออายุ                75-80 วัน

ถั่วเว็ลเว็ท       ไถกลบ                       เมื่ออายุ                80-80 วัน

ถั่วนา              ไถกลบ                       เมื่ออายุ                     75 วัน

 

พืชปุ๋ยสดชนิดใดที่มีลําต้นเตี้ยทําให้การไถกลบด้วยแรงสัตว์ได้เลย แต่ถ้ามีลําต้นสูง หรือเถาเลื้อยก็ควรตัดให้ติดผิวดิน โดยตัดเป็นท่อน ๆ เสียก่อน แล้วจึงไถกลบ เมื่อพืชไถกลบถูกฝังอยู่ใต้ดินแล้วก็จะเริ่มเน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ยทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 628 สัปดาห์ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและอายุของเศษพืชนั้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและความชื้นในดินด้วย หลังจากนั้นจึงทําการปลูกพืชตามได้ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน
  2. ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. ช่วยบํารุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  4. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มนํ้าได้ดีขึ้น
  5. ทําให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  6. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  7. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด จะช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แกพืชได้มากยิ่งขึ้น
  8. ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง
  9. ลดอัตราการสูญเสียของดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. ช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นมีปัญหา คือ พืชบางชนิดเก็บเมล็ดได้ง่าย บางชนิดเก็บได้ยากหรือเก็บไม่ได้เลย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาในการปลูกก็แล้วแต่ชนิดของพันธุ์พืชและวิธีการปลูก ดังนั้น จึงสมควรที่จะต้องทราบวิธีการปลูกพืชที่จะนํามาใช้ทําเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. การเลือกที่ดิน ควรเลือกดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนตะกอน มีการระบายนํ้าดีมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 6-7 ถ้าดินมีธาตุอาหารและความชื้นพอเหมาะ ผลผลิตเมล็ดพันธุ์จะสูงมาก แต่ถ้าเป็นดินที่ขาดธาตุอาหารต้องให้ปุ๋ยเคมีช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชในระยะแรกด้วย
  2. ฤดูปลูกที่เหมาะสม ภาคกลางควรปลูกปลายฤดูฝน ประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน สําหรับภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หรือจะปลูกเมื่อฤดูฝนหมดแล้วก็ได้แต่จะต้องเก็บเมล็ดในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า ถ้ามีฝนตกระหว่างการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฝักจะขึ้นรา และเมล็ดจะเสียด้วย นอกจากนี้การตาก นวด และฝัด จะทําได้ไม่สะดวก
  3. การเตรียมดิน ผลผลิตของพืชปุ๋ยสดขึ้นอยู่กับการเตรียมดินด้วย ฉะนั้นจึงต้องเตรียมดินให้ดีก่อนที่จะหยอดเมล็ดพันธุ์โดยการไถดะลึกแล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เพื่อทําลายวัชพืชให้น้อยลงแล้วจึงไถแปรตามอีกครั้ง เมื่อความชื้นในดินพอเหมาะก็ปลูกได้ ซึ่งความชื้นในดินมีความสําคัญต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อนมาก
  4. การเตรียมเมล็ดพันธุ์เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนการนําไปปลูก เมล็ดพันธุ์ถั่วบางชนิดหากเก็บไว้เกิน 5 เดือนความงอกของเมล็ดจะลดตํ่าลงกว่า 50% เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสงเป็นต้น นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์จะต้องสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ควรคัดเอาเมล็ดลีบออกให้หมดเวลาปลูกจะได้งอกสมํ่าเสมอ
  5. อัตราของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก พืชปุ๋ยสดที่ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมปลูกเป็นแถว โดยมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว จํานวนเมล็ดที่ใช้ปลูกต่อ 1 ไร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดและระยะปลูก ถ้าเมล็ดขนาดเล็ก จะใช้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดขนาดใหญ่จะใช้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม/ไร่

อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่ใช้ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขอแนะนําดังนี้

  1. วิธีการปลูก มีด้วยกันหลายวิธีคือ ปลูกแบบโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม และหว่านเมล็ดลงไปทั่วแปลง แต่ในการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมใช้วิธีการปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะปลูกใช้ตามคําแนะนํา โดนปลูก 4-6 แถวติต่อกันและควรเว้นทางไว้สําหรับเข้าไปพ่นยาปราบศัตรูพืช แต่ถ้าเป็นวิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ด ให้หยอดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด แล้วกลบเมล็ด ถ้าเมล็ดเล็กไม่ควรหยอดให้ลึก แต่ถ้าเมล็ดใหญ่หยอดให้ลึกได้จะช่วยให้การงอกดีขึ้นสําหรับเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่งอกยาก เช่น โสนอินเดีย ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ฯลฯ ควรใช้นํ้าร้อนจัด 2 ส่วน ผสมนํ้าเย็น 1 ส่วน แล้วเทเมล็ดลงไปในนํ้าอุ่นใช้ไม้คนให้ทั่ว แช่ทิ้งไว้12 ชั่วโมง หรือ 1 คืน จากนั้นเทนํ้าทิ้งพอเมล็ดหมาด ๆ จึงนําไปปลูกได้
  2. การดูแลรักษา ในการปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ควรมีการพรวนดินกําจัดวัชพืช และถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกหลังจากหยอดเมล็ดไปแล้วประมาณ 7-10 วัน โดยเหลือไว้หลุมละ 2-3 ต้น การพรวนดินกลบโคนต้นควรทําเมื่อพืชอายุไม่เกิน 30 วัน จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ต้นไม่ล้มง่าย
  3. การใส่ปุ๋ย แปลงพืชปุ๋ยสดควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตอัตรา 10 กก/ไร่ หรือใช้แอมโมเนียซัลเฟต 10 กก. ผสมกับปุ๋ยแอมโมฟอส(16-20-0) 10 กก. รวม 20 กก./ไร่ ใส่หลังจากพรวนดินและกําจัดวัชพืชเมื่ออายุประมาณ 3 สัปดาห์หลังปลูก ในดินบางแห่งที่เป็นกรด จําเป็นต้องใส่ปูนขาวอัตรา100 กก./ไร่ ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี
  4. การป้องกันกําจัดศัตรูพืช การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ถ้าไม่มีการป้องกันกําจัดศัตรูพืชแล้ว จะเก็บเมล็ดไม่ได้ ซึ่งศัตรูของพืชปุ๋ยสดมีหลายชนิด เช่น หนอนม้วนใบ หนอนกัดกินใบ และยอดอ่อนหนอนเจาะลําต้น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการตรวจดูหนอนและแมลงให้ทั่วแปลง ตั้งแต่ปุ๋ยสดเริ่มออกดอกไปจนกระทั่งถึงระยะติดเมล็ดในช่วงเช้าก่อนมีแสงแดด เมื่อตรวจพบก็รีบฉีดยาปราบศัตรูพืชทันทีโดยใช้ ดี.ดี.ที. 25% ชนิดนํ้า จํานวน 4 ช้อนต่อนํ้า 1 ปี๊บ หรือ ดีลดริล 2-3 ช้อน ต่อนํ้า 1 ปี๊บ ทําการฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุกระยะ 5-7 วัน นอกจากหนอนและแมลงแล้ว ปุ๋ยพืชสดบางชนิด เช่น ปอเทืองจะมีโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยที่แมลงเป็นพาหะ ทําให้ใบพืชเล็ก ดอกเป็นฝอยไม่ติดฝัก ป้องกันกําจัดได้โดย หลีกเลี่ยงการปลูกพืชซํ้าที่เดิม
  5. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดต่างชนิดกันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันดังนี้

 ชนิดพืช

 อายุเก็บเกี่ยว (วัน)

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้

(กก./ไร่)

 

วิธีเก็บเกี่ยว

ปอเทือง

โสนอินเดีย

ถั่วเขียว

ถั่วเหลือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วลาย

ถั่วเสี้ยนป่า

100-200

150-160

60-70

100-120

65-80

270-300

90-120

80

40

150

300

75

10

30

เก็บทั้งกิ่งหรือทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บต้นที่มีฝักแก่ทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

 

ฝักของพืชปุ๋ยสดบางชนิดที่แก่แล้ว ถ้าไม่เก็บเกี่ยวเมื่อถูกแสงแดดฝักจะแตก เมล็ดร่วงลงดินหมด ถ้าฝักไม่แตกสังเกตดูสีของฝักหรือเขย่าฝักดูการเก็บฝักควรเก็บในตอนเช้า เพื่อป้องกันการแตกของฝัก แล้วขนไปตากในลานนวด ก่อนนวดต้องตากแดดไว้   3-4 วัน ควรนวดเฉพาะตอนบ่าย เพราะฝักจะแตกง่ายและทุ่นเวลาในการนวด การนวดอาจใช้คนหรือสัตว์ยํ่าให้ฝักแตกแล้วจึงนําไปฟาดเอาเมล็ดที่เสียและลีบออก ให้เหลือแต่เมล็ดที่สมบูรณ์ตากแดดให้เมล็ดพันธุ์แห้งกะว่ามีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน 15% ก่อนนําเข้าเก็บ

  1. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นาน 5 เดือน จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตํ่าเมื่อนําไปปลูกทําให้ไม่งอกหรืองอกน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ฉะนั้นเมื่อได้เมล็ดมาก็นําไปปลูกได้เลยไม่ควรเก็บไว้แต่เมล็ดพันธุ์บางชนิดสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปีก็ยังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง เช่น ปอเทืองโสนอินเดีย ฯลฯ ฉะนั้น จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ดังนี้คือ

– เก็บไว้ในโอ่ง ถัง ปี๊บ ไห หรือกล่องที่สามารถปิดได้มิดชิด แมลงไม่สามารถเข้าไปได้และอย่าเก็บไว้ในที่ชื้น

– ใช้เมล็ดพันธุ์คลุกขี้เถ้าแกลบ

– ใช้สารเคมีคลุกเมล็ด

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

พืช 7 ชนิดที่เหล่าทาสแมวควรมีไว้ติดบ้าน

ทาสแมวไม่ควรพลาด!! โดยเหล่าทาสแมวต้องเข้าใจ Continue reading

“ หัวใจสีม่วง “หรือหัวใจราหู ไม้ประดับสวย…และมีประโยชน์ ของคนชอบสีม่วง!

อาหารเสริมพืช ไร่เทพ ลดต้นทุน!! เพิ่มผลผลิต!! จะปลูกผลไม้ จะปลูกผัก หรือจะปลูกไม้ดอก….ไม่ว่าจะพืชชนิดไหนๆ ก็ใช้ได้ เรารับประกันว่าประสิทธิภาพสินค้าเราดี คุ้มค่าเกินราคาอย่างแน่นอน!!.

 

หัวใจสีม่วง กำเนิดขึ้นที่แถบตะวันออกของประเทศแม็กซิโก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับจัดเป็นแปลงๆ เพื่อความสวยงามเหมือนทุ่งดอกลาเวนเดอร์ ที่มีสีม่วงเต็มทุ่งกว้าง เพื่อดึงดูดสายตาของผู้คนและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา

 

หัวใจสีม่วงเป็นไม้ล้มลุก การเจริญเติบโตรวดเร็ว หรือจะปลูกไว้ภายในบ้านหรือภายในอาคารเพื่อฟอกอากาศให้สดชื่นได้อีกด้วย…. กลีบดอกมีลักษณะสามเหลี่ยมคล้ายรูปหัวใจ และมีสีม่วง อีกทั้ง ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ก้านใบ แผ่นใบทั้งด้านล่างด้านบน และตัวดอก มีสีม่วงทั้งหมด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่น และแตกต่างกับพืชชนิดอื่นๆ

 

**สรรพคุณ : นำใบมาขยำ หรือมาบด ใช้มาประคบหรือพอกบริเวณร่างกายได้ เช่น ฟกช้ำเขียว บวม อักเสบที่ตา ขับสารพิษออกจากร่างกาย หรือจะต้มน้ำ เพื่อดื่มแบบอุ่นๆแก้ร้อนใน กระหายน้ำได้เช่นเดียวกัน.


.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

“ตดหมูตดหมา ลดน้ำตาล เพิ่มความฟิต”

“ตดหมูตดหมา” หรือ ใบกระพังโหมสามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นที่น่าสนใจ คือ มีกรณีศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดของใบตดหมูตดหมาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งผลการทดลองในหนูพบว่ามีผลทำให้ HbA1C ในกระแสเลือดลดลงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระพังโหมในการลดระดับน้ำตาล

 

“ตดหมูตดหมา” เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่กำลังมีกระแสโด่งดังอยู่ในโลกโซเชียลเกี่ยวกับสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงและเป็นยาอายุวัฒนะ โดยเชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำสามารถเพิ่มกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้กระดูกที่หักติดกันง่าย ช่วยทำให้สีผิวเงางาม ช่วยกำจัดพิษ ช่วยย่อย ช่วยขับลม ให้กินเป็นประจำทั้งกินเป็นผักและเอามาต้มกินเป็นยา และสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย ตดหมูตดหมา เป็นไม้เลื้อย เนื้ออ่อน ลำต้นสีเขียว ใบเดี่ยว มีขนสั้น ๆ ละเอียดที่มุมเส้นใบตัดกับเส้นกลางใบ ก้านใบสีเขียวถึงเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบเรียบ มีดอกช่อออกที่ปลายยอดและซอกใบกลีบดอกด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วงเข้ม รูปกรวยปลายแยก 5 แฉก หยักตื้น มีผลรูปไข่หรือกลมแบน

 

สรรพคุณของกระพังโหม

  1. ใบและเถาสดมีกลิ่นเหม็น ใช้กินเป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง แก้ดีรั่ว ช่วยเจริญอาหาร (ใบและเถา)
  2. ใบสดใช้ตำพอกอุดรูฟันแก้ปวดฟันและแก้รำมะนาด (ใบ) ส่วนผลก็มีสรรพคุณช่วยแก้ปวดฟันเช่นกัน และใช้ทาฟันให้เป็นสีดำ (ผล)
  3. ใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบบริเวณปากและคอ (ทั้งต้น)
  4. ใบและเถาใช้กินเป็นยาแก้ไข้ แก้ตัวร้อน (ใบและเถา) ส่วนทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้รากสาด ใช้ต้มดื่มแก้พิษไข้ (ทั้งต้น) เมื่อเวลาเป็นไข้ให้ใช้น้ำต้มจากเถาหรือใบ นำมาใช้เช็ดตัวหรือนำผ้าสะอาดชุบน้ำต้มมาวางไว้บนศีรษะ ก็จะทำให้อาการไข้ลดลงได้เป็นอย่างดี (เถา)
  5. รากสดใช้ฝนกับน้ำหยอดตาแก้พิษ แก้ตาฟาง ตาแฉะ ตามัวได้ดีมาก ในสมัยก่อนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย (ราก)
  6. ช่วยทำให้อาเจียน ด้วยการใช้รากหรือเปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก, เปลือก)
  7. ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาขับน้ำนม (ทั้งต้น)
  8. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ซึ่งจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าสารสกัดจากกระพังโหมสามารถแก้อาการท้องเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ใบและเถา, ทั้งต้น)
  9. ใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
  10. ใบและเถาใช้เป็นยาขับลม เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ใบและเถา) ในภาคอีสานถ้ามีอาการท้องอืด เมื่อกินยอดกระพังโหมจะช่วยขับลมได้เป็นอย่างดี (ใบ) ส่วนน้ำต้มจากรากก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมด้วยเช่นกัน (ราก)
  11. ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก (ใบและเถา)
  12. ทั้งต้นใช้ต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยถอนพิษต่าง ๆ (ทั้งต้น) หมอยาพื้นบ้านในประเทศฟิลิปปินส์จะนำใบมาต้มและนำมาตำให้แหลก แล้วนำมาโปะลงบนท้องจะช่วยแก้ปัสสาวะขัด ทำให้สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ นอกจากนี้ถ้านำใบมาต้มดื่มก็ช่วยขับนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย (ใบ)
  13. ใช้เป็นยารักษาโรคเริม โรคงูสวัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  14. รากใช้เป็นยาแก้โรคดีซ่าน (ราก)
  15. ใช้เป็นยารักษาบาดแผล (ใบและเถา, ทั้งต้น)
  16. ใช้ใบหรือทั้งต้นรวมรากแบบสดบดให้ละเอียดใช้เป็นยาทาหรือตำพอกบาดแผลที่ถูกงูกัด จะเป็นยาถอนพิษ ก่อนนำผู้ถูกงูกัดไปพบแพทย์
  17. ช่วยเหลือ แก้ปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง (ใบ, ทั้งต้น)
  18. หมอยาพื้นบ้านในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้น้ำต้มจากใบนำมาอาบเป็นยารักษาโรคไขข้อ (ใบ)
  19. นอกจากนี้ยังใช้กระพังโหมเป็นยาใช้ถอนพิษสุรายาสูบ พิษจากอาหาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-