มันสำปะหลังทำเงิน
ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่ามันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร มีราคาในอยู่ในเกณฑ์ดี และปรับสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เพราะทั่วโลกมีความต้องการแปรรูปและเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ และ เอทานอล
ปี 2563 โลกมีผลผลิตมันสำปะหลังกว่า 300 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญ 5 อันดับแรกคือ ไนจีเรีย มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 19.82 รองลงมาคือ คองโก ร้อยละ 13.55 ไทย เป็นอันดับ 3 ร้อยละ 9.58 กานา ร้อยละ 7.21 และอินโดนีเซีย ร้อยละ 6.05
ปี 2565 คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกสูงถึง 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท และปี 2566 ก็คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังที่สำคัญของไทย ยังมีความต้องการ อีกทั้งผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้มีแนวโน้มว่าต่างประเทศจะนำเข้ามันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ ทำอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยังระบุว่า ปี 2566 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10 ล้านไร่เศษ ผลผลิต 34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ทีมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 9 ล้าน 9 แสนไร่ ผลผลิต 34 ล้านตัน และราคาขายที่อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรขยายพื้นที่ปลูกจากอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างต่อเนื่อง เพราะใช้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการปลูกมันสำปะหลัง
ข้อมูลจากเครือข่ายผู้ปลูกมันสำปะหลัง และนักวิชาการด้านการเกษตร ชี้ให้เห็นว่า สาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคามันสำปะหลังปรับสูงขึ้น เพราะผลผลิตเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกหนักช่วงปลายปี 2565 และเสียหายจากโรคและศัตรูพืช ราคามันช่วงต้นปี 2566 จึงปรับสูงขึ้นทำให้เกษตรกรขายได้กำไร แต่อีกส่วนหนึ่งก็แทบไม่มีมันขาย
คาดการณ์ว่าต้นปี 2567 มีแนวโน้มที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก ราคาอาจปรับลดลง เพราะต้องดูความต้องการของตลาดต่างประเทศที่อาจเปลี่ยนแปลง หันกลับไปใช้ข้าวโพดแทนมันสำปะหลังในการผลิตอาหารสัตว์ และเอทานอล สิ่งสำคัญคือ เมื่อราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก เกษตรกรจึงต้องปรับตัว เรียนรู้การบำรุงรักษาดิน วิธีลดต้นทุนการผลิต เน้นเก็บหัวมันครบอายุ มีค่าแป้งสูง หรือปลูกมันคุณภาพ เร่งจัดการควบคุมโรคระบาด ทั้งโรคใบด่างและศัตรูพืช เช่นเพลี้ย และ ไรแดง ไม่ให้ระบาดในพื้นที่วงกว้าง ที่ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัด และทำให้ผลผลิตเสียหาย
ที่ผ่านมาไทยนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น เพื่อแปรรูปส่งออกนอกจากเป็นประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังอันดับ 3 ของโลกแล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน ไทยมีโรงงานแป้งมันสำปะหลังกว่า 1,200 โรงงาน และช่วงนี้ตามแนวชายแดนก็เริ่มมีการขนมัน จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา เพื่อแปรรูปเตรียมส่งออกอย่างต่อเนื่อง รถบรรทุกพวงของผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง ทยอยเข้ามาจอดต่อแถว เพื่อรอคิวลงแพขนานยนต์ ที่บริเวณด่านศุลกากรบึงกาฬ บ้านพันลำ ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
เป็นการตีรถเปล่าข้ามไปบรรทุกมันสับปะหลัง ตากแห้ง หรือมันเส้น จากประเทศลาว เพื่อส่งเข้าโรงงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยข้อมูลการนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรบึงกาฬ เฉพาะมันเส้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค้าการนำเข้ามันเส้น รวมกว่า 570 ล้านบาท และเพิ่มมากขึ้นชัดเจน ในเดือนมกราคมมูลค่ากว่า 225 ล้านบาท เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มเป็น 282 ล้านบาท ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ปี 2561 – 2565 ประเทศไทยนำเข้าหัวมันสำปะหลัง มันเส้น มันอัดเม็ด มันฝาน และแป้งมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากลาว และกัมพูชา ปี 2561 นำเข้ากว่า 2 ล้านตัน มูลค่ากว่า 9,500 ล้านบาท เพิ่มเป็นปริมาณ 4 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 หมื่น 9 พันล้านบาท ในปี 2565 เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอสำหรับแปรรูป เพื่อส่งออก ประกอบกับประเทศจีนมีความต้องการมันเส้นเป็นจำนวนมาก ปี 2566 คาดว่าปริมาณการนำเข้าจะใกล้เคียงกับปี 2565 โดยไทยมีโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง 1,205 แห่ง จังหวัดนครราชสีมามีมากที่สุดคือ 162 แห่ง
มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดปีแต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ( เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ) ถึง 65 เปอร์เซ็นต์และปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง ( เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ การเลือกฤดูปลูกของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ปริมาณน้ำฝน การปลูกในช่วงต้นฤดูปริมาณน้ำฝนยังไม่มากนัก จึงมีเวลาเตรียมดินแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี
- ชนิดดิน ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรีแต่ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน
- พันธุ์มันสำปะหลัง พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองถ้าเก็บเกี่ยวในฤดูฝนจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ และการขนส่งลำบากจึงนิยมปลูกปลายฤดู เพื่อการเก็บเกี่ยวและขนส่งในฤดูแล้งจะได้คุณภาพและราคาดี
การปลูกมันสำปะหลัง
การเตรียมดิน
1) ดินปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย เป็นดินไร่ในที่นาดอน หรือที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบลาดชัน ชุดดินแต่ละชุดมีสมบัติแตกต่างกัน คุณสมบัติที่สำคัญที่ใช้ในการจำแนกชนิดดิน และเพื่อกำหนดคำแนะนำเบื้องต้น ในการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช คือ ประเภทเนื้อดิน 3 แบบ คือ ดินเนื้อละเอียดดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ ประเภทเนื้อดินของดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทยคือ ดินร่วนปนทราย รองลงมาคือ ดินทราย ดินเหนียวสีแดง และดินเหนียวสีดำที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
2) ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลังควรเป็นดินเนื้อปานกลาง เช่น ดินร่วนปนทรายแปูงดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินเนื้อหยาบ ประเภทดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวที่มีการจัดการดินดีทำให้ดินมีสมบัติเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ เคมีชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชและปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ดินมีความโปร่งซุย
3) คุณสมบัติของดินที่จำกัดการเติบโตของมันสำปะหลัง ดินมันสำปะหลังในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายร่วน และดินร่วนปนทราย ดินประเภทนี้ในชั้นดินบน มีอนุภาคดินขนาดเม็ดทรายสูง และแร่ดินเหนียวต่าง ๆ มีโครงสร้างอุ้มน้ำไม่ดี และดูดยึดธาตุอาหารพืชได้น้อย เกิดการชะล้างละลายของธาตุอาหารพืชได้ง่าย อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดานใต้ผิวดิน ชั้นน้ำใต้ดินชั่วคราว และอาจเกิดแผ่นแข็งปิดผิวดิน ถ้าจัดการดินไม่ดีทำให้ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ำต่ำ เกิดการไหลบ่าของน้ำ น้ำท่วมขังบนผิวดิน และเกิดการกร่อนดิน ที่สำคัญคือ มีปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชในดินต่ำ มีผลทำให้สมบัติโดยรวมเป็นดินที่จำกัดการเติบโต และทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ ดินปลูกมันสำปะหลังในบางพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียดประเภทดินเหนียวสีแดง สีเทาดำ หรือสีดำ มีคุณสมบัติแน่นทึบ ระบายน้ำและอากาศไม่ดีและถ้าเป็น ดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะมีปัญหาขาดธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี
4) การไถ มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ส่วนของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวคือ ส่วนของหัวที่เกิดจากการขยายใหญ่ของรากดังนั้นการ เตรียมดินที่ดีโดยการไถให้ลึกและพรวนดินให้ร่วนซุย นอกจากจะช่วยทำลายวัชพืชในแปลงปลูกเดิมให้หมดสิ้นแล้ว ยังช่วยให้ดินมีการระบายน้ำได้ดีและมีผลทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกสัมผัสกับดินได้มาก ความงอกดีจำนวนต้นอยู่รอดสูง มันสำปะหลังจะสามารถลงหัวได้ดีผลผลิตที่จะได้จะสูงขึ้นด้วย
*** คำแนะนำเพิ่มเติม ใช้ดินเทพฉีดพ่นลงดินช่วงเตรียมแปลง หรือยกร่อง ก่อนปลูกหรือปักท่อนพันธุ์ลงในแปลง โดยใช้ดินเทพในอัตรา 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ จะเพิ่มความร่วนซุยในดิน แก้ปัญหาชั้นดินแน่น และนำพาอาหารจุลินทรีย์ น้ำ และอากาศ แทรกซึมลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปได้มากกว่าปกติ
การเตรียมท่อนพันธุ์
การจัดการแปลงมันสำปะหลังที่ดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่บริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์มีความสม่ำเสมอไม่มีพันธุ์อื่นปลอมปน และจะทำให้ได้ต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่แข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากศัตรูพืช สิ่งที่ควรพิจารณาในจัดการแปลงมันสำปะหลังที่ดีมีดังนี้
พันธุ์และการเตรียมท่อนพันธุ์
– พันธุ์ควรใช้ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตามคำแนะนำของทางราชการ หรือสถาบันการศึกษาที่มีการศึกษาและวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
– การคัดเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นพันธุ์ที่มาจากแปลงที่มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากการระบาดของศัตรูพืช และเป็นต้นพันธุ์ที่มีตาสมบูรณ์
– อายุต้นพันธุ์ควรใช้ต้นพันธุ์อายุ 8 เดือน ถึง 14 เดือน และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2 cm ณ กึ่งกลางลำต้น
– การเตรียมและแช่ท่อนพันธุ์ ตัดต้นพันธุ์มันสำปะหลังเป็นท่อน ยาวประมาณ 20–25 cm โดยให้แต่ละท่อนมีตาไม่น้อยกว่า 7 ตา จากนั้นนำ ท่อนพันธุ์มากำจัดเพลี้ยแป้งด้วยการแช่ในสารเคมี เช่น สารไทอะมีโทแซม 25% หรือ อิมิดาโคลพริด 70 % WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูเเรน 10 % WG อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 5 – 10 นาที
***คำแนะนำเพิ่มเติม ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์ประมาณ 3 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มการงอกของรากและการแตกรากใหม่สม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงให้ระบบรากมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมให้แตกใบได้เร็วขึ้น
การปลูกและการดูแลรักษา
การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ควรให้ระยะปลูกอยู่ที่ประมาณ 80×100 เซนติเมตร ปลูกได้ตั้งแต่ช่วงต้นฝนถึงปลายฝน หรือในขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ง่ายเพียงมีความชื้นเล็กน้อย
การดูแลรักษา มีข้อปฏิบัติดังนี้
1) มันสำปะหลังอายุ 14 วันหรือเริ่มแตกใบอ่อน เริ่มฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ
2) มันสำปะหลังอายุ 1 เดือน ฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ
3) เริ่มดายหญ้าเมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ด้วยเคียวเกี่ยวหญ้า แล้วนำหญ้าวัชพืชต่าง ๆ มาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หรือใช้รถไถเล็กพรวนดินกำจัดหญ้าตามร่องมันสำปะหลัง
4) ตัดแต่งกิ่งมันสำปะหลังเมื่อมันอายุ 2 เดือน โดยให้เหลือกิ่งไว้ 2 กิ่งหันไปทางทิศเหนือ – ใต้ลักษณะคล้ายตัว V เพื่อให้ได้รับแสงแดดเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
5) ช่วงมันอายุ 3-5 เดือน ฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ เพื่อเร่งขยายหัวมัน สร้างแป้ง ให้มีความสมบูรณ์ สังเกตมันเริ่มขยายหัวช่วงอายุ 5 เดือน จะมีรอยแยกของดินและจะเริ่มมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยสารไดยูรอน หลังจากการปลูกทันทีไม่ควรเกิน 2 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ การใช้สารคุมวัชพืชให้ใช้ตามอัตราส่วนในฉลากแนะนำให้ถูกต้อง
การใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก. / ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังจะมีรากแขนง และรากฝอยมากที่สุดหลังจากอายุ 45 วันเป็นต้นไป ระยะนี้รากจะดูดซึมธาตุอาหารในดินขึ้นไปสะสมไว้ในราก และลำต้น มันสำปะหลังจะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เกิดเป็นแป้งมาสะสมในราก ทำให้รากแขนงขยายขนาดกลายเป็นหัว กำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืชครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยสารกลูโฟซิเนต ( ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตา และลำต้นมัน )
การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไปเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำ ปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคาในขณะนั้น และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลงสู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์, ข่าวเศรษฐกิจ ไทยพีบีเอส 22 มี.ค. 66
: มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
คำแนะนำการใช้กับมันสำปะหลัง
การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก ใช้ดินเทพ 50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะแตกใบอ่อน ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะพัฒนาทรงพุ่ม ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะพัฒนาราก-สะสมอาหาร ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะขยายหัว-สร้างแป้ง ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง ช่วยให้พืชทนทานต่อโรคได้ดีขึ้น ส่งเสริมการสังเคราะห์แสงที่เข้มข้นทำให้ใบเขียวเข้ม ช่วยให้พืชทนต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้นได้ดี เช่นในช่วงเวลาอากาศเย็นหรือหนาวจัด สภาวะแล้งขาดน้ำ ฝนตกชุกฟ้าปิด และน้ำท่วม
ไร่เทพอาหารเสริมพืช ประกอบไปด้วยสารฮิวมิค สาหร่ายทะเล สารฟูลวิค กรดอมิโนจากสัตว์ทะเล และสารวิตามินต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยฟื้นฟูระบบรากที่เสียหาย กระตุ้นการแตกรากใหม่ เพิ่มปริมาณรากฝอย และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ รากพืชแข็งแรงดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น และช่วยลำเลียงสารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ต่าง ๆ จากราก และใบพืชไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว
.
ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-