Tag Archives: สวนผลไม้

จ่ายแพงไปทำไม??

ของใช้ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป อยากให้เกษตรกรได้ใช้ของดีที่มีราคาไม่แพง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ที่เมื่อวิเคราะห์ราคากับปริมาณที่ใช้ จะเห็นได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม เพราะราคาที่จ่ายไปกับผลลัพธ์ที่ได้กลับมารับประกันได้เลย การันตีด้วยยอดลูกค้าที่อยู่กับเรายาวนานกว่า 10 ปี

หากท่านกำลังเจอปัญหาพืชเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง พืชขาดธาตุอาหาร ดินเสีย ดินเค็ม ดินแข็ง ไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก รวมถึงปัญหาที่ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรเหล่านี้จะหมดไป หากเกษตรกรหันมาให้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ไร่เทพ อาหารเสริมพืช จะช่วยให้พืชโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ลูกดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง น้ำหนักดี มีคุณภาพดี

โล่เขียว จะช่วยให้พืชเขียวทน เขียวนาน ต้านทานโรคและแมลง และช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ดินเทพ เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ไร้สารตกค้าง ช่วยให้ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก และยังสามารถใช้แทนสารจับใบได้ ช่วยให้สารแผ่กระจายทั่วใบและพืชนำไปใช้ได้เลย

 

ราคาไม่แพง .. หากต้องการผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ไร่เทพ 1 ซอง ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

โล่เขียว 1 ขวด (1000ml.) ฉีดพ่นได้ 15 ไร่

ดินเทพ 1 ขวด (500ml.) ฉีดพ่นได้ 12 ไร่

 

เจ้าของสวนชื่นใจ “อินทผลัม” 1 ต้น 12 จั่น ลูกดก รสชาติดี ขายได้กำไร

อินทผลัม เป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง และเกษตรกรกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีการปลูกมากขึ้น เนื่องจากปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ในระยะยาว ให้ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญเป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง

อินทผลัม มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความเมื่อยล้า ช่วยดับความหนาวเย็น ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน จึงช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองด้วย

วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกอินทผลัม นั่นคือ คุณนุช หรือคุณวรนุช พันธุ์ศิริ เป็นชาวตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเจ้าของสวนอินทผลัม 3 เจ ฟาร์ม เป็นเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถปลูกอินทผลัมได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เพราะใส่ใจในทุกๆขั้นตอนการผลิต เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน โดยมีการวัดค่า pH ของดิน และใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดินให้ดินที่สมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพราะปลูก (ใช้ร่วมกับปุ๋ยมูลสัตว์) จากนั้นบำรุงธาตุอาหารให้กับพืชตรงจุดตามความต้องการของพืชด้วยไร่เทพและโล่เขียว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกอินทผลัมให้ได้ผลผลิตที่สูง เจ้าของสวนชื่นใจ

การเตรียมดินใช้ดินเทพ อัตราส่วน ดินเทพ 40 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร รดที่โคนต้น (ใช้ร่วมกับมูลสัตว์)

การบำรุงด้วยไร่เทพและโล่เขียว อัตราส่วน
ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร

ไร่เทพปันน้ำใจเยี่ยมสวนลุงปรางค์

ไร่เทพปันน้ำใจเยี่ยมสวนลุงปรางค์ไร่เทพปันน้ำใจ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 💚

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริชเชอร์ จำกัด
ได้เข้าเยี่ยม ครอบครัวลุงปรางค์ ป้าตุ๊ ซึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ไร่เทพกับสวนผลไม้ลำไย และพุทรา ปัจจุบัน ลุงปรางค์ป่วย
ทางบริษัทจึงได้มอบรถเข็นผู้ป่วยเพื่อให้ทางครอบครัวลุงปรางค์ได้ใช้ดำรงชีวิตประจำวันได้สะดวก เพราะทางครอบครัวคุณลุงเป็นลูกค้าคนสำคัญของเรามาอย่างยาวนาน
ทั้งนี้บริษัทได้มอบรถเข็นจำนวน 1 คัน เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 เพื่อให้ทางครอบครัวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วงขากลับได้ไปชมสวนของคุณลุงและป้า
ทางบริษัทขอขอบพระคุณลูกค้า ที่ยังคงใช้บริการและนึกถึงบริษัท ทางเราขอแสดงความห่วงใย และยินดีอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือทางครัวครอบลูกค้า
ทางคณะผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ขอแสดงความห่วงใยครอบครัวลุงปรางค์ ป้าตุ๊ ทางเราขอลูกค้ามีสุขภาพที่ดี และแข็งแรง โดยเร็ววัน นะครับ

วิธีปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตงที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย  ซึ่งมีสภาพความเป็นกรด – เป็นด่าง ประมาณ  5.0 – 7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี   แตงโมเป็นพืชที่เกษตรกรให้ความนิยมปลูก เนื่องจากใช้เวลาปลูกสั้นเพียง 60-65 วัน และพันธุ์หนัก 70-85 วัน ปลูกหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี จึงสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกแตงโมทั่วประเทศมีประมาณ 54,677 ไร่ สามารถสร้างผลผลิตมากถึง 145,000 ตัน

ฤดูปลูก : เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝน เพราะว่าในช่วงดังกล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุก จะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัด เหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดูแล้งหรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

พันธุ์แตงโมที่นิยมปลูก : ในปัจจุบันมีเกษตรกรนิยมปลูกแตงโมพันธุ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           -แตงโมพันธุ์จินตหรา  มีลักษณะผิวลายสีขาว ผลโต เนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์กินรี  มีลักษณะลายสีดำ แถบดำ ผลโตเนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลทรงกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ตอปิโด ลักษณะเปลือกเป็นสีเขียวเข้มมีลายเส้นสีดำ เนื้อสีแดงลำต้นแข็งแรง ติดผลง่ายผล ทรงยาวรี  น้ำหนักผล 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ซอนญ่า สีเขียวอ่อนสลับแถบสีเขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ทรงกลมรี เนื้อสีแดงสวย กรอบ ติดผลดี

การเตรียมดิน : แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดนํ้าได้เป็นอย่างดี ในระยะที่ต้นแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทําให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดิน ซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยทําให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็นประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจําเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดินหรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า

ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า  “ มีเดีย , พีทมอส ”  แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูง มีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสม ดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว  ** สําหรับผู้ที่เพาะเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่าถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติฉะนั้นเพื่อ ขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่น ๆ ในบ้านจะช่วยทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ

การย้ายกล้าแตงโมลงแปลงปลูก

หลังจากนำเมล็ดพันธุ์ลงถาดหลุมได้สัก 10-15 วัน ก็จะสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ โดยสังเกตจากต้นกล้าที่พร้อมจะต้องแตกยอดและออกใบจริงอย่างน้อย 2 ใบ โดยก่อนการขนย้ายถาดหลุมต้นกล้าแตงโมไปปลูกในแปลง ควรมีการงดการรดน้ำเสียก่อน ให้วัสดุปลูกแข็งเป็นก้อนเล็กน้อยเพื่อให้สะดวกตอนขนย้าย และง่ายต่อการดึงต้นกล้าออกจากถาดหลุมได้โดยง่ายถ้าเรารดน้ำให้กล้าแตงโมก่อนการย้ายปลูก เมื่อถอดออกจากหลุมจะทำให้ดินวัสดุปลูกแตกออกจากรากแตงโม ยกตัวอย่างว่า จะย้ายกล้าแตงโมปลูกในช่วงเย็นควรงดน้ำในช่วงบ่าย รดแค่ตอนเช้าครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตวัสดุปลูกของเกษตรกรอีกทีว่าควรจะงดน้ำช่วงเวลาใด โดยมีวิธีการปลูก เราก็ย้ายลงแปลงปลูกโดยให้ระยะระหว่างต้น 50-70 เซนติเมตร (ระยะขึ้นอยู่กับฤดูปลูก และวิธีการเด็ดยอด) โดยก่อนปลูกต้องขึ้นน้ำในร่องให้ชุ่มเสียก่อน วิธีการปลูกใช้ไม้กระทุ้งหลุมให้ลึก ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ให้รองก้นหลุมด้วยสาร ไดโนทีฟูแรน (dinotefuran) 20% SG หลุมละ 1 กรัม เพื่อป้องกันแมลงทำลายของแมลงกินใบและแมลงปากดูดต่าง ๆ ในช่วงแรกของการปลูกแตงโม ปลูกแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อเพิ่มอัตราการรอดของกล้าแตงโม ( การรดน้ำตามคือใช้สายยางหรือบัวรดน้ำตามคนปลูกเลยทันที เพื่อลดความร้อนของดินปลูก ทำให้ดินเกาะกระชับรากแตงโมได้ดี )

การดูแลรักษา :

เมื่อย้ายกล้าลงแปลงแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3-4 เมตร แล้วปลูกหลุมละ 3 ต้น รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

การให้ปุ๋ยแตงโม : ควรใส่ปุ๋ยคอกการใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสําคัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทําให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทําให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยทําให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุล เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 2-4 ตัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมาก หรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ ต่อรอบฤดูปลูก  วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมีลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยละลายนํ้าลงไปสู่รากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้เป็นวิธีที่จะทําให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโพแทสเซียมจากปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโมมากพอสมควรทีเดียว ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีจึงควรใส่ไว้ใต้ดินเป็นกลุ่ม ๆ เช่นใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่มแตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่  ปุ๋ยที่ใส่เสริมหลังปลูก ต้องคํานึงถึงอยู่เสมอว่ารากแตงโมส่วนใหญ่ เดินตามแนวนอนขนานกับผิวดินและเถาของแตงโม ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ยเข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ยอยู่ในรูปที่ค่อย ๆ ละลายนํ้าเพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน หลังย้ายปลูก) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ (ใส่ทางดินรองพื้นก้นหลุม) และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 1 กิโลกรัม  ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-9-20 อัตรา 4 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ผ่านระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะติดดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16  อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะขยายผล สร้างเนื้อ เข้าสี (อายุ 35-55 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-24 อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด ให้ปุ๋ยวันเว้นวัน ต่อเนื่อง 11 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน ช่วยบำรุงขยายผล สร้างเนื้อ เพิ่มน้ำหนัก ให้แตงโมลูกใหญ่ และเพิ่มรสชาติความหวานอร่อย

การให้นํ้าและการดูแลรักษาแปลง

 ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกําลังเจริญเติบโตเป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการนํ้ามาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลง ควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึกซึ่งจะทําให้ดินขาดอากาศออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใดรากแตงโมจะได้รับนํ้า และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จํากัดไปด้วย ดินที่ขาดนํ้าแล้วแห้งแข็งทําให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโม จะไม่ขาดอากาศแม้ว่าจะขาดนํ้าก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมาก ๆ ได้เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึกเท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้เพราะเนื้อดินทั้งเหนียว และแน่นอุ้มนํ้าไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายนํ้าออกจากผิวดินได้ไวมากและดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทรายหรือดินร่วนทราย จึงทําให้ต้องให้นํ้ากับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่าคือต้องให้นํ้าอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดนํ้าทุกวันๆ ละ ครั้ง

การคลุมแปลงด้วยฟาง หรือใช้พลาสติก

เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟาง การคลุมดินด้วยฟางจะมีผล ดังนี้คือ  

1) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทําให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน

2) ทําให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน

3) ป้องกันไม่ให้หน้าดินร้อนจัดเกินไป

4) เป็นการรองผลทําให้สีของผลสมํ่าเสมอ

5) ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทําให้ใบแตงโมสังเคราะห์แสงปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมดภายในเวลา 2-3 สัปดาห์เท่านั้น

การจัดเถาแตงโม

: ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับ กัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทําให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึง เพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเหล่านั้นออกให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ(การต่อดอก)

ผู้ปลูกแตงโมมักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผลเนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทําให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ถูกสารฆ่าแมลง ตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้ง แต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแล้วดอกตัวเมีย จะหุบและไม่ยอมรับการ ผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทําได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณูซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงควํ่าดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บน เกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า “การต่อดอก”

การปลิดผลทิ้ง

: แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วยควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผลให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่ และรูปทรงผลได้รูปสมํ่าเสมอทั้งผลไว้ซึ่งจะทําให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงเพราะ ขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้ว ผลเล็กก็จะเล็ก

การดูแลแตงโมภายหลังผสมติดเป็นผลแล้ว

: ดอกตัวเมียของแตงโมที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมํ่าเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน   เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับกะลามะพร้าว ควรเอาฟางรองใต้ผลเพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง และกลับด้านที่ไม่โดนแสงขึ้น เพื่อให้ผลแตงมีสีสมํ่าเสมอทั่วทั้งผล จะทําให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

การเก็บผลแตงโม

แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือ พริกซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับผลมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยังจึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย คือ

1) คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิ ของอากาศ

1.1 แตงโมพันธุ์เบา จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน  

1.2 แตงโมพันธุ์หนัก จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอก บานประมาณ 42-45 วัน

2) คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่

2.1 มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน

2.2 วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียง ผสมกันระหว่างเสียงกังวานและเสียงทึบแตงจะแก่พอดี (แก่75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียง กังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาว บ้านเรียกว่า “ไส้ล่ม” (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย) ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผล ตอนเช้าเพราะจะทําให้ผลแตงแตกได้

2.3 สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่พร้อมที่จะเก็บผลผลิตได้แล้ว

โรคพืชที่สําคัญในแตงโม 1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม Fusarium spp.)

แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับดิน จะแตกตามยาวและมีนํ้าเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าดูภายในจะเห็นไส้กลางเป็นสีนํ้าตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก และการปลูกซํ้าที่เดิมโรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก สาเหตุที่เกิดโรคนี้มาจาก

  1. เชื้อรานี้เจริญและทําลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส
  2. ขณะแตงกําลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) อยู่ตํ่า

4.ดินเป็นกรดจัด

การป้องกัน 1) ไม่ปลูกแตงโมซํ้าในที่แปลงเดิม และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทนเอ็ม-45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนําไปปลูก    

2) ใช้ปูนขาวโรยลงไปในดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 100 กิโลกรัม

3) ใช้สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทน ตามอัตราแนะนำของผู้ผลิต ฉีดพ่นที่ต้นพืชจะช่วยทําให้เชื้อโรคชะงักลง   

4) สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบีเช่น เทอราคลอร์ในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุมแตงโมที่เกิดโรค และบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน

  1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial wilt) ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้น สาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งนํ้าเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลําต้นในเถาฉํ่านํ้ามากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตง ต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบ ของแมลงเต่าแตงนี้เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อนํ้าและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้โดยฉีด สารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล85%) ป้องกันแมลงเต่าแตง และใช้ยาปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จําหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้สารเคมีนี้ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อเสียคือเสื่อมคุณภาพเร็ว จึงต้องซื้อแต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปีขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
  2. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) ลักษณะที่มองเห็นได้คือเกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบและขยายตัวใหญ่ขึ้น จํานวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตําแหน่งเดียวกันจะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทา เกาะกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทําลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยคุณภาพผลแก่ก็ตํ่าด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดีคือ ไดเมโทมอร์ฟ, แคปเทน, ไซเน็บ, มาแน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร (1 ปิ๊บ)หรือตามอัตราที่ผู้ผลิตแนะนำข้างฉลาก

แมลงศัตรูพืชที่สําคัญในแตงโม

  1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดํามีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดนํ้าเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทําให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้น ชาวบ้านเรียก โรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กละเอียด คล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้งความชื้นในอากาศตํ่าลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทําลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกันเช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทําลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยาเพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกันและกําจัดใช้สารเคมีหลาย ชนิด เช่น ฟิโพรนิล ไรเนต เมซูโรล หรืออิมิดาโคลพริด และอาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทําลายจะต้านทานได้และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  2. เต่าแตง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อน ต้นแตงโมหรือพืชพวกฟัก แฟง แตงกวาอื่น ๆ มักจะไม่ทําความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนําเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเราจึงต้องป้องกันกําจัดโดยฉีดพ่น ด้วยสารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล 85%) ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อน สัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อนแล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทําให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน
  3. แมลงวันแตง เข้าทําลายตั้งแต่ระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยว ใช้พอสซ์ (carbosulfan20% W/V EC) หรือ อโซดริน ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันกำจัด

ข้อมูลอ้างอิง : การปลูกแตงโม (เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, เกตุอร ราชบุตร) เอกสารเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงโม

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน)     :     โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร    ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100-150 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ    100  ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผล สร้างเนื้อ (อายุ 35-55 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

การดูแลไม้ผลหลังเก็บเกี่ยว

การเตรียมสภาพต้น ให้พร้อมสำหรับการออกดอก


ประเด็นสำคัญประการหนึ่งในการจัดการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ ได้แก่การชักนำให้ออกดอกในเวลาและปริมาณที่ต้องการ และการที่จะสามารถควบคุมกระบวนการออกดอกของทุเรียนได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการออกดอก เพื่อให้สามารถกำหนดเป็นวิธีการจัดการที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละช่วงของการพัฒนาการของพืช ในสภาพการปลูกทุเรียนโดยทั่วไปจะพบว่า สภาพของต้นที่ได้รับการ บำรุงรักษาเป็นอย่างดี มีใบสมบูรณ์ในปริมาณหนาแน่นพอสมควรจะออกดอกได้มาก และสม่ำเสมอกว่าต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย และยังพบอีกว่าก่อนที่ทุเรียนจะออกดอกนั้น จะต้องมีการพักตัวในช่วงแล้งมาระยะหนึ่ง เมื่อมีการจัดการน้ำที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ออกดอกได้ โดยต้นที่มีความสมบูรณ์มากกว่า ก็จะตอบสนองต่อการจัดการน้ำได้ดีกว่าด้วย ดังนั้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก ของทุเรียนที่สำคัญ ได้แก่


1. ความสมบูรณ์ต้น หมายถึงต้นต้องมีใบสมบูรณ์ ปริมาณหนาแน่นพอควร สีเขียวสดใส เป็นมัน เป็นใบแก่ทั้งต้น ไม่มีการเข้าทำลายของโรคและแมลง หรือมีน้อยใบแก่ที่สมบูรณ์เหล่านี้จะเป็นแหล่งสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารที่สำคัญ ของทุเรียน นอกเหนือจากลำต้นและราก สำหรับใช้ในกระบวนการออกดอก การพัฒนาการของดอก ผล และใบอ่อน ต่อไป โดยปกติแล้วต้นทุเรียนจะมีการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง การแตกใบอ่อนชุดที่สอง จะมีปริมาณใบมากกว่าชุดแรกประมาณ 10 – 15 % และใบอ่อน จะใช้เวลาประมาณ 35–45 วัน ในการพัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ จะสังเกตพบว่าต้นที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าสู่ กระบวนการออกดอกหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 พัฒนาเป็นใบแก่ได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่รากมีการพัฒนาสูงสุด และมีความสมบูรณ์เต็มที่
2. สภาวะเครียดเนื่องจากขาดน้ำ ต้นทุเรียนต้องการช่วงแล้งที่ต่อเนื่องกันนานประมาณ 15 – 30 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ ต้นเกิดความเครียด เนื่องจากการขาดน้ำ และกระตุ้นให้เกิด การสังเคราะห์สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชทำให้สัดส่วนของสารควบคุมฯภายใน พืชเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในระดับ ที่พอเหมาะต่อกระบวนการออกดอก
ดังนั้นจึงพอจะสรุปคำแนะนำการปฏิบัติในระยะเตรียมสภาพต้นให้พร้อมเพื่อการออกดอกในแต่ละชนิดพืชได้ ดังนี้คือ1. ตัดแต่งกิ่งทันทีภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
2. ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 อัตรา 250-300 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3- 5 กิโลกรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร
3. ดึงใบอ่อนชุดที่ 1 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 27-5-5 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน จะช่วยให้ทุเรียนออก ใบอ่อนพร้อมกันและเร็วขึ้น
4. ป้องกันและรักษาใบอ่อนชุดที่ 1 ไม่ให้แมลงและโรคเข้าทำลายด้วยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
5. ดึงใบอ่อนชุดที่ 2 และ 3 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 27-5-5 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) และรักษาใบอ่อนชุดที่ 2 และ3 ให้สมบูรณ์ไม่ให้มีโรคและแมลงเข้าทำลาย
6. ในระยะใบเพสลาดของใบชุดที่ 3 หรือก่อนออกดอก 30-45 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 14-7-28 อัตรา 200 – 250 กรัม เพื่อหยุดการพัฒนาการของตาใบ และให้ใบสะสมอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม ที่ไม่ถูกแสงแดดออก
7 เมื่อใบทุเรียนแก่จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็ว สังเกตอาการของใบ เมื่อใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะหนาเป็นมัน ปลายยอดตั้งชันขึ้น หยุดการให้น้ำเพื่อให้ต้นทุเรียนผ่านสภาพแล้ง แต่ต้องหมั่นสังเกตลักษณะของใบและสภาพภูมิอากาศ ถ้าอากาศแห้งแล้งและร้อนจัดมาก ใบเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ควรให้น้ำได้บ้างในปริมาณน้อย
9. เมื่ออากาศเย็นและผ่านช่วงแล้งต่อเนื่องกันนาน 10-15 วันต้นทุเรียนจะออกดอกได้มากและเป็นรุ่นเดียวกันแต่ถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เหมาะสม ทุเรียนจะออกดอกน้อยและมีดอกหลายรุ่นในต้นเดียวกันทำให้ยุ่งยากในการจัดการ

 

การดูแลรักษาระยะดอก


1. หลังจากดอกทุเรียนเข้าสู่ระยะเหยียดตีนหนู ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นทีละน้อย ถ้าให้น้ำมากจนเกินไป กลุ่มตาดอกอาจจะกลายเป็นกิ่งแขนงได้
2. ระยะกระดุมมะเขือพวงจนถึงดอกบาน ควรฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลง (เพลี้ยไฟ หนอน เจาะดอก) อย่างน้อย 2 ครั้ง
3. ก่อนดอกบาน 4-7 วัน ควรลดปริมาณการให้น้ำเพื่อทำให้เกสรดอกตัวเมียมีความเหนียว เตรียมพร้อมรับการผสมให้มากขึ้น และยังช่วยให้ดอกทุเรียนไม่บานจนเกินไป
การใส่ปุ๋ย – ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 1.5 กิโลกรัม / ต้น
– ปริมาณการให้น้ำ ระยะเหยียดตีนหนู 100 ลิตร / ต้น / วัน
– ระยะกระดุมมะเขือพวง 150 ลิตร / ต้น / วัน
– ระยะหัวกำไล 100 ลิตร / ต้น / วัน
ระยะเหยียดตีนหนู – ระยะหัวกำไล ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-52-7 อัตรา 200 กรัม + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
6. ระยะดอกบาน แนวทางการปฏิบัติ
– ช่วยผสมเกสรด้วยวิธีการปัดดอก ในช่วงเวลา 19.00-21.00 น.
– จดบันทึกวันดอกบาน เพื่อมากำหนดปฏิทินในการดูแลทุเรียนในแต่ละระยะและวางแผนในการเก็บเกี่ยว
***ห้ามฉีดพ่นสารเคมี/สารชีวภัณฑ์ทุกชนิด***
7. ระยะ 10 วันหลังดอกบาน ระยะนี้ทุเรียนจะเริ่มเข้าสู่ระยะการติดผล
– ควรฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลง (เพลี้ยไฟ) เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทุเรียนหนามจีบ
– ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการให้น้ำ ไม่ควรให้น้ำมากจนเกินไปจะทำให้ผลทุเรียนร่วงได้
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1.0 กิโลกรัม / ต้น
การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 100 ลิตร / ต้น / วัน การพ่นอาหารเสริม/ป้องกันโรคและแมลง (อัตรา / น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด 10-52-7 อัตรา 200 กรัม+ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
8. ระยะ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะไข่ไก่)
ระยะนี้ทุเรียนกำลังเข้าสู่การพัฒนาเปลือกและเมล็ดควรมีแนวทางดังนี้ ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมออก (คงเหลือไว้ 2-3 เท่าของจำนวนที่ต้องการไว้ผล)
ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) การใส่ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-11-18 หรือ 12-12-24 และ 15-15-15 อัตรา 1.5+0.5 กิโลกรัม / ต้นการให้น้ำปริมาณการให้น้ำ 200 ลิตร / ต้น / วัน
9. ระยะ 5-8 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะกระป๋องนม)
ระยะนี้ทุเรียนสร้างเมล็ดเสร็จสมบูรณ์และกำลังพัฒนาเนื้ออย่างรวดเร็วควรมีแนวทางดังนี้ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม (เหลือไว้ตามจำนวนที่ต้องการไว้ผล) ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) ควรโยงกิ่งให้มีความมั่นคง แข็งแรงสามารถรับน้ำหนักผลผลิตต่อกิ่งได้ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-11-18 อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม/ต้น การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 250 ลิตร / ต้น / วัน
การตัดแต่งผล ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ก้นจีบ เก็บผลที่มีลักษณะหนามสวย ขั้วผลใหญ่ ผลเดี่ยว ควรให้มีระยะระหว่างผล 30-50 เซนติเมตร ผลกลุ่มๆละ 2-4 ผล ห่างกันกลุ่มละ 1-2 เมตร ควรปลิดผลทุเรียนรุ่นที่มีผลผลิตน้อยกว่าออกการพ่นอาหารเสริม / ป้องกันโรคและแมลง (อัตรา / น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำตาลทางด่วน อัตรา 200 มิลลิลิตร ปุ๋ยเกล็ด 12-27-23 อัตรา 500 กรัม+ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
**ฉีดพ่นเดือนละ 2 ครั้งจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20-30 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม**
10. ระยะ 8-10 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะขยายพู)
ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม (เหลือไว้ตามจำนวนที่ต้องการไว้ผล) ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) ควรโยงกิ่งให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักผลผลิตต่อกิ่งได้ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-3-36 หรือ 15-15-15 อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม/ต้น การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 300 ลิตร / ต้น / วัน
ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ก้นจีบ เก็บผลที่มีลักษณะหนามเขียวสวยขั้วผลใหญ่ ** ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด 12-27-23 อัตรา 500 กรัม + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) ฉีดพ่นเดือนละ 2 ครั้งจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20-30 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มของต้นทุเรียน **
11. ระยะ 10-12 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะเริ่มสุกแก่)
แนวทางการปฏิบัติการเก็บเกี่ยว
** ควรงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3-4 วัน ** ควรตัดทุเรียนที่มีความแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์หรือวัดแป้งได้ 32 เปอร์เซ็นต์ ก่อนเก็บเกี่ยวทุเรียน 3-4 วันต้องตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ความแก่ของทุเรียน ขณะเก็บเกี่ยว ห้ามวางทุเรียนกับพื้นดินโดยเด็ดขาด การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 150 ลิตร / ต้น / วัน
**ห้ามฉีดพ่นสารเคมี / สารชีวภัณฑ์ทุกชนิด**
ปัญหาการติดผลน้อยของทุเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียนพันธุ์ชะนี เป็นปัญหาที่สำคัญ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรจากทุเรียนต่างพันธุ์ จึงเป็นการช่วยทำให้กระบวนการถ่ายละอองเกสรประสบความสำเร็จ และนำไปสู่การปฏิสนธิ ปริมาณการติดผลจึงเพิ่มขึ้น ผลทุเรียนที่เกิดจากการช่วยผสมเกสร จะมีการเจริญเติบโตเร็ว รูปทรงดี พูเต็ม คุณภาพเนื้อดี สีเนื้อ และรสชาติไม่แตกต่างจากพันธุ์แม่ ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ต่อผลเพิ่มขึ้น โดยทำการฉีดพ่นด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อช่วยในการผสมเกสร แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องใช้เวลาและแรงงานในการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นเกษตรกรรายใหญ่จะ นิยมช่วยการผสมเกสรมากว่าเกษตรกรรายย่อย ในกรณีเกษตรกรที่มีพื้นที่ในการปลูกทุเรียนตั้งแต่ 3-15 ไร่ ก็อาจจะใช้วิธีการช่วยผสมเกสรได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนในระหว่างพัฒนาการของผลอ่อนเป็นสิ่งจำเป็นเพราะหากมีการ แตกใบอ่อนในช่วงนี้ ผลอ่อนจะไม่สามารถแข่งขันเพื่อแย่งอาหารสะสมกับใบอ่อนได้ ผลอ่อนที่กำลังพัฒนา ก็จะหยุดชะงัก และเกิดผลกระทบในด้านคุณภาพของผล โดยมีการจัดการ ดังนี้
การชะลอการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารเมพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5 พีพีเอ็ม ให้ทั่วต้น การปลิดใบอ่อน ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตา เริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา ให้ยับยั้งด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท สูตร 13-0-45 อัตรา 150-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ายังพบว่ายอดทุเรียนยังพัฒนาต่อ ควรฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 1-2 สัปดาห์การช่วยผสมเกสรการควบคุมไม่ให้แตกใบอ่อนการลดความเสียหาย ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ (อาหารเสริม) เพื่อช่วยให้ผลทุเรียนมีการพัฒนาที่สมบูรณ์ขึ้นด้วยการพ่นด้วยปุ๋ยน้ำตาลทางด่วน

การใช้ไร่เทพและดินเทพกับทุเรียน
– ระยะดึงใบอ่อน ชุดที่1-3 ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะใบเพสลาด ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเริ่มดอก-ก่อนดอกบาน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะผลอ่อน – ไข่ไก่ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** กรณีใช้ดินเทพช่วงฟื้นฟูระบบราก ใช้ดินเทพอัตรา 160 – 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร รดรอบโคนต้น ๆ ละ 3-5 ลิตร ช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
การใช้โล่เขียวกับทุเรียน
– ระยะดึงใบอ่อน ชุดที่1-3 ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะใบเพสลาด ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะเริ่มดอก–ก่อนดอกบาน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะผลอ่อน – ไข่ไก่ ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะขยายพู-สร้างเนื้อ-เข้าสี ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม , สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

ลำไยและลิ้นจี่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต  

ลำไยในฤดูผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี และลิ้นจี่ในฤดูผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี  ปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรที่มีผลผลิตลำไยและลิ้นจี่ในสวนและคุณภาพดี ราคาลำไยรูดผลขาย หรือคัดขนาดบรรจุตะกร้าราคาดีมาก  เป็นธรรมดาของสินค้าโดยทั่วไป  สินค้ามีน้อยความต้องการมีมากราคาก็แพง  แต่ผลผลิตทางด้านการเกษตรจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการปฏิบัติดูแลเอาใจใส  อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ถึงจะได้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ  หลังจากเกษตรกรชาวสวนลำไยและลิ้นจี่เก็บผลผลิตขายได้เงินแล้ว  ก็ควรที่จะแบ่งให้ต้นลำไยและลิ้นจี่บ้าง  และควรจะเริ่มต้นในการบริหารจัดการสวนลำไยและลิ้นจี่ของท่านได้แล้ว  ถ้าหากท่านเริ่มต้นเร็วและถูกต้องเหมาะสมลำไย และลิ้นจี่ของท่านก็จะให้ผลผลิตกับท่านอย่างเป็นกอบเป็นกำสิ่งแรกที่ต้องทำคือ  การตัดแต่งกิ่ง

 

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง

  1. เร่งให้ลำไยและลิ้นจี่แตกใบอ่อน การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อนมีผลทำให้ต้นลำไยและลิ้นจี่ฟื้นตัวได้เร็ว และใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป
  2. ควบคุมความสูงของทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และสะดวกต่อการดูแลรักษา เช่น การพ่นปุ๋ยทางใบหรือสารป้องกันการกำจัดศัตรูพืช ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องไม้ค้ำยันกิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
  3. ลดการระบาดของโรคและแมลง ต้นลำไยและลิ้นจี่ที่มีทรงพุ่มทึบมักเป็นแหล่งอาศัยของแมลง นอกจากนี้ทรงพุ่มทึบจะมีความชื้นสูงและก่อให้เกิดโรค เช่น โรคราดำ โรคจุดสาหร่ายสนิม และไลเคนส์ เป็นต้น การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดสามารถส่องทะลุเข้าไปในทรงพุ่ม จะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง
  4. ต้นลำไยตอบสนองต่อสารคลอเรต ต้นลำไยที่มีอายุมากเมื่อให้สารโพแทสเซียมคลอเรต มักจะออกดอกน้อยหรือออกดอกไม่สม่ำเสมอ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยให้ต้นลำไย ตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี ทำให้ออกดอกมากขึ้น และจะทำให้ใช้ปริมาณสารคลอเรตลดลง
  5. ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นลำไยและลิ้นจี่ที่มีทรงพุ่มทึบ ถ้าหากออกดอกติดผลดกส่งผลให้มีผลขนาดเล็ก ผลผลิตคุณภาพต่ำ การตัดแต่งกิ่งออกบางส่วนจะช่วยลดพื้นที่ออกดอกติดผลลงบ้าง ทำให้ขนาดผลใหญ่ขึ้น และคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้น

การดูแลระยะใบแก่ 

ควรมีการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยตัดเฉพาะกิ่งแตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งน้ำค้าง  การใส่ปุ๋ยในระยะใบแก่จัด ควรใส่ปุ๋ยเคมีตัวกลางและตัวท้ายสูง  เช่นสูตร  9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น  เพื่อบำรุงต้นเพื่อให้มีการสะสมอาหาร และสร้างตาดอกต่อไป ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)  จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้นและช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน หากมีฝนตกในช่วงนี้

การให้น้ำ  หลังจากหมดฝนแล้วงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ถ้ามีการระบาดของโรคพุ่มไม้กวาดให้ทำการตัดทิ้ง และพ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลงตามการระบาดของโรคแมลง เช่น หนอนเจาะกิ่ง หนอนคืบกินใบ เช่น คาร์บาริล โมโนโครโตฟอส และโรคราน้ำค้าง  เช่น  แมนโคเซบ

 

 

 *** เพิ่มเติมสำหรับการทำลิ้นจี่ออกดอกได้ดีขึ้น  เลือกทำที่กิ่งลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว จากนั้นนำเลื่อยมาเลื่อยเฉพาะเปลือกระวังห้ามโดนเนื้อไม้ การเลื่อยควรให้เป็นแนวเส้นเดียวให้ตรงกัน จากนั้นนำลวด 1เส้นมารัดกิ่งบริเวณที่เลื่อยไว้ให้แน่น โดยเกษตรกรต้องทำทุกกิ่ง ยกเว้นกิ่งที่อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้ทำหน้าที่หาอาหาร เลี้ยงลำต้น ปล่อยทิ้งไว้ 30วัน แล้วจึงนำลวดที่รัดไว้ออก วิธีนี้ให้เริ่มทำตั้งแต่เดือน ตุลาคม เป็นต้นไป สามารถบังคับให้ต้นชะลอการแตกใบอ่อน และจะทำให้ลิ้นจี่ออกช่อดก เป็นประจำทุกปี

การดูแลระยะแทงช่อดอก 

การให้น้ำ  เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ

การใส่ปุ๋ย  ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี เช่น ปุ๋ยสูตร 10-45-10, 10-52-17 อัตรา 100กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไยและลิ้นจี่ ควรทำการพ่นสารเคมีเป็นระยะ เช่น คาร์บาริล,โมโนโครโตฟอส

การดูแลระยะดอกบาน

การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การช่วยผสมเกสร  ควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด

การดูแลระยะติดผลขนาดเล็ก

การให้น้ำ  ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก

การใส่ปุ๋ย  ระยะติดผลขนาด 5 มิลลิเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-3 กิโลกรัม ต่อต้นเพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอ   ระยะผลโตปานกลาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา ประมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อตัน

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริล

การดูแลระยะผลกำลังเจริญเติบโต

การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง

การใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น

การค้ำกิ่งระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล

การดูแลระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

การให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

การเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จนหมดต้น อย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพลดลง

   ข้อมูลอ้างอิง  :  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6

 

คำแนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพกับลำไยและลิ้นจี่

– ระยะดึงใบอ่อน                                   ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะใบเพสลาด                                ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเริ่มแทงช่อดอก                           ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะผลอ่อน – ก่อนเก็บเกี่ยว               ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

                *** กรณีใช้ดินเทพช่วงฟื้นฟูระบบราก ใช้ดินเทพอัตรา 80 – 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง   ผสมน้ำ 100 ลิตร รดรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 ลิตร  ช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง

ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน

 

การใช้โล่เขียวกับลำไยและลิ้นจี่

– ระยะดึงใบอ่อน                                    ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะใบเพสลาด                                 ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะเริ่มแทงช่อดอก                            ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะผลอ่อน                                        ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะสร้างเนื้อ-เพิ่มรสชาติ                 ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช  ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

รีวิวการใช้ไร่เทพ ในสวนทุเรียน

😊ไร่เทพของดีต้องมีโชว์😊

รีวิวการใช้ไร่เทพ ในสวนทุเรียนที่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ของคุณเฉลิมชัย

😊คุณเฉลิมชัย เล่าว่า : ถ้ากลุ่มฮอร์โมนพืข หรืออาหารเสริมพืช ผมใช้ไร่เทพตัวเดียว ใช้มานานมาก ไม่ต้องบอกว่าดีอย่างไร ดูจากภาพที่ผมส่งให้นะครับ พูดคำเดียวว่า ถ้าไม่ดีจริงผมไม่ใช้หรอก สุดยอดจริง ไร่เทพ

😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ

สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การดูแลต้นไย ให้ลูกดก

👩‍🌾ไร่เทพเกษตรลั่นทุ่ง👩‍🌾 วันนี้ขอเสนอ

👩‍🌾การดูแลต้นไย ให้ลูกดก ผลง๊ามงาม สวยจนตาแตก

😊มกราคม ระยะแทงช่อดอก

การให้น้ำ เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ
😊การใส่ปุ๋ย ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี เช่นปุ๋ยสูตร 10-45-10, 10-52-17 อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
👩‍🌾ไร่เทพ 1 ซอง ต่อ 100 ลิตร ฉีดทุก 15 วัน
😊การป้องกันกำจัดโรคแมลง ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไย ควรทำการพ่นสารเคมีเป็นระยะ เช่น คาร์บาริล,โมโนโครโตฟอส
😊กุมภาพันธ์ ระยะดอกบาน
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การช่วยผสมเกสร ควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร
❌งดฉีดไร่เทพ หรือสารอื่นทางใบโดยเด็ดขาด สำหรับไร่เทพ ให้รดที่โคนต้นแทน โดยเว้นระยะห่างจากต้น 50 เซนติเมตร ไร่เทพ 1 ซอง ต่อ 100 ลิตร รดโคนต้น 5 ลิตรต่อต้น ทุก 20-30 วัน
😊การป้องกันกำจัดโรคแมลง งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด
☺️มีนาคม-เมษายน ระยะติดผลขนาดเล็ก
การให้น้ำ ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก
😊การใส่ปุ๋ย ระยะติดผลขนาด 5 มิลลิเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-3 กิโลกรัม ต่อต้นเพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอระยะผลโตปานกลาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตราประมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อตัน
👩‍🌾ไร่เทพ 1 ซอง ต่อ 100 ลิตร ฉีดทุก 10 วัน
😊การป้องกันกำจัดโรคแมลง ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริล
😊พฤษภาคม-กรกฎาคม
ระยะผลกำลังเจริญเติบโต
😊การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
😊การใส่ปุ๋ย ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น
👩‍🌾ไร่เทพ 1 ซอง ต่อ 100 ลิตร ฉีดทุก 10 วัน
😊การค้ำกิ่ง ระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก
😊การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ในสวนบางท้องที่ อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล
😊สิงหาคม
ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
😊การให้น้ำ ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
การเก็บเกี่ยว การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จนหมด ต้นอย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้คุณภาพต่ำลง
👩‍🌾ไร่เทพ 1 ซอง ต่อ 100 ลิตร ฉีดทุก 15 วัน
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
***ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ใช้ได้ 3-5 ไร่
ต้นทุนไร่เทพ 1 ซอง ราคา 100 ใช้ได้ 3-5 ไร่
ค่าเฉลี่ยประมาณ 20 บาท 1 ไร่เท่านั้น ประหยัดสุดๆ
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การดูแลทุเรียน ให้ปัง เปรี้ยงปร้าง

👩‍🌾เคล็ดไม่ลับ กับ ไร่เทพเกษตรลั่นทุ่ง🥰
👩‍🌾การดูแลทุเรียน ให้ปัง เปรี้ยงปร้าง👩‍🌾
👩‍🌾การให้น้ำ
ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางใบ และงดน้ำในช่วงปลายฝนเพื่อเตรียมการออกดอก เมื่อทุเรียนออกดอกแล้วให้ควบคุมปริมาณน้ำที่จะให้ โดยค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ดอกทุเรียนมีพัฒนาการที่ดี จนเมื่อดอกทุเรียนพัฒนาถึงระยะหัวกำไล (ก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์) ก็ให้ลดปริมาณน้ำลงโดยให้เพียง 1 ใน 3 ของปกติ เพื่อช่วยให้มีการติดผลดีขึ้นและให้น้ำในปริมาณนี้ไปจนดอกบานและติดผลได้ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อยๆ และต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอตลอดช่วงพัฒนาการของผลทุเรียน
👩‍🌾การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินตามผลการตรวจวิเคราะห์ดิน หรืออาจใส่ปุ๋ยตามแนวทางดังนี้
1. ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ต้นหลังเก็บเกี่ยว
– ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 20 ถึง 50 กิโลกรัมต่อต้น
– ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นเท่ากับ 1 ใน ของเส้นผ่า ศูนย์กลางทรงพุ่ม
ช่วงบำรุงต้น 1 ซอง 100 ลิตร ฉีดทุก 15 วัน
2. ใส่ปุ๋ยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผล
– เมื่อผลมีอายุ 7 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม
ช่วงบำรุงผล 1 ซอง 100 ลิตร ฉีดทุก 10 วัน
3. ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อ
– เมื่อผลมีอายุ 10 ถึง 11 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-50 อัตรา 1 ถึง 2 กิโลกรัมต่อต้น
ช่วงบำรุงผล 1 ซอง 100 ลิตร ฉีดทุก 10 วัน
👩‍🌾การตัดแต่งดอก
ทำการตัดแต่งดอกหลังจากออกดอก 5 สัปดาห์ ควรตัดแต่งช่อดอกบนกิ่งขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งน้อยกว่า 2 เซนติเมตร) หรือดอกที่อยู่ปลายกิ่งทิ้งให้เหลือเฉพาะดอกรุ่นเดียวกันในกิ่งเดียวกัน ให้มีจำนวนช่อดอกประมาณ 3 ถึง 6 ช่อดอกต่อความยาวกิ่ง 1 เมตร แต่ละช่อดอกห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร
👩‍🌾การตัดแต่งผล
ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 4 ถึง 5 สัปดาห์หลังดอกบาน ตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็ก รูปทรงบิดเบี้ยว และไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการออก เหลือผลไว้ประมาณ 2 ถึง 3 เท่าของจำนวนผลที่ต้องการไว้จริง ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์หลังดอกบาน ระยะนี้ผลที่ปกติจะมีการขยายตัวด้านยาว สีผิวเขียวสดใส หนามมีขนาดปกติเรียวเล็ก ถ้าตรวจพบผลที่มีพัฒนาการผิดปกติ มีขนาดเล็ก หนามแดง หรือมีโรคแมลงเข้าทำลาย ให้ตัดทิ้ง
ข้อมูลจาก (กรมวิชาการเกษตร)
ห้ามฉีดช่วงช่อดอกบาน ให้รดที่โคนต้นแทน 1 ซอง 100 ลิตร ฉีดทุก 20-30 วัน ห่างจากโคนต้น 60 cm.
ฉีดที่ใบ การลดไร่เทพที่โคนต้น ในลดหลังจากให้น้ำปกติ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
***ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ใช้ได้ 3-5 ไร่
ต้นทุนไร่เทพ 1 ซอง ราคา 100 ใช้ได้ 3-5 ไร่
ค่าเฉลี่ยประมาณ 20 บาท 1 ไร่เท่านั้น ประหยัดสุดๆ
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ประโยชน์ของการดื่มน้ำมะพร้าว

🥰🥥ประโยชน์ของการดื่มน้ำมะพร้าว🥥🥰

 

1. น้ำมะพร้าวมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
2.น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น แก้กระหายน้ำ ร่างกายดูดซึมได้ภายใน 5 นาที
3.น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติเกลือแร่สูงและอุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมที่ช่วยในเรื่องควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยให้ลำเลียงออกซิเจนไปลี้ยงสมอง ทำให้ร่างกายแจ่มใส ไม่เครียดจึงทำให้เรารู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
4.น้ำมะพร้าวช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสได้ดีขึ้น แถมยังมีความเป็นด่างจึงช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้กลไกระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติสุขภาพร่างกายของเราจึงแข็งแรงขึ้น
5.น้ำมะพร้าวช่วยล้างพิษ ขับของเสียออกจากร่างกาย (ดีท็อกซ์)
6.น้ำมะพร้าวช่วยชะลออาการโรคอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อมในสตรีวัยทองได้ เพราะในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงนั่นเอง
7.น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เย็น จึงมีส่วนช่วยดับร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดอาการไข้สูง ตัวร้อน และทุเลาอาการไข้ได้
8.ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน โดยคอลลาเจนจะช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งใบหน้าใสขาวกระจ่างจากภายในสู่ภายนอก และอีลาสตินโครงสร้างสำคัญที่ยึดให้เซลล์ผิวเรียงตัวอย่างเหมาะสม จึงทำให้ผิวของเรายืดหยุ่น กระชับ ชะลอการเกิดริ้วรอย
9.น้ำมะพร้าวอ่อนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและช่วยรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
🍇เคล็ดลับในการใช้คือ ฉีดพ่นทางใบทุก 10-15 วัน
อัตราส่วนการใช้ ไร่เทพ ในผลไม้ 1 ซองต่อน้ำ 100 ลิตร
*ต้นขนาดเล็ก (ปลูกไม่นานเพิ่มแตกใบ)
*ก่อนระยะติดดอก
*ระยะติดผล (ฉีดทุก10 วัน)
*ระยะหลังติดผล (ผลมีขนาดเต็มที่แล้ว)(ฉีดทุก10 วัน)
*ข้อควรระวัง ฉีดพ่นทางใบ กับรดดคนต้นเท่านั้น XX ห้ามฉีดโดน จั่น มะพร้าวโดยเด็ดขาด
*การฉีดไร่เทพ จะช่วยให้น้ำมะพร้าวหวานขึ้น เนื้อหวานฉ่ำมากขึ้น

เคล็ด (ไม่ลับ) การดูแลมะม่วงในระยะติดดอก

เคล็ด (ไม่ลับ) การดูแลมะม่วงในระยะติดดอก
ในระยะติดดอกถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุด จะได้ผลผลิตมากน้อยจะวัดกันช่วงนี้ ดูแลผิดไม่ถูกวิธีอาจจะน้ำตาตกในได้
โดยทั่วไปมะม่วงจะออกดอกติดผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม และบางพื้นที่ในช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ การออกดอกของมะม่วงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์มะม่วง ความอุดมสมบูรณ์ของต้น และยังเกี่ยวข้องกับสภาพของอากาศอีกด้วย โดยจะเห็นว่า ถ้าปีใดอากาศหนาวเย็นมาก มะม่วงจะออกดอกมาก

การจะทำให้มะม่วงได้ผลอย่างเต็มที่ นอกจากขึ้นอยู่กับพันธุ์มะม่วงที่ปลูก การบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญให้ปุ๋ย ให้น้ำ มากไปหรือน้อยไปก็ไม่ดี การบำรุงต้นมะม่วงที่ดีคือการให้ปุ๋ย ให้น้ำอย่างสมบูรณ์และพอดี รวมเพิ่มเติมด้วยอาหารเสริมพืช เพื่อให้ต้นมะม่วงได้ สารอาหารบำรุงต้นได้อย่างที่ต้นมะม่วงต้องการ

การบำรุงต้นมะม่วงในระยะติดดอก นอกจากบำรุงด้วยปุ๋ยทั้งเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์แล้ว เกษตรกรยังสามารถเสริมด้วยอาหารเสริมพืชเพิ่มเติม อย่างผลิตภัณฑ์ไร่เทพ เพิ่มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดดอกให้มากขึ้น

❌ข้อห้ามที่สำคัญคือ อย่าฉีดพ่นสารอาหารเสริม ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีใดๆ ในช่วงระยะติดดอกนี้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วง เกสรไม่ผสม สุดท้ายก็ไม่ติดลูกติดผลแน่นอน ควรเน้นการให้ปุ๋ยที่โคนต้น

และถ้าเป็นอาหารเสริมพืช ไร่เทพ ช่วงระยะติดดอกนี้ห้ามฉีดพ่นทางใบโดยเด็ดขาด ให้ใช้รดบริเวณโคนต้นแทน
อัตราการใช้ ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ใช้รดโคนต้น ต้นละประมาณ 5 ลิตร ทุก 20 -30 วัน

โดยรดห่างโคนต้นประมาณ 50 เซนติเมตร และถ้ามะม่วงติดผล (ลูกเท่าหัวไม้ขีดไฟ) แล้วก็สามารถฉีดผลทางใบ โดยอัตราการใช้ ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร และฉีดพ่นทางใบ ทุก 10 วัน

การใช้ไร่เทพนอกจากจะบำรุงต้นให้ไม่โทรมและยังทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ ที่สำคัญยังช่วยให้ลดอาการสลัดลูกหรือผลทิ้งอีกด้วย แค่นี้ก็ทำให้สวนมะม่วงของคุณมีผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ไร่เทพไม่ได้ใช้ได้ดีในนาข้าว หรือพืชไร่เท่านั้น กับพืชสวน ผลไม้ก็ใช้ได้ดี

🍊จ้ำจี้ผลไม้ แตงไทยแตงกวา ขนุนน้อยหน่า พุทรามังคุดละมุดลำไย มะเฟืองมะไฟ มะกรูดมะนาว มะพร้าวส้มโอ ฟักแฟงแตงโม ไชโยโห่ฮิ้ว🍊🍇🍎🍌
🍊ไร่เทพไม่ได้ใช้ได้ดีในนาข้าว หรือพืชไร่เท่านั้น กับพืชสวน ผลไม้ก็ใช้ได้ดี
🍎ช่วยบำรุงต้น ทำให้ต้นไม่โทรม ช่วยในการติดดอก ออกลูกดก ผลสวย รสชาติหวาน ฉ่ำน้ำ ได้น้ำหนักดี
ผลผลิตเยอะ
 เคล็ดลับในการใช้คือ ฉีดพ่นทางใบทุก 10-15 วัน
(งดฉีดช่วงออกดอก )
อัตราส่วนการใช้ ไร่เทพ ในผลไม้ 1 ซองต่อน้ำ 100 ลิตร
*ต้นขนาดเล็ก (ปลูกไม่นานเพิ่มแตกใบ)
*ก่อนระยะติดดอก
*ระยะติดผล (ผลหัวไม้ขีด)(ฉีดทุก10 วัน)
*ระยะหลังติดผล (ผลมีขนาดเต็มที่แล้ว)(ฉีดทุก10 วัน)
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-