เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เตือนผู้ปลูกทุเรียน เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน ศัตรูพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่ทุเรียน
การระบาดของศัตรูพืชทำให้ผลผลิตทุเรียนลดลง และคุณภาพของผลผลิตต่ำ แมลงและไร ศัตรูพืชที่สำคัญและทำความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ทุเรียน
โดยหนอนเจาะผลทุเรียนมักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ต้นทุเรียนอยู่ในระยะติดผลเกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบการเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก
อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำการที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา
ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน
และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่บริเวณรอยสัมผัสนี้
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
-
- หมั่นตรวจดูผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
- ผลทุเรียนที่ถูกหนอนเจาะ ควรทำลายโดยการเผาไฟหรือฝัง
- ไร่เทพ เป็นอาหารทางใบที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ช่วยป้องกันแมลงได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังไปช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซม และช่วยเพิ่มผลผลิตด้วย และปุ๋ยโล่เขียว จะช่วยทำให้ผลและใบสมบูรณ์ ใบใหญ่ เขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ผลไม่โทรมและยังช่วยให้ทนต่อโรคได้ดียิ่งขึ้น ส่วนดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน มีอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในดิน จึงช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และช่วยส่งเสริมการสร้างธาตุอาหารในดิน อีกทั้งใช้แทนสารจับใบ ทำให้ไร่เทพและปุ๋ยโล่เขียวมีประสิทธิภาพมากขึ้น (อัตราการใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ผสมปุ๋ยโล่เขียว 100 มิลลิลิตร และผสมดินเทพ 10 มิลลิลิตร)
- ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป ควรตัดแต่งผลไม่ให้ติดกัน และใช้ใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย สามารถลดการทำลายของหนอนเจาะผลได้
- การห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
- หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล
หมายเหตุ การผลิตทุเรียนส่งออกควรจัดการตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) กรณีการใช้สารเคมีควรใช้อัตราตามฉลาก และเกษตรกรควรทิ้งช่วงก่อนเก็บเกี่ยวหลังจากการพ่นสารครั้งสุดท้ายแล้วอย่างน้อย 7 วัน
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร