Tag Archives: เกษตรกร

เพื่อนคู่คิด มิตรไร่เทพ

เพื่อนคู่คิด มิตรไร่เทพ

โครงการเพื่อนคู่คิด มิตรไร่เทพ

สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ไปพร้อมกับไร่เทพ เราจะเติบโตไปด้วยกัน
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพเสริม ตลอดส่งเสริมให้คุณภาพชีวิต ให้กับคนชุมชนและท้องถิ่น กลุ่มพื้นที่การเกษตร ในต่างจังหวัด ผ่านการ สร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ไร่เทพ ที่เป็นผลิตภัณฑ์คำนึงต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถสร้างรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไร่เทพและสามารถต่อยอดไปจนสามารถทำเป็นอาชีพที่มั่นคง ควบคู่กับการทำเกษตรที่ยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต

คุณสมบัติ
1. อายุ 20 ปีขึ้น
2. ไม่จำกัดเพศ ได้ทุกเพศทุกวัย
3. ได้ทุกอาชีพ
4. ต้องการหารายได้เสริม
5. ชอบทำกิจกรรม
6. มีมือถือ และใช้โซเชียลมีเดีย เป็น

สิ่งที่คนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ
1. ค่าตอบแทน 3,000 บาทต่อเดือน
2. ค่าคอมมิชชั่นในการขายสินค้าผลิตภัณฑ์ ไร่เทพ ดินเทพ ตลอดจะสินค้าอื่นๆ ของบริษัท โดยทางบริษัทฯจะคิดคำนวณ เป็นเปอร์เซ็นต์.3 ของยอดขายต่อเดือน

วิธีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไร่เทพ
เมื่อในพื้นที่ได้มีการสั่งซื้อสินค้า จากผู้ที่ร่วมโครงการ เพื่อนสนิท
ผู้ที่ร่วมโครงการฯ จะต้องดำเนินการส่งข้อมูลการสั่งซื้อ ได้แก่ จำนวนสินค้าที่สั่งซื้อ ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ มาให้กับทางบริษัท เพื่อให้ทางบริษัททำการจัดส่งสินค้าให้

สิ่งที่ทางไร่เทพจะดำเนินการจัดเตรียมให้
1. ผลิตภัณฑ์สินค้าไร่เทพ ดินเทพ ให้คนเข้าร่วมโครงการได้ใช้ฟรีในพื้นที่การเกษตรของตนเอง
2. สินค้าตัวอย่าง
3. ป้ายไวนิล
4. โบรชัวร์
5. สติกเกอร์ ไร่เทพ
6. ถังฉีด ไร่เทพ
7. อุปกรณ์ตวง

สิ่งที่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการให้กับไร่เทพหลังร่วมโครงการ
1. เป็นศูนย์การในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลกับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไร่เทพ ให้กับคนในพื้นที่
2. เป็นศูนย์การจำหน่ายไร่เทพ
3. ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการแนะนำ การใช้ผลิตภัณฑ์ของไร่เทพกับเพื่อน คนในพื้นที่ อย่างน้อย 30 ท่านต่อเดือน โดยส่งภาพถ่ายและคลิป วีดิโอให้กับทางไร่เทพ ทุกเดือน
4. ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการจัดประชุม อบรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทางพื้นที่จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ไร่เทพ อย่างน้อย 1 ครั้งโดยส่งภาพถ่ายและคลิป วีดิโอให้กับทางไร่เทพ ทุกเดือน
5. ในกรณีที่มีการจัดอบที่มีคนเข้าร่วมเยอะ หรือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยอำเภอหรือจังหวัด ทางไร่เทพยินดีให้มอบเงินสนับสนุนและส่งทีมงานเข้าไปร่วมกิจกรรมเพื่อนคู่คิด มิตรไร่เทพ

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

ถั่วเหลืองฝักสด ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง

ในขณะที่ดอกเบี้ย จากหนี้เก่าของค่าปุ๋ยจากการปลูกข้าวรอบที่แล้ว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าข้าวที่ฉีดไร่เทพ ชาวนาก็ต้องมาปวดหัวอีกรอบว่า ข้าวนาปรังครั้งนี้เอายังไงดี ครั้นจะลงทุนปลูกข้าวอีกทีก็รู้สึกเข็ดขยาด ครั้นจะปล่อยทิ้งให้ที่นาว่างเปล่า ก็เสียโอกาสโดยใช่เหตุ อย่ากระนั้นเลย วันนี้ฤทธิรอน ของอาสาหาข้อมูลมาแบ่งบันกับพี่น้องชาวนา ให้หันมาปลูก ถั่วเหลืองฝักสดแทนการปลูกข้าวนาปรังกันครับ

เก็บเกี่ยวไว (สั้นกว่าเท่าตัว) ใช้น้ำน้อย (กว่า 5 เท่า)

ถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) เป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 68-70 วัน ในขณะที่ข้าวนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ต่างกันเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เพียง 300 ลบ.ม ต่อไร่ น้อยกว่าข้าวนาถึง 5 เท่า คือ 1500 ลบ.ม. เหมาะมากสำหรับช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

แก้ดินเสื่อม เสริมไนโตเจน

การทำนาอย่างต่อเนื่องโดยปีหนึ่ง 2-3 ครั้งนั้น ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม การปลูกพืชหมุนเวียน จึงเป็นทางออก นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วนั้นยังมีจุลินทรีย์ในปมราก (ไรโซเบียม) ช่วยตรึงไนโตเจนลงสู่พื้นดิน และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถไถ่กลบ กลายเป็นปุ๋ยพืชสด  ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดินอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีปลูกถั่วเหลืองฝักสดโดยละเอียดสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่:

เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 50 โดย ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/soybean.pdf

 

นอกจากนี้ยังสามารถ รับชมข้อมูลการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ตามลิ้งนี้

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

รีวิวการใช้ไร่เทพ ในสวนทุเรียน

😊ไร่เทพของดีต้องมีโชว์😊

รีวิวการใช้ไร่เทพ ในสวนทุเรียนที่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ของคุณเฉลิมชัย

😊คุณเฉลิมชัย เล่าว่า : ถ้ากลุ่มฮอร์โมนพืข หรืออาหารเสริมพืช ผมใช้ไร่เทพตัวเดียว ใช้มานานมาก ไม่ต้องบอกว่าดีอย่างไร ดูจากภาพที่ผมส่งให้นะครับ พูดคำเดียวว่า ถ้าไม่ดีจริงผมไม่ใช้หรอก สุดยอดจริง ไร่เทพ

😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ

สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

พันธุ์ข้าวต้านหนาวกข57

ชื่อพันธุ์: กข 57 ปทุมธานี 200 (Pathum Thani 200)
🌾ชนิด : ข้าวเจ้า
🌾คู่ผสม : ผสมพันธุ์ระหว่าง สุพรรณบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกะโดสีน้ำตาล กับ IR64
🌾ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง มุมปลายใบธงตั้งตรง
มุมใบธงตั้งตรง รวงยาวแน่นปานกลาง คอรวงโผล่เล็กน้อย สามารถลงปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรังอายุการเก็บเกี่ยว 115 วัน (นาดำ) 105-110 วัน (นาหว่าน)ลำต้นสูงประมาณ 115-120 เซนติเมตร
🌾ลักษณะเด่น : ลำต้นแข็งต้านทานเพลี้ยและบั่วได้ดี รวงยาวผลผลิตดี ชอบอากาศหนาวเย็น เหมาะสำหรับลงปลูกในฤดูหนาว ลงได้ทั้งสภาพพื้นนาที่เป็นดินเหนียว และดินทราย
🌾ผลผลิต : ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร
🌾ประวัติพันธุ์ –
ผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในปี 2537 จากนั้นนำไปปลูกคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จนได้สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ปลูกศึกษาพันธุ์และนำเช้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เปรียบเทียบและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงฤดูนาปลัง 2548 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงได้นำสายพันธ์ที่อยู่ในระหว่างการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีทั้งหมดจำนวน 140 สายพันธุ์ไปทดลองซ้ำปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเรือนทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พบว่าสายพันธุ์นี้เป็นเพียง 1 ใน 2 สายพันธุ์ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายในการทดลองคราวนั้นทั้งหมด 140 สายพันธุ์ จึงได้ถอนต้นกล้าของสายพันธุ์นี้จากกระบะทดสอบแมลงไปปักดำไว้ในกระถางแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดแบบแยกรวง ในฤดูนาปี 2548 แบ่งเมล็ดจากแต่ละรวงส่วนหนึ่งนำไปทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอีกครั้งส่วนเมล็ดที่เหลือนำไปปลูกในแปลงทดลองโดยแต่ละรวงให้รหัสสายพันธุ์เดียวกัน พบว่ามี 2 สายพันธุ์ ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับ MR-R คือ SPR94007 -27-2-9-3-1 และ SPR94007-27-2-9-3-2 จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ จากแปลงทดลองนำไปปลูกขยายพันธุ์และศึกษาลักษณะทางเกษตรในฤดูนาปรัง 2549 ถึงฤดูนาปี 2550 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์ SPR94007-27-2-9-3-2 เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีในฤดูนาปี 2550 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีตั้งแต่นาปี 2551 ถึงฤดูนาปี 2553 เปรียบเทียบผลผลิตในราษฎร์ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2554 ถึงฤดูนาปรัง 2555 ในขณะเดียวกันได้ทำการทดสอบการตอบสอนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และทดสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและปลูกทดสอบเสถียรภาพผลผลิต
🌾การรับรองพันธุ์: คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมการวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557
เครดิต : กองวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว

เคล็ด (ไม่ลับ) การดูแลมะม่วงในระยะติดดอก

เคล็ด (ไม่ลับ) การดูแลมะม่วงในระยะติดดอก
ในระยะติดดอกถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุด จะได้ผลผลิตมากน้อยจะวัดกันช่วงนี้ ดูแลผิดไม่ถูกวิธีอาจจะน้ำตาตกในได้
โดยทั่วไปมะม่วงจะออกดอกติดผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม และบางพื้นที่ในช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ การออกดอกของมะม่วงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์มะม่วง ความอุดมสมบูรณ์ของต้น และยังเกี่ยวข้องกับสภาพของอากาศอีกด้วย โดยจะเห็นว่า ถ้าปีใดอากาศหนาวเย็นมาก มะม่วงจะออกดอกมาก

การจะทำให้มะม่วงได้ผลอย่างเต็มที่ นอกจากขึ้นอยู่กับพันธุ์มะม่วงที่ปลูก การบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญให้ปุ๋ย ให้น้ำ มากไปหรือน้อยไปก็ไม่ดี การบำรุงต้นมะม่วงที่ดีคือการให้ปุ๋ย ให้น้ำอย่างสมบูรณ์และพอดี รวมเพิ่มเติมด้วยอาหารเสริมพืช เพื่อให้ต้นมะม่วงได้ สารอาหารบำรุงต้นได้อย่างที่ต้นมะม่วงต้องการ

การบำรุงต้นมะม่วงในระยะติดดอก นอกจากบำรุงด้วยปุ๋ยทั้งเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์แล้ว เกษตรกรยังสามารถเสริมด้วยอาหารเสริมพืชเพิ่มเติม อย่างผลิตภัณฑ์ไร่เทพ เพิ่มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดดอกให้มากขึ้น

❌ข้อห้ามที่สำคัญคือ อย่าฉีดพ่นสารอาหารเสริม ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีใดๆ ในช่วงระยะติดดอกนี้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วง เกสรไม่ผสม สุดท้ายก็ไม่ติดลูกติดผลแน่นอน ควรเน้นการให้ปุ๋ยที่โคนต้น

และถ้าเป็นอาหารเสริมพืช ไร่เทพ ช่วงระยะติดดอกนี้ห้ามฉีดพ่นทางใบโดยเด็ดขาด ให้ใช้รดบริเวณโคนต้นแทน
อัตราการใช้ ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ใช้รดโคนต้น ต้นละประมาณ 5 ลิตร ทุก 20 -30 วัน 

โดยรดห่างโคนต้นประมาณ 50 เซนติเมตร และถ้ามะม่วงติดผล (ลูกเท่าหัวไม้ขีดไฟ) แล้วก็สามารถฉีดผลทางใบ โดยอัตราการใช้ ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร และฉีดพ่นทางใบ ทุก 10 วัน

การใช้ไร่เทพนอกจากจะบำรุงต้นให้ไม่โทรมและยังทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ ที่สำคัญยังช่วยให้ลดอาการสลัดลูกหรือผลทิ้งอีกด้วย แค่นี้ก็ทำให้สวนมะม่วงของคุณมีผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว

ปลูกกล้วย สร้างรายได้ ขั้นเทพ

“กล้วย” อยู่คู่กับชีวิตของคนไทย และถือเป็นพืช Continue reading