Tag Archives: ไร่เทพโกลด์

C/N ratio สำคัญอย่างไร กับผลไม้ ข้าว และ พืชหัว???

C/N ratio สำคัญอย่างไร กับผลไม้ ข้าว และ พืชหัว???

ค่า C/N ratio มีความสำคัญเพราะ สามารถบอกได้ว่า พืชจะเจริญเติบโตไปเป็นแบบใด ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 กรณีในข้าว:  หากข้าว ในระยะหลังแตกกอ จะเป็นระยะที่ข้าวเริ่มสะสมอาหารทางใบ และเมื่อข้าวสะสมทางใบสมบูรณ์ ต้นข้าวจะเริ่มออกร่วง และนำสารอาหาร (น้ำตาลที่สะสมในใบ) ไปสะสมไว้ที่เมล็ด แต่ถ้าค่า C/N ผิดเพี้ยนไป ข้าวก็จะ ทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปด้วย เช่น ถ้ามีไนโตรเจนมากในระยะ ทำรวง ข้าวก็จะเกิดอาหารบ้าใบ เพราะมี ไนโตรเจน สูงกว่า น้ำตาล ส่วนที่ควบคุมการเจริญเติบโตในข้าวก็จะไปสั่งให้ข้าว แตกใบเพื่อสะสมอาหารให้ได้ค่ามากกว่าไนโตรเจน  เป็นต้น

 

เราจะควบคุม C/N ratio ได้อย่างไร

  1. ใส่ปุ๋ยและ ธาตุอาหารให้ถูกจังหวะ เช่น ระยะฟื้นต้น ทำใบ พืชอายุน้อย ไนโตรเจนสำคัญต่อการสร้างใบ แตกใบ แตกกิ่ง แต่เมื่อต้องการให้พืชออกดอก อาจจะต้องปรับสูตร ปุ๋ยไปใช้ปุ๋ยที่มี ค่า P และ K เพื่อส่งเสริมการสร้างเงื่อนไขการเกิดดอก และลด ปริมาณ N ในเนื้อเยื่อ
  2. ใช้วิธีทางอ้อม ควบคู่กับการให้สารอาหาร ได้แก่ การให้สารเคมีที่มีฤทธิ์ควบคุมการเจริญเติบโต ตัวอย่างเช่น สารแพคโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของยอด และราก ทำให้พืช
  3. เติมคาร์บอนเข้าสู่ เซลล์ ได้แก่ การพ่นน้ำตาลทางด่วน การให้อะมิโนบางชนิดที่มีองค์ประกอบของ คาร์บอน ซึมเข้าเนื้อเยื่อพืช เพื่อเพิ่มค่า C/N ratio

 

อัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจน (C:N ratio)

อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการขยายความและสรุป อัตราส่วน C/N ratio ที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืชเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของเกษตรกร  (เนื่องจาก ค่า C/N ratio นั้น สามารถนำไปใช้คำนวณหาคุณภาพของปุ๋ยเคมี ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่ วัดในเนื้อเยื่อพืช กับวัดที่ปุ๋ยอินทรีย์)

ค่า C/N ratio แปลเป็นภาษาไทยคือ อัตราส่วนของ ปริมาณธาตุคาร์บอนหารด้วยปริมาณไนโตรเจนในเนื้อเยื่อพืชที่เราสนใจ     ซึ่งตัว คาร์บอนที่กล่าวนี้มันก็คือ น้ำตาลที่สะสมในใบพืชนั่นเอง (เพราะน้ำตาลที่พืชสะสมในเนื้อเยื่อ ส่วนมากเป็น กลูโคส (glucose) ซูโครส (sucrose) แมนโนส (mannose) และฟรุคโตส (fructose) ซึ่งมีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงวัดแค่ คาร์บอน ก็จะนำไปคำนวณเป็นค่าน้ำตาลในเนื้อเยื่อได้ ในการวิเคราะห์เบื้องต้นไม่จำเป็นต้องวัด H และ O)

จากที่กล่าวมาข้างต้นถ้าจะเอาให้เข้าใจง่ายๆ ค่า C/N ratio เป็นภาษา คนทั่วไปเข้าใจก็คือ

 

ค่า C/N ratio คือ                 ค่าปริมาณน้ำตาลที่วัดได้ในใบพืช หารด้วย ค่าปริมาณไนโตรเจนในใบพืช นั่นเอง

(ความจริงค่า C/N ratio ไม่จำเป็นต้องวัดที่ใบอย่างเดียว เพราะสามารถวัดที่เนื้อเยื่ออื่นด้วย แต่สำหรับพืช ให้ผล หรือ พืชสะสมแป้ง วิธีวัดที่ใบ เป็นวิธีที่นิยม เพราะพืชมักสะสมอาหารไว้ที่ใบ และง่ายต่อการตรวจวัด)