การปลูกดาวเรืองตัดดอก

ดาวเรือง

ถือเป็นดอกไม้มงคล ที่เชื่อกันว่าจะนำพาโชคลาภมาให้แก่คนในบ้าน อีกทั้งยังเป็นดอกไม้สีเหลืองที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งปลูกตัดดอกประดับ บูชาพระถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จัดสถานที่ แถมยังเป็นพืชเศรษฐกิจช่วยสร้างรายได้อีก วันนี้พาทุกคนไปรู้จักกับดอกดาวเรืองให้มากขึ้น ทั้งพันธุ์ที่นิยมปลูก ความแตกต่างของดาวเรือง แต่ละสายพันธุ์ วิธีดูแล การเก็บดอก และประโยชน์อีกหลายอย่าง สำหรับการปลูกดาวเรืองตามบ้านเรือนนั้น ไม่ได้ปลูกเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่มีความเชื่อกันว่าดาวเรืองเป็นต้นไม้มงคล เพราะสีเหลืองทองอร่ามของดอกดาวเรืองเปรียบเสมือนเงินทอง หากปลูกไว้หน้าบ้านหรือบริเวณบ้านก็จะเป็นสิริมงคลแก่คนในบ้าน ช่วยให้เงินทองไหลมาเทมา ยิ่งออกดอกมากก็จะยิ่งมีโชคมีลาภ ทำกิจการใด ๆ ก็จะก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

ดาวเรืองที่ปลูกในปัจจุบันจำแนกเป็น 5 ประเภท คือ


1. ดาวเรืองอเมริกัน (American marigold) มีทั้งพันธุ์เตี้ย พันธุ์สูง ปานกลาง และพันธุ์สูง มีลักษณะลำต้นสูง 25-100 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลือง สีทอง สีส้ม และสีขาว ขนาด ดอกใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 เซนติเมตร ปลูกในดูหนาวอายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน ปลูกใน ฤดูร้อนอายุการเก็บเกี่ยวจะช้าลงกว่าปกติ 10-15 วัน 2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French marigold) เป็นดาวเรืองต้นเตี้ย สูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร ดอกขนาด 3-5 เซนติเมตร สีเหลือง สีทอง สีส้ม สีแดง และสีน้ำตาลอมแดง นิยมปลูกในแปลงเพื่อตัดดอก เติบโตได้ดีในฤดูหนาว หากปลูกในฤดูอื่นมักออกดอกน้อย
3. ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds) เป็นพันธุ์ผสมของดาวเรืองอเมริกันกับ ดาวเรืองฝรั่งเศส
4. ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet marigold) มีลักษณะลำต้นเตี้ย ดอกขนาดเล็ก 1.5 – 2 เซนติเมตร นิยมปลูกในแปลงจัดสวนประดับ
5. ดาวเรืองใบ (Foliage marigold) เป็นดาวเรืองที่เด่นในเรื่องใบ ใบมีลักษณะ สวยงาม ทรงพุ่มแน่น นิยมปลูกประดับในแปลงจัดสวน

การดูแลต้นกล้า

: ระยะที่ 1 เมล็ดเริ่มมีพัฒนาการงอก มีรากและมีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือวัสดุเพาะ การดูแลโดยทั่วไป ควรให้ต้นกล้าได้รับการพรางแสงประมาณ 80% 3-5 วัน เพื่อลดอุณภูมิและเพิ่มความชื้นให้เหมาะสมต่อ การงอก การรดน้ำควรรดน้ำเปล่า
ระยะที่ 2 ต้นกล้าเริ่มพัฒนามีรากและใบเลี้ยง – การดูแลในระยะนี้ควรนำต้นกล้าไว้ในสภาพที่มีการพรางแสง 50% เพื่อให้ต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ประมาณ 2 วัน การให้น้ำระยะนี้ให้น้ำ แล้วแต่สภาพอากาศและความชื้น
ระยะที่ 3 ต้นกล้าเริ่มมีใบจริงเจริญขึ้นมา 1คู่ – ระยะนี้ควรให้ต้นกล้าอยู่ในสภาพแสงแดดปกติ ไม่มีการ พรางแสง เพื่อให้ลำต้น และใบเจริญอย่างสมบูรณ์
ระยะที่ 4 ต้นกล้าเจริญเติบโตมากขึ้นมีใบจริงเพิ่มมากขึ้น สังเกตุราก เริ่มจะเจริญเต็มหลุม การดูแลเช่นเดียวกับต้นกล้าระยะที่ 3 วิธีการสังเกต ต้นกล้าพร้อมย้ายปลูกหรือไม่โดยการนับ อายุของต้นกล้า จากวันเพาะ ประมาณ 15-18 วัน แล้วแต่ฤดูกาลหรือสังเกตจากการเจริญของราก

การดูแลรักษาดอกดาวเรือง


1 หลังจากย้ายปลูกลงแปลงครบ 10 วันหรือสังเกตจากดาวเรืองมีใบจริงจำนวน 3คู่ ให้เด็ดยอดดาวเรืองออก เพื่อให้เกิดการแตกของกิ่งข้างของดาวเรือง
2 หลังจากเด็ดยอดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อต้น โดยหว่านปุ๋ย รอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 20 ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช และทำค้างสำหรับป้องกันต้นดาวเรืองล้มเพราะหากทำค้างดาวเรืองช้าเกินไปช่วงนี้ไปรากของดาวเรืองจะเจริญเติบโตมาก
3 หลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (เริ่มเห็นตุ่มดอก) ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1 กรัม (ครึ่งช้อนชาต่อต้น) โดยหว่านปุ๋ยรอบโคนต้นห่างจาก โคนต้นประมาณ 20 ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช ในกรณีที่ไม่สามารถหาปุ๋ยสูตร 15-0-0 หรือ 0-0-60 ได้ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 แทนโดยใช้ในอัตรา 3 กรัม (ครึ่งช้อนโต๊ะ) ต่อต้นทั้งสองระยะ หลังการให้ปุ๋ยจะต้องให้น้ำตามทุกครั้งเสมอ
4 การพ่นปุ๋ยทางใบและอาหารเสริม ช่วงหลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (ช่วงเป็นตุ่มดอก) ให้ เริ่มพ่นอาหารเสริมพวก แคลเซียม – โบรอน และอาหารเสริมต่าง ๆ **ยกเว้นธาตุอาหารเสริมกลุ่มที่เป็นธาตุเหล็ก (Fe) โดยพ่นทุก ๆ 3-4 วันก่อนที่ตุ่มดอกจะเริ่มเห็นสีดอก
5 การให้น้ำดาวเรือง ดาวเรืองเป็นพืชที่ชอบการให้น้ำในลักษณะให้น้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง หรือชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะและน้ำท่วมขัง
6 การเก็บเกี่ยว ดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55 – 65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลาง เป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้าน ดอกที่ติดมามีขนาดยาว การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน

การปลูกดาวเรือง : การปลูกดาวเรืองมีขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

การเตรียมแปลงปลูก

ดินที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร และปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและ แมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึง ย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม

 

วิธีการปลูก :

(1) การเตรียมหลุมปลูกขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต หรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบ ปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
(2) การย้ายกล้าควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำ ตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
(3) การปลูกต้นกล้าปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปาก หลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา

การให้น้ำ : ดาวเรืองเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องการสม่ำเสมอ การให้น้ำควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่ โครงสร้างของดิน แหล่งน้ำ และปริมาณน้ำ รวมถึงฤดูกาลผลิตด้วย ปัจจุบันมีระบบการให้น้ำอยู่หลายวิธีซึ่งแล้วแต่ความสะดวกและเหมาะสม


– ระบบให้น้ำในร่อง เป็นระบบที่เกษตรกรไทยรู้จักกันดี เป็นวิธีการที่ง่าย และลงทุนต่ำ วิธีการนี้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ราบเรียบ หรือมีระดับลาดเทเล็กน้อย และดินควรจะเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนดินร่วนก็ได้
– ระบบให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น จำเป็นต้องลงทุนสูงขึ้น แต่จะเป็นการลงทุนครั้งแรกและใช้ได้ระยะยาว ประหยัดแรงงานวิธีการนี้เหมาะสมสำหรับทุกพื้นที่ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีความชื้นสูง ส่งเสริมการเข้าทำลายของโรค แมลง และมีผลเสียต่อผลผลิตคือ เนื่องจากดอกดาวเรืองเป็นจำพวกดอกซ้อน เมื่อดอกบาน จึงสามารถเก็บน้ำในดอกได้มาก ซึ่งจะส่งผลไปสู่ การเข้าทำลายของเชื้อราต่าง ๆ เช่น Botrytis เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวิธีการส่งเสริมปริมาณของวัชพืชอีกด้วย
– ระบบให้น้ำแบบน้ำหยด เป็นระบบการให้น้ำแบบใหม่ที่เหมาะสมต่อการผลิตดอกดาวเรืองมากที่สุด และสามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ ระบบนี้จำเป็นต้องลงทุนสูงในช่วงแรก แต่สามารถใช้ได้ระยะยาว และยังเป็นการประหยัดแรงงาน

โรคและแมลงศัตรูพืชของดาวเรือง

ในปัจจุบันได้มีการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างแพร่หลาย ทั้งถูกบ้างผิดบ้าง แล้วแต่ประสบการณ์และความรู้ของผู้ใช้การใช้ยาฆ่าแมลงอย่างถูกวิธีจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการควบคุมแมลง การใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นมากเกินความจำเป็น หรือมีความเข้มข้นน้อยเกินไปจะส่งผลต่อการดื้อยาของแมลงในอนาคต เมื่อแมลงเกิดการดื้อยาเกษตรกรก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยลดอัตราการเข้าทำลายของแมลง จึงถูกพัฒนาขึ้น การใช้กาวเหนียวดักแมลง โดยการป้ายลงบนแผ่นหรือกระป๋องสีเหลืองจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณ ประชากรแมลงได้อีกทางหนึ่ง และยังสามารถใช้เป็นตัววัดดัชนีการระบาดของแมลงได้อีกทางหนึ่งด้วย

แมลงศัตรูในดาวเรือง


เพลี้ยไฟ (Thrips) เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของดาวเรือง แพร่ระบาดมากในช่วงฤดูร้อน เพลี้ย ไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายส่วนต่าง ๆ ของดาวเรือง โดยจะใช้ปากที่มีลักษณะคล้ายเข็ม (stylet) เขี่ย เนื้อเยื่อพืชให้ช้ำแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช อาการของดาวเรืองที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายคือ ส่วนยอดใบจะ หงิกงอ ส่งผลให้ดอกไม่พัฒนาและลำต้นแคระแกร็น หากเป็นช่วงที่พืชขาดน้ำแล้วไม่ทำการป้องกันกำจัดจะทำให้พืชตายได้

การป้องกันกำจัด :

1. ควรทำการสำรวจบริเวณยอดของดาวเรืองบ่อย ๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบปริมาณของ เพลี้ยไฟ เพื่อที่จะได้เลือกวิธีการป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (Monitoring control)
2. ช่วงฤดูร้อนการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ในแปลงปลูกจะช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟลงได้
3. ใช้กับดักกาวเหนียวสีฟ้า หรือสีขาว จะช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟลงได้ โดยใช้พลาสติกสี ฟ้าหรือสีขาวขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียว
4. หากมีการสำรวจปริมาณของเพลี้ยไฟบริเวณยอดดาวเรืองแล้วพบว่า มีจำนวนประชากรของ เพลี้ยไฟเฉลี่ยต่ำกว่า 10 ตัวต่อยอด ให้เลือกใช้เชื้อราบูเวอเรีย อัตราใช้ตามฉลากแนะนำ

แมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf minors) แมลงวันหนอนชอนใบ เป็นแมลงขนาดเล็ก มีลำตัวสีดำ มีแต้มสีเหลืองที่ข้างหน้าอก และส่วนอกด้านบนปีกใส ลักษณะการเข้าทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบนั้นจะทำลายต้นดาวเรืองได้ 2 วิธีคือ การทำลายที่เกิดจากตัวเต็มวัย โดยตัวเต็มวัยเพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในเซลล์ผิวใบดาวเรือง เขี่ยให้เซลล์แตก แล้วหันมาใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงเซลล์ การทำลายแบบนี้จะทำให้ใบดาวเรืองที่ถูกทำลาย เกิดเป็นรอยเจาะเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ นอกจากนั้นแมลงวันตัวเต็มวัยเพศเมียเมื่อถึงระยะวางไข่จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในเซลล์ผิวใบดาวเรือง และวางไข่ในรอยเจาะการเข้าทำลายจากหนอนชอนใบที่เกิดจากตัวหนอน เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจากไข่ จะเจาะทะลุออกทางด้านที่ไข่ฝังตัวในเซลล์ใบดาวเรือง และเข้าชอนไชกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ผิวใบ ทำให้เกิดเป็นรอยทาง คดเคี้ยวเป็นรูปต่าง ๆ การที่หนอนชอนใบกินน้ำเลี้ยงใต้ผิวเป็นรอยทาง ทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นดาวเรืองลดลง ต้นพืชอ่อนแอไม่เจริญเติบโตตามปกติ ผลผลิตลดลง นอกจากนั้น รอยเจาะที่ผิวใบจะเป็น ช่องเปิดทำให้เชื้อราและเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชเข้าทำลายซ้ำ ทำให้ต้นดาวเรืองที่ถูกหนอนชอนใบลง ทำลายมีอาการใบแห้งและตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด

1. ทำการสำรวจแปลงปลูกดาวเรืองบ่อย ๆ เพื่อตรวจสอบประชากรของแมลงวันหนอนชอนใบ โดยดูจากร่องรอยการทำลายที่เกิดจากตัวหนอน และร่องรอยการทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบตัวเต็มวัยเพศเมีย ที่ทำให้ใบเกิดเป็นรอยจุดเล็ก ๆ (Monitoring control) หากทำการสำรวจแล้วพบว่า ร่องรอยการทำลายที่ชอนไชใบเป็นรอยคดเคี้ยวนั้นน้อยกว่า 10 รอยต่อต้น ให้รีบกำจัดไม่ให้แพร่ระบาด
2. ตัดแต่งใบ นำใบที่มีร่องรอยการทำลายไปเผา เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงวันหนอนชอนใบ

3. รักษาความสะอาดบริเวณรอบแปลงปลูก ตัดแต่งทำลายวัชพืชที่อยู่รอบ ๆ แปลงปลูกเพื่อเป็นการลดแหล่งหลบซ่อนตัวหนอนตัวเต็มวัยแมลงวันหนอนชอนใบ (Crop sanitation)
4. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง โดยใช้พลาสติกสีเหลืองขนาดกระดาษ A4 ทากาวเหนียว (มีขายทั่วไปตามร้านเคมีเกษตร) ติดเหนือทรงพุ่มต้นดาวเรืองอัตราการใช้ประมาณ 60-80 กับดักต่อไร่ ควรติดให้สูงจากทรงพุ่มประมาณ 30เซนติเมตร เพื่อควบคุมตัวเต็มวัยแมลงวันหนอนชอนใบที่เป็นแมลงบินได้ (Mechanical control)

ไรแดง (Red spider mite) พบมากในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัด พบมากในบริเวณใต้ใบ และจะลามไปทั้งแปลง ไรแดงมี รูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก สีแดง ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้าย แมงมุม คลุมทั้งต้นทั้งใบ ไรแดงจะใช้ปากที่เป็นแบบเจาะดูด เจาะดูดกินเซลล์ใบพืชและเซลล์ดอกพืช ทำให้ใบหงิกงอ ทำให้สีดอก – ใบ มีสีซีด

การป้องกันกำจัดไร

1. เข้าสำรวจต้นดาวเรืองบ่อย ๆ เพื่อสำรวจปริมาณไรแดง โดยไรแดงให้สำรวจบริเวณยอด และใต้ใบดาวเรือง (Monitoring control) หากทำการสำรวจพบว่ามีไรแดงเฉลี่ยน้อยกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้วิธีการป้องกันกำจัดโดยใช้เชื้อ บูเวอร์เรีย อัตราใช้ตามฉลากแนะนำ
2. ตัดแต่งใบที่มีไรแดงอาศัย ออกไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณประชากรของไรแดง (Mechanical control)
3. หากสำรวจแล้วพบว่ามีไรแดงเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อต้นหรือมีไรแดงมากจนไม่สามารถ ควบคุมได้ อาจใช้วีการควบคุมโดยการใช้สารเคมี โดยช่วงเวลาการพ่นสารเคมีควรเป็นช่วงสายและช่วงบ่าย จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด (Chemical control)

โรคของดาวเรือง


โรคเหี่ยวเขียว : สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstoniasolanacearum
ลักษณะอาการ โรคเหี่ยวเขียว หรือโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacteria wilt) ที่เชื้อสาเหตุโรค Ralstoniasolanacearum เป็นโรคที่สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับดาวเรือง ทำให้ต้นดาวเรืองเหี่ยวลู่ลงมาทั้งต้นในขณะที่ใบยังเขียวอยู่ การพัฒนาของโรคจะเร็วมาก สามารถแพร่กระจายได้ดีทางน้ำและติดไป กับอุปกรณ์ทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น การใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดกิ่งที่เป็นโรคออก แล้วอย่านำกรรไกรตัดกิ่งอันเดียวกันไปตัดแต่งกิ่งของต้นปกติ ทำให้ต้นปกติติดเชื้อได้การเดินย่ำแปลงที่เป็นโรค เชื้อสาเหตุสามารถติด มากับดินที่ติดอยู่กับรองเท้าได้ เมื่อเดินเข้าไปในแปลงที่ไม่เป็นโรคเหี่ยว เชื้อสามารถแพร่กระจายได้
การเข้าทำลายพืชและการแพร่กระจายของเชื้อ R. solanacearum เมื่อเชื้อถูกพาให้ระบาดไปและพบกับต้นดาวเรือง เชื้อจะเข้าสู่ทางบาดแผลและช่องเปิดตาม ธรรมชาติที่พืชมีอยู่ เช่น รากเชื้อจะเข้าไปเจริญในท่อน้ำา (Xylem) เชื้อจะเพิ่มจำนวนและแพร่ไปตามส่วน ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เซลล์ของเนื้อเยื่อพืชจะถูกทำลายจนเกิดช่องว่างมีเซลล์ของเชื้อ และสารเมือกซึ่งเป็น สาร extracellular polysaccharide (EPS) ที่มีความหนืดสูงอยู่มากมายในท่อน้ำท่ออาหาร ทำให้เกิดการอุดตันภายในท่อน้ำท่ออาหาร

การป้องกันกำจัดโรค

1. หมั่นสำรวจต้นดาวเรืองในแปลงปลูก เพื่อตรวจติดตามการเกิดโรคเหี่ยวเขียว (Monitoring control) หากพบอาการเหี่ยวของต้นดาวเรืองควรนำมาตรวจสอบหาสาเหตุโรคเหี่ยว เบื้องต้นด้วยวิธีดังที่กล่าวมาข้างต้น
2. ถ้ามีต้นที่แสดงอาการเหี่ยว ควรถอนต้นให้ติดรากขึ้นมาแล้วนำออกนอกแปลงปลูก ระวังอย่าให้ดินร่วงลงพื้นเพราะเชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้ แล้วนำไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของเชื้อที่ อยู่ในลำต้น (Mechanical control)
3. ก่อนการปลูกดาวเรืองครั้งต่อไป ควรไถพรวนพลิกดินตากแดด ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อ เป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเขียว (Mechanical control)
4. หลังจากการไถดินแล้วอาจทำการปรับดินด้วยปูนโดโลไมท์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผสม คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทำการรดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับดิน หลังจากนั้นใช้พลาสติกคลุมแปลงคลุมแปลง ทิ้งไว้ 15 วัน จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ ผลปรากฏว่าสามารถช่วยฆ่าเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดินได้
5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรเช่น จอบ เสียม กรรไกรตัดกิ่ง ด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคที่ติดมากับอุปกรณ์ทางการเกษตร
6. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่ได้คุณภาพ ปราศจากโรคที่ติดมากับเมล็ดและ เลือกสายพันธุ์ ดาวเรืองที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว (Cultural control)
7. การเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นเชื้อปฏิปักษ์ เชื้อไตรโคเดอมาร์ หรือ บาซิลลัส ซับทิลิส เพื่อช่วยควบคุมโรคในดิน
8. หากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ยังไม่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวเขียวได้ อาจเลือกใช้สารเคมี และควรผสมตามอัตราส่วนที่แนะนำราดบริเวณหลุม ที่ถอนต้นดาวเรืองที่แสดงอาการเหี่ยวออกไปแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ของแปลงปลูก

โรคเหี่ยวเหลือง Fusarium sp. สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum
ลักษณะอาการ อาการเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม นั้นจะปรากฏอาการช้ากว่าเชื้อแบคทีเรีย ดาวเรือง มักจะแสดงอาการใบเหลืองร่วมด้วย จะเกิดการชะงักการเจริญเติบโต และใบเหี่ยว โดยระยะแรกจะเหี่ยว ชั่วคราว คือจะแสดงอาการใบเหี่ยวเฉพาะช่วงเวลากลางวันที่แดดร้อน พอผ่านกลางคืน ตอนเช้าจะฟื้นตัว เป็นเช่นนี้ระยะหนึ่ง ต่อมาดาวเรืองจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างถาวร จะยืนต้นทั้งเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การสังเกตุ บริเวณโคนต้นจะเป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าถอนต้นขึ้นมาให้สังเกตุที่รากรากจะมีการเน่าร่วมด้วย ถ้าทำการผ่ากลางต้นดาวเรืองจะพบว่าบริเวณท่อน้ำ ท่ออาหารจะถูกทำลายเป็นแผลสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัดโรค

1. หมั่นสำรวจต้นดาวเรืองในแปลงปลูก เพื่อตรวจติดตามการเกิดโรคเหี่ยวเหลือง (Monitoring control) หากพบอาการเหี่ยวของต้นดาวเรืองควรนำมาตรวจสอบหาสาเหตุโรคเหี่ยวเบื้องต้น โดยตัดส่วนเหนือดิน ตัดใบทิ้ง นำลงไปแช่ในภาชนะใสที่บรรจุน้ำสะอาดเป็นเวลาประมาณ 2-3 นาที ถ้า อาการเหี่ยวของดาวเรืองที่เกิดจากเชื้อรา (โรคเหี่ยวเหลือง) จะไม่มีเมือกสีขาวขุ่นไหลลงมาตามน้ำเป็นสาย ถ้าไม่มีเมือกสีขาวขุ่นไหลลงมา อาจจะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเหี่ยวเหลือง (ควรทำการส่งตรวจสอบในห้องปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่า เป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม)
2. ถ้ามีต้นที่แสดงอาการเหี่ยว ควรถอนต้นให้ติดรากขึ้นมาแล้วนำออกนอกแปลงปลูก ระวังอย่าให้ดินร่วงลงพื้นเพราะเชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้ แล้วนำไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของเชื้อที่ อยู่ในลำต้น
3. ก่อนการปลูกดาวเรืองครั้งต่อไป ควรไถพรวนพลิกดินตากแดด ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวเหลือง (Mechanical control)
4. หลังจากการไถดินแล้วอาจทำการปรับดินด้วยปูนโดโลไมท์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทำการลดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับดินหลังจากนั้นใช้พลาสติกคลุมแปลงคลุมแปลง ทิ้งไว้ 15 วัน จากการทดลองในห้องปฏิบัติการผลปรากฏว่าสามารถช่วยฆ่าเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดินได้
5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรเช่น จอบ เสียม กรรไกรตัดกิ่ง ด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคที่ติดมากับอุปกรณ์ทางการเกษตร
6. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่ได้คุณภาพ ปราศจากโรคที่ติดมากับเมล็ดและ เลือกสายพันธุ์ดาวเรืองที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเหลือง “AFM” (Cultural control)
7. หากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ยังไม่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวเหลืองได้ อาจเลือกใช้สารเคมี ควรผสมตามอัตราส่วนที่แนะน าราดบริเวรหลุมที่ถอนต้นดาวเรืองที่แสดงอาการเหลืองออกไปแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อรา แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ของแปลงปลูก

โรคใบจุด อัลเทอนาเรีย (Alternaria) สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ จะพบว่าบริเวณส่วนใบของดาวเรืองเป็นจุดค่อนข้างกลม ภายนอกจะเป็นจุดสีม่วงเข้มภายใน จะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน หากเกิดการระบาดมากจะทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้น้อยลง ส่งผลให้ต้นโทรมอย่างรวดเร็ว ทำให้ดอกเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ พบว่าเชื้ออัลเทอนาเรียสามารถเข้าทำลายส่วนของลำต้นของดาวเรืองได้อีกด้วย โดยลักษณะอาการจะคล้ายกับที่เกิดบริเวณใบคือเป็นจุดภายนอกค่อนข้างกลม ภายในจุดสีน้ำตาลอ่อน ชื่อของโรคนี้อาจเรียกแตกต่างกันไปตามส่วนของดาวเรืองที่เกิดอาการ เช่นโรคเกิดที่ใบเรียก ใบจุด (leaf spot) โรคเกิดที่ลำต้น เรียกลำต้นจุด (stem spot)

การป้องกันกำจัดโรค
1. หมั่นสำรวจต้นดาวเรืองในแปลงปลูก เพื่อตรวจติดตามการเกิดโรคใบจุด (Monitoring control)
2. ทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ดูโปร่งเสมอเพื่อลดการสะสมของโรคใบจุด ถ้าหากใบแสดงอาการ ของโรคใบจุดไม่มาก สามารถใช้แรงงานจัดการได้ ให้รีบตัดแต่งใบที่แสดงอาการของโรคออกจากแปลงปลูก นำไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของโรค เพราะส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราที่เรียกว่าสปอร์ สามารถเจริญเติบโตและปลิวไปตามลมได้
3. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองที่มีคุณภาพดี ที่ไม่มีความเสี่ยงของโรคที่ติดมากับเมล็ด
4. หากการใช้วิธีต่าง ๆ ดังกล่าวยังไม่สามารถควบคุมโรคใบจุดได้ อาจเลือกการใช้สารเคมีทำการฉีดพ่น เพื่อให้สามารถควบคุมโรคใบจุดได้อย่างทันเวลา
ข้อมูลจาก : ดาวเรือง ( งานวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ )

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับดาวเรือง
การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดินยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ก่อนปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-