พันธุ์ข้าวต้านหนาวกข57

ชื่อพันธุ์: กข 57 ปทุมธานี 200 (Pathum Thani 200)
🌾ชนิด : ข้าวเจ้า
🌾คู่ผสม : ผสมพันธุ์ระหว่าง สุพรรณบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกะโดสีน้ำตาล กับ IR64
🌾ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง มุมปลายใบธงตั้งตรง
มุมใบธงตั้งตรง รวงยาวแน่นปานกลาง คอรวงโผล่เล็กน้อย สามารถลงปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรังอายุการเก็บเกี่ยว 115 วัน (นาดำ) 105-110 วัน (นาหว่าน)ลำต้นสูงประมาณ 115-120 เซนติเมตร
🌾ลักษณะเด่น : ลำต้นแข็งต้านทานเพลี้ยและบั่วได้ดี รวงยาวผลผลิตดี ชอบอากาศหนาวเย็น เหมาะสำหรับลงปลูกในฤดูหนาว ลงได้ทั้งสภาพพื้นนาที่เป็นดินเหนียว และดินทราย
🌾ผลผลิต : ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร
🌾ประวัติพันธุ์ –
ผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในปี 2537 จากนั้นนำไปปลูกคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จนได้สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ปลูกศึกษาพันธุ์และนำเช้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เปรียบเทียบและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงฤดูนาปลัง 2548 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงได้นำสายพันธ์ที่อยู่ในระหว่างการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีทั้งหมดจำนวน 140 สายพันธุ์ไปทดลองซ้ำปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเรือนทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พบว่าสายพันธุ์นี้เป็นเพียง 1 ใน 2 สายพันธุ์ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายในการทดลองคราวนั้นทั้งหมด 140 สายพันธุ์ จึงได้ถอนต้นกล้าของสายพันธุ์นี้จากกระบะทดสอบแมลงไปปักดำไว้ในกระถางแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดแบบแยกรวง ในฤดูนาปี 2548 แบ่งเมล็ดจากแต่ละรวงส่วนหนึ่งนำไปทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอีกครั้งส่วนเมล็ดที่เหลือนำไปปลูกในแปลงทดลองโดยแต่ละรวงให้รหัสสายพันธุ์เดียวกัน พบว่ามี 2 สายพันธุ์ ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับ MR-R คือ SPR94007 -27-2-9-3-1 และ SPR94007-27-2-9-3-2 จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ จากแปลงทดลองนำไปปลูกขยายพันธุ์และศึกษาลักษณะทางเกษตรในฤดูนาปรัง 2549 ถึงฤดูนาปี 2550 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์ SPR94007-27-2-9-3-2 เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีในฤดูนาปี 2550 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีตั้งแต่นาปี 2551 ถึงฤดูนาปี 2553 เปรียบเทียบผลผลิตในราษฎร์ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2554 ถึงฤดูนาปรัง 2555 ในขณะเดียวกันได้ทำการทดสอบการตอบสอนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และทดสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและปลูกทดสอบเสถียรภาพผลผลิต
🌾การรับรองพันธุ์: คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมการวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557
เครดิต : กองวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว