จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1.การคลุมดิน ( Mulching )

เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนำน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ


-ชนิดวัสดุคลุมดิน
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ประโยชน์ของการคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ
-รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
-ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำและลดการชะล้างพังทลายของดิน
ด้านเคมี
-ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2.การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่นการปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping )

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือตะกูลหญ้า

-ชนิดวัสดุคลุมดิน
พืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว ( ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนแอฟริกัน ถั่วมะแฮะ ) ถั่วปินตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

พืชตระกูลหญ้า หญ้าเนเปีย หญ้าแพงโกลา หญ้ากินนี

 

แฝก ( ตัดใบคลุมดิน )

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดีเพราะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน
-รักษาความชุ่มชื้นในดิน
ด้านเคมี
-เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช คืนความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านอื่น ๆ
-ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี -เพิ่มรายได้ / ลดค่าใช้จ่าย

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบได้ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ระบบการปลูกพืช การจัดการดินที่ใช้น้ำน้อยด้วยระบบการปลูกพืชโดยการนำพืชปุ๋ยสดมาใช้ในพื้นที่ เป็นการพักดินจากการปลูกพืชหลัก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหาร ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และคงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมต่อไป ระบบการปลูกพืช มีดังนี้
1.ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ( Crop rotation ) คือการปลูกพืชสองชนิด หรือมากกว่าหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ด้วยการจัดชนิดของพืชและเวลาปลูกให้เหมาะสม เช่น
-การปลูกและไถกลบปอเทือง ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน
-การไถกลบถั่วพุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกงาขาว
2.ระบบปลูกพืชแซม ( Inter cropping ) คือการปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในพื้นที่ และเวลาเดียวกัน ซึ่งพืชชนิดที่สอง จะปลูกแซมลงในระหว่างแถวของพืชแรก หรือพืชหลัก ซึ่งระบบรากของพืชทั้ง 2 ชนิด จะมีความลึกแตกต่างกัน เช่น
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วพุ่ม
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียว


3.ระบบปลูกพืชแบบแถบพืช ( Strip cropping ) คือการปลูกพืชที่มีระยะปลูกถี่และห่างเป็นแถบสลับกันขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับ หรืออาจไม่เป็นไปตามแนวระดับก็ได้ เช่น
-การปลูกแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( กระถินผสมถัวมะแฮะ ) จะสามารถลดปริมาณการสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ที่มีความลาดชันและช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้
4.ระบบปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping ) คือการปลูกพืชหญ้า หรือพืชตระกูลถั่วคลุมดินซึ่งจะช่วยควบคุมการกร่อนของดิน และช่วยปรับปรุงบำรุงดิน เช่น
– การปลูกถั่วปินตอย ถั่วคุดซู่ (Kudzu) ถั่วคาโลโปโกเนียม ( Calopogonium )และถั่วเวอราโน( Verano ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดินได้
– การปลูกถั่วเซนโตรซีมา( Centrosema ) กับถั่วคาโลโปโกเนียม( Calopogonium ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเก็บความชื้นในดินมากยิ่งขึ้น
5.ระบบปลูกพืชเหลื่อมฤดู ( Relay cropping ) คือการปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกัน โดยพืชชนิดที่สองจะปลูกในระหว่างแถวของพืชแรกซึ่งอยู่ในช่วงสะสมน้ำหนักของผลผลิตแต่ยังสุกแก่ไม่เต็มที่
6.การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( Alley cropping ) คือการปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน พบในพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยและต้องการปลูกพืชตามแนวระดับ
หลักปฏิบัติถ้าต้องปลูกพืชหลังนาในสภาพน้ำน้อย
การปลูกพืชหลังนา ในสภาพพื้นที่มีน้ำจำกัด โดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำตลอดฤดูปลูกควรปฏิบัติดังนี้
-เลือกพืชปลูกที่มีอายุสั้น พืชทนแล้ง พืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว นิยมปลูกพืชตระกูลถั่ว
-เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อม เลือกใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เป็นเมล็ดที่สะอาด สมบูรณ์ไม่ลีบเล็ก
-เตรียมดินและปลูกเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว ในขณะความชื้นยังมีอยู่ในนา ซึ่งทดสอบโดยกำดินด้วยมือ ถ้ายังจับตัวเป็นก้อนไม่แตกร่วน แสดงว่าความชื้นยังมีพอ ปฏิบัติดังนี้
หว่านก่อนเกี่ยวข้าว 1 – 2 วัน ปล่อยให้เมล็ดงอก หรืออาจใช้รถไถคราดกลบจะช่วยให้งอกได้สม่ำเสมอ มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
หว่านหลังเก็บเกี่ยวข้าว หว่านเมล็ดพืชอายุสั้น พืชตระกูลถั่ว หรือ พืชปุ๋ยสดในแปลงนา ปล่อยให้เมล็ดงอก หรือใช้รถไถเตรียมดินที่ยังมีความชื้นพอหว่านเมล็ดพันธุ์ปลูก และคราดกลบ จะทำให้งอกได้สม่ำเสมอเจริญเติบโตดีขึ้น

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง : กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
—————————-