อินทผลัม พืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง เกษตรกรหลายพื้นที่กำลังให้ความสนใจ เพราะนอกจากอินทผลัมจะปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังให้ผลตอบแทนสูง สามารถเก็บผลผลิตได้นาน
โดยเกษตรกรนิยมปลูกสายพันธุ์บาร์ฮี (Barhi) ด้วยการใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเนื้อเยื่อ นำเข้าจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูแลง่าย ให้ผลผลิตสูง มีรสชาติหวานกรอบ เหมาะสำหรับรับประทาน ผลสด แต่ละต้นให้ผลผลิต มีคุณภาพใกล้เคียงกันการปลูกอินทผลัม สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 3 ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม นอกจากจะจำหน่ายแบบผลสดแล้ว เกษตรกรยังนำผลผลิตอินทผลัมมาแปรรูปเป็นน้ำอินทผลัม และอินทผลัมอบแห้ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
การปลูกอินทผลัมแม้มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงกว่าพืชอื่น แต่เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับถือว่าคุ้มค่าเกษตรกรที่สนใจปลูกอินทผลัม ควรศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่ยังคงต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผลผลิตโตอย่างเต็มที่
-
การเตรียมดินและการฉีดพ่นไร่เทพ
ในช่วงเตรียมดินก่อนการเพาะปลูกให้ใช้ อาหารเสริมพืช ไร่เทพ รดลงดินเพื่อเพิ่มสารอาหารในดิน และช่วยปรับปรุงดิน เมื่อปลูกพืชแล้วให้ใช้ อาหารเสริมพืช ไร่เทพ ฉีดพ่นทางใบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมกับน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน และในช่วงติดลูก ให้ใช้ อาหารเสริมพืช ไร่เทพ 1 ซอง ผสมกับน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 วัน เพราะในช่วงติดลูกพืชนั้นต้องการสารอาหารมากขึ้น โดย อาหารเสริมพืช ไร่เทพ ช่วยจะทำให้ผลของอินทผลัมมีรสชาติหวานและฉ่ำเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังปลอดภัย ไร้สารพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
-
การให้น้ำ
ควรให้น้ำทุกๆวันในฤดูร้อน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้งในฤดูหนาว หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จะทำให้อินทผลัมเติมโตได้ดี และให้ผลผลิตที่ดี หากเราปลูกต้นกล้าที่ออกใบขนนกแล้ว 3-4 ใบ ลงในแปลงช่วงต้นฤดูฝน เมื่อได้รับน้ำฝนมาหนึ่งฤดูแล้ว ไม่ได้รดน้ำในช่วงหน้าแล้ง อินทผลัมส่วนใหญ่จะสามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ตลอดช่วงหน้าแล้ง แต่จะเจริญเติบโตช้ามาก
-
การกำจัดวัชพืช
ในช่วงฤดูฝนวัชพืช จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากจนปกคลุมต้นกล้าและแย่งอาหาร ทำให้อินทผลัมเจริญเติบโตได้ช้า จึงต้องหมั่นกำจัดวัชพืชไม่ให้ขึ้นปกคลุม และคอยดูแลบริเวณโคนต้นให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันศัตรูพืชและแมลงต่างๆ มารบกวน
-
การตัดแต่งใบ
ใบอินทผลัมที่แก่แล้วให้ตัดทิ้ง โดยในต้นเล็กอาจจะใช้กรรไกรตัดแต่งใบ ต้นที่โตขึ้นมาอาจจะใช้เคียวในการตัดแต่งใบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ใบแก่เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง และยังทำให้ทรงพุ่มดูสะอาดสวยงาม สำหรับใบที่ยังไม่แก่ ให้ตัดหนามบริเวณโคนใบทิ้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในขณะทำงาน และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณโคนใบอินทผลัมจะมีหนามที่แข็งและยาวมาก
-
การผสมเกสร
เนื่องจากอินทผลัมมีต้นตัวผู้และตัวเมียแยกจากกัน การอาศัยธรรมชาติจากลมและแมลงเพียงอย่างเดียว ให้มาช่วยผสมเกสรจะทำให้อินทผลัมติดลูกไม่ดก ดังนั้นจึงต้องอาศัยเราให้ช่วยผสมเกสรให้จึงจะติดลูกดก อินทผลัมจะออกดอกเป็นจั่นโดยลักษณะดอกเกสรตัวผู้จะมีสีขาว กลีบดอกเป็นแฉกๆคล้ายหางกระรอก
สำหรับอินทผลัมต้นตัวเมียจะออกดอกเป็นจั่น เหมือนกับอินทผลัมต้นตัวผู้ แต่ดอกของต้นตัวเมียจะมีลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆเป็นช่อสีเขียวอ่อน โดยปกติแล้วอินทผลัมต้นตัวผู้จะออกดอกก่อนต้นตัวเมีย จึงต้องมีการเก็บเกสรต้นตัวผู้ไว้รอผสมให้เกสรต้นตัวเมีย เพื่อให้ติดลูกดก โดยเมือจั่นตัวผู้แตกออกมา เห็นกลีบดอกสีขาวเป็นแฉกๆให้นำถุงพลาสติกมาคลุมแล้วผูกปากถุงไว้ จากนั้นตัดช่อดอกออกมา แล้วนำมาเขย่าจะได้ละอองเกสรตกออกมา ให้นำละอองเกสรมาใส่ถุงไว้ ไล่อากาศออก ปิดปากถุงให้สนิทแล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นช่องปกติ ซึ่งเราสามารถเก็บรักษาเกสรไว้ได้นานเป็นปี เพื่อรอผสมเกสรให้กับต้นตัวเมีย
เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการผสมเกสรคือช่วงเช้า โดยนำเกสรตัวผู้ที่เก็บไว้บางส่วนมาใส่ถุงพลาสติก เขย่าถุงให้ละอองเกสรฟุ้งกระจายในถุง จากนั้นนำไปครอบดอกตัวเมีย แล้วเขย่าให้ละอองเกสรผสมกัน โดยควรผสมซ้ำอีก 1 ครั้งในวันต่อมา และถ้าหากเกิดฝนตกหลังจากผสมเกสรไปแล้ว 4-6 ชั่วโมง ต้องทำการผสมเกสรใหม่ เพราะน้ำฝนจะชะละอองเกสรตัวผู้ออกไป ซึ่งอาจจะทำให้ติดผลไม่ดีเท่าที่ควร
-
การตัดแต่งช่อผล
เราจะต้องทำการปลิดผลอินทผลัมบางส่วนในขณะที่ผลยังเล็กอยู่ออกบ้าง เพื่อให้ผลอินทผลัมที่เหลืออยู่มีขนาดใหญ่ มีคุณภาพดี สุกเร็ว มีราคาสูง และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยให้มีผลอินทผลัมเหลืออยู่ในแต่ละก้านประมาณ 20–25 ผล และมีอยู่ 45–50 ก้านใน 1 ช่อ การปล่อยให้แต่ละช่อมีจำนวนก้านและติดผลดกมากจนเกินไป จะทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็ก และมีผลบางส่วนไม่สมบูรณ์
-
การกำจัดศัตรูพืช
ในช่วงปลายฤดูฝนจะมีศัตรูพืชลักษณะเป็นเม็ดเล็กมาจับที่ใบอินทผลัม ส่วนมากจะอยู่บริเวณด้านหลังใบ และจะแพร่ขยายออกไปทำให้ใบแห้ง เรียกว่าโรคใบจุด ให้รีบตัดใบนั้นไปทำลายทิ้งก่อนแพร่ระบาดออกไป ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืช เพียงแต่หมั่นตรวจดูว่าเริ่มมีการระบาด แล้วให้รีบกำจัดโดยการตัดใบที่เป็นโรคทิ้งไปแต่เนิ่นๆ