สภาพอากาศในช่วงนี้อาจทำให้เชื้อราก่อโรคพืชแพร่ระบาดได้ดี ไร่เทพเตือนเกษตรกรให้หมั่นสังเกตอาการ โรคใบจุดสีดำ และ โรคใบจุดสีน้ำตาล อาการของโรคจะเกิดแผลที่ใบ เริ่มจากใบตอนล่างก่อน แผลจะมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดไม่แน่นอน ใหญ่สุดประมาณ 5-8 มม. ขอบแผลอาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบหากอาการรุนแรง แผลจะขยายขนาดมาชนกัน ใบจะเหลือง ขอบใบบิดเบี้ยว ใบไหม้เป็นสีน้ำตาลดำ และร่วงก่อนกำหนด โรคจะลุกลามขึ้นสู่ใบด้านบน หรืออาจพบอาการของโรคบนหูใบ ก้าน ลำต้น และขั้วฝัก
โรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา Helminthosporium oryzae Breda de Haan สปอร์เชื้อราจะงอกที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส และมีการติดเชื้อที่ความชื้น 90-100% อาการที่พบได้ชัดเจนบริเวณใบและกาบใบ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่เป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว จุดที่มีขนาดใหญ่แต่ไม่เรียงเป็นเส้น มีลักษณะคล้ายโรคใบขีดสีน้ำตาล โดยเชื้อราตัวนี้มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ สปอร์เชื้อราลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ ถูกลมพัดปลิวไปมาได้ และฝังตัวอยู่ในเศษซากวัชพืช แต่ส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดจากเมล็ดพันธุ์ติดเชื้อรา
โรคใบจุดสีดำ โรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา Diplorcarpon rosae เกิดได้ในเขตที่มีอากาศร้อนชื้น ทำให้ใบเหลืองร่วงหมดต้น แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จะพบอยู่เสมอในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกุหลาบตัดดอกจะอ่อนแอต่อโรคนี้มากกว่ากุหลาบประเภทอื่นอาการของโรคมักเกิดขึ้นที่ใบบริเวณโคนต้น ขึ้นไปจนถึงบริเวณยอดใบ มีจุดกลมสีดำขนาดเล็กบริเวณผิวด้านบนของใบ และจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วหากอากาศมีความชื้นสูงและผิวใบเปียก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-2 เซนติเมตร ภายในจดจะเห็นเส้นใยเป็นขุย ถ้าแผลเกิดขึ้นนานแล้วจะมีก้อนสีดำเล็กๆกระจายอยู่ หากเข้าใบจะทำให้ใบมีสีเหลืองและร่วงอย่างรวดเร็ว และเมื่อเป็นมาก ต้นกุหลาบจะโทรม และอาจชะงักการเจริญเติบโต
สำหรับการป้องกัน 2 โรคนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ในแปลงปลูกพืชก่อนแสดงอาการของทั้ง 2 โรค ให้ฉีดพ่นด้วยไร่เทพเพื่อป้องกันการเกิดโรคพืช และไร่เทพจะช่วยฟื้นฟูพืชจากโรคนี้ได้ โดยฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพราะไร่เทพสามารถต้านโรคพืชและแมลงได้ โดยไร่เทพ อาหารเสริมพืช ช่วยเพิ่มสารอาหารในดินส่งผลให้พืชต้านทานต่อโรคพืช รวมถึงช่วยบำรุงฟื้นฟูพืชที่ได้รับเชื้อไปแล้วให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์ได้ และพืชให้ผลผลิตตามที่เกษตรกรต้องการได้ ไม่เป็นอันตรายต่อพืช ผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม ใช้ป้องกัน โรคราสนิม,โรคราน้ำค้าง,โรคแคงเกอร์,โรคแอนแทรคโนส,โรคโคนเน่า,โรคกิ่งเน่า,โรครากเน่า,โรคใบจุด,โรคเถายุบ และโรคเถาเหี่ยว
ในแปลงที่พบการระบาดของโรคนี้แล้ว เกษตรกรควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น อีกทั้งควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป