ศัตรูนาข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล!!

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงปากดูดที่ดูดเงิน ดูดกำไร จากพี่น้องเกษตรกร ศัตรูอันดับหนึ่ง ไม่เป็นสองรองใครและยังเป็นพาหะของโรคใบหงิกในข้าวอีกด้วย ตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนดำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งตายเป็นหย่อมๆ โดยมากจะพบในระยะแตกกอถึงออกรวง  แบ่งออกเป็น  อาศัยกระแสลมช่วยอพยพเคลื่อนย้าย เข้าทำลายด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นเหนือผิวน้ำ

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งข้าวส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะตั้งท้องถึงออกรวง ขอให้ระมัดระวังการระบาดทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยรูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยจะมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีชนิดปีกยาว (บินได้) และชนิดปีกสั้น (บินไม่ได้) สามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลม ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4.0-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4.0 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 รุ่น

ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ เป็นตัวห้ำในอันดับ Hemiptera วงค์ Miridae เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-3 เท่ามวนชนิดนี้ สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้

แมงมุมสุนัขป่า Lycosa psuedoannulata (Bosenberg & Strand) เป็นแมงมุมในอันดับ Araneaeวงค์ Lycosidae เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุด ในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆ ในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าว แตกกอ

 

#ไร่เทพ ขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปฏิบัติดังนี้

1. ใช้ไร่เทพฉีดพ่นเป็นละอองไปเกาะที่ใบ โดยไร่เทพจะมีกลิ่นที่แมลงศัตรูพืชไม่ชอบทำให้แมลงศัตรูพืชไม่บินมาเกาะหรือเข้าใกล้ และที่สำคัญคือไร่เทพจะช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวโตไวและมีคุณภาพดี

2. หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ และไม่ควรปล่อยให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดสูง

3. ในแหล่งที่มีการระบาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะข้าวตั้งท้องขอให้ควบคุมระดับน้ำในนา ให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไปจะช่วยลดการระบาดได้

4. ห้ามใช้สารที่มีพิษสูงต่อมวนเขียวดูดไข่ เช่น สารอะบาเม็กติน และสารในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์

5. เลือกใช้พันธุ์ที่ทางราชการแนะนำ เช่น พันธุ์กข 29 กข31 กข41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 กข.47 หรือ กข 49 และและในพื้นที่เดียวกันให้ปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ เพื่อชะลอการปรับตัวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก

6. ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอ ปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

7. ไม่ควรหว่านข้าวแน่นเกินไป ให้ใช้อัตราประมาณ 15 กก./ไร่ หรือปลูกแบบนาดำ เพื่อให้ต้นข้าวแข็งแรง และพ่นสารทั่วถึง

8. ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป (ไม่ควรเกิน 50 กก./ไร่) เนื่องจากทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำซึ่งเหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งเหมาะแก่การระบาดโรคพืชหลายชนิดอีกด้วย