พริกเป็นพืชผักในกลุ่ม Solanacious เช่นเดียวกับมะเขือเทศแต่อยู่ใน Genus Capsicumในประเทศไทยที่นิยมปลูกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดทั้งเผ็ดและไม่เผ็ดเช่น พริกขี้หนู (bird chilli) พริกมันหรือพริกชี้ฟ้า (hot pepper) พริกหยวก (banana pepper) และพริกยักษ์ หรือพริกหวาน (bell pepper) แม้ว่าพริกจะเป็นพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารประเภทปรุงแต่งรส แต่ก็เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจจัดอยู่ในกลุ่มของพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของชาวไทยสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศ โรคพริก มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และไส้เดือนฝอย ไร่เทพอยากบอกต่อแก่เกษตรกรได้เรียนรู้สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ การป้องกัน และการกำจัด โรคพริก อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพ ไม่เกิดความเสียหาย และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่การลงทุน โรคพริก มีหลายโรคด้วยกัน หากดูแลต้นพริกหลังการปลูกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ทั่วถึงแล้ว ก็จะพบกับอาการของโรคพริก ดังนี้
1.โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียจะเข้าทำลายทางรอยแผลที่เกิดจากการเขตกรรม หรือแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของแมลงหรือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดอาการเหี่ยวเขียวกระจายเป็นกลุ่มๆ ยอดและกิ่งใบจะลู่ลงในช่วงกลางวัน และฟื้นตัวในช่วงกลางคืน ในขั้นรุนแรง จะเหี่ยวและยืนต้นตายขณะที่ใบยังเขียวอยู่ได้ภายใน 2 ถึง 3 วัน
การป้องกันและกำจัด
ถอนต้นที่เป็นโรคออกไปทำลายด้วยการเผา
ไถตากดินเพื่อทำลายเชื้อ
ฉีดพ่นไร่เทพ ที่เป็นอินทรีย์เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์แข่งขันในดิน
ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่ว
2.โรคใบหงิกเหลือง
เกิดจากเชื้อไวรัสใบหงิกเหลือง ที่ทำให้ใบพริกด่างเหลือง และโปร่งแสงระหว่างเส้นใบหรือเส้นใบเหลืองเป็นร่างแหบริเวณโคนใบและขอบใบ ใบโค้งงอคล้ายรูปถ้วย กลางใบหงิกย่น ผลผลิตลดลง ต้นพริกหยุดการเจริญเติบโต โรคนี้มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ พบระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง โดยมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น กระเจี๊ยบมอญ แตงกวา พืชตระกูลถั่วบางชนิด บวบเหลี่ยม พริก ฟักเขียว ฟักทอง มะเขือเทศ มะระจีน กระทกรก ครอบจักรวาล พันงูเขียว มะเขือยักษ์ ไม้กวาด สาบแร้งสาบกา ผักแครด และหญ้ายาง
การป้องกันและกำจัด
เลือกพันธุ์พริกที่มีความต้านทานต่อโรค
ใช้แผ่นพลาสติกสีบรอนซ์คลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของแมลงพาหะ โดยควบคุมวัชพืชและทำกับดักกาวเหนียว
หมั่นสำรวจ หากพบต้นพริกที่มีอาการของโรค ให้ทำการถอนออกทั้งต้น ไปเผาทำลาย
กำจัดวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยและสะสมเชื้อไวรัส
ใช้สารเคมี เช่น สารอิมิดาโคลพริด หรือสารคาร์โบซัลแฟน หรือสารอะซีเฟท หรือสารไบเฟนธรินหรือใช้น้ำหมักสมุนไพรกำจัดแมลงหวี่ขาว
ปลูกพืชพมุนเวียนสลับกับการปลูกพริก
3.โรคใบจุดตากบ
มีเชื้อสาเหตุคือ เชื้อรา ทำให้เกิดแผลวงกลมหรือทางยาว มีขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม เนื้อแผลสีน้ำตาลอ่อน กลางแผลสีเทา หรือขาวที่บริเวณ ใบ ลำต้น ผล และก้านผล ในขั้นรุนแรง แผลจะขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หรือหลุด พบการระบาดในสภาพอากาศร้อนชื้น มีลมและสัตว์เป็นพาหะ เชื้อสาเหตุของโรคนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในซากพืช ในดิน และเมล็ดพันธุ์
การป้องกันและกำจัด
ไม่ควรปลูกต้นพริกแน่นหรือชิดกันจนเกินไป ควรปลูกเว้นระยะตามคำแนะนำในบทความ การปลูกพริก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยลดความชื้น และป้องกันโรค
เมื่อพบการเกิดโรค ให้รีบกำจัดในทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ในการกำจัดโรคนั้น ให้ลดการให้น้ำ และพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรค เช่น สารแมนโคเซป หรือสารมาเนบ หรือสารเบนโนมิล หรือน้ำหมักสมุนไพร
4.โรคราแป้ง
เกิดจากเชื้อราที่มักระบาดในฤดูหนาว สังเกตเห็นอาการเริ่มต้นที่มีผงคล้างแป้งสีขาวปกคลุมใบแก่ส่วนล่างของลำต้น หรือส่วนอื่นๆ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน หรือผลอ่อน ให้ผิดรูปร่าง และดูดน้ำเลี้ยงทำให้เหลืองและต้นแห้งตาย
การป้องกันและกำจัด
กำจัดซากพืช และวัชพืชในแปลงให้หมด
ใช้สารไดโนแคป สารไตรโฟรีน และสารเบโนมิล กำจัด
5.โรครากปม
เกิดจากไส้เดือนฝอย ใช้ปากแทงเนื้อเยื่อแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากรากเป็นอาหาร ทำให้ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและขนาดเล็กลง รากเป็นผม และเน่า ต้นแคระแกร็น เหี่ยว ใบเหลือง จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ เข้าทำลายต้น และต้นตายได้ การแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยนั้น จะไปกับดิน น้ำ ต้นกล้า และเครื่องมือที่ใช้ในแปลงปลูกที่มีไส้เดือนฝอย
การป้องกันและกำจัด
-โรยแกลบหรือฟางแห้งให้ทั่วพื้นที่เพาะปลูก หนาประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นเผาแกลบหรือฟางให้ทั่วพื้นที่นาน 8 ชั่วโมง (อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ 600 องศาเซลเซียส) แล้วใช้ดินโรยเพื่อดับไฟ เมื่อดินเย็นจึงเริ่มทำแปลง และทำการเพาะปลูกตามปกติ
-หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนต้นพริกไปเผาทำลาย
-ก่อนและหลังปลูกควรไถพลิกหน้าดินตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน
-หากพบการระบาดของไส้เดือนฝอย ไม่ควรใช้เครื่องมือการเกษตรจากบริเวณที่พบการระบาดร่วมกับพื้นที่อื่น
-ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอย
-ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง หรือปอเทือง ปลูกดาวเรืองและงา สลับกับพริกประมาณ 1 ถึง 2 ครั้ง เพื่อตัดวงจรชีวิตไส้เดือนฝอย
-ใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการกำจัด เช่น เชื้อรา Paecilomyces lilacinus หรือ เชื้อแบคทีเรีย Pasteuria penetrans
6.โรคกุ้งแห้งเทียม
เกิดจากเชื้อรา เริ่มต้นอาการที่ด้านบนของใบเป็นแผลกลมสีน้ำตาล อาจมีขอบสีเหลืองหรือวงสีน้ำตาลซ้อนกันคล้ายโรคกุ้งแห้ง โรคนี้มักเกิดที่ผลมากกว่าที่ใบ บริเวณรอยเจาะของแมลงวันผลไม้ หรือเนื้อเยื่อที่บาง ผลจะเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดและแห้งจากการขาดธาตุแคลเซียมและโบรอน ในสภาวะอากาศชื้น มักเกิดเส้นใยคล้ายกำมะหยี่สีดำปกคลุมแผล
การป้องกันและกำจัด
-ป้องกันผล จากการเกิดบาดแผล
-ดูแลและบำรุงต้นพริกให้ได้รับธาตุอาหารครบถ้วน
-ใช้สารเดอโรซาน หรือสารรอฟรัสในการป้องกันและกำจัดโรค
7.โรคใบด่างประพริก (Chilli veinal mottle virus)
สาเหตุ เชื้อไวรัส CVMV ลักษณะอาการ จะมีอาการในช่วงปลายใบ โดยจะมีใบด่างเขียวซีด ในขั้นรุนแรงใบจะเริ่มเปลี่ยนรูปร่าง ใบยอดหด จ้นไม่โต ขนาดพริดจะเล็ก รูปร่างผิดปรกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนป็นแมลงพาหะ แพร่โดยการสัมผัส
การป้องกันกำจัด
-กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
-ฉีดพ่นไร่เทพ อาหารเสริมพืช ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพืช ช่วยให้พืชสมบูรร์แข็งแรง ทำให้ฟื้นฟูพืชได้
-ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
8.โรคใบด่างไวรัสวายมันฝรั่ง (แพร่ในพริกได้)
สาเหตุ เชื้อไวรัสPVY ลักษณะอาการ เส้นใบจะบวมใส ใบจะด่าง หดและย่น ในส่วนของผลผลิตจะลดลง และมีรูปร่างผิดปกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนป็นแมลงพาหะ แพร่โดยการสัมผัส
การป้องกันกำจัด
-กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
-ฉีดพ่นไร่เทพ อาหารเสริมพืช ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพืช ช่วยให้พืชสมบูรร์แข็งแรง ทำให้ฟื้นฟูพืชได้
-ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
-ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรค เช่น มันฝรั่ง ยาสูบ และมะเขือเทศ
9.โรคใบด่างพริก
สาเหตุ เชื้อไวรัสCMV ลักษณะอาการ ใบมีสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้มหรือสีเหลือง ไม่ออกตอก ผลมีจุดสีเหลือง รูปร่างผิดปกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค
การป้องกันกำจัด
-กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
-ฉีดพ่นไร่เทพ อาหารเสริมพืช ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพืช ช่วยให้พืชสมบูรร์แข็งแรง ทำให้ฟื้นฟูพืชได้
-ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
-ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรคคือพืชตระกูลแตง
10.โรคใบด่างยาสูบ (สามารถ แพร่ในพริกได้)
สาเหตุ เชื้อไวรัส TEV ลักษณะอาการ เส้นใบมีลักษณะใส ใบและผลด่าง ใบด่างดห จ้นเหี่ยว ใบร่วง ผลมีลักษณะเล็กและรูปร่างผิดปกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค และสามารถแพร่โดยการสัมผัสหรือติดไปกับเครื่องมือ เชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้นานหลายปี
การป้องกันกำจัด
-กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
-ฉีดพ่นไร่เทพ อาหารเสริมพืช ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพืช ช่วยให้พืชสมบูรร์แข็งแรง ทำให้ฟื้นฟูพืชได้
-ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
-ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรคคือพืชตระกูลแตง
11.โรคเหี่ยวเขียว(Bacterial wilt)
สาเหตุ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ลักษณะอาการ โดยเริ่มแรกนั้นใบจะเหี่ยวและห้อยลงมา แต่ยังมีใบสีเขียว โดยจะยืนต้นตาย ถ้านำมาตัดดูบริเวณโคนต้น จะพบว่าท่อน้ำและท่ออาหารจะกลายเป็นสีน้ำตาล และถ้าตัดตามขวางจะมีน้ำสีขาวไหลออกมา การรแพร่ะบาด เชื้อแบคทีเรียนั้นสามารถอยู่ในดินได้นานหลายปี และ มีการระบาดมากในช่วงหน้าร้อนความชื้นในดินสูง สภาพดินไม่สมบูรณ์ ขาดไนโตรเจร หรือดินที่เป็นด่าง ต่างเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายและมีผลรุนแรง โดยโรคสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะกับอุปกรณ์ทางการเกษตร ลม น้ำ และคน
การป้องกันกำจัด
-ถ้าพบการแพร่ระบาดควรเปลี่ยนไปปลูกพืชหมุนเวียบ
-ไถดินตากแดกประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในดิน
-ในแปลงที่พบว่าเคยเกิดการระบาด เตรียมดินก่อนปลูกด้วย ยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 80+800 กิโลกรัมต่อไร่
-หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบไหลตามร่อง เพราะสามารถแพร่ระบาดไปทางน้ำได้
-ฉีดพ่นไร่เทพ อาหารเสริมพืช ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพืช ช่วยให้พืชสมบูรร์แข็งแรง ทำให้ฟื้นฟูพืชได้ ฉีดลงบนดินทุกๆ 7 วัน
12.โรคเหี่ยวเหลือง
สาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum ลักษณะอาการ เชื้อราจะเข้าทำลายส่วนที่อยู่ใต้ดินก่อน เช่น ส่วนราก ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน หลังจากนั้น ใบจะเริ่มเหลือง เหี่ยวและร่วงหล่นเริ่มจากใบล่างสู่ยอดอ่อน มักเกิดในระยะออกดอกและติดผล การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดจากการอาศัยอยู่ในดิน
การป้องกันกำจัด
-ปลูกพืชหมุนเวียน
-ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
-กำจัดต้นที่เป็นโรคออก หลังจากนั้นนำ ไร่เทพฉีดพ่นอาหารเสริมพืช ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพืช ช่วยให้-พืชสมบูรร์แข็งแรง ทำให้ฟื้นฟูพืชได้ใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาทุกๆ 10 วัน โดยฉีดพ่นทั้งต้นและเน้นที่บริเวณดินรอบๆโคนต้น