โรคเกิดขึ้นได้เมื่อสภาพอากาศที่เหมาะสม ในตอนต้นข้าวกำลังอ่อนแอ ถึงแม้ว่าจะใช้พันธ์ต้านทานโรคแล้วซึ่งเป็นวิธีที่ดีแล้ว แต่การป้องกัน ฟื้นฟู ก็จำเป็นเช่นกัน โดยโรคร้ายในข้าวจำไปทำให้ข้าวต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบมีสีผิดปกติ เนื้อเยื่อตายเป็นจุดๆ อาการเหี่ยวเฉา เป็นต้น จึงอยากแนะนำผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป
โรคถอดฝักดาบ
สาเหตุ เชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg (Fusarium moniliforme J. Sheld)
ข้าวเป็นโรคจะต้นผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่วๆ ไป ต้นข้าวผอมมีสีเขียวอ่อนซีดมักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้อง แต่รากจะเน่าช้ำเวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น
การแพร่ระบาด เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าวและในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน พบว่า หญ้าชันกาด เป็นพืชอาศัยของโรค
การป้องกันกำจัด
1.หลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เคยเป็นโรคระบาดมาปลูก
2.คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็บ
3.คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยไตรโครเดอร์มา
4.หมั่นตรวจดูแปลงเป็นประจำ
5.สามารถฉีดพ่นไร่เทพ และไร่เทพโกลด์ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-200 ลิตร ผสมกับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
6.ควรกำจัดต้นข้าวที่เป็นโรคโดยการถอนและเผาทิ้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปตกบนรวงข้าวอื่น
โรคไหม้
สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia oryzae.
ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี
การป้องกันกำจัด
1.ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น กข33 กข61
2.หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม
3.ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป
4.ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล
5.คลุมเมล็ดพันธุ์ด้วยไตรโครเดอร์มา
6.สามารถฉีดพ่นไร่เทพ และไร่เทพโกลด์ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-200 ลิตร ผสมกับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
โรคเมาตอซัง
สาเหตุ เกิดจากการของสารพิษ (H2S) ในดิน เกิดจากการสลายของตอซังที่ไม่สมบูรณ์
ต้นข้าวจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ต้นแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่างๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล จะพบเมื่อการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ เช่น สารซัลไฟด์ ไปทำลายรากข้าวทำให้เกิดอาการรากเน่าดำ รากไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้
การแพร่ระบาด เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีเชื้อสาเหตุ จึงไม่มีการระบาดติดต่อกัน
การป้องกันกำจัด
1.ระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
2.หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
3.ใช้ดินเทพช่วยเร่งการย่อยสลายตอซัง เศษซากอินทรียวัตถุอย่างสมบูรณ์
4..ไม่ควรให้ระดับน้ำในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ
#ไร่เทพ #ไร่เทพโกลด์ #โล่เขียว #ดินเทพ #ข้าว #ชาวนา #นาข้าว #เกษตร #เกษตรกร #เกษตรกรรุ่นใหม่ #เกษตรพอเพียง #ปุ๋ยทางใบ