Tag Archives: นาข้าว

ลดปัญหาข้าวดีด…ได้ด้วยดินเทพ

ดินเทพ ช่วยลดปัญหาข้าวดีดได้ โดยใช้ในขั้นตอนการตีดิน เพราะดินเทพจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเศษซากอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินมีธาตุอาหาร ช่วยให้ดินฟู ร่วนซุย และเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน และช่วยปรับโครงสร้างดิน  ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการเพาะปลูก อัตราการใช้ ดินเทพ 1 ขวด ใช้ได้ 10-12 ไร่

 

สาเหตุการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช        

การแพร่ระบาดของข้าววัชพืช  มาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ

1. ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวเนื่องจากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวจากแหล่งไม่มีคุณภาพ ในรอบ 1 ปี

2. ติดมากับอุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือเตรียมดิน,  เก็บเกี่ยวหรือภาชนะบรรจุข้าว โดยเฉพาะรถเกี่ยวนวดข้าว

3. ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาจากนาข้าว

4. การแพร่ไปกับน้ำ ในระบบชลประทาน

5. ติดไปกับอาหารเสริมของเป็ดที่ปล่อยในนาข้าว ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกที่มีราคาถูก มีสิ่งเจือปน

 

วิธีลดปัญหาข้าวดีด

เลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐาน

1.ทำความสะอาดเครื่องจักร และอุปกรณ์ทุกครั้งก่อน

2.เลือกใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่มีส่วนผสมที่มาจากนาข้าว และไม่มีเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งปลอมปน

3.ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งเข้ามากินเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้ง หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต

4.กำจัดด้วยวิธีเขตกรรม เช่น ล่อให้เมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งงอกแล้วไถกลบ 1-3 ครั้ง

5.เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากนาหว่าน เป็นนาดำ หรือการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า

6.ใช้ดินเทพ ในขั้นตอนการตีดินเพื่อย่อยสลายเศษซากอินทรียวัตถุในดิน และเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในดิน 1ขวดใช้ได้ 10-12 ไร่

ผ่านวิกฤตภัยแล้ง..ด้วยไร่เทพ

ลุงพงษ์ นิลพัฒน์  เป็นเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก มีแปลงนามากกว่า 100 ไร่ ทำนามาตลอดชีวิต  อาศัยอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุงพงษ์ เล่าว่า หลังจากหว่านข้าวไปเจอวิกฤตภัยแล้ง

ถึงขนาดที่ว่าน้ำในคลองก็ไม่มีให้วิดมาใช้ ลุงเลยตัดสินใจฉีดพ่นไร่เทพเพิ่มอีก 2 รอบ เพื่อให้ไร่เทพไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช ส่งผลให้พืชสามารถเจริญเติบโตต่อได้  และไร่เทพนอกจากจะช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ไม่ปกติแล้ว ยังช่วยทำให้ดินมีความอุ้มน้ำ ร่วนซุยไม่แข็งกระด้างอีกด้วย ในขณะที่แปลงนาข้างๆ ต้นข้าวล้มตายเกิดความเสียหายอย่างมาก แต่แปลงนาลุงได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีนำไปขายโรงสีได้ราคาดีด้วย

เคล็ดลับขั้นเทพ .. นาลุงจะมีนกเยอะมากมากินข้าวเปลือกตอนหว่านข้าวปลูกข้าว ดังนั้นลุงใช้วิธีการหว่านเผื่อให้นกด้วยกล่าวคือ หว่านข้าวในจำนวนที่มากขึ้นถึงแม้จะมีนกกินข้าวไปก็จะยังเหลือข้าวที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นต้นข้าวได้ ทำให้ไม่มีปัญหานกกินข้าวหมด

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

ข้าวจมน้ำ 7 วัน แต่ข้าวไม่ตาย

เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ .. นาข้าวของนายสุชาติ กิ่งนอก ชาวนาบ้านถนนถั่ว หมู่ที่ 10 ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ปลูกข้าวพันธุ์ หอมมะลิ 105 เป็นนาข้าวพื้นที่รับน้ำ โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต่ำ น้ำจะไหลมารวมกันที่นี่

ที่ผ่านมาฝนตกอย่างต่อเนื่องนายสุชาติจึงเตรียมรับมือกับน้ำที่มีปริมาณมาก ด้วยการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ตรา ไร่เทพ โดยฉีดพ่นก่อนน้ำจะมาถึงประมาณ 1 สัปดาห์ พอน้ำเข้าท่วมพื้นที่นาทำให้ต้นข้าวที่กำลังโตถูกน้ำท่วมจนเกือบมิดปลายยอดใบ ซึ่งมวลน้ำไม่เพียงแค่ไหลผ่านนาไป แต่ต้นข้าวในนาต้องแช่อยู่ในน้ำยาวนานเป็นสัปดาห์ ในขณะที่แปลงนาข้างๆต้นข้าวเกิดความเสียหายอย่างมาก ในทางกลับกันแปลงนาของนายสุชาติต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้และให้ผลผลิตได้เหมือนเดิม

ไร่เทพ จะช่วยทำให้ต้นข้าวมีความมีความเสถียรในเซลล์และระบบรากที่ดี ซึ่งจะสังเกตได้ว่ารากจะมีจำนวนมาก ในขณะที่เกิดน้ำท่วมต้นข้าวมีรากบางส่วนที่เสียหายไป แต่เนื่องด้วยรากที่มีจำนวนมากนั้นจึงจะยังมีรากบางส่วนที่ไม่เกิดความเสียหายยังคงสามารถเลี้ยงต้นข้าวให้เจริญเติบโตต่อไปได้จนให้ผลผลิตได้ แต่หากว่าต้นข้าวที่มีรากน้อยถ้าน้ำท่วมรากจะเกิดการเสียหายทั้งหมดส่งผลให้พืชไม่ฟื้นตัวหรืออาจจะตายในที่สุดเพราะรากเน่าเสีย

ดินดีขั้นเทพ ปลูกอะไรก็ขึ้น

ดินที่ดี คือ เป็นดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแลตามปกติ ซึ่งจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีปฏิกิริยาดินใกล้เป็นกลางมีค่า pH ในช่วง 5.5-7.0 และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช

องค์ประกอบดินที่ คือ น้ำ 25% อากาศ 25% อินทรียวัตถุ 5% และแร่ธาตุ 45%
ดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน ที่ช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีดินที่ไปช่วยช่วยสลายซากพืช ซากสัตว์ให้เกิดเป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของดีที่ดี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

วิธีการปรับปรุงบำรุงดินแบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
1.การปรับปรุงดินทางกายภาพ คือ การปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นต้น
2. การปรับปรุงบำรุงดินทางด้านเคมี คือ การปรับสภาพทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอ
3. การปรับปรุงบำรุงดินด้านชีวภาพ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ, ใช้ระบบพืชคลุมดิน, ใช้ระบบพืชเหลื่อมฤดู หรือ ใช้การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน เป็นต้น

และเมื่อเราได้ดินที่ดีแล้ว ต้นทุนในการใช้ปุ๋ยก็ลดลงการใช้สารเคมีในการดูแลก็ลดลง เมื่อต้นทุนลดลงและรายได้เพิ่มมากขึ้น

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว…กับการให้ปุ๋ยทางใบ

การทำนาสามารถทำได้ทั้งปีไม่ว่าจะเป็นนาปรังหรือนาปี

เริ่มจากการเตรียมดิน แนะนำให้ใช้ “ดินเทพ” ทั้งตอนไถดะ ไถแปร และไถคราด โดยทุกการไถให้ใช้ ดินเทพ 40 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นทางดินควบคู่ไปด้วย ซึ่งดินเทพจะเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการย่อยสลายได้เร็วขึ้น เพิ่มธาตุอาหารในดิน เป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในดิน และที่สำคัญไปช่วยในการปรับโครงสร้างดินให้เมาะสมแก่การเพาะปลูก ทำให้ ดินฟู ร่วนซุย ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง

ในระหว่างที่ข้าวอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตให้ใช้ “ไร่เทพ” และ “โล่เขียว” บำรุงต้น และช่วยฟื้นฟูหากข้าวได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง หรือถูกทำลายจากโรคและแมลงศัตรูพืช  อัตราส่วนการใช้ ไร่เทพ 1 ซองต่อน้ำ 100 ลิตร และ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

 

ข้อดีของปุ๋ยทางใบ

1.ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

2.ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆได้ดี

3.ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินทราย ดินเปรี้ยว

4.พืชสามารถดูดธาตุอาหารทางใบได้มากกว่าและเร็วกว่าการดูดทางราก

5.ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงักเนื่องจากการกระทบภัยแล้ง หรือถูกโรคและแมลงทำลาย

6.ปุ๋ยน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่า

7.ง่ายต่อการใช้งานและขนส่ง

 

 

เคล็ดลับแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว

วันนี้ขอแนะนำเคล็ดลับการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนที่จะหว่านลงแปลงนา ด้วยวิธีง่ายๆ “เคล็ดลับไร่เทพ” ซึ่งประโยชน์ของการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงขึ้น ทำให้งอกได้ไว ลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ข้าวออกสม่ำเสมอ ทำให้ข้าวมีรากมากขึ้น ทำให้มีการเจริญเติบโตได้ดี และข้าวแตกกอดี โตได้อย่างสมบูรณ์

การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพสูงจะช่วยบำรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวจนกระทั่งงอกเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ซึ่งเคล็ดลับนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าวเลย

อัตราการใช้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ช่วงนี้เพลี้ยไฟระบาดลงแปลงนาเป็นจำนวนมาก จัดได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องพบเจอ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ฝนที่ทิ้งช่วงยาวนาน รวมทั้งการหนีตายจากแปลงใกล้เคียง

แต่หากเจอเพลี้ยไฟแล้ว ทำไงดี?
ปัญหานี้ตอบได้จากประสบการณ์จริงของแปลงนาผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ กล่าวคือ นาข้าว 50 ไร่ แปลงนี้ มีอายุ 15 วัน ได้ฉีดผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ รอบแรกในอัตราการใช้ดังนี้ ไร่เทพ 12 ซอง ดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) และโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา ส่วนนี้จะทำให้ข้าวได้รากอย่างสมบูรณ์และต้นแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตไปในระยะต่อไป

แต่พอข้าวอายุ 20 วัน เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยไฟในพื้นที่ซึ่งทางเราไม่ได้ฉีดป้องไว้ก่อน เนื่องด้วยไร่เทพมีคุณสมบัติพิเศษที่มีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ในช่วงแรกเพลี้ยไฟยังไม่มาลงแปลงมาจะเห็นว่าเมื่อเทียบกับแปลงนาข้างๆ แปลงนาที่ไม่ได้ใช้ไร่เทพเพลี้ยลงใบข้าวมีสีเขียวอ่อน ซึ่งแตกต่างกับแปลงนาที่ใช้ไร่เทพอย่างชัดเจน แต่เมื่อแปลงนาข้างๆมีการฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยไฟแล้วนั้น ทำให้เพลี้ยไฟเหล่านั้นหนีตายมาแปลงข้างๆ เกิดความเสียหายจากการโดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นข้าวเกิดปลายใบไหม้ ข้าวมีอาการเหลือง แต่เมื่อเทียบอาการเพลี้ยลงแปลงนากับแปลงนาที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ แล้วพบว่าแปลงนาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ มีสีเหลืองที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเจอเพลี้ยไฟหนีตามาลงแปลงนา จึงฉีดพ่นยากำจัดเพลี้ยไฟร่วมกับผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ อัตราการใช้ไร่เทพ 10 ซอง ผสมโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) และดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา

หลังการฉีดพ่น 3 วัน เห็นได้ว่า ข้าวมีการฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้อย่างรวดเร็ว จากที่ต้นข้าวที่มีสีอมเหลืองและใบมีอาการโค้งงอ ปลายใบไหม้ ตอนนี้ต้นข้าวกลับมามีความเขียวสด ต้นข้าวยืดตรงไม่โค้งงอ ระบบรากมีความสมบูรณ์ รากเยอะ รากขาวดูสะอาดไม่เป็นโรค และพร้อมจะยึดเกาะดินที่ร่วนซุยพยุงต้นให้เติบโตต่อไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าแปลงนาข้าวจะเกิดปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นถูกแก้ไขได้ถูกวิธีและรวดเร็วปัญหาเหล่านั่นก็จะหมดไป

#ไร่เทพ #ดินเทพ #โล่เขียว #เพลี้ยไฟ #นาข้าว #เกษตรกร

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

             

                  หลังฤดูการเก็บเกี่ยวก่อนที่จะเข้าหน้าฝนที่เป็นฤดูการปลูกข้าวของเกษตรกร ด้วยหลายๆปัจจัยจึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถเผาฟางได้ วิธีการย่อยสลายตอซังจึงเป็นวิธีที่นิยมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่วิธีการนี้ต้องอาศัยเวลาในการย่อยสลายเพื่อให้อินทรียวัตถุในดินได้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์และเกิดแร่ธาตุอาหารในดินสำหรับการปลูกข้าวครั้งใหม่ได้ แต่ถ้าการย่อยสลายฟางข้าวไม่สมบูรณ์และเริ่มการปลูกข้าวครั้ง ใหม่ทันที ข้าวจะไม่โตและตายในที่สุด ดังนั้นการมีสารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซัง นับเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

“การทำนาโดยไม่เผาตอซังและฟางข้าว มีผลดี คือ รักษาโครงสร้างของดินให้คงสภาพร่วนซุยไม่แข็งกระด้าง ลดปัญหามลพิษทางอากาศ และลดการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญของพืชไม่สูญเสียไป”

ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาฟาง

1.ฝุ่น PM2.5 : ทำให้เกิดฝฝุ่น ควันและก๊าซพิษ “อันตรายถึงชีวิต”

2.ทําให้พื้นที่เพาะปลูกเสื่อมโทรมทำลายบอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินต้องใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดิน “พืชจะอ่อนแอ”

3.ทำลายธาตุอาหารในดิน ทำลายอินทรียวัตถุในดิน สูญเสียธาตุอาหารจากฟาง “ดินมีธาตุอาหารต่ำ”

4.ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น : ธาตุอาหารจะละลายให้พืชดูดกินได้น้อยลง “พืชจะขาดธาตุอาหาร”

5.ทำลายสิ่งมีชีวิต ที่มีประโยชน์ในดิน “ผลผลิตลด”

ฟางข้าวที่อยู่ในนานั้นสามารถเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ย เพราะฟางข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงมากเป็นประโยชน์ต่อดิน โดยมีวิธีการทำดังนี้

  1. นำฟางมาหมักกลบกับดิน แล้วใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย “ดินเทพ” เข้าไป
  2. การใส่จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายโดยใช้สารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” หรือจะหมักเองจากจุลินทรีย์หน่อกล้วยก็ได้ เพราะในหน่อกล้วยมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่โคนกล้วยอยู่แล้วเพราะมีความชื้น จุลินทรีย์ชอบเกาะกลุ่มอยู่ ก็นำมาขยายเชื้อ โดยการใช้กากน้ำตาลผสมกับหน่อกล้วยสับ แล้วก็หมักทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นก็นำมาบีบให้เกิดหัวเชื้อ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย หลังจากนั้นก็นำไปใส่กับน้ำเปล่าแล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คนทุกวัน ทิ้งไว้ประมาณ 5 วัน แล้วก็นำไปปล่อยในแปลงนา
  3. เวลานำไปปล่อยในแปลงนา คนปล่อยไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในนา เพราะเราต้องปล่อยน้ำเข้านาอยู่แล้ว ให้หยด “ดินเทพ” ลงทางเข้าประตูน้ำ เพราะน้ำไปถึงไหนตัวดินเทพก็วิ่งตามไปถึงนั่นเหมือนกัน หรือสามารถเจาะขวด “ดินเทพ” และผูกไปกับท้ายรถตี โดยไม่จำเป็นต้องเดินให้เหนื่อย นี่เป็นเทคนิคง่ายๆ
  4. อัตราส่วนการใช้ดินเทพ 1 ขวด (500 มิลลิลิตร) ใช้ได้ 10-12 ไร่ หรือยิ่งใส่มากก็ยิ่งสลายเร็ว โดยดินเทพจะไปย่อยสลายฟาง เศษวัสดุต่างๆ ที่อยู่ในนาที่เป็นอินทรียวัตถุให้ดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ควรหมักไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน เพื่อให้คายก๊าซ เพราะในฟางข้าวเกิดการทับถมกันอยู่ในดิน จะเกิดก๊าซ มีความร้อน ถ้าก๊าซคายไม่หมดจะทำให้ข้าวต้นเหลืองแห้ง ถ้าเราหว่านข้าวไปแล้วก๊าซไม่หมดแล้วต้นข้าวเหลือง ให้แก้โดยวิธีปล่อยน้ำออกให้แห้ง ให้ดินแตกเป็นหัวระแหงออกมา ให้อากาศเข้าไปถ่ายเทดูดก๊าซออกมาได้ นี่คือวิธีง่ายๆ

 

 

 

 

“การหมักฟางจะทำให้เราประหยัดต้นทุน โดยจะได้ทั้งฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารฟอสฟอรัสจะช่วยในการทำให้ข้าวแข็งแรง และป้องกันโรค ส่วนโพแทสเซียมจะช่วยในการสร้างรวง และสร้างแป้งให้ข้าว ซึ่งสองแร่ธาตุนี้มีอยู่แล้วในฟางข้าว เขาจึงใช้ฟางข้าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

#ดินเทพ #ดินฟู #ร่วนซุย #ปลอดภัย #ไร้สารตกค้าง

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

ปริมาณการใช้น้ำ 450 – 500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / ฤดูกาลผลผลิต ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม เพื่อไม่ให้กระทบแล้งในช่วงออกดอก ผสมเกสร ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

การเลือกพื้นที่

เป็นพื้นที่เขตชลประทาน หรือพื้นที่สามารถให้น้ำได้ตลอดระยะเวลาปลูก ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินร่วนทราย ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้สำนักงานเกษตรอำเภอตรวจสอบชุดดิน / แผนที่ดินว่ามีความเหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือไม่ และดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 5.5 การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากดินไว้ ประมาณ 5-7 วัน จึงไถแปรพร้อมคราด 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินและให้ดินเก็บความชื้น ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่ และมีดินเป็นดินเหนียวควรทำร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อสะดวกต่อการส่งน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากแปลง ความกว้างของร่องน้ำประมาณ 0.75 – 1 เมตร

การเตรียมพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุวรรณ 4452 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทั้งพันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน
การปลูก ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวน 10,666 – 11,428 ต้นต่อไร่ และควรปลูกซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ยเคมี รองพื้นใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15 , 16-16-8 , 18-8-8 , 27-12-6 อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับดายหญ้าพูนโคนและให้น้ำไปตามร่อง
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 7-8 สัปดาห์หลังปลูก เป็นระยะเริ่มออกไหม และช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้น และธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยข้างร่องหลังจากให้น้ำแล้ว

การใส่ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ตารางการใส่ปุ๋ยปลูกข้าวโพดหวานตามลักษณะดิน

1. ดินเหนียว

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 16-20-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– พร้อมดายหญ้า ใส่ปุ๋ย และใช้ดินกลบ

2. ดินร่วนปนทราย

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย25-30 กก. / ไร่

3. ดินทราย

– หลังปลูก 14 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80 กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่

การให้น้ำ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้ำครั้งต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวชั่วคราวของใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์รดน้ำแปลงข้าวโพด ควรให้แบบทั่วถึงทั้งแปลง หรือแบบปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้น


การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท อายุ 110-120 วันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ หรือสังเกตจากใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวทั้งแปลง และควรตาก 1-2 แดด ก่อนกะเทาะเมล็ดจำหน่าย วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักร
ข้อจำกัดของการปลูกข้าวโพดสัตว์หลังนา
หลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด – ดินกรดถึงกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5)
หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำและที่น้ำท่วมขัง
หลีกเลี่ยงการปลูกล่าช้ากว่าเดือนธันวาคม

 


ข้อควรระวังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

หนู จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูแล้งมักเข้ากัดกินทำลายลำต้นและฝักข้าวโพด เนื่องจากไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมกันกำจัดหนูในพื้นที่พร้อม ๆ กันเป็นบริเวณกว้างก่อนการปลูกข้าวโพด วิธีการป้องกำจัดโดยกำจัดวัชพืชบนคันนา หรือใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว สลับกับโฟลคูมาเฟน เหยื่อพิษสำเร็จรูปประเภทออกฤทธิ์ช้า ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
การตลาด เกษตรกรที่ผลิตส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ร้อยละ 90 ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

**คำแนะนำเพิ่มเติม

สามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง ผสมน้ำ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพกับข้าวโพด

– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน (7-14 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (25-30 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกหัว (30-45 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะฝักอ่อน-ก่อนเก็บเกี่ยว (45 วันขึ้นไป) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มส่งเสริมพืชไร่อุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

ปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้นพืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ10 ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมด จะทำปฏิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก พืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งปุ๋ยชนิดเดียวกันสูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิเช่นปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้องการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้ แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า “เกรด ปุ๋ย” หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O)สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ย เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามี อยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ มีอยู่ 5 กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม และเป็นที่ ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้ เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหาร ในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดิน นาในภาคกลาง ซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น ปุ๋ยสูตร 18-46-0 , 28-28-0 , 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น
สำหรับ “เรโช” ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสูตรปุ๋ย เรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อย ๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ของสูตรปุ๋ยนั้น ๆ เช่น 16-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8
20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหาร ตลอดด้วย 5
นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกัน ที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก 30 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก 60 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่า เป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดัง นั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา 50 กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะ ต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง 25 กก. / ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน
ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง ก็จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่ง และแต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน ส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณ และสัดส่วน เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้น สามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมี
ปุ๋ยที่มีเรโชของ N สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ P และ K มักจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้น เร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบ หรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรง ส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย ระดับความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสาน และภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น

(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโต และให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่าง ๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ย จะช่วยยกระดับธาตุอาหาร ที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุอาหารนั้น ๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วง จังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ
(1) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก และการเติบโตในระยะ 30-45 วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่
(2) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอ และระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นระยะที่มีอายุ 45 – 60 วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก และ
(3) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้ จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืช ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
3.1 การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
3.2 การใส่ครั้งแรกคือ ใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทสเซียมนั้น จะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
3.3 การใส่ครั้งที่สอง ควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมาก ๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่ เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก เพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเตรท จะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทัน ก็จะสูญเสียไปหมด และไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไป โดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้ จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูก ชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดี จะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยา เพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเตรท (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก
ฟอสฟอรัสในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่าย แต่เมื่ออยู่ในดิน จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่าย ก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิม ก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1-5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืช จึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุด เพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดิน จะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไป ได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจน ที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่า ใส่บนผิวดิน
ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟต แต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ย ละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากมีประจุบวก ซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม จึงสามารถใส่บนผิวดิน หรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจน และในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็ จะน้อยกว่าด้วย
วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด คือ พืชใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ลดการสูญเสีย ให้ใช้คาถา 4 ถูก คือ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี
ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร
หมายถึง ใส่ปุ๋ยสูตรเหมาะสม มีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และภูมิอากาศ
เช่น ปลูกข้าวในนาดินทรายแต่จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ที่ใช้กับนาดินเหนียว แบบนี้เรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตร เพราะนาดินทรายควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หรือ 16-16-8 จะถูกสูตรมากกว่า และถ้าจะให้ใส่ปุ๋ยถูกสูตรที่สุดควรต้องวิเคราะห์ดินแล้วคำนวณหาสูตรปุ๋ยสั่งตัดรายแปลงก็จะยิ่งได้ปุ๋ยที่ถูกสูตรมากยิ่งขึ้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอหรือพอดีกับความต้องการของพืช เช่น ปุ๋ยสั่งตัดสำหรับมันสำปะหลังให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-20 จำนวน 70 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าใส่ 100 กิโลกรัมก็มากเกินไปเกิดความสูญเสียไป 30 กิโลกรัมโดยไม่ได้ผลผลิตเพิ่ม หรือถ้าใส่เพียง 40 กิโลกรัมต่อไร่ก็น้อยเกินไป ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกเวลา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ถ้าจะใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลโต หรือเพิ่มน้ำหนัก ก็ต้องใส่ปุ๋ยก่อนช่วงที่พืชจะต้องใช้งานอย่างน้อย 30 วัน เพราะโพแทสเซียมเป็นธาตุเคลื่อนย้ายช้า ถ้าไปใส่ตอนที่ผลโตแล้วเรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกเวลา เพราะกว่าปุ๋ยจะถูกลำเลียงขึ้นไปถึงใบ ผลก็แก่ได้เวลาเก็บไปแล้ว ปุ๋ยที่ใส่จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย หรือใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังก็ต้องใส่ในช่วงอายุ 45-90 วัน เพราะระบบรากสมบูรณ์ดีที่สุด ถ้าไปใส่ตอน 8 เดือนเพื่อระเบิดหัวจะไม่ได้ผลเพราะมันสำปะหลังอายุเกิน 4 เดือนเหลือรากน้อยมาก เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจึงมักสูญเสียไปมากกว่าจะโดดดูดมาใช้
ใส่ปุ๋ยให้ถูกวิธี
เช่น เวลาจะใส่ปุ๋ยนาข้าวก็อย่าใส่ตอนที่ระดับน้ำลึกนัก ปุ๋ยจะละลายหายไปเสียหมด ให้ใส่ตอนที่มีระดับน้ำประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือใส่ปุ๋ยยางพารา ปาล์มน้ำมัน หรือไม้ผล ก็ให้ใส่ที่แนวรัศมีพุ่มใบเพราะรากฝอยพืชอยู่บริเวณนั้น ไม่ใช่ใส่จนชิดโคนต้นที่มีแต่รากฝอยใหญ่ๆ ที่ดูดธาตุอาหารไม่ได้ เป็นต้น และดีที่สุดคือใส่ปุ๋ยแล้วควรกลบเพื่อลดการสูญเสีย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และ NPK Thailand

*** แนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพในนาข้าว ***


-ระยะต้นกล้า ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 


-ระยะแตกกอ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะสร้างรวงสร้างช่อดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง+ดินเทพ 5-10ซีซี ผสมน้ำ 100ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

*** วิธีการใช้ดินเทพช่วงเตรียมดิน ***
– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40 – 50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นลงดินให้ทั่วแปลง 1 ไร่
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ถั่วเหลืองฝักสด ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง

ในขณะที่ดอกเบี้ย จากหนี้เก่าของค่าปุ๋ยจากการปลูกข้าวรอบที่แล้ว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าข้าวที่ฉีดไร่เทพ ชาวนาก็ต้องมาปวดหัวอีกรอบว่า ข้าวนาปรังครั้งนี้เอายังไงดี ครั้นจะลงทุนปลูกข้าวอีกทีก็รู้สึกเข็ดขยาด ครั้นจะปล่อยทิ้งให้ที่นาว่างเปล่า ก็เสียโอกาสโดยใช่เหตุ อย่ากระนั้นเลย วันนี้ฤทธิรอน ของอาสาหาข้อมูลมาแบ่งบันกับพี่น้องชาวนา ให้หันมาปลูก ถั่วเหลืองฝักสดแทนการปลูกข้าวนาปรังกันครับ

เก็บเกี่ยวไว (สั้นกว่าเท่าตัว) ใช้น้ำน้อย (กว่า 5 เท่า)

ถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) เป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 68-70 วัน ในขณะที่ข้าวนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ต่างกันเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เพียง 300 ลบ.ม ต่อไร่ น้อยกว่าข้าวนาถึง 5 เท่า คือ 1500 ลบ.ม. เหมาะมากสำหรับช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

แก้ดินเสื่อม เสริมไนโตเจน

การทำนาอย่างต่อเนื่องโดยปีหนึ่ง 2-3 ครั้งนั้น ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม การปลูกพืชหมุนเวียน จึงเป็นทางออก นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วนั้นยังมีจุลินทรีย์ในปมราก (ไรโซเบียม) ช่วยตรึงไนโตเจนลงสู่พื้นดิน และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถไถ่กลบ กลายเป็นปุ๋ยพืชสด  ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดินอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีปลูกถั่วเหลืองฝักสดโดยละเอียดสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่:

เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 50 โดย ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/soybean.pdf

 

นอกจากนี้ยังสามารถ รับชมข้อมูลการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ตามลิ้งนี้

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

พันธุ์ข้าวต้านหนาวกข57

ชื่อพันธุ์: กข 57 ปทุมธานี 200 (Pathum Thani 200)
🌾ชนิด : ข้าวเจ้า
🌾คู่ผสม : ผสมพันธุ์ระหว่าง สุพรรณบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกะโดสีน้ำตาล กับ IR64
🌾ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง มุมปลายใบธงตั้งตรง
มุมใบธงตั้งตรง รวงยาวแน่นปานกลาง คอรวงโผล่เล็กน้อย สามารถลงปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรังอายุการเก็บเกี่ยว 115 วัน (นาดำ) 105-110 วัน (นาหว่าน)ลำต้นสูงประมาณ 115-120 เซนติเมตร
🌾ลักษณะเด่น : ลำต้นแข็งต้านทานเพลี้ยและบั่วได้ดี รวงยาวผลผลิตดี ชอบอากาศหนาวเย็น เหมาะสำหรับลงปลูกในฤดูหนาว ลงได้ทั้งสภาพพื้นนาที่เป็นดินเหนียว และดินทราย
🌾ผลผลิต : ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร
🌾ประวัติพันธุ์ –
ผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในปี 2537 จากนั้นนำไปปลูกคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จนได้สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ปลูกศึกษาพันธุ์และนำเช้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เปรียบเทียบและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงฤดูนาปลัง 2548 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงได้นำสายพันธ์ที่อยู่ในระหว่างการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีทั้งหมดจำนวน 140 สายพันธุ์ไปทดลองซ้ำปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเรือนทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พบว่าสายพันธุ์นี้เป็นเพียง 1 ใน 2 สายพันธุ์ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายในการทดลองคราวนั้นทั้งหมด 140 สายพันธุ์ จึงได้ถอนต้นกล้าของสายพันธุ์นี้จากกระบะทดสอบแมลงไปปักดำไว้ในกระถางแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดแบบแยกรวง ในฤดูนาปี 2548 แบ่งเมล็ดจากแต่ละรวงส่วนหนึ่งนำไปทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอีกครั้งส่วนเมล็ดที่เหลือนำไปปลูกในแปลงทดลองโดยแต่ละรวงให้รหัสสายพันธุ์เดียวกัน พบว่ามี 2 สายพันธุ์ ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับ MR-R คือ SPR94007 -27-2-9-3-1 และ SPR94007-27-2-9-3-2 จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ จากแปลงทดลองนำไปปลูกขยายพันธุ์และศึกษาลักษณะทางเกษตรในฤดูนาปรัง 2549 ถึงฤดูนาปี 2550 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์ SPR94007-27-2-9-3-2 เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีในฤดูนาปี 2550 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีตั้งแต่นาปี 2551 ถึงฤดูนาปี 2553 เปรียบเทียบผลผลิตในราษฎร์ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2554 ถึงฤดูนาปรัง 2555 ในขณะเดียวกันได้ทำการทดสอบการตอบสอนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และทดสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและปลูกทดสอบเสถียรภาพผลผลิต
🌾การรับรองพันธุ์: คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมการวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557
เครดิต : กองวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว

วิธีใช้ไร่เทพ ในนาข้าว ให้ข้าวออกรวง แบบงามสะพรั่ง

วิธีใช้ไร่เทพ ในนาข้าว ให้ข้าวออกรวง แบบงามสะพรั่ง ได้ผลผลิตสูง 

ไร่เทพ ใช้ในนาข้าว จะช่วยให้ข้าว แตกก่อได้ดี รากเยอะ ไม่อั้นรวง รวงใหญ่ ข้าวเต็มเมล็ด ผลิตผลิตเยอะ ทนแล้งทนหนาวได้ดี

อัตราส่วนในการใช้ไร่เทพ ตามระยะของข้าว

1.ระยะต้นกล้า               อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร (สามารถฉีดได้พร้อมกับยาคุมเลนเลย)

2.ระยะแตกกอ               อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 150-200 ลิตร

3.ระยะเริ่มสร้างช่อดอก   อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-150 ลิตร

4.ระยะช่วงข้าวตั้งท้อง     อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-150 ลิตร

5.ระยะก่อนเก็บเกี่ยว       อัตราส่วน ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100-150 ลิตร(ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วัน หรือตอนข้าวเป็นน้ำนม)

 

ไร่เทพสามารถฉีดพ่น พร้อมผสมกับยาฆ่าแมลงและยากันเชื้อราได้

ข้อห้ามเด็ดขาด

1.หลีกเลี่ยงใช้ไร่เทพผสมกับยาฆ่าหญ้า เพราะต้นหญ้าจะได้รับสารอาหารไปด้วยทำให้หญ้าไม่ตาย

2.หลีกเลี่ยงฉีดไร่เทพในช่วงข้าวตากเกสร

3.หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นใกล้ต้นข้าวในระยะใกล้ๆ (ห้ามฉีดจี้) แนะนำให้ฉีดห่างๆ เป็นละอองเท่านั้น

4.หลีกเหลี่ยงฉีดพ่นไร่เทพ ในช่วงแดดจัด แนะนำให้ฉีดในช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้าและฉีดหลัง 5 โมงเย็น

เพราะการฉีดไร่เทพในช่วง เช้าหรือช่วงเย็น หรือช่วงอุณหภูมิต่ำจะเป็นช่วงที่ปากใบเปิด ทำให้ต้นข้าว

ได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ

สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ

  1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
  2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
  3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
  4. อะมิโนจากเลือดปลา
  5. สารพิเศษจากอิสราเอล
  6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ

***ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ใช้ได้ 3-5 ไร่

ต้นทุนไร่เทพ 1 ซอง ราคา 100 ใช้ได้ 3-5 ไร่

ค่าเฉลี่ยประมาณ 20 บาท 1 ไร่เท่านั้น ประหยัดสุดๆ

Website: https://raithep.com/

Youtube : https://bit.ly/2GE2Z0t

💬M.me/RaithepNano

Line id : http://line.me/ti/p/~@raithep

🏬Shopee.co.th/raithep_thailand

🛒Lazada.co.th/raithep-nano

Tel. : 098-280-8200


 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

12 สายพันธ์ุข้าวในประเทศไทย

ข้าว ของไทยเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีตำนาน Continue reading

คืนชีวิตให้แก่ดินด้วยการปลูก…ปอเทือง

หากพี่ๆ ที่ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย หากปลูกมานาน ดินที่เราใช้ย่อมเสื่อมโทรมเป็นธรรมดา ทั้งจากปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่าง ๆ วันนี้ไร่เทพ ขอชวนเพื่อนๆ พี่ๆ มาใช้ประโยชน์จากปอเทือง ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว ให้ฟื้นฟูสภาพดิน สำหรับรอบปลูกต่อไปกันนะครับ ปอเทืองเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ดอน ปลูกให้เป็นปุ๋ยพืชสด หากไถกลบจะมีประโยชน์เพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง

การปลูกปอเทืองในนาข้าว มี 2 วิธี

  • การปลูกโดยการเตรียมดิน

ทำได้โดยใช้รถไถขณะดินมีความชื้นอยู่ แล้วหว่านเมล็ดปอเทือง จะคราดกลบหรือไม่ก็ได้ ถ้าคราดกลบจะงอกได้สม่ำเสมอและเจริญเติบโตดี หรือ ปลูกโรยเป็นแถว ระหว่างแถว 80 – 100 ซม. หรือปลูกเป็นหลุม ใช้ระยะปลูก 50×100 หลุม ๆ ละ 1–3 ต้น

  • ปลูกโดยไม่ต้องเตรียมดิน

ซึ่งทำโดยก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทืองหว่าน 1–2 วัน จึงใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว วิธีนี้จะสูญเสียเมล็ดพันธุ์มากจากการกลบของฟางข้าว หรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวใช้เมล็ดปอเทืองหว่านตามร่องรถเกี่ยวข้าวแล้วกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลง หรือจะเก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงสัตว์ก็ได้ วิธีนี้จะได้ใช้พื้นที่มากขึ้น

  • อัตราเมล็ดที่ใช้ปลูก :

การปลูกแบบหว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3–5 กิโลกรัม/ไร่ ปลูกเป็นหลุมใช้เมล็ด 2–4 กิโลกรัม/ไร่

  • การดูแลรักษา :

หลังการหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแล้วประมาณ 3–5 วัน จะงอกโดยอาศัยความชื้นที่มีอยู่ในดิน ไม่ต้องให้น้ำวัชพืชจะทำการถอนเพื่อจัดระยะปลูกเมื่ออายุ 2 – 3 สัปดาห์ ต้องพรวนดินกลบโค่นและกำจัดวัชพืช ใช้ไร่เทพ 1 ซอง + ปุ๋ยอินทรีย์ 1/2ลูก ต่อไร่ พ่นยากำจัดเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชเมื่ออายุ 50–60 วัน ดอกเริ่มบานจากข้างล่างก่อน หลังดอกร่วงโรยจะติดฝักจากข้างล่างก่อนเช่นเดียวกัน ฝักจะแก่เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 120–130 วัน

ขอขอบคุณ : กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว

ภาพประกอบ : Freepik

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 


ข้าวญี่ปุ่นแบบอินทรีย์..ขายได้ราคาดีกว่า

คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกข้าวญี่ปุ่น Continue reading

กำจัดแมลงป้องกันเชื้อราในพืช ด้วยไร่เทพ

แมลงก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พืช ผัก และผลไม้ ผลผลิตที่เราปลูกเกิดความเสียหาย ครั่นจะใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง Continue reading