Tag Archives: พืชไร่

เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

เพลี้ย เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก ที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์สูงมาก บางชนิดมีปีก บางชนิดกระโดดได้ไกล ส่วนรูปลักษณ์ของแต่ละสายพันธุ์ก็แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง เพลี้ยเป็นแมลงตัวอ่อนที่มีวงจรชีวิตไม่ยืนยาวนัก แต่สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เพลี้ยที่โตเต็มวัยแล้วจะออกลูกได้หลายสิบตัวต่อครั้ง และยังสามารถออกลูกได้ตลอดชีวิตของมันอีกด้วย เมื่อไรที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม เพลี้ยจะเริ่มแพร่ระบาดในเรือกสวนไร่นาเป็นวงกว้าง พร้อมสร้างความเสียหายรุนแรงต่อพืชผลทางการเกษตร หากไม่มีการรับมือที่ดีก็จะสูญเสียผลผลิตส่วนใหญ่ไปอย่างน่าเสียดาย การทำความรู้จักกับเพลี้ยแต่ละชนิดที่พบได้บ่อยจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเกษตรกร จะได้รู้ว่าพืชที่เราเพาะปลูกอยู่นั้นสุ่มเสี่ยงกับเพลี้ยแบบใดบ้าง และควรจะเตรียมการป้องกันอย่างไร

 

เพลี้ยอ่อน

จุดเด่นของเพลี้ยอ่อนคือปากแบบแทงดูดที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสสู่เซลล์พืชได้ ในช่วงที่ยังเป็นตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กมาก ลำตัวอ้วนป้อมสีเหลืองอ่อน มีขา 6 คู่ที่มองเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าเพลี้ยอ่อนตอนแรกเกิดจะคล้ายคลึงกันหมด แต่ในระยะ 5-6 วันจะผ่านการลอกคราบอีก 4 ครั้ง ทำให้สีลำตัวเปลี่ยนแปลงไปและมีเอกลักษณะเฉพาะสายพันธุ์บางอย่างโดดเด่นขึ้นมา คุณพัชรินทร์ ครุฑเมืองกล่าวไว้ว่า เพลี้ยอ่อนบางชนิดจะมีลำตัวสีเขียว บางชนิดมีลำตัวสีเหลือง และอาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้ ตัวอย่างของเพลี้ยอ่อนที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยอ่อนยาสูบ เพลี้ยอ่อนแตง เพลี้ยอ่อนฝ้าย เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยอ่อนจะเริ่มสร้างความเสียหายให้พืชตั้งแต่ยังไม่โตเต็มวัย ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช จนทำให้เซลล์พืชเหี่ยวแห้ง ส่วนใบมักจะแสดงอาการให้เห็นก่อน เริ่มตั้งแต่ใบมีรอยด่าง สีใบซีดเหลือง แล้วก็หลุดร่วงไปในท้ายที่สุด หากเพลี้ยอ่อนยังไม่ถูกกำจัดก็จะทำลายต้นพืชมากขึ้นจนถึงขั้นหยุดเจริญเติบโตและตายไป ยิ่งกว่านั้น เพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคพืชอื่นๆ อีกด้วย

 

 

 

 

เพลี้ยไฟ

ตามปกติเพลี้ยไฟจะมีลำตัวเรียวยาวและมีปีกแคบแนบข้างลำตัว ขนาดตัวยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนกับตัวที่โตเต็มวัยแล้วมีรูปร่างลักษณะไม่ต่างกันมากนัก นอกจากเฉดสีที่เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นน้ำตาลปนเหลืองเมื่ออายุมากขึ้น หรืออาจเห็นเป็นสีโทนส้มอมน้ำตาลบ้างในบางสายพันธุ์ เพลี้ยไฟจะออกลูกจำนวนมากในแต่ละครั้งไม่ว่าจะได้รับการผสมพันธุ์หรือไม่ก็ตาม ช่วงที่ต้นพืชแตกยอดอ่อนจะพบการระบาดของเพลี้ยไฟมากเป็นพิเศษ แต่ก็มีข้อดีตรงที่พวกมันชอบอยู่อาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้สังเกตเห็นได้ง่าย คุณศิริณี พูนไชยศรี จากกองกีฏและสัตววิทยา ได้แยกประเภทของเพลี้ยไฟเอาไว้มากกว่า 9 ชนิด ซึ่งตัวอย่างที่เกษตรกรควรทำความรู้จักไว้ก็คือ เพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไฟมังคุด เพลี้ยไฟดอกไม้ เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยไฟจะทำลายต้นพืชในทุกช่วงการเจริญเติบโต เนื่องจากมีการระบาดของเพลี้ยไฟได้ตลอดทั้งปี ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเจาะดูดน้ำเลี้ยงของพืชไปใช้ จนเห็นบริเวณที่ถูกทำลายเป็นเส้นทางสีขาวในระยะแรก ต่อมาจึงเริ่มเหี่ยวแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ ถ้าเป็นส่วนยอดอ่อนก็จะเกิดการบิดงอ ขั้วผลกลายเป็นสีเทาเงิน ในหน้าแล้งจะรุนแรงจนผลหลุดร่วงได้ง่าย กรณีที่เพลี้ยไฟระบาดอย่างรุนแรงจะทำส่งผลให้พืชแคระแกร็นและหยุดการเจริญเติบโต

 

 

 

 

เพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งมีลักษณะอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างโดดเด่น คือมีผงแป้งปกคลุมอยู่ทั่วลำตัวไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหนก็ตาม รูปร่างของเพลี้ยแป้งค่อนข้างอ้วนกลม มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ตัวเมียไม่มีปีกและต้องลอกคราบ 3 ครั้งก่อนวางไข่ ขณะที่ตัวผู้จะมีปีก ลำตัวเล็กกว่า และลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ความน่ากลัวของเพลี้ยแป้งคือมีมดเป็นพาหะ ช่วยให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้างได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยให้เพลี้ยมีชีวิตรอดอยู่ใต้ดินในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมด้วย

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยแป้งทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช โดยเน้นที่ส่วนของผล ตา ดอก และใบมากเป็นพิเศษ ตัวอ่อนจะแฝงตัวอยู่ในช่อดอกหรือยอดอ่อนทำให้มองเห็นได้ยาก ระหว่างนั้นก็จะขับถ่ายของเหลวที่ดึงดูดราดำไปพร้อมกัน สัญญาณที่บอกว่าต้นพืชกำลังได้รับความเสียหายจากเพลี้ยแป้ง คือผงสีขาวที่กระจุกตัวอยู่บนต้นพืช และมีมดคอยลำเลียงผงเหล่านั้นไปตามจุดต่างๆ นอกจากต้นพืชจะเหลืองซีดและหยุดการเติบโตแล้ว ผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพต่ำลงด้วย

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยแป้งลาย

เพลี้ยแป้งลายมีรูปร่างคล้ายลิ่ม ผิวด้านนอกมีสีเทาอ่อน ผงแป้งที่ปกคลุมมีความมันเงาเล็กน้อย พบการระบาดในมันสำปะหลังมากที่สุด รองลงมาเป็นไม้ผลและไม้ดอกทั่วไป เพลี้ยชนิดนี้จะขยายพันธุ์ได้เร็วในฤดูฝน แต่ก็มักจะถูกกำจัดโดยตัวห้ำซึ่งเป็นเพลี้ยอีกสายพันธุ์หนึ่ง จึงไม่ค่อยสร้างความเสียหายให้เกษตรกรมากมายนัก

  1. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์

ลำตัวของเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์เป็นรูปทรงไข่ที่ค่อนข้างแบน และมีสีเทาอมชมพู นอกจากผงแป้งที่ปกคลุมอยู่ด้านบนแล้วก็ยังมีเส้นแป้งแนบข้างลำตัวด้วย ส่วนใหญ่พบการระบาดในไร่มันสำปะหลัง โดยจะกระจุกตัวอยู่ตามบริเวณโคนต้นเป็นหลัก

  1. เพลี้ยแป้งสีเขียว

ลักษณะของเพลี้ยแป้งสีเขียวนั้นคล้ายกับพันธุ์แจ๊คเบียดเลย์ เพียงแค่มีลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลืองเท่านั้นเอง ปกติจะพบได้ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงฤดูฝน เพลี้ยชนิดนี้มีช่วงอายุที่แปรผันตามอุณหภูมิด้วย ยิ่งอากาศเย็นมากเท่าไรก็ยิ่งช่วยให้เพลี้ยมีอายุยืนยาวมากขึ้นเท่านั้น

  1. เพลี้ยแป้งสีชมพู

ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช แห่งคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง นี่ถือเป็นเพลี้ยที่สร้างความเสียหายได้มากที่สุด เพลี้ยแป้งสีชมพูมีลำตัวเป็นทรงไข่ ผิวนอกเป็นสีชมพูที่ปกคลุมด้วยแป้งสีขาว นอกจากจะขยายพันธุ์ได้รวดเร็วแล้ว ก็ยังควบคุมป้องกันได้ยาก แต่ก็มีข้อดีตรงที่เราจะไม่เห็นการระบาดของเพลี้ยชนิดนี้ในฤดูฝนเลย

เพลี้ยจักจั่น

เพลี้ยจักจั่นที่โตเต็มวัยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5.5-6.5 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีความกว้างป้านแล้วเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง มีขาหลังค่อนข้างยาวและแข็งแรงจึงกระโดดได้ไกล ทุกครั้งที่กระโดดจะมีแรงดีดที่ทำให้เกิดเสียง พืชต้นไหนที่มีเพลี้ยจักจั่นมาก เมื่อมันถูกรบกวนจนต้องกระโดดไปมา เราก็จะได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเพลี้ยจักจั่นคือแต้มจุดบนลำตัว หลังผ่านการลอกคราบครบ 4 ครั้ง ลวดลายบนตัวก็ยิ่งเด่นชัดมากขึ้น

ลักษณะการทำลาย

นักวิชาการของกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าบริเวณโคนก้านจะถูกเพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นอันดับแรก เราจึงเห็นความผิดปกติที่ส่วนใบได้ในทันที โดยใบอ่อนจะบิดงอ ขอบใบแห้งกรอบ พืชบางชนิดมีสีใบที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคใบขาวในต้นอ้อย เป็นต้น ถ้าบังเอิญอยู่ในช่วงออกดอกก็จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง ติดผลน้อย หลังจากต้นพืชเข้าสู่ช่วงออกผลแล้ว เพลี้ยจักจั่นจะลดน้อยลงเองตามธรรมชาติ แต่จะทิ้งสารที่ก่อให้เกิดราดำเอาไว้ สร้างผลเสียให้ผลผลิตต่อเนื่องไปอีก

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกล่าวว่า เพลี้ยจักจั่นสีเขียวสร้างปัญหาให้กับนาข้าวค่อนข้างมาก พวกมันจะอพยพเข้าท้องนาตั้งแต่ระยะต้นกล้า จากนั้นก็ขยายพันธุ์แล้วทำลายต้นข้าวไปเรื่อยๆ ลักษณะของเพลี้ยชนิดนี้คือมีลำตัวสีเขียวอ่อนและมีจุดแต้มสีดำบนส่วนหัว เคลื่อนไหวรวดเร็วและบินได้ไกลหลายกิโลเมตร

  1. เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล

เพลี้ยชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร ทั่วทั้งตัวจะมีจุดสีน้ำตาลอ่อนขนาดเล็กแต้มอยู่ โดยมีช่วงอายุประมาณ 50-70 วัน เป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำให้เกิดโรคใบขาวในต้นอ้อย มีการระบาดอย่างมากในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

  1. เพลี้ยจักจั่นหลังขาว

เพลี้ยจักจั่นหลังขาวก็เป็นอีกหนึ่งตัวการของโรคใบขาวในต้นอ้อยเช่นกัน จุดเด่นอยู่ที่มีแถบสีขาวพาดผ่านกลางลำตัวตามแนวยาว ในช่วงยังเป็นตัวอ่อนอาจทำให้สับสนกับพันธุ์ลายจุดสีน้ำตาลอยู่บ้าง เพราะต้องลอกคราบครั้งสุดท้ายก่อนถึงจะมีแถบขาวให้เห็น ขนาดลำตัวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร และระบาดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

เพลี้ยกระโดด

เพลี้ยกระโดดจัดเป็นแมลงจำพวกปากดูด ลำตัวอ้วนป้อมเล็กน้อยและมีปีกที่แข็งแรงจนสามารถอพยพย้ายถิ่นด้วยระยะทางไกลได้ ทุกสายพันธุ์จะปีกทั้งแบบสั้นและแบบยาว เพลี้ยกระโดดที่โตเต็มวัยแล้วจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และพวกมันจะวางไข่คราวละ 100 ฟองเป็นอย่างต่ำ จุดที่ทำให้สังเกตการระบาดของเพลี้ยกระโดดได้ง่ายขึ้นคือลักษณะการเรียงไข่ตามเส้นกลางของใบข้าว และมีรอยช้ำสีน้ำตาลตรงพื้นที่วางไข่ชัดเจน

ลักษณะการทำลาย

การเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดจะเริ่มตั้งแต่ระยะต้นกล้า โดยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเพื่อการเติบโต และขยายพันธุ์หลายรุ่นในฤดูกาลเพาะปลูกเดียว ก่อนที่ต้นข้าวจะออกดอกเพลี้ยรุ่นหลังก็พัฒนาเป็นสายพันธุ์ปีกยาวเพื่อรอการอพยพ ความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะกระจุกตัวเป็นหย่อมๆ ขณะที่เพลี้ยกระโดดหลังขาวนั้นทำลายเป็นวงกว้างอย่างสม่ำเสมอ ต้นข้าวจะมีอาการใบเหลืองส้มไปจนถึงน้ำตาลเข้ม ใบแห้ง ต้นแคระแกร็น และทยอยตายไป งานส่งเสริมการเกษตร เทศบาลตำบลยางหล่อ ระบุว่าเพลี้ยเหล่านี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างมากกว่าบริเวณอื่น

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลำตัวของเพลี้ยชนิดนี้จะมีสีน้ำตาลอ่อนเสมอกันตั้งแต่หัวจรดหาง แม้แต่ส่วนปีกก็เป็นสีเดียวกับลำตัวด้วย ตัวเมียที่มีปีกสั้นจะมีรูปร่างกลมมากกว่าตัวปีกยาว และสามารถวางไข่ได้มากกว่าประมาณ 2 เท่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบอยู่ในจุดที่มีความชื้นสูง ดังนั้นมันจะย้ายมารวมกันบริเวณโคนกอข้าวหรือพื้นดินเมื่อนาข้าวขาดน้ำ

  1. เพลี้ยกระโดดหลังขาว

ลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ส่วนปีกจะมีจุดดำเล็กๆ กระจายตัวอยู่และมีแถบสีขาวตรงช่วงอก เมื่อยังเป็นตัวอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาวจะรวมกลุ่มกันอยู่บริเวณโคนกอข้าว แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะย้ายมาอาศัยในจุดที่สูงกว่านั้น อาจเป็นช่วงกลางลำต้นหรือปลายยอดข้าวก็ได้

 

เพลี้ยไก่แจ้

เพลี้ยไก่แจ้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าเพลี้ยไก่ฟ้า เนื่องจากตัวอ่อนระยะแรกจะมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยช่วงท้ายของลำตัวจะมีปุยขาวเป็นเส้นยาวคล้ายหางไก่ เมื่อผ่านการลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ผิวด้านนอกจะกลายเป็นสีน้ำตาลปนเขียว หนวดยาว ปีกใส ช่วงลำตัวยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร พอถึงช่วงขยายพันธุ์จะทำการวางไข่ภายในเนื้อเยื่อพืช จุดที่เพลี้ยวางไข่ไว้จะมีตุ่มนูนขึ้นมาพร้อมกับเกิดวงสีเหลืองหรือน้ำตาลเป็นกลุ่มๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เพลี้ยไก่แจ้ในแต่ละรุ่นนั้นมีอายุได้ยาวนานถึง 6 เดือนทีเดียว และเรานิยมเรียกชื่อเพลี้ยสายพันธุ์นี้ตามต้นพืชที่มันเข้าทำลายด้วย เช่น เพลี้ยไก่แจ้ลำไย เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

แม้ว่าการเลือกเข้าทำลายสายพันธุ์พืชของเพลี้ยไก่แจ้แต่ละกลุ่มจะต่างกัน เช่น กลุ่มหนึ่งเจาะจงเข้าจัดการกับต้นลำไยโดยเฉพาะ อีกกลุ่มเน้นเข้าจัดการกับต้นทุเรียน เป็นต้น แต่ลักษณะการสร้างความเสียหายก็คล้ายคลึงกันหมด คือตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ส่วนที่เป็นใบอ่อนและยอดอ่อนจะได้รับผลกระทบก่อน ใบจะหงิกงอและไม่คลี่ออกตามธรรมชาติ มีสีเหลืองซีดและแห้งกรอบ ไม่นานก็จะหลุดร่วงไป นอกจากนี้ระหว่างที่ตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะขับของเหลวออกมาด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดราบนต้นพืชด้วย

เพลี้ยหอย

เพลี้ยหอยเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กที่มีรูปร่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละสายพันธุ์ ต้นพืชที่เป็นเป้าหมายและช่วงเวลาในการแพร่ระบาดก็ต่างกันด้วย เหตุที่เรียกว่าเพลี้ยหอยเพราะมีจุดร่วมหนึ่งเหมือนกัน นั่นคือมีเกราะหุ้มลำตัวคล้ายเปลือกหอย แต่ก็ยังแยกเป็นแบบเกราะแข็งกับเกราะอ่อนอีก ส่วนมากเพลี้ยหอยจะไม่ได้มีเกราะมาตั้งแต่แรกเริ่ม ต้องผ่านการลอกคราบและเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชเสียก่อน

ลักษณะการทำลาย

รูปแบบการสร้างความเสียหายของเพลี้ยหอยทุกชนิดจะคล้ายคลึงกับเพลี้ยอ่อน คือเจาะเซลล์พืชเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจนต้นพืชนั้นเสื่อมโทรม ในระยะแรกอาจจะเป็นการเสียรูปทรงของใบอ่อน สีใบเหลืองซีดและเหี่ยวย่น บางส่วนอาจหลุดจากขั้วไป นอกจากนี้เพลี้ยหอยบางชนิดยังสามารถปล่อยของเหลวที่ทำให้เกิดเชื้อราเกาะติดที่ผิวนอกของต้นพืชได้ด้วย

 

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยหอยเกราะอ่อน

เป็นเพลี้ยหอยที่มีรูปร่างคล้ายไข่ไก่สีชมพูอมส้ม ขนาดประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร เพศเมียจะมีแผ่นไขมันสีขาวปกคลุมทั่วตัว แต่เพศผู้จะลำตัวสีเข้มกว่าเล็กน้อยและมีปีกบางใส ในฤดูขยายพันธุ์เพลี้ยหอยเกราะอ่อนสามารถวางไข่ได้ครั้งละ 600-2000 ฟอง ที่ต้องวางไข่มากขนาดนี้เพราะตัวอ่อนใช้เวลานานกว่าจะโตเต็มวัย ส่วนมากพบการระบาดในลำไย ลิ้นจี่และเงาะ

  1. เพลี้ยหอยข้าวตอก

เพลี้ยหอยข้าวตอกจะมีขนาดลำตัวประมาณ 5 มิลลิเมตร ผิวรอบนอกมีชั้นไขมันปกคลุมทำให้ดูเหมือนเมล็ดข้าวตอก กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมุลว่าเพลี้ยหอยข้าวตอกตัวเมียจะวางไข่หลายพันฟองเพื่อเพิ่มจำนวนตัวอ่อนที่เป็นสีสนิม จากนั้นตัวอ่อนจะหาตำแหน่งดูดกินน้ำเลี้ยงพร้อมสร้างชั้นไขมันคลุมตัวเอง ไม่เคลื่อนที่ไปไหนอีก พบว่าระบาดมากในลำไยและลิ้นจี่

  1. เพลี้ยหอยเกล็ด

แม้ว่าเพลี้ยหอยเกล็ดจะเข้าทำลายพืชหลายชนิด แต่จากสถิติพบว่าระบาดในมันสำปะหลังและทุเรียนมากเป็นพิเศษ รูปร่างของเพลี้ยหอยเกล็ดจะคล้ายกับเปลือกหอยขนาดเล็กที่เป็นเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมทั่วต้นพืช เพลี้ยจะเคลื่อนที่ได้แค่ช่วงตัวอ่อนระยะแรกเท่านั้น หลังผ่านการลอกคราบก็จะทิ้งคราบเก่าสะสมไปเรื่อยๆ พร้อมกับแผ่ขยายเป็นวงกว้างปิดพื้นผิวของต้นพืชจนหมด

  1. เพลี้ยหอยสีเขียว

เพลี้ยหอยสีเขียวที่โตเต็มวัยแล้วจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ลำตัวเป็นรูปไข่ ท้องแบนหลังโป่ง และมีเกราะแข็งหุ้มอยู่ชั้นนอกสุด หลังจากดูดกินน้ำเลี้ยงได้แล้วก็จะขับถ่ายของเหลวมาปกคลุมต้นพืชจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จากข้อมูลในเอกสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่าเพลี้ยชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้ต้นกาแฟสูงมาก แต่ก็มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่ด้วย เช่น แตนเบียน ด้วงเต่าสีส้ม เป็นต้น

  1. เพลี้ยหอยสีแดง

นี่คือเพลี้ยหอยเกราะอ่อนอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ลำตัวเป็นทรงกลมเหมือนโล่สีน้ำตาลแดง เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีเพียงแค่ตัวผู้เท่านั้นที่มีปีก เป็นกลุ่มเพลี้ยที่เน้นเข้าทำลายพืชตระกูลส้มโดยเฉพาะ สายพันธุ์พืชที่พบปัญหาได้บ่อยคือส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง และมะนาว

การป้องกันกำจัด

สายพันธุ์เพลี้ยทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อยในบ้านเราเท่านั้น การจะระบุสายพันธุ์ที่ชัดเจนเพื่อจัดการป้องกันจึงเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร อีกทั้งระยะเวลาในการระบาดก็มีผลอย่างมากต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ยิ่งปล่อยทิ้งไว้นานเท่าไรผลผลิตก็ยิ่งเสียหายมากเท่านั้น ข้อดีคือเราสามารถใช้วิธีการป้องกันกำจัดแบบเดียวกันกับเพลี้ยทุกชนิดได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

1.หมั่นสำรวจแปลงเพาะปลูกอยู่เสมอ เพื่อให้เห็นสัญญาณการระบาดของเพลี้ยตั้งแต่เนิ่นๆ และเร่งจัดการได้ทันท่วงที พร้อมกับตัดแต่งพุ่มใบไม่ให้หนาแน่นรกทึบจนเกินไป

2.หากพบเพลี้ยจำนวนเล็กน้อยในต้นพืช สามารถไล่เพลี้ยที่หลบซ่อนอยู่ให้หลุดออกไปจากต้นพืชได้ ด้วยการฉีดน้ำใส่ยอดอ่อน ปลายกิ่ง และช่อดอก โดยต้องทำต่อเนื่องหลายครั้งจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเพลี้ยกลับมาอีก

3.ถ้าการระบาดของเพลี้ยเริ่มกินวงกว้างขึ้น แต่ยังไม่หนักหนาเกินไป สามารถใช้วิธีตัดกิ่งก้านที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่ไปเผาทำลายได้ หรือหากเป็นเพลี้ยอาศัยแบบไม่เคลื่อนที่ จะใช้วิธีรูดเฉพาะตัวเพลี้ยไปทำลายก็ได้

4.กรณีที่เพลี้ยระบาดรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อกำจัดเพลี้ยเหล่านั้น ซึ่งสูตรสารเคมีที่ใช้มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย เช่น ไพมีโทรซีน อิมิดาคลอพริด ไทอะมีทอกแซม ฟิโพรนิล คาร์บาริล บูโพรเฟซิน เป็นต้น โดยอัตราส่วนในการใช้งานก็ให้ปรับตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่เหมาะสมกับเพลี้ยแต่ละชนิด

5.สำหรับพืชที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น เช่น มันสำปะหลัง ต้นข้าว เป็นต้น ให้เลือกเพาะปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ต้านทานโรค หรือแช่เมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์ในน้ำยาป้องกันศัตรูพืชก่อนเพาะปลูก

6.ใช้ปุ๋ยเร่งใบกระตุ้นการแตกใบอ่อนเพื่อให้ต้นพืชแตกยอดพร้อมกันทั้งหมด จะช่วยลดระยะการเข้าทำลายของเพลี้ยให้สั้นลงได้

7.ระวังป้องกันแมลงพาหะที่ช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยบางชนิด เช่น มดที่ช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยอ่อน เป็นต้น จะใช้เป็นสารเคมีหรือสมุนไพรกำจัดแมลงก็ได้ ขณะเดียวกันก็ให้รักษาศัตรูเพลี้ยตามธรรมชาติเอาไว้ด้วย

8.ฉีดพ่นสารป้องกันและยับยั้งเชื้อราทุกครั้ง หลังกำจัดเพลี้ยชนิดที่ขับถ่ายของเหลวดึงดูดเชื้อราได้

นอกจากนี้การศึกษาว่าพืชที่เราเพาะปลูกมีโอกาสพบเจอกับเพลี้ยชนิดใดบ้าง และการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้นในช่วงไหนของปี ก็จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อเตรียมการป้องกันได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

**คำแนะนำเพิ่มเติม

โดยสามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง สามารถผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ  ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอะมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี   ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพ

-ระยะหลังเก็บเกี่ยว( ฟื้นสภาพต้น ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะใบอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะสะสมอาหาร ( ใบเพสลาด ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะเริ่มออกดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะติดผลผ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะขยายขนาดผล ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

ขอบคุณ : ภาพ และข้อมูลอ้างอิงจาก 

– เพลี้ยอ่อนแมลงพาหะนำโรคพืช, พัชรินทร์ ครุฑเมือง

– แมลง-ไร ศัตรูไม้ผล, เคหะการเกษตร

– เพลี้ยจั๊กจั่น, สำนักวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว

– เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ,องค์ความรู้เรื่องข้าว กรมการข้าว

– เอกสารวิชาการของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– เพลี้ยไฟ, คุณศิริณี พูนไชยศรี

– เพลี้ยแป้ง ,สำนักงาน เกษตรจังหวักตราด ดร.อุดมศักด์ เลิศสุชาตวนิช

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

การปลููก และดูแลมันสำปะหลังแบบขั้นเทพ

การปลูกและการดูแลมันสำปะหลังแบบขั้นเทพ

การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลผลิตมันสำปะหลัง

หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี

เช่นการ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือการฉีดผลิตภัณฑ์ไร่เทพ ลงดินเพื่อเพิ่มสารอาหารในดิน

 

 

การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง

หลักสำคัญก็คือ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าดินดี ควรปลูกพันธุ์ระยอง 5 และ ระยอง 72 และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลาง ควรปลูกพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบ่ง 60 ระยอง 9 และพันธุ์ยอดฮิต แขกดำ ส่วนพันธุ์ระยอง 7 เหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรำยที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริบเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

การเตรียมดิน

ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่ำงน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และ

ทำลำยวัชพืชต่ำง ๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาล 3 ติดทายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาล 7 อีก 1 ครั้ง จะได้

ผลผลิตมันสำปะหลังสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้ำงของดิน และถ้ำดิน

ระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย

 

การเตรียมท่อนพันธุ์

การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 ซม. เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 10เดือนขึ้นไป แช่ท่อนพันธุ์ในอาหารเสริมพืชไร่เทพ โดยผสม 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยแช่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือ 1คืนแล้วนำไปปลูกในแปลง

การปลูก

หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูกที่มีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด เลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตำถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 ซม. ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของ

ความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 ม. และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่

เตรียมไว้ ควรปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ กำรดูแลรักษาระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก  การปักตรง 90 องศา และปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน มันสำปะหลังจะงอกเร็ว และสะดวกต่อ

การกำจัดวัชพืช, การปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่มง่ายต่อกำรเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15% การปลูกที่ได้ผลผลิตสูงก็คือ กำรปักตรง 90 องศา และเทคนิคการเฉือนตาข้างของท่อนปลูกออกเพื่อให้เกิดหัว

เพิ่มขึ้นอย่ากระทำโดยเด็ดขาด เพราะรากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกก็มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารได้แล้ว และการเฉือนอาจทำให้เกิดเชื้อราที่ท่อนพันธุ์ได้

การใส่ปุ๋ย

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลง

ตำมไปด้วย ดังนั้นกำรปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจาก

ปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากนี้ควรเสริมธาตุอาหารให้พืชด้วยการฉีดพ่นอาหารเสริมไร่เทพทางใบ ในอัตราส่วน ไร่เทพ 1ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของมันสำปะหลังได้ดีขึ้น (ข้อแนะนำก่อนฉีดพ่นอาหารเสริมไร่เทพทางใบ ควรกำจัดวัชพืชก่อน) สามารถฉีดได้เรื่อยจะครบอายุการเก็บเกี่ยว

การควบคุมวัชพืช

ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลาวิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัวและจะกำจัดวัชพืชไม่ทัน ให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการกำจัด

วัชพืชโดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง หลังจำก 4 เดือน ไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระท ำ อาจเริ่มที่ 15

วันหลังจากปลูก ยิ่งล่ำช้ำออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูกและอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการ

ฉีดสารเคมีคุมเมล็ดวัชพืชหลังจากการปลูกมันสำปะหลัง 1-2 วัน เป็นการคลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรก ๆ หลังจากใส่ปุ๋ยครบและกำจัดวัชพืชได้ดังกล่าวแล้วก็เพียงแต่รอครบเวลา 12 เดือน หลังปลูกก็จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่ต่ำ

กว่า 7-10 ตันต่อไร่แน่นอน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

รีวิวไร่เทพ ใช้จริงใช้ดีต้องมีโชว์!!! มันสำปะหลัง

รีวิวไร่เทพ ใช้จริงใช้ดีต้องมีโชว์!!!
🌳เกษตรกรไร่มันสำปะหลัง ทั่วไทย ไร่ไหนๆ ก็ใชไร่เทพ เพราะใช้ไร่เทพแล้ว ลำต้นแข็งแรง หัวใหญ่ ค่าแป้งสูงถึง 28-30 % ทุกๆแปลง ทุกพื้นที่ทั่วไทย ใช้ไร่เทพแล้วได้ผลิตดีแบบนี้
บอกคำเดียวว่า ใช้แล้ว ใช้ซ้ำ ไม่เปลี่ยนใจ (ไม่ต้องเชื่อเรา ดูเอาจากรีวิว ภาพจริง ภาพสดไม่มีตัดต่อ)
🌳เคล็ดลับการใช้ ไร่เทพ ในไร่มันสำปะหลัง
*ช่วงเตรียมท่อนพันธุ์ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์
ทั้งไว้ 3 ชั่วโมง ก็พร้อมนำลงปลูกในแปลง
*ช่วงต้นกล้า (พืชอ่อน ใบเลี้ยงยังน้อย ) 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
*ช่วงเจริญเติบโต (ผ่านระยะต้นอ่อน ต้นกล้ามาแล้ว) 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
*ฉีดพ่นทางใบทุก 15 วัน
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

หอมแดง เคล็ด (ไม่) ลับ สรรพคุณทางยา

🧅*ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง ไหนจะมีโรคระบาดอีก ทำให้ต้องดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เช่น ดื่มน้ำอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือหาอาหารเสริม วิตามินมาทาน เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ไม่มีไข้ แต่ก็มีวิธีที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายคือ การรับประทาน พืชผักสวนครัวพื้นบ้านที่สามารถได้ง่ายเช่น “หอมแดง”
*ซึ่งพบว่าใน🧅“หอมแดง”🧅 อุดมด้วยวิตามิน และคุณค่าทางอาหารครบถ้วน แถมยังเพิ่มอุณหภูมิร่างกาย บำรุงสมอง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ที่สำคัญ มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ไม่ขึ้นลงวูบวาบ
*ด้วยความหลากหลายของตัวยาใน “หอมแดง” ส่งผลให้มีสรรพคุณทางยาช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก โดยวิธีใช้ง่าย คือนำหอมแดงหัวเล็กปอกเปลือกทุบพอแตก ห่อผ้าบางๆ วางไว้ตรงหัวนอน เพื่อให้กลิ่นหัวหอมเข้าจมูก ช่วยทำให้จมูกโล่ง สามารถบรรทาอาการหวัดได้
***ข้อมูลจากสถาบันอภัยภูเบศร
*ทั้งนี้การปลูก 🧅หอมแดง🧅 ก็ปลูกง่าย คนทั่วไปสามารถปลูกไว้ทานเองได้ ปลูกในแปลงหลังบ้าน หรือในกระถาง แค่มีหัวหอมแดงที่ซื้อมาจากตามตลาด นำมาปักลงดิน รดน้ำทุกวัน ประมาณ 30 วัน แค่นี้ก็มีหอมแดงไว้ทานเองแล้ว
*แต่ถ้าการปลูกเพื่อไว้ขาย สำหรับเกษตรกรชาวนาทางพื้นที่ ที่พอมีน้ำในการเพาะปลูก หลังเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ 7 วัน ก็ไถดะ 1 ครั้ง ได้หว่านปุ๋ยคอกแห้งลงไป อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ แล้วไถแปร 2 ครั้ง จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพ ใส่ลงไปผสมกันนำไปฉีดพ่นแล้วไถพรวนพร้อมกับยกร่องแปลงปลูก
*หลังจากปลูกหอมแดง 10 วัน หรือช่วงต้นกล้า นำ *** “ไร่เทพ 1 ซองผสมกับน้ำ 100 ลิตร ใช้ฉีดได้ 3-5ไร่”
*** หลังจากนั้น ก็สามารฉีด ไร่เทพได้ทุก10-15 วัน ในอัตราส่วนเท่าเดิม พร้อมกับใสปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีตามชอบได้เลย แต่มีเคล็ดลับ คือเกษตรสามารถใส่ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงได้หรือจะไม่ใส่ก็ได้นะครับ ดูแลจนต้นหอมแดงเจริญเติบโตมีอายุ 80 วันขึ้นไป ก็เริ่มแก่ ได้เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวพร้อมขายได้แล้ว
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

รีวิวไร่เทพ ใช้จริงใช้ดีต้องมีโชว์! มันสำปะหลัง เกษตรกรตัวน้อย

รีวิวไร่เทพ ใช้จริงใช้ดีต้องมีโชว์!!!
ไร่มันสำปะหลัง ที่ลพบุรี จากฝีมือเกษตรกรตัวน้อย น้องการ์ตูน ที่ลงมือช่วยพ่อแม่ ทำมันสำปะหลัง ฉีดไร่เทพด้วยตัวเอง
พ่อแม่น้องการ์ตูน : ครอบครัวทำไร่มันสำปะหลังมานานได้ผลิตพอประมาณ แต่หลังจากใช้ไร่เทพ เพียงไม่กี่ครั้ง ไม่ใช่แค่ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ค่าแป้งก็เพิ่มขึ้นวัดได้ถึง 29-30 % และที่สำคัญสินค้าไร่เทพปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ เด็กๆ อย่างน้องการ์ตูนก็ฉีดได้ไม่เป็นอันตราย ใช้ไร่เทพแล้วได้ผลิตดีแบบนี้ บอกคำเดียวว่าใช้แล้ว ใช้ซ้ำ ไม่เปลี่ยนใจ
(ไม่ต้องเชื่อเรา ดูเอาจากรีวิว ภาพจริง ภาพสดไม่มีตัดต่อ)
ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

รีวิว ตายแล้วฟื้น

บางครั้งการทำการเกษตรให้ได้กำไรมากๆ  อาจเป็นส่วนหนึ่ง แต่การที่พืชของเราปลูกรอดตลอดรอดฝั่ง ถึงเก็บเกี่ยวไปขายได้ นั้่นก็ถือมีกำไรเช่นกัน

ไร่เทพภูมิใจ ที่มีส่วนช่วยเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ต่อจำนวนไร่ วันนี้ จะยกเคสของคุณนวลจันทร์ (ป้าแหวว) เกษตรกร อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ปลูกข้าวโพด 300 ไร่ แต่มีข้าวโพดอยู่ 1 แปลง จำนวน 20 ไร่ ที่น้ำไปไม่ถึงและตัองผจญแล้งในหน้าร้อน เกิน 1 เดือนเต็มๆ ป้าแหววได้ปรับทุกข์กับคนในครอบครัวว่า หากไม่ดีขึ้นอาจต้องไถกลบ เพราะอาการข้าวโพด น่าเป็นห่วง หากเป็นเช่นนั้นจริง จะสูญเสียรายได้ไป ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง

ป้าแหววฉุกคิดถึง “ไร่เทพ” ที่เคยใช้ในไร่น้อยหน่า แถมป้าแหววยังแอบบอกเราอีกว่า น้อยหน่าป้าที่ใช้ไร่เทพ (ลูกละเกือบโล) เลยนำไร่เทพ ไม้ตายเด็ด มาฉีดพ่นใน 20 ไร่นี้ดู  หนึ่งเดือนผ่านไปน้ำไม่มีสักหยด ฝนไม่มีสักครา ฟ้าแกล้งกันพอเท่านี้ เมื่อฝนแรกลงมา ข้าวโพดที่เหมือนยืนต้นตายกลับกลาย ฟื้นตัวมาอีกครั้ง 20 ไร่ ของป้าแหวว ในครั้งนั้น จึงเแป็นเกหมือน ตำนาน (ตายแล้วฟื้น) ป้าแหววจึงต้องทนหนาว ให้เรา ได้เข้าเก็บข้อมูลมาเสนอ



 


Medium button

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกกล้วย สร้างรายได้ ขั้นเทพ

“กล้วย” อยู่คู่กับชีวิตของคนไทย และถือเป็นพืช Continue reading

คืนชีวิตให้แก่ดินด้วยการปลูก…ปอเทือง

หากพี่ๆ ที่ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย หากปลูกมานาน ดินที่เราใช้ย่อมเสื่อมโทรมเป็นธรรมดา ทั้งจากปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่าง ๆ วันนี้ไร่เทพ ขอชวนเพื่อนๆ พี่ๆ มาใช้ประโยชน์จากปอเทือง ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว ให้ฟื้นฟูสภาพดิน สำหรับรอบปลูกต่อไปกันนะครับ ปอเทืองเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ดอน ปลูกให้เป็นปุ๋ยพืชสด หากไถกลบจะมีประโยชน์เพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง

การปลูกปอเทืองในนาข้าว มี 2 วิธี

  • การปลูกโดยการเตรียมดิน

ทำได้โดยใช้รถไถขณะดินมีความชื้นอยู่ แล้วหว่านเมล็ดปอเทือง จะคราดกลบหรือไม่ก็ได้ ถ้าคราดกลบจะงอกได้สม่ำเสมอและเจริญเติบโตดี หรือ ปลูกโรยเป็นแถว ระหว่างแถว 80 – 100 ซม. หรือปลูกเป็นหลุม ใช้ระยะปลูก 50×100 หลุม ๆ ละ 1–3 ต้น

  • ปลูกโดยไม่ต้องเตรียมดิน

ซึ่งทำโดยก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทืองหว่าน 1–2 วัน จึงใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว วิธีนี้จะสูญเสียเมล็ดพันธุ์มากจากการกลบของฟางข้าว หรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวใช้เมล็ดปอเทืองหว่านตามร่องรถเกี่ยวข้าวแล้วกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลง หรือจะเก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงสัตว์ก็ได้ วิธีนี้จะได้ใช้พื้นที่มากขึ้น

  • อัตราเมล็ดที่ใช้ปลูก :

การปลูกแบบหว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3–5 กิโลกรัม/ไร่ ปลูกเป็นหลุมใช้เมล็ด 2–4 กิโลกรัม/ไร่

  • การดูแลรักษา :

หลังการหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแล้วประมาณ 3–5 วัน จะงอกโดยอาศัยความชื้นที่มีอยู่ในดิน ไม่ต้องให้น้ำวัชพืชจะทำการถอนเพื่อจัดระยะปลูกเมื่ออายุ 2 – 3 สัปดาห์ ต้องพรวนดินกลบโค่นและกำจัดวัชพืช ใช้ไร่เทพ 1 ซอง + ปุ๋ยอินทรีย์ 1/2ลูก ต่อไร่ พ่นยากำจัดเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชเมื่ออายุ 50–60 วัน ดอกเริ่มบานจากข้างล่างก่อน หลังดอกร่วงโรยจะติดฝักจากข้างล่างก่อนเช่นเดียวกัน ฝักจะแก่เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 120–130 วัน

ขอขอบคุณ : กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว

ภาพประกอบ : Freepik

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-