การดูแลไม้ผลหลังเก็บเกี่ยว

การเตรียมสภาพต้น ให้พร้อมสำหรับการออกดอก


ประเด็นสำคัญประการหนึ่งในการจัดการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ ได้แก่การชักนำให้ออกดอกในเวลาและปริมาณที่ต้องการ และการที่จะสามารถควบคุมกระบวนการออกดอกของทุเรียนได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการออกดอก เพื่อให้สามารถกำหนดเป็นวิธีการจัดการที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละช่วงของการพัฒนาการของพืช ในสภาพการปลูกทุเรียนโดยทั่วไปจะพบว่า สภาพของต้นที่ได้รับการ บำรุงรักษาเป็นอย่างดี มีใบสมบูรณ์ในปริมาณหนาแน่นพอสมควรจะออกดอกได้มาก และสม่ำเสมอกว่าต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย และยังพบอีกว่าก่อนที่ทุเรียนจะออกดอกนั้น จะต้องมีการพักตัวในช่วงแล้งมาระยะหนึ่ง เมื่อมีการจัดการน้ำที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ออกดอกได้ โดยต้นที่มีความสมบูรณ์มากกว่า ก็จะตอบสนองต่อการจัดการน้ำได้ดีกว่าด้วย ดังนั้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก ของทุเรียนที่สำคัญ ได้แก่


1. ความสมบูรณ์ต้น หมายถึงต้นต้องมีใบสมบูรณ์ ปริมาณหนาแน่นพอควร สีเขียวสดใส เป็นมัน เป็นใบแก่ทั้งต้น ไม่มีการเข้าทำลายของโรคและแมลง หรือมีน้อยใบแก่ที่สมบูรณ์เหล่านี้จะเป็นแหล่งสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารที่สำคัญ ของทุเรียน นอกเหนือจากลำต้นและราก สำหรับใช้ในกระบวนการออกดอก การพัฒนาการของดอก ผล และใบอ่อน ต่อไป โดยปกติแล้วต้นทุเรียนจะมีการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง การแตกใบอ่อนชุดที่สอง จะมีปริมาณใบมากกว่าชุดแรกประมาณ 10 – 15 % และใบอ่อน จะใช้เวลาประมาณ 35–45 วัน ในการพัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ จะสังเกตพบว่าต้นที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าสู่ กระบวนการออกดอกหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 พัฒนาเป็นใบแก่ได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่รากมีการพัฒนาสูงสุด และมีความสมบูรณ์เต็มที่
2. สภาวะเครียดเนื่องจากขาดน้ำ ต้นทุเรียนต้องการช่วงแล้งที่ต่อเนื่องกันนานประมาณ 15 – 30 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ ต้นเกิดความเครียด เนื่องจากการขาดน้ำ และกระตุ้นให้เกิด การสังเคราะห์สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชทำให้สัดส่วนของสารควบคุมฯภายใน พืชเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในระดับ ที่พอเหมาะต่อกระบวนการออกดอก
ดังนั้นจึงพอจะสรุปคำแนะนำการปฏิบัติในระยะเตรียมสภาพต้นให้พร้อมเพื่อการออกดอกในแต่ละชนิดพืชได้ ดังนี้คือ1. ตัดแต่งกิ่งทันทีภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
2. ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 อัตรา 250-300 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3- 5 กิโลกรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร
3. ดึงใบอ่อนชุดที่ 1 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 27-5-5 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน จะช่วยให้ทุเรียนออก ใบอ่อนพร้อมกันและเร็วขึ้น
4. ป้องกันและรักษาใบอ่อนชุดที่ 1 ไม่ให้แมลงและโรคเข้าทำลายด้วยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
5. ดึงใบอ่อนชุดที่ 2 และ 3 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 27-5-5 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) และรักษาใบอ่อนชุดที่ 2 และ3 ให้สมบูรณ์ไม่ให้มีโรคและแมลงเข้าทำลาย
6. ในระยะใบเพสลาดของใบชุดที่ 3 หรือก่อนออกดอก 30-45 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 14-7-28 อัตรา 200 – 250 กรัม เพื่อหยุดการพัฒนาการของตาใบ และให้ใบสะสมอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม ที่ไม่ถูกแสงแดดออก
7 เมื่อใบทุเรียนแก่จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็ว สังเกตอาการของใบ เมื่อใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะหนาเป็นมัน ปลายยอดตั้งชันขึ้น หยุดการให้น้ำเพื่อให้ต้นทุเรียนผ่านสภาพแล้ง แต่ต้องหมั่นสังเกตลักษณะของใบและสภาพภูมิอากาศ ถ้าอากาศแห้งแล้งและร้อนจัดมาก ใบเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ควรให้น้ำได้บ้างในปริมาณน้อย
9. เมื่ออากาศเย็นและผ่านช่วงแล้งต่อเนื่องกันนาน 10-15 วันต้นทุเรียนจะออกดอกได้มากและเป็นรุ่นเดียวกันแต่ถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เหมาะสม ทุเรียนจะออกดอกน้อยและมีดอกหลายรุ่นในต้นเดียวกันทำให้ยุ่งยากในการจัดการ

 

การดูแลรักษาระยะดอก


1. หลังจากดอกทุเรียนเข้าสู่ระยะเหยียดตีนหนู ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นทีละน้อย ถ้าให้น้ำมากจนเกินไป กลุ่มตาดอกอาจจะกลายเป็นกิ่งแขนงได้
2. ระยะกระดุมมะเขือพวงจนถึงดอกบาน ควรฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลง (เพลี้ยไฟ หนอน เจาะดอก) อย่างน้อย 2 ครั้ง
3. ก่อนดอกบาน 4-7 วัน ควรลดปริมาณการให้น้ำเพื่อทำให้เกสรดอกตัวเมียมีความเหนียว เตรียมพร้อมรับการผสมให้มากขึ้น และยังช่วยให้ดอกทุเรียนไม่บานจนเกินไป
การใส่ปุ๋ย – ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 1.5 กิโลกรัม / ต้น
– ปริมาณการให้น้ำ ระยะเหยียดตีนหนู 100 ลิตร / ต้น / วัน
– ระยะกระดุมมะเขือพวง 150 ลิตร / ต้น / วัน
– ระยะหัวกำไล 100 ลิตร / ต้น / วัน
ระยะเหยียดตีนหนู – ระยะหัวกำไล ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-52-7 อัตรา 200 กรัม + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
6. ระยะดอกบาน แนวทางการปฏิบัติ
– ช่วยผสมเกสรด้วยวิธีการปัดดอก ในช่วงเวลา 19.00-21.00 น.
– จดบันทึกวันดอกบาน เพื่อมากำหนดปฏิทินในการดูแลทุเรียนในแต่ละระยะและวางแผนในการเก็บเกี่ยว
***ห้ามฉีดพ่นสารเคมี/สารชีวภัณฑ์ทุกชนิด***
7. ระยะ 10 วันหลังดอกบาน ระยะนี้ทุเรียนจะเริ่มเข้าสู่ระยะการติดผล
– ควรฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลง (เพลี้ยไฟ) เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทุเรียนหนามจีบ
– ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการให้น้ำ ไม่ควรให้น้ำมากจนเกินไปจะทำให้ผลทุเรียนร่วงได้
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1.0 กิโลกรัม / ต้น
การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 100 ลิตร / ต้น / วัน การพ่นอาหารเสริม/ป้องกันโรคและแมลง (อัตรา / น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด 10-52-7 อัตรา 200 กรัม+ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
8. ระยะ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะไข่ไก่)
ระยะนี้ทุเรียนกำลังเข้าสู่การพัฒนาเปลือกและเมล็ดควรมีแนวทางดังนี้ ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมออก (คงเหลือไว้ 2-3 เท่าของจำนวนที่ต้องการไว้ผล)
ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) การใส่ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-11-18 หรือ 12-12-24 และ 15-15-15 อัตรา 1.5+0.5 กิโลกรัม / ต้นการให้น้ำปริมาณการให้น้ำ 200 ลิตร / ต้น / วัน
9. ระยะ 5-8 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะกระป๋องนม)
ระยะนี้ทุเรียนสร้างเมล็ดเสร็จสมบูรณ์และกำลังพัฒนาเนื้ออย่างรวดเร็วควรมีแนวทางดังนี้ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม (เหลือไว้ตามจำนวนที่ต้องการไว้ผล) ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) ควรโยงกิ่งให้มีความมั่นคง แข็งแรงสามารถรับน้ำหนักผลผลิตต่อกิ่งได้ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-11-18 อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม/ต้น การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 250 ลิตร / ต้น / วัน
การตัดแต่งผล ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ก้นจีบ เก็บผลที่มีลักษณะหนามสวย ขั้วผลใหญ่ ผลเดี่ยว ควรให้มีระยะระหว่างผล 30-50 เซนติเมตร ผลกลุ่มๆละ 2-4 ผล ห่างกันกลุ่มละ 1-2 เมตร ควรปลิดผลทุเรียนรุ่นที่มีผลผลิตน้อยกว่าออกการพ่นอาหารเสริม / ป้องกันโรคและแมลง (อัตรา / น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำตาลทางด่วน อัตรา 200 มิลลิลิตร ปุ๋ยเกล็ด 12-27-23 อัตรา 500 กรัม+ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)
**ฉีดพ่นเดือนละ 2 ครั้งจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20-30 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม**
10. ระยะ 8-10 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะขยายพู)
ตัดแต่งผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์และในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม (เหลือไว้ตามจำนวนที่ต้องการไว้ผล) ใส่ปุ๋ยบำรุงผล อาจจะใส่เพียงครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ฉีดพ่นอาหารเสริมและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง (หนอนเจาะเมล็ด) ควรโยงกิ่งให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักผลผลิตต่อกิ่งได้ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-3-36 หรือ 15-15-15 อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม/ต้น การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 300 ลิตร / ต้น / วัน
ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ก้นจีบ เก็บผลที่มีลักษณะหนามเขียวสวยขั้วผลใหญ่ ** ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด 12-27-23 อัตรา 500 กรัม + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ) ฉีดพ่นเดือนละ 2 ครั้งจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20-30 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มของต้นทุเรียน **
11. ระยะ 10-12 สัปดาห์หลังดอกบาน (ระยะเริ่มสุกแก่)
แนวทางการปฏิบัติการเก็บเกี่ยว
** ควรงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3-4 วัน ** ควรตัดทุเรียนที่มีความแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์หรือวัดแป้งได้ 32 เปอร์เซ็นต์ ก่อนเก็บเกี่ยวทุเรียน 3-4 วันต้องตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ความแก่ของทุเรียน ขณะเก็บเกี่ยว ห้ามวางทุเรียนกับพื้นดินโดยเด็ดขาด การให้น้ำ ปริมาณการให้น้ำ 150 ลิตร / ต้น / วัน
**ห้ามฉีดพ่นสารเคมี / สารชีวภัณฑ์ทุกชนิด**
ปัญหาการติดผลน้อยของทุเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียนพันธุ์ชะนี เป็นปัญหาที่สำคัญ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรจากทุเรียนต่างพันธุ์ จึงเป็นการช่วยทำให้กระบวนการถ่ายละอองเกสรประสบความสำเร็จ และนำไปสู่การปฏิสนธิ ปริมาณการติดผลจึงเพิ่มขึ้น ผลทุเรียนที่เกิดจากการช่วยผสมเกสร จะมีการเจริญเติบโตเร็ว รูปทรงดี พูเต็ม คุณภาพเนื้อดี สีเนื้อ และรสชาติไม่แตกต่างจากพันธุ์แม่ ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ต่อผลเพิ่มขึ้น โดยทำการฉีดพ่นด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อช่วยในการผสมเกสร แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องใช้เวลาและแรงงานในการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นเกษตรกรรายใหญ่จะ นิยมช่วยการผสมเกสรมากว่าเกษตรกรรายย่อย ในกรณีเกษตรกรที่มีพื้นที่ในการปลูกทุเรียนตั้งแต่ 3-15 ไร่ ก็อาจจะใช้วิธีการช่วยผสมเกสรได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนในระหว่างพัฒนาการของผลอ่อนเป็นสิ่งจำเป็นเพราะหากมีการ แตกใบอ่อนในช่วงนี้ ผลอ่อนจะไม่สามารถแข่งขันเพื่อแย่งอาหารสะสมกับใบอ่อนได้ ผลอ่อนที่กำลังพัฒนา ก็จะหยุดชะงัก และเกิดผลกระทบในด้านคุณภาพของผล โดยมีการจัดการ ดังนี้
การชะลอการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารเมพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5 พีพีเอ็ม ให้ทั่วต้น การปลิดใบอ่อน ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตา เริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา ให้ยับยั้งด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท สูตร 13-0-45 อัตรา 150-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ายังพบว่ายอดทุเรียนยังพัฒนาต่อ ควรฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 1-2 สัปดาห์การช่วยผสมเกสรการควบคุมไม่ให้แตกใบอ่อนการลดความเสียหาย ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ (อาหารเสริม) เพื่อช่วยให้ผลทุเรียนมีการพัฒนาที่สมบูรณ์ขึ้นด้วยการพ่นด้วยปุ๋ยน้ำตาลทางด่วน

การใช้ไร่เทพและดินเทพกับทุเรียน
– ระยะดึงใบอ่อน ชุดที่1-3 ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะใบเพสลาด ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเริ่มดอก-ก่อนดอกบาน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะผลอ่อน – ไข่ไก่ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** กรณีใช้ดินเทพช่วงฟื้นฟูระบบราก ใช้ดินเทพอัตรา 160 – 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร รดรอบโคนต้น ๆ ละ 3-5 ลิตร ช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
การใช้โล่เขียวกับทุเรียน
– ระยะดึงใบอ่อน ชุดที่1-3 ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะใบเพสลาด ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะเริ่มดอก–ก่อนดอกบาน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะผลอ่อน – ไข่ไก่ ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
– ระยะขยายพู-สร้างเนื้อ-เข้าสี ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน
โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม , สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

ลำไยและลิ้นจี่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต  

ลำไยในฤดูผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี และลิ้นจี่ในฤดูผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี  ปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรที่มีผลผลิตลำไยและลิ้นจี่ในสวนและคุณภาพดี ราคาลำไยรูดผลขาย หรือคัดขนาดบรรจุตะกร้าราคาดีมาก  เป็นธรรมดาของสินค้าโดยทั่วไป  สินค้ามีน้อยความต้องการมีมากราคาก็แพง  แต่ผลผลิตทางด้านการเกษตรจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการปฏิบัติดูแลเอาใจใส  อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ถึงจะได้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ  หลังจากเกษตรกรชาวสวนลำไยและลิ้นจี่เก็บผลผลิตขายได้เงินแล้ว  ก็ควรที่จะแบ่งให้ต้นลำไยและลิ้นจี่บ้าง  และควรจะเริ่มต้นในการบริหารจัดการสวนลำไยและลิ้นจี่ของท่านได้แล้ว  ถ้าหากท่านเริ่มต้นเร็วและถูกต้องเหมาะสมลำไย และลิ้นจี่ของท่านก็จะให้ผลผลิตกับท่านอย่างเป็นกอบเป็นกำสิ่งแรกที่ต้องทำคือ  การตัดแต่งกิ่ง

 

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง

  1. เร่งให้ลำไยและลิ้นจี่แตกใบอ่อน การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อนมีผลทำให้ต้นลำไยและลิ้นจี่ฟื้นตัวได้เร็ว และใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป
  2. ควบคุมความสูงของทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และสะดวกต่อการดูแลรักษา เช่น การพ่นปุ๋ยทางใบหรือสารป้องกันการกำจัดศัตรูพืช ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องไม้ค้ำยันกิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
  3. ลดการระบาดของโรคและแมลง ต้นลำไยและลิ้นจี่ที่มีทรงพุ่มทึบมักเป็นแหล่งอาศัยของแมลง นอกจากนี้ทรงพุ่มทึบจะมีความชื้นสูงและก่อให้เกิดโรค เช่น โรคราดำ โรคจุดสาหร่ายสนิม และไลเคนส์ เป็นต้น การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดสามารถส่องทะลุเข้าไปในทรงพุ่ม จะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง
  4. ต้นลำไยตอบสนองต่อสารคลอเรต ต้นลำไยที่มีอายุมากเมื่อให้สารโพแทสเซียมคลอเรต มักจะออกดอกน้อยหรือออกดอกไม่สม่ำเสมอ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยให้ต้นลำไย ตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี ทำให้ออกดอกมากขึ้น และจะทำให้ใช้ปริมาณสารคลอเรตลดลง
  5. ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นลำไยและลิ้นจี่ที่มีทรงพุ่มทึบ ถ้าหากออกดอกติดผลดกส่งผลให้มีผลขนาดเล็ก ผลผลิตคุณภาพต่ำ การตัดแต่งกิ่งออกบางส่วนจะช่วยลดพื้นที่ออกดอกติดผลลงบ้าง ทำให้ขนาดผลใหญ่ขึ้น และคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้น

การดูแลระยะใบแก่ 

ควรมีการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยตัดเฉพาะกิ่งแตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งน้ำค้าง  การใส่ปุ๋ยในระยะใบแก่จัด ควรใส่ปุ๋ยเคมีตัวกลางและตัวท้ายสูง  เช่นสูตร  9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น  เพื่อบำรุงต้นเพื่อให้มีการสะสมอาหาร และสร้างตาดอกต่อไป ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)  จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้นและช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน หากมีฝนตกในช่วงนี้

การให้น้ำ  หลังจากหมดฝนแล้วงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ถ้ามีการระบาดของโรคพุ่มไม้กวาดให้ทำการตัดทิ้ง และพ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลงตามการระบาดของโรคแมลง เช่น หนอนเจาะกิ่ง หนอนคืบกินใบ เช่น คาร์บาริล โมโนโครโตฟอส และโรคราน้ำค้าง  เช่น  แมนโคเซบ

 

 

 *** เพิ่มเติมสำหรับการทำลิ้นจี่ออกดอกได้ดีขึ้น  เลือกทำที่กิ่งลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว จากนั้นนำเลื่อยมาเลื่อยเฉพาะเปลือกระวังห้ามโดนเนื้อไม้ การเลื่อยควรให้เป็นแนวเส้นเดียวให้ตรงกัน จากนั้นนำลวด 1เส้นมารัดกิ่งบริเวณที่เลื่อยไว้ให้แน่น โดยเกษตรกรต้องทำทุกกิ่ง ยกเว้นกิ่งที่อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้ทำหน้าที่หาอาหาร เลี้ยงลำต้น ปล่อยทิ้งไว้ 30วัน แล้วจึงนำลวดที่รัดไว้ออก วิธีนี้ให้เริ่มทำตั้งแต่เดือน ตุลาคม เป็นต้นไป สามารถบังคับให้ต้นชะลอการแตกใบอ่อน และจะทำให้ลิ้นจี่ออกช่อดก เป็นประจำทุกปี

การดูแลระยะแทงช่อดอก 

การให้น้ำ  เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ

การใส่ปุ๋ย  ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี เช่น ปุ๋ยสูตร 10-45-10, 10-52-17 อัตรา 100กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร + ไร่เทพและโล่เขียว (ตามอัตราแนะนำ)

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไยและลิ้นจี่ ควรทำการพ่นสารเคมีเป็นระยะ เช่น คาร์บาริล,โมโนโครโตฟอส

การดูแลระยะดอกบาน

การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การช่วยผสมเกสร  ควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด

การดูแลระยะติดผลขนาดเล็ก

การให้น้ำ  ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก

การใส่ปุ๋ย  ระยะติดผลขนาด 5 มิลลิเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-3 กิโลกรัม ต่อต้นเพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอ   ระยะผลโตปานกลาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา ประมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อตัน

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริล

การดูแลระยะผลกำลังเจริญเติบโต

การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง

การใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น

การค้ำกิ่งระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล

การดูแลระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

การให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

การเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จนหมดต้น อย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพลดลง

   ข้อมูลอ้างอิง  :  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6

 

คำแนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพกับลำไยและลิ้นจี่

– ระยะดึงใบอ่อน                                   ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะใบเพสลาด                                ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเริ่มแทงช่อดอก                           ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะผลอ่อน – ก่อนเก็บเกี่ยว               ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

                *** กรณีใช้ดินเทพช่วงฟื้นฟูระบบราก ใช้ดินเทพอัตรา 80 – 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง   ผสมน้ำ 100 ลิตร รดรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 ลิตร  ช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง

ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน

 

การใช้โล่เขียวกับลำไยและลิ้นจี่

– ระยะดึงใบอ่อน                                    ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะใบเพสลาด                                 ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะเริ่มแทงช่อดอก                            ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะผลอ่อน                                        ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

– ระยะสร้างเนื้อ-เพิ่มรสชาติ                 ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  7 วัน

โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช  ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-