“กล้วย” อยู่คู่กับชีวิตของคนไทย และถือเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เนื่องจาก ปลูกง่าย มีหลายสายพันธุ์ หาทานง่าย ประโยชน์มาก ราคาไม่แพง เกษตรกรจึงนิยมปลูกกัน แต่ครั้นจะปลูกง่ายเหมือนดังชื่อนั้น จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย แต่จะว่ายากก็ไม่ยาก วันนี้แอดมินขอรวบรวม เทคนิคการปลูก สายพันธุ์ และดูแลกล้วยมาแนะนำ
กล้วย ผลไม้เมืองร้อน มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอ่อน มีรากยาว 15-30 เซนติเมตร มีหน่องอกพ้นดิน ลำต้นตั้งตรง ทรงกลม อวบน้ำ สูงประมาณ 3 เมตร ผิวสีเขียวอ่อนปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ บางพันธุ์แบน และยาว เรียกว่า ใบตอง ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบขนาน แผ่นใบเรียบเป็นมัน มีเส้นก้านกลางใบชัดเจน สีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับล้อมรอบ ข้างในเป็นใบประดับย่อยสีม่วงแดง ส่วนผลออกเป็นเครือ มีหลายหวีเรียงกัน รูปร่าง ขนาด สีสัน และรสชาติจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ด บางพันธุ์ก็ไม่มีเมล็ด
พันธุ์กล้วยยอดนิยมที่ในไทย
กล้วยน้ำว้า : เป็นกล้วยที่คนไทยนิยมนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ทั้งผล ใบตอง และหยวก ลักษณะลำต้นค่อนข้างใหญ่ ใบใหญ่ ผลใหญ่ อวบ ออกดก ตอนดิบเป็นทรงเหลี่ยม ตอนสุกเป็นทรงค่อนข้างกลม
กล้วยหอมทอง : กล้วยที่คนไทยชอบกินมาก ราคาสุงกว่ากล้วยน้ำว่า ส่งออกต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดที่ญี่ปุ่นรสชาติ เนื้อเหนียวนุ่ม หวาน อร่อยและมีกลิ่นหอม ลักษณะลำต้นสูงเพรียว ใบตั้งตรง ให้ผลดก ขนาดใหญ่และยาว
กล้วยไข่ : เป็นกล้วยยอดนิยมอันดับต้น ๆ ในไทย แถมยังส่งออกต่างประเทศเยอะด้วย ลักษณะลำต้นเป็นทรงเพรียวสูง ส่วนผลเป็นทรงกลม ขนาดเล็กและสั้น เปลือกบาง ออกดกมาก รสชาติหวาน กลิ่นหอมอร่อย และเนื้อเหนียวแน่น
กล้วยตานี : เป็นกล้วยที่นิยมตัดใบตองเชิงพาณิชย์ ลักษณะใบใหญ่ เหนียว สีเข้ม มันเงา ไม่แตกง่าย หากทำที่รองอาหาร มีกลิ่นหอมเมื่อ นำ ไป นึ่ง ปิ้ง ย่าง หรือ นำไปบายศรี|
กล้วยเล็บมือนาง : เป็นกล้วยท้องถิ่นของภาคใต้ ลักษณะลำต้นเล็กแต่สูง ให้ผลดก มีหวีเยอะ โดยผลจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและเพรียว
ราคา : ผลไม้-ค้าส่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 25/09/2563)
ลำดับ | ราคา | หน่วย |
กล้วยไข่ กลาง | 35.00 – 40.00 | บาท/หวี |
กล้วยไข่ ใหญ่ | 45.00 – 55.00 | บาท/หวี |
กล้วยน้ำว้า | 40.00 – 50.00 | บาท/หวี |
กล้วยหอมทอง (ใหญ่) | 100.00 – 110.00 | บาท/ผล |
กล้วยหอมทองใหญ่ (14-15 ผล) | 120.00 – 130.00 | บาท/หวี |
ที่มา : ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศ ณ จุดเดียวของกระทรวงพาณิชย์
วิธีปลูกกล้วย
วิธีใช้ไร่เทพกับกล้วย
1. หลังปลูกได้2-3 อาทิตย์ ให้ฉีดพ่นบริเวณ โคนต้นใกล้กับดิน และใบ
2. ระยะต้นกล้วยอายุ 2 เดือน ฉีดพ่นอีกครั้ง อัตราใช้ เหมือนกับ พืชตระกูลล้มลุก
3. กรณีกล้วยโตแล้ว ให้ฉีดพ่นทุกๆ 15-30 วัน
4. กรณีขายใบกล้วย หรือกล้วยต้นสูง ให้ฉีดพ่นที่บริเวณโคนต้น และลำต้น (แทนจากเดิมที่ฉีดพ่นใบ เพราะถ้าน้ำค้างแรง อาจจะทำให้ใบเป็นจุด ถ้าพ่นลงใบด้วย)
กล้วยโตได้ดีในดิน เพราะระบายน้ำและอากาศดี มีความชุ่มชื้น ถ้าหากปลูกในดินเหนียวแนะนำเติมปุ๋ยอินทรีย์ ควรผสมปุ๋ยคอกเพื่อช่วยให้ดินโปร่งขึ้น หรือยกร่องเพื่อช่วยระบายน้ำด้วย นอกจากนี้ยังชอบอากาศร้อนชื้นและแสงแดดพอสมควร แต่ต้องระวังหากมีลมแรงมาก เพราะใบกล้วยค่อนข้างใหญ่ จึงมีความต้านลมสูง โดยการขยายพันธุ์สามารถทำได้ทั้งเพาะเมล็ด แยกหน่อ (ทั้งหน่ออ่อน หน่อใบแคบ และหน่อใบกว้าง) และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่จะนิยมใช้หน่อมากที่สุด
ขั้นตอนการปลูกกล้วยเริ่มด้วยการขุดหลุมกว้าง 40 x 40 เซนติเมตร แล้วนำดินตากแดดไว้สักหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นค่อยใส่กลับลงไปในหลุม พร้อมผสมปุ๋ยหมักให้สูงนูนขึ้นมา 20 เซนติเมตร เสร็จแล้ววางหน่อกล้วยลงไปกลางหลุม เอาดิบกลบ รดน้ำ และกดให้แน่น
อย่าลืมปล่อยให้ยอดหน่อโผล่สูงกว่าหน้าดินประมาณ 10 เซนติเมตร และเว้นระยะปลูกอย่าให้ใกล้กันมากเกินไป เนื่องจากใบกล้วยมีลักษณะกว้าง จะส่งผลให้ใบซ้อนกัน ทำให้ไม่ได้รับแสงแดดเพียงพอและจะดูแลลำบาก โดยกล้วยจะเริ่มออกดอกและให้ผลแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ซึ่งจะเริ่มต้นที่ประมาณ 5-6 เดือนเป็นต้นไปครับ
วิธีดูแลกล้วย
กล้วยเป็นพืชที่ทนแล้งได้ค่อนข้างดี สามารถปลูกกล้วยกลางแจ้งได้ การให้น้ำรดทุกวัน แต่อย่าให้มีน้ำขัง ซึ่งจะตามมาด้วยโรค สำหรับปุ๋ยให้ใส่ทั้งปุ๋ยหมัก โดยช่วงแรกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยยูเรียให้ให้เดือนละครั้ง และต้องไม่ลืมทำที่ค้ำยันในกรณีที่ต้นมีขนาดเล็กแต่ผลใหญ่ด้วยไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้
หมั่นตัดหน่อที่แตกออกมาให้เหลือแค่ 1-2 หน่อ พร้อมทั้งตัดใบที่แห้งออก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและไม่ให้แย่งอาหารจากต้นแม่ด้วย สำหรับโรคและแมลงสำคัญที่พบบ่อยในต้นกล้วย ได้แก่ โรคตายพราย โรคใบจุด ด้วงงวง และหนอนม้วนใบ ดังนั้นใครคิดจะปลูก ก็ต้องคอยดูแลใส่ใจ ไว้ครั้งหน้าแอดมินจะหาข้อมูล เกี่ยวกับ โรคกล้วย มานำเสนอต่อไปครับ หากพี่ๆท่านไหนสนใจที่จะปลูก สอบถามกันเข้ามาได้นะครับ ทางไร่เทพมีนักวิชาการ พร้อมแนะนำ การปลูกให้พี่ๆ ได้ตลอด
ขอขอบคุณ : กรมวิชาการเกษตร/ sentangsedtee/ Kapook
ภาพประกอบ : Freepik