ผลกระทบ เอลนีโญ-ลานีญา
สถานการณ์เอลนีโญ กลับมาเป็นประเด็นที่โลกและไทยต้องเตรียมรับมือ ด้วยล่าสุดรายงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ระบุหลักฐานจากดาวเทียม ยืนยันการกลับมาของเอลนีโญ GISTDA บอกว่าหลังจากที่ภูมิภาคของเราได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญามาแล้ว 3 ปีติดต่อกันคือ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่าปกติ แต่ในปีนี้นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยหลักฐานจากข้อมูลจากดาวเทียม แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ (ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ หรือแล้งนานกว่าปกติ) กำลังจะหวนกลับมาอีกครั้ง สำหรับประเทศไทย หากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ จะส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ “เอลนีโญและลานีญา” (El Niño, La Niña ) กันมาแล้วแต่ยังคงสับสนกับปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไรบ้าง..? โดยปกติแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก หรือมหาสมุทรที่กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา มีกระแสลมหรือเรียกว่าลมค้า (Trade winds) ซึ่งพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ไปยังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลจากอเมริกาใต้มายังประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเหตุนี้จึงให้เกิดฝนตกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ด้วยปรากฏการณ์ เอลนีโญและลานีญา จะทำให้กระแสลม และกระแสน้ำอุ่นที่กล่าวมานั้นเกิดความแปรปรวน ส่งผลให้เกิดภาวะแห้งแล้งและฝนตกหนัก ตามลำดับ
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออก ของมหาสมุทรแปซิฟิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
ปรากฏการณ์ลานีญา
เกิดจากกระแสลมพัดจากด้านตะวันออก ของมหาสมุทรแปซิฟิกมายังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกตามเดิม แต่กระแสลมมีความรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและฝนตกหนักมากกว่าปกติ ในทางตรงข้ามก็เกิดภาวะความแห้งแล้งตามแนวชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้
ปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มขึ้นแล้ว หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ลากยาวมาอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า จะเกิดความแห้งแล้งมากกว่าปกติ และอาจก่อให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนหลายพื้นที่ ขณะที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติประกาศประเทศไทยเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนีโญ อาจทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบทั้งฝนทิ้งช่วง และน้ำท่วม ขอให้ทุกหน่วยงานติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเตรียมแหล่งเก็บกักน้ำสำรองไว้ให้ใช้ได้มากที่สุด และแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน และใช้ในภาคการเกษตร
จากสถิติปี 2493 – 2566 ในรอบ 74 ปี โลกเผชิญเอลนีโญทั้งหมด 26 ครั้ง เป็นแบบรุนแรง 5 ครั้ง รุนแรงมาก 3 ครั้ง เอลนีโญทั้งหมด 45 ปี ต่อเนื่อง 2 ปี ติดกัน 7 ครั้ง และจำนวนปีต่อเนื่องสูงสุด 6 ปี ส่วนภาวะลานีญา 25 ครั้ง แบบรุนแรง 7 ครั้ง ลานีญาทั้งหมด 38 ปี ต่อเนื่อง 2 ปี และ 3 ปีติดกันทั้งหมด 3 ครั้ง จำนวนปีต่อเนื่องสูงสุด 8 ปี ส่วนปีที่มีทั้งเอลณีโยและลานีญา ทั้งหมด 13 ปี “ จากการศึกษาแบ่งเป็น 3 กรณี จะเกิดเอลนีโญต่อเนื่อง กรณีแรกปีนี้จะเริ่มเป็นซุปเปอร์เอลนีโญ อยู่ระหว่าง 1.5 องศา แต่มีโอกาสปีที่ 2 และปีที่ 3 ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ กรณีที่ 2 เริ่มเอลนีโญและลากยาว 2 ปี กรณีที่ 3 เอลนีโญอยู่ยาว แต่ภาวะอ่อน อย่างไรก็ตามทุกแบบปีหน้าน่ากลัว มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ทำให้ฝนน้อยและเกิดความแห้งแล้ง ดังนั้น การเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับสถานการณ์ในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศที่มีปริมาณน้ำน้อยจนน่ากังวล บนเวทีมีการประเมินปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้งปี 2566/2567 ผศ.ดร.จุติเทพ วงษ์เพ็ชร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า ผลจำลองการพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำล่วงหน้า 6 เดือน คาดว่า เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเข้าอ่างประมาณ 7,987 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมากกว่าค่าเฉลี่ย 23 ปี คิดเป็นร้อยละ 44 ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มประมาณ 3,216 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 46 จะมีปริมาณน้ำไหลเขาอ่างเก็บน้ำรวมเท่ากับ 11,202 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาณน้ำใช้การของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์รวมกัน 10,889 ล้าน ลบ.ม. ส่วนการพยากรณ์น้ำท่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติน้อยกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 28
ความกังวลต่อปรากฎการณ์เอลนีโญนั้น ผศ.ดร.จุติเทพกล่าวว่า จากการประเมินผลกระทบระยะยาวของปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยใช้ปีตัวแทนในการประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ พบว่าเอลนีโญอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องในระยะยาวได้ ผลจากแบบจำลองเป็นที่ชัดเจนว่าน้ำตามธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยังมีความผันแปร โดยรวมแล้วปีนี้ยังไหว มีน้ำเพียงพอสำหรับฤดูแล้งปีหน้า แต่ก็กังวลปีต่อไปว่า ผลของเอลนีโญจะรุนแรงเพียงใด หากรุนแรงมากจะทำให้น้ำที่เติมสู่แหล่งน้ำน้อยลง กระทบต่อการปลูกข้าวนาปรัง จำเป็นต้องติดตามทิศทางความรุนแรงของเอลนีโญว่าจะเข้มข้นขึ้นหรือลดลง
ส่วนมาตรการรับมือฤดูฝนและเอลนีโญ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เผยว่า สถานการณ์ปัจจุบันฝนสะสมต่ำกว่าค่าปกติ 28% ขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีฝนน้อย การใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำในขณะนี้เทียบเท่ากับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปีนี้ฝนทิ้งช่วงจะตกในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม
จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งในช่วงฤดูฝนปีนี้ คาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า ปี 65 11,484 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่คาดการณ์ปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา 1 พ.ย. 2566 มีปริมาณน้ำเก็บกัก 15,699 ล้าน ลบ.ม. หรือ 63% ส่วนปริมาณน้ำใช้การ คาดว่าจะมี 9,000 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 65 5,000 ล้าน ลบ.ม.
ดร.ธเนศร์ กล่าวต่อว่า ต้องกำหนดแนวทางการจัดการน้ำในสภาพเอลนีโญ โดยเก็บกักน้ำเต็มประสิทธิภาพในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝนให้มากที่สุด คาดจะมีน้ำใช้การ 9,000 ล้าน ลบ.ม. ต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง ไทยเผชิญฝนต่อแล้ง แล้งต่อฝน คุณภาพน้ำ น้ำอุปโภคบริโภคต้องไม่ขาดแคลน
ผลกระทบจะเกิดขึ้นในภาคเกษตร ผอ.สำนักบริหารจัดการน้ำฯ ระบุ การจัดการน้ำภาคการเกษตร ต้องวางแผนพื้นที่เพาะปลูกในลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งมีพื้นที่ปลูกข้าว 2 ล้านไร่ ไม่ว่ายังไงก็ปลูกควบคู่รณรงค์ปลูกพืชใช้น้ำน้อยลดการใช้น้ำ จนกระทั่งมาตรการพักนา ต้องนำมาปฏิบัตินอกจากนี้กรมชลประทานมี 6 แนวทางปฏิบัติ อาทิเก็บเต็มประสิทธิภาพ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง ระบบชลประทานเร่งระบาย
ส่วนมาตรการรองรับแล้ง ดร.ธเนศร์ กล่าวว่า ต้องบริหารน้ำในอ่างให้อยู่ในเกณฑ์บริหารจัดการน้ำและเพียงพอกับความต้องการ จัดหาแหล่งน้ำสำรองกรณีเสี่ยงภัยแล้ง ตรวจสอบความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมตามลำดับความสำคัญ จัดสรรตามกิจกรรมหลัก สำรองน้ำเก็บกักไว้ต้นฤดูฝนกรณีฝนทิ้งช่วง และประเมินผลและประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ
ด้าน รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยจะพบกับวัฏจักรน้ำท่วมน้ำแล้งไปตลอด ติดกับเกษตรกรรายได้น้อย จะต้องหยุดวัฎจักรนี้ใช้การจัดการความเสี่ยงเชิงระบบและระยะยาวมากขึ้น ใช้ข้อมูลข่าวสารที่พยากรณ์ให้เป็นประโยชน์ ปรับการช่วยเหลือเชิงเดี่ยวเป็นการช่วยปรับตัว ยกระดับแบบเฉพาะเจาะจงและยั่งยืนมากขึ้นภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส จำเป็นต้องมีนโยบายสนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำและอาชีพกับประชาชนระดับรากหญ้า นอกจากนี้ควรมีมาตรการเพิ่มแหล่งน้ำขนาดเล็กของชุมชนเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง โดยพัฒนาทีมงานในระดับพื้นที่ร่วมกับ อปท. ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรจากจังหวัดและหน่วยงานเทคนิค ทั้งนี้ การจัดการภัยแล้งแบบบูรณาการ ต้องติดตาม พยากรณ์ และแจ้งเตือน ประเมินความเปราะบางและผลกระทบ มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบ และการจัดการเชิงรุกตามความเสี่ยงของพื้นที่
แน่นอนว่าเอลนีโญ อาจส่งผลให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค ทำการเกษตร อุตสาหกรรม ซึ่งย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจและปัญหาปากท้อง ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า สถานการณ์เอลนีโญของไทยจะมีกำลังแรงในช่วงปลายฤดูฝนปี 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงฤดูร้อนปี 2567 ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มจะสูงกว่าค่าปกติ ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส และส่งผลให้มีอากาศร้อนและแล้งมากขึ้น ซึ่งอาจจะใกล้เคียงกับกับปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเอลนีโญระดับรุนแรง สำหรับปริมาณฝนรวมของประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าค่าปกติ ร้อยละ 10
ข้อมูลจาก : ไทยโพสต์ ** รับมือเอลนีโญ ** 24 กรกฎาคม 2566
: นายไกรรพ พงศ์พิบูลเกียรติ นักภูมิสารสนเทศ, ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน)
การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมแปลงก่อนปลูก ใช้ดินเทพ 50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะแตกใบอ่อน ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะพัฒนาทรงพุ่ม ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะสะสมอาหาร – ออกดอก ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะผลอ่อน – ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
โล่เขียว
เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง ช่วยให้พืชทนทานต่อโรคได้ดีขึ้น ส่งเสริมการสังเคราะห์แสงที่เข้มข้นทำให้ใบเขียวเข้ม ช่วยให้พืชทนต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้นได้ดี เช่นในช่วงเวลาอากาศเย็นหรือหนาวจัด สภาวะแล้งขาดน้ำ ฝนตกชุกฟ้าปิด และน้ำท่วม
ไร่เทพอาหารเสริมพืช
ประกอบไปด้วยสารฮิวมิค สาหร่ายทะเล สารฟูลวิค กรดอมิโนจากสัตว์ทะเล และสารวิตามินต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยฟื้นฟูระบบรากที่เสียหาย กระตุ้นการแตกรากใหม่ เพิ่มปริมาณรากฝอย และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ รากพืชแข็งแรงดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น และช่วยลำเลียงสารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ต่าง ๆจากราก และใบพืชไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว