วิธีใส่ปุ๋ยผักสวนครัว

ผักสวนครัว (รั้วกินได้)


ผักสวนครัวประจําบ้าน คือ ผักที่เราปลูกเองในที่อยู่อาศัย อาจปลูกในกระถาง กระบะ หรือพื้นดิน เป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ซับซ้อน ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาบริโภคเป็นผักแกล้ม หรือปรุงเป็นอาหารได้สะดวก การปลูกผักภายในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะการปลูกผักที่ใช้เป็นประจำในครอบครัว ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ภายในบริเวณบ้านที่ กว้างขวาง เพียงแค่มีพื้นที่ 1 – 5 ตารางเมตร ก็สามารถปลูกผักไว้รับประทานอย่างเพียงพอได้ โดยหากมีพื้นที่ กว้างพอก็สามารถปลูกลงในดินโดยตรง แต่ถ้ามีพื้นที่ขนาดเล็กสามารถปลูกในภาชนะ และตั้งวางบนพื้นดินหรือแขวนใน บริเวณบ้านที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อยครึ่งวันก็เพียงพอ ที่จะมีผักสดและปลอดภัย ไว้รับประทานเพื่อสุขภาพ ที่ดีของคนในครอบครัว และสอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจ ในปัจจุบันด้วย

ประโยชน์

1. ปลูกเป็นรั้วบ้าน ( รั้วกินได้ ) ผักที่สามารถนำมาปลูก ทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง
ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิต ตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจากสารเคมี
2. ใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวน การนำ ผักปลูกในกระถางแบบแขวน – ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆบ้าน
3. ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
4. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหาร ประจำวัน
5. ได้ผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
6. สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์

ปัจจัยในการปลูก

1. พันธุ์ผัก เป็นสิ่งตั้งต้นที่จะทำให้ได้ผลผลิตผัก ผักส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการขยาย พันธุ์แต่ก็ยังมีอีกหลายชนิดใช้ส่วนอื่น ๆ ในการขยายพันธุ์ดังนี้
1.1 ผักที่ใช้เมล็ดพันธุ์สำหรับปลูก พริก มะเขือเทศ มะเขือคะน้า กวางตุ้งผักกาดขาวผักกาดหอม แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย แคนตาลูป บอน มะระ ฟักทอง ฟักเขียว แฟง ถั่วฝักยาว ถั่วพลูผักบุ้งจีน กระเจี๊ยบเขียว กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ผักชี
1.2 ผักที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ในการปลูก – ใช้กิ่งปักชำ เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม กะเพรา โหระพา แมงลัก และชะพลูเป็นต้น – ใช้เหง้า หัวและ ลำต้น เช่น หอมแบ่ง หอมแดง กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้และมันเทศ เป็นต้น

2. ดิน 2.1 การปลูกในพื้นดินโดยตรง ให้พรวนดินตากแดดไว้ประมาณ 7 – 15 วัน หลังจากนั้นยกแปลงสูง ประมาณ 4 – 5 นิ้ว กว้างประมาณ 1 – 1.2 เมตร ส่วนความยาวตามความยาวของพื้นที่ หรือความต้องการ การวางแปลงให้พิจารณาให้อยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ เพื่อให้ผัก ได้รับแสงแดดทั่วแปลงตลอดวัน ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักจำนวน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดีก่อนการปลูกผัก
2.2 การปลูกผักในภาชนะ ให้ใช้ดินผสมสำหรับการปลูกโดยดินผสมต้องมีความร่วนซุย ระบายน้ำ ได้ดีและมีธาตุอาหารจำเป็น ที่เพียงพอกับการเจริญเติบโต ของผักได้ปัจจุบันมีการจำหน่าย ส่วนผสมในร้านขายต้นไม้หรือวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งสามารถซื้อมาใช้สำหรับการ ปลูกผักได้และหากต้องการทำดินผสม สำหรับการปลูกผักใช้เองให้ ใช้ส่วนผสม ดิน : ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าวหรือขี้เถ้าแกลบ ในส่วนผสม 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี

3. ภาชนะปลูก


3.1 การเลือกภาชนะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ให้พิจารณาจากอายุของผัก ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว หากใช้ระยะ เวลานานหรือเป็นผักยืนต้นต้องพิจารณาให้ใช้ภาชนะมีขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้ มีพื้นที่ในการบรรจุวัสดุปลูกหรือดินผสมที่เพียงพอให้พืชผักหยั่งรากและมีอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งให้คำนึงถึงความยาวของรากพืชผักด้วย ซึ่งโดยทั่วไปหากเป็นพืชผักอายุสั้นรากผักจะเจริญเติบโตและหาอาหารอยู่ที่ระดับ ความลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ดังนั้น ภาชนะปลูกควรมีความลึก 25 – 30 เซนติเมตร แต่หากเป็นผักที่มีอายุปานกลาง เช่น พริก มะเขือต่าง ๆ หรือผักยืนต้น เช่น กะเพรา โหระพา แมงลัก ชะอม ภาชนะปลูกควรมีความลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร จะทำให้ พืชผักสามารถเจริญเติบโตออกผลได้สมบูรณ์ เลือกภาชนะปลูกที่มีความคงทนแข็งแรง พอสมควร หรือมีความแข็งแรงดี
3.2 การเตรียมภาชนะปลูก เมื่อเลือกภาชนะปลูกได้เหมาะสมทั้งกับชนิดของพืชผัก และมีความ แข็งแรงคงทนพอสมควรแล้ว สิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติต่อไปคือ ทำให้ภาชนะปลูก มีรูระบายน้ำ เพื่อให้น้ำในส่วนที่เหลือจากที่ดินไม่สามารถดูดซับได้แล้วจะได้สามารถ ระบายออกได้เพื่อให้ไม่ขังและอยู่ในภาชนะปลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรากเน่าและ ต้นไม่เจริญเติบโตและตายได้ วิธีการทำรูระบายน้ำ โดยการเจาะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาดและจำนวน พอสมควร โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดของภาชนะปลูกเป็นสำคัญ

4. อุปกรณ์สำหรับการให้น้ำผัก เนื่องจากผักเป็นพืชที่มีอายุ สั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ สิ่งจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการให้น้ำ พืชผักคือควรใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม ในการให้น้ำ โดยทั่วไปหากมีการปลูกผัก ไม่มากให้ใช้บัวรดน้ำที่มีหัวฝอยละเอียด เพื่อไม่ให้ความแรงของน้ำทำให้ผักช้ำ หรือ ทำให้ดินกระจายซึ่งจะกระทบกระเทือน ต่อการเจริญเติบโตของผัก หากไม่ใช้บัวรดน้ำอาจใช้สายยางรดน้ำ แต่แนะนำให้ติดหัวฝักบัวที่ปลาย สายยางเพื่อให้น้ำแตกกระจาย ลดความดันของน้ำที่จะทำให้ผักเสียหาย

5. อุปกรณ์ในการพรวนดิน หากเป็นการปลูกในดินโดยตรง ควรมีจอบสำหรับใช้ในการพรวนดิน หรือถ้าเป็นการปลูกในภาชนะปลูกควรมีพลั่วมือทำดินผสมสำหรับการปลูกผัก และใช้ พรวนดินในระหว่างการปลูกโดยเมื่อมีการปลูกผักในระยะหลัง หน้าดินอาจเริ่มอิ่มตัวแน่น ให้ใช้จอบหรือพลั่วมือพรวนดิน รอบ ๆ ต้นผัก เพื่อให้มีการถ่ายเท อากาศทำให้ออกซิเจนสามารถถ่ายเท ลงไปในดินได้และเพื่อประโยชน์กับ รากผักในการเจริญเติบโต ทั้งนี้การพรวนดินต้อง ระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือน ต่อรากหรือลำต้นด้วย

ผักจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่


1. ผักอายุสั้น หมายถึง ผักที่มีอายุ ตั้งแต่ปลูกจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ น้อยกว่า 2 เดือน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ใช้ส่วน ของใบและลำต้นสำหรับการบริโภค มีการ เจริญเติบโตรวดเร็ว ทำให้สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลาสั้น เช่น ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชีเป็นต้น
2. ผักอายุปานกลาง หมายถึง ผักที่มีอายุประมาณ 2 – 5 เดือน ตั้งแต่ปลูกจนสามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปบริโภคได้มีทั้งผักที่ใช้ลำต้น ดอก ผล ในการบริโภค เช่น กะหล่ำปลีผักกาดขาวปลีกะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงโม บวบ มะระ และฟักทอง เป็นต้น
3. ผักยืนต้น หมายถึง ผักที่สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปรับประทานได้อย่างต่อเนื่อง สามารถ ปลูกและอยู่ข้ามปีได้หากเมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วยังมีการดูแลรักษาอย่าง สม่ำเสมอ เช่น ผักหวาน ชะอม กระถิน กะเพรา โหระพา แมงลัก ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้และกระชาย เป็นต้น การเลือกชนิดผัก การเลือกชนิดผักสำหรับปลูก นอกจากจะพิจารณาจากอายุของพืชผัก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภค และสภาพพื้นที่หรือภาชนะปลูกให้เหมาะสมแล้วควรคำนึงถึงฤดูกาลที่จะปลูก ให้เหมาะสม กับชนิดของพืชผักด้วย เพราะจะทำให้ดูแลรักษาง่าย มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ได้ผักที่มีคุณภาพและรสชาติที่ดีด้วย

 


วิธีการปลูกผัก
1. การปลูก
1.1 การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์โดยตรงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำอุ่น (อุณหภูมิ ประมาณ 55 – 60 องศาเซลเซียส) ประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และ สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่ติดมากับดินได้
1.2 การย้ายกล้าปลูกต้องเลือกต้นกล้าที่มียอดลำต้น ใบ และรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงไปปลูก
1.3 การใช้กิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์อื่น ๆ ให้คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง กิ่งมีความแก่พอสมควร หรือกลีบและหัวแน่น เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้สมบูรณ์
2. การเพาะกล้า
การเพาะกล้าสามารถทำแปลงเพาะหรือเพาะในถุงพลาสติก หรือใช้ถาดเพาะ ดินที่ใช้ในการเพาะกล้า ควรเป็นดินผสมที่มีอัตราส่วนของดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2 : 1 หรือดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักและ ขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวในอัตรา 1 : 1 : 1 นำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1 เมล็ด กลบดินบาง ๆ แล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำที่ฝอยละเอียดเพื่อไม่ให้ดิน กระจายตัวควรมีการกันมดหรือแมลง มาคาบเมล็ด โดยใช้ปูนขาว โรยบาง ๆ ล้อมรอบบริเวณ ที่วางถุงหรือถาดเพาะกล้า ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 1 – 2 ครั้ง ในเวลาเช้า และบ่าย โดยทั่วไปอายุกล้า ที่เหมาะสมในการย้ายปลูก ประมาณ 15 – 20 วัน แต่สำหรับ พริก และมะเขือต่าง ๆ ควร มีอายุ 25 – 30 วัน
3. การให้ปุ๋ย ปุ๋ยรองพื้นใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกควรเป็นปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดิน ให้โปร่งร่วนซุย ช่วยในการอุ้มนํ้า และ รักษาความชื้นของดิน ให้เหมาะกับการ เจริญเติบโตของพืช
4. การให้น้ำ พืชผักเป็นพืชอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอทุกระยะการเจริญเติบโตต้องให้ น้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าแฉะหรือมีน้ำขัง เพราะน้ำจะ เข้าไปแทนที่อากาศในดิน ทำให้รากพืชขาดออกซิเจน และเน่าตายได้ควรรดน้ำในช่วงเช้า – เย็น ไม่ควรรด ตอนแดดจัด
5. การกำจัดวัชพืช ได้แก่ หญ้าหรือพืชอื่น ๆ ที่ขึ้นแซมในแปลง จะทำให้แย่งน้ำและธาตุอาหาร ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ไม่ดีรวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่ของศัตรูพืชอื่น ๆ ด้วย การกำจัดโดย การใช้ถอนด้วยมือ หากมีพื้นที่มากใช้พลั่วหรือจอบพรวนดินในการกำจัดวัชพืชไป พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย

6. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การป้องกันกําจัดแมลงที่ปลอดภัยทําได้หลายวิธีดังนี้
6.1 การใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น บาซิลัส ทุริงเยนซิส (BT), ไวรัส NPV, เมธาไรเซียม และบูเวอเรีย บัสเซียนา
6.2 ปลูกพืชผักร่วมกับพืชที่มีกลิ่นไล่แมลง เช่น โหระพา กะเพรา ตะไคร้


7. การป้องกันกำจัดเชื้อโรคในผัก ในการปลูกผัก หากมีการดูแลให้พืชผักมีการ เจริญเติบโตที่แข็งแรง สมบูรณ์ และปลูกไม่ให้ต้นแน่นหรือ ชิดกันเกินไป สามารถช่วย ป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดปัญหาใบจุดหรือ โคนเน่า ให้ทำการเก็บใบหรือ ต้นผักที่เป็นโรคทิ้ง และนำไป ทำลายนอกแปลง และใช้ น้ำปูนใสรดที่แปลงผักหรือ ต้นผัก วิธีการทำน้ำปูนใส ให้ใช้ปูนขาวจำนวน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสม ให้เข้ากัน และทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นให้นำน้ำปูนใสที่ปูนตกตะกอนแล้ว อัตราน้ำปูนใส 1 ส่วน น้ำธรรมดาสำหรับรดผัก 5 ส่วน เพื่อรดในแปลงปลูก
ใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น ไตรโครเดอร์มา ฮาร์เซียนัม และ บาซิลัสซับทีลิส (BS) ช่วยป้องกันกำจัดโรคพืช

8. การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ผักสด รสชาติดีและหากยังไม่ ได้นำไปรับประทานให้ล้างให้สะอาดและนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บ ในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสชาติดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปผลผลิตจะลดลงสำหรับผักใบหลายชนิดเช่น หอมแบ่งผักบุ้งจีน ผักคะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้วโดยยังคงเหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออก ทั้งต้น ราก หรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลผลิตได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่เสมอ การปลูกพืชหมุนเวียน สลับชนิด หรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ ทยอยปลูกครั้งละ 3 – 5 ต้น หรือประมาณว่ารับประทาน ได้ในครอบครัวในแต่ละครั้ง ที่เก็บเกี่ยวก็จะทำให้ผู้ปลูกมี ผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวัน ตลอดปี

รับประทานผักให้มีคุณค่า

ผักเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ โดยวิตามินที่อยู่ในผักมีทั้งวิตามินที่ละลายในน้ำ และวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินบางตัวถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้น เพื่อสงวนคุณค่าทาง โภชนาการของพืชผักต่าง ๆควรหลีกเลี่ยงการแช่ผักที่หั่นฝอยหรือชิ้นเล็ก ๆในน้ำหรือตั้ง ทิ้งไว้ในอากาศเป็นเวลานาน ควรล้างทั้งหัว ทั้งต้นและเปลือก ถ้าจำเป็นต้องปอกเปลือก ควรปอกแต่เพียงบาง ๆก่อนล้างควรเลือกส่วนที่เน่า เสียและส่วนที่ใช้ไม่ได้ออก การต้มผักให้ใช้น้ำน้อย เช่น การลวก นึ่ง ผัด ใช้เวลาสั้น อย่างไรก็ตาม หากสามารถรับประทานผักสดจะได้ประโยชน์และ คุณค่าของผักครบถ้วน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกผักสวนครัว กรมการพัฒนาชุมชน

วิธีการใช้ไร่เทพและดินเทพกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** ในกรณีใช้ดินเทพช่วงเตรียมแปลงก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพอัตรา 40 – 50 ซีซีผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดิน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
วิธีการใช้โล่เขียวกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
โล่เขียว ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค รวมทั้งพบว่าช่วยให้พืชทนทานต่อการขาดน้ำ ในพื้นที่ดินทรายได้ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตเพราะการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-