Tag Archives: ดินเทพ

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยอินทรีย์

 

คือปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นซากพืช ซากสัตว์ ผลิตผลที่ได้จากตัวสัตว์ หรือแม้แต่เศษซากจากกระบวนการบางอย่างของเหล่าจุลินทรีย์ ความแตกต่างของที่มาส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยอินทรีย์นั้นแตกต่างกัน และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนและเป็นต้นแบบเพื่อการต่อยอดให้กับปุ๋ยประเภทอื่น เรารู้จักการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่ยังไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบของมันเสียอีก โดยคาดว่าปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกน่าจะเป็นชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้งาน


1. ปุ๋ยคอก (Animal manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ตัวอย่างของประเภทสัตว์ที่นิยมใช้กันได้แก่ มูลโค มูลไก่ มูลเป็ด และมูลสุกร แน่นอนว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่มูลของสัตว์เหล่านี้หาได้ง่ายกว่า อีกทั้งส่วนมากยังเป็นผลพลอยได้ของการเกษตรเชิงผสมผสานอยู่แล้วด้วย มูลสัตว์นั้นไม่ใช่ของเสียแต่เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารมาแล้ว จึงมีธาตุอาหารหลายชนิดที่ดีต่อพืชและดิน


2. ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากระบวนการหมักจนเกิดการย่อยสลายในเชิงชีววิทยา จากข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์กล่าวว่า ส่วนมากนิยมใช้ของเหลือในกิจกรรมทางการเกษตร เช่น หยวกกล้วย ฟางข้าว เป็นต้น นำวัตถุดิบมาทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำไปหมักในสภาวะอันเหมาะสม เพื่อรอให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ของมัน สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์เป็นปุ๋ยหมักที่มีเนื้อยุ่ย อนุภาคแยกจากกันได้โดยง่าย มีคุณสมบัติพร้อมทั้งการบำรุงและปรับปรุงกายภาพของดิน


3. ปุ๋ยพืชสด (Green manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเลือกพืชบางชนิดมาเพาะปลูกในพื้นที่ เมื่อโตได้ระยะหนึ่งก็ไถกลบเพื่อให้พืชนั้นย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ จุดเด่นของปุ๋ยชนิดนี้อยู่ที่การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่ดิน เพราะพืชที่นิยมใช้ทำปุ๋ยพืชสดนั้น นอกจากต้องเติบโตได้เร็วแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติตรึงธาตุไนโตรเจนได้ดีมากด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วทั้งหมด ปอเทือง โสน เป็นต้น จะเรียกว่าเป็นการบำรุงดินครั้งใหญ่หลังจากเสื่อมโทรมเพราะการเพาะปลูกก่อนหน้านี้ก็ได้

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2550 หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากความหมายของปุ๋ยชีวภาพแล้ว ยังมีคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยชีวภาพที่ควรทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้ซื้อ หรือจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “ ชนิดของจุลินทรีย์ ” หมายความว่า กลุ่มหรือสกุลของจุลินทรีย์ เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์ “ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ” หมายความว่า จุลินทรีย์ชีวภาพที่มี จำนวนเซลล์ต่อหน่วยสูงซึ่งถูกเพาะเลี้ยงโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ “ วัสดุรองรับ ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง ” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารับรองถึงจำนวนเซลล์รวม หรือจำนวนสปอร์รวม หรือจำนวนตามที่หน่วยวัดอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีอยู่ในปุ๋ยชีวภาพหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ตนผลิตหรือนำข้าแล้วแต่กรณี “ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค ” หมายความว่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์สัตว์ หรือพืชและให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ สามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแก่พืช ได้ 2 ประเภท คือ

1.ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารพืชจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรีย และแอคติโนมัยสีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีชุดยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส ( Nitrogenase enzyme ) และควบคุมกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศที่มีประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบในจีโนมปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะ
ความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ( Symbiotic nitrogen fixation ) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้ มีแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากเป็นส่วนประกอบ สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า 50-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการสร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับ พืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียไรโซเบียม กับพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ การสร้างปมที่รากสน ของแฟรงเคีย ( Frankia ) การสร้างปมที่รากปรงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลนอสทอค ( Nostoc ) การอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดง ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลอะนาบีนา ( Anabaena ) เป็นต้น ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตรเจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิต และคุณภาพพืชได้อย่างมีระสิทธิภาพ


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ ( Non-symbiotic nitrogen fixation ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยระหว่าง 5 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์ชนิดของพืชอาศัย และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
2.1 แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ สกุลอะโซโตแบคเตอร์ ( Azotobacter ) และ สกุลไบเจอริงเคีย ( Beijerinckia ) เป็นต้น
2.2 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม ( Azospirillum ) และสกุลบาซิลลัส ( Bacillus ) เป็นต้น
2.3 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช ได้แก่ กลูคอนอะซีโตแบคเตอร์ไดอะโซโตรฟิคัส ( Gluconacetobacter diazotrophicus ) ที่พบในอ้อย และกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม ( Herbaspirillum ) ที่พบในข้าว อ้อย และพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอาร์คัส ( Azoarcus ) ที่พบในข้าวและหญ้า เป็นต้น

2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี จะสร้างกรดอินทรีย์ หรือเอนไซม์บางชนิด เพื่อละลายธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา ประกอบด้วยกลุ่มราไมคอร์ไรซาที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยจะสร้างเส้นใยเข้าไปในราก และเส้นใยบางส่วนจะเจริญอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช ช่วยดูดธาตุอาหารต่าง ๆ และละลายฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน แล้วส่งผ่านธาตุอาหารไปทางเส้นใยราเข้าสู่รากพืช ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตอย่างเพียงพอ ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาที่มีการนำมาใช้ทางการเกษตรมี 2 กลุ่ม คือ 1) อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ( Arbuscular mycorrhiza ) ใช้กับพืชสวน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และ 2) เอ็คโตไมคอร์ไรซา ( Ectomycorrhiza ) ใช้กับไม้ผลไม้ป่า และไม้โตเร็ว


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่ม ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส โดยการสร้างและปลดปล่อยกรดอินทรีย์และกรดอนินทรีย์ ออกมานอกเซลล์เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสะสมในดิน นอกจากนี้ยังสร้างและปลดปล่อยเอนไซม์บางชนิดออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในดิน ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างเอนไซม์ไฟเตส ( Phytase ) ในการย่อยสลายไฟเตท ( Phytate ) และปลดปล่อย โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ( HPO42 – ) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ( H2PO4 – ) ออกมาในสารละลายดิน ซึ่งพืชจะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตต่อไป
กลุ่มที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียม ได้แก่ สกุลบาร์ซิลลัส ( Bacillus ) สกุลคลาโดสปอริออยเดส ( Cladosporioides ) สกุลคลาโดสปอเรียม ( Cladosporium ) สกุลคลอสทริเดียม ( Clostridium ) สกุลเพนนิซิลเลียม ( Penicillium ) และสกุลไทโอบาร์ซิลลัส ( Thiobacillus ) เป็นต้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างกรดอินทรีย์ และอนินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากการตรึงของแร่ดินเหนียวบางชนิดจึงสามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ สามารถใช้ได้ผลดีทั้ง ในพืชสวนและพืชไร่

มหัศจรรย์ “แฝก”อุ้มน้ำ ห่มดิน

มหัศจรรย์ “ แฝก ” อุ้มน้ำ ห่มดิน

ลักษณะของแฝก
แฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่
๑.กลุ่มพันธุ์แฝกกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ
๒.กลุ่มพันธุ์แฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
แฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

ลักษณะพิเศษของแฝก

การที่แฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
๑.มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
๒.มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
๓.แฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
๔.ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
๕.มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
๖.ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
๗.บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
๘.ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
๙.ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

การขยายพันธุ์แฝก

การขยายแม่พันธุ์ คือ การนำแม่พันธุ์แฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. การขยายแม่พันธุ์แฝก
๑.๑การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น ๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุได้ ๑ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๑.๒ การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน ๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป

 


๒. การขยายกล้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
๒.๑ การเตรียมกล้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (๒x๖ นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
๒.๒ การเตรียมกล้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว ๑-๒ เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน

การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกแฝก

๑.การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
๒.การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
๓.การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
๔.การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
๕.การปลูกกล้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
๖.ความห่างของแถวแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง ๑.๕-๓ เมตร
๗.กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
๘.ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง

การดูแลรักษาแฝก

 

๑.การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ ๔๕ ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วแฝก ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
๒.การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า ๑๕ วันขึ้นไป
๓.การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕ เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้แฝกแตกใบเขียว ในฤดูแล้ง
๔.การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวแฝกก็จะเป็นการช่วยให้แฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวแฝกได้ชัดเจน ช่วยให้แฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
๕.การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วแฝกที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่

การปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม

 

สำหรับการปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกแฝกในพื้นที่ลาดชัน
ควรปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร แฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน ๔-๖ เดือน
๒.การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ
นำกล้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ และแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกแฝก ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกแฝกไม่เกิน ๒ เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ ควรปลูกแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
๓.การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้
ควรปลูกแฝกในสวนผลไม้ ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล ๒.๕ เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ แฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป
๔.การปลูกแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่
การปลูกแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกแฝก หรือปลูกแฝกเป็นแนะระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น ในช่วงต้นฤดูฝน
๕.การปลูกแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม
ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องแฝก จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
๖.การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน
ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง ๑ แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ และระบบรากของแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย

รูปแบบการปลูกแฝกตามหลักวิชาการ

เพื่อให้การดำเนินการปลูกแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
การปลูกแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร โดยปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถว ตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก
๒.สระน้ำปลูก ๒ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกห่างขอบบ่อ ๕๐ เซนติเมตร จนรอบบ่อ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
๓.อ่างเก็บน้ำปลูก ๓ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวตั้ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคัน หรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๓ ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
๔.ปลูกริมคลองส่งน้ำ ๑ แถว ห่างขอบคลองส่ง ๓๐ เซนติเมตร
๕.ปลูกบนร่องสวน ๑ แถว ห่างขอบแปลง ๓๐ เซนติเมตร
๖.ปลูกอยู่บนไหล่ถนน ๑ แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
๗.ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๓ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๙ เมตร
๘.ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๑๒ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๑๘ เมตร

การปลูกแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
ข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

การใช้ปุ๋ยพืชสด

การใช้ปุ๋ยพืชสด

โดย … อัญชลี พัดมีเทศ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการไถกลบต้น ใบและส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในระยะช่วงออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารในลําต้นสูงสุด แล้วปล่อยไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา ปุ๋ยพืชสดนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักแก่พืชแล้ว ยังให้ธาตุอาหารรองอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่พืช ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทําให้ดินร่วนซุยสะดวกต่อการไถพรวน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาในการกําจัดวัชพืชได้อีกด้วย

ลักษณะของพืชที่จะนํามาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดควรมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ดังนี้คือ

  1. ปลูกได้ง่ายเจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรงออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30-60 วัน
  2. สามารถให้นํ้าหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2000 กิโลกรัม / ไร่ขึ้นไป
  3. ทนแล้งและทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดีสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
  4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
  5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อทันและเพียงพอต่อความต้องการเมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
  6. ทําการเก็บเกี่ยว ตัดสับ และไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมาก เพราะจะทําให้ไม่สะดวกในการไถกลบ
  7. ลําต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้รวดเร็ว และมีธาตุอาหารพืชสูงชนิดของปุ๋ยพืชสด

พืชที่ใช้ทําเป็นพืชสดนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่เหมาะจะนํามาเป็นปุ๋ยพืชสดมากกว่าพืชประเภทอื่น เพราะเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารพืชสูง เมื่อตัดสับและไถกลบจะเน่าเปื่อยผุพังเร็ว โดยเฉพาะจะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช เพราะในการที่พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงนั้นพืชจะต้องได้รับธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งพืชตะกูลถั่วภายหลังไถกลบและเน่าเปื่อยผุพังแล้วก็สามารถจะให้ธาตุอาหารนี้แก่พืชที่ปลูกตามหลังอย่างมากมาย เพราะ รากถั่วจะมีปมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ปมรากถั่ว (nodule bacteria) ซึ่งมีเชื่อจุลินทรีย์ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก

จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถดึงเอาธาตุไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศมาไว้ในปมรากถั่ว เปรียบเสมือนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยไนโตรเจน จากนั้นเมื่อเราปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบํารุงดินก็จะเป็นการประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง และในขณะเดียวกันเศษ            พืชที่สลายตัวเน่าเปื่อยลงไปในดินก็จะเพิ่มธาตุอาหารพืชที่สําคัญ ๆหลายชนิดให้แก่ดินตลอดจนเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุแก้ดินช่วยปรับปรุงสภาพของดินอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมในการปลูกพืชพืชปุ๋ยสดเป็นพืชตระกูลถั่ว ก่อนปลูกควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ที่จะปลูก                        ลักษณะ  และคุณภาพของดินประกอบด้วย เพื่อให้สามารถใช้ได้ดี และให้ปริมาณนํ้าหนักพืชสดสูง โดยพิจารณาชนิดพืชที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ดังนี้

1.1 โสนไต้หวัน (Sesbania sesban) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ สามารถขึ้นได้ในดินทั่วๆ ไป แต่จะขึ้นได้ดีในดินเหนียวที่มีนํ้าขัง หรือบริเวณที่ลุ่มที่มีนํ้าท่วมถึง จึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวภาคกลาง หรือดินภาคอื่น ๆ ที่มีสภาพของดินและสภาพพื้นที่เหมือนกัน นอกจากนี้โสนไต้หวันยังทนแล้งได้ด้วย

1.2 โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) เป็นพืชที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ ดอกใหญ่กว่าดอกโสนไทย และโสนไต้หวัน มีลําต้นสูงและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าโสนไต้หวัน เป็นพืชที่ให้นํ้าหนักสดสูงมากพืชหนึ่งโสนอินเดียชอบดินที่ค่อนข้างจะเป็นด่าง จึงนิยมปลูกบนที่ดอนไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินทราย ก็สามารถปลูกขึ้นได้ดีเมื่อขึ้นแล้วนํ้าขังก็ไม่ตาย

1.3 โสนคางคก (sesbania aculeata) เป็นพืชที่มีลําต้นขรุขระขึ้นได้ดีในบริเวณที่มีนํ้าขัง และสามารถขึ้นได้ดีในดินเค็ม ฉะนั้นจึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวที่ปลูกในดินเค็ม

1.4 ปอเทือง (Crotalaria juncea) มีลําต้นคล้ายปอแก้ว ดอกจะมีสีเหลืองอยู่กระจัดกระจาย จัดว่าเป็นพืชปุ๋ยสดที่ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง ซึ่งจะหาพืชชนิดอื่นเทียบได้ยาก เนื่องจากเมื่อไถกลบแล้วจะผุพังได้รวดเร็ว และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินในปริมาณมาก ปอเทืองสามารถขึ้นได้ในดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินลูกรัง แต่ไม่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นหรือมีนํ้าขังดังนั้นจึงนิยมปลูกบนที่ดอน

1.5 ถั่วพร้า (Canvalia ensiformis) เป็นพืชที่มีลําต้นตรง บางชนิดก็เลื้อยพัน เจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีรากลึก ใบใหญ่ กว้าง ลําต้นแข็งแรง ดอกมีสีแดงอ่อน ม่วงอ่อน หรือขาว เป็นพืชทนแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไปแต่นิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ปลูกพืชไร่ แต่บางครั้งก็นํามาปลูกในดินนาช่วงหน้าแล้งไม่มีนํ้าขังได้ดีเหมือนกัน

1.6 ถั่วประเภทเถาเลื้อย เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร่หนามเว็ลเว็ท คาโลโปโกเนียม ซีรูเลียม

และอัญชัน พืชเหล่านี้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นพืชคลุมดินในสวนผลไม้เพื่อปราบวัชพืชบางชนิด ใบที่ร่วงหล่นทําเป็นปุ๋ยบํารุงดิน อันเป็นประโยชน์แก่ไม้ผล ที่ปลูกมากกว่าจะตัดสับแล้วไถกลบ

1.7 ถั่วประเภทใช้เมล็ดอื่น ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วนา ถั่วลิสง ก็สามารถใช้ปลูกทําเป็นปุ๋ยพืชสดได้

  1. พืชชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เช่น พวกพืชตระกูลหญ้าก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ แต่พืชพวกนี้ส่วนใหญ่จะให้แต่เพียงอินทรีย์วัตถุ ส่วนธาตุอาหารพืชอย่างอื่นมีปริมาณน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว ฉะนั้นขณะที่ทําการไถกลบพืชตระกูลหญ้าลงไปในดิน จึงนิยมหว่านปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเพิ่งลงไปด้วยในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่อายุของพืชที่ถูกกลบ

      3. พืชนํ้า พืชนํ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว คือแหนแดง (Azolla) เนื่องจากแหนงแดงเป็นที่อาศัยของแอลจีบางชนิด

สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศมาให้ แหนแดงเน่าเปื่อยผุพังก็จะให้ไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุแก่ดิน แหนแดงสามารถเลี้ยงขยายในนาข้าวแล้วทําเป็นปุ๋ยพืชสด โดยจะให้ไนโตรเจนได้ถึง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ยังนํามาเพาะขยายพันธุ์ได้ในดินที่มีนํ้าขัง เราจึงมักพบเห็นแหนแดงมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติบริเวณที่มีนํ้าขังเสมอ

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงดิน

ในการปลูกพืชปุ๋ยสดให้ได้ผลดีนั้นควรพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการ คือ

  1. ลักษณะของดิน เนื่องจากพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ นั้น ขึ้นได้ดีในดินที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นดินเปรี้ยว ควรใส่ปูนลงไปก่อน ถ้าเป็นดินทราย ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 3-8-6 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ หวานเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้นํ้าหนักสดสูงด้วย
  2. เวลาฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝนหรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังมีอยู่ หรือปลุกก่อนการปลูกพืช หรือปักดําข้าวประมาณ 3 เดือน ในช่วงปลายฤดูฝนก็สามารถปลูกได้แต่ต้องมีความชื้นในดินอยู่บ้าง
  3. วิธีการปลูก มีหลายวิธีด้วยกัน คือการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็นหลุม หรือหว่านเมล็ดลงไปถั่วแปลงก็ได้แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีหว่าน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดแรงงานกว่า ซึ่งควรทําการไถดะก่อนแล้งจึงหว่านเมล็ดลงไป หลังจากนั้นจึงทําการคราดกลบเมล็ด ถ้าเป็นพืชที่มีเมล็ดใหญ่ควรคราดกลบให้ลึกหน่อย เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น

การใช้เมล็ดพันธุ์พืชสดที่เหมาะสมเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ด ดังนี้

ปอเทือง 5 กก.

ถั่วนา 8 กก.

โสนอินเดีย 5 กก.

ถั่วลาย 2 กก.

โสนคางคก 5 กก.

ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก.

โสนไต้หวัน 4 กก.

ไมยราบไร้หนาม 2 กก.

ถั่วพร้า 5 กก.

ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก.

ถั่วเขียว 5 กก.

คาโลโปโกเนียม 2 กก.

ถั่วเหลือง 8 กก.

อัญชัน 3 กก.

ถั่วพุ่ม 8 กก.

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสดแบ่งการใช้ได้เป็น 3 วิธีคือ

  1. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทําการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย ก่อนที่จะปลูกพืชหลักชนิดอื่น ๆ ตามมา
  2. ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ปลุก โดยปลูกพืชปุ๋ยสดหลังจากพืชหลักเติบโตเต็มที่แล้วเพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารในดิน เมื่อพืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานก็ทําการตัดสับ และไถกลบลงไปในดินระหว่างร่องปลูกพืชหลัก
  3. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่า หรือ ตามหัวไร่คันนาแล้วตัดสับเอาส่วนของพืชปุ๋ยสดนํามาใส่ในแปลงเพื่อจะทําการปลูกพืชหลัก แล้วไถกลบลงไปในดินการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดในการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดนั้น จําเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชปุ๋ยสดเป็นสําคัญ ควรกระทําเมื่อมีปริมารธาตุไนโตรเจนในพืชสูงสุด และให้นํ้าหนักพืชปุ๋ยสดสูงด้วย ฉะนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดสับและไถกลบ จึงควรทําขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถัวเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมแก่การสลายตัว เมื่อไถกลบแล้วจะทําให้มีปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย แต่ถ้าหากอายุแก่เลยระยะนี้ไปแล้วจํานวนธาตุไนโตรเจนในพืชลดลง

ตารางแสดงอายุการตัดสับและไถกลบ น้ำหนักสดและธาตุไนโตรเจนที่ได้รับของพืชปุ๋ยสดบางชนิด

 

ชนิดพืชปุ๋ยสด

อายุการตัดสับ

และไถกลบ (วัน)

นํ้าหนักสดที่ได้

(ตัน/ไร่)

ธาตุไนโตรเจน

(กก./ไร่)

ปอเทือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วข้าว

ถั่วเหลือง

ถั่วเขียว

โสนจีนแดง

75-90

40-50

60-75

50-60

40-50

75-90

3-4

2-3

3-4

1.5-2

2

3-4

15-20

20

20

5

5-6

7-8

 

นอกจากนี้ยังมีพืชปุ๋ยสดบงชนิดที่มีอายุยาวมาก จึงแนะนําให้ตัดสับและไถกลบ ดังนี้

โสนอินเดีย     ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ                80-80 วัน

คราม             ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ              100-80 วัน

โสนใต้หวัน     ไถกลบ                       เมื่ออายุ                75-80 วัน

ถั่วเว็ลเว็ท       ไถกลบ                       เมื่ออายุ                80-80 วัน

ถั่วนา              ไถกลบ                       เมื่ออายุ                     75 วัน

 

พืชปุ๋ยสดชนิดใดที่มีลําต้นเตี้ยทําให้การไถกลบด้วยแรงสัตว์ได้เลย แต่ถ้ามีลําต้นสูง หรือเถาเลื้อยก็ควรตัดให้ติดผิวดิน โดยตัดเป็นท่อน ๆ เสียก่อน แล้วจึงไถกลบ เมื่อพืชไถกลบถูกฝังอยู่ใต้ดินแล้วก็จะเริ่มเน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ยทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 628 สัปดาห์ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและอายุของเศษพืชนั้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและความชื้นในดินด้วย หลังจากนั้นจึงทําการปลูกพืชตามได้ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน
  2. ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. ช่วยบํารุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  4. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มนํ้าได้ดีขึ้น
  5. ทําให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  6. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  7. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด จะช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แกพืชได้มากยิ่งขึ้น
  8. ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง
  9. ลดอัตราการสูญเสียของดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. ช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นมีปัญหา คือ พืชบางชนิดเก็บเมล็ดได้ง่าย บางชนิดเก็บได้ยากหรือเก็บไม่ได้เลย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาในการปลูกก็แล้วแต่ชนิดของพันธุ์พืชและวิธีการปลูก ดังนั้น จึงสมควรที่จะต้องทราบวิธีการปลูกพืชที่จะนํามาใช้ทําเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. การเลือกที่ดิน ควรเลือกดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนตะกอน มีการระบายนํ้าดีมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 6-7 ถ้าดินมีธาตุอาหารและความชื้นพอเหมาะ ผลผลิตเมล็ดพันธุ์จะสูงมาก แต่ถ้าเป็นดินที่ขาดธาตุอาหารต้องให้ปุ๋ยเคมีช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชในระยะแรกด้วย
  2. ฤดูปลูกที่เหมาะสม ภาคกลางควรปลูกปลายฤดูฝน ประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน สําหรับภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หรือจะปลูกเมื่อฤดูฝนหมดแล้วก็ได้แต่จะต้องเก็บเมล็ดในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า ถ้ามีฝนตกระหว่างการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฝักจะขึ้นรา และเมล็ดจะเสียด้วย นอกจากนี้การตาก นวด และฝัด จะทําได้ไม่สะดวก
  3. การเตรียมดิน ผลผลิตของพืชปุ๋ยสดขึ้นอยู่กับการเตรียมดินด้วย ฉะนั้นจึงต้องเตรียมดินให้ดีก่อนที่จะหยอดเมล็ดพันธุ์โดยการไถดะลึกแล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เพื่อทําลายวัชพืชให้น้อยลงแล้วจึงไถแปรตามอีกครั้ง เมื่อความชื้นในดินพอเหมาะก็ปลูกได้ ซึ่งความชื้นในดินมีความสําคัญต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อนมาก
  4. การเตรียมเมล็ดพันธุ์เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนการนําไปปลูก เมล็ดพันธุ์ถั่วบางชนิดหากเก็บไว้เกิน 5 เดือนความงอกของเมล็ดจะลดตํ่าลงกว่า 50% เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสงเป็นต้น นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์จะต้องสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ควรคัดเอาเมล็ดลีบออกให้หมดเวลาปลูกจะได้งอกสมํ่าเสมอ
  5. อัตราของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก พืชปุ๋ยสดที่ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมปลูกเป็นแถว โดยมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว จํานวนเมล็ดที่ใช้ปลูกต่อ 1 ไร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดและระยะปลูก ถ้าเมล็ดขนาดเล็ก จะใช้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดขนาดใหญ่จะใช้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม/ไร่

อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่ใช้ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขอแนะนําดังนี้

  1. วิธีการปลูก มีด้วยกันหลายวิธีคือ ปลูกแบบโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม และหว่านเมล็ดลงไปทั่วแปลง แต่ในการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมใช้วิธีการปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะปลูกใช้ตามคําแนะนํา โดนปลูก 4-6 แถวติต่อกันและควรเว้นทางไว้สําหรับเข้าไปพ่นยาปราบศัตรูพืช แต่ถ้าเป็นวิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ด ให้หยอดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด แล้วกลบเมล็ด ถ้าเมล็ดเล็กไม่ควรหยอดให้ลึก แต่ถ้าเมล็ดใหญ่หยอดให้ลึกได้จะช่วยให้การงอกดีขึ้นสําหรับเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่งอกยาก เช่น โสนอินเดีย ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ฯลฯ ควรใช้นํ้าร้อนจัด 2 ส่วน ผสมนํ้าเย็น 1 ส่วน แล้วเทเมล็ดลงไปในนํ้าอุ่นใช้ไม้คนให้ทั่ว แช่ทิ้งไว้12 ชั่วโมง หรือ 1 คืน จากนั้นเทนํ้าทิ้งพอเมล็ดหมาด ๆ จึงนําไปปลูกได้
  2. การดูแลรักษา ในการปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ควรมีการพรวนดินกําจัดวัชพืช และถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกหลังจากหยอดเมล็ดไปแล้วประมาณ 7-10 วัน โดยเหลือไว้หลุมละ 2-3 ต้น การพรวนดินกลบโคนต้นควรทําเมื่อพืชอายุไม่เกิน 30 วัน จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ต้นไม่ล้มง่าย
  3. การใส่ปุ๋ย แปลงพืชปุ๋ยสดควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตอัตรา 10 กก/ไร่ หรือใช้แอมโมเนียซัลเฟต 10 กก. ผสมกับปุ๋ยแอมโมฟอส(16-20-0) 10 กก. รวม 20 กก./ไร่ ใส่หลังจากพรวนดินและกําจัดวัชพืชเมื่ออายุประมาณ 3 สัปดาห์หลังปลูก ในดินบางแห่งที่เป็นกรด จําเป็นต้องใส่ปูนขาวอัตรา100 กก./ไร่ ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี
  4. การป้องกันกําจัดศัตรูพืช การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ถ้าไม่มีการป้องกันกําจัดศัตรูพืชแล้ว จะเก็บเมล็ดไม่ได้ ซึ่งศัตรูของพืชปุ๋ยสดมีหลายชนิด เช่น หนอนม้วนใบ หนอนกัดกินใบ และยอดอ่อนหนอนเจาะลําต้น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการตรวจดูหนอนและแมลงให้ทั่วแปลง ตั้งแต่ปุ๋ยสดเริ่มออกดอกไปจนกระทั่งถึงระยะติดเมล็ดในช่วงเช้าก่อนมีแสงแดด เมื่อตรวจพบก็รีบฉีดยาปราบศัตรูพืชทันทีโดยใช้ ดี.ดี.ที. 25% ชนิดนํ้า จํานวน 4 ช้อนต่อนํ้า 1 ปี๊บ หรือ ดีลดริล 2-3 ช้อน ต่อนํ้า 1 ปี๊บ ทําการฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุกระยะ 5-7 วัน นอกจากหนอนและแมลงแล้ว ปุ๋ยพืชสดบางชนิด เช่น ปอเทืองจะมีโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยที่แมลงเป็นพาหะ ทําให้ใบพืชเล็ก ดอกเป็นฝอยไม่ติดฝัก ป้องกันกําจัดได้โดย หลีกเลี่ยงการปลูกพืชซํ้าที่เดิม
  5. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดต่างชนิดกันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันดังนี้

 ชนิดพืช

 อายุเก็บเกี่ยว (วัน)

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้

(กก./ไร่)

 

วิธีเก็บเกี่ยว

ปอเทือง

โสนอินเดีย

ถั่วเขียว

ถั่วเหลือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วลาย

ถั่วเสี้ยนป่า

100-200

150-160

60-70

100-120

65-80

270-300

90-120

80

40

150

300

75

10

30

เก็บทั้งกิ่งหรือทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บต้นที่มีฝักแก่ทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

 

ฝักของพืชปุ๋ยสดบางชนิดที่แก่แล้ว ถ้าไม่เก็บเกี่ยวเมื่อถูกแสงแดดฝักจะแตก เมล็ดร่วงลงดินหมด ถ้าฝักไม่แตกสังเกตดูสีของฝักหรือเขย่าฝักดูการเก็บฝักควรเก็บในตอนเช้า เพื่อป้องกันการแตกของฝัก แล้วขนไปตากในลานนวด ก่อนนวดต้องตากแดดไว้   3-4 วัน ควรนวดเฉพาะตอนบ่าย เพราะฝักจะแตกง่ายและทุ่นเวลาในการนวด การนวดอาจใช้คนหรือสัตว์ยํ่าให้ฝักแตกแล้วจึงนําไปฟาดเอาเมล็ดที่เสียและลีบออก ให้เหลือแต่เมล็ดที่สมบูรณ์ตากแดดให้เมล็ดพันธุ์แห้งกะว่ามีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน 15% ก่อนนําเข้าเก็บ

  1. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นาน 5 เดือน จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตํ่าเมื่อนําไปปลูกทําให้ไม่งอกหรืองอกน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ฉะนั้นเมื่อได้เมล็ดมาก็นําไปปลูกได้เลยไม่ควรเก็บไว้แต่เมล็ดพันธุ์บางชนิดสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปีก็ยังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง เช่น ปอเทืองโสนอินเดีย ฯลฯ ฉะนั้น จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ดังนี้คือ

– เก็บไว้ในโอ่ง ถัง ปี๊บ ไห หรือกล่องที่สามารถปิดได้มิดชิด แมลงไม่สามารถเข้าไปได้และอย่าเก็บไว้ในที่ชื้น

– ใช้เมล็ดพันธุ์คลุกขี้เถ้าแกลบ

– ใช้สารเคมีคลุกเมล็ด

ทำไมไร่เทพ ทำให้พืชโตได้

📌จากข่าว สารไซยาไนด์ ใช้ฆ่าคนได้ ที่เป็นกำลังเป็นสนใจอยู่ในปัจจุบัน
สารไซยาไนด์ เพียงใช้สาร1มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 60 กิโล ใช้สารไซยาไนด์เพียง 60 มิลลิกรัม ไม่ถึงกรัมด้วยซ้ำยังฆ่าคนได้😲

📌สาร ไซยาไนด์ คือสารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ทั้งการสัมผัส การสูดดม รับประทาน เป็นต้น อาการแสดงหลังได้รับไซยาไนด์ ตัวอย่างเช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น

 

📌นอกจากนี้ในภาคการเกษตร ก็ยังมีสารเคมีที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เช่นสาร เมทิล พาราไทออน (Methyl palathion) หรือที่รู้จักกันคือ โฟลิดอน และสาร เมโทมิล (Methomyl) หรือที่รู้จักกันคือ แลนเนท เป็นสารที่ใช้ป้องกันและกำจัดศรัตรูพืชทางการเกษตร และสาร พาราควอต (Paraquat) หรือรู้จักกันคือ กรัมม็อคโซน เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเผาไหม้ เมื่อฉีดพ่นไปโดนส่วนที่เป็นใบสีเขียว จะทำให้วัชพืชใบเหี่ยวไหม้ และตายไป ซึ่งสารเคมีที่กล่าวถึงข้างต้น ล้วนแล้วแต่ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยไม่กี่มิลลิกรัมหรือมิลลิตร ก็สามารถกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร ทั้งหนอน แมลง ไร และวัชพืช ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วละเฉียบพลัน

📌เปรียบเทียบกับไร่เทพ ที่เกษตรกรบางท่านที่ไม่เคยรู้จักไร่เทพ มักจะบอกว่า
ไร่เทพ ซองเล็กนิดเดียว ผงในซองก็มีไม่เยอะ จะช่วยทำให้พืชดีขึ้นได้อย่างไร?

 

📌อาหารเสริมพืช ไร่เทพ

มีส่วนผสมที่เพิ่มขึ้นออกฤทธิ์เห็นผลเร็วและแรงกว่า เพราะ เป็นสูตรพิเศษที่มีการเสริมคุณภาพของวัตถุดิบให้มีความเข้มข้นสูง และมีประโยชน์ต่อพืชมากยิ่งขึ้น โดย 1 ซอง ประกอบไปด้วย สารฮิวมิค สาหร่ายทะเล สารฟูลวิค กรดอะมิโนจากสัตว์ทะเล และสารวิตามิน สังเคราะห์จากประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารที่พืชต้องการในการสร้างเซลล์ มีส่วนช่วยให้พืชเกิดขบวนสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ สามารถละลายน้ำได้ดีและเร็ว ละลายหมดไม่มีตกตะกอน และผนวกกับไร่เทพใช้ฉีดบ่นท่างใบ ก็ยิ่งทำให้พืชดูดซึมได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ได้เลย

📌ส่งผลให้การใช้ไร่เทพในการฉีดพ่นทางใบให้พืช อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยเพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว และสามาถใช้ได้กับพืชทุกชนิด ในพืชผักกินใบ ใบพืชจะเขียวดำ ใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี อีกทั้งยังทำให้ดินที่ดีและสมบูรณ์

📌โดยอัตราการใช้ 1 ซอง สามารถผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน และใช้ได้ถึง 3-5 ไร่
สอบถามเพิ่มเติมทักแชท หรือ โทร 098-280-8200
📣โปรไร่เทพสุดคุ้ม เลือกเลยอยากได้แบบไหน ✨
🟩ไร่เทพ 1 กล่อง 1,000 บาท แถมเสื้อแขนยาว 1 ตัว
🟩ไร่เทพ 2 กล่อง 1,500 บาท คงราคาเดิม
🟩ไร่เทพ 5 กล่อง 3,000 บาท คงราคาเดิม
🟩ไร่เทพ 10 กล่อง 5,000 บาท แถมหมวกไอโม่ง 1 ใบ
จัดส่งฟรีเก็บเงินปลายทาง
🟩และชุดทดลอง 2 ซอง 250 บาท กับ 5 ซอง 550 บาทเหมือนเดิม
👉 ดินเทพ 1 ขวด ลดราคาพิเศษเหลือ 690 บาท
(จากปกติ 890 บาท)
👉 ซื้อดินเทพ 3 ขวด เพียง 1,780 บาท
(จากปกติ 2,670)
#ดินเทพ #ไร่เทพ #เทพๆ #อาหารเสริมพืช #ปุ๋ยทางใบ #สารปรับโครงสร้างดิน #อาหารของจุลินทรีย์ในดิน #ดินฟู #ร่วนซุย #ปลอดภัย #ไม่ทิ้งสารตกค้าง #สารจับใบ #เกษตรกร #ชาวไร่ #ชาวนา #ข้าว #ฮอร์โมน #ปุ๋ย #ข้าวโพด #ชาวไร่มันสำปะหลัง #ภาพหลุด #แถลงข่าว #แกลบ #ไซยาไนด์

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1.การคลุมดิน ( Mulching )

เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนำน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ


-ชนิดวัสดุคลุมดิน
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ประโยชน์ของการคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ
-รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
-ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำและลดการชะล้างพังทลายของดิน
ด้านเคมี
-ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2.การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่นการปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping )

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือตะกูลหญ้า

-ชนิดวัสดุคลุมดิน
พืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว ( ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนแอฟริกัน ถั่วมะแฮะ ) ถั่วปินตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

พืชตระกูลหญ้า หญ้าเนเปีย หญ้าแพงโกลา หญ้ากินนี

 

แฝก ( ตัดใบคลุมดิน )

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดีเพราะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน
-รักษาความชุ่มชื้นในดิน
ด้านเคมี
-เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช คืนความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านอื่น ๆ
-ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี -เพิ่มรายได้ / ลดค่าใช้จ่าย

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบได้ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ระบบการปลูกพืช การจัดการดินที่ใช้น้ำน้อยด้วยระบบการปลูกพืชโดยการนำพืชปุ๋ยสดมาใช้ในพื้นที่ เป็นการพักดินจากการปลูกพืชหลัก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหาร ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และคงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมต่อไป ระบบการปลูกพืช มีดังนี้
1.ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ( Crop rotation ) คือการปลูกพืชสองชนิด หรือมากกว่าหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ด้วยการจัดชนิดของพืชและเวลาปลูกให้เหมาะสม เช่น
-การปลูกและไถกลบปอเทือง ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน
-การไถกลบถั่วพุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกงาขาว
2.ระบบปลูกพืชแซม ( Inter cropping ) คือการปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในพื้นที่ และเวลาเดียวกัน ซึ่งพืชชนิดที่สอง จะปลูกแซมลงในระหว่างแถวของพืชแรก หรือพืชหลัก ซึ่งระบบรากของพืชทั้ง 2 ชนิด จะมีความลึกแตกต่างกัน เช่น
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วพุ่ม
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียว


3.ระบบปลูกพืชแบบแถบพืช ( Strip cropping ) คือการปลูกพืชที่มีระยะปลูกถี่และห่างเป็นแถบสลับกันขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับ หรืออาจไม่เป็นไปตามแนวระดับก็ได้ เช่น
-การปลูกแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( กระถินผสมถัวมะแฮะ ) จะสามารถลดปริมาณการสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ที่มีความลาดชันและช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้
4.ระบบปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping ) คือการปลูกพืชหญ้า หรือพืชตระกูลถั่วคลุมดินซึ่งจะช่วยควบคุมการกร่อนของดิน และช่วยปรับปรุงบำรุงดิน เช่น
– การปลูกถั่วปินตอย ถั่วคุดซู่ (Kudzu) ถั่วคาโลโปโกเนียม ( Calopogonium )และถั่วเวอราโน( Verano ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดินได้
– การปลูกถั่วเซนโตรซีมา( Centrosema ) กับถั่วคาโลโปโกเนียม( Calopogonium ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเก็บความชื้นในดินมากยิ่งขึ้น
5.ระบบปลูกพืชเหลื่อมฤดู ( Relay cropping ) คือการปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกัน โดยพืชชนิดที่สองจะปลูกในระหว่างแถวของพืชแรกซึ่งอยู่ในช่วงสะสมน้ำหนักของผลผลิตแต่ยังสุกแก่ไม่เต็มที่
6.การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( Alley cropping ) คือการปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน พบในพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยและต้องการปลูกพืชตามแนวระดับ
หลักปฏิบัติถ้าต้องปลูกพืชหลังนาในสภาพน้ำน้อย
การปลูกพืชหลังนา ในสภาพพื้นที่มีน้ำจำกัด โดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำตลอดฤดูปลูกควรปฏิบัติดังนี้
-เลือกพืชปลูกที่มีอายุสั้น พืชทนแล้ง พืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว นิยมปลูกพืชตระกูลถั่ว
-เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อม เลือกใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เป็นเมล็ดที่สะอาด สมบูรณ์ไม่ลีบเล็ก
-เตรียมดินและปลูกเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว ในขณะความชื้นยังมีอยู่ในนา ซึ่งทดสอบโดยกำดินด้วยมือ ถ้ายังจับตัวเป็นก้อนไม่แตกร่วน แสดงว่าความชื้นยังมีพอ ปฏิบัติดังนี้
หว่านก่อนเกี่ยวข้าว 1 – 2 วัน ปล่อยให้เมล็ดงอก หรืออาจใช้รถไถคราดกลบจะช่วยให้งอกได้สม่ำเสมอ มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
หว่านหลังเก็บเกี่ยวข้าว หว่านเมล็ดพืชอายุสั้น พืชตระกูลถั่ว หรือ พืชปุ๋ยสดในแปลงนา ปล่อยให้เมล็ดงอก หรือใช้รถไถเตรียมดินที่ยังมีความชื้นพอหว่านเมล็ดพันธุ์ปลูก และคราดกลบ จะทำให้งอกได้สม่ำเสมอเจริญเติบโตดีขึ้น

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง : กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

เพลี้ย เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก ที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์สูงมาก บางชนิดมีปีก บางชนิดกระโดดได้ไกล ส่วนรูปลักษณ์ของแต่ละสายพันธุ์ก็แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง เพลี้ยเป็นแมลงตัวอ่อนที่มีวงจรชีวิตไม่ยืนยาวนัก แต่สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เพลี้ยที่โตเต็มวัยแล้วจะออกลูกได้หลายสิบตัวต่อครั้ง และยังสามารถออกลูกได้ตลอดชีวิตของมันอีกด้วย เมื่อไรที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม เพลี้ยจะเริ่มแพร่ระบาดในเรือกสวนไร่นาเป็นวงกว้าง พร้อมสร้างความเสียหายรุนแรงต่อพืชผลทางการเกษตร หากไม่มีการรับมือที่ดีก็จะสูญเสียผลผลิตส่วนใหญ่ไปอย่างน่าเสียดาย การทำความรู้จักกับเพลี้ยแต่ละชนิดที่พบได้บ่อยจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเกษตรกร จะได้รู้ว่าพืชที่เราเพาะปลูกอยู่นั้นสุ่มเสี่ยงกับเพลี้ยแบบใดบ้าง และควรจะเตรียมการป้องกันอย่างไร

 

เพลี้ยอ่อน

จุดเด่นของเพลี้ยอ่อนคือปากแบบแทงดูดที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสสู่เซลล์พืชได้ ในช่วงที่ยังเป็นตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กมาก ลำตัวอ้วนป้อมสีเหลืองอ่อน มีขา 6 คู่ที่มองเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าเพลี้ยอ่อนตอนแรกเกิดจะคล้ายคลึงกันหมด แต่ในระยะ 5-6 วันจะผ่านการลอกคราบอีก 4 ครั้ง ทำให้สีลำตัวเปลี่ยนแปลงไปและมีเอกลักษณะเฉพาะสายพันธุ์บางอย่างโดดเด่นขึ้นมา คุณพัชรินทร์ ครุฑเมืองกล่าวไว้ว่า เพลี้ยอ่อนบางชนิดจะมีลำตัวสีเขียว บางชนิดมีลำตัวสีเหลือง และอาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้ ตัวอย่างของเพลี้ยอ่อนที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยอ่อนยาสูบ เพลี้ยอ่อนแตง เพลี้ยอ่อนฝ้าย เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยอ่อนจะเริ่มสร้างความเสียหายให้พืชตั้งแต่ยังไม่โตเต็มวัย ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช จนทำให้เซลล์พืชเหี่ยวแห้ง ส่วนใบมักจะแสดงอาการให้เห็นก่อน เริ่มตั้งแต่ใบมีรอยด่าง สีใบซีดเหลือง แล้วก็หลุดร่วงไปในท้ายที่สุด หากเพลี้ยอ่อนยังไม่ถูกกำจัดก็จะทำลายต้นพืชมากขึ้นจนถึงขั้นหยุดเจริญเติบโตและตายไป ยิ่งกว่านั้น เพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคพืชอื่นๆ อีกด้วย

 

 

 

 

เพลี้ยไฟ

ตามปกติเพลี้ยไฟจะมีลำตัวเรียวยาวและมีปีกแคบแนบข้างลำตัว ขนาดตัวยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนกับตัวที่โตเต็มวัยแล้วมีรูปร่างลักษณะไม่ต่างกันมากนัก นอกจากเฉดสีที่เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นน้ำตาลปนเหลืองเมื่ออายุมากขึ้น หรืออาจเห็นเป็นสีโทนส้มอมน้ำตาลบ้างในบางสายพันธุ์ เพลี้ยไฟจะออกลูกจำนวนมากในแต่ละครั้งไม่ว่าจะได้รับการผสมพันธุ์หรือไม่ก็ตาม ช่วงที่ต้นพืชแตกยอดอ่อนจะพบการระบาดของเพลี้ยไฟมากเป็นพิเศษ แต่ก็มีข้อดีตรงที่พวกมันชอบอยู่อาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้สังเกตเห็นได้ง่าย คุณศิริณี พูนไชยศรี จากกองกีฏและสัตววิทยา ได้แยกประเภทของเพลี้ยไฟเอาไว้มากกว่า 9 ชนิด ซึ่งตัวอย่างที่เกษตรกรควรทำความรู้จักไว้ก็คือ เพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไฟมังคุด เพลี้ยไฟดอกไม้ เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยไฟจะทำลายต้นพืชในทุกช่วงการเจริญเติบโต เนื่องจากมีการระบาดของเพลี้ยไฟได้ตลอดทั้งปี ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเจาะดูดน้ำเลี้ยงของพืชไปใช้ จนเห็นบริเวณที่ถูกทำลายเป็นเส้นทางสีขาวในระยะแรก ต่อมาจึงเริ่มเหี่ยวแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ ถ้าเป็นส่วนยอดอ่อนก็จะเกิดการบิดงอ ขั้วผลกลายเป็นสีเทาเงิน ในหน้าแล้งจะรุนแรงจนผลหลุดร่วงได้ง่าย กรณีที่เพลี้ยไฟระบาดอย่างรุนแรงจะทำส่งผลให้พืชแคระแกร็นและหยุดการเจริญเติบโต

 

 

 

 

เพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งมีลักษณะอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างโดดเด่น คือมีผงแป้งปกคลุมอยู่ทั่วลำตัวไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหนก็ตาม รูปร่างของเพลี้ยแป้งค่อนข้างอ้วนกลม มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ตัวเมียไม่มีปีกและต้องลอกคราบ 3 ครั้งก่อนวางไข่ ขณะที่ตัวผู้จะมีปีก ลำตัวเล็กกว่า และลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ความน่ากลัวของเพลี้ยแป้งคือมีมดเป็นพาหะ ช่วยให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้างได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยให้เพลี้ยมีชีวิตรอดอยู่ใต้ดินในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมด้วย

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยแป้งทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช โดยเน้นที่ส่วนของผล ตา ดอก และใบมากเป็นพิเศษ ตัวอ่อนจะแฝงตัวอยู่ในช่อดอกหรือยอดอ่อนทำให้มองเห็นได้ยาก ระหว่างนั้นก็จะขับถ่ายของเหลวที่ดึงดูดราดำไปพร้อมกัน สัญญาณที่บอกว่าต้นพืชกำลังได้รับความเสียหายจากเพลี้ยแป้ง คือผงสีขาวที่กระจุกตัวอยู่บนต้นพืช และมีมดคอยลำเลียงผงเหล่านั้นไปตามจุดต่างๆ นอกจากต้นพืชจะเหลืองซีดและหยุดการเติบโตแล้ว ผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพต่ำลงด้วย

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยแป้งลาย

เพลี้ยแป้งลายมีรูปร่างคล้ายลิ่ม ผิวด้านนอกมีสีเทาอ่อน ผงแป้งที่ปกคลุมมีความมันเงาเล็กน้อย พบการระบาดในมันสำปะหลังมากที่สุด รองลงมาเป็นไม้ผลและไม้ดอกทั่วไป เพลี้ยชนิดนี้จะขยายพันธุ์ได้เร็วในฤดูฝน แต่ก็มักจะถูกกำจัดโดยตัวห้ำซึ่งเป็นเพลี้ยอีกสายพันธุ์หนึ่ง จึงไม่ค่อยสร้างความเสียหายให้เกษตรกรมากมายนัก

  1. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์

ลำตัวของเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์เป็นรูปทรงไข่ที่ค่อนข้างแบน และมีสีเทาอมชมพู นอกจากผงแป้งที่ปกคลุมอยู่ด้านบนแล้วก็ยังมีเส้นแป้งแนบข้างลำตัวด้วย ส่วนใหญ่พบการระบาดในไร่มันสำปะหลัง โดยจะกระจุกตัวอยู่ตามบริเวณโคนต้นเป็นหลัก

  1. เพลี้ยแป้งสีเขียว

ลักษณะของเพลี้ยแป้งสีเขียวนั้นคล้ายกับพันธุ์แจ๊คเบียดเลย์ เพียงแค่มีลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลืองเท่านั้นเอง ปกติจะพบได้ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงฤดูฝน เพลี้ยชนิดนี้มีช่วงอายุที่แปรผันตามอุณหภูมิด้วย ยิ่งอากาศเย็นมากเท่าไรก็ยิ่งช่วยให้เพลี้ยมีอายุยืนยาวมากขึ้นเท่านั้น

  1. เพลี้ยแป้งสีชมพู

ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช แห่งคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง นี่ถือเป็นเพลี้ยที่สร้างความเสียหายได้มากที่สุด เพลี้ยแป้งสีชมพูมีลำตัวเป็นทรงไข่ ผิวนอกเป็นสีชมพูที่ปกคลุมด้วยแป้งสีขาว นอกจากจะขยายพันธุ์ได้รวดเร็วแล้ว ก็ยังควบคุมป้องกันได้ยาก แต่ก็มีข้อดีตรงที่เราจะไม่เห็นการระบาดของเพลี้ยชนิดนี้ในฤดูฝนเลย

เพลี้ยจักจั่น

เพลี้ยจักจั่นที่โตเต็มวัยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5.5-6.5 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีความกว้างป้านแล้วเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง มีขาหลังค่อนข้างยาวและแข็งแรงจึงกระโดดได้ไกล ทุกครั้งที่กระโดดจะมีแรงดีดที่ทำให้เกิดเสียง พืชต้นไหนที่มีเพลี้ยจักจั่นมาก เมื่อมันถูกรบกวนจนต้องกระโดดไปมา เราก็จะได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเพลี้ยจักจั่นคือแต้มจุดบนลำตัว หลังผ่านการลอกคราบครบ 4 ครั้ง ลวดลายบนตัวก็ยิ่งเด่นชัดมากขึ้น

ลักษณะการทำลาย

นักวิชาการของกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าบริเวณโคนก้านจะถูกเพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นอันดับแรก เราจึงเห็นความผิดปกติที่ส่วนใบได้ในทันที โดยใบอ่อนจะบิดงอ ขอบใบแห้งกรอบ พืชบางชนิดมีสีใบที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคใบขาวในต้นอ้อย เป็นต้น ถ้าบังเอิญอยู่ในช่วงออกดอกก็จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง ติดผลน้อย หลังจากต้นพืชเข้าสู่ช่วงออกผลแล้ว เพลี้ยจักจั่นจะลดน้อยลงเองตามธรรมชาติ แต่จะทิ้งสารที่ก่อให้เกิดราดำเอาไว้ สร้างผลเสียให้ผลผลิตต่อเนื่องไปอีก

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกล่าวว่า เพลี้ยจักจั่นสีเขียวสร้างปัญหาให้กับนาข้าวค่อนข้างมาก พวกมันจะอพยพเข้าท้องนาตั้งแต่ระยะต้นกล้า จากนั้นก็ขยายพันธุ์แล้วทำลายต้นข้าวไปเรื่อยๆ ลักษณะของเพลี้ยชนิดนี้คือมีลำตัวสีเขียวอ่อนและมีจุดแต้มสีดำบนส่วนหัว เคลื่อนไหวรวดเร็วและบินได้ไกลหลายกิโลเมตร

  1. เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล

เพลี้ยชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร ทั่วทั้งตัวจะมีจุดสีน้ำตาลอ่อนขนาดเล็กแต้มอยู่ โดยมีช่วงอายุประมาณ 50-70 วัน เป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำให้เกิดโรคใบขาวในต้นอ้อย มีการระบาดอย่างมากในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

  1. เพลี้ยจักจั่นหลังขาว

เพลี้ยจักจั่นหลังขาวก็เป็นอีกหนึ่งตัวการของโรคใบขาวในต้นอ้อยเช่นกัน จุดเด่นอยู่ที่มีแถบสีขาวพาดผ่านกลางลำตัวตามแนวยาว ในช่วงยังเป็นตัวอ่อนอาจทำให้สับสนกับพันธุ์ลายจุดสีน้ำตาลอยู่บ้าง เพราะต้องลอกคราบครั้งสุดท้ายก่อนถึงจะมีแถบขาวให้เห็น ขนาดลำตัวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร และระบาดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

เพลี้ยกระโดด

เพลี้ยกระโดดจัดเป็นแมลงจำพวกปากดูด ลำตัวอ้วนป้อมเล็กน้อยและมีปีกที่แข็งแรงจนสามารถอพยพย้ายถิ่นด้วยระยะทางไกลได้ ทุกสายพันธุ์จะปีกทั้งแบบสั้นและแบบยาว เพลี้ยกระโดดที่โตเต็มวัยแล้วจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และพวกมันจะวางไข่คราวละ 100 ฟองเป็นอย่างต่ำ จุดที่ทำให้สังเกตการระบาดของเพลี้ยกระโดดได้ง่ายขึ้นคือลักษณะการเรียงไข่ตามเส้นกลางของใบข้าว และมีรอยช้ำสีน้ำตาลตรงพื้นที่วางไข่ชัดเจน

ลักษณะการทำลาย

การเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดจะเริ่มตั้งแต่ระยะต้นกล้า โดยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเพื่อการเติบโต และขยายพันธุ์หลายรุ่นในฤดูกาลเพาะปลูกเดียว ก่อนที่ต้นข้าวจะออกดอกเพลี้ยรุ่นหลังก็พัฒนาเป็นสายพันธุ์ปีกยาวเพื่อรอการอพยพ ความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะกระจุกตัวเป็นหย่อมๆ ขณะที่เพลี้ยกระโดดหลังขาวนั้นทำลายเป็นวงกว้างอย่างสม่ำเสมอ ต้นข้าวจะมีอาการใบเหลืองส้มไปจนถึงน้ำตาลเข้ม ใบแห้ง ต้นแคระแกร็น และทยอยตายไป งานส่งเสริมการเกษตร เทศบาลตำบลยางหล่อ ระบุว่าเพลี้ยเหล่านี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างมากกว่าบริเวณอื่น

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลำตัวของเพลี้ยชนิดนี้จะมีสีน้ำตาลอ่อนเสมอกันตั้งแต่หัวจรดหาง แม้แต่ส่วนปีกก็เป็นสีเดียวกับลำตัวด้วย ตัวเมียที่มีปีกสั้นจะมีรูปร่างกลมมากกว่าตัวปีกยาว และสามารถวางไข่ได้มากกว่าประมาณ 2 เท่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบอยู่ในจุดที่มีความชื้นสูง ดังนั้นมันจะย้ายมารวมกันบริเวณโคนกอข้าวหรือพื้นดินเมื่อนาข้าวขาดน้ำ

  1. เพลี้ยกระโดดหลังขาว

ลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ส่วนปีกจะมีจุดดำเล็กๆ กระจายตัวอยู่และมีแถบสีขาวตรงช่วงอก เมื่อยังเป็นตัวอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาวจะรวมกลุ่มกันอยู่บริเวณโคนกอข้าว แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะย้ายมาอาศัยในจุดที่สูงกว่านั้น อาจเป็นช่วงกลางลำต้นหรือปลายยอดข้าวก็ได้

 

เพลี้ยไก่แจ้

เพลี้ยไก่แจ้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าเพลี้ยไก่ฟ้า เนื่องจากตัวอ่อนระยะแรกจะมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยช่วงท้ายของลำตัวจะมีปุยขาวเป็นเส้นยาวคล้ายหางไก่ เมื่อผ่านการลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ผิวด้านนอกจะกลายเป็นสีน้ำตาลปนเขียว หนวดยาว ปีกใส ช่วงลำตัวยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร พอถึงช่วงขยายพันธุ์จะทำการวางไข่ภายในเนื้อเยื่อพืช จุดที่เพลี้ยวางไข่ไว้จะมีตุ่มนูนขึ้นมาพร้อมกับเกิดวงสีเหลืองหรือน้ำตาลเป็นกลุ่มๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เพลี้ยไก่แจ้ในแต่ละรุ่นนั้นมีอายุได้ยาวนานถึง 6 เดือนทีเดียว และเรานิยมเรียกชื่อเพลี้ยสายพันธุ์นี้ตามต้นพืชที่มันเข้าทำลายด้วย เช่น เพลี้ยไก่แจ้ลำไย เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

แม้ว่าการเลือกเข้าทำลายสายพันธุ์พืชของเพลี้ยไก่แจ้แต่ละกลุ่มจะต่างกัน เช่น กลุ่มหนึ่งเจาะจงเข้าจัดการกับต้นลำไยโดยเฉพาะ อีกกลุ่มเน้นเข้าจัดการกับต้นทุเรียน เป็นต้น แต่ลักษณะการสร้างความเสียหายก็คล้ายคลึงกันหมด คือตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ส่วนที่เป็นใบอ่อนและยอดอ่อนจะได้รับผลกระทบก่อน ใบจะหงิกงอและไม่คลี่ออกตามธรรมชาติ มีสีเหลืองซีดและแห้งกรอบ ไม่นานก็จะหลุดร่วงไป นอกจากนี้ระหว่างที่ตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะขับของเหลวออกมาด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดราบนต้นพืชด้วย

เพลี้ยหอย

เพลี้ยหอยเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กที่มีรูปร่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละสายพันธุ์ ต้นพืชที่เป็นเป้าหมายและช่วงเวลาในการแพร่ระบาดก็ต่างกันด้วย เหตุที่เรียกว่าเพลี้ยหอยเพราะมีจุดร่วมหนึ่งเหมือนกัน นั่นคือมีเกราะหุ้มลำตัวคล้ายเปลือกหอย แต่ก็ยังแยกเป็นแบบเกราะแข็งกับเกราะอ่อนอีก ส่วนมากเพลี้ยหอยจะไม่ได้มีเกราะมาตั้งแต่แรกเริ่ม ต้องผ่านการลอกคราบและเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชเสียก่อน

ลักษณะการทำลาย

รูปแบบการสร้างความเสียหายของเพลี้ยหอยทุกชนิดจะคล้ายคลึงกับเพลี้ยอ่อน คือเจาะเซลล์พืชเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจนต้นพืชนั้นเสื่อมโทรม ในระยะแรกอาจจะเป็นการเสียรูปทรงของใบอ่อน สีใบเหลืองซีดและเหี่ยวย่น บางส่วนอาจหลุดจากขั้วไป นอกจากนี้เพลี้ยหอยบางชนิดยังสามารถปล่อยของเหลวที่ทำให้เกิดเชื้อราเกาะติดที่ผิวนอกของต้นพืชได้ด้วย

 

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยหอยเกราะอ่อน

เป็นเพลี้ยหอยที่มีรูปร่างคล้ายไข่ไก่สีชมพูอมส้ม ขนาดประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร เพศเมียจะมีแผ่นไขมันสีขาวปกคลุมทั่วตัว แต่เพศผู้จะลำตัวสีเข้มกว่าเล็กน้อยและมีปีกบางใส ในฤดูขยายพันธุ์เพลี้ยหอยเกราะอ่อนสามารถวางไข่ได้ครั้งละ 600-2000 ฟอง ที่ต้องวางไข่มากขนาดนี้เพราะตัวอ่อนใช้เวลานานกว่าจะโตเต็มวัย ส่วนมากพบการระบาดในลำไย ลิ้นจี่และเงาะ

  1. เพลี้ยหอยข้าวตอก

เพลี้ยหอยข้าวตอกจะมีขนาดลำตัวประมาณ 5 มิลลิเมตร ผิวรอบนอกมีชั้นไขมันปกคลุมทำให้ดูเหมือนเมล็ดข้าวตอก กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมุลว่าเพลี้ยหอยข้าวตอกตัวเมียจะวางไข่หลายพันฟองเพื่อเพิ่มจำนวนตัวอ่อนที่เป็นสีสนิม จากนั้นตัวอ่อนจะหาตำแหน่งดูดกินน้ำเลี้ยงพร้อมสร้างชั้นไขมันคลุมตัวเอง ไม่เคลื่อนที่ไปไหนอีก พบว่าระบาดมากในลำไยและลิ้นจี่

  1. เพลี้ยหอยเกล็ด

แม้ว่าเพลี้ยหอยเกล็ดจะเข้าทำลายพืชหลายชนิด แต่จากสถิติพบว่าระบาดในมันสำปะหลังและทุเรียนมากเป็นพิเศษ รูปร่างของเพลี้ยหอยเกล็ดจะคล้ายกับเปลือกหอยขนาดเล็กที่เป็นเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมทั่วต้นพืช เพลี้ยจะเคลื่อนที่ได้แค่ช่วงตัวอ่อนระยะแรกเท่านั้น หลังผ่านการลอกคราบก็จะทิ้งคราบเก่าสะสมไปเรื่อยๆ พร้อมกับแผ่ขยายเป็นวงกว้างปิดพื้นผิวของต้นพืชจนหมด

  1. เพลี้ยหอยสีเขียว

เพลี้ยหอยสีเขียวที่โตเต็มวัยแล้วจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ลำตัวเป็นรูปไข่ ท้องแบนหลังโป่ง และมีเกราะแข็งหุ้มอยู่ชั้นนอกสุด หลังจากดูดกินน้ำเลี้ยงได้แล้วก็จะขับถ่ายของเหลวมาปกคลุมต้นพืชจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จากข้อมูลในเอกสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่าเพลี้ยชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้ต้นกาแฟสูงมาก แต่ก็มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่ด้วย เช่น แตนเบียน ด้วงเต่าสีส้ม เป็นต้น

  1. เพลี้ยหอยสีแดง

นี่คือเพลี้ยหอยเกราะอ่อนอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ลำตัวเป็นทรงกลมเหมือนโล่สีน้ำตาลแดง เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีเพียงแค่ตัวผู้เท่านั้นที่มีปีก เป็นกลุ่มเพลี้ยที่เน้นเข้าทำลายพืชตระกูลส้มโดยเฉพาะ สายพันธุ์พืชที่พบปัญหาได้บ่อยคือส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง และมะนาว

การป้องกันกำจัด

สายพันธุ์เพลี้ยทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อยในบ้านเราเท่านั้น การจะระบุสายพันธุ์ที่ชัดเจนเพื่อจัดการป้องกันจึงเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร อีกทั้งระยะเวลาในการระบาดก็มีผลอย่างมากต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ยิ่งปล่อยทิ้งไว้นานเท่าไรผลผลิตก็ยิ่งเสียหายมากเท่านั้น ข้อดีคือเราสามารถใช้วิธีการป้องกันกำจัดแบบเดียวกันกับเพลี้ยทุกชนิดได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

1.หมั่นสำรวจแปลงเพาะปลูกอยู่เสมอ เพื่อให้เห็นสัญญาณการระบาดของเพลี้ยตั้งแต่เนิ่นๆ และเร่งจัดการได้ทันท่วงที พร้อมกับตัดแต่งพุ่มใบไม่ให้หนาแน่นรกทึบจนเกินไป

2.หากพบเพลี้ยจำนวนเล็กน้อยในต้นพืช สามารถไล่เพลี้ยที่หลบซ่อนอยู่ให้หลุดออกไปจากต้นพืชได้ ด้วยการฉีดน้ำใส่ยอดอ่อน ปลายกิ่ง และช่อดอก โดยต้องทำต่อเนื่องหลายครั้งจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเพลี้ยกลับมาอีก

3.ถ้าการระบาดของเพลี้ยเริ่มกินวงกว้างขึ้น แต่ยังไม่หนักหนาเกินไป สามารถใช้วิธีตัดกิ่งก้านที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่ไปเผาทำลายได้ หรือหากเป็นเพลี้ยอาศัยแบบไม่เคลื่อนที่ จะใช้วิธีรูดเฉพาะตัวเพลี้ยไปทำลายก็ได้

4.กรณีที่เพลี้ยระบาดรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อกำจัดเพลี้ยเหล่านั้น ซึ่งสูตรสารเคมีที่ใช้มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย เช่น ไพมีโทรซีน อิมิดาคลอพริด ไทอะมีทอกแซม ฟิโพรนิล คาร์บาริล บูโพรเฟซิน เป็นต้น โดยอัตราส่วนในการใช้งานก็ให้ปรับตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่เหมาะสมกับเพลี้ยแต่ละชนิด

5.สำหรับพืชที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น เช่น มันสำปะหลัง ต้นข้าว เป็นต้น ให้เลือกเพาะปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ต้านทานโรค หรือแช่เมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์ในน้ำยาป้องกันศัตรูพืชก่อนเพาะปลูก

6.ใช้ปุ๋ยเร่งใบกระตุ้นการแตกใบอ่อนเพื่อให้ต้นพืชแตกยอดพร้อมกันทั้งหมด จะช่วยลดระยะการเข้าทำลายของเพลี้ยให้สั้นลงได้

7.ระวังป้องกันแมลงพาหะที่ช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยบางชนิด เช่น มดที่ช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยอ่อน เป็นต้น จะใช้เป็นสารเคมีหรือสมุนไพรกำจัดแมลงก็ได้ ขณะเดียวกันก็ให้รักษาศัตรูเพลี้ยตามธรรมชาติเอาไว้ด้วย

8.ฉีดพ่นสารป้องกันและยับยั้งเชื้อราทุกครั้ง หลังกำจัดเพลี้ยชนิดที่ขับถ่ายของเหลวดึงดูดเชื้อราได้

นอกจากนี้การศึกษาว่าพืชที่เราเพาะปลูกมีโอกาสพบเจอกับเพลี้ยชนิดใดบ้าง และการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้นในช่วงไหนของปี ก็จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อเตรียมการป้องกันได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

**คำแนะนำเพิ่มเติม

โดยสามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง สามารถผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ  ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอะมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี   ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพ

-ระยะหลังเก็บเกี่ยว( ฟื้นสภาพต้น ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะใบอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะสะสมอาหาร ( ใบเพสลาด ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะเริ่มออกดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะติดผลผ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะขยายขนาดผล ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

ขอบคุณ : ภาพ และข้อมูลอ้างอิงจาก 

– เพลี้ยอ่อนแมลงพาหะนำโรคพืช, พัชรินทร์ ครุฑเมือง

– แมลง-ไร ศัตรูไม้ผล, เคหะการเกษตร

– เพลี้ยจั๊กจั่น, สำนักวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว

– เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ,องค์ความรู้เรื่องข้าว กรมการข้าว

– เอกสารวิชาการของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– เพลี้ยไฟ, คุณศิริณี พูนไชยศรี

– เพลี้ยแป้ง ,สำนักงาน เกษตรจังหวักตราด ดร.อุดมศักด์ เลิศสุชาตวนิช

 

การปลูกมะนาว

การปลูกมะนาว

มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่งที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ มะนาวเป็นพืชที่มีประโยชน์และคุณค่ามาก เนื่องจากสามารถใช้ปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา เพราะมีวิตมินซีสูงสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรและนิยมนำไปใช้ในเครื่องสำอาง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบ มีความต้องการมะนาวสูงขึ้นทุกปี ตามเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้มะนาวมีบทบาทสำคัญทางการค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นมะนาวจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติถึง 5 – 10 เท่า เนื่องจากในฤดูแล้งมะนาวจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จึงทำให้มีผู้สนใจปลูกมะนาวนอกฤดูมากขึ้น

พันธุ์มะนาว

พันธุ์มะนาวที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ได้แก่
1.มะนาวแป้น ทรงผลแป้นและมีขนาดกลาง เปลือกบาง สามรถให้ผลผลิตได้ตลอดปี มีหลายพันธุ์ เช่น แป้นรำไพ แป้นพิจิตร แป้นทราย แป้นจริยา เป็นต้น
2.มะนาวหนัง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกค่อนข้างหนาจึงทำให้รักษาผลไว้ได้นาน
3.มะนาวไข่ ผลมีขนาดและลักษณะคล้ายกับมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง คือผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมมน ขนาดผลโตกว่าและมีเปลือกบางกว่ามะนาวหนัง
4.มะนาวตาฮิติ มีลักษณะเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่ ไม่มีเมล็ด และมีเปลือกหนา
5.มะนาวพวง มีลักษณะรูปทรงกลมรี เปลือกหนา ติดผลเป็นช่อมากกว่า 10ผล และให้ผลผลิตตลอดปี

การปลูก

มะนาวสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี มีผลดก และคุณภาพดีก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก คือ ควรมีปริมาณอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 3เปอร์เซ็นต์ และควรเลือกพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรสูงเกิน 1เมตร แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรมีการยกร่องปลูก เพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี โดยเตรียมพื้นที่คันดิน ให้มีพื้นที่กว้างประมาณ 6 – 8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำ เพื่อการระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1เมตร พื้นร่องกว้าง 0.50 – 0.70 เมตร ค่า pH ประมาณ 5.5-6.0 โดยใช้ระยะปลูกประมาณ 4×4 เมตร หรือ 6×6 เมตร ก่อนนำกิ่งพันธุ์ปลูกให้เตรียมดินหากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำให้บำรุงดินในหลุมปลูก ( ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ) ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเข้ากับดินที่ขุดมาอัตราหลุมละ 1กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต 0.50 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 0.1 กิโลกรัม แล้วกลบดินลงไปในหลุม เนื่องจากมะนาวเป็นพืชตระเดียวกับส้ม ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจแพร่มาจากส้มควรเลือกพื้นที่ให้ห่างจากแหล่งปลูกส้มเดิมที่มีแมลงเป็นพาหะอย่างน้อย 10 กิโลเมตร **คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 80 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร หลังผสมแล้วนำไปรดรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 ลิตรหลังปลูกให้ทั่วถึง

การดูแลรักษา

1.การให้น้ำ การปลูกมะนาวในระยะแรกควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง หลังปลูกประมาณ 15 วัน ต้นมะนาวจะสามารถตั้งตัวได้ ควรให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น แล้วควรงดให้น้ำช่วงเดือนมีนาคม จนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับสามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอกช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม หลังจากมะนาวติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล
2.การใส่ปุ๋ย หลังจากมะนาวได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.50 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจากพรวนดินกำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวณรอบทรงพุ่ม แล้วให้น้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลาย เมื่อมะนาวอายุ 1ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 300 กรัม และมะนาวอายุ 2ปี ให้เพิ่มปริมาณปุ๋ยปีละ 2ครั้ง ครั้งละประมาณ 1กิโลกรัมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของต้น และเมื่อมะนาวอายุ 3ปี จะเริ่มให้ผลผลิต จากนั้นช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใสปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม / ต้น ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืชโดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น **คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1 ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองทุก 15 วันในแปลงมะนาวให้ทั่วถึงทั้งแปลง
3.การกำจัดวัชพืช ในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนระบบราก วิธีการกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น กลูโฟซิเนต ไพริเบนโซซิม เป็นต้น โดยการใช้จะต้องระวังอย่าให้ละอองสารนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ใบเหลืองเป็นจุดไหม้ทั้งใบ ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นสารตอนลมสงบ4.การค้ำกิ่ง เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาว เพื่อป้องกันกิ่งฉีก หัก หรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผลและยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้โดยการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2วิธี คือ
– 4.1 การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ทำเป็นง่ามสอดเข้ากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วผูกเชือกมัดกิ่งไว้


– 4.2 การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยมรอบต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งขนาดใหญ่ซิ่งวิธีนี้จะมั่นคงกว่าวิธีแรก

5.การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและช่วยให้ติดผลมาก ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้งและกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด ( กิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง ) แล้วนำไปเผาทำลายอย่าปล่อยทิ้งเพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

โรคของมะนาว


1.โรคแคงเกอร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนทั้งใบ กิ่งก้านและผล โดยการที่ใบและผลจะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟูนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้านเริ่มแรกจะมีแผลฟูนูนสีเหลือง จากนั้นแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอนและไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มาก ๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกันและกำจัด เช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต อบาเม็กติน หรือสไปนีโทแรม เป็นต้น
2.โรคราดำ เกิดจากเชื้อราลักษณะอาการบริเวณใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำสกปรก ทำให้ผลไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ และฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด อเซทามิพริด อีมาเม็กตินเบนโซเอต เพื่อป้องกันแมลงประเภทปากดูด เช่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรสนิม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคราดำ เนื่องจากแมลงเหล่านั้นถ่ายมูลที่มีองค์ประกอบที่เป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารของราดำ
3.โรคกรีนนิ่งหรือใบแก้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการบริเวณใบจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ สังกะสีและแมกนีเซียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้อยู่ระหว่าง 6.0-6.5
4.โรคยางไหล เกิดจากเชื้อราลักษณะอาการมียางไหลบริเวณลำต้นและกิ่งก้านเปลือกจะเน่า และแผลจะลุกลามถึงเนื้อไม้
การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงส่องทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดง หรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลาย
5.โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการรากฝอยและรากแขนงเน่าสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมาๆจะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด อย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยคอยปุ๋ยหมักมากเกินไปในช่วงฤดูฝน หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสอีธิลอลูมินั่ม ฟอสโฟนิคแอซิด เป็นต้น

แมลงศัตรูของมะนาว


1.หนอนชอนใบ จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ สามารถเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นไม่ติดผล
การป้องกันกำจัด โดยการตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กลุ่มอีมาเม็กตินเบนโซเอต อะบาเม็กติน ไซเปอร์เมทริน
2.หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
การป้องกันกำจัด ตรวจดูตามใบอ่อน และยอดอ่อนของมะนาว เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็ให้เก็บมาทำลาย หรือฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เช่นเดียวกับหนอนชอนใบ
3.เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลของการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาดจะขึ้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลจะถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตามความยาวของผล
การป้องกันและกำจัดเด็ดผลที่แคระแกร็นออก หรือหากพบการทำลายของเพลี้ยไฟ ให้ฉีดพ่นด้วย สารกำจัดแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด อเซทามิพริด อีมาเม็กตินเบนโซเอต หรืออบาเม็กติน เป็นต้น
4.ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบแล้วใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมาผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน ในตอนเช้าหรือเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้ หรือหากระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยสาร ไพริดาเบน ไดโคโฟล อมีทราซ เป็นต้น
**คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองทุก 15 วันในแปลงมะนาวให้ทั่วถึง

การเก็บเกี่ยวมะนาว

มะนาวมีอายุเก็บเกี่ยว 7-8 เดือนหลังจากดอกบาน การเก็บมะนาว กรณีต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนักสามารถเก็บโดยใช้มือปลิด แต่หากต้นสูงนิยมเก็บโดยใช้มีดหรือตะขอผูกติดกับด้ามไม้รวกยาว คล้องและกระตุกผลมะนาวลงมา แต่ถ้าต้องการมะนาวที่มีคุณภาพไม่บอบช้ำ ควรใช้ตระกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากขั้วของผลเริ่มมีสีเหลืองเล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหายในขณะขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้วางจำหน่ายได้ไม่นานและทำให้ผลเน่าเสียหายได้เร็ว
การจัดการหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
วิธีเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นานต้องคัดแยกผลมะนาว โดยเลือกเอาผลมะนาวที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่าและควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วยแล้วนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกซ์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรงเพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดบรรจุแข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ
ที่มา เรื่องการปลูกมะนาว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท
*** เคล็ดลับการใช้ไร่เทพ และดินเทพ กับมะนาว ***
-ระยะหลังเก็บเกี่ยว ( ฟื้นสภาพต้น ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะใบอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะสะสมอาหาร ( ใบเพสลาด ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน


-ระยะเริ่มออกดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน


-ระยะติดผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะขยายขนาดผล ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน