Tag Archives: ปุ๋ยน้ำ

คำเตือน! หนาว ร้อน แล้ง …เตรียมพร้อมรับมือ

การปลูกข้าวหลังน้ำลดเป็นช่วงปลายฤดูฝนและฤดูหนาว จะต้องพิจารณาเรื่องอากาศหนาวด้วย เพราะหากข้าวกระทบต่ออากาศหนาวเย็น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว โดยเฉพาะหากอุณหภูมิลดลงถึง 16 °C ในช่วงที่ข้าวออกรวงจะทำให้เกิดปัญหาและทำให้ผลผลิตของข้าวอาจจะลดลงได้ โดยปัญหาที่มากับอากาศหนาวคือจะทำให้รวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ ปลายรวงในส่วนที่เหนือกาบใบธงจะตั้ง และไม่โน้มรวง ทำให้เมล็ดจะลีบบางเมล็ดจนถึงเกือบทั้งหมดรวง สาเหตุที่เมล็ดลีบเพราะข้าวไม่ผสมเกสร และอุณหภูมิลดลงมากและต่อเนื่องจะทำให้ระบบการเจริญเติบโตของข้าวหยุดชะงัก กระบวนการในเซลล์พืชจะทำงานผิดปกติและรากจะไม่ดูดซึมธาตุอาหาร หรือที่เรียกว่า ข้าวไม่กินปุ๋ย เมื่อข้าวออกดอกเกสรจะผสมไม่ติดหรือเมล็ดเป็นหมัน ผลผลิตต่ำมากจนถึงไม่ได้ผลผลิตเลย

แนะนำสำหรับการปลูกข้าวหลังน้ำลด

  1. การวิเคราะห์ดิน ควรมีการวิเคราะห์ตัวอย่างดินในนาก่อนปลูก เพราะพื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วมอาจมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารทั้งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง การวิเคราะห์ดินจะสามารถทราบความต้องการปุ๋ยที่แท้จริงของข้าวในแปลงนั้นๆ
  2. พันธุ์ข้าว ต้องใช้พันธุ์ข้าวชนิดไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้นและทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี

3.วันปลูก ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรหลีกเลี่ยงวันปลูกที่ระยะข้าวตั้งท้องถึงออกดอกไม่ให้ได้รับผลกระทบต่ออาการหนาวเย็น จากข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลังสามารถเริ่มปลูกได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป

  1. การเตรียมดิน การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวหลังน้ำลดในพื้นที่นาน้ำท่วม ใช้วิธีการเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว โดยทั่วไป เมื่อน้ำลดจนสามารถที่จะเตรียมดินได้แล้วสามารถเตรียมดินปลูกเหมือนการเตรียมดินตามฤดูกาลปกติ โดยใช้ดินเทพเพื่อปรับสภาพโครงสร้างดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก
  2. การปลูกข้าวแบบหว่านน้ำตม หลังน้ำลดควรใช้วิธีหว่านน้ำตม เพราะพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น
  3. การปลูกแบบเป็นยกสลับแห้ง สามารถใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยยังคงรักษาเสถียรภาพผลผลิตข้าวได้ดี และเป็นวิธีการใช้น้ำแบบประหยัด
  4. การใช้ปัจจัยการผลิต
    7.1 หมั่นดูแลตรวจสอบ ความผิดปกติของต้นข้าวและให้งดการใส่ปุ๋ยในช่วงอากาศหนาวเย็นเนื่องจากข้าวดูดซึมธาตุอาหารได้น้อย
    7.2 หากจะใส่ปุ๋ย ควรเน้นปุ๋ยในกลุ่มฟอตเฟตจะช่วยลดผลกระทบจากอุณหภูมิต่ำได้ เพราะธาตุฟอฟอรัส (P) ช่วยในการสังเคราะห์แสงและช่วยให้ข้าวทนทานต่ออากาศเย็น
    7.3 หากสภาพอากาศหนาวต่อเนื่อง ข้าวมีการเจิญเติบโตไม่ดีอาจส่งผลกระทบต่อการออกรวงและ ผลผลิตควรเพิ่มประสิทธิภาพโดยการฉีดพ่นซิงค์หรือสังกะสี (Zn) เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมน NAA เพื่อกระตุ้นให้ข้าวออกรวง ลดการหลุดร่วงของดอกและผล และยังมีส่วนช่วยในกระบวนการสังคราะห์แสง ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีอยู่ในปุ๋ยโล่เขียว ไร่เทพ และไร่เทพโกลด์
    7.4 ข้าวที่ปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นมักมีโรคที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง ควรใช้วิธีป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพ เช่น การลดใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นสารเคมี
    7.6 เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 20 °C ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเร่งฟื้นฟูต้น
  1. การปฏิบัติดูแลรักษา การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวที่ปลูกหลังน้ำลด สามารถปฏิบัติดูแลรักษา เหมือนการปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงในนาชลประทาน ในการป้องกันกำจัดโรค แมลง ศัตรูข้าว วัชพืช ตามความจำเป็น

C/N ratio สำคัญอย่างไร กับผลไม้ ข้าว และ พืชหัว???

C/N ratio สำคัญอย่างไร กับผลไม้ ข้าว และ พืชหัว???

ค่า C/N ratio มีความสำคัญเพราะ สามารถบอกได้ว่า พืชจะเจริญเติบโตไปเป็นแบบใด ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 กรณีในข้าว:  หากข้าว ในระยะหลังแตกกอ จะเป็นระยะที่ข้าวเริ่มสะสมอาหารทางใบ และเมื่อข้าวสะสมทางใบสมบูรณ์ ต้นข้าวจะเริ่มออกร่วง และนำสารอาหาร (น้ำตาลที่สะสมในใบ) ไปสะสมไว้ที่เมล็ด แต่ถ้าค่า C/N ผิดเพี้ยนไป ข้าวก็จะ ทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปด้วย เช่น ถ้ามีไนโตรเจนมากในระยะ ทำรวง ข้าวก็จะเกิดอาหารบ้าใบ เพราะมี ไนโตรเจน สูงกว่า น้ำตาล ส่วนที่ควบคุมการเจริญเติบโตในข้าวก็จะไปสั่งให้ข้าว แตกใบเพื่อสะสมอาหารให้ได้ค่ามากกว่าไนโตรเจน  เป็นต้น

 

เราจะควบคุม C/N ratio ได้อย่างไร

  1. ใส่ปุ๋ยและ ธาตุอาหารให้ถูกจังหวะ เช่น ระยะฟื้นต้น ทำใบ พืชอายุน้อย ไนโตรเจนสำคัญต่อการสร้างใบ แตกใบ แตกกิ่ง แต่เมื่อต้องการให้พืชออกดอก อาจจะต้องปรับสูตร ปุ๋ยไปใช้ปุ๋ยที่มี ค่า P และ K เพื่อส่งเสริมการสร้างเงื่อนไขการเกิดดอก และลด ปริมาณ N ในเนื้อเยื่อ
  2. ใช้วิธีทางอ้อม ควบคู่กับการให้สารอาหาร ได้แก่ การให้สารเคมีที่มีฤทธิ์ควบคุมการเจริญเติบโต ตัวอย่างเช่น สารแพคโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของยอด และราก ทำให้พืช
  3. เติมคาร์บอนเข้าสู่ เซลล์ ได้แก่ การพ่นน้ำตาลทางด่วน การให้อะมิโนบางชนิดที่มีองค์ประกอบของ คาร์บอน ซึมเข้าเนื้อเยื่อพืช เพื่อเพิ่มค่า C/N ratio

 

อัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจน (C:N ratio)

อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการขยายความและสรุป อัตราส่วน C/N ratio ที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืชเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของเกษตรกร  (เนื่องจาก ค่า C/N ratio นั้น สามารถนำไปใช้คำนวณหาคุณภาพของปุ๋ยเคมี ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่ วัดในเนื้อเยื่อพืช กับวัดที่ปุ๋ยอินทรีย์)

ค่า C/N ratio แปลเป็นภาษาไทยคือ อัตราส่วนของ ปริมาณธาตุคาร์บอนหารด้วยปริมาณไนโตรเจนในเนื้อเยื่อพืชที่เราสนใจ     ซึ่งตัว คาร์บอนที่กล่าวนี้มันก็คือ น้ำตาลที่สะสมในใบพืชนั่นเอง (เพราะน้ำตาลที่พืชสะสมในเนื้อเยื่อ ส่วนมากเป็น กลูโคส (glucose) ซูโครส (sucrose) แมนโนส (mannose) และฟรุคโตส (fructose) ซึ่งมีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงวัดแค่ คาร์บอน ก็จะนำไปคำนวณเป็นค่าน้ำตาลในเนื้อเยื่อได้ ในการวิเคราะห์เบื้องต้นไม่จำเป็นต้องวัด H และ O)

จากที่กล่าวมาข้างต้นถ้าจะเอาให้เข้าใจง่ายๆ ค่า C/N ratio เป็นภาษา คนทั่วไปเข้าใจก็คือ

 

ค่า C/N ratio คือ                 ค่าปริมาณน้ำตาลที่วัดได้ในใบพืช หารด้วย ค่าปริมาณไนโตรเจนในใบพืช นั่นเอง

(ความจริงค่า C/N ratio ไม่จำเป็นต้องวัดที่ใบอย่างเดียว เพราะสามารถวัดที่เนื้อเยื่ออื่นด้วย แต่สำหรับพืช ให้ผล หรือ พืชสะสมแป้ง วิธีวัดที่ใบ เป็นวิธีที่นิยม เพราะพืชมักสะสมอาหารไว้ที่ใบ และง่ายต่อการตรวจวัด)

ผ่านวิกฤตภัยแล้ง..ด้วยไร่เทพ

ลุงพงษ์ นิลพัฒน์  เป็นเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก มีแปลงนามากกว่า 100 ไร่ ทำนามาตลอดชีวิต  อาศัยอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุงพงษ์ เล่าว่า หลังจากหว่านข้าวไปเจอวิกฤตภัยแล้ง

ถึงขนาดที่ว่าน้ำในคลองก็ไม่มีให้วิดมาใช้ ลุงเลยตัดสินใจฉีดพ่นไร่เทพเพิ่มอีก 2 รอบ เพื่อให้ไร่เทพไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช ส่งผลให้พืชสามารถเจริญเติบโตต่อได้  และไร่เทพนอกจากจะช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ไม่ปกติแล้ว ยังช่วยทำให้ดินมีความอุ้มน้ำ ร่วนซุยไม่แข็งกระด้างอีกด้วย ในขณะที่แปลงนาข้างๆ ต้นข้าวล้มตายเกิดความเสียหายอย่างมาก แต่แปลงนาลุงได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีนำไปขายโรงสีได้ราคาดีด้วย

เคล็ดลับขั้นเทพ .. นาลุงจะมีนกเยอะมากมากินข้าวเปลือกตอนหว่านข้าวปลูกข้าว ดังนั้นลุงใช้วิธีการหว่านเผื่อให้นกด้วยกล่าวคือ หว่านข้าวในจำนวนที่มากขึ้นถึงแม้จะมีนกกินข้าวไปก็จะยังเหลือข้าวที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นต้นข้าวได้ ทำให้ไม่มีปัญหานกกินข้าวหมด

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

ข้าวจมน้ำ 7 วัน แต่ข้าวไม่ตาย

เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ .. นาข้าวของนายสุชาติ กิ่งนอก ชาวนาบ้านถนนถั่ว หมู่ที่ 10 ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ปลูกข้าวพันธุ์ หอมมะลิ 105 เป็นนาข้าวพื้นที่รับน้ำ โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต่ำ น้ำจะไหลมารวมกันที่นี่

ที่ผ่านมาฝนตกอย่างต่อเนื่องนายสุชาติจึงเตรียมรับมือกับน้ำที่มีปริมาณมาก ด้วยการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ตรา ไร่เทพ โดยฉีดพ่นก่อนน้ำจะมาถึงประมาณ 1 สัปดาห์ พอน้ำเข้าท่วมพื้นที่นาทำให้ต้นข้าวที่กำลังโตถูกน้ำท่วมจนเกือบมิดปลายยอดใบ ซึ่งมวลน้ำไม่เพียงแค่ไหลผ่านนาไป แต่ต้นข้าวในนาต้องแช่อยู่ในน้ำยาวนานเป็นสัปดาห์ ในขณะที่แปลงนาข้างๆต้นข้าวเกิดความเสียหายอย่างมาก ในทางกลับกันแปลงนาของนายสุชาติต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้และให้ผลผลิตได้เหมือนเดิม

ไร่เทพ จะช่วยทำให้ต้นข้าวมีความมีความเสถียรในเซลล์และระบบรากที่ดี ซึ่งจะสังเกตได้ว่ารากจะมีจำนวนมาก ในขณะที่เกิดน้ำท่วมต้นข้าวมีรากบางส่วนที่เสียหายไป แต่เนื่องด้วยรากที่มีจำนวนมากนั้นจึงจะยังมีรากบางส่วนที่ไม่เกิดความเสียหายยังคงสามารถเลี้ยงต้นข้าวให้เจริญเติบโตต่อไปได้จนให้ผลผลิตได้ แต่หากว่าต้นข้าวที่มีรากน้อยถ้าน้ำท่วมรากจะเกิดการเสียหายทั้งหมดส่งผลให้พืชไม่ฟื้นตัวหรืออาจจะตายในที่สุดเพราะรากเน่าเสีย

ดินดีขั้นเทพ ปลูกอะไรก็ขึ้น

ดินที่ดี คือ เป็นดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแลตามปกติ ซึ่งจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีปฏิกิริยาดินใกล้เป็นกลางมีค่า pH ในช่วง 5.5-7.0 และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช

องค์ประกอบดินที่ คือ น้ำ 25% อากาศ 25% อินทรียวัตถุ 5% และแร่ธาตุ 45%
ดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน ที่ช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีดินที่ไปช่วยช่วยสลายซากพืช ซากสัตว์ให้เกิดเป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของดีที่ดี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

วิธีการปรับปรุงบำรุงดินแบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
1.การปรับปรุงดินทางกายภาพ คือ การปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นต้น
2. การปรับปรุงบำรุงดินทางด้านเคมี คือ การปรับสภาพทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอ
3. การปรับปรุงบำรุงดินด้านชีวภาพ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ, ใช้ระบบพืชคลุมดิน, ใช้ระบบพืชเหลื่อมฤดู หรือ ใช้การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน เป็นต้น

และเมื่อเราได้ดินที่ดีแล้ว ต้นทุนในการใช้ปุ๋ยก็ลดลงการใช้สารเคมีในการดูแลก็ลดลง เมื่อต้นทุนลดลงและรายได้เพิ่มมากขึ้น

จ่ายแพงไปทำไม??

ของใช้ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป อยากให้เกษตรกรได้ใช้ของดีที่มีราคาไม่แพง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ที่เมื่อวิเคราะห์ราคากับปริมาณที่ใช้ จะเห็นได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม เพราะราคาที่จ่ายไปกับผลลัพธ์ที่ได้กลับมารับประกันได้เลย การันตีด้วยยอดลูกค้าที่อยู่กับเรายาวนานกว่า 10 ปี

หากท่านกำลังเจอปัญหาพืชเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง พืชขาดธาตุอาหาร ดินเสีย ดินเค็ม ดินแข็ง ไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก รวมถึงปัญหาที่ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรเหล่านี้จะหมดไป หากเกษตรกรหันมาให้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ไร่เทพ อาหารเสริมพืช จะช่วยให้พืชโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ลูกดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง น้ำหนักดี มีคุณภาพดี

โล่เขียว จะช่วยให้พืชเขียวทน เขียวนาน ต้านทานโรคและแมลง และช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ดินเทพ เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ไร้สารตกค้าง ช่วยให้ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก และยังสามารถใช้แทนสารจับใบได้ ช่วยให้สารแผ่กระจายทั่วใบและพืชนำไปใช้ได้เลย

 

ราคาไม่แพง .. หากต้องการผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ไร่เทพ 1 ซอง ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

โล่เขียว 1 ขวด (1000ml.) ฉีดพ่นได้ 15 ไร่

ดินเทพ 1 ขวด (500ml.) ฉีดพ่นได้ 12 ไร่

 

จบปัญหา…ข้าวโพดฟันหลอ!!

ปัญหาข้าวโพดฟันหลอ โดยทั่วไปแล้วสาเหตุเกิดจาก การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ทำให้การติดเมล็ดของข้าวโพดผิดปกติ หรือเกิดจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมร้อนแล้งจนเกินไปทำให้ไหม้แห้ง หรือการได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ขาดน้ำ และอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือเกิดจากแมลงศัตรูที่ลงทำลายในระยะข้าวโพดออกดอก ได้แก่ หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยไฟข้าวโพด

ไร่เทพแนะนำการป้องกันกำจัด โดยให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ฉีดพ่นทางใบ ตั้งแต่ 15 วันหลังปลูก อัตราส่วนดังนี้
-ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
-โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร
-ดินเทพ 10 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร
สามารถผสมกันและฉีดพ่นทางใบเป็นละออง ไม่ต้องจี้ ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน ควรฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า หรือ 5 โมงเย็น เพราะเป็นช่วงปากใบพืชเปิด

ปัญหานี้จะหมดไป
1.ไร่เทพจะไปช่วยแตกรากใหม่ ขยายท่อน้ำเลี้ยง ทำให้ระบบโครงสร้างสมบูรณ์แข็งแรง ฝักใหญ่ เม็ดเยอะ ไม่ฟันหลอ
2.โล่เขียวจะไปช่วยทำให้เส้นใยในโครงสร้างพืชมีความหนาและทน และช่วยให้การเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชทำได้ยากขึ้น และช่วยให้พืชทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดหนาวจัด เขียวทน เขียวนาน
3.ดินเทพ ในกรณีฉีดพ่นทางใบจะช่วยในการจับใบ นำพาสารอาหารเข้าสู่โครงสร้างพืชได้ดีขึ้น และเพิ่มการยึดเกาะที่ผิวใบได้ดี **กรณีดินไม่สมบูรณ์ให้ใช้ดินเทพในขั้นตอนการเตรียมดินก่อนการเพาะปลูก**

เคล็ดลับไร่เทพ “ปลูกมันสำปะหลังให้โตวันโตคืน”

โตวันโตคืน ทั้งในส่วนมันสำปะหลัง และส่วนของเกษตรกร เคล็ดลับไร่เทพ จะทำให้โตไว ใบเขียวเข้ม มันหัวใหญ่ น้ำหนักดี และเปอร์เซ็นต์แป้งสูง ทำให้เกษตรกรเติบโตมีผลผลิตที่ดี มีกำไร ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง

จากข้อมูลวิจัยกรุงศรีคาดว่าอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ในปี 2566-2568 มีแนวโน้มเติบโตดี ตามทิศทางการขยายตัวของความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเอทานอล) และตลาดส่งออก ตามการขยายตัวของตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลัก ปัจจัยท้าทายของอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ ปริมาณผลผลิตที่มีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาด (โรคใบด่างมันสำปะหลัง) รวมถึงด้านการตลาดที่ยังต้องพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก

เคล็ดลับไร่เทพ
การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย “ไร่เทพและโล่เขียว” จะช่วยเร่งการแตกราก กักตุนอาหารตั้งแต่เริ่มปลูก โดยสูตรแช่ท่อนพันธุ์แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.กรณีแช่ 3-5 ชั่วโมงก่อนปลูก คือ ไร่เทพ 2-4 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตรและโล่เขียว 80-100 ซีซี
2.กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 24 ชม.) คือ ไร่เทพ 1-2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร และ โล่เขียว 50 ซีซี
ต่อมาในช่วง 14-60 วัน ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**
ตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

 

7 เคล็ดลับขั้นเทพ ทำนาให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ประชากรส่วนใหญ่ของสังคมไทยปลูกข้าวทำนาเป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่โบราณ เราจึงขอแนะนำเคล็ดลับขั้นเทพ ทำนาให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ เพื่อประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถนำแนวทางในการปฏิบัติในทุกๆขั้นตอนของการทำนาได้ (อ่านต่อด้านล่าง)

1.ดินดี คือ ดินที่เหมาะต่อการเพาะปลูก ซึ่งการเตรียมดินจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะดินเป็นปัจจัยหลักของธาตุอาหารสำหรับข้าว แนะนำให้ใช้ “ดินเทพ” ในการปรับโครงสร้างดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก และการไม่เผาฟางจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะการเผาฟางจะทำลายสภาพดิน เคล็ดลับขั้นเทพแนะทำให้ใช้ดินเทพช่วยเร่งการสลายตอซังข้าว ช่วยสร้างธาตุในดิน ดินดี ร่วนซุย ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง

2.เมล็ดพันธุ์ดี คือ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี และใช้ “ไร่เทพ” ผสมกับ “ดินเทพ” แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนหว่านจะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก และช่วยลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ มีอัตราการใช้ดังนี้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

3.ปุ๋ยดี คือ ต้องมีการให้ปุ๋ยทางใบ “โล่เขียว” ช่วยพืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมยังทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมะสม ทนต่อโรคและแมลง และให้ปุ๋ยทางดินไปพร้อมกันด้วย

4.บำรุงดี คือ การบำรุงด้วยอาหารเสริมพืช “ตราไร่เทพ” จะทำให้ช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ระบบรากเดินดี ลำล้นแข็งแรง และมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ แนะนำให้ใช้ไร่เทพผสมดินเทพ (สารจับใบ) ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 10-15 วัน

5.น้ำดี คือ การจัดการน้ำอย่างเหมาะสม การนำน้ำเข้า-ออกนา ตามระยะของข้าว โดยให้เอาน้ำเข้าก่อนตีดิน หลังทำเทือกเสร็จแล้วให้ระบายน้ำออกให้ดินแห้งแบบหมาดๆแล้วจึงหว่านข้าว และปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ

6.การดูแลดี คือการดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต เพราะเนื่องด้วยในปัจจุบันจะมีโรคพืชโรคแมลงที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้การดูแลแปลงนาต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อเวลานั้นๆ

7.การเก็บเกี่ยวดี คือ ควรเก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม โดยการเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง คือระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวที่นับจากวันที่ข้าวออกดอกไปแล้ว 28-30 วัน และเก็บเกี่ยวในสภาพที่นาแห้ง หรืออย่างน้อยก็ไม่มีน้ำขังในนาจะช่วยลดการสูญเสียผลผลิตจากข้าวที่ร่วงระหว่างการเก็บเกี่ยวได้ 20%

 

   

เคล็ดลับแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว

วันนี้ขอแนะนำเคล็ดลับการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนที่จะหว่านลงแปลงนา ด้วยวิธีง่ายๆ “เคล็ดลับไร่เทพ” ซึ่งประโยชน์ของการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงขึ้น ทำให้งอกได้ไว ลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ข้าวออกสม่ำเสมอ ทำให้ข้าวมีรากมากขึ้น ทำให้มีการเจริญเติบโตได้ดี และข้าวแตกกอดี โตได้อย่างสมบูรณ์

การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพสูงจะช่วยบำรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวจนกระทั่งงอกเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ซึ่งเคล็ดลับนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าวเลย

อัตราการใช้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

ไม่ต้องกังวล .. น้ำท่วมนาแต่ข้าวไม่ตาย

ตอนนี้ประเทศไทยตอนบนพบกับวิกฤตน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากมาเร็วและหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เกิดความเสียหายในพื้นที่จังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ตาก เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา และ สุโขทัย ซึ่งส่งผลต่อภาคการเกษตรด้วย ดังนั้นในพื้นที่ที่น้ำจะไหลผ่านลงสู่ทะเลอ่าวไทย เกษตรกรควรมีการเตรียมรับมือกับมวลน้ำจำนวนมาก

 

เราไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำได้แต่เราสามารถที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวช่วยได้ กล่าวคือตัวช่วยให้พืชสามารถทนได้กว่าปกติในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต แต่พืชจะสามารถเติบโตให้สามารถให้ผลผลิตได้ และฟื้นตัวได้ไวหากสามารถรีบระบายน้ำออกได้ทันเวลา

 

 

โล่เขียว มีส่วนผสมของแมกนีเซียมกับสังกะสี จะช่วยทำให้พืชเขียวทน เขียวนาน ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งจะช่วยพืชทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี

ไร่เทพ จะช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้พืชนำสารอาหารไปใช้ได้ทันที ส่งผลให้เพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำหนัก และมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ที่สำคัญช่วยฟื้นฟูได้ดี

ดินเทพ ในกรณีใช้เป็นสารจับใบเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไร่เทพกับโล่เขียว

 

 

อัตราการใช้

โล่เขียว 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร

ดินเทพ 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

สามารถผสมกันแล้วฉีดพ่นทางใบ เป็นละอองไปเกาะไม่ต้องจี้ ฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า หรือหลัง 5 โมงเย็น

เจ้าของสวนชื่นใจ “อินทผลัม” 1 ต้น 12 จั่น ลูกดก รสชาติดี ขายได้กำไร

อินทผลัม เป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง และเกษตรกรกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีการปลูกมากขึ้น เนื่องจากปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ในระยะยาว ให้ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญเป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง

อินทผลัม มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความเมื่อยล้า ช่วยดับความหนาวเย็น ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน จึงช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองด้วย

วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกอินทผลัม นั่นคือ คุณนุช หรือคุณวรนุช พันธุ์ศิริ เป็นชาวตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเจ้าของสวนอินทผลัม 3 เจ ฟาร์ม เป็นเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถปลูกอินทผลัมได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เพราะใส่ใจในทุกๆขั้นตอนการผลิต เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน โดยมีการวัดค่า pH ของดิน และใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดินให้ดินที่สมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพราะปลูก (ใช้ร่วมกับปุ๋ยมูลสัตว์) จากนั้นบำรุงธาตุอาหารให้กับพืชตรงจุดตามความต้องการของพืชด้วยไร่เทพและโล่เขียว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกอินทผลัมให้ได้ผลผลิตที่สูง เจ้าของสวนชื่นใจ

การเตรียมดินใช้ดินเทพ อัตราส่วน ดินเทพ 40 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร รดที่โคนต้น (ใช้ร่วมกับมูลสัตว์)

การบำรุงด้วยไร่เทพและโล่เขียว อัตราส่วน
ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร

เคล็ดลับเพิ่มผลผลิต “มันสำปะหลัง”

มันสำปะหลังจัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เกษตรกรในหลายพื้นที่สร้างรายได้จากการปลูกมันสำปะหลัง และในอนาคตคาดว่าความต้องการณ์ใช้มันสำปะหลังในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการนำมันสำปะหลังมาผลิตในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน จึงส่งผลให้เกษตรกรใส่ใจกับการปลูกมันสำปะหลังให้มีคุณภาพและปริมาณสูง

      การใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงการเก็บเก็บผลผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลัง ไร่เทพมีเคล็ดลับเพิ่มผลผลิตในการปลูกมันสำปะหลังให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่สูงได้

ในขั้นตอนก่อนปลูก การเตรียมดินให้มีความสมบูรณ์ก่อนปลูกด้วย “ดินเทพ” สารปรับโครงสร้างดินที่เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ทั้งมีความปลอดภัยไม่ทิ้งสารตกค้าง อัตราการใช้ ดินเทพ 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร

การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย “ไร่เทพและโล่เขียว” จะช่วยเร่งการแตกราก กักตุนอาหารตั้งแต่เริ่มปลูก โดยสูตรแช่ท่อนพันธุ์แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  • 1.กรณีแช่ 3-5 ชั่วโมงก่อนปลูก คือ ไร่เทพ 2-4 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตรและโล่เขียว 80-100 ซีซี
  • 2.กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 24 ชม.) คือ ไร่เทพ 1-2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร และ โล่เขียว 50 ซีซี

ต่อมาในช่วง 14-60 วัน ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

ตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

หมายเหตุ ฉีดพ่นทางใบเป็นละออง ไม่ต้องจี้ ควรฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า และหลัง 5 โมงเย็น

ข้าวแกร่ง ต้องเสริมเกราะ …ด้วยโล่เขียว

กรมอุตุนิยมแนะเกษตรกรว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะที่แปรปรวน โดยพื้นที่ที่ฝนตกหนัก ดินและอากาศมีความชื้นสูง ให้เกษตรกรเฝ้าระวังและป้องกัน โรคไหม้ข้าว (Rice Blast Disease) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae ส่วนพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอให้เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพ

เมื่อควบคุมสภาพอากาศไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือ “ข้าวแกร่ง ต้องเสริมเกราะ ด้วยโล่เขียว” มาเสริมเกราะป้องกันให้กับข้าวด้วยโล่เขียว ซึ่งโล่เขียวมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้ข้าวทนต่อสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสม สามารถทนต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยให้ใบมีความเขียวเข้ม “รากขาว แตกกอดี ใบเขียวทน ต้นแข็งแรง”

โล่เขียวมีส่วนประกอบของแมกนีเซียม (Mg) และสังกะสี (Zn) โดยแมกนีเซียม (Mg) จะช่วยให้ข้าวมีใบเขียวเข้ม ช่วยสร้างสร้างพลังงานดูดซึมสารอาหารต่างๆ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และสังกะสี (Zn) จะช่วยแตกตาดอกและตายอด เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ที่สำคัญช่วยให้พืชทนทานต่อสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี

รากขาว คือรากที่สมบูรณ์และแข็งแรง

แตกกอดี คือจำนวนเยอะและขนาดใหญ่

ใบเขียวทน คือใบสีเขียวเข้ม ทนต่อโรคและแมลง

ต้นแข็งแรง คือต้นยืดตรง ไม่คดงอ

 

 

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ช่วงนี้เพลี้ยไฟระบาดลงแปลงนาเป็นจำนวนมาก จัดได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องพบเจอ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ฝนที่ทิ้งช่วงยาวนาน รวมทั้งการหนีตายจากแปลงใกล้เคียง

แต่หากเจอเพลี้ยไฟแล้ว ทำไงดี?
ปัญหานี้ตอบได้จากประสบการณ์จริงของแปลงนาผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ กล่าวคือ นาข้าว 50 ไร่ แปลงนี้ มีอายุ 15 วัน ได้ฉีดผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ รอบแรกในอัตราการใช้ดังนี้ ไร่เทพ 12 ซอง ดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) และโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา ส่วนนี้จะทำให้ข้าวได้รากอย่างสมบูรณ์และต้นแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตไปในระยะต่อไป

แต่พอข้าวอายุ 20 วัน เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยไฟในพื้นที่ซึ่งทางเราไม่ได้ฉีดป้องไว้ก่อน เนื่องด้วยไร่เทพมีคุณสมบัติพิเศษที่มีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ในช่วงแรกเพลี้ยไฟยังไม่มาลงแปลงมาจะเห็นว่าเมื่อเทียบกับแปลงนาข้างๆ แปลงนาที่ไม่ได้ใช้ไร่เทพเพลี้ยลงใบข้าวมีสีเขียวอ่อน ซึ่งแตกต่างกับแปลงนาที่ใช้ไร่เทพอย่างชัดเจน แต่เมื่อแปลงนาข้างๆมีการฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยไฟแล้วนั้น ทำให้เพลี้ยไฟเหล่านั้นหนีตายมาแปลงข้างๆ เกิดความเสียหายจากการโดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นข้าวเกิดปลายใบไหม้ ข้าวมีอาการเหลือง แต่เมื่อเทียบอาการเพลี้ยลงแปลงนากับแปลงนาที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ แล้วพบว่าแปลงนาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ มีสีเหลืองที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเจอเพลี้ยไฟหนีตามาลงแปลงนา จึงฉีดพ่นยากำจัดเพลี้ยไฟร่วมกับผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ อัตราการใช้ไร่เทพ 10 ซอง ผสมโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) และดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา

หลังการฉีดพ่น 3 วัน เห็นได้ว่า ข้าวมีการฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้อย่างรวดเร็ว จากที่ต้นข้าวที่มีสีอมเหลืองและใบมีอาการโค้งงอ ปลายใบไหม้ ตอนนี้ต้นข้าวกลับมามีความเขียวสด ต้นข้าวยืดตรงไม่โค้งงอ ระบบรากมีความสมบูรณ์ รากเยอะ รากขาวดูสะอาดไม่เป็นโรค และพร้อมจะยึดเกาะดินที่ร่วนซุยพยุงต้นให้เติบโตต่อไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าแปลงนาข้าวจะเกิดปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นถูกแก้ไขได้ถูกวิธีและรวดเร็วปัญหาเหล่านั่นก็จะหมดไป

#ไร่เทพ #ดินเทพ #โล่เขียว #เพลี้ยไฟ #นาข้าว #เกษตรกร

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ เห็นความสำคัญในการให้โอกาส และการศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิตให้หลุดพ้นจากความจนได้ เนื่องจากปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม เด็กและเยาวชนหลายๆ คนกลายเป็นเด็กด้อยโอกาส ทำให้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณเชอรี่จึงได้มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กๆ พื้นที่ห่างไกล และขาดแคลน ผ่านมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการ “ส่งเสริมการศึกษาให้สว่างไสว สร้างอนาคตที่สดใสให้น้อง” และร่วมบริจาคและจุดไฟแห่งปัญญาให้แก่เด็กๆ เพื่อให้อนาคตของพวกเขาส่องสว่าง และพร้อมส่งต่อสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม โดยพร้อมเป็นแรงสนับสนุนที่จะช่วย “จุดประกายความรู้ สู่พัฒนาการสมวัย” ของเด็กยากไร้ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณเชอรี่ ได้มีการมอบทุนการศึกษานี้อย่างต่อเนื่องและตั้งใจจะทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

 

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เตือนผู้ปลูกทุเรียน เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน ศัตรูพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่ทุเรียน
การระบาดของศัตรูพืชทำให้ผลผลิตทุเรียนลดลง และคุณภาพของผลผลิตต่ำ แมลงและไร ศัตรูพืชที่สำคัญและทำความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ทุเรียน
โดยหนอนเจาะผลทุเรียนมักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ต้นทุเรียนอยู่ในระยะติดผล
เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบการเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก
อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ
การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา
ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน
และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่บริเวณรอยสัมผัสนี้

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

    1. หมั่นตรวจดูผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
    2. ผลทุเรียนที่ถูกหนอนเจาะ ควรทำลายโดยการเผาไฟหรือฝัง
    3. ไร่เทพ เป็นอาหารทางใบที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ช่วยป้องกันแมลงได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังไปช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซม และช่วยเพิ่มผลผลิตด้วย และปุ๋ยโล่เขียว จะช่วยทำให้ผลและใบสมบูรณ์ ใบใหญ่ เขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ผลไม่โทรมและยังช่วยให้ทนต่อโรคได้ดียิ่งขึ้น ส่วนดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน มีอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในดิน จึงช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และช่วยส่งเสริมการสร้างธาตุอาหารในดิน อีกทั้งใช้แทนสารจับใบ ทำให้ไร่เทพและปุ๋ยโล่เขียวมีประสิทธิภาพมากขึ้น (อัตราการใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ผสมปุ๋ยโล่เขียว 100 มิลลิลิตร และผสมดินเทพ 10 มิลลิลิตร)
    4. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป ควรตัดแต่งผลไม่ให้ติดกัน และใช้ใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย สามารถลดการทำลายของหนอนเจาะผลได้
    5. การห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
    6. หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล

 

หมายเหตุ การผลิตทุเรียนส่งออกควรจัดการตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) กรณีการใช้สารเคมีควรใช้อัตราตามฉลาก และเกษตรกรควรทิ้งช่วงก่อนเก็บเกี่ยวหลังจากการพ่นสารครั้งสุดท้ายแล้วอย่างน้อย 7 วัน

 

     

 

 

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

แตงกวาพืชทนแล้ง

แตงกวาพืชทนร้อน

แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูกแตงกวากับพืชอื่น ๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืช หนึ่งที่สามารถทํารายได้ดีทีเดียว สําหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถนําไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนําไปแกงจืด ผัด จิ้มนํ้าพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่า แตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

แตงกวามีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3,000 ปีและมีการปลูกในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนําผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือ ของทวีปแอฟริกาในศตวรรษที่ 6 ได้นําไปปลูกในประเทศจีนโดยสันนิษฐานว่าได้นําเข้าประเทศจีนสองทาง คือเส้นทางสายไหมโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในตวรรษที่ 9-14 ได้นําไปปลูกในทวีปยุโรปและได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นําไปปลูกในทวีปอเมริกา กลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีจํานวนโครโมโซม2n=14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียวเถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจํานวนมากรากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร ลําต้นเป็นเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออกมา ตามข้อโดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้นใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็น ดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุมใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจนส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสร ดอกจะหุบตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วงแสงและอุณหภูมิ กล่าวคือจะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ในสภาพช่วงแสงสั้น และมีอุณหภูมิกลางคืนตํ่าซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผลและในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม้มีไส้เนื้อกรอบ และนํ้าหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสด-แปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดํา สีหนามสีขาว แดง นํ้าตาล และดํา

การจำแนกแตงกวา


แตงกวาสามารถจําแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้ 1. พันธุ์สําหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผล มีนํ้ามากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่ หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนําไปดอง แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น 1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้าน ซึ่งมีความยาวผลอย่าง น้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือ ขาวและเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้นจะมีสีเขียวเข้มสมํ่าเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนําไปดองจะคงรูปร่างได้ดีไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่ง แบ่งตามขนาดได้ดังนี้ 2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมี ความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความ กว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้นๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโต ได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สําหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการนํ้ามากแต่ขาดนํ้าไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดีควรมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ใน สภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัดจําเป็นต้องปรับปรุงบํารุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้นควรจะวิเคราะห์หาค่ากรด-ด่าง ก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน

เยี่ยมชมเว็บไซต์

ก่อนการปลูกแตงกวาทําการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทําลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรียลงไปปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกําหนด ระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สําหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางพื้นที่อาจใช้พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลง ไม่ให้เข้ามาทําลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์

ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์นับว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญในการปลูกแตงกวาซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือมีการบรรจุหีบห่อเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศจากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมีเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทําการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากันแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสําหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทําการบ่มเมล็ด โดยนําเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ผสมอัตรา 5 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อ ทําลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนํามาแช่นํ้า 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบนํ้าหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นบ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตรจึงนําไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นําเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จํานวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร การดูแลรักษากล้าหลังจากหยอดเมล็ดแล้วให้นํ้าทันทีโดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทําได้ ปริมาณนํ้าที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อนควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้นํ้าทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไป เมื่อแตงกวาเริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของ ต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกําจัดโดยเร็วและเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบจะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก
5. การเพาะกล้าในถาดเพาะ
ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า “ มีเดีย , พีทมอส ” แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูงมีราคาแพงทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสมดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว

 

การปลูก  

 วิธีการปลูกแตงกวานั้นพบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ดหากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้วจะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จําเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อนจึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่นประหยัดเมล็ดพันธุ์ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้าเป็นต้น

สําหรับการย้ายกล้าปลูกนั้นให้ดําเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้วและเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กําหนด จากนั้นนําต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กําหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทําให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้นํ้า

หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้นํ้าทันทีระบบการให้นํ้านั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้นํ้าตามร่องเพราะว่าจะไม่ทําให้ลําต้นและใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้นํ้าในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้นํ้าให้นานขึ้น ข้อควรคํานึงสําหรับการให้นํ้านั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สมํ่าเสมอตลอดแปลงและตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทําให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้นอาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 10-10-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตรา ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15- 15-15 หรือ 10-10-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

 

แมลงศัตรูแตงกวา


ในแตงกวานั้นมีศัตรูที่ทําลายแตงกวาแบ่งได้คือแมลงศัตรูแตงแตงกวานั้นเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีแมลงศัตรูเข้าทําลายมาก และที่พบบ่อยและทําความเสียหายกับแตงกวามากได้แก่
1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola) ลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอกและผลอ่อน
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทําให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทางระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสําคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกําจัด ให้นํ้าเพิ่มความชื้นในแปลงปลูกโดยให้นํ้าเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้ ใช้สารฆ่าแมลง คือ พอสซ์ เมซูโรล ไดคาร์โซล ออลคอล อีมาเม็กตินเบนโซเอต เป็นต้น
2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii) ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลําตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลําตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดําและมีปีก
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทําให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนําไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า โดยมีมดเป็นตัวนําหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ
3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.) ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทําให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทําลาย ร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีกําจัดไร ได้แก่ ไพริดาเบน โพรพาไกด์ อามีทราซ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์เป็นต้น
4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดํา (Black cucurbit beetle: A. frontalis) ลักษณะเป็นแมลงปากแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดําเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนาหรือตามกอหญ้า
การทําลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตทําให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้นตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกําจัด ควรทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน็อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จีหรือคูราแทร์ 3 จีใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar:Helicoverpa armigera) ลักษณะหนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมี เส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมี ขนาดใหญ่กว่า ลําตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีนํ้าตาลดํา มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทําลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผล และเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทําลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต สไปนีโทแรม คลอแรนทานิลิโพร ทามารอน อโซดริน หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

 

โรคในแตงกวา แตงกวามีโรคที่เป็นศัตรูสําคัญ ได้แก่


1. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทําให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกนํ้าค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทําให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตําแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดํา
การป้องกันกําจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซด ก่อนปลูกหรือจะนําเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายนํ้าเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้เมื่อมีโรคระบาดในแปลง และในช่วงมีหมอกและนํ้าค้างมากควรฉีด Curzate-M8, Antrachor หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ
2. โรคใบด่าง (Mosaic) เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง
การป้องกันกําจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทําได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทําความสะอาดแปลงปลูก พร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ
3. โรคผลเน่า (Fruit rot) เชื้อสาเหตุ Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทําให้เกิดแผลก่อนจะพบมาก ในสภาพที่เย็นและชื้นกรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉํ่านํ้าเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุมกรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ็อกโทเนีย จะเป็นแผลเน่าฉํ่านํ้าบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีนํ้าตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้นบริเวณ ส่วนปลายของผลที่เน่าจะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกําจัด ทําลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ Oidium sp. ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่ เป็นหย่อมๆกระจายทั่วไปเมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทําให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น แมนโคเซป เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

 

การเก็บเกี่ยว


อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสําหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมี หนามอยู่บ้างถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนามการเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้นเพราะจะทําให้ผลผลิตทั้งหมดลดลงโดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประมาณ 1 เดือน
ที่มาข้อมูล : การปลูกแตงกวา เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, ภัสรา ชวประดิษฐ, กลุ่มพืชผักกองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงกวา


การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะต้นอ่อน (อายุ 7-14 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (อายุ 10-25 วัน : โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะดอกแรก (อายุ 25-35 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะผลอ่อน – เก็บเกี่ยว ดอกต่อเนื่อง (อายุ 40-60 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ความสำคัญธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช

 

อาหารของพืช คืออินทรีย และอนินทรีย์สารซึ่งประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ ซึ่งได้จากอากาศ น้ำ และดิน โดยพืชที่มีใบสีเขียวได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2) และออกซิเจน(O2) จากอากาศ ได้น้ำ(H2O)และแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ซึ่งเป็นอินทรียสาร และอนินทรีย์สารจากดิน เมื่อผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงจะเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางเคมีกลายเป็นสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังสังเคราะห์อินทรียสารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่นโปรตีน ลิปิด กรดนิวคลีอิก วิตามิน เป็นต้น โดยพืชจะนำสารที่สังเคราะห์ได้เหล่านี้ไปใช้ในกิจกรรมการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพของมนุษย์และสัตว์ จึงเรียกธาตุที่เป็นอาหารสีเขียวให้แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ว่า “ธาตุอาหารพืช” ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตพืชเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์
ความสำคัญของธาตุอาหารพืช ธาตุอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพืชทุกชนิด เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตให้ผลผลิต หรือเพื่อการขยายพันธุ์ให้ครบวงจร หากพืชได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดพืชจะแสดงอาการผิดปกติให้เห็นโดยสังเกตได้จากทั้ง ใบ ผล กิ่ง ยอด ดอก ลำต้น ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อระดับอาการขาดธาตุอาหาร ในระดับที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถสังเกตได้คร่าว ๆ ด้วยสายตาของเราเองได้เบื้องต้น ซึ่ง การสังเกตการขาดธาตุอาหารของพืชมีข้อดี คือสามารถทำได้รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย และ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จะต้องหมายถึง
1.ธาตุนั้นต้องจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของพืชถ้าขาดพืชนั้นไปพืชจะไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรการดำรงชีพได้
2.อาการขาดธาตุนั้นของพืชจะแสดงออกเป็นลักษณะเฉพาะ ซึ่งป้องกันหรือแก้ไขอาการขาดโดยให้ธาตุอาหารพืชที่ขาดในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น ไม่มีธาตุอาหารอื่นใดเข้ามาแก้ไขทดแทนได้
3.ธาตุอาหารพืชนั้นต้องมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง มิใช่เพียงแต่ช่วยแก้ไขความไม่เหมาะสมของสภาพทางเคมี หรือด้านอื่นของดินหรือวัสดุปลูก
ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มี 17 ธาตุแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1.ธาตุอาหารมหัพภาค หรือมหธาตุ (macronutrients หรือ major elements) หมายถึง ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก มี 9 ธาตุ แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่

1.1 ธาตุอาหารที่ได้จากอากาศและน้ำ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งจะปรากฏเป็นรูปสารประกอบ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกซิเจน (O2) จากอากาศ และน้ำ (H2 O) โดยจะถูกใบพืชที่มีสีเขียวและรากพืชดูดซึมมาใช้ในการสังเคราะห์แสงที่ใบ ผลิตเป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากพืชได้รับธาตุอาหารเหล่านี้จากอากาศและน้ำ

1.2 ธาตุอาหารหลัก คือธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก และดินที่ใช้เพาะปลูกมักจะขาดธาตุเหล่านี้ มี 3 ธาตุ คือ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปัจจุบัน พบได้ในปุ๋ยเคมมี สูตรต่างๆ เช่นถ้าเน้นธาตุไนไตรเจน ก็จะมักมาในรูปแบบ ปุ๋ยยูเรีย

1.3 ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากเช่นกัน แต่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก มี 3 ธาตุ คือ ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ในดินเพาะปลูกพืชส่วนใหญ่มีเพียงพอ แต่ปัจจุบันมีปัญหาขาดแคลนธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

2. ธาตุอาหารเสริม หรือธาตุอาหารจุลธาตุ (micronutrients elements) เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดพืชไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิตของพืชได้ มี 8 ธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน และนิกเกิล ปริมาณธาตุที่พบในดินหรือในพืชจึงแสดงความเข้มข้นในหน่วยเป็นส่วนต่อล้าน (พีพีเอ็ม : ppm) โดยนิกเกิลเป็นธาตุสุดท้ายที่ผ่านการพิสูจน์ว่าเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อปี พ.ศ.2530 แต่ในพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2550 ยังไม่ระบุนิกเกิลเป็นธาตุอาหารเสริม นอกจากนี้ยังมีธาตุอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อพืชบางชนิดเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต แต่ไม่ใช่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีผลทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของข้าว คือจะช่วยส่งเสริมให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่ล้ม และยากต่อการทำลายของโรคและแมลง ส่วนธาตุโคบอลต์ จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน พืชตระกูลถั่วบางชนิดต้องการโคบอลต์เพื่อส่งเสริมให้แบคทีเรียที่อาศัยในปมรากตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ดีขึ้น เนื่องจากโคบอลต์เป็นส่วนประกอบของ วิตามินบี12 ซึ่งแบคทีเรียต้องการ

 

ปัจจุบัน กลุ่มธาตุอาหารดังกล่าว นั้นได้มาจาก ปุ๋ยเคมี ในรูปแบบต่างๆ เช่น เม็ด น้ำ หรือเกล็ด เป็นต้น

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-