Tag Archives: ปุ๋ย

C/N ratio สำคัญอย่างไร กับผลไม้ ข้าว และ พืชหัว???

C/N ratio สำคัญอย่างไร กับผลไม้ ข้าว และ พืชหัว???

ค่า C/N ratio มีความสำคัญเพราะ สามารถบอกได้ว่า พืชจะเจริญเติบโตไปเป็นแบบใด ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 กรณีในข้าว:  หากข้าว ในระยะหลังแตกกอ จะเป็นระยะที่ข้าวเริ่มสะสมอาหารทางใบ และเมื่อข้าวสะสมทางใบสมบูรณ์ ต้นข้าวจะเริ่มออกร่วง และนำสารอาหาร (น้ำตาลที่สะสมในใบ) ไปสะสมไว้ที่เมล็ด แต่ถ้าค่า C/N ผิดเพี้ยนไป ข้าวก็จะ ทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปด้วย เช่น ถ้ามีไนโตรเจนมากในระยะ ทำรวง ข้าวก็จะเกิดอาหารบ้าใบ เพราะมี ไนโตรเจน สูงกว่า น้ำตาล ส่วนที่ควบคุมการเจริญเติบโตในข้าวก็จะไปสั่งให้ข้าว แตกใบเพื่อสะสมอาหารให้ได้ค่ามากกว่าไนโตรเจน  เป็นต้น

 

เราจะควบคุม C/N ratio ได้อย่างไร

  1. ใส่ปุ๋ยและ ธาตุอาหารให้ถูกจังหวะ เช่น ระยะฟื้นต้น ทำใบ พืชอายุน้อย ไนโตรเจนสำคัญต่อการสร้างใบ แตกใบ แตกกิ่ง แต่เมื่อต้องการให้พืชออกดอก อาจจะต้องปรับสูตร ปุ๋ยไปใช้ปุ๋ยที่มี ค่า P และ K เพื่อส่งเสริมการสร้างเงื่อนไขการเกิดดอก และลด ปริมาณ N ในเนื้อเยื่อ
  2. ใช้วิธีทางอ้อม ควบคู่กับการให้สารอาหาร ได้แก่ การให้สารเคมีที่มีฤทธิ์ควบคุมการเจริญเติบโต ตัวอย่างเช่น สารแพคโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของยอด และราก ทำให้พืช
  3. เติมคาร์บอนเข้าสู่ เซลล์ ได้แก่ การพ่นน้ำตาลทางด่วน การให้อะมิโนบางชนิดที่มีองค์ประกอบของ คาร์บอน ซึมเข้าเนื้อเยื่อพืช เพื่อเพิ่มค่า C/N ratio

 

อัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจน (C:N ratio)

อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการขยายความและสรุป อัตราส่วน C/N ratio ที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืชเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของเกษตรกร  (เนื่องจาก ค่า C/N ratio นั้น สามารถนำไปใช้คำนวณหาคุณภาพของปุ๋ยเคมี ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่ วัดในเนื้อเยื่อพืช กับวัดที่ปุ๋ยอินทรีย์)

ค่า C/N ratio แปลเป็นภาษาไทยคือ อัตราส่วนของ ปริมาณธาตุคาร์บอนหารด้วยปริมาณไนโตรเจนในเนื้อเยื่อพืชที่เราสนใจ     ซึ่งตัว คาร์บอนที่กล่าวนี้มันก็คือ น้ำตาลที่สะสมในใบพืชนั่นเอง (เพราะน้ำตาลที่พืชสะสมในเนื้อเยื่อ ส่วนมากเป็น กลูโคส (glucose) ซูโครส (sucrose) แมนโนส (mannose) และฟรุคโตส (fructose) ซึ่งมีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงวัดแค่ คาร์บอน ก็จะนำไปคำนวณเป็นค่าน้ำตาลในเนื้อเยื่อได้ ในการวิเคราะห์เบื้องต้นไม่จำเป็นต้องวัด H และ O)

จากที่กล่าวมาข้างต้นถ้าจะเอาให้เข้าใจง่ายๆ ค่า C/N ratio เป็นภาษา คนทั่วไปเข้าใจก็คือ

 

ค่า C/N ratio คือ                 ค่าปริมาณน้ำตาลที่วัดได้ในใบพืช หารด้วย ค่าปริมาณไนโตรเจนในใบพืช นั่นเอง

(ความจริงค่า C/N ratio ไม่จำเป็นต้องวัดที่ใบอย่างเดียว เพราะสามารถวัดที่เนื้อเยื่ออื่นด้วย แต่สำหรับพืช ให้ผล หรือ พืชสะสมแป้ง วิธีวัดที่ใบ เป็นวิธีที่นิยม เพราะพืชมักสะสมอาหารไว้ที่ใบ และง่ายต่อการตรวจวัด)

ผ่านวิกฤตภัยแล้ง..ด้วยไร่เทพ

ลุงพงษ์ นิลพัฒน์  เป็นเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก มีแปลงนามากกว่า 100 ไร่ ทำนามาตลอดชีวิต  อาศัยอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุงพงษ์ เล่าว่า หลังจากหว่านข้าวไปเจอวิกฤตภัยแล้ง

ถึงขนาดที่ว่าน้ำในคลองก็ไม่มีให้วิดมาใช้ ลุงเลยตัดสินใจฉีดพ่นไร่เทพเพิ่มอีก 2 รอบ เพื่อให้ไร่เทพไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช ส่งผลให้พืชสามารถเจริญเติบโตต่อได้  และไร่เทพนอกจากจะช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ไม่ปกติแล้ว ยังช่วยทำให้ดินมีความอุ้มน้ำ ร่วนซุยไม่แข็งกระด้างอีกด้วย ในขณะที่แปลงนาข้างๆ ต้นข้าวล้มตายเกิดความเสียหายอย่างมาก แต่แปลงนาลุงได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีนำไปขายโรงสีได้ราคาดีด้วย

เคล็ดลับขั้นเทพ .. นาลุงจะมีนกเยอะมากมากินข้าวเปลือกตอนหว่านข้าวปลูกข้าว ดังนั้นลุงใช้วิธีการหว่านเผื่อให้นกด้วยกล่าวคือ หว่านข้าวในจำนวนที่มากขึ้นถึงแม้จะมีนกกินข้าวไปก็จะยังเหลือข้าวที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นต้นข้าวได้ ทำให้ไม่มีปัญหานกกินข้าวหมด

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

ดินดีขั้นเทพ ปลูกอะไรก็ขึ้น

ดินที่ดี คือ เป็นดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแลตามปกติ ซึ่งจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีปฏิกิริยาดินใกล้เป็นกลางมีค่า pH ในช่วง 5.5-7.0 และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช

องค์ประกอบดินที่ คือ น้ำ 25% อากาศ 25% อินทรียวัตถุ 5% และแร่ธาตุ 45%
ดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน ที่ช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีดินที่ไปช่วยช่วยสลายซากพืช ซากสัตว์ให้เกิดเป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของดีที่ดี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

วิธีการปรับปรุงบำรุงดินแบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
1.การปรับปรุงดินทางกายภาพ คือ การปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นต้น
2. การปรับปรุงบำรุงดินทางด้านเคมี คือ การปรับสภาพทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอ
3. การปรับปรุงบำรุงดินด้านชีวภาพ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ, ใช้ระบบพืชคลุมดิน, ใช้ระบบพืชเหลื่อมฤดู หรือ ใช้การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน เป็นต้น

และเมื่อเราได้ดินที่ดีแล้ว ต้นทุนในการใช้ปุ๋ยก็ลดลงการใช้สารเคมีในการดูแลก็ลดลง เมื่อต้นทุนลดลงและรายได้เพิ่มมากขึ้น

จ่ายแพงไปทำไม??

ของใช้ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป อยากให้เกษตรกรได้ใช้ของดีที่มีราคาไม่แพง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ที่เมื่อวิเคราะห์ราคากับปริมาณที่ใช้ จะเห็นได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม เพราะราคาที่จ่ายไปกับผลลัพธ์ที่ได้กลับมารับประกันได้เลย การันตีด้วยยอดลูกค้าที่อยู่กับเรายาวนานกว่า 10 ปี

หากท่านกำลังเจอปัญหาพืชเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง พืชขาดธาตุอาหาร ดินเสีย ดินเค็ม ดินแข็ง ไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก รวมถึงปัญหาที่ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรเหล่านี้จะหมดไป หากเกษตรกรหันมาให้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ไร่เทพ อาหารเสริมพืช จะช่วยให้พืชโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ลูกดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง น้ำหนักดี มีคุณภาพดี

โล่เขียว จะช่วยให้พืชเขียวทน เขียวนาน ต้านทานโรคและแมลง และช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ดินเทพ เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ไร้สารตกค้าง ช่วยให้ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก และยังสามารถใช้แทนสารจับใบได้ ช่วยให้สารแผ่กระจายทั่วใบและพืชนำไปใช้ได้เลย

 

ราคาไม่แพง .. หากต้องการผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ไร่เทพ 1 ซอง ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

โล่เขียว 1 ขวด (1000ml.) ฉีดพ่นได้ 15 ไร่

ดินเทพ 1 ขวด (500ml.) ฉีดพ่นได้ 12 ไร่

 

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว…กับการให้ปุ๋ยทางใบ

การทำนาสามารถทำได้ทั้งปีไม่ว่าจะเป็นนาปรังหรือนาปี

เริ่มจากการเตรียมดิน แนะนำให้ใช้ “ดินเทพ” ทั้งตอนไถดะ ไถแปร และไถคราด โดยทุกการไถให้ใช้ ดินเทพ 40 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นทางดินควบคู่ไปด้วย ซึ่งดินเทพจะเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการย่อยสลายได้เร็วขึ้น เพิ่มธาตุอาหารในดิน เป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในดิน และที่สำคัญไปช่วยในการปรับโครงสร้างดินให้เมาะสมแก่การเพาะปลูก ทำให้ ดินฟู ร่วนซุย ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง

ในระหว่างที่ข้าวอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตให้ใช้ “ไร่เทพ” และ “โล่เขียว” บำรุงต้น และช่วยฟื้นฟูหากข้าวได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง หรือถูกทำลายจากโรคและแมลงศัตรูพืช  อัตราส่วนการใช้ ไร่เทพ 1 ซองต่อน้ำ 100 ลิตร และ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

 

ข้อดีของปุ๋ยทางใบ

1.ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

2.ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆได้ดี

3.ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินทราย ดินเปรี้ยว

4.พืชสามารถดูดธาตุอาหารทางใบได้มากกว่าและเร็วกว่าการดูดทางราก

5.ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงักเนื่องจากการกระทบภัยแล้ง หรือถูกโรคและแมลงทำลาย

6.ปุ๋ยน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่า

7.ง่ายต่อการใช้งานและขนส่ง

 

 

7 เคล็ดลับขั้นเทพ ทำนาให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ประชากรส่วนใหญ่ของสังคมไทยปลูกข้าวทำนาเป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่โบราณ เราจึงขอแนะนำเคล็ดลับขั้นเทพ ทำนาให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ เพื่อประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถนำแนวทางในการปฏิบัติในทุกๆขั้นตอนของการทำนาได้ (อ่านต่อด้านล่าง)

1.ดินดี คือ ดินที่เหมาะต่อการเพาะปลูก ซึ่งการเตรียมดินจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะดินเป็นปัจจัยหลักของธาตุอาหารสำหรับข้าว แนะนำให้ใช้ “ดินเทพ” ในการปรับโครงสร้างดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก และการไม่เผาฟางจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะการเผาฟางจะทำลายสภาพดิน เคล็ดลับขั้นเทพแนะทำให้ใช้ดินเทพช่วยเร่งการสลายตอซังข้าว ช่วยสร้างธาตุในดิน ดินดี ร่วนซุย ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง

2.เมล็ดพันธุ์ดี คือ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี และใช้ “ไร่เทพ” ผสมกับ “ดินเทพ” แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนหว่านจะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก และช่วยลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ มีอัตราการใช้ดังนี้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

3.ปุ๋ยดี คือ ต้องมีการให้ปุ๋ยทางใบ “โล่เขียว” ช่วยพืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมยังทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมะสม ทนต่อโรคและแมลง และให้ปุ๋ยทางดินไปพร้อมกันด้วย

4.บำรุงดี คือ การบำรุงด้วยอาหารเสริมพืช “ตราไร่เทพ” จะทำให้ช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ระบบรากเดินดี ลำล้นแข็งแรง และมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ แนะนำให้ใช้ไร่เทพผสมดินเทพ (สารจับใบ) ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 10-15 วัน

5.น้ำดี คือ การจัดการน้ำอย่างเหมาะสม การนำน้ำเข้า-ออกนา ตามระยะของข้าว โดยให้เอาน้ำเข้าก่อนตีดิน หลังทำเทือกเสร็จแล้วให้ระบายน้ำออกให้ดินแห้งแบบหมาดๆแล้วจึงหว่านข้าว และปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ

6.การดูแลดี คือการดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต เพราะเนื่องด้วยในปัจจุบันจะมีโรคพืชโรคแมลงที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้การดูแลแปลงนาต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อเวลานั้นๆ

7.การเก็บเกี่ยวดี คือ ควรเก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม โดยการเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง คือระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวที่นับจากวันที่ข้าวออกดอกไปแล้ว 28-30 วัน และเก็บเกี่ยวในสภาพที่นาแห้ง หรืออย่างน้อยก็ไม่มีน้ำขังในนาจะช่วยลดการสูญเสียผลผลิตจากข้าวที่ร่วงระหว่างการเก็บเกี่ยวได้ 20%

 

   

เคล็ดลับแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว

วันนี้ขอแนะนำเคล็ดลับการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนที่จะหว่านลงแปลงนา ด้วยวิธีง่ายๆ “เคล็ดลับไร่เทพ” ซึ่งประโยชน์ของการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงขึ้น ทำให้งอกได้ไว ลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ข้าวออกสม่ำเสมอ ทำให้ข้าวมีรากมากขึ้น ทำให้มีการเจริญเติบโตได้ดี และข้าวแตกกอดี โตได้อย่างสมบูรณ์

การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพสูงจะช่วยบำรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวจนกระทั่งงอกเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ซึ่งเคล็ดลับนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าวเลย

อัตราการใช้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

ไม่ต้องกังวล .. น้ำท่วมนาแต่ข้าวไม่ตาย

ตอนนี้ประเทศไทยตอนบนพบกับวิกฤตน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากมาเร็วและหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เกิดความเสียหายในพื้นที่จังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ตาก เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา และ สุโขทัย ซึ่งส่งผลต่อภาคการเกษตรด้วย ดังนั้นในพื้นที่ที่น้ำจะไหลผ่านลงสู่ทะเลอ่าวไทย เกษตรกรควรมีการเตรียมรับมือกับมวลน้ำจำนวนมาก

 

เราไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำได้แต่เราสามารถที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวช่วยได้ กล่าวคือตัวช่วยให้พืชสามารถทนได้กว่าปกติในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต แต่พืชจะสามารถเติบโตให้สามารถให้ผลผลิตได้ และฟื้นตัวได้ไวหากสามารถรีบระบายน้ำออกได้ทันเวลา

 

 

โล่เขียว มีส่วนผสมของแมกนีเซียมกับสังกะสี จะช่วยทำให้พืชเขียวทน เขียวนาน ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งจะช่วยพืชทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี

ไร่เทพ จะช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้พืชนำสารอาหารไปใช้ได้ทันที ส่งผลให้เพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำหนัก และมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ที่สำคัญช่วยฟื้นฟูได้ดี

ดินเทพ ในกรณีใช้เป็นสารจับใบเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไร่เทพกับโล่เขียว

 

 

อัตราการใช้

โล่เขียว 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร

ดินเทพ 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

สามารถผสมกันแล้วฉีดพ่นทางใบ เป็นละอองไปเกาะไม่ต้องจี้ ฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า หรือหลัง 5 โมงเย็น

เจ้าของสวนชื่นใจ “อินทผลัม” 1 ต้น 12 จั่น ลูกดก รสชาติดี ขายได้กำไร

อินทผลัม เป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง และเกษตรกรกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีการปลูกมากขึ้น เนื่องจากปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ในระยะยาว ให้ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญเป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง

อินทผลัม มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความเมื่อยล้า ช่วยดับความหนาวเย็น ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน จึงช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองด้วย

วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกอินทผลัม นั่นคือ คุณนุช หรือคุณวรนุช พันธุ์ศิริ เป็นชาวตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเจ้าของสวนอินทผลัม 3 เจ ฟาร์ม เป็นเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถปลูกอินทผลัมได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เพราะใส่ใจในทุกๆขั้นตอนการผลิต เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน โดยมีการวัดค่า pH ของดิน และใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดินให้ดินที่สมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพราะปลูก (ใช้ร่วมกับปุ๋ยมูลสัตว์) จากนั้นบำรุงธาตุอาหารให้กับพืชตรงจุดตามความต้องการของพืชด้วยไร่เทพและโล่เขียว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกอินทผลัมให้ได้ผลผลิตที่สูง เจ้าของสวนชื่นใจ

การเตรียมดินใช้ดินเทพ อัตราส่วน ดินเทพ 40 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร รดที่โคนต้น (ใช้ร่วมกับมูลสัตว์)

การบำรุงด้วยไร่เทพและโล่เขียว อัตราส่วน
ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร

เคล็ดลับเพิ่มผลผลิต “มันสำปะหลัง”

มันสำปะหลังจัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เกษตรกรในหลายพื้นที่สร้างรายได้จากการปลูกมันสำปะหลัง และในอนาคตคาดว่าความต้องการณ์ใช้มันสำปะหลังในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการนำมันสำปะหลังมาผลิตในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน จึงส่งผลให้เกษตรกรใส่ใจกับการปลูกมันสำปะหลังให้มีคุณภาพและปริมาณสูง

      การใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงการเก็บเก็บผลผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลัง ไร่เทพมีเคล็ดลับเพิ่มผลผลิตในการปลูกมันสำปะหลังให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่สูงได้

ในขั้นตอนก่อนปลูก การเตรียมดินให้มีความสมบูรณ์ก่อนปลูกด้วย “ดินเทพ” สารปรับโครงสร้างดินที่เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ทั้งมีความปลอดภัยไม่ทิ้งสารตกค้าง อัตราการใช้ ดินเทพ 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 50 ลิตร

การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย “ไร่เทพและโล่เขียว” จะช่วยเร่งการแตกราก กักตุนอาหารตั้งแต่เริ่มปลูก โดยสูตรแช่ท่อนพันธุ์แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  • 1.กรณีแช่ 3-5 ชั่วโมงก่อนปลูก คือ ไร่เทพ 2-4 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตรและโล่เขียว 80-100 ซีซี
  • 2.กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 24 ชม.) คือ ไร่เทพ 1-2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร และ โล่เขียว 50 ซีซี

ต่อมาในช่วง 14-60 วัน ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

ตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ให้ฉีดพ่น ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร กับ โล่เขียว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และดินเทพ (กรณีใช้เป็นสารจับใบ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
**ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน**

หมายเหตุ ฉีดพ่นทางใบเป็นละออง ไม่ต้องจี้ ควรฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า และหลัง 5 โมงเย็น

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ช่วงนี้เพลี้ยไฟระบาดลงแปลงนาเป็นจำนวนมาก จัดได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องพบเจอ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ฝนที่ทิ้งช่วงยาวนาน รวมทั้งการหนีตายจากแปลงใกล้เคียง

แต่หากเจอเพลี้ยไฟแล้ว ทำไงดี?
ปัญหานี้ตอบได้จากประสบการณ์จริงของแปลงนาผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ กล่าวคือ นาข้าว 50 ไร่ แปลงนี้ มีอายุ 15 วัน ได้ฉีดผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ รอบแรกในอัตราการใช้ดังนี้ ไร่เทพ 12 ซอง ดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) และโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา ส่วนนี้จะทำให้ข้าวได้รากอย่างสมบูรณ์และต้นแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตไปในระยะต่อไป

แต่พอข้าวอายุ 20 วัน เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยไฟในพื้นที่ซึ่งทางเราไม่ได้ฉีดป้องไว้ก่อน เนื่องด้วยไร่เทพมีคุณสมบัติพิเศษที่มีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ในช่วงแรกเพลี้ยไฟยังไม่มาลงแปลงมาจะเห็นว่าเมื่อเทียบกับแปลงนาข้างๆ แปลงนาที่ไม่ได้ใช้ไร่เทพเพลี้ยลงใบข้าวมีสีเขียวอ่อน ซึ่งแตกต่างกับแปลงนาที่ใช้ไร่เทพอย่างชัดเจน แต่เมื่อแปลงนาข้างๆมีการฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยไฟแล้วนั้น ทำให้เพลี้ยไฟเหล่านั้นหนีตายมาแปลงข้างๆ เกิดความเสียหายจากการโดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นข้าวเกิดปลายใบไหม้ ข้าวมีอาการเหลือง แต่เมื่อเทียบอาการเพลี้ยลงแปลงนากับแปลงนาที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ แล้วพบว่าแปลงนาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ มีสีเหลืองที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเจอเพลี้ยไฟหนีตามาลงแปลงนา จึงฉีดพ่นยากำจัดเพลี้ยไฟร่วมกับผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ อัตราการใช้ไร่เทพ 10 ซอง ผสมโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) และดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา

หลังการฉีดพ่น 3 วัน เห็นได้ว่า ข้าวมีการฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้อย่างรวดเร็ว จากที่ต้นข้าวที่มีสีอมเหลืองและใบมีอาการโค้งงอ ปลายใบไหม้ ตอนนี้ต้นข้าวกลับมามีความเขียวสด ต้นข้าวยืดตรงไม่โค้งงอ ระบบรากมีความสมบูรณ์ รากเยอะ รากขาวดูสะอาดไม่เป็นโรค และพร้อมจะยึดเกาะดินที่ร่วนซุยพยุงต้นให้เติบโตต่อไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าแปลงนาข้าวจะเกิดปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นถูกแก้ไขได้ถูกวิธีและรวดเร็วปัญหาเหล่านั่นก็จะหมดไป

#ไร่เทพ #ดินเทพ #โล่เขียว #เพลี้ยไฟ #นาข้าว #เกษตรกร

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ เห็นความสำคัญในการให้โอกาส และการศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิตให้หลุดพ้นจากความจนได้ เนื่องจากปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม เด็กและเยาวชนหลายๆ คนกลายเป็นเด็กด้อยโอกาส ทำให้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณเชอรี่จึงได้มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กๆ พื้นที่ห่างไกล และขาดแคลน ผ่านมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการ “ส่งเสริมการศึกษาให้สว่างไสว สร้างอนาคตที่สดใสให้น้อง” และร่วมบริจาคและจุดไฟแห่งปัญญาให้แก่เด็กๆ เพื่อให้อนาคตของพวกเขาส่องสว่าง และพร้อมส่งต่อสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม โดยพร้อมเป็นแรงสนับสนุนที่จะช่วย “จุดประกายความรู้ สู่พัฒนาการสมวัย” ของเด็กยากไร้ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณเชอรี่ ได้มีการมอบทุนการศึกษานี้อย่างต่อเนื่องและตั้งใจจะทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน

 

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เตือนผู้ปลูกทุเรียน เฝ้าระวังหนอนเจาะผลทุเรียน ศัตรูพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่ทุเรียน
การระบาดของศัตรูพืชทำให้ผลผลิตทุเรียนลดลง และคุณภาพของผลผลิตต่ำ แมลงและไร ศัตรูพืชที่สำคัญและทำความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ทุเรียน
โดยหนอนเจาะผลทุเรียนมักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ต้นทุเรียนอยู่ในระยะติดผล
เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบการเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก
อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ
การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา
ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน
และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่บริเวณรอยสัมผัสนี้

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

    1. หมั่นตรวจดูผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
    2. ผลทุเรียนที่ถูกหนอนเจาะ ควรทำลายโดยการเผาไฟหรือฝัง
    3. ไร่เทพ เป็นอาหารทางใบที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ช่วยป้องกันแมลงได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังไปช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซม และช่วยเพิ่มผลผลิตด้วย และปุ๋ยโล่เขียว จะช่วยทำให้ผลและใบสมบูรณ์ ใบใหญ่ เขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ผลไม่โทรมและยังช่วยให้ทนต่อโรคได้ดียิ่งขึ้น ส่วนดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน มีอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในดิน จึงช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และช่วยส่งเสริมการสร้างธาตุอาหารในดิน อีกทั้งใช้แทนสารจับใบ ทำให้ไร่เทพและปุ๋ยโล่เขียวมีประสิทธิภาพมากขึ้น (อัตราการใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ผสมปุ๋ยโล่เขียว 100 มิลลิลิตร และผสมดินเทพ 10 มิลลิลิตร)
    4. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป ควรตัดแต่งผลไม่ให้ติดกัน และใช้ใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย สามารถลดการทำลายของหนอนเจาะผลได้
    5. การห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
    6. หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล

 

หมายเหตุ การผลิตทุเรียนส่งออกควรจัดการตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) กรณีการใช้สารเคมีควรใช้อัตราตามฉลาก และเกษตรกรควรทิ้งช่วงก่อนเก็บเกี่ยวหลังจากการพ่นสารครั้งสุดท้ายแล้วอย่างน้อย 7 วัน

 

     

 

 

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

             

                  หลังฤดูการเก็บเกี่ยวก่อนที่จะเข้าหน้าฝนที่เป็นฤดูการปลูกข้าวของเกษตรกร ด้วยหลายๆปัจจัยจึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถเผาฟางได้ วิธีการย่อยสลายตอซังจึงเป็นวิธีที่นิยมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่วิธีการนี้ต้องอาศัยเวลาในการย่อยสลายเพื่อให้อินทรียวัตถุในดินได้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์และเกิดแร่ธาตุอาหารในดินสำหรับการปลูกข้าวครั้งใหม่ได้ แต่ถ้าการย่อยสลายฟางข้าวไม่สมบูรณ์และเริ่มการปลูกข้าวครั้ง ใหม่ทันที ข้าวจะไม่โตและตายในที่สุด ดังนั้นการมีสารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซัง นับเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

“การทำนาโดยไม่เผาตอซังและฟางข้าว มีผลดี คือ รักษาโครงสร้างของดินให้คงสภาพร่วนซุยไม่แข็งกระด้าง ลดปัญหามลพิษทางอากาศ และลดการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญของพืชไม่สูญเสียไป”

ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาฟาง

1.ฝุ่น PM2.5 : ทำให้เกิดฝฝุ่น ควันและก๊าซพิษ “อันตรายถึงชีวิต”

2.ทําให้พื้นที่เพาะปลูกเสื่อมโทรมทำลายบอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินต้องใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดิน “พืชจะอ่อนแอ”

3.ทำลายธาตุอาหารในดิน ทำลายอินทรียวัตถุในดิน สูญเสียธาตุอาหารจากฟาง “ดินมีธาตุอาหารต่ำ”

4.ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น : ธาตุอาหารจะละลายให้พืชดูดกินได้น้อยลง “พืชจะขาดธาตุอาหาร”

5.ทำลายสิ่งมีชีวิต ที่มีประโยชน์ในดิน “ผลผลิตลด”

ฟางข้าวที่อยู่ในนานั้นสามารถเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ย เพราะฟางข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงมากเป็นประโยชน์ต่อดิน โดยมีวิธีการทำดังนี้

  1. นำฟางมาหมักกลบกับดิน แล้วใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย “ดินเทพ” เข้าไป
  2. การใส่จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายโดยใช้สารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” หรือจะหมักเองจากจุลินทรีย์หน่อกล้วยก็ได้ เพราะในหน่อกล้วยมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่โคนกล้วยอยู่แล้วเพราะมีความชื้น จุลินทรีย์ชอบเกาะกลุ่มอยู่ ก็นำมาขยายเชื้อ โดยการใช้กากน้ำตาลผสมกับหน่อกล้วยสับ แล้วก็หมักทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นก็นำมาบีบให้เกิดหัวเชื้อ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย หลังจากนั้นก็นำไปใส่กับน้ำเปล่าแล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คนทุกวัน ทิ้งไว้ประมาณ 5 วัน แล้วก็นำไปปล่อยในแปลงนา
  3. เวลานำไปปล่อยในแปลงนา คนปล่อยไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในนา เพราะเราต้องปล่อยน้ำเข้านาอยู่แล้ว ให้หยด “ดินเทพ” ลงทางเข้าประตูน้ำ เพราะน้ำไปถึงไหนตัวดินเทพก็วิ่งตามไปถึงนั่นเหมือนกัน หรือสามารถเจาะขวด “ดินเทพ” และผูกไปกับท้ายรถตี โดยไม่จำเป็นต้องเดินให้เหนื่อย นี่เป็นเทคนิคง่ายๆ
  4. อัตราส่วนการใช้ดินเทพ 1 ขวด (500 มิลลิลิตร) ใช้ได้ 10-12 ไร่ หรือยิ่งใส่มากก็ยิ่งสลายเร็ว โดยดินเทพจะไปย่อยสลายฟาง เศษวัสดุต่างๆ ที่อยู่ในนาที่เป็นอินทรียวัตถุให้ดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ควรหมักไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน เพื่อให้คายก๊าซ เพราะในฟางข้าวเกิดการทับถมกันอยู่ในดิน จะเกิดก๊าซ มีความร้อน ถ้าก๊าซคายไม่หมดจะทำให้ข้าวต้นเหลืองแห้ง ถ้าเราหว่านข้าวไปแล้วก๊าซไม่หมดแล้วต้นข้าวเหลือง ให้แก้โดยวิธีปล่อยน้ำออกให้แห้ง ให้ดินแตกเป็นหัวระแหงออกมา ให้อากาศเข้าไปถ่ายเทดูดก๊าซออกมาได้ นี่คือวิธีง่ายๆ

 

 

 

 

“การหมักฟางจะทำให้เราประหยัดต้นทุน โดยจะได้ทั้งฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารฟอสฟอรัสจะช่วยในการทำให้ข้าวแข็งแรง และป้องกันโรค ส่วนโพแทสเซียมจะช่วยในการสร้างรวง และสร้างแป้งให้ข้าว ซึ่งสองแร่ธาตุนี้มีอยู่แล้วในฟางข้าว เขาจึงใช้ฟางข้าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

#ดินเทพ #ดินฟู #ร่วนซุย #ปลอดภัย #ไร้สารตกค้าง

ไร่เทพปันน้ำใจบางปลาม้า

ไร่เทพปันน้ำใจ 💚 วันที่ 28 เมษายน 2567

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริชเชอร์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ปุ๋ย ตราไร่เทพ และคณะ ได้บริจาค เตียงผู้ป่วย 2 เตียง , รถเข็นผู้ป่วย 4 คัน จำนวนเงิน 80,000 บาท ให้กับทางโรงพยาบาลบางประม้า จ.สุพรรณบุรี เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ส่งเสริมทางโรงพยาบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม ในโครงการไร่เทพปันน้ำใจ
#ไร่เทพปันน้ำใจ

 

https://www.facebook.com/raithepnano/?locale=th_TH

แตงกวาพืชทนแล้ง

แตงกวาพืชทนร้อน

แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูกแตงกวากับพืชอื่น ๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืช หนึ่งที่สามารถทํารายได้ดีทีเดียว สําหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถนําไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนําไปแกงจืด ผัด จิ้มนํ้าพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่า แตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

แตงกวามีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3,000 ปีและมีการปลูกในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนําผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือ ของทวีปแอฟริกาในศตวรรษที่ 6 ได้นําไปปลูกในประเทศจีนโดยสันนิษฐานว่าได้นําเข้าประเทศจีนสองทาง คือเส้นทางสายไหมโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในตวรรษที่ 9-14 ได้นําไปปลูกในทวีปยุโรปและได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นําไปปลูกในทวีปอเมริกา กลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีจํานวนโครโมโซม2n=14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียวเถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจํานวนมากรากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร ลําต้นเป็นเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออกมา ตามข้อโดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้นใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็น ดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุมใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจนส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสร ดอกจะหุบตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วงแสงและอุณหภูมิ กล่าวคือจะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ในสภาพช่วงแสงสั้น และมีอุณหภูมิกลางคืนตํ่าซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผลและในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม้มีไส้เนื้อกรอบ และนํ้าหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสด-แปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดํา สีหนามสีขาว แดง นํ้าตาล และดํา

การจำแนกแตงกวา


แตงกวาสามารถจําแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้ 1. พันธุ์สําหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผล มีนํ้ามากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่ หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนําไปดอง แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น 1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้าน ซึ่งมีความยาวผลอย่าง น้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือ ขาวและเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้นจะมีสีเขียวเข้มสมํ่าเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนําไปดองจะคงรูปร่างได้ดีไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่ง แบ่งตามขนาดได้ดังนี้ 2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมี ความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความ กว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้นๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโต ได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สําหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการนํ้ามากแต่ขาดนํ้าไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดีควรมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ใน สภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัดจําเป็นต้องปรับปรุงบํารุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้นควรจะวิเคราะห์หาค่ากรด-ด่าง ก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน

เยี่ยมชมเว็บไซต์

ก่อนการปลูกแตงกวาทําการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทําลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรียลงไปปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกําหนด ระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สําหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางพื้นที่อาจใช้พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลง ไม่ให้เข้ามาทําลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์

ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์นับว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญในการปลูกแตงกวาซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือมีการบรรจุหีบห่อเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศจากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมีเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทําการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากันแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสําหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทําการบ่มเมล็ด โดยนําเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ผสมอัตรา 5 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อ ทําลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนํามาแช่นํ้า 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบนํ้าหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นบ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตรจึงนําไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นําเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จํานวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร การดูแลรักษากล้าหลังจากหยอดเมล็ดแล้วให้นํ้าทันทีโดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทําได้ ปริมาณนํ้าที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อนควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้นํ้าทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไป เมื่อแตงกวาเริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของ ต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกําจัดโดยเร็วและเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบจะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก
5. การเพาะกล้าในถาดเพาะ
ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า “ มีเดีย , พีทมอส ” แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูงมีราคาแพงทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสมดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว

 

การปลูก  

 วิธีการปลูกแตงกวานั้นพบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ดหากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้วจะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จําเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อนจึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่นประหยัดเมล็ดพันธุ์ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้าเป็นต้น

สําหรับการย้ายกล้าปลูกนั้นให้ดําเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้วและเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กําหนด จากนั้นนําต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กําหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทําให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้นํ้า

หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้นํ้าทันทีระบบการให้นํ้านั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้นํ้าตามร่องเพราะว่าจะไม่ทําให้ลําต้นและใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้นํ้าในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้นํ้าให้นานขึ้น ข้อควรคํานึงสําหรับการให้นํ้านั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สมํ่าเสมอตลอดแปลงและตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทําให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้นอาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 10-10-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตรา ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15- 15-15 หรือ 10-10-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

 

แมลงศัตรูแตงกวา


ในแตงกวานั้นมีศัตรูที่ทําลายแตงกวาแบ่งได้คือแมลงศัตรูแตงแตงกวานั้นเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีแมลงศัตรูเข้าทําลายมาก และที่พบบ่อยและทําความเสียหายกับแตงกวามากได้แก่
1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola) ลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอกและผลอ่อน
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทําให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทางระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสําคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกําจัด ให้นํ้าเพิ่มความชื้นในแปลงปลูกโดยให้นํ้าเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้ ใช้สารฆ่าแมลง คือ พอสซ์ เมซูโรล ไดคาร์โซล ออลคอล อีมาเม็กตินเบนโซเอต เป็นต้น
2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii) ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลําตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลําตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดําและมีปีก
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทําให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนําไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า โดยมีมดเป็นตัวนําหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ
3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.) ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทําให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทําลาย ร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีกําจัดไร ได้แก่ ไพริดาเบน โพรพาไกด์ อามีทราซ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์เป็นต้น
4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดํา (Black cucurbit beetle: A. frontalis) ลักษณะเป็นแมลงปากแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดําเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนาหรือตามกอหญ้า
การทําลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตทําให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้นตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกําจัด ควรทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน็อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จีหรือคูราแทร์ 3 จีใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar:Helicoverpa armigera) ลักษณะหนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมี เส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมี ขนาดใหญ่กว่า ลําตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีนํ้าตาลดํา มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทําลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผล และเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทําลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต สไปนีโทแรม คลอแรนทานิลิโพร ทามารอน อโซดริน หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

 

โรคในแตงกวา แตงกวามีโรคที่เป็นศัตรูสําคัญ ได้แก่


1. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทําให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกนํ้าค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทําให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตําแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดํา
การป้องกันกําจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซด ก่อนปลูกหรือจะนําเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายนํ้าเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้เมื่อมีโรคระบาดในแปลง และในช่วงมีหมอกและนํ้าค้างมากควรฉีด Curzate-M8, Antrachor หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ
2. โรคใบด่าง (Mosaic) เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง
การป้องกันกําจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทําได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทําความสะอาดแปลงปลูก พร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ
3. โรคผลเน่า (Fruit rot) เชื้อสาเหตุ Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทําให้เกิดแผลก่อนจะพบมาก ในสภาพที่เย็นและชื้นกรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉํ่านํ้าเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุมกรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ็อกโทเนีย จะเป็นแผลเน่าฉํ่านํ้าบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีนํ้าตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้นบริเวณ ส่วนปลายของผลที่เน่าจะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกําจัด ทําลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ Oidium sp. ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่ เป็นหย่อมๆกระจายทั่วไปเมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทําให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น แมนโคเซป เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

 

การเก็บเกี่ยว


อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสําหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมี หนามอยู่บ้างถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนามการเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้นเพราะจะทําให้ผลผลิตทั้งหมดลดลงโดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประมาณ 1 เดือน
ที่มาข้อมูล : การปลูกแตงกวา เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, ภัสรา ชวประดิษฐ, กลุ่มพืชผักกองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงกวา


การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะต้นอ่อน (อายุ 7-14 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (อายุ 10-25 วัน : โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะดอกแรก (อายุ 25-35 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะผลอ่อน – เก็บเกี่ยว ดอกต่อเนื่อง (อายุ 40-60 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

วิธีปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตงที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย  ซึ่งมีสภาพความเป็นกรด – เป็นด่าง ประมาณ  5.0 – 7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี   แตงโมเป็นพืชที่เกษตรกรให้ความนิยมปลูก เนื่องจากใช้เวลาปลูกสั้นเพียง 60-65 วัน และพันธุ์หนัก 70-85 วัน ปลูกหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี จึงสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกแตงโมทั่วประเทศมีประมาณ 54,677 ไร่ สามารถสร้างผลผลิตมากถึง 145,000 ตัน

ฤดูปลูก : เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝน เพราะว่าในช่วงดังกล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุก จะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัด เหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดูแล้งหรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

พันธุ์แตงโมที่นิยมปลูก : ในปัจจุบันมีเกษตรกรนิยมปลูกแตงโมพันธุ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           -แตงโมพันธุ์จินตหรา  มีลักษณะผิวลายสีขาว ผลโต เนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์กินรี  มีลักษณะลายสีดำ แถบดำ ผลโตเนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลทรงกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ตอปิโด ลักษณะเปลือกเป็นสีเขียวเข้มมีลายเส้นสีดำ เนื้อสีแดงลำต้นแข็งแรง ติดผลง่ายผล ทรงยาวรี  น้ำหนักผล 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ซอนญ่า สีเขียวอ่อนสลับแถบสีเขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ทรงกลมรี เนื้อสีแดงสวย กรอบ ติดผลดี

การเตรียมดิน : แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดนํ้าได้เป็นอย่างดี ในระยะที่ต้นแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทําให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดิน ซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยทําให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็นประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจําเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดินหรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า

ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า  “ มีเดีย , พีทมอส ”  แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูง มีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสม ดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว  ** สําหรับผู้ที่เพาะเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่าถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติฉะนั้นเพื่อ ขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่น ๆ ในบ้านจะช่วยทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ

การย้ายกล้าแตงโมลงแปลงปลูก

หลังจากนำเมล็ดพันธุ์ลงถาดหลุมได้สัก 10-15 วัน ก็จะสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ โดยสังเกตจากต้นกล้าที่พร้อมจะต้องแตกยอดและออกใบจริงอย่างน้อย 2 ใบ โดยก่อนการขนย้ายถาดหลุมต้นกล้าแตงโมไปปลูกในแปลง ควรมีการงดการรดน้ำเสียก่อน ให้วัสดุปลูกแข็งเป็นก้อนเล็กน้อยเพื่อให้สะดวกตอนขนย้าย และง่ายต่อการดึงต้นกล้าออกจากถาดหลุมได้โดยง่ายถ้าเรารดน้ำให้กล้าแตงโมก่อนการย้ายปลูก เมื่อถอดออกจากหลุมจะทำให้ดินวัสดุปลูกแตกออกจากรากแตงโม ยกตัวอย่างว่า จะย้ายกล้าแตงโมปลูกในช่วงเย็นควรงดน้ำในช่วงบ่าย รดแค่ตอนเช้าครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตวัสดุปลูกของเกษตรกรอีกทีว่าควรจะงดน้ำช่วงเวลาใด โดยมีวิธีการปลูก เราก็ย้ายลงแปลงปลูกโดยให้ระยะระหว่างต้น 50-70 เซนติเมตร (ระยะขึ้นอยู่กับฤดูปลูก และวิธีการเด็ดยอด) โดยก่อนปลูกต้องขึ้นน้ำในร่องให้ชุ่มเสียก่อน วิธีการปลูกใช้ไม้กระทุ้งหลุมให้ลึก ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ให้รองก้นหลุมด้วยสาร ไดโนทีฟูแรน (dinotefuran) 20% SG หลุมละ 1 กรัม เพื่อป้องกันแมลงทำลายของแมลงกินใบและแมลงปากดูดต่าง ๆ ในช่วงแรกของการปลูกแตงโม ปลูกแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อเพิ่มอัตราการรอดของกล้าแตงโม ( การรดน้ำตามคือใช้สายยางหรือบัวรดน้ำตามคนปลูกเลยทันที เพื่อลดความร้อนของดินปลูก ทำให้ดินเกาะกระชับรากแตงโมได้ดี )

การดูแลรักษา :

เมื่อย้ายกล้าลงแปลงแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3-4 เมตร แล้วปลูกหลุมละ 3 ต้น รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

การให้ปุ๋ยแตงโม : ควรใส่ปุ๋ยคอกการใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสําคัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทําให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทําให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยทําให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุล เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 2-4 ตัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมาก หรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ ต่อรอบฤดูปลูก  วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมีลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยละลายนํ้าลงไปสู่รากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้เป็นวิธีที่จะทําให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโพแทสเซียมจากปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโมมากพอสมควรทีเดียว ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีจึงควรใส่ไว้ใต้ดินเป็นกลุ่ม ๆ เช่นใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่มแตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่  ปุ๋ยที่ใส่เสริมหลังปลูก ต้องคํานึงถึงอยู่เสมอว่ารากแตงโมส่วนใหญ่ เดินตามแนวนอนขนานกับผิวดินและเถาของแตงโม ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ยเข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ยอยู่ในรูปที่ค่อย ๆ ละลายนํ้าเพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน หลังย้ายปลูก) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ (ใส่ทางดินรองพื้นก้นหลุม) และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 1 กิโลกรัม  ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-9-20 อัตรา 4 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ผ่านระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะติดดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16  อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะขยายผล สร้างเนื้อ เข้าสี (อายุ 35-55 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-24 อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด ให้ปุ๋ยวันเว้นวัน ต่อเนื่อง 11 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน ช่วยบำรุงขยายผล สร้างเนื้อ เพิ่มน้ำหนัก ให้แตงโมลูกใหญ่ และเพิ่มรสชาติความหวานอร่อย

การให้นํ้าและการดูแลรักษาแปลง

 ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกําลังเจริญเติบโตเป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการนํ้ามาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลง ควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึกซึ่งจะทําให้ดินขาดอากาศออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใดรากแตงโมจะได้รับนํ้า และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จํากัดไปด้วย ดินที่ขาดนํ้าแล้วแห้งแข็งทําให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโม จะไม่ขาดอากาศแม้ว่าจะขาดนํ้าก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมาก ๆ ได้เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึกเท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้เพราะเนื้อดินทั้งเหนียว และแน่นอุ้มนํ้าไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายนํ้าออกจากผิวดินได้ไวมากและดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทรายหรือดินร่วนทราย จึงทําให้ต้องให้นํ้ากับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่าคือต้องให้นํ้าอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดนํ้าทุกวันๆ ละ ครั้ง

การคลุมแปลงด้วยฟาง หรือใช้พลาสติก

เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟาง การคลุมดินด้วยฟางจะมีผล ดังนี้คือ  

1) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทําให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน

2) ทําให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน

3) ป้องกันไม่ให้หน้าดินร้อนจัดเกินไป

4) เป็นการรองผลทําให้สีของผลสมํ่าเสมอ

5) ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทําให้ใบแตงโมสังเคราะห์แสงปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมดภายในเวลา 2-3 สัปดาห์เท่านั้น

การจัดเถาแตงโม

: ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับ กัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทําให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึง เพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเหล่านั้นออกให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ(การต่อดอก)

ผู้ปลูกแตงโมมักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผลเนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทําให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ถูกสารฆ่าแมลง ตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้ง แต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแล้วดอกตัวเมีย จะหุบและไม่ยอมรับการ ผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทําได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณูซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงควํ่าดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บน เกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า “การต่อดอก”

การปลิดผลทิ้ง

: แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วยควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผลให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่ และรูปทรงผลได้รูปสมํ่าเสมอทั้งผลไว้ซึ่งจะทําให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงเพราะ ขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้ว ผลเล็กก็จะเล็ก

การดูแลแตงโมภายหลังผสมติดเป็นผลแล้ว

: ดอกตัวเมียของแตงโมที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมํ่าเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน   เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับกะลามะพร้าว ควรเอาฟางรองใต้ผลเพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง และกลับด้านที่ไม่โดนแสงขึ้น เพื่อให้ผลแตงมีสีสมํ่าเสมอทั่วทั้งผล จะทําให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

การเก็บผลแตงโม

แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือ พริกซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับผลมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยังจึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย คือ

1) คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิ ของอากาศ

1.1 แตงโมพันธุ์เบา จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน  

1.2 แตงโมพันธุ์หนัก จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอก บานประมาณ 42-45 วัน

2) คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่

2.1 มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน

2.2 วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียง ผสมกันระหว่างเสียงกังวานและเสียงทึบแตงจะแก่พอดี (แก่75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียง กังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาว บ้านเรียกว่า “ไส้ล่ม” (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย) ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผล ตอนเช้าเพราะจะทําให้ผลแตงแตกได้

2.3 สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่พร้อมที่จะเก็บผลผลิตได้แล้ว

โรคพืชที่สําคัญในแตงโม 1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม Fusarium spp.)

แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับดิน จะแตกตามยาวและมีนํ้าเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าดูภายในจะเห็นไส้กลางเป็นสีนํ้าตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก และการปลูกซํ้าที่เดิมโรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก สาเหตุที่เกิดโรคนี้มาจาก

  1. เชื้อรานี้เจริญและทําลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส
  2. ขณะแตงกําลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) อยู่ตํ่า

4.ดินเป็นกรดจัด

การป้องกัน 1) ไม่ปลูกแตงโมซํ้าในที่แปลงเดิม และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทนเอ็ม-45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนําไปปลูก    

2) ใช้ปูนขาวโรยลงไปในดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 100 กิโลกรัม

3) ใช้สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทน ตามอัตราแนะนำของผู้ผลิต ฉีดพ่นที่ต้นพืชจะช่วยทําให้เชื้อโรคชะงักลง   

4) สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบีเช่น เทอราคลอร์ในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุมแตงโมที่เกิดโรค และบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน

  1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial wilt) ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้น สาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งนํ้าเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลําต้นในเถาฉํ่านํ้ามากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตง ต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบ ของแมลงเต่าแตงนี้เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อนํ้าและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้โดยฉีด สารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล85%) ป้องกันแมลงเต่าแตง และใช้ยาปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จําหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้สารเคมีนี้ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อเสียคือเสื่อมคุณภาพเร็ว จึงต้องซื้อแต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปีขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
  2. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) ลักษณะที่มองเห็นได้คือเกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบและขยายตัวใหญ่ขึ้น จํานวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตําแหน่งเดียวกันจะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทา เกาะกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทําลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยคุณภาพผลแก่ก็ตํ่าด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดีคือ ไดเมโทมอร์ฟ, แคปเทน, ไซเน็บ, มาแน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร (1 ปิ๊บ)หรือตามอัตราที่ผู้ผลิตแนะนำข้างฉลาก

แมลงศัตรูพืชที่สําคัญในแตงโม

  1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดํามีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดนํ้าเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทําให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้น ชาวบ้านเรียก โรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กละเอียด คล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้งความชื้นในอากาศตํ่าลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทําลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกันเช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทําลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยาเพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกันและกําจัดใช้สารเคมีหลาย ชนิด เช่น ฟิโพรนิล ไรเนต เมซูโรล หรืออิมิดาโคลพริด และอาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทําลายจะต้านทานได้และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  2. เต่าแตง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อน ต้นแตงโมหรือพืชพวกฟัก แฟง แตงกวาอื่น ๆ มักจะไม่ทําความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนําเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเราจึงต้องป้องกันกําจัดโดยฉีดพ่น ด้วยสารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล 85%) ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อน สัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อนแล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทําให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน
  3. แมลงวันแตง เข้าทําลายตั้งแต่ระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยว ใช้พอสซ์ (carbosulfan20% W/V EC) หรือ อโซดริน ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันกำจัด

ข้อมูลอ้างอิง : การปลูกแตงโม (เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, เกตุอร ราชบุตร) เอกสารเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงโม

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน)     :     โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร    ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100-150 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ    100  ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผล สร้างเนื้อ (อายุ 35-55 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

การปลูกผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี

ผักใบใหญ่ ต้นขาว อวบ กินง่ายและอยู่ในหลายเมนูประจำบ้านของคนไทย หากินได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นเป็นพืชผักเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดต่อเนื่องทั้งปี ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกผักกาดขาวปลีประมาณ 30816 ไร่ ครอบคลุม 31 จังหวัด โดยแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กาญจนบุรี และตาก ทั้งนี้ แม้ว่า  จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 4 แต่มีผลผลิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เฉลี่ย 3734 กิโลกรัม / ไร่ (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร : พฤศจิกายน 2561)   ผักกาดขาวปลีมีระบบรากตื้น จึงต้องการความชื้นที่พอเพียงและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะระยะที่ห่อหัว ควรรักษาความชื้นไว้ 70-85เปอร์เซ็นต์ ของความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน  หากขาดนํ้าจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต พืชจะแสดงอาการขาดโบรอน และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชสังเกตได้จากลำต้นจะกลวง เนื้อเยื่อเป็นสีดำ ต้นแคระแกร็น ส่วนแกนหรือไส้ของลำต้นจะเกิดอาการแยกแตกออก หรือเน่ากลวง ระบบรากจะไม่สมบูรณ์บางครั้งจะเน่าเสีย แต่ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระบาดของโรคได้  ที่สำคัญระหว่างการปลูกต้องคอยตรวจแปลงให้ละเอียด เพราะหากมีโรคและแมลงเข้ามา จะได้จัดการได้ทันท่วงที โรคจะได้ไม่ลามระบาดสร้างความเสียหาย

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage) เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวันและในประเทศไทย ผักกาดขาวปลีนับว่าเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายส่วนที่ใช้บริโภคได้แก่ส่วนใบ รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรด-ด่าง(pH)ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6.0-6.8  และอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศา เซลเซียส ควรได้รับแสงแดดตลอดวัน

พันธุ์ผักกาดขาวปลี แบ่งตามลักษณะของปลีได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พันธุ์ปลียาว มีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลี หรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง

2.พันธุ์ปลีกลม ลักษณะทรงสั้นกว่า อ้วนกลมกว่า เช่น พันธุ์ซาลาเดียไฮบริด, พันธุ์ทรงบิค คอล ไพรด์ไอบริด ฯลฯ มักเป็นพันธุ์เบาอายุสั้น

3.พันธุ์ปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย พวกนี้มักไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้อากาศไม่หนาวฝนตกชุก ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) ความอร่อยน่ากินและเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้

พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่เกษตรกรนิยมใช้ เช่น – ตราดอกโบตั๋น – ตราช้าง – ตราเครื่องบิน – ตราเครื่องบินพิเศษ – พันธุ์เทียนจิน – พันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 (เป็นพันธุ์ที่ทนร้อนปานกลาง)                                                                                                         

การเตรียมดิน

1. แปลงเพาะกล้า ควรไถดินให้ดีตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก พรวนย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึก เกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน

2.การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่าง กัน เซนติเมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1.0 เซนติเมตร หรือทําเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การเพาะและการย้ายกล้า   

 

ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1 เซนติเมตร  หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ด ควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้อง กันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศ มืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 25 วัน

การปฏิบัติดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 50-100 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่ง โดยใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อ ผักกาดอายุ 14 วัน ครั้งที่ 3 ใส่เมื่อผักกาดอายุ 30 วัน โดยโรยข้างต้นแล้วรดนํ้า สําหรับพวกพันธุ์ปลียาวและปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ย ไนโตรเจน เช่น แคลเซียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 20-30 ก.ก. / ไร่ เมื่ออายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้แล้วรดนํ้าตามทันที ระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบเพราะจะทําให้ใบไหม้
  2. การให้นํ้า ผักกาดขาวปลีต้องการนํ้ามากและสมํ่าเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้นํ้าอย่างเพียงพอในช่วงการเจริญเติบโต และโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
  3. การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทําการพรวนประมาณ 2 -3 ครั้ง การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์ – พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดย เลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง) – พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอด เมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคและถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควรแต่ไม่มากนัก เหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระหว่างการขนส่ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ     

  1. 1. โรคเน่าเละ (Soft rot) สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำนํ้า ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อย และเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิว ดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐาน ว่าเชื้อราบางชนิดทําลายไว้ก่อน การป้องกันกําจัด 1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา 2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน 3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์อัตรา 10-20 กรัม/นํ้า 20 ลิตร  4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร็ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
  2. 2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทําให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลําต้น เพราะผุเปื่อย เป็นสีนํ้าตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด   1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดีมีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก   2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า  3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว  4. ใช้ยาป้องกันกําจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

  1. 3. โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP. ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียด กันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่า และ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลช้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้ง ตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม

การป้องกันกําจัด  1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป  2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายนํ้าในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายนํ้ารดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูนใส่รดแทนนํ้าในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

  1. 4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะ บิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกําจัด 1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค 2. กําจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย 3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี โอเมทโทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./นํ้า 20 ลิตร

  1. 5. โรครานํ้าค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.) ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทําให้ใบไหม้ การป้องกันกําจัด เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง
  2. 6. โรคใบจุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.) ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน การป้องกันกําจัด หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงศัตรูในผักกาดขาวปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตผักกาดขาวปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา      :    รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)

                การปลูกผักกาดขาวปลี (กรมส่งเสริมการเกษตร)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับผักกาดขาวปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

วิธีใส่ปุ๋ยผักสวนครัว

ผักสวนครัว (รั้วกินได้)


ผักสวนครัวประจําบ้าน คือ ผักที่เราปลูกเองในที่อยู่อาศัย อาจปลูกในกระถาง กระบะ หรือพื้นดิน เป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ซับซ้อน ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาบริโภคเป็นผักแกล้ม หรือปรุงเป็นอาหารได้สะดวก การปลูกผักภายในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะการปลูกผักที่ใช้เป็นประจำในครอบครัว ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ภายในบริเวณบ้านที่ กว้างขวาง เพียงแค่มีพื้นที่ 1 – 5 ตารางเมตร ก็สามารถปลูกผักไว้รับประทานอย่างเพียงพอได้ โดยหากมีพื้นที่ กว้างพอก็สามารถปลูกลงในดินโดยตรง แต่ถ้ามีพื้นที่ขนาดเล็กสามารถปลูกในภาชนะ และตั้งวางบนพื้นดินหรือแขวนใน บริเวณบ้านที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อยครึ่งวันก็เพียงพอ ที่จะมีผักสดและปลอดภัย ไว้รับประทานเพื่อสุขภาพ ที่ดีของคนในครอบครัว และสอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจ ในปัจจุบันด้วย

ประโยชน์

1. ปลูกเป็นรั้วบ้าน ( รั้วกินได้ ) ผักที่สามารถนำมาปลูก ทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง
ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิต ตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจากสารเคมี
2. ใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวน การนำ ผักปลูกในกระถางแบบแขวน – ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆบ้าน
3. ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
4. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหาร ประจำวัน
5. ได้ผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
6. สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์

ปัจจัยในการปลูก

1. พันธุ์ผัก เป็นสิ่งตั้งต้นที่จะทำให้ได้ผลผลิตผัก ผักส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการขยาย พันธุ์แต่ก็ยังมีอีกหลายชนิดใช้ส่วนอื่น ๆ ในการขยายพันธุ์ดังนี้
1.1 ผักที่ใช้เมล็ดพันธุ์สำหรับปลูก พริก มะเขือเทศ มะเขือคะน้า กวางตุ้งผักกาดขาวผักกาดหอม แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย แคนตาลูป บอน มะระ ฟักทอง ฟักเขียว แฟง ถั่วฝักยาว ถั่วพลูผักบุ้งจีน กระเจี๊ยบเขียว กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ผักชี
1.2 ผักที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ในการปลูก – ใช้กิ่งปักชำ เช่น ผักหวานบ้าน ชะอม กะเพรา โหระพา แมงลัก และชะพลูเป็นต้น – ใช้เหง้า หัวและ ลำต้น เช่น หอมแบ่ง หอมแดง กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้และมันเทศ เป็นต้น

2. ดิน 2.1 การปลูกในพื้นดินโดยตรง ให้พรวนดินตากแดดไว้ประมาณ 7 – 15 วัน หลังจากนั้นยกแปลงสูง ประมาณ 4 – 5 นิ้ว กว้างประมาณ 1 – 1.2 เมตร ส่วนความยาวตามความยาวของพื้นที่ หรือความต้องการ การวางแปลงให้พิจารณาให้อยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ เพื่อให้ผัก ได้รับแสงแดดทั่วแปลงตลอดวัน ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักจำนวน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดีก่อนการปลูกผัก
2.2 การปลูกผักในภาชนะ ให้ใช้ดินผสมสำหรับการปลูกโดยดินผสมต้องมีความร่วนซุย ระบายน้ำ ได้ดีและมีธาตุอาหารจำเป็น ที่เพียงพอกับการเจริญเติบโต ของผักได้ปัจจุบันมีการจำหน่าย ส่วนผสมในร้านขายต้นไม้หรือวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งสามารถซื้อมาใช้สำหรับการ ปลูกผักได้และหากต้องการทำดินผสม สำหรับการปลูกผักใช้เองให้ ใช้ส่วนผสม ดิน : ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าวหรือขี้เถ้าแกลบ ในส่วนผสม 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี

3. ภาชนะปลูก


3.1 การเลือกภาชนะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ให้พิจารณาจากอายุของผัก ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว หากใช้ระยะ เวลานานหรือเป็นผักยืนต้นต้องพิจารณาให้ใช้ภาชนะมีขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้ มีพื้นที่ในการบรรจุวัสดุปลูกหรือดินผสมที่เพียงพอให้พืชผักหยั่งรากและมีอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งให้คำนึงถึงความยาวของรากพืชผักด้วย ซึ่งโดยทั่วไปหากเป็นพืชผักอายุสั้นรากผักจะเจริญเติบโตและหาอาหารอยู่ที่ระดับ ความลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ดังนั้น ภาชนะปลูกควรมีความลึก 25 – 30 เซนติเมตร แต่หากเป็นผักที่มีอายุปานกลาง เช่น พริก มะเขือต่าง ๆ หรือผักยืนต้น เช่น กะเพรา โหระพา แมงลัก ชะอม ภาชนะปลูกควรมีความลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร จะทำให้ พืชผักสามารถเจริญเติบโตออกผลได้สมบูรณ์ เลือกภาชนะปลูกที่มีความคงทนแข็งแรง พอสมควร หรือมีความแข็งแรงดี
3.2 การเตรียมภาชนะปลูก เมื่อเลือกภาชนะปลูกได้เหมาะสมทั้งกับชนิดของพืชผัก และมีความ แข็งแรงคงทนพอสมควรแล้ว สิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติต่อไปคือ ทำให้ภาชนะปลูก มีรูระบายน้ำ เพื่อให้น้ำในส่วนที่เหลือจากที่ดินไม่สามารถดูดซับได้แล้วจะได้สามารถ ระบายออกได้เพื่อให้ไม่ขังและอยู่ในภาชนะปลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรากเน่าและ ต้นไม่เจริญเติบโตและตายได้ วิธีการทำรูระบายน้ำ โดยการเจาะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาดและจำนวน พอสมควร โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดของภาชนะปลูกเป็นสำคัญ

4. อุปกรณ์สำหรับการให้น้ำผัก เนื่องจากผักเป็นพืชที่มีอายุ สั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ สิ่งจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการให้น้ำ พืชผักคือควรใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม ในการให้น้ำ โดยทั่วไปหากมีการปลูกผัก ไม่มากให้ใช้บัวรดน้ำที่มีหัวฝอยละเอียด เพื่อไม่ให้ความแรงของน้ำทำให้ผักช้ำ หรือ ทำให้ดินกระจายซึ่งจะกระทบกระเทือน ต่อการเจริญเติบโตของผัก หากไม่ใช้บัวรดน้ำอาจใช้สายยางรดน้ำ แต่แนะนำให้ติดหัวฝักบัวที่ปลาย สายยางเพื่อให้น้ำแตกกระจาย ลดความดันของน้ำที่จะทำให้ผักเสียหาย

5. อุปกรณ์ในการพรวนดิน หากเป็นการปลูกในดินโดยตรง ควรมีจอบสำหรับใช้ในการพรวนดิน หรือถ้าเป็นการปลูกในภาชนะปลูกควรมีพลั่วมือทำดินผสมสำหรับการปลูกผัก และใช้ พรวนดินในระหว่างการปลูกโดยเมื่อมีการปลูกผักในระยะหลัง หน้าดินอาจเริ่มอิ่มตัวแน่น ให้ใช้จอบหรือพลั่วมือพรวนดิน รอบ ๆ ต้นผัก เพื่อให้มีการถ่ายเท อากาศทำให้ออกซิเจนสามารถถ่ายเท ลงไปในดินได้และเพื่อประโยชน์กับ รากผักในการเจริญเติบโต ทั้งนี้การพรวนดินต้อง ระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือน ต่อรากหรือลำต้นด้วย

ผักจำแนกได้เป็น 3 ชนิด ตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่


1. ผักอายุสั้น หมายถึง ผักที่มีอายุ ตั้งแต่ปลูกจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ น้อยกว่า 2 เดือน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ใช้ส่วน ของใบและลำต้นสำหรับการบริโภค มีการ เจริญเติบโตรวดเร็ว ทำให้สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลาสั้น เช่น ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชีเป็นต้น
2. ผักอายุปานกลาง หมายถึง ผักที่มีอายุประมาณ 2 – 5 เดือน ตั้งแต่ปลูกจนสามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปบริโภคได้มีทั้งผักที่ใช้ลำต้น ดอก ผล ในการบริโภค เช่น กะหล่ำปลีผักกาดขาวปลีกะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงโม บวบ มะระ และฟักทอง เป็นต้น
3. ผักยืนต้น หมายถึง ผักที่สามารถปลูกและ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปรับประทานได้อย่างต่อเนื่อง สามารถ ปลูกและอยู่ข้ามปีได้หากเมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วยังมีการดูแลรักษาอย่าง สม่ำเสมอ เช่น ผักหวาน ชะอม กระถิน กะเพรา โหระพา แมงลัก ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้และกระชาย เป็นต้น การเลือกชนิดผัก การเลือกชนิดผักสำหรับปลูก นอกจากจะพิจารณาจากอายุของพืชผัก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภค และสภาพพื้นที่หรือภาชนะปลูกให้เหมาะสมแล้วควรคำนึงถึงฤดูกาลที่จะปลูก ให้เหมาะสม กับชนิดของพืชผักด้วย เพราะจะทำให้ดูแลรักษาง่าย มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ได้ผักที่มีคุณภาพและรสชาติที่ดีด้วย

 


วิธีการปลูกผัก
1. การปลูก
1.1 การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์โดยตรงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำอุ่น (อุณหภูมิ ประมาณ 55 – 60 องศาเซลเซียส) ประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และ สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่ติดมากับดินได้
1.2 การย้ายกล้าปลูกต้องเลือกต้นกล้าที่มียอดลำต้น ใบ และรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงไปปลูก
1.3 การใช้กิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์อื่น ๆ ให้คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง กิ่งมีความแก่พอสมควร หรือกลีบและหัวแน่น เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้สมบูรณ์
2. การเพาะกล้า
การเพาะกล้าสามารถทำแปลงเพาะหรือเพาะในถุงพลาสติก หรือใช้ถาดเพาะ ดินที่ใช้ในการเพาะกล้า ควรเป็นดินผสมที่มีอัตราส่วนของดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2 : 1 หรือดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักและ ขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวในอัตรา 1 : 1 : 1 นำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1 เมล็ด กลบดินบาง ๆ แล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำที่ฝอยละเอียดเพื่อไม่ให้ดิน กระจายตัวควรมีการกันมดหรือแมลง มาคาบเมล็ด โดยใช้ปูนขาว โรยบาง ๆ ล้อมรอบบริเวณ ที่วางถุงหรือถาดเพาะกล้า ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 1 – 2 ครั้ง ในเวลาเช้า และบ่าย โดยทั่วไปอายุกล้า ที่เหมาะสมในการย้ายปลูก ประมาณ 15 – 20 วัน แต่สำหรับ พริก และมะเขือต่าง ๆ ควร มีอายุ 25 – 30 วัน
3. การให้ปุ๋ย ปุ๋ยรองพื้นใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกควรเป็นปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดิน ให้โปร่งร่วนซุย ช่วยในการอุ้มนํ้า และ รักษาความชื้นของดิน ให้เหมาะกับการ เจริญเติบโตของพืช
4. การให้น้ำ พืชผักเป็นพืชอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอทุกระยะการเจริญเติบโตต้องให้ น้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าแฉะหรือมีน้ำขัง เพราะน้ำจะ เข้าไปแทนที่อากาศในดิน ทำให้รากพืชขาดออกซิเจน และเน่าตายได้ควรรดน้ำในช่วงเช้า – เย็น ไม่ควรรด ตอนแดดจัด
5. การกำจัดวัชพืช ได้แก่ หญ้าหรือพืชอื่น ๆ ที่ขึ้นแซมในแปลง จะทำให้แย่งน้ำและธาตุอาหาร ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ไม่ดีรวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่ของศัตรูพืชอื่น ๆ ด้วย การกำจัดโดย การใช้ถอนด้วยมือ หากมีพื้นที่มากใช้พลั่วหรือจอบพรวนดินในการกำจัดวัชพืชไป พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย

6. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การป้องกันกําจัดแมลงที่ปลอดภัยทําได้หลายวิธีดังนี้
6.1 การใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น บาซิลัส ทุริงเยนซิส (BT), ไวรัส NPV, เมธาไรเซียม และบูเวอเรีย บัสเซียนา
6.2 ปลูกพืชผักร่วมกับพืชที่มีกลิ่นไล่แมลง เช่น โหระพา กะเพรา ตะไคร้


7. การป้องกันกำจัดเชื้อโรคในผัก ในการปลูกผัก หากมีการดูแลให้พืชผักมีการ เจริญเติบโตที่แข็งแรง สมบูรณ์ และปลูกไม่ให้ต้นแน่นหรือ ชิดกันเกินไป สามารถช่วย ป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก อาจทำให้เกิดปัญหาใบจุดหรือ โคนเน่า ให้ทำการเก็บใบหรือ ต้นผักที่เป็นโรคทิ้ง และนำไป ทำลายนอกแปลง และใช้ น้ำปูนใสรดที่แปลงผักหรือ ต้นผัก วิธีการทำน้ำปูนใส ให้ใช้ปูนขาวจำนวน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสม ให้เข้ากัน และทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นให้นำน้ำปูนใสที่ปูนตกตะกอนแล้ว อัตราน้ำปูนใส 1 ส่วน น้ำธรรมดาสำหรับรดผัก 5 ส่วน เพื่อรดในแปลงปลูก
ใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง เช่น ไตรโครเดอร์มา ฮาร์เซียนัม และ บาซิลัสซับทีลิส (BS) ช่วยป้องกันกำจัดโรคพืช

8. การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ผักสด รสชาติดีและหากยังไม่ ได้นำไปรับประทานให้ล้างให้สะอาดและนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บ ในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสชาติดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปผลผลิตจะลดลงสำหรับผักใบหลายชนิดเช่น หอมแบ่งผักบุ้งจีน ผักคะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้วโดยยังคงเหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออก ทั้งต้น ราก หรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลผลิตได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่เสมอ การปลูกพืชหมุนเวียน สลับชนิด หรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ ทยอยปลูกครั้งละ 3 – 5 ต้น หรือประมาณว่ารับประทาน ได้ในครอบครัวในแต่ละครั้ง ที่เก็บเกี่ยวก็จะทำให้ผู้ปลูกมี ผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวัน ตลอดปี

รับประทานผักให้มีคุณค่า

ผักเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ โดยวิตามินที่อยู่ในผักมีทั้งวิตามินที่ละลายในน้ำ และวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินบางตัวถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้น เพื่อสงวนคุณค่าทาง โภชนาการของพืชผักต่าง ๆควรหลีกเลี่ยงการแช่ผักที่หั่นฝอยหรือชิ้นเล็ก ๆในน้ำหรือตั้ง ทิ้งไว้ในอากาศเป็นเวลานาน ควรล้างทั้งหัว ทั้งต้นและเปลือก ถ้าจำเป็นต้องปอกเปลือก ควรปอกแต่เพียงบาง ๆก่อนล้างควรเลือกส่วนที่เน่า เสียและส่วนที่ใช้ไม่ได้ออก การต้มผักให้ใช้น้ำน้อย เช่น การลวก นึ่ง ผัด ใช้เวลาสั้น อย่างไรก็ตาม หากสามารถรับประทานผักสดจะได้ประโยชน์และ คุณค่าของผักครบถ้วน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกผักสวนครัว กรมการพัฒนาชุมชน

วิธีการใช้ไร่เทพและดินเทพกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
** ในกรณีใช้ดินเทพช่วงเตรียมแปลงก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพอัตรา 40 – 50 ซีซีผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดิน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน ปรับโครงสร้างดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช และช่วยเพิ่มค่า Organic Matter ในดิน
วิธีการใช้โล่เขียวกับพืชผักสวนครัว
– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน ใช้โล่เขียว 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะเจริญเติบโต ใช้โล่เขียว 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะออกดอกและผลอ่อน ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
– ระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ใช้โล่เขียว 20 – 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 5 – 7 วัน
โล่เขียว ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชมีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าทำลายของเชื้อโรค รวมทั้งพบว่าช่วยให้พืชทนทานต่อการขาดน้ำ ในพื้นที่ดินทรายได้ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตเพราะการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นจัดได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน แล้ง รวมทั้งฝนและหนาวเย็น เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

ปริมาณการใช้น้ำ 450 – 500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / ฤดูกาลผลผลิต ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม เพื่อไม่ให้กระทบแล้งในช่วงออกดอก ผสมเกสร ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

การเลือกพื้นที่

เป็นพื้นที่เขตชลประทาน หรือพื้นที่สามารถให้น้ำได้ตลอดระยะเวลาปลูก ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินร่วนทราย ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้สำนักงานเกษตรอำเภอตรวจสอบชุดดิน / แผนที่ดินว่ามีความเหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือไม่ และดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 5.5 การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากดินไว้ ประมาณ 5-7 วัน จึงไถแปรพร้อมคราด 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินและให้ดินเก็บความชื้น ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่ และมีดินเป็นดินเหนียวควรทำร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อสะดวกต่อการส่งน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากแปลง ความกว้างของร่องน้ำประมาณ 0.75 – 1 เมตร

การเตรียมพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุวรรณ 4452 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทั้งพันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน
การปลูก ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวน 10,666 – 11,428 ต้นต่อไร่ และควรปลูกซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ยเคมี รองพื้นใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15 , 16-16-8 , 18-8-8 , 27-12-6 อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับดายหญ้าพูนโคนและให้น้ำไปตามร่อง
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 7-8 สัปดาห์หลังปลูก เป็นระยะเริ่มออกไหม และช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้น และธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยข้างร่องหลังจากให้น้ำแล้ว

การใส่ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ตารางการใส่ปุ๋ยปลูกข้าวโพดหวานตามลักษณะดิน

1. ดินเหนียว

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 16-20-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– พร้อมดายหญ้า ใส่ปุ๋ย และใช้ดินกลบ

2. ดินร่วนปนทราย

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย25-30 กก. / ไร่

3. ดินทราย

– หลังปลูก 14 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80 กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่

การให้น้ำ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้ำครั้งต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวชั่วคราวของใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์รดน้ำแปลงข้าวโพด ควรให้แบบทั่วถึงทั้งแปลง หรือแบบปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้น


การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท อายุ 110-120 วันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ หรือสังเกตจากใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวทั้งแปลง และควรตาก 1-2 แดด ก่อนกะเทาะเมล็ดจำหน่าย วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักร
ข้อจำกัดของการปลูกข้าวโพดสัตว์หลังนา
หลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด – ดินกรดถึงกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5)
หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำและที่น้ำท่วมขัง
หลีกเลี่ยงการปลูกล่าช้ากว่าเดือนธันวาคม

 


ข้อควรระวังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

หนู จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูแล้งมักเข้ากัดกินทำลายลำต้นและฝักข้าวโพด เนื่องจากไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมกันกำจัดหนูในพื้นที่พร้อม ๆ กันเป็นบริเวณกว้างก่อนการปลูกข้าวโพด วิธีการป้องกำจัดโดยกำจัดวัชพืชบนคันนา หรือใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว สลับกับโฟลคูมาเฟน เหยื่อพิษสำเร็จรูปประเภทออกฤทธิ์ช้า ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
การตลาด เกษตรกรที่ผลิตส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ร้อยละ 90 ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

**คำแนะนำเพิ่มเติม

สามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง ผสมน้ำ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพกับข้าวโพด

– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน (7-14 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (25-30 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกหัว (30-45 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะฝักอ่อน-ก่อนเก็บเกี่ยว (45 วันขึ้นไป) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มส่งเสริมพืชไร่อุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-