Tag Archives: พืชไร่

ดินดีขั้นเทพ ปลูกอะไรก็ขึ้น

ดินที่ดี คือ เป็นดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแลตามปกติ ซึ่งจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีปฏิกิริยาดินใกล้เป็นกลางมีค่า pH ในช่วง 5.5-7.0 และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช

องค์ประกอบดินที่ คือ น้ำ 25% อากาศ 25% อินทรียวัตถุ 5% และแร่ธาตุ 45%
ดินเทพ สารปรับโครงสร้างดิน ที่ช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีดินที่ไปช่วยช่วยสลายซากพืช ซากสัตว์ให้เกิดเป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของดีที่ดี เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

วิธีการปรับปรุงบำรุงดินแบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
1.การปรับปรุงดินทางกายภาพ คือ การปรับสภาพโครงสร้างของดินให้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นต้น
2. การปรับปรุงบำรุงดินทางด้านเคมี คือ การปรับสภาพทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอ
3. การปรับปรุงบำรุงดินด้านชีวภาพ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ, ใช้ระบบพืชคลุมดิน, ใช้ระบบพืชเหลื่อมฤดู หรือ ใช้การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน เป็นต้น

และเมื่อเราได้ดินที่ดีแล้ว ต้นทุนในการใช้ปุ๋ยก็ลดลงการใช้สารเคมีในการดูแลก็ลดลง เมื่อต้นทุนลดลงและรายได้เพิ่มมากขึ้น

จ่ายแพงไปทำไม??

ของใช้ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป อยากให้เกษตรกรได้ใช้ของดีที่มีราคาไม่แพง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ที่เมื่อวิเคราะห์ราคากับปริมาณที่ใช้ จะเห็นได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม เพราะราคาที่จ่ายไปกับผลลัพธ์ที่ได้กลับมารับประกันได้เลย การันตีด้วยยอดลูกค้าที่อยู่กับเรายาวนานกว่า 10 ปี

หากท่านกำลังเจอปัญหาพืชเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง พืชขาดธาตุอาหาร ดินเสีย ดินเค็ม ดินแข็ง ไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก รวมถึงปัญหาที่ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรเหล่านี้จะหมดไป หากเกษตรกรหันมาให้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ไร่เทพ อาหารเสริมพืช จะช่วยให้พืชโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ลูกดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง น้ำหนักดี มีคุณภาพดี

โล่เขียว จะช่วยให้พืชเขียวทน เขียวนาน ต้านทานโรคและแมลง และช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ดินเทพ เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ไร้สารตกค้าง ช่วยให้ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก และยังสามารถใช้แทนสารจับใบได้ ช่วยให้สารแผ่กระจายทั่วใบและพืชนำไปใช้ได้เลย

 

ราคาไม่แพง .. หากต้องการผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ไร่เทพ 1 ซอง ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

โล่เขียว 1 ขวด (1000ml.) ฉีดพ่นได้ 15 ไร่

ดินเทพ 1 ขวด (500ml.) ฉีดพ่นได้ 12 ไร่

 

จบปัญหา…ข้าวโพดฟันหลอ!!

ปัญหาข้าวโพดฟันหลอ โดยทั่วไปแล้วสาเหตุเกิดจาก การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ทำให้การติดเมล็ดของข้าวโพดผิดปกติ หรือเกิดจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมร้อนแล้งจนเกินไปทำให้ไหม้แห้ง หรือการได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ขาดน้ำ และอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือเกิดจากแมลงศัตรูที่ลงทำลายในระยะข้าวโพดออกดอก ได้แก่ หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยไฟข้าวโพด

ไร่เทพแนะนำการป้องกันกำจัด โดยให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ฉีดพ่นทางใบ ตั้งแต่ 15 วันหลังปลูก อัตราส่วนดังนี้
-ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร
-โล่เขียว 100 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร
-ดินเทพ 10 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร
สามารถผสมกันและฉีดพ่นทางใบเป็นละออง ไม่ต้องจี้ ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน ควรฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า หรือ 5 โมงเย็น เพราะเป็นช่วงปากใบพืชเปิด

ปัญหานี้จะหมดไป
1.ไร่เทพจะไปช่วยแตกรากใหม่ ขยายท่อน้ำเลี้ยง ทำให้ระบบโครงสร้างสมบูรณ์แข็งแรง ฝักใหญ่ เม็ดเยอะ ไม่ฟันหลอ
2.โล่เขียวจะไปช่วยทำให้เส้นใยในโครงสร้างพืชมีความหนาและทน และช่วยให้การเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชทำได้ยากขึ้น และช่วยให้พืชทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดหนาวจัด เขียวทน เขียวนาน
3.ดินเทพ ในกรณีฉีดพ่นทางใบจะช่วยในการจับใบ นำพาสารอาหารเข้าสู่โครงสร้างพืชได้ดีขึ้น และเพิ่มการยึดเกาะที่ผิวใบได้ดี **กรณีดินไม่สมบูรณ์ให้ใช้ดินเทพในขั้นตอนการเตรียมดินก่อนการเพาะปลูก**

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ เห็นความสำคัญในการให้โอกาส และการศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิตให้หลุดพ้นจากความจนได้ เนื่องจากปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม เด็กและเยาวชนหลายๆ คนกลายเป็นเด็กด้อยโอกาส ทำให้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณเชอรี่จึงได้มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กๆ พื้นที่ห่างไกล และขาดแคลน ผ่านมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการ “ส่งเสริมการศึกษาให้สว่างไสว สร้างอนาคตที่สดใสให้น้อง” และร่วมบริจาคและจุดไฟแห่งปัญญาให้แก่เด็กๆ เพื่อให้อนาคตของพวกเขาส่องสว่าง และพร้อมส่งต่อสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม โดยพร้อมเป็นแรงสนับสนุนที่จะช่วย “จุดประกายความรู้ สู่พัฒนาการสมวัย” ของเด็กยากไร้ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณเชอรี่ ได้มีการมอบทุนการศึกษานี้อย่างต่อเนื่องและตั้งใจจะทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

ไร่เทพปันน้ำใจเยี่ยมสวนลุงปรางค์

ไร่เทพปันน้ำใจเยี่ยมสวนลุงปรางค์ไร่เทพปันน้ำใจ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 💚

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริชเชอร์ จำกัด
ได้เข้าเยี่ยม ครอบครัวลุงปรางค์ ป้าตุ๊ ซึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ไร่เทพกับสวนผลไม้ลำไย และพุทรา ปัจจุบัน ลุงปรางค์ป่วย
ทางบริษัทจึงได้มอบรถเข็นผู้ป่วยเพื่อให้ทางครอบครัวลุงปรางค์ได้ใช้ดำรงชีวิตประจำวันได้สะดวก เพราะทางครอบครัวคุณลุงเป็นลูกค้าคนสำคัญของเรามาอย่างยาวนาน
ทั้งนี้บริษัทได้มอบรถเข็นจำนวน 1 คัน เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 เพื่อให้ทางครอบครัวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วงขากลับได้ไปชมสวนของคุณลุงและป้า
ทางบริษัทขอขอบพระคุณลูกค้า ที่ยังคงใช้บริการและนึกถึงบริษัท ทางเราขอแสดงความห่วงใย และยินดีอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือทางครัวครอบลูกค้า
ทางคณะผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ขอแสดงความห่วงใยครอบครัวลุงปรางค์ ป้าตุ๊ ทางเราขอลูกค้ามีสุขภาพที่ดี และแข็งแรง โดยเร็ววัน นะครับ

แตงกวาพืชทนแล้ง

แตงกวาพืชทนร้อน

แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูกแตงกวากับพืชอื่น ๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืช หนึ่งที่สามารถทํารายได้ดีทีเดียว สําหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถนําไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนําไปแกงจืด ผัด จิ้มนํ้าพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่า แตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

แตงกวามีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3,000 ปีและมีการปลูกในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนําผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือ ของทวีปแอฟริกาในศตวรรษที่ 6 ได้นําไปปลูกในประเทศจีนโดยสันนิษฐานว่าได้นําเข้าประเทศจีนสองทาง คือเส้นทางสายไหมโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในตวรรษที่ 9-14 ได้นําไปปลูกในทวีปยุโรปและได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นําไปปลูกในทวีปอเมริกา กลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีจํานวนโครโมโซม2n=14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียวเถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจํานวนมากรากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร ลําต้นเป็นเถาเลื้อยเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออกมา ตามข้อโดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้นใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็น ดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุมใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจนส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสร ดอกจะหุบตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วงแสงและอุณหภูมิ กล่าวคือจะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ในสภาพช่วงแสงสั้น และมีอุณหภูมิกลางคืนตํ่าซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผลและในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม้มีไส้เนื้อกรอบ และนํ้าหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสด-แปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดํา สีหนามสีขาว แดง นํ้าตาล และดํา

การจำแนกแตงกวา


แตงกวาสามารถจําแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้ 1. พันธุ์สําหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผล มีนํ้ามากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่ หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนําไปดอง แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น 1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้าน ซึ่งมีความยาวผลอย่าง น้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือ ขาวและเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้นจะมีสีเขียวเข้มสมํ่าเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนําไปดองจะคงรูปร่างได้ดีไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่ง แบ่งตามขนาดได้ดังนี้ 2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมี ความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความ กว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้นๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโต ได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สําหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการนํ้ามากแต่ขาดนํ้าไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดีควรมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ใน สภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัดจําเป็นต้องปรับปรุงบํารุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้นควรจะวิเคราะห์หาค่ากรด-ด่าง ก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน

เยี่ยมชมเว็บไซต์

ก่อนการปลูกแตงกวาทําการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทําลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรียลงไปปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกําหนด ระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สําหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางพื้นที่อาจใช้พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลง ไม่ให้เข้ามาทําลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์

ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์นับว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญในการปลูกแตงกวาซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือมีการบรรจุหีบห่อเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศจากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมีเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทําการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากันแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสําหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทําการบ่มเมล็ด โดยนําเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ผสมอัตรา 5 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อ ทําลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนํามาแช่นํ้า 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบนํ้าหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นบ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตรจึงนําไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นําเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จํานวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร การดูแลรักษากล้าหลังจากหยอดเมล็ดแล้วให้นํ้าทันทีโดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทําได้ ปริมาณนํ้าที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อนควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้นํ้าทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไป เมื่อแตงกวาเริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของ ต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกําจัดโดยเร็วและเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบจะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก
5. การเพาะกล้าในถาดเพาะ
ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า “ มีเดีย , พีทมอส ” แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูงมีราคาแพงทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสมดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว

 

การปลูก  

 วิธีการปลูกแตงกวานั้นพบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ดหากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้วจะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จําเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อนจึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่นประหยัดเมล็ดพันธุ์ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้าเป็นต้น

สําหรับการย้ายกล้าปลูกนั้นให้ดําเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้วและเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กําหนด จากนั้นนําต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กําหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทําให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้นํ้า

หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้นํ้าทันทีระบบการให้นํ้านั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้นํ้าตามร่องเพราะว่าจะไม่ทําให้ลําต้นและใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้นํ้าในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้นํ้าให้นานขึ้น ข้อควรคํานึงสําหรับการให้นํ้านั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สมํ่าเสมอตลอดแปลงและตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทําให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้นอาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 10-10-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตรา ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15- 15-15 หรือ 10-10-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

 

แมลงศัตรูแตงกวา


ในแตงกวานั้นมีศัตรูที่ทําลายแตงกวาแบ่งได้คือแมลงศัตรูแตงแตงกวานั้นเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีแมลงศัตรูเข้าทําลายมาก และที่พบบ่อยและทําความเสียหายกับแตงกวามากได้แก่
1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola) ลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอกและผลอ่อน
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทําให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทางระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสําคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกําจัด ให้นํ้าเพิ่มความชื้นในแปลงปลูกโดยให้นํ้าเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้ ใช้สารฆ่าแมลง คือ พอสซ์ เมซูโรล ไดคาร์โซล ออลคอล อีมาเม็กตินเบนโซเอต เป็นต้น
2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii) ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลําตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลําตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดําและมีปีก
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทําให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนําไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า โดยมีมดเป็นตัวนําหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ
3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.) ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทําลาย ดูดนํ้าเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทําให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทําลาย ร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดนํ้า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีกําจัดไร ได้แก่ ไพริดาเบน โพรพาไกด์ อามีทราซ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์เป็นต้น
4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดํา (Black cucurbit beetle: A. frontalis) ลักษณะเป็นแมลงปากแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดําเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนาหรือตามกอหญ้า
การทําลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตทําให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้นตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกําจัด ควรทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน็อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จีหรือคูราแทร์ 3 จีใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar:Helicoverpa armigera) ลักษณะหนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมี เส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมี ขนาดใหญ่กว่า ลําตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีนํ้าตาลดํา มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทําลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผล และเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทําลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต สไปนีโทแรม คลอแรนทานิลิโพร ทามารอน อโซดริน หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

 

โรคในแตงกวา แตงกวามีโรคที่เป็นศัตรูสําคัญ ได้แก่


1. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทําให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกนํ้าค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทําให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตําแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดํา
การป้องกันกําจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซด ก่อนปลูกหรือจะนําเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายนํ้าเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้เมื่อมีโรคระบาดในแปลง และในช่วงมีหมอกและนํ้าค้างมากควรฉีด Curzate-M8, Antrachor หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ
2. โรคใบด่าง (Mosaic) เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง
การป้องกันกําจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทําได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทําความสะอาดแปลงปลูก พร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ
3. โรคผลเน่า (Fruit rot) เชื้อสาเหตุ Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทําให้เกิดแผลก่อนจะพบมาก ในสภาพที่เย็นและชื้นกรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉํ่านํ้าเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุมกรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ็อกโทเนีย จะเป็นแผลเน่าฉํ่านํ้าบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีนํ้าตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้นบริเวณ ส่วนปลายของผลที่เน่าจะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกําจัด ทําลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ Oidium sp. ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่ เป็นหย่อมๆกระจายทั่วไปเมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทําให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกําจัด ใช้สารเคมีเช่น แมนโคเซป เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

 

การเก็บเกี่ยว


อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสําหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมี หนามอยู่บ้างถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนามการเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้นเพราะจะทําให้ผลผลิตทั้งหมดลดลงโดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประมาณ 1 เดือน
ที่มาข้อมูล : การปลูกแตงกวา เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, ภัสรา ชวประดิษฐ, กลุ่มพืชผักกองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงกวา


การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะต้นอ่อน (อายุ 7-14 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (อายุ 10-25 วัน : โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะดอกแรก (อายุ 25-35 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน
– ระยะผลอ่อน – เก็บเกี่ยว ดอกต่อเนื่อง (อายุ 40-60 วัน) : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

วิธีปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตงที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย  ซึ่งมีสภาพความเป็นกรด – เป็นด่าง ประมาณ  5.0 – 7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี   แตงโมเป็นพืชที่เกษตรกรให้ความนิยมปลูก เนื่องจากใช้เวลาปลูกสั้นเพียง 60-65 วัน และพันธุ์หนัก 70-85 วัน ปลูกหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี จึงสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกแตงโมทั่วประเทศมีประมาณ 54,677 ไร่ สามารถสร้างผลผลิตมากถึง 145,000 ตัน

ฤดูปลูก : เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝน เพราะว่าในช่วงดังกล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุก จะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัด เหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดูแล้งหรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

พันธุ์แตงโมที่นิยมปลูก : ในปัจจุบันมีเกษตรกรนิยมปลูกแตงโมพันธุ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           -แตงโมพันธุ์จินตหรา  มีลักษณะผิวลายสีขาว ผลโต เนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์กินรี  มีลักษณะลายสีดำ แถบดำ ผลโตเนื้อละเอียด กรอบ เปลือกอ่อน ผลทรงกลม มีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ตอปิโด ลักษณะเปลือกเป็นสีเขียวเข้มมีลายเส้นสีดำ เนื้อสีแดงลำต้นแข็งแรง ติดผลง่ายผล ทรงยาวรี  น้ำหนักผล 4-6 กิโลกรัม

           -แตงโมพันธุ์ซอนญ่า สีเขียวอ่อนสลับแถบสีเขียวเข้ม ต้นแข็งแรง ทรงกลมรี เนื้อสีแดงสวย กรอบ ติดผลดี

การเตรียมดิน : แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 120 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่งและลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดนํ้าได้เป็นอย่างดี ในระยะที่ต้นแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่ง จะช่วยทําให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดิน ซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและนํ้าได้กว้างไกลยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยทําให้พืชสามารถใช้นํ้าใต้ดินมาเป็นประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจําเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนัก หรือค่อนข้างหนัก ควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดินหรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า

ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้าโดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า  “ มีเดีย , พีทมอส ”  แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูง มีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน แล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันที่เรียกกันว่า “การผสมดิน” เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า โดยสูตรดินผสมจะมีส่วนผสม ดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว  ** สําหรับผู้ที่เพาะเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่าถ้าอุณหภูมิในดินปลูกตํ่ากว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติฉะนั้นเพื่อ ขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในนํ้าอุ่น ๆ ในบ้านจะช่วยทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสมํ่าเสมอ

การย้ายกล้าแตงโมลงแปลงปลูก

หลังจากนำเมล็ดพันธุ์ลงถาดหลุมได้สัก 10-15 วัน ก็จะสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ โดยสังเกตจากต้นกล้าที่พร้อมจะต้องแตกยอดและออกใบจริงอย่างน้อย 2 ใบ โดยก่อนการขนย้ายถาดหลุมต้นกล้าแตงโมไปปลูกในแปลง ควรมีการงดการรดน้ำเสียก่อน ให้วัสดุปลูกแข็งเป็นก้อนเล็กน้อยเพื่อให้สะดวกตอนขนย้าย และง่ายต่อการดึงต้นกล้าออกจากถาดหลุมได้โดยง่ายถ้าเรารดน้ำให้กล้าแตงโมก่อนการย้ายปลูก เมื่อถอดออกจากหลุมจะทำให้ดินวัสดุปลูกแตกออกจากรากแตงโม ยกตัวอย่างว่า จะย้ายกล้าแตงโมปลูกในช่วงเย็นควรงดน้ำในช่วงบ่าย รดแค่ตอนเช้าครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตวัสดุปลูกของเกษตรกรอีกทีว่าควรจะงดน้ำช่วงเวลาใด โดยมีวิธีการปลูก เราก็ย้ายลงแปลงปลูกโดยให้ระยะระหว่างต้น 50-70 เซนติเมตร (ระยะขึ้นอยู่กับฤดูปลูก และวิธีการเด็ดยอด) โดยก่อนปลูกต้องขึ้นน้ำในร่องให้ชุ่มเสียก่อน วิธีการปลูกใช้ไม้กระทุ้งหลุมให้ลึก ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ให้รองก้นหลุมด้วยสาร ไดโนทีฟูแรน (dinotefuran) 20% SG หลุมละ 1 กรัม เพื่อป้องกันแมลงทำลายของแมลงกินใบและแมลงปากดูดต่าง ๆ ในช่วงแรกของการปลูกแตงโม ปลูกแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อเพิ่มอัตราการรอดของกล้าแตงโม ( การรดน้ำตามคือใช้สายยางหรือบัวรดน้ำตามคนปลูกเลยทันที เพื่อลดความร้อนของดินปลูก ทำให้ดินเกาะกระชับรากแตงโมได้ดี )

การดูแลรักษา :

เมื่อย้ายกล้าลงแปลงแล้วต้องรดนํ้าให้ชุ่ม โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3-4 เมตร แล้วปลูกหลุมละ 3 ต้น รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

การให้ปุ๋ยแตงโม : ควรใส่ปุ๋ยคอกการใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสําคัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทําให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทําให้ดินมีธาตุอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยทําให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุล เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 2-4 ตัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมาก หรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ ต่อรอบฤดูปลูก  วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมีลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยละลายนํ้าลงไปสู่รากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้เป็นวิธีที่จะทําให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโพแทสเซียมจากปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโมมากพอสมควรทีเดียว ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีจึงควรใส่ไว้ใต้ดินเป็นกลุ่ม ๆ เช่นใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่มแตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่  ปุ๋ยที่ใส่เสริมหลังปลูก ต้องคํานึงถึงอยู่เสมอว่ารากแตงโมส่วนใหญ่ เดินตามแนวนอนขนานกับผิวดินและเถาของแตงโม ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ยเข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ยอยู่ในรูปที่ค่อย ๆ ละลายนํ้าเพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน หลังย้ายปลูก) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ (ใส่ทางดินรองพื้นก้นหลุม) และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 1 กิโลกรัม  ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-9-20 อัตรา 4 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ผ่านระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะติดดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16  อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด โดยให้ปุ๋ยวันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน

 – ระยะขยายผล สร้างเนื้อ เข้าสี (อายุ 35-55 วัน) แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-24 อัตรา 4-5 กิโลกรัม ต่อนํ้า 100 ลิตร/ไร่ ประยุกต์ให้ทางระบบน้ำหยด ให้ปุ๋ยวันเว้นวัน ต่อเนื่อง 11 ครั้ง และใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพตามอัตราส่วนและปริมาณแนะนำ ทุก 7-10 วัน ช่วยบำรุงขยายผล สร้างเนื้อ เพิ่มน้ำหนัก ให้แตงโมลูกใหญ่ และเพิ่มรสชาติความหวานอร่อย

การให้นํ้าและการดูแลรักษาแปลง

 ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกําลังเจริญเติบโตเป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการนํ้ามาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลง ควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึกซึ่งจะทําให้ดินขาดอากาศออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใดรากแตงโมจะได้รับนํ้า และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จํากัดไปด้วย ดินที่ขาดนํ้าแล้วแห้งแข็งทําให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโม จะไม่ขาดอากาศแม้ว่าจะขาดนํ้าก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมาก ๆ ได้เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึกเท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้เพราะเนื้อดินทั้งเหนียว และแน่นอุ้มนํ้าไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายนํ้าออกจากผิวดินได้ไวมากและดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทรายหรือดินร่วนทราย จึงทําให้ต้องให้นํ้ากับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่าคือต้องให้นํ้าอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดนํ้าทุกวันๆ ละ ครั้ง

การคลุมแปลงด้วยฟาง หรือใช้พลาสติก

เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟาง การคลุมดินด้วยฟางจะมีผล ดังนี้คือ  

1) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทําให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน

2) ทําให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน

3) ป้องกันไม่ให้หน้าดินร้อนจัดเกินไป

4) เป็นการรองผลทําให้สีของผลสมํ่าเสมอ

5) ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทําให้ใบแตงโมสังเคราะห์แสงปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมดภายในเวลา 2-3 สัปดาห์เท่านั้น

การจัดเถาแตงโม

: ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับ กัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทําให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึง เพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเหล่านั้นออกให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ(การต่อดอก)

ผู้ปลูกแตงโมมักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผลเนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทําให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ถูกสารฆ่าแมลง ตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้ง แต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแล้วดอกตัวเมีย จะหุบและไม่ยอมรับการ ผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทําได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณูซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงควํ่าดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บน เกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า “การต่อดอก”

การปลิดผลทิ้ง

: แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วยควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผลให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่ และรูปทรงผลได้รูปสมํ่าเสมอทั้งผลไว้ซึ่งจะทําให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงเพราะ ขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้ว ผลเล็กก็จะเล็ก

การดูแลแตงโมภายหลังผสมติดเป็นผลแล้ว

: ดอกตัวเมียของแตงโมที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมํ่าเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน   เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับกะลามะพร้าว ควรเอาฟางรองใต้ผลเพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง และกลับด้านที่ไม่โดนแสงขึ้น เพื่อให้ผลแตงมีสีสมํ่าเสมอทั่วทั้งผล จะทําให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

การเก็บผลแตงโม

แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือ พริกซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับผลมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่นหอมด้วย ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยังจึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย คือ

1) คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโม และอุณหภูมิ ของอากาศ

1.1 แตงโมพันธุ์เบา จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน  

1.2 แตงโมพันธุ์หนัก จะแก่เก็บผลผลิตได้ภายหลังดอก บานประมาณ 42-45 วัน

2) คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่

2.1 มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน

2.2 วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียง ผสมกันระหว่างเสียงกังวานและเสียงทึบแตงจะแก่พอดี (แก่75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียง กังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใน แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาว บ้านเรียกว่า “ไส้ล่ม” (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย) ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผล ตอนเช้าเพราะจะทําให้ผลแตงแตกได้

2.3 สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่พร้อมที่จะเก็บผลผลิตได้แล้ว

โรคพืชที่สําคัญในแตงโม 1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม Fusarium spp.)

แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับดิน จะแตกตามยาวและมีนํ้าเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าดูภายในจะเห็นไส้กลางเป็นสีนํ้าตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก และการปลูกซํ้าที่เดิมโรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก สาเหตุที่เกิดโรคนี้มาจาก

  1. เชื้อรานี้เจริญและทําลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส
  2. ขณะแตงกําลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) อยู่ตํ่า

4.ดินเป็นกรดจัด

การป้องกัน 1) ไม่ปลูกแตงโมซํ้าในที่แปลงเดิม และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทนเอ็ม-45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนําไปปลูก    

2) ใช้ปูนขาวโรยลงไปในดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 100 กิโลกรัม

3) ใช้สารเมทาแลคซิล หรือสารไดเทน ตามอัตราแนะนำของผู้ผลิต ฉีดพ่นที่ต้นพืชจะช่วยทําให้เชื้อโรคชะงักลง   

4) สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบีเช่น เทอราคลอร์ในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุมแตงโมที่เกิดโรค และบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน

  1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial wilt) ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้น สาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งนํ้าเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลําต้นในเถาฉํ่านํ้ามากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตง ต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบ ของแมลงเต่าแตงนี้เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อนํ้าและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้โดยฉีด สารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล85%) ป้องกันแมลงเต่าแตง และใช้ยาปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จําหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้สารเคมีนี้ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อเสียคือเสื่อมคุณภาพเร็ว จึงต้องซื้อแต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปีขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
  2. โรครานํ้าค้าง (Downy mildew) ลักษณะที่มองเห็นได้คือเกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบและขยายตัวใหญ่ขึ้น จํานวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตําแหน่งเดียวกันจะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทา เกาะกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทําลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยคุณภาพผลแก่ก็ตํ่าด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดีคือ ไดเมโทมอร์ฟ, แคปเทน, ไซเน็บ, มาแน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร (1 ปิ๊บ)หรือตามอัตราที่ผู้ผลิตแนะนำข้างฉลาก

แมลงศัตรูพืชที่สําคัญในแตงโม

  1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดํามีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดนํ้าเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทําให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้น ชาวบ้านเรียก โรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กละเอียด คล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้งความชื้นในอากาศตํ่าลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทําลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกันเช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทําลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยาเพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกันและกําจัดใช้สารเคมีหลาย ชนิด เช่น ฟิโพรนิล ไรเนต เมซูโรล หรืออิมิดาโคลพริด และอาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทําลายจะต้านทานได้และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  2. เต่าแตง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อน ต้นแตงโมหรือพืชพวกฟัก แฟง แตงกวาอื่น ๆ มักจะไม่ทําความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนําเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเราจึงต้องป้องกันกําจัดโดยฉีดพ่น ด้วยสารเคมีเซฟวิน 85 (คาร์บาริล 85%) ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อน สัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อนแล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทําให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน
  3. แมลงวันแตง เข้าทําลายตั้งแต่ระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยว ใช้พอสซ์ (carbosulfan20% W/V EC) หรือ อโซดริน ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงเพื่อป้องกันกำจัด

ข้อมูลอ้างอิง : การปลูกแตงโม (เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา, เกตุอร ราชบุตร) เอกสารเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับแตงโม

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะแตงโมต้นเล็ก (อายุ 7-15 วัน)     :     โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร    ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะทอดยอด (อายุ 15-20 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100-150 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-30 วัน)       :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ    100  ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผล สร้างเนื้อ (อายุ 35-55 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

ปลูกอ้อย คั้นน้ำ

ปลูกอ้อย คั้นน้ำ

พันธุ์อ้อยคั้นน้ำที่เรานิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำอ้อยสดในประเทศไทยเรานั้นมีพันธุ์หลัก ๆ คือพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และ พันธุ์สิงคโปร์ เมื่อปี 2562 กรมวิชาการเกษตรได้มีการเปิดตัวพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ คือพันธุ์ศรีสำโรง 1 และล่าสุดวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ได้ทำการเปิดตัวอ้อยคั้นน้ำโดยใช้ชื่อพันธุ์ ว่า “กวก. สุพรรณบุรี 1 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหากจะพิจารณาเลือกพันธุ์มาปลูก ต้องคำนึงถึงความหวาน สีและความหอมของกลิ่น โดยความหวานที่เหมาะสม คือ 13-17 องศาบริกซ์

พันธุ์อ้อย กวก.สุพรรณบุรี 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เป็นหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาทั้งด้านพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมของอ้อย ได้ทำการวิจัยและพัฒนาในระหว่างปี 2547-2564 รวมระยะเวลา 17 ปี ตั้งแต่กระบวนการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และประเมินผลผลิตขั้นต่าง ๆ เพื่อศึกษาข้อมูลด้านผลผลิต และคุณภาพน้ำอ้อยในแปลงทดลองหน่วยงานเครือข่ายของกรมวิชาการเกษตร และในไร่เกษตรกรที่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยคั้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย จนถึงการประเมินความพึงพอใจและการยอมรับจากเกษตรกรผู้ผลิต จำหน่าย และบริโภค จนประสบผลสำเร็จ ได้อ้อยคั้นน้ำพันธุ์ใหม่ผ่านการรับรองพันธุ์พืชจากคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “กวก.สุพรรณบุรี 1” มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 3622 ลิตรต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 26 ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 11.43 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 21 สีน้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม รสชาติหวาน มีความหวาน 21.54 องศาบริกซ์

อ้อยพันธุ์สิงคโปร์ หรือที่เรียกกันว่าอ้อยสำลี เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรไทยเราใช้ปลูกกันมายาวนานมากว่า 30-40 ปี ให้ผลผลิตอ้อยที่มีผิวเนื้ออ่อน ชานอ้อยนิ่มเมื่อหีบออกมาแล้วจะได้น้ำอ้อยสดสีเหลืองปนเขียว กลิ่นหอม และมีความหวาน 13-15 องศาบริกซ์ ต้นอ้อยที่ได้จะมีลำสีเหลืองแก่ ปล้องสั้นระหว่างปล้องจะมีลำนูนป่อง คล้ายข้าวต้มมัด มีใบสีเขียว แตกกอประมาณกอละ 3-4 ลำ ไม่สามารถไว้ตอได้ ไม่ต้านทานโรคลำต้นเน่าแดง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน สามารถปลูกได้ดีในบริเวณที่ลุ่ม

พันธุ์สุพรรณบุรี50 เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาขึ้น เพื่อแก้จุดด้อยที่มีในพันธุ์สิงคโปร์ โดยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นอ้อยคั้นน้ำที่ให้ความหวาน สี และกลิ่นได้ดีกว่าพันธุ์สิงคโปร์ และยังสามารถไว้ตอได้ถึง 4 ครั้ง แตกกอได้มากถึงกอละ 5-6 ลำและยังมีการปรับตัวสภาพแวดล้อมได้ดีปลูกได้ทั้งที่ลุ่มและที่ดอน และยังต้านทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวเท่ากันกับพันธุ์สิงคโปร์คือ 8 เดือน แต่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า โดยให้ผลผลิตถึงไร่ละ 4,600-5,200 ลิตร เทียบกับพันธุ์สิงคโปร์ที่ให้ผลผลิตไร่ละ 2,100-2,800 ลิตร และยังให้ความหวานได้ถึง 15-17 องศาบริกซ์ ทำให้เพื่อนเกษตรกรหลายพื้นที่หันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้น เพราะได้ผลผลิตสูงและยังสามารถลดต้นทุนได้ เพราะสามารถไว้กอได้  ส่วนพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ล่าสุดคือพันธุ์ศรีสำโรง 1 นั้น เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับสภาพการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีผลผลิตมากกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยให้ผลผลิตถึงไร่ละ 5,647 ลิตรและมีความหวานถึง 17.1 องศาบริกซ์ ส่วนของสีและความหอมนั้นเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและตลาด  อ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ ที่ได้จากการผสมสายพันธุ์ของอ้อยพันธุ์ SP074 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 2533 เสร็จสิ้นการทดลอง ในปี 2539 ลักษณะประจำพันธุ์ มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอก ค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญสีเหลืองและนูน ข้อโปน แตกกอดี เจริญเติบโตเร็ว

การปลูกอ้อย : อ้อยเป็นพืชจัดอยู่ตระกูลหญ้า มีแหล่งกำเนิดที่เกาะนิวกินี ในมหาสมุทรแปซิฟิค ลักษณะภายนอกประกอบด้วยลำต้นที่มีข้อปล้องชัดเจนมีใบเกิดสลับข้างกัน มีส่วนกาบใบหุ้มต้นไว้ โดยกาบใบจะมีไขและขนอยู่ด้วย รากอ้อยเป็นระบบรากฝอยแต่แข็งแรง สามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึก ลำต้นอ้อยสามารถแตกหน่อได้จากตาของข้อด้านล่างๆที่อยู่ชิดดิน

อ้อยจัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งร้อน มีปริมาณน้ำฝนและแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่สูงกว่า 20 องศาเซลเซียส โดยมีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอ ต้องมีปริมาณน้ำฝน 1500 มิลลิเมตรต่อปี อ้อยขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ที่มีอากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก เพราะต้นอ้อยในช่วงเล็กไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้ ดินที่ปลูกจะต้องมีสภาพความเป็นกรด – ด่างที่เหมาะสม มีอินทรียวัตถุและมีธาตุอาหารที่สมบูรณ์

การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย : ควรเป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขังหรือพื้นที่ราบ มีหน้าดินลึกอย่างน้อย 20นิ้ว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานการคมนาคมขนส่งสะดวก

การเตรียมดิน : การเตรียมดินเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกอ้อย เพราะอ้อยมีระบบรากยาวประมาณ 4 เมตร เมื่อปลูกแล้วสามารถรักษาไว้ได้หลายปี เป็นการแตกหน่อใหม่เป็นอ้อยตอ การเตรียมดินที่ดีปฏิบัติดังนี้

1.การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้งและไถขณะที่ดินมีความชื้น พอเหมาะควรไถลึกไม่ต่ำกว่า 20 นิ้ว จะช่วยให้รากหยั่งลึก แข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี ถ้าชั้นล่างเป็นดินดานควรไถระเบิดดินดานก่อนปลูก

2.การปรับพื้นที่ การปรับระดับพื้นที่จะช่วยในการระบายน้ำท่วมขัง คือการไถหน้าดินมากองรวมกัน แล้วปรับระดับดินให้ได้ระดับเดียวกัน และเกลี่ยปรับหน้าดินให้เสมอทั่วทั้งแปลง อาจมีการเติมอินทรียวัตถุต่าง ๆในพื้นที่ ๆ ดินไม่ดี ประมาณ 1-2 ตัน/ไร่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของดิน

3.การเลือกพันธุ์อ้อย การเลือกพันธุ์อ้อยควรมีการพิจารณารายละเอียดดังนี้

 มีการเลือกพันธุ์อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เช่น พันธุ์กลาง พันธุ์หนัก พันธุ์เบา  ให้ผลผลิตต่อไร่มาก และค่าความหวานสูง กลิ่นหอม รสชาติดี  มีความต้านทานต่อโรคและแมลง  มีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และสามารถไว้ตอได้ 2-3 ปี

ฤดูการปลูกอ้อยและวิธีการดูแลบำรุงรักษา

ฤดูกาลปลูกแบ่งเป็น 2 ฤดูคือ  1) ต้นฤดูฝน เขตชลประทานระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ – เดือนเมษายน

2) ปลายฤดูฝนเน้นการปลูกอ้อยข้ามแล้ง เดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม ในพื้นที่ ๆ เป็นดินร่วนปนทราย

วิธีการปลูกอ้อย : 1.ยกร่องปลูกให้มีระยะระหว่างร่อง 1.0-1.5 เมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝน ยกร่องแล้วควรปลูกทันที เพื่อรักษาความชื้นในดิน

2.รองพื้นร่องปลูกด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ที่ผ่านการหมักไว้จนได้ที่ แล้วลอกกาบใบอ้อย ใช้มีดสับท่อนละ 2-3ตา แล้วนำไปวางเรียงปลูกเป็นระยะในร่องปลูกที่เตรียมไว้ ถ้าปลูกฤดูฝนกลบหนา 5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฝน ให้กลบประมาณ 10-15 เซนติเมตร  แล้วรดน้ำตามให้ความชุ่มชื้นตามแนวร่องปลูกให้สม่ำเสมอทั่วแปลง

3.การปลูกจะใช้แรงงานคนวางท่อนพันธุ์ สับ และกลบ หรือใช้เครื่องปลูก ถ้าใช้เครื่องปลูกอ้อยเครื่องปลูกจะเปิดร่อง ใส่ปุ๋ย วางท่อนพันธุ์และกลบดินโดยอัตโนมัติ

4.ในบางพื้นที่ถ้ามีมากเพียงพอ เกษตรกรจะปล่อยน้ำเข้าตามร่องก่อนปลูกอ้อย เมื่อดินแห้งหมาด ๆ จึงนำท่อนพันธุ์ลงแปลงปลูก แล้วกลบดินให้แน่นพอประมาณ หนา 10-15 เซนติเมตร

การบำรุงดูแลรักษา อ้อยมีการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 4 ระยะคือ

1.ระยะงอก : เริ่มปลูก–1เดือนครึ่ง อ้อยจะใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นจากดิน ปุ๋ยรองพื้นจะช่วยให้รากแข็งแรง

2.ระยะแตกกอ : อายุ1เดือนครึ่ง-3เดือน ต้องการธาตุไนโตรเจนมากเพื่อใช้ในการแตกกอและช่วยให้หน่อเจริญเติบโต

3.ระยะย่างปล้อง : อายุ 4 – 5เดือน เป็นระยะกำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อย เป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องใช้ปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ อากาศ น้ำและปุ๋ย

4.ระยะสุกแก่ : เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวเป็นระยะสะสมน้ำตาล ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องใสปุ๋ยทางดิน  อาจฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบและน้ำตาลทางด่วนเพิ่มเติมได้ในช่วงนี้

การใส่ปุ๋ย : การใส่ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกพืชในปัจจุบัน ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดิน ร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีควรมีธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ตัว ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สูตรแนะนำคือ 15-15-15 และ 15-5-25 เป็นต้น

ดินร่วนปนทราย : ครั้งที่1 แนะนำปุ๋ยสูตร 15-15-15, 15-5-25 หรือ 16-16-8 รองก้นร่องพร้อมปลูก หลังแต่งตอ 1เดือน อัตรา 20-25 กิโลกรัม / ไร่  ครั้งที่2 เมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 50-60 กิโลกรัม / ไร่  **ถ้าเป็นอ้อยตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) อัตรา 20 กิโลกรัม / ไร่

ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว : ครั้งที่1 แนะนำปุ๋ยสูตร 18-12-6 , 15-15-15  หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1เดือน อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่  ครั้งที่2 เมื่ออายุ 2-3เดือน อัตรา 40 กิโลกรัม / ไร่  อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทาน เมื่ออ้อยอายุ 2-3เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) ในอัตรา 20 กิโลกรัม / ไร่  **การให้ปุ๋ยทางดินทุกครั้งทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะที่ดินมีความชื้น โดยโรยข้างแถวห่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วฝังกลบ

การให้น้ำ : สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตชลประทานหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรให้น้ำทันทีหลังการปลูกโดยระบบน้ำหยดตามร่องปลูก  หรือสูบน้ำเข้าร่องโดยไม่ต้องระบายน้ำออก

ต้องระวังไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันเกิน 20 วัน ในขณะอ้อยกำลังเจริญเติบโต เช่นช่วงแตกกอ ระยะย่างปล้อง เป็นการสร้างขนาดลำอ้อย และสะสมน้ำตาล

งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2เดือน กรณีฝนตกหนักควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงทันที

อ้อยตอ หลังตัดแต่งตอแล้วควรให้น้ำทันที

การกำจัดวัชพืช : การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4เดือนแรก ถ้าหากวัชพืชมากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง การกำจัดวัชพืชในการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ควรใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรทุ่นแรง เช่น รถพรวนดิน ตัดหญ้า เป็นต้น ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช

 

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคใบขาว : สาเหตุเกิดจาก เชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่เจริญเติบโตในต้นอ้อย หรือในแมลงพาหะเท่านั้น และแมลงพาหะที่ถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมา มี 2ชนิด คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล และเพลี้ยจั๊กจั่นหลังขาว

ลักษณะอาการ : ใบอ้อยเรียวแคบ สีเขียวอ่อน แตกกอเป็นฝอย พบทุกระยะการเจริญเติบโต อาการปรากฎชัดเจนในอ้อยตอที่แตกใหม่อายุ 4-5 เดือนขึ้นไป จะสังเกตได้จากการแตกหน่อสีขาวที่โคนกอหรือตาข้าง พบโรคได้ในทุกแหล่งปลูก และสามารถแพร่ระบาดได้ผ่านทางท่อนพันธุ์ 

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝนในแหล่งปลูกที่เป็นดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด : 1) ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค หากมีความจำเป็นให้แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง

2) ขุดอ้อยที่เป็นโรค ไปเผาหรือฝังทำลายนอกแปลงปลูก เพราะเสี่ยงที่แมลงพาหะจะมาดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายทอดเชื้อใบขาวไปยังกออื่น ๆ

3) ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรโรค เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วพร้า ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือข้าวโพด เป็นต้น  

4) ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคนี้ต่อเนื่อง ให้ทำการรื้อแปลงและทำลายตออ้อยทิ้ง

โรคเหี่ยวเน่าแดง :  สาเหตุจาก เชื้อรา 2 ชนิด Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum

ลักษณะอาการ : ยอดเหลืองแห้ง เนื้อในลำอ้อยเน่าช้ำสีแดง เมื่อผ่าในลำจะเห็นเนื้ออ้อยเน่าช้ำเป็นสีแดงเป็นจ้ำ หรือเนื้ออ้อยเน่าเป็นสีน้ำตาลปนม่วง อ้อยปลูกใหม่จะเริ่มแสดงอาการในเดือนที่ 6-7 ทำให้ผลผลิตเสียหาย และอ้อยตอ จะเริ่มแสดงอาการในเดือนที่ 2-3 หลังจากแต่งตอ เชื้อราสาเหตุติดมากับท่อนพันธุ์  แพร่ขยายไปตามดิน สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม และไหลไปกับน้ำ พบระบาดในแหล่งปลูกภาคกลาง

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝน

การป้องกันกำจัด : 1) ปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค

2)ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค

3)ถ้าพบมีการระบาดในแปลงอ้อยปลูก งดการให้ปุ๋ยและน้ำทันที แล้วรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน

4)ปลูกพืชสลับ เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือถั่วเหลืองก่อนปลูกอ้อยฤดูใหม่

5)ทำลายซากตอเก่าโดยการคราดออกและทำการเผาทำลาย  และไถตากดิน ประมาณ 3 ครั้ง ก่อนปลูกใหม่

โรคแส้ดำ : สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต้นอ้อย

ลักษณะอาการ : ส่วนยอดจะดูเป็นก้านแข็งยาว คล้าย ๆ แส้สีดำ ในส่วนของตออ้อย ถ้าเป็นโรคนี้รุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกรน ดูคล้ายกอตะไคร้ จากนั้นจะแห้งตายทั้งกอผลผลิตจะลดลงมาก ในตอถัดไปมักจะพบโรคนี้ในทุกแหล่งปลูก เชื้อราสาเหตุติดมากับท่อนพันธุ์  แพร่ขยายไปตามดิน สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม และไหลไปกับน้ำ ทำให้ผลผลิตในพันธุ์อ่อนแอต่อโรคจะลดลง 50-80 เปอร์เซ็นต์

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงได้ในทุกฤดู

การป้องกันและกำจัด : 1) ปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์อ้อยที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค

2) ไถทำลายอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งของเชื้อแพร่ระบาดต่อไปในอ้อยปลูก

3) หากอยู่ในพื้นที่เป็นโรครุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์อ่อนแอไม่ต้านทานโรค

4) แช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารป้องกันกำจัดโรคพืช

แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

หนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนเจาะลำต้นอ้อย

ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลเข้มวางไข่เป็นกลุ่มตามใบ กาบใบและลำต้น ตัวหนอนสีขาวนวล โตเต็มที่ประมาณ 2เซนติเมตร มีจุดกลม ขนาดหัวเข็มหมุดหลังลำตัว หนอนจะเจาะเข้าต้นอ้อยบริเวณส่วนยอด แล้วกัดกินเนื้ออ้อย ลงมาถึงโคนต้นพบการระบาดในทุกแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ใกล้แหล่งน้ำหรือติดกับนาข้าว มักเข้าทำลายตั้งแต่ช่วงอ้อยย่างปล้อง อายุประมาณ 5เดือน ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัด : 1) หลังเก็บเกี่ยวใช้ใบอ้อยคลุมดินเพื่อป้องกันการทำลายของหนอน

2) ในแหล่งที่มีการระบาดประจำใช้พันธุ์ที่ต้านทาน

3) ตัดและทำลายต้นที่มีหนอนเข้าทำลายออกจากแปลง

4) ใช้สารชีวภัณฑ์ บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ป้องกันกำจัดหนอน หรือปล่อยแตนเบียนไข่ 20,000 ตัวต่อไร่ เป็นวิธีธรรมชาติ

หนอนกอลายจุดเล็ก

ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาล ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลเข้มมีจุดสีน้ำตาลอยู่ข้างละจุด ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน วางไข่เป็นกลุ่มที่ใบ  ตัวหนอนมีลายสีน้ำตาลดำ สลับขาว หัวสีน้ำตาลเข้ม มีจุดขนาดเล็กบนหลังปล้องละคู่ มักทิ้งตัวลงมากัดกิน ส่วนเจริญเติบโตอ้อย  ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย พบการระบาดในทุกแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดในช่วงอุณหภูมิสูงและอากาศแห้งแล้ง หรือช่วงตั้งแต่อ้อยเริ่มแตกกอ อายุประมาณ 1-4เดือน

การป้องกันกำจัด : 1) หลังเก็บเกี่ยวใช้ใบอ้อยคลุมดินเพื่อป้องกันการทำลายของหนอน

2) ในแหล่งที่มีการระบาดประจำใช้พันธุ์ที่ต้านทาน

3) ตัดและทำลายต้นที่มีหนอนเข้าทำลายออกจากแปลง

4) ใช้สารชีวภัณฑ์ บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ป้องกันกำจัดหนอน หรือปล่อยแตนเบียนไข่ 20,000 ตัวต่อไร่ เป็นวิธีธรรมชาติ

ด้วงหนวดยาว

ลักษณะการเข้าทำลาย : เป็นแมลงศัตรูในดิน ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลแดง เพศเมียส่วนท้องมีลักษณะมน ส่วนเพศผู้ตรงปลายเว้าพบระบาดมากในดินร่วนปนทราย วางไข่ใกล้โคนต้นอ้อย หนอนมีรูปร่างแบนทรงกระบอก สีขาวนวล กัดกินบริเวณรากและเหง้าอ้อย ทำให้ต้นเป็นโพรงแห้งตายทั้งกอ

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในดินร่วนปนทรายช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน

การป้องกันกำจัด : 1) ถ้าเกิดการระบาดทำลายอ้อยปลูกเกิน 24 เปอร์เซ็นต์ ควรไถทิ้งหลังเก็บเกี่ยว

2) ไถตาก ไถพรวนดินหลายๆรอบ ก่อนปลูกอ้อยในแปลง

3) ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เป็นระยะที่พบตัวเต็มวัยจำนวนมาก ใช้กับดักหลุมปูผ้าพลาสติกแล้วจับไปทำลาย

4) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัด

แมลงนูนหลวง

ลักษณะการเข้าทำลาย : เป็นศัตรูในดินตัวเต็มวัยปีกแข็ง วางไข่ในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร หนอนมีลักษณะโค้งงอ สีขาวนวล ปากมีเขี้ยวใหญ่แข็งแรง กัดกินรากอ้อยเหง้าออ้อย แห้งตายทั้งกอ ทำให้อ้อยหักล้ม

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด : 1) ใช้ไฟล่อแมลงและจับตัวเต็มวัยไปทำลาย

2) ไถตาก ไถพรวนดินหลายๆรอบเพื่อทำลายไข่และหนอนในดิน ก่อนปลูกอ้อยในแปลง

3) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัด

ปลวก

ลักษณะการเข้าทำลาย : สร้างรังอยู่ใต้ดินลำตัวสีขาว เข้าทำลายลำอ้อยในระดับต่ำกว่าผิวดิน  กัดกินอ้อยเป็นโพรงแล้วบรรจุดินอัดเข้าแทนที่ เข้าทำลายอ้อยในทุกระยะการเจริญเติบโต พบการระบาดในทุกระยะแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน

การป้องกันกำจัด : 1) ไถดะ 1-2 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน ไถพรวน 2-3 ครั้ง

2) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัดปลวกใต้ดิน

การเก็บเกี่ยว : ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือน หลังปลูก ให้น้ำอ้อยมีค่าความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส หรือค่าบริกซ์ส่วนตรงกลาง และปลายลำแตกต่างกันน้อยกว่า 2

 

วิธีการเก็บเกี่ยว : ใช้มีดถากใบและกาบใบออกทั้ง 2ด้าน แล้วตัดอ้อยให้ชิดดิน  ควรตัดยอดอ้อยต่ำกว่าคอใบประมาณ 25-30 เซนติเมตร ในอ้อยที่ยังไม่ออกดอก และตัดต่ำจากใบธง ประมาณ 100-150 เซนติเมตร ในอ้อยที่ออกดอก แล้วใช้ยอดอ้อยมัดโคนและปลาย มัดละ 10ลำ แล้ววางเรียงกันในไร่

 

การบันทึกข้อมูลแปลง : เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในทุกช่วงเวลา เพื่อให้มีการตรวจสอบได้หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการผลิตพืช และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ดังนี้

1) สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝน

2) พันธุ์ที่ใช้ปลูก และวันที่ปลูก

3) วันที่ให้ปุ๋ย ให้น้ำและปริมาณ  ชนิดปุ๋ยและอัตราการให้

4) วันที่เริ่มมีศัตรูพืชระบาด ชนิดและปริมาณ (โรค และแมลง)

5) วันที่เก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่าย ปริมาณ คุณภาพ ราคาผลผลิต และรายได้

6) ปัญหา อุปสรรค ตลอดฤดูกาลปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง

ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกอ้อย (กรมส่งเสริมการเกษตร) , ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี  

      : เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ (ปิยพร วิสระพันธุ์) , สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับอ้อย

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก     :    ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะงอก ( เริ่มปลูก-1เดือนครึ่ง )       :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะแตกกอ ( 1เดือนครึ่ง-3เดือน )    : โล่เขียว 100-200 ซีซี+ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะย่างปล้อง ( 4-6เดือน )              :  โล่เขียว 200 ซีซี+ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะแก่และสุก ( 8เดือน-เก็บเกี่ยว )  :  โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

 

 

 

 

วิธีปลูกกะหล่ำปลี

วิธีการกะหล่ำปลี ให้ได้ผลิตสูง

พันธุ์และการปลูก

 

พันธุ์กะหล่ำปลีมีความหลากหลายของลักษณะหัวและสี เลือกพันธุ์ปลูกที่ตรงกับ ความต้องการของตลาดและมีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เมล็ดพันธุ์การค้าส่วนใหญ่เป็นลูกผสมจากต่างประเทศ การแบ่งพันธุ์ตามอายุการเก็บเกี่ยว ประกอบด้วยพันธุ์หนักที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบาอายุ 60-70 วัน

พันธุ์กะหล่ำปลี

พันธุ์หนัก ลักษณะหัวใหญ่แต่ไม่แน่น น้ำหนักระหว่าง 2-4 กิโลกรัม ไม่ค่อยกรอบและเก็บไว้ได้ไม่นาน ต้องการอากาศเย็นสม่ำเสมอระยะเวลายาวนาน เช่น ชัวเฮทเบอพี, พรีเมี่ยม, แฟลชท์ดัชท์, วิชคอนชั่น รูบี้บอล, รูบี้เพอเฟคชั่น และกะหล่ำปลีจีนพันธุ์เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

พันธุ์กลาง ลักษณะหัวค่อนข้างกลมแบน หัวแน่น น้ำหนักระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ต้องการอากาศเย็นมากกว่าพันธุ์เบา เก็บไว้ได้นานพอสมควรสะดวกในการขนส่ง เช่น เฮนฮูเลนกลอรี่, ซัสเสสชัน และออลซีซั่น

พันธุ์เบา มีลักษณะพันธุ์ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่นโคเปนเฮเกนมาร์เก็ต ลักษณะหัวกลมรี แน่น เส้นใบนูนเด่น มีน้ำหนักระหว่าง 0.3-2 กิโลกรัม ปลูกง่าย ต้องการอากาศหนาวน้อย เออรี่เจอซี่เวดฟิลด์ มีลักษณะหัวเล็กแน่น ฐานโตยอดแหลมมีรสชาติดี น้ำหนักและการปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต มาเรียนมาร์เก็ต, โกลเดนเอเคอร์ ลักษณะหัวค่อนข้างแบน มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ตเล็กน้อย หัวแน่น น้ำหนักดี

การจำแนกตามอายุเก็บเกี่ยวและสี เช่น กะหล่ำปลีพันธุ์หนัก ได้แก่ กะหล่ำปลีสีม่วง กะหล่ำปลีใบย่น กะหล่ำปลีพันธุ์กลาง ได้แก่ กะหล่ำปลีสีเขียว – สีขาว รูปกลม รูปแป้น  กะหล่ำปลีพันธุ์เบา ได้แก่ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม กะหล่ำปลีปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี อุณหภูมิที่เหมาะสม 15-20 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง  6-6.5  ความชื้นในดินสูงพอสมควรและได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน

การเตรียมดินและแปลงปลูก

   ไถดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน / ไร่

   ย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดต่ำกว่า 6.5 ควรใส่ปูนขาวอัตรา 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ดินควรมีความชื้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หรือ ใช้ดินเทพในอัตรา 50-100 ซีซี / น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก

   หลังเตรียมแปลงปลูกแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.0 – 2.0 ตัน / ไร่

               

การเพาะกล้า

   เตรียมดินเหมือนการเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม สูง 15-20 เซนติเมตร ปรับหน้าดินให้เรียบ

   การหว่านเมล็ด ให้กระจายบาง ๆ สม่ำเสมอ หรือทำร่องบนแปลงเพาะร่องห่างกัน 15 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดกลบด้วยดินผสมหรือปุ๋ยหมัก คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆ รดน้ำให้เป็นฝอยทุกวัน

   เพาะกล้าในถาดหลุม โดยใช้วัสดุปลูกหรือดินสำเร็จรูป ต้นกล้าอายุ 25-30 วันเหมาะสมในการย้ายปลูกลงแปลง

  การปลูก

   ปลูกเป็นแถวเดียวหรือแถวคู่ ระยะห่าง 30-40 x 30-40 เซนติเมตร

   รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 13-13-21 อัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ และปุ๋ยอินทรีย์ 3.0-4.0 ตัน / ไร่ รดน้ำให้เปียกชื้น

   ปลูกด้วยต้นกล้าอายุ 25-30 วัน โดยรดน้ำให้ความชื้นกับแปลงเพาะกล้าใช้เสียมเล็ก ๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้มีดินติดกับต้นกล้าให้มากที่สุดก่อนนำไปปลูกในแปลง และรดน้ำทันทีหลังปลูกให้ชุ่ม ป้องกันการเหี่ยวเฉา

การใส่ปุ๋ย ให้น้ำและการดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ยกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขณะเตรียมดิน อัตรา 100-150 กก. / ไร่ ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 14-20 วัน อัตรา 100-150 กก. / ไร่

การให้น้ำและการดูแลรักษา

   ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้ขาดน้ำ การให้น้ำมีหลายวิธี เช่น แบบปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน / ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้น้ำมากขึ้น ลดปริมาณน้ำลงเมื่อเริ่มเข้าปลี ป้องกันปลีแตก แบบสปริงเกอร์ หรือใช้สายยาง ควรรดให้แฉะแต่ไม่ให้น้ำขังแปลง

   การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ระยะแรกบ่อย ๆ

การจัดการศัตรูพืช การจัดการโรค แมลง และวัชพืช

โรคพืชในกะหล่ำ และการป้องกันกำจัด 

โรคใบจุด สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola และ A. brassicae ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุชนิดนี้มักทำให้เกิดโรคกับพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง และผักกาดหัว อาการของโรคเกิดทุกส่วน และทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่ อาการระยะแรกบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่เกิดขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เกิดเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีเหลืองต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ แผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การแพร่ระบาด : สปอร์แพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง สัตว์ มนุษย์ และติดไปกับเครื่องมือ โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝนหรือในระยะที่มีความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น ราสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ (seed-borne)

การป้องกันกำจัด :

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกผักกาดหรือกะหล่ำต่าง ๆ ลงในดินที่เคยปลูกและมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 3-4 ปี
  3. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก
  4. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบโรค เช่นคลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) 50% เอสซีหรือ โพรพิโคลนาโซล (propiconazole) 25% อีซีหรือ เตตระโคนาโซล (tetraconazole) 40% อีดับเบิ้ลยู

                โรคราน้ำค้าง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica (Pers. Ex.Fr.) Fr. ลักษณะอาการ : โรคสามารถแสดงอาการได้ทุกระยะการเจริญของพืช ในระยะกล้า ใบเลี้ยงเกิดเป็น จุดช้ำสีน้ำตาลหรือดำ ล่าต้นเน่า ยุบตัว ทำให้พืชตายหรือแคระแกรน ไม่เจริญเติบโตในระยะต้นโต อาการระยะแรกมักเกิดจุดสีเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นเหลืองด้านหน้าใบ มีเส้นใยสีขาวหรือเทา คล้ายปุยฝ้ายด้านหลังใบ แต่ในสภาพอากาศแห้งมักพบแต่อาการเหลืองซีดเทำนั้น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง แผลขยายขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อใบกลายเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล หรือแห้งตาย ในกะหล่ำดอก และบล็อกโคลี่ ถ้าเชื้อเข้าทำลายใยระยะสร้างดอก จะเกิดเป็นจุดดำเล็ก ๆ บนช่อดอก หากอาการรุนแรงดอกอาจยืด หรือบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ในกะหล่ำปลีเกิดแผลเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบ ไม่ค่อยขยายขนาด

                การแพร่ระบาด : ราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝนหรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อาการของโรคพบได้ทั่วไป สภาวะอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง หมอกหรือน้ำค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค และการระบาดของเชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ผนังหนาซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืช วัชพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

                การป้องกันกำจัด : 1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคแซบ

  1. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป
  2. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บทำลายเศษซากพืชออกจากบริเวณแปลงปลูก
  3. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในแปลงที่เคยมีการระบาด และควรปลูกพืชหมุนเวียน
  4. เมื่อพบอาการของโรคในแปลง ควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไซม็อกซิเมท (cymoxanil)8% + แมนโคเซบ (mancozeb) 64% ดับเบิ้ลยูพี หรือ แมนโคเซบ (mancozeb) 80% ดับเบิ้ลยูพีหรือ เมทาแลกซิล (metalaxyl) + แมนโคเซบ (mancozeb) 72% ดับเบิ้ลยูพีหรือ โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์(propamocarb hydrochloride) 72.2% เอสแอล หรือสารอื่น ๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่ถ้าหากใช้สารประกอบทองแดงในระยะกล้า ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เพราะเป็นพิษต่อกล้า

โรคเน่าเละ สาเหตุ : เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. Carotovora

ลักษณะอาการ : แบคทีเรียสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชทั้งในไร่และโรงเก็บ อาการเริ่มแรกแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลามทำให้แผลเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ บริเวณแผลยุบตัว มีเมือกเยิ้มออกมา เนื้อเยื่อพืชถูกทำลาย

การแพร่ระบาด : ระบาดโดยลม ฝน ทำให้เกิดแผลกับพืช เชื้อเข้าทำลายได้นอกจากนี้ เชื้อยังอยู่ในเศษซากพืชที่เป็นโรคอีกด้วย โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ในสภาพโรงเก็บพบระบาดลุกลามถ้ามีพืชที่เป็นโรคปะปนอยู่ จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด : วิธีเขตกรรม : 1. ไถกลบเศษพืชผักทันทีที่เก็บเกี่ยวแล้ว และทำการตากดินแล้ว ไถกลบอีกครั้ง

  1. ปลูกพืชหมุนเวียนด้วยพวกธัญพืชหรือข้าวโพด

วิธีกล : 1. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผล และทำลายเศษ ซากพืชที่เป็นโรคด้วยการเผา

  1. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนแปลงปลูกผักและโรงเก็บ

แมลงศัตรูในกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

การใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ได้แก่

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา : รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (การผลิตกะหล่ำปลี)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับกะหล่ำปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน      

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

         

กว่าจะเป็นสับปะรด

กว่าจะเป็นสับปะรด

สับปะรดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ชาวอินเดียนพื้นเมืองเป็นผู้ค้นพบ และรู้จักสับปะรดมานานก่อนที่โคลัมบัสจะพบในปี ค.ศ. 1493 และชาวอินเดียนเผ่านี้เองที่เป็นผู้เผยแพร่สับปะรดไปสู่แหล่งอื่น ๆ เช่น บราซิล เวเนซูเอลา โคลัมเบีย ปานามา และหมู่เกาะแอตแลนติส การปลูกสับปะรดในประเทศไทยพบว่า ในช่วงปีค.ศ. 1680 – 1700 หรือประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีรายงานการพบสับปะรดในประเทศไทย ประเทศพม่า และแคว้นอัสสัม ถ้าในช่วงปี ค.ศ. 1680 -1700 จะตรงกับปี พ.ศ. 2223 – 2243 ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับ ประเทศไทยเป็นผู้นำสับปะรดเข้ามา สับปะรดในยุคนั้นเป็นพันธุ์อินทรชิตหรือ พันธุ์ในกลุ่ม Spanish ซึ่งมีการปลูกกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป ส่วนสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในปัจจุบันและมากกว่าร้อยละ 80 ปลูกเพื่อส่งโรงงาน แหล่งปลูกใหญ่อยู่ในภาคตะวันตก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี โดยเชื่อกันว่ามีผู้นำพันธุ์เข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย และปลูกที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนแหล่งปลูกในภาคตะวันออก เช่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง เชื่อว่ามีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศอินเดียและนำไปปลูกไว้ที่อำเภอศรีราชา สับปะรดที่ปลูกทั้งสองแหล่งนี้มีรสชาติเป็น ที่ชื่นชอบของผู้บริโภคจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามสับปะรดปราณบุรี และสับปะรดศรีราชา

สับปะรดผลไม้ส่งออกอันดับที่ 6 ของไทยในแง่มูลค่า อันดับที่ 2 ในแง่ปริมาณ ผลไม้สดและแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของไทย โดยระหว่างเดือนมกราคม ถึงตุลาคมปี 2022 การส่งออกผลไม้ทั้งแบบสด แห้ง และแช่แข็ง ทำรายได้ให้ไทยถึง 1.68 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.02 % ของสินค้าส่งออกทั้งหมด โดยมี ‘ทุเรียน’ ครองแชมป์ผลไม้ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดของไทยทั้งในแบบสดและแช่แข็ง ซึ่งในช่วง 10 เดือนแรกสร้างรายได้ทั้งหมด 1.04 แสนล้านบาท สถิติข้างต้นเป็นตัวพิสูจน์ได้อย่างดีว่า สับปะรดเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญอย่างมาก กับเศรษฐกิจของไทยในฐานะครัวโลก สถานการณ์การเพาะปลูกและผลผลิตสับปะรดในปี 65 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 457,255 ไร่ คิดเป็นปริมาณผลผลิต 1.772 ล้านตัน โดยแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี พิษณุโลก และระยอง ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3 ปีที่ผ่านมา 0.39%, 2.68% และ 2.27%  ตามลำดับ ทางด้านราคาตั้งแต่ปี  63 ถึงต้นปี  64 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรรายใหม่ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น การเพาะปลูกและผลผลิตสับปะรดในปี  65  มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 457,255 ไร่  คิดเป็นปริมาณผลผลิต 1.772 ล้านตัน โดยแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี พิษณุโลก และระยอง ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3 ปีที่ผ่านมา 0.39%, 2.68% และ 2.27% ตามลำดับ ทางด้านราคาตั้งแต่ปี 63  ถึงต้นปี 64 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรรายใหม่ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

สับปะรดพันธุ์ต่าง ๆ ในแต่ละกลุ่มพันธุ์ ยึดเกณฑ์มาตรฐานของ IBPGR (1991) สามารถจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มพันธุ์          คือ  1. กลุ่ม Smooth cayenne มี 3 พันธุ์ / สายพันธุ์ คือ ปัตตาเวีย นางแล ลักกะตา  2. กลุ่ม Queen มี 5 พันธุ์ / สายพันธุ์ คือ ตราดสีทอง ภูเก็ต สวี ปัตตานี และสิงคโปร์ปัตตาเวีย 3. กลุ่ม Spanish มี 2 พันธุ์ / สายพันธุ์ คือ อินทรชิตแดง อินทรชิตขาว

 

ลักษณะสำคัญของสับปะรดแต่ละกลุ่ม                                                                                         

  1. กลุ่ม Smooth cayenne พันธุ์สับปะรดกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่นิยมปลูกมากที่สุด ทั้งเพื่อใช้บริโภคสดและใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง พันธุ์สับปะรดในกลุ่มนี้ผลมีขนาดประมาณ 1.0 – 2.5 กิโลกรัม รูปร่างค่อนข้างเป็น ทรงกระบอก เนื้อมีสีเหลือง มีเยื่อใย (fiber) ซึ่งพันธุ์สับปะรดในกลุ่ม Smooth cayenne ในประเทศไทยคือ พันธุ์ปัตตาเวีย นางแล ลักกะตา น้ำผึ้ง และโนห์รา โดยพันธุ์ที่สำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูปของไทยคือ พันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์นี้จะมีใบสีเขียวเข้มและมีสีม่วงแดงอมน้ำตาลปนอยู่บริเวณกลางใบ ผลจะมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ด้านคุณภาพผล เนื้อมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
  2. กลุ่ม Queen สับปะรดกลุ่ม Queen มีขนาดของต้นและผลเล็กกว่า กลุ่ม smooth cayenne ขอบใบมีหนามเรียงชิดติดกันตลอดความยาวใบ น้ำหนักผล ประมาณ 1.0 กิโลกรัม รูปร่างทรงกระบอกตาค่อนข้างนูน เปลือกหนา เนื้อมีสีเหลือง เข้มและกรอบ รสชาติหวาน มีเยื่อใยน้อยและมีกลิ่นหอม แกนผลอ่อนนุ่มกว่า พันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดกลุ่มนี้ในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์ภูเก็ต (จังหวัดเชียงราย เรียกว่า พันธุ์ภูแล) พันธุ์สวี พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์ปัตตานีและพันธุ์สิงคโปร์ปัตตาเวีย
  3. กลุ่ม Spanish สับปะรดกลุ่ม Spanish มีขนาดของต้นและผลอยู่ ระหว่างกลางของกลุ่ม Smooth cayenne และกลุ่ม Queen ขอบใบมีหนามแหลม 27 รูปโค้งงอ ผลมีรูปร่างกลม น้ำหนักผล 1.0 – 1.5 กิโลกรัม ตานูน ขนาดของตาใหญ่กว่า กลุ่ม Smooth cayenne เนื้อสีเหลืองจาง มีเยื่อใยมาก แกนผลเหนียว กลิ่นและ รสชาติแตกต่างจาก 2 กลุ่มแ รก รสชาติเปรี้ยว พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์อินทรชิตแดง และพันธุ์อินทรชิตขาว

การขยายพันธุ์

สับปะรดนิยมขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้น และส่วนบนผลและก้านผล ส่วนที่นิยมใช้ในการขยายพันธุ์ได้แก่ หน่อ รองมาคือ จุก และตะเกียง

หน่อ (sucker) เป็นส่วนที่นิยมนำมาใช้ในการขยายพันธุ์ การปลูกควรมี การคัดหน่อ โดยปลูกหน่อที่มีขนาดใกล้เคียงกันในแปลงเดียวกัน

จุก (crown) ส่วนบนสุดของผล เป็นส่วนที่นิยมนำมาใช้ในการขยายพันธุ์ เช่นกัน การปลูกจากจุกจะได้ต้นสับปะรดที่มีขนาดสม่ำเสมอกัน แต่จะใช้เวลาตั้งแต่ ปลูก – ออกดอก และเก็บเกี่ยวนานกว่าการปลูกด้วยหน่อ

ตะเกียง (slip) คือหน่อที่เกิดจากตาที่อยู่บนก้านผลซึ่งมีลักษณะเป็นต้น สับปะรดเล็ก ๆ คล้ายหน่อสับปะรดสามารถนำมาใช้ขยายพันธุ์ได้เช่นกัน แต่ไม่นิยมใช้

การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตามปกติการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะใช้ในกรณีที่ได้ พันธุ์ใหม่และมีต้นพันธุ์จำนวนน้อย และต้องการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ให้ได้ในปริมาณ มากในระยะเวลาที่รวดเร็ว หรือใช้ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องโรคเหี่ยวที่ติดไปกับ ส่วนขยายพันธุ์และต้องการผลิตต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค เช่น การผลิตต้นพันธุ์สับปะรด ปัตตาเวียปลอดโรคเหี่ยว                                                                                                                                                                              การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์สับปะรดด้วยการเพาะเมล็ดนั้นส่วนใหญ่จะทำเพื่อ การปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้นตามวัตถุประสงค์ โดยทำการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ ที่มีลักษณะตามที่ต้องการ เมื่อต้นมีอายุเหมาะสมจึงบังคับให้ออกดอก และทำการผสมพันธุ์ หลังจากผสมเกสรประมาณ 5 – 6 เดือน ผลจะแก่ทำการเก็บเกี่ยวแล้ว ผ่าผลแกะนำเมล็ดออกซึ่งเมล็ดจะอยู่ภายในรังไข่

 

การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา

สับปะรดเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ แต่ปัจจัยสภาพแวดล้อมมีผลต่อ การเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพของสับปะรด โดยปัจจัยต่าง ๆ มีดังนี้

1) ระดับความสูงของพื้นที่ สับปะรดสามารถปลูกได้ตั้งแต่ที่ความสูงระดับน้ำทะเลขึ้นไป จนถึงระดับ 1,200 เมตร แต่ถ้าจะปลูกเป็นการค้าควรอยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าระดับพื้นที่ยิ่งสูงขึ้นจะทำให้อุณหภูมิลดลงและมีผลต่อ การเจริญเติบโตและคุณภาพของสับปะรด

2) แสงแดด สับปะรดเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดตลอดวันและพบว่า การลดปริมาณ แสงแดดลง 20 เปอร์เซ็นต์ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง 10 เปอร์เซ็นต์

3) อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสับปะรดช่วง 24-30 องศาเซลเซียส ตามปกติแล้วการเจริญเติบโตของสับปะรดจะหยุดชะงักเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ซึ่งแหล่งผลิตสับปะรดเป็นการค้าของโลกส่วนใหญ่จะอยู่ตาม แนวพื้นที่ชายทะเลหรือมหาสมุทร หรือตามพื้นที่เกาะต่าง ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิและความชื้นน้อยกว่าพื้นที่ระดับเดียวกันที่อยู่ภายในของทวีป ดังนั้น จะเห็นได้ว่าพื้นที่ปลูกสับปะรดของประเทศไทยส่วนมากอยู่ในเขตจังหวัด ชายทะเล เช่น จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี และ ระยอง เป็นต้น

4) ปริมาณน้ำฝน แม้สับปะรดเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่า สับปะรดไม่ต้องการน้ำ ส่วนใหญ่การปลูกสับปะรดของไทยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ดังนั้นถ้าปริมาณน้ำฝนมีความสม่ำเสมอหรือค่อนข้างสม่ำเสมอและกระจายตลอดปี จะทำให้สับปะรดมีการเจริญเติบโตดี เนื่องจากไม่มีช่วงหยุดชะงักการเจริญเติบโต  การขาดน้ำอย่างรุนแรงมีผลต่อผลผลิต คือ จะทำให้ขนาดผลลดลง ดังนั้น การเลือก แหล่งปลูกสับปะรดให้ได้ผลดีควรเลือกที่ที่มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 – 1,500 มิลลิเมตร / ปี และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอหรือค่อนข้างสม่ำเสมอ

5) สภาพดิน สับปะรดเป็นพืชที่ไม่เลือกชนิดของดินมากนัก แต่ดินปลูกที่เป็นดินเนื้อหยาบ เช่น ดินทรายชายทะเลมักมีการระบายน้ำดีเหมาะกว่าดินที่มีเนื้อละเอียด เช่น ดินเหนียวซึ่งระบายน้ำได้ยาก และจะเกิดปัญหาเรื่องโรคติดตามมา ดินปลูกควร เป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ความลาดเอียง 1 – 2 เปอร์เซ็นต์การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 4.5 – 5.5 สับปะรดไม่ชอบดินที่มี pH สูงเกินกว่า 7.0 ดังจะเห็นได้ว่าหากพื้นที่ปลูก ใดมีสภาพเป็นจอมปลวกเก่าอยู่มาก สับปะรดจะมีใบเหลือง ซีด อ่อนแอ ง่ายแก่ การถูกทำลายโดยโรครากเน่าและโคนเน่า ทั้งนี้เนื่องจากขาดธาตุเหล็กในรูป ที่ใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง ในด้านสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของสับปะรดระหว่าง 24 – 30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน กระจายสม่ำเสมอระหว่าง 1,000 – 1,500 มิลลิเมตร / ปี

ฤดูปลูกสับปะรด

การปลูกสับปะรดในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี ยกเว้นช่วง ที่มีฝนตกหนักเท่านั้นที่ไม่นิยมปลูกเนื่องจากมักมีโรครากเน่ายอดเน่าระบาดทำลาย และการเตรียมแปลงกระทำได้ลำบาก โดยทั่วไปเกษตรกรมักนิยมปลูก ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกไม่มี ฝนตกชุก ไม่มีปัญหาเรื่องโรครากเน่ายอดเน่า นอกจากนั้นแล้วการปลูกสับปะรด ในช่วงนี้สามารถใช้จุกปลูกได้ดี

การเตรียมพันธุ์ปลูก

วัสดุปลูกที่นิยมใช้ มี 2 แบบ คือ หน่อ และจุก การปลูกด้วยหน่อ ควรมี

การคัดขนาดหน่อ หน่อขนาดเดียวกันควรปลูกในแปลงเดียวกัน เพื่อให้ ต้นเจริญเติบโตสม่ำเสมอ สามารถบังคับดอกและเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน นอกจากนี้ การคัดขนาดวัสดุปลูกสามารถช่วยกระจายผลผลิตสับปะรดได้ เนื่องจากวัสดุปลูกที่มี ขนาดแตกต่างกัน จะมีการเจริญเติบโตไม่พร้อมกัน เมื่อนำมาปลูกพร้อม ๆ กัน จะทำให้การบังคับดอกและเก็บเกี่ยวได้ไม่พร๎อมกัน หน่อที่ใช้ปลูกมี 3 ขนาด

1) หน่อขนาดเล็ก น้ำหนัก 300 – 500 กรัม ความยาว 30 – 50 เซนติเมตร

2) หน่อขนาดกลาง น้ำหนัก 500 -700 กรัม ความยาว 50-70 เซนติเมตร

3) หน่อขนาดใหญ่ น้ำหนัก 700-900 กรัม ความยาว 70-90 เซนติเมตร

รอบการปลูกสับปะรด สับปะรดเป็นพืชที่มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวนานประมาณ 15 – 18 เดือน และหลังจากเก็บเกี่ยวผลจากต้นที่ปลูกครั้งแรก (plant crop) สามารถไว้หน่อ และเก็บผลผลิตได้อีก 1 – 2 รุ่น (First and Second ratoon crop) ซึ่งช่วงระยะ เวลาตั้งแต่การปลูกครั้งแรกจนถึงเก็บเกี่ยวหน่อรุ่นสุดท้ายและเตรียมการปลูกครั้งต่อไป ในพื้นที่เดิมเรียกว่า รอบการปลูก (crop cycle) มี 2 แบบ

  1. รอบการปลูก 4 ปี ไว้หน่อครั้งเดียว โดยจะเก็บผล 2 รุ่น คือ ผลจาก ต้นแม่ (plant crop) และเก็บผลจากหน่อรุ่นแรก (first ratoon crop)
  2. รอบการปลูก 5 ปี ไว้หน่อ 2 รุ่น และสามารถเก็บผลผลิตได้ 3 รุ่น

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเกษตรกรภาคตะวันออกบางส่วนนิยมปลูก และเก็บเกี่ยวรุ่นแม่ (plant crop) เพียงรุ่นเดียวแล้วรื้อแปลงปลูกใหม่ ซึ่งมีข้อดี คือต้นเจริญสม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมแปลงอีกครั้ง

 

การเตรียมแปลงปลูก

การเตรียมแปลงปลูก เนื่องจากรอบของการปลูกสับปะรดใช้เวลานาน 4-5 ปี จึงต้องมีการเตรียมดินอย่างดี เพื่อให้ต้นสับปะรดมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอให้ผลผลิตสูง พื้นที่ ๆเคยปลูกสับปะรดให้ไถสับใบและต้น (กรณีที่ไม่มี โรคเหี่ยวระบาด) ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 เดือน แล้วไถกลบอีกครั้ง ในพื้นที่ ๆ มีดินดาน อยู่ใต้ผิวหน้าดิน ให้ไถทำลายดินดาน และควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนปลูกและปฏิบัติ ตามคำแนะนำโดยเฉพาะการจัดการอินทรียวัตถุในดิน

                การปลูกต้องเลือกจำนวนต้นปลูกต่อไร่ที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นกับวัตถุประสงค์การปลูก ว่าจะปลูกเพื่อขายผลสดหรือปลูกเพื่อส่งโรงงาน ถ้าปลูกเพื่อส่งโรงงานและปลูก จำนวนต้น / ไร่น้อย เช่น 4,000 – 5,000 ต้น / ไร่ จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ควรปลูก 8,000 – 10,000 ต้น / ไร่ ได้ผลผลิต / ไร่สูงกว่าและมีขนาดผลเหมาะสมตามที่โรงงานต้องการ

 

วิธีการปลูกและระยะปลูก

การปลูกสับปะรดเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด กระป๋องจะปลูกในระบบร่องแถวคู่ (double row bed) ระยะปลูก 30x50x(60-90) เซนติเมตร ปลูกได้ประมาณ 8,000 หน่อ / ไร่ และควรชุบหน่อก่อนปลูกด้วย สารป้องกันโรครากเน่าหรือต้นเน่า โดยเฉพาะการปลูกช่วงกลางฤดูฝน ส่วนการปลูกสับปะรดในกลุ่ม Queen เช่น พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์สวี หรือพันธุ์ภูเก็ต นิยมปลูก แบบแถวเดี่ยวระยะปลูกระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 80 – 100 เซนติเมตร ปลูกได้ 5,000- 6,000 หน่อ / ไร่สำหรับการปลูกสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง ในพื้นที่จังหวัดตราด ส่วนใหญ่จะปลูกในสภาพกลางแจ้ง

 

การปฏิบัติดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย เนื่องจากพื้นที่ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่สภาพดินเป็นดินทราย ดินร่วนปนทรายหรือดินทรายที่มีการระบายน้ำดีทำให้มีการสูญเสียธาตุอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างเร็ว โดยสูญเสียไปกับน้ำที่ชะล้างหน้าดิน หรือน้ำที่ซึมลงไปในดินเกินกว่าระดับความลึกของระบบรากพืช นอกจากการสูญเสีย ธาตุอาหารไปกับน้ำแล้ว ธาตุอาหารอีกจำนวนหนึ่งจะถูกนำออกไปจากพื้นที่ โดยติดไปกับผลผลิตและหน่อสับปะรด การเจริญเติบโตและผลผลิตของสับปะรดจะตอบสนองต่อธาตุไนโตรเจนมากที่สุด รองลงมาคือ โพแทสเซียม ปริมาณไนโตรเจน ที่ให้กับสับปะรดจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของโพแทสเซียม ซึ่งควรจะสมดุลกันด้วย ส่วนธาตุอาหารรองที่สับปะรดต้องการและมีการตอบสนองต่อการเพิ่มแมกนีเซียม ในพื้นที่ ๆใช้ปลูกสับปะรดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว มักพบว่าสับปะรดได้รับธาตุอาหารเสริม (micronutrient) หลายธาตุไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น เหล็ก สังกะสี และ ทองแดง รวมทั้งโบรอน

การพ่นปุ๋ยทางใบสับปะรด ส่วนใหญ่ทำเมื่อพืชได้รับธาตุอาหาร ไม่เพียงพอทั้งในช่วงต้นเล็กเริ่มให้หลังจากปลูกประมาณ 1 – 2 เดือน โดยดูจาก สภาพต้น ให้ปุ๋ยทั้งหมด 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 เดือน ส่วนการพ่นปุ๋ยสับปะรด ในแปลงต้นใหญ่ในแปลงใหม่ที่พ่นปุ๋ยต้นเล็กครบ 4 ครั้ง แล้วให้พ่นปุ๋ยต่ออีก เดือนละครั้ง จนถึงกำหนดการให้สารเคมีบังคับดอก จึงหยุดการพ่นปุ๋ย ส่วนใน แปลงเก่าที่เลี้ยงหน่อ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วประมาณ 2 เดือน ให้พ่นปุ๋ยต่ออีก เดือนละครั้งจนถึงกำหนดการให้สารเคมีบังคับดอก จึงหยุดการพ่นปุ๋ย

การตกค้างของไนเตรท เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน มากเกินไปหรือใส่ไม่ถูกช่วงเวลา หรืออาจเกิดจากพืชไม่สามารถทำลายไนเตรทได้เอง ตามปกติเนื่องจากความบกพร่องของเอนไซม์ไนเตรทรีดัคเตส (nitrate reductase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่เปลี่ยนไนเตรทให้อยู่ในรูปอื่น โดยเอนไซม์ไนเตรทรีดัคเตสมีโมลิบดินัมเป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการ เช่น การดูดสารไนเตรทขึ้นไปมากในช่วงหลังฝนตก ความเข้มแสงน้อย และขาดธาตุอาหารเสริมบางชนิด รวมทั้งการปฏิบัติบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแคะจุกหรือเดาะจุก

การแก้ไขปัญหาการตกค้างของไนเตรท กรมวิชาการเกษตร (2545) ได้มีคำแนะนำให้เกษตรกรแก้ไขปัญหาการตกค้างของไนเตรท โดยห้ามใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนหลังการบังคับดอกห้ามทำลายจุก และแหล่งที่พบไนเตรทตกค้างสูงใช้โมลิบดินัม 100 กรัม / ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังออกดอก 2.5 และ 4.5 เดือน หรือใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ 70 กิโลกรัม / ไร่ หลังออกดอก 2.5 เดือน

การให้น้ำ

ตามปกติการปลูกสับปะรดจะอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีความชื้นต่ำมาก ทำให้สับปะรดขาดน้ำ สับปะรดจะชะงักการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการขยายขนาด ของผล สับปะรดที่ขาดน้ำจะมีผลทำให้เจริญเติบโตช้า สับปะรดที่ขาดน้ำจะมีการเจริญเติบโต การออกดอกและการติดผล ไม่ดี ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำ ขนาดของผลไม่ได้มาตรฐาน และไม่ได้คุณภาพ แม้สับปะรดเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยแต่ก็ยังมีความไวต่อการขาดน้ำโดยเฉพาะช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ (Vegetative) ทำให้กระทบต่อผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต ในช่วงที่        สับปะรดออกดอกหากขาดน้ำจะไม่กระทบกระเทือนมากนัก อาจจะเร่งให้ผลสุกเร็วขึ้นหรือแก่พร้อมกัน ขณะที่สับปะรด ออกดอกการให้น้ำมากจะทำให้ก้านใหญ่และแกนผลใหญ่ ซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำ สับปะรดกระป๋อง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการให้น้ำตามความต้องการของสับปะรด

การบังคับดอก

ตามปกติสับปะรดจะออกดอกเองตามธรรมชาติในช่วงที่ได้รับอากาศเย็น หรือในช่วงฤดูหนาว แต่ในการปลูกสับปะรดเป็นการค้าจะมีการจัดการให้สับปะรด ออกดอกพร้อมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแปลงและการจัดการ ผลผลิตเพื่อเข้าสู่โรงงานได้ตามแผน สารเคมีที่ใช้ในการบังคับดอก 2 ชนิด คือ แคลเซียมคาร์ไบด์(Calcium carbide : CaC2 ) หรืออะเซทธิลีน (acelylene : C2H2 ) และ  เอทธีฟอน (ethephon; 2-chloroethyl phosphonic acid) ซึ่งต้นสับปะรดที่พร้อมสำหรับการบังคับดอก ควรมีลักษณะ ดังนี้

1) มีน้ำหนักต้นและใบ (ไม่รวมราก) ประมาณ 2.5 – 2.8 กิโลกรัม หรือ มีใบ 45 ใบขึ้น (สับปะรดรุ่นแม่)และน้ำหนักประมาณ 1.8 – 2.0 กิโลกรัม (สับปะรดตอ)

2) ลักษณะโคนต้นอวบใหญ่ ใบกว้าง หนา สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมม่วงแดง

3) อายุประมาณ 7 – 9 เดือน เมื่อปลูกด้วยหน่อ หรือ 10 – 12 เดือน เมื่อปลูกด้วยจุก

การจัดการศัตรูพืชของสับปะรด                                                                                                                                                             

สับปะรดจัดเป็นพืชที่มีศัตรูพืชไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม มีโรคและแมลง ที่สำคัญที่เป็นปัญหาในการผลิตสับปะรด เช่น โรคเหี่ยว โรคยอดเน่า และยอดล้ม โรครากเน่าและต้นเน่า รวมทั้งโรคผลแกน ส่วนปัญหาแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยแป้งและมด ซึ่งสาเหตุของโรคเหี่ยวสับปะรด (pineapple mealybug wilt associated virus; PMWaVs) ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคเอ๋อ” เป็นปัญหาสำคัญของการปลูกสับปะรดในปัจจุบัน การแพร่กระจายของโรคเกิดจาก การนำหน่อหรือจุกจากต้นที่เป็นโรคไปปลูก ซึ่งมีเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำโรค และมดเป็นตัวแพร่กระจายเพลี้ยแป้ง ซึ่งโรคเหี่ยวในสับปะรดมีการแพร่ระบาดทุกแหล่งปลูก สับปะรดที่สำคัญของประเทศ เช่น จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ เพชรบุรี ระยอง ชลบุรี อุทัยธานี พัทลุง เป็นต้น การแพร่ระบาดโรคเหี่ยวสับปะรด จะมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะ มีการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ คือ เพลี้ยแป้งที่มีนิสัยการดูดกินน้ำเลี้ยงจาก ต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวและแพร่สู่ต้นปกติในรูปแบบการกระจายตัวแบบวงกลม มีการขยายจากจุดกลาง (ต้นเกิดโรค) แล้วค่อยๆ ลุกลามไปเรื่อย ๆ โดยมีมดเป็น ตัวการนำเพลี้ยแป้งสู่ต้นอื่น ๆ เพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส สู่ต้นสับปะรดในขณะดูดกินน้ำเลี้ยงผ่าน ทางท่ออาหาร (phloem) และเชื้อไวรัสจะเข้าพักตัวในต้นสับปะรด และจะแสดง อาการเมื่อต้นอ่อนแอ และสภาพแวดล้อมเหมาะสม เพลี้ยแป้งที่นำโรคเหี่ยว มี 2 ชนิด คือ 1. เพลี้ยแป้งสับปะรดสีชมพู Dysmicoccus brevipes (Cockerell) มักพบเสมอบริเวณส่วนล่างของพืชอาศัย เช่นราก บริเวณโคนของหน่อ 2. เพลี้ยแป้งสับปะรดสีเทา Dysmicoccus neobrevipes (Beardsley) มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ส่วนบนของพืชอาศัย เช่น ใบ ลำต้น ดอก และผล

วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ปัจจุบันการปลูกสับปะรดของเกษตรกรประสบปัญหาด้านการจัดการวัชพืช เนื่องจากการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้วัชพืชสามารถปรับตัวได้ ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตสับปะรด วัชพืชเป็นตัวแย่งปัจจัยการเจริญเติบโตและเป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูพืช เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้าในระยะแรก จึงเป็นพืชที่มีศักยภาพด้อยในการแข่งขันกับวัชพืช จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชในช่วงเวลาดังกล่าว หากไม่กำจัดวัชพืชจะทำให้สูญเสียผลผลิตประมาณ 64.3 – 80.8 เปอร์เซ็นต์ โดยวัชพืชใบกว้างและเถาเลื้อย ทำให้การเจริญเติบโตของสับปะรดลดลง 19.8 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตเสียหาย 55.8 เปอร์เซ็นต์ ความสูญเสียผลผลิตขึ้นกับชนิดวัชพืช ความหนาแน่น และองค์ประกอบสิ่งแวดล้อม เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น ปริมาณฝน หากปัจจัยเพื่อการเจริญเติบโตของพืชมีความเหมาะสมมาก ย่อมมีผลดีต่อ การเจริญเติบโตของวัชพืช ช่วงเวลาการแข่งขันของวัชพืชไม่ควรเกิน 2 เดือนแรก และช่วงเวลาปลอดวัชพืช คือ 4 เดือนแรก จึงจะไม่เกิดความสูญเสียผลผลิตถึงระดับเศรษฐกิจ

การป้องกันกำจัดวัชพืชในการปลูกสับปะรด ทำได้หลายวิธี แต่ละวิธี ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้แตกต่างกันแล้วแต่ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ และความพร้อมของผู้ปฏิบัติ ที่จะเลือกใช้วิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือจะนำหลาย วิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันตามความเหมาะสม โดยวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชสามารถ แยกออกเป็น 2 วิธีการ คือ

  1. การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช อาทิเช่น การไถ เตรียมดิน การใช้แรงงานคนหรือเครื่องมือกล และการใช้วัสดุคลุมดิน เป็นต้น 2. การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้สารกำจัดวัชพืชเป็นวิธีการกำจัดวัชพืชที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง สามารถช่วยประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต กำจัดวัชพืชได้ทันเวลาการแข่งขันของวัชพืชกับพืชปลูก ถ้าสามารถเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชได้อย่างถูกต้อง ใช้อย่างถูกวิธี ไม่เกิดผลเสีย ต่อพืชปลูก และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ดังนั้น ผู้ที่จะใช้สารกำจัดวัชพืชต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการใช้สารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้อง จึงจะได้ประโยชน์ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช มีผลต่อการให้ผลผลิตของพืชปลูกได้เต็มที่

การแบ่งชนิดของสารกำจัดวัชพืช

แบ่งตามอายุหรือขนาดของวัชพืช หรือพืชปลูก เพื่อควบคุมวัชพืชในช่วงระยะเวลาที่ต้องการ ตามคุณสมบัติ การเข้าทำลาย การเลือกทำลาย การทำลายในพืชของสารนั้น ๆ สามารถแบ่งได้ คือ

  1. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ต้องพ่นก่อน เมล็ดวัชพืชหรือก่อนวัชพืชโผล่พ้นผิวดิน จะเป็นสารชนิดที่เคลื่อนย้ายในพืช โดยเข้าทางยอดอ่อน หรือรากอ่อนของวัชพืช การใช้สารประเภทนี้ดินควรมีความชื้น พอที่จะให้เมล็ดวัชพืชงอกขึ้นมา เพื่อส่วนยอดของต้นหรือรากได้รับสาร
  2. สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้พ่นไปบน ต้นวัชพืช อาจเป็นสารชนิดเลือกทำลาย หรือเป็นสารชนิดไม่เลือกทำลาย เพราะฉะนั้นการที่จะเลือกใช้สารชนิดนี้จะต้องใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการใช้ผิดชนิด ผิดวิธี อาจเป็นอันตรายต่อพืชปลูกได้ นอกจากนี้สารกำจัด วัชพืชชนิดนี้ยังแบํงออกเป็นชนิดย่อย ๆ ตามระยะเวลาการพ่นได้ คือ

2.1 ชนิดพ่นระยะวัชพืชยังเป็นต้นอ่อน เป็นสารที่กำหนดให้ใช้กับพืช ในอัตราที่แนะนำในช่วงที่วัชพืชยังเล็ก เช่น ระยะวัชพืชมี 3 – 5 ใบ จะสามารถควบคุมวัชพืชชนิดนั้น ๆ ได้ และอาจเป็นสารประเภทเลือกทำลาย

2.2 ชนิดพ่นระยะวัชพืชโตแล้ว เป็นสารที่ใช้พ่นกำจัดวัชพืชในช่วงที่ วัชพืชโตแล้วแต่ไม่ควรเกินระยะออกดอก หรืออาจใช้ก่อนปลูกพืช

การเก็บเกี่ยวสับปะรด มี 2 แบบ คือ

  • การเก็บเกี่ยวสับปะรดเพื่อส่งโรงงาน ต้องเก็บผลสุก (เบอร์1 – 4) คือ เปลือกมีสีเหลืองจางๆ ประมาณ 1 – 2 ตา ถึงเปลือกสีเหลืองประมาณครึ่งผล ถึง 3/4 ของผลหรือประมาณ 4 – 6 ตา ไม่ควรเก็บผลสับปะรดที่อ่อนเกินไป เพราะคุณภาพจะไม่ดี เนื้อสีขาว ไม่สามารถผลิตสับปะรดเกรดสูงได้ การเก็บเกี่ยวผลสับปะรดส่งโรงงานจะหักจุกและก้านผลออก วิธีการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร รายย่อยส่วนใหญ่จะใช้คนงานหักสับปะรดในแปลง แล้วใส่ภาชนะบรรจุ แบกมาขึ้น รถบรรทุก สำหรับการเก็บเกี่ยวของเอกชนรายใหญ่ จะมีรถยนต์ ที่มีแขน (boom) ยาว 16 เมตร ค่อยเคลื่อนไปตามถนนข้างแปลง คนงานจะเลือก สับปะรดที่ได้อายุเก็บเกี่ยว หักก้านและจุกออกแล้ววางบนสายพานที่พาดไป ตามแขน (boom) สายพานจะลำเลียงผลสับปะรดมารวบรวมนำขึ้นรถบรรทุก เพื่อส่งโรงงานต่อไป

การเก็บเกี่ยวสับปะรดเพื่อจำหน่ายผลสด

2.1) ตลาดภายในประเทศ สับปะรดผลสดที่ใช้บริโภคภายในประเทศควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลสับปะรดมีความสุกตาเหลืองไม่น้อยกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ (เบอร์4 – 5) การเก็บเกี่ยวต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผลช้ำ การตัดต้องใช้มีดคมตัดให้เหลือก้านยาวติดผลประมาณ 10.0 เซนติเมตร ขึ้นไป ไม่ต้องหัก จุกออก หลังจากตัดผลสับปะรดแล้วใสํภาชนะบรรจุ ลำเลียงใส่รถบรรทุกขนส่ง การจัดเรียงบนรถบรรทุกขนส่งให้เรียงผลสับปะรด ให้เป็นระเบียบ โดยเอาส่วนจุกลง ด้านล่าง และวางซ้อนขึ้นมาเป็นชั้น ๆ

2.2) ตลาดต่างประเทศ การเก็บเกี่ยวสับปะรดเพื่อส่งจำหน่าย ต่างประเทศ ผลสับปะรดควรมีอายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะเก็บผลแก่เขียว (เบอร์ 0) ตาทุกตามีสีเขียวไม่มีสีเหลือง ซึ่งอาจดูได้จากการลอยน้ำ ผลจะลอยขนานกับน้ำ และผลสับปะรดจะต้องมีน้ำหนักตามที่ตลาดรับซื้อต้องการ จุกตรง ไม่มีโรคแมลงติดไปกับผล การขนส่งสับปะรดมายังโรงคัดบรรจุ จะต้อง ระมัดระวังไม่ให้ผลชอกช้ำ และไม่เรียงซ้อนทับกันมากชั้นเกินไป ควรมีไม้แบ่งแยก ชั้นบ้างเพื่อไม่ให้ผลด้านล่างรับน้ำหนักมากเกินไป การจัดเรียงจะเรียงตามนอน และสลับท้ายผลและจุกเป็นชั้น ๆ

อ้างอิง  :  ทวีศักดิ์ แสงอุดม (2560) สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

มันสำปะหลังทำเงิน

มันสำปะหลังทำเงิน

ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่ามันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร มีราคาในอยู่ในเกณฑ์ดี และปรับสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เพราะทั่วโลกมีความต้องการแปรรูปและเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ และ เอทานอล

ปี 2563 โลกมีผลผลิตมันสำปะหลังกว่า 300 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญ 5 อันดับแรกคือ ไนจีเรีย มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 19.82 รองลงมาคือ คองโก ร้อยละ 13.55 ไทย เป็นอันดับ 3 ร้อยละ 9.58 กานา ร้อยละ 7.21 และอินโดนีเซีย ร้อยละ 6.05

ปี 2565 คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกสูงถึง 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท และปี 2566 ก็คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังที่สำคัญของไทย ยังมีความต้องการ อีกทั้งผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้มีแนวโน้มว่าต่างประเทศจะนำเข้ามันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ ทำอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้น  ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยังระบุว่า ปี 2566 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10 ล้านไร่เศษ ผลผลิต 34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ทีมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 9 ล้าน 9 แสนไร่ ผลผลิต 34 ล้านตัน และราคาขายที่อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรขยายพื้นที่ปลูกจากอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างต่อเนื่อง เพราะใช้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการปลูกมันสำปะหลัง

ข้อมูลจากเครือข่ายผู้ปลูกมันสำปะหลัง และนักวิชาการด้านการเกษตร ชี้ให้เห็นว่า สาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคามันสำปะหลังปรับสูงขึ้น เพราะผลผลิตเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกหนักช่วงปลายปี 2565 และเสียหายจากโรคและศัตรูพืช ราคามันช่วงต้นปี 2566 จึงปรับสูงขึ้นทำให้เกษตรกรขายได้กำไร แต่อีกส่วนหนึ่งก็แทบไม่มีมันขาย

คาดการณ์ว่าต้นปี 2567 มีแนวโน้มที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก ราคาอาจปรับลดลง เพราะต้องดูความต้องการของตลาดต่างประเทศที่อาจเปลี่ยนแปลง หันกลับไปใช้ข้าวโพดแทนมันสำปะหลังในการผลิตอาหารสัตว์ และเอทานอล สิ่งสำคัญคือ เมื่อราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก เกษตรกรจึงต้องปรับตัว เรียนรู้การบำรุงรักษาดิน วิธีลดต้นทุนการผลิต เน้นเก็บหัวมันครบอายุ มีค่าแป้งสูง หรือปลูกมันคุณภาพ เร่งจัดการควบคุมโรคระบาด ทั้งโรคใบด่างและศัตรูพืช เช่นเพลี้ย และ ไรแดง ไม่ให้ระบาดในพื้นที่วงกว้าง ที่ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัด และทำให้ผลผลิตเสียหาย

ที่ผ่านมาไทยนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น เพื่อแปรรูปส่งออกนอกจากเป็นประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังอันดับ 3 ของโลกแล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน ไทยมีโรงงานแป้งมันสำปะหลังกว่า 1,200 โรงงาน และช่วงนี้ตามแนวชายแดนก็เริ่มมีการขนมัน จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา เพื่อแปรรูปเตรียมส่งออกอย่างต่อเนื่อง  รถบรรทุกพวงของผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง ทยอยเข้ามาจอดต่อแถว เพื่อรอคิวลงแพขนานยนต์ ที่บริเวณด่านศุลกากรบึงกาฬ บ้านพันลำ ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

เป็นการตีรถเปล่าข้ามไปบรรทุกมันสับปะหลัง ตากแห้ง หรือมันเส้น จากประเทศลาว เพื่อส่งเข้าโรงงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยข้อมูลการนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรบึงกาฬ เฉพาะมันเส้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค้าการนำเข้ามันเส้น รวมกว่า 570 ล้านบาท และเพิ่มมากขึ้นชัดเจน ในเดือนมกราคมมูลค่ากว่า 225 ล้านบาท เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มเป็น 282 ล้านบาท ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ปี 2561 – 2565 ประเทศไทยนำเข้าหัวมันสำปะหลัง มันเส้น มันอัดเม็ด มันฝาน และแป้งมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากลาว และกัมพูชา ปี 2561 นำเข้ากว่า 2 ล้านตัน มูลค่ากว่า 9,500 ล้านบาท เพิ่มเป็นปริมาณ 4 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 หมื่น 9 พันล้านบาท ในปี 2565  เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอสำหรับแปรรูป เพื่อส่งออก ประกอบกับประเทศจีนมีความต้องการมันเส้นเป็นจำนวนมาก ปี 2566 คาดว่าปริมาณการนำเข้าจะใกล้เคียงกับปี 2565 โดยไทยมีโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง 1,205 แห่ง จังหวัดนครราชสีมามีมากที่สุดคือ 162 แห่ง

มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดปีแต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ( เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ) ถึง 65 เปอร์เซ็นต์และปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง ( เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ การเลือกฤดูปลูกของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. ปริมาณน้ำฝน การปลูกในช่วงต้นฤดูปริมาณน้ำฝนยังไม่มากนัก จึงมีเวลาเตรียมดินแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี
  2. ชนิดดิน ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรีแต่ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน
  3. พันธุ์มันสำปะหลัง พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองถ้าเก็บเกี่ยวในฤดูฝนจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ และการขนส่งลำบากจึงนิยมปลูกปลายฤดู เพื่อการเก็บเกี่ยวและขนส่งในฤดูแล้งจะได้คุณภาพและราคาดี

การปลูกมันสำปะหลัง

 การเตรียมดิน

1) ดินปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย เป็นดินไร่ในที่นาดอน หรือที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบลาดชัน ชุดดินแต่ละชุดมีสมบัติแตกต่างกัน คุณสมบัติที่สำคัญที่ใช้ในการจำแนกชนิดดิน และเพื่อกำหนดคำแนะนำเบื้องต้น ในการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช คือ ประเภทเนื้อดิน 3 แบบ คือ ดินเนื้อละเอียดดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ  ประเภทเนื้อดินของดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทยคือ ดินร่วนปนทราย รองลงมาคือ ดินทราย ดินเหนียวสีแดง และดินเหนียวสีดำที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

2) ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลังควรเป็นดินเนื้อปานกลาง เช่น ดินร่วนปนทรายแปูงดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินเนื้อหยาบ ประเภทดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวที่มีการจัดการดินดีทำให้ดินมีสมบัติเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ เคมีชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชและปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ดินมีความโปร่งซุย

3) คุณสมบัติของดินที่จำกัดการเติบโตของมันสำปะหลัง ดินมันสำปะหลังในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายร่วน และดินร่วนปนทราย ดินประเภทนี้ในชั้นดินบน มีอนุภาคดินขนาดเม็ดทรายสูง และแร่ดินเหนียวต่าง ๆ มีโครงสร้างอุ้มน้ำไม่ดี และดูดยึดธาตุอาหารพืชได้น้อย เกิดการชะล้างละลายของธาตุอาหารพืชได้ง่าย อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดานใต้ผิวดิน ชั้นน้ำใต้ดินชั่วคราว และอาจเกิดแผ่นแข็งปิดผิวดิน ถ้าจัดการดินไม่ดีทำให้ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ำต่ำ เกิดการไหลบ่าของน้ำ น้ำท่วมขังบนผิวดิน และเกิดการกร่อนดิน ที่สำคัญคือ มีปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชในดินต่ำ มีผลทำให้สมบัติโดยรวมเป็นดินที่จำกัดการเติบโต และทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ ดินปลูกมันสำปะหลังในบางพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียดประเภทดินเหนียวสีแดง สีเทาดำ หรือสีดำ มีคุณสมบัติแน่นทึบ ระบายน้ำและอากาศไม่ดีและถ้าเป็น ดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะมีปัญหาขาดธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี

4) การไถ มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ส่วนของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวคือ ส่วนของหัวที่เกิดจากการขยายใหญ่ของรากดังนั้นการ เตรียมดินที่ดีโดยการไถให้ลึกและพรวนดินให้ร่วนซุย นอกจากจะช่วยทำลายวัชพืชในแปลงปลูกเดิมให้หมดสิ้นแล้ว ยังช่วยให้ดินมีการระบายน้ำได้ดีและมีผลทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกสัมผัสกับดินได้มาก ความงอกดีจำนวนต้นอยู่รอดสูง มันสำปะหลังจะสามารถลงหัวได้ดีผลผลิตที่จะได้จะสูงขึ้นด้วย

        *** คำแนะนำเพิ่มเติม  ใช้ดินเทพฉีดพ่นลงดินช่วงเตรียมแปลง หรือยกร่อง ก่อนปลูกหรือปักท่อนพันธุ์ลงในแปลง โดยใช้ดินเทพในอัตรา 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่  จะเพิ่มความร่วนซุยในดิน แก้ปัญหาชั้นดินแน่น และนำพาอาหารจุลินทรีย์ น้ำ และอากาศ แทรกซึมลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปได้มากกว่าปกติ

การเตรียมท่อนพันธุ์

การจัดการแปลงมันสำปะหลังที่ดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่บริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์มีความสม่ำเสมอไม่มีพันธุ์อื่นปลอมปน และจะทำให้ได้ต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่แข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากศัตรูพืช สิ่งที่ควรพิจารณาในจัดการแปลงมันสำปะหลังที่ดีมีดังนี้

พันธุ์และการเตรียมท่อนพันธุ์

– พันธุ์ควรใช้ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตามคำแนะนำของทางราชการ หรือสถาบันการศึกษาที่มีการศึกษาและวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง

– การคัดเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นพันธุ์ที่มาจากแปลงที่มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากการระบาดของศัตรูพืช และเป็นต้นพันธุ์ที่มีตาสมบูรณ์

– อายุต้นพันธุ์ควรใช้ต้นพันธุ์อายุ 8 เดือน ถึง 14 เดือน และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2 cm ณ กึ่งกลางลำต้น

– การเตรียมและแช่ท่อนพันธุ์  ตัดต้นพันธุ์มันสำปะหลังเป็นท่อน ยาวประมาณ 20–25 cm โดยให้แต่ละท่อนมีตาไม่น้อยกว่า 7 ตา จากนั้นนำ ท่อนพันธุ์มากำจัดเพลี้ยแป้งด้วยการแช่ในสารเคมี เช่น สารไทอะมีโทแซม 25% หรือ อิมิดาโคลพริด 70 % WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูเเรน 10 % WG อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 5 – 10 นาที

***คำแนะนำเพิ่มเติม ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์ประมาณ 3 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มการงอกของรากและการแตกรากใหม่สม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงให้ระบบรากมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมให้แตกใบได้เร็วขึ้น

 การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ควรให้ระยะปลูกอยู่ที่ประมาณ 80×100 เซนติเมตร ปลูกได้ตั้งแต่ช่วงต้นฝนถึงปลายฝน หรือในขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ง่ายเพียงมีความชื้นเล็กน้อย

การดูแลรักษา มีข้อปฏิบัติดังนี้ 

1) มันสำปะหลังอายุ 14 วันหรือเริ่มแตกใบอ่อน เริ่มฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ

2) มันสำปะหลังอายุ 1 เดือน ฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ

3) เริ่มดายหญ้าเมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ด้วยเคียวเกี่ยวหญ้า แล้วนำหญ้าวัชพืชต่าง ๆ มาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หรือใช้รถไถเล็กพรวนดินกำจัดหญ้าตามร่องมันสำปะหลัง

4) ตัดแต่งกิ่งมันสำปะหลังเมื่อมันอายุ 2 เดือน โดยให้เหลือกิ่งไว้ 2 กิ่งหันไปทางทิศเหนือ – ใต้ลักษณะคล้ายตัว V เพื่อให้ได้รับแสงแดดเท่ากันทั้ง 2 ด้าน

5) ช่วงมันอายุ 3-5 เดือน ฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ เพื่อเร่งขยายหัวมัน สร้างแป้ง ให้มีความสมบูรณ์ สังเกตมันเริ่มขยายหัวช่วงอายุ 5 เดือน จะมีรอยแยกของดินและจะเริ่มมีความยาวประมาณ  50 เซนติเมตร

การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยสารไดยูรอน หลังจากการปลูกทันทีไม่ควรเกิน  2 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ การใช้สารคุมวัชพืชให้ใช้ตามอัตราส่วนในฉลากแนะนำให้ถูกต้อง

 การใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก. / ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังจะมีรากแขนง  และรากฝอยมากที่สุดหลังจากอายุ 45 วันเป็นต้นไป ระยะนี้รากจะดูดซึมธาตุอาหารในดินขึ้นไปสะสมไว้ในราก และลำต้น มันสำปะหลังจะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เกิดเป็นแป้งมาสะสมในราก ทำให้รากแขนงขยายขนาดกลายเป็นหัว  กำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก             กำจัดวัชพืชครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยสารกลูโฟซิเนต ( ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตา และลำต้นมัน )

 

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไปเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำ ปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคาในขณะนั้น และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน  มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลงสู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

แหล่งข้อมูล :  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์, ข่าวเศรษฐกิจ ไทยพีบีเอส 22 มี.ค. 66

                    :  มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

คำแนะนำการใช้กับมันสำปะหลัง

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

 

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะแตกใบอ่อน                    ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                    ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะพัฒนาทรงพุ่ม                 ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน                    

– ระยะพัฒนาราก-สะสมอาหาร  ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะขยายหัว-สร้างแป้ง           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน            

โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง ช่วยให้พืชทนทานต่อโรคได้ดีขึ้น ส่งเสริมการสังเคราะห์แสงที่เข้มข้นทำให้ใบเขียวเข้ม ช่วยให้พืชทนต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้นได้ดี เช่นในช่วงเวลาอากาศเย็นหรือหนาวจัด สภาวะแล้งขาดน้ำ  ฝนตกชุกฟ้าปิด และน้ำท่วม   

ไร่เทพอาหารเสริมพืช  ประกอบไปด้วยสารฮิวมิค สาหร่ายทะเล สารฟูลวิค กรดอมิโนจากสัตว์ทะเล และสารวิตามินต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยฟื้นฟูระบบรากที่เสียหาย กระตุ้นการแตกรากใหม่ เพิ่มปริมาณรากฝอย และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ รากพืชแข็งแรงดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น และช่วยลำเลียงสารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ต่าง ๆ จากราก และใบพืชไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

ปริมาณการใช้น้ำ 450 – 500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / ฤดูกาลผลผลิต ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม เพื่อไม่ให้กระทบแล้งในช่วงออกดอก ผสมเกสร ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

การเลือกพื้นที่

เป็นพื้นที่เขตชลประทาน หรือพื้นที่สามารถให้น้ำได้ตลอดระยะเวลาปลูก ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินร่วนทราย ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้สำนักงานเกษตรอำเภอตรวจสอบชุดดิน / แผนที่ดินว่ามีความเหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือไม่ และดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 5.5 การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากดินไว้ ประมาณ 5-7 วัน จึงไถแปรพร้อมคราด 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินและให้ดินเก็บความชื้น ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่ และมีดินเป็นดินเหนียวควรทำร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อสะดวกต่อการส่งน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากแปลง ความกว้างของร่องน้ำประมาณ 0.75 – 1 เมตร

การเตรียมพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุวรรณ 4452 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทั้งพันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน
การปลูก ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวน 10,666 – 11,428 ต้นต่อไร่ และควรปลูกซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ยเคมี รองพื้นใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15 , 16-16-8 , 18-8-8 , 27-12-6 อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับดายหญ้าพูนโคนและให้น้ำไปตามร่อง
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 7-8 สัปดาห์หลังปลูก เป็นระยะเริ่มออกไหม และช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้น และธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยข้างร่องหลังจากให้น้ำแล้ว

การใส่ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ตารางการใส่ปุ๋ยปลูกข้าวโพดหวานตามลักษณะดิน

1. ดินเหนียว

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 16-20-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– พร้อมดายหญ้า ใส่ปุ๋ย และใช้ดินกลบ

2. ดินร่วนปนทราย

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย25-30 กก. / ไร่

3. ดินทราย

– หลังปลูก 14 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80 กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่

การให้น้ำ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้ำครั้งต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวชั่วคราวของใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์รดน้ำแปลงข้าวโพด ควรให้แบบทั่วถึงทั้งแปลง หรือแบบปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้น


การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท อายุ 110-120 วันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ หรือสังเกตจากใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวทั้งแปลง และควรตาก 1-2 แดด ก่อนกะเทาะเมล็ดจำหน่าย วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักร
ข้อจำกัดของการปลูกข้าวโพดสัตว์หลังนา
หลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด – ดินกรดถึงกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5)
หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำและที่น้ำท่วมขัง
หลีกเลี่ยงการปลูกล่าช้ากว่าเดือนธันวาคม

 


ข้อควรระวังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

หนู จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูแล้งมักเข้ากัดกินทำลายลำต้นและฝักข้าวโพด เนื่องจากไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมกันกำจัดหนูในพื้นที่พร้อม ๆ กันเป็นบริเวณกว้างก่อนการปลูกข้าวโพด วิธีการป้องกำจัดโดยกำจัดวัชพืชบนคันนา หรือใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว สลับกับโฟลคูมาเฟน เหยื่อพิษสำเร็จรูปประเภทออกฤทธิ์ช้า ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
การตลาด เกษตรกรที่ผลิตส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ร้อยละ 90 ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

**คำแนะนำเพิ่มเติม

สามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง ผสมน้ำ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพกับข้าวโพด

– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน (7-14 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (25-30 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกหัว (30-45 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะฝักอ่อน-ก่อนเก็บเกี่ยว (45 วันขึ้นไป) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มส่งเสริมพืชไร่อุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

มหัศจรรย์ “แฝก”อุ้มน้ำ ห่มดิน

มหัศจรรย์ “ แฝก ” อุ้มน้ำ ห่มดิน

ลักษณะของแฝก
แฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่
๑.กลุ่มพันธุ์แฝกกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ
๒.กลุ่มพันธุ์แฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
แฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

ลักษณะพิเศษของแฝก

การที่แฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
๑.มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
๒.มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
๓.แฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
๔.ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
๕.มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
๖.ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
๗.บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
๘.ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
๙.ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

การขยายพันธุ์แฝก

การขยายแม่พันธุ์ คือ การนำแม่พันธุ์แฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. การขยายแม่พันธุ์แฝก
๑.๑การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น ๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุได้ ๑ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๑.๒ การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน ๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป

 


๒. การขยายกล้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
๒.๑ การเตรียมกล้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (๒x๖ นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
๒.๒ การเตรียมกล้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว ๑-๒ เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน

การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกแฝก

๑.การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
๒.การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
๓.การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
๔.การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
๕.การปลูกกล้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
๖.ความห่างของแถวแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง ๑.๕-๓ เมตร
๗.กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
๘.ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง

การดูแลรักษาแฝก

 

๑.การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ ๔๕ ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วแฝก ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
๒.การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า ๑๕ วันขึ้นไป
๓.การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕ เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้แฝกแตกใบเขียว ในฤดูแล้ง
๔.การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวแฝกก็จะเป็นการช่วยให้แฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวแฝกได้ชัดเจน ช่วยให้แฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
๕.การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วแฝกที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่

การปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม

 

สำหรับการปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกแฝกในพื้นที่ลาดชัน
ควรปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร แฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน ๔-๖ เดือน
๒.การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ
นำกล้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ และแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกแฝก ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกแฝกไม่เกิน ๒ เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ ควรปลูกแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
๓.การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้
ควรปลูกแฝกในสวนผลไม้ ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล ๒.๕ เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ แฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป
๔.การปลูกแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่
การปลูกแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกแฝก หรือปลูกแฝกเป็นแนะระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น ในช่วงต้นฤดูฝน
๕.การปลูกแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม
ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องแฝก จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
๖.การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน
ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง ๑ แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ และระบบรากของแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย

รูปแบบการปลูกแฝกตามหลักวิชาการ

เพื่อให้การดำเนินการปลูกแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
การปลูกแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร โดยปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถว ตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก
๒.สระน้ำปลูก ๒ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกห่างขอบบ่อ ๕๐ เซนติเมตร จนรอบบ่อ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
๓.อ่างเก็บน้ำปลูก ๓ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวตั้ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคัน หรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๓ ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
๔.ปลูกริมคลองส่งน้ำ ๑ แถว ห่างขอบคลองส่ง ๓๐ เซนติเมตร
๕.ปลูกบนร่องสวน ๑ แถว ห่างขอบแปลง ๓๐ เซนติเมตร
๖.ปลูกอยู่บนไหล่ถนน ๑ แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
๗.ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๓ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๙ เมตร
๘.ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๑๒ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๑๘ เมตร

การปลูกแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
ข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การใช้ปุ๋ยพืชสด

การใช้ปุ๋ยพืชสด

โดย … อัญชลี พัดมีเทศ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการไถกลบต้น ใบและส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในระยะช่วงออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารในลําต้นสูงสุด แล้วปล่อยไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา ปุ๋ยพืชสดนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักแก่พืชแล้ว ยังให้ธาตุอาหารรองอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่พืช ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทําให้ดินร่วนซุยสะดวกต่อการไถพรวน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาในการกําจัดวัชพืชได้อีกด้วย

ลักษณะของพืชที่จะนํามาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดควรมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ดังนี้คือ

  1. ปลูกได้ง่ายเจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรงออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30-60 วัน
  2. สามารถให้นํ้าหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2000 กิโลกรัม / ไร่ขึ้นไป
  3. ทนแล้งและทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดีสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
  4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
  5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อทันและเพียงพอต่อความต้องการเมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
  6. ทําการเก็บเกี่ยว ตัดสับ และไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมาก เพราะจะทําให้ไม่สะดวกในการไถกลบ
  7. ลําต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้รวดเร็ว และมีธาตุอาหารพืชสูงชนิดของปุ๋ยพืชสด

พืชที่ใช้ทําเป็นพืชสดนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่เหมาะจะนํามาเป็นปุ๋ยพืชสดมากกว่าพืชประเภทอื่น เพราะเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารพืชสูง เมื่อตัดสับและไถกลบจะเน่าเปื่อยผุพังเร็ว โดยเฉพาะจะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช เพราะในการที่พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงนั้นพืชจะต้องได้รับธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งพืชตะกูลถั่วภายหลังไถกลบและเน่าเปื่อยผุพังแล้วก็สามารถจะให้ธาตุอาหารนี้แก่พืชที่ปลูกตามหลังอย่างมากมาย เพราะ รากถั่วจะมีปมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ปมรากถั่ว (nodule bacteria) ซึ่งมีเชื่อจุลินทรีย์ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก

จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถดึงเอาธาตุไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศมาไว้ในปมรากถั่ว เปรียบเสมือนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยไนโตรเจน จากนั้นเมื่อเราปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบํารุงดินก็จะเป็นการประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง และในขณะเดียวกันเศษ            พืชที่สลายตัวเน่าเปื่อยลงไปในดินก็จะเพิ่มธาตุอาหารพืชที่สําคัญ ๆหลายชนิดให้แก่ดินตลอดจนเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุแก้ดินช่วยปรับปรุงสภาพของดินอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมในการปลูกพืชพืชปุ๋ยสดเป็นพืชตระกูลถั่ว ก่อนปลูกควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ที่จะปลูก                        ลักษณะ  และคุณภาพของดินประกอบด้วย เพื่อให้สามารถใช้ได้ดี และให้ปริมาณนํ้าหนักพืชสดสูง โดยพิจารณาชนิดพืชที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ดังนี้

1.1 โสนไต้หวัน (Sesbania sesban) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ สามารถขึ้นได้ในดินทั่วๆ ไป แต่จะขึ้นได้ดีในดินเหนียวที่มีนํ้าขัง หรือบริเวณที่ลุ่มที่มีนํ้าท่วมถึง จึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวภาคกลาง หรือดินภาคอื่น ๆ ที่มีสภาพของดินและสภาพพื้นที่เหมือนกัน นอกจากนี้โสนไต้หวันยังทนแล้งได้ด้วย

1.2 โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) เป็นพืชที่มีดอกสีเหลืองเป็นช่อ ดอกใหญ่กว่าดอกโสนไทย และโสนไต้หวัน มีลําต้นสูงและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าโสนไต้หวัน เป็นพืชที่ให้นํ้าหนักสดสูงมากพืชหนึ่งโสนอินเดียชอบดินที่ค่อนข้างจะเป็นด่าง จึงนิยมปลูกบนที่ดอนไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินทราย ก็สามารถปลูกขึ้นได้ดีเมื่อขึ้นแล้วนํ้าขังก็ไม่ตาย

1.3 โสนคางคก (sesbania aculeata) เป็นพืชที่มีลําต้นขรุขระขึ้นได้ดีในบริเวณที่มีนํ้าขัง และสามารถขึ้นได้ดีในดินเค็ม ฉะนั้นจึงเหมาะสําหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวที่ปลูกในดินเค็ม

1.4 ปอเทือง (Crotalaria juncea) มีลําต้นคล้ายปอแก้ว ดอกจะมีสีเหลืองอยู่กระจัดกระจาย จัดว่าเป็นพืชปุ๋ยสดที่ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง ซึ่งจะหาพืชชนิดอื่นเทียบได้ยาก เนื่องจากเมื่อไถกลบแล้วจะผุพังได้รวดเร็ว และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินในปริมาณมาก ปอเทืองสามารถขึ้นได้ในดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินลูกรัง แต่ไม่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นหรือมีนํ้าขังดังนั้นจึงนิยมปลูกบนที่ดอน

1.5 ถั่วพร้า (Canvalia ensiformis) เป็นพืชที่มีลําต้นตรง บางชนิดก็เลื้อยพัน เจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีรากลึก ใบใหญ่ กว้าง ลําต้นแข็งแรง ดอกมีสีแดงอ่อน ม่วงอ่อน หรือขาว เป็นพืชทนแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไปแต่นิยมปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ปลูกพืชไร่ แต่บางครั้งก็นํามาปลูกในดินนาช่วงหน้าแล้งไม่มีนํ้าขังได้ดีเหมือนกัน

1.6 ถั่วประเภทเถาเลื้อย เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร่หนามเว็ลเว็ท คาโลโปโกเนียม ซีรูเลียม

และอัญชัน พืชเหล่านี้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นพืชคลุมดินในสวนผลไม้เพื่อปราบวัชพืชบางชนิด ใบที่ร่วงหล่นทําเป็นปุ๋ยบํารุงดิน อันเป็นประโยชน์แก่ไม้ผล ที่ปลูกมากกว่าจะตัดสับแล้วไถกลบ

1.7 ถั่วประเภทใช้เมล็ดอื่น ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วนา ถั่วลิสง ก็สามารถใช้ปลูกทําเป็นปุ๋ยพืชสดได้

  1. พืชชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เช่น พวกพืชตระกูลหญ้าก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ แต่พืชพวกนี้ส่วนใหญ่จะให้แต่เพียงอินทรีย์วัตถุ ส่วนธาตุอาหารพืชอย่างอื่นมีปริมาณน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว ฉะนั้นขณะที่ทําการไถกลบพืชตระกูลหญ้าลงไปในดิน จึงนิยมหว่านปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเพิ่งลงไปด้วยในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่อายุของพืชที่ถูกกลบ

      3. พืชนํ้า พืชนํ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว คือแหนแดง (Azolla) เนื่องจากแหนงแดงเป็นที่อาศัยของแอลจีบางชนิด

สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศมาให้ แหนแดงเน่าเปื่อยผุพังก็จะให้ไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุแก่ดิน แหนแดงสามารถเลี้ยงขยายในนาข้าวแล้วทําเป็นปุ๋ยพืชสด โดยจะให้ไนโตรเจนได้ถึง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ยังนํามาเพาะขยายพันธุ์ได้ในดินที่มีนํ้าขัง เราจึงมักพบเห็นแหนแดงมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติบริเวณที่มีนํ้าขังเสมอ

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงดิน

ในการปลูกพืชปุ๋ยสดให้ได้ผลดีนั้นควรพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการ คือ

  1. ลักษณะของดิน เนื่องจากพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ นั้น ขึ้นได้ดีในดินที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นดินเปรี้ยว ควรใส่ปูนลงไปก่อน ถ้าเป็นดินทราย ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 3-8-6 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ หวานเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้นํ้าหนักสดสูงด้วย
  2. เวลาฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝนหรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังมีอยู่ หรือปลุกก่อนการปลูกพืช หรือปักดําข้าวประมาณ 3 เดือน ในช่วงปลายฤดูฝนก็สามารถปลูกได้แต่ต้องมีความชื้นในดินอยู่บ้าง
  3. วิธีการปลูก มีหลายวิธีด้วยกัน คือการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็นหลุม หรือหว่านเมล็ดลงไปถั่วแปลงก็ได้แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีหว่าน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดแรงงานกว่า ซึ่งควรทําการไถดะก่อนแล้งจึงหว่านเมล็ดลงไป หลังจากนั้นจึงทําการคราดกลบเมล็ด ถ้าเป็นพืชที่มีเมล็ดใหญ่ควรคราดกลบให้ลึกหน่อย เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น

การใช้เมล็ดพันธุ์พืชสดที่เหมาะสมเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ด ดังนี้

ปอเทือง 5 กก.

ถั่วนา 8 กก.

โสนอินเดีย 5 กก.

ถั่วลาย 2 กก.

โสนคางคก 5 กก.

ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก.

โสนไต้หวัน 4 กก.

ไมยราบไร้หนาม 2 กก.

ถั่วพร้า 5 กก.

ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก.

ถั่วเขียว 5 กก.

คาโลโปโกเนียม 2 กก.

ถั่วเหลือง 8 กก.

อัญชัน 3 กก.

ถั่วพุ่ม 8 กก.

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสดแบ่งการใช้ได้เป็น 3 วิธีคือ

  1. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทําการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย ก่อนที่จะปลูกพืชหลักชนิดอื่น ๆ ตามมา
  2. ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ปลุก โดยปลูกพืชปุ๋ยสดหลังจากพืชหลักเติบโตเต็มที่แล้วเพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารในดิน เมื่อพืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานก็ทําการตัดสับ และไถกลบลงไปในดินระหว่างร่องปลูกพืชหลัก
  3. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่า หรือ ตามหัวไร่คันนาแล้วตัดสับเอาส่วนของพืชปุ๋ยสดนํามาใส่ในแปลงเพื่อจะทําการปลูกพืชหลัก แล้วไถกลบลงไปในดินการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดในการตัดสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดนั้น จําเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชปุ๋ยสดเป็นสําคัญ ควรกระทําเมื่อมีปริมารธาตุไนโตรเจนในพืชสูงสุด และให้นํ้าหนักพืชปุ๋ยสดสูงด้วย ฉะนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดสับและไถกลบ จึงควรทําขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถัวเจริญงอกงามสูงสุด และเป็นระยะที่องค์ประกอบของพืชปุ๋ยสดอยู่ในขั้นที่เหมาะสมแก่การสลายตัว เมื่อไถกลบแล้วจะทําให้มีปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย แต่ถ้าหากอายุแก่เลยระยะนี้ไปแล้วจํานวนธาตุไนโตรเจนในพืชลดลง

ตารางแสดงอายุการตัดสับและไถกลบ น้ำหนักสดและธาตุไนโตรเจนที่ได้รับของพืชปุ๋ยสดบางชนิด

 

ชนิดพืชปุ๋ยสด

อายุการตัดสับ

และไถกลบ (วัน)

นํ้าหนักสดที่ได้

(ตัน/ไร่)

ธาตุไนโตรเจน

(กก./ไร่)

ปอเทือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วข้าว

ถั่วเหลือง

ถั่วเขียว

โสนจีนแดง

75-90

40-50

60-75

50-60

40-50

75-90

3-4

2-3

3-4

1.5-2

2

3-4

15-20

20

20

5

5-6

7-8

 

นอกจากนี้ยังมีพืชปุ๋ยสดบงชนิดที่มีอายุยาวมาก จึงแนะนําให้ตัดสับและไถกลบ ดังนี้

โสนอินเดีย     ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ                80-80 วัน

คราม             ตัดสับและไถกลบ         เมื่ออายุ              100-80 วัน

โสนใต้หวัน     ไถกลบ                       เมื่ออายุ                75-80 วัน

ถั่วเว็ลเว็ท       ไถกลบ                       เมื่ออายุ                80-80 วัน

ถั่วนา              ไถกลบ                       เมื่ออายุ                     75 วัน

 

พืชปุ๋ยสดชนิดใดที่มีลําต้นเตี้ยทําให้การไถกลบด้วยแรงสัตว์ได้เลย แต่ถ้ามีลําต้นสูง หรือเถาเลื้อยก็ควรตัดให้ติดผิวดิน โดยตัดเป็นท่อน ๆ เสียก่อน แล้วจึงไถกลบ เมื่อพืชไถกลบถูกฝังอยู่ใต้ดินแล้วก็จะเริ่มเน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ยทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 628 สัปดาห์ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและอายุของเศษพืชนั้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและความชื้นในดินด้วย หลังจากนั้นจึงทําการปลูกพืชตามได้ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน
  2. ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. ช่วยบํารุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  4. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มนํ้าได้ดีขึ้น
  5. ทําให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  6. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  7. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด จะช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แกพืชได้มากยิ่งขึ้น
  8. ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บ้าง
  9. ลดอัตราการสูญเสียของดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. ช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์

การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นมีปัญหา คือ พืชบางชนิดเก็บเมล็ดได้ง่าย บางชนิดเก็บได้ยากหรือเก็บไม่ได้เลย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาในการปลูกก็แล้วแต่ชนิดของพันธุ์พืชและวิธีการปลูก ดังนั้น จึงสมควรที่จะต้องทราบวิธีการปลูกพืชที่จะนํามาใช้ทําเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. การเลือกที่ดิน ควรเลือกดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนตะกอน มีการระบายนํ้าดีมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 6-7 ถ้าดินมีธาตุอาหารและความชื้นพอเหมาะ ผลผลิตเมล็ดพันธุ์จะสูงมาก แต่ถ้าเป็นดินที่ขาดธาตุอาหารต้องให้ปุ๋ยเคมีช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชในระยะแรกด้วย
  2. ฤดูปลูกที่เหมาะสม ภาคกลางควรปลูกปลายฤดูฝน ประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน สําหรับภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หรือจะปลูกเมื่อฤดูฝนหมดแล้วก็ได้แต่จะต้องเก็บเมล็ดในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า ถ้ามีฝนตกระหว่างการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฝักจะขึ้นรา และเมล็ดจะเสียด้วย นอกจากนี้การตาก นวด และฝัด จะทําได้ไม่สะดวก
  3. การเตรียมดิน ผลผลิตของพืชปุ๋ยสดขึ้นอยู่กับการเตรียมดินด้วย ฉะนั้นจึงต้องเตรียมดินให้ดีก่อนที่จะหยอดเมล็ดพันธุ์โดยการไถดะลึกแล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เพื่อทําลายวัชพืชให้น้อยลงแล้วจึงไถแปรตามอีกครั้ง เมื่อความชื้นในดินพอเหมาะก็ปลูกได้ ซึ่งความชื้นในดินมีความสําคัญต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อนมาก
  4. การเตรียมเมล็ดพันธุ์เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกควรหาเปอร์เซ็นต์ความงอกก่อนการนําไปปลูก เมล็ดพันธุ์ถั่วบางชนิดหากเก็บไว้เกิน 5 เดือนความงอกของเมล็ดจะลดตํ่าลงกว่า 50% เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสงเป็นต้น นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์จะต้องสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ควรคัดเอาเมล็ดลีบออกให้หมดเวลาปลูกจะได้งอกสมํ่าเสมอ
  5. อัตราของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก พืชปุ๋ยสดที่ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมปลูกเป็นแถว โดยมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว จํานวนเมล็ดที่ใช้ปลูกต่อ 1 ไร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดและระยะปลูก ถ้าเมล็ดขนาดเล็ก จะใช้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดขนาดใหญ่จะใช้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม/ไร่

อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่ใช้ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ขอแนะนําดังนี้

  1. วิธีการปลูก มีด้วยกันหลายวิธีคือ ปลูกแบบโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม และหว่านเมล็ดลงไปทั่วแปลง แต่ในการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นิยมใช้วิธีการปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะปลูกใช้ตามคําแนะนํา โดนปลูก 4-6 แถวติต่อกันและควรเว้นทางไว้สําหรับเข้าไปพ่นยาปราบศัตรูพืช แต่ถ้าเป็นวิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ด ให้หยอดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด แล้วกลบเมล็ด ถ้าเมล็ดเล็กไม่ควรหยอดให้ลึก แต่ถ้าเมล็ดใหญ่หยอดให้ลึกได้จะช่วยให้การงอกดีขึ้นสําหรับเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่งอกยาก เช่น โสนอินเดีย ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ฯลฯ ควรใช้นํ้าร้อนจัด 2 ส่วน ผสมนํ้าเย็น 1 ส่วน แล้วเทเมล็ดลงไปในนํ้าอุ่นใช้ไม้คนให้ทั่ว แช่ทิ้งไว้12 ชั่วโมง หรือ 1 คืน จากนั้นเทนํ้าทิ้งพอเมล็ดหมาด ๆ จึงนําไปปลูกได้
  2. การดูแลรักษา ในการปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ควรมีการพรวนดินกําจัดวัชพืช และถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกหลังจากหยอดเมล็ดไปแล้วประมาณ 7-10 วัน โดยเหลือไว้หลุมละ 2-3 ต้น การพรวนดินกลบโคนต้นควรทําเมื่อพืชอายุไม่เกิน 30 วัน จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ต้นไม่ล้มง่าย
  3. การใส่ปุ๋ย แปลงพืชปุ๋ยสดควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตอัตรา 10 กก/ไร่ หรือใช้แอมโมเนียซัลเฟต 10 กก. ผสมกับปุ๋ยแอมโมฟอส(16-20-0) 10 กก. รวม 20 กก./ไร่ ใส่หลังจากพรวนดินและกําจัดวัชพืชเมื่ออายุประมาณ 3 สัปดาห์หลังปลูก ในดินบางแห่งที่เป็นกรด จําเป็นต้องใส่ปูนขาวอัตรา100 กก./ไร่ ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี
  4. การป้องกันกําจัดศัตรูพืช การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ถ้าไม่มีการป้องกันกําจัดศัตรูพืชแล้ว จะเก็บเมล็ดไม่ได้ ซึ่งศัตรูของพืชปุ๋ยสดมีหลายชนิด เช่น หนอนม้วนใบ หนอนกัดกินใบ และยอดอ่อนหนอนเจาะลําต้น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการตรวจดูหนอนและแมลงให้ทั่วแปลง ตั้งแต่ปุ๋ยสดเริ่มออกดอกไปจนกระทั่งถึงระยะติดเมล็ดในช่วงเช้าก่อนมีแสงแดด เมื่อตรวจพบก็รีบฉีดยาปราบศัตรูพืชทันทีโดยใช้ ดี.ดี.ที. 25% ชนิดนํ้า จํานวน 4 ช้อนต่อนํ้า 1 ปี๊บ หรือ ดีลดริล 2-3 ช้อน ต่อนํ้า 1 ปี๊บ ทําการฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุกระยะ 5-7 วัน นอกจากหนอนและแมลงแล้ว ปุ๋ยพืชสดบางชนิด เช่น ปอเทืองจะมีโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยที่แมลงเป็นพาหะ ทําให้ใบพืชเล็ก ดอกเป็นฝอยไม่ติดฝัก ป้องกันกําจัดได้โดย หลีกเลี่ยงการปลูกพืชซํ้าที่เดิม
  5. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดต่างชนิดกันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันดังนี้

 ชนิดพืช

 อายุเก็บเกี่ยว (วัน)

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้

(กก./ไร่)

 

วิธีเก็บเกี่ยว

ปอเทือง

โสนอินเดีย

ถั่วเขียว

ถั่วเหลือง

ถั่วพุ่ม

ถั่วลาย

ถั่วเสี้ยนป่า

100-200

150-160

60-70

100-120

65-80

270-300

90-120

80

40

150

300

75

10

30

เก็บทั้งกิ่งหรือทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บต้นที่มีฝักแก่ทั้งต้น

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

เลือกเก็บเฉพาะฝักแก่

 

ฝักของพืชปุ๋ยสดบางชนิดที่แก่แล้ว ถ้าไม่เก็บเกี่ยวเมื่อถูกแสงแดดฝักจะแตก เมล็ดร่วงลงดินหมด ถ้าฝักไม่แตกสังเกตดูสีของฝักหรือเขย่าฝักดูการเก็บฝักควรเก็บในตอนเช้า เพื่อป้องกันการแตกของฝัก แล้วขนไปตากในลานนวด ก่อนนวดต้องตากแดดไว้   3-4 วัน ควรนวดเฉพาะตอนบ่าย เพราะฝักจะแตกง่ายและทุ่นเวลาในการนวด การนวดอาจใช้คนหรือสัตว์ยํ่าให้ฝักแตกแล้วจึงนําไปฟาดเอาเมล็ดที่เสียและลีบออก ให้เหลือแต่เมล็ดที่สมบูรณ์ตากแดดให้เมล็ดพันธุ์แห้งกะว่ามีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน 15% ก่อนนําเข้าเก็บ

  1. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นาน 5 เดือน จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตํ่าเมื่อนําไปปลูกทําให้ไม่งอกหรืองอกน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ฉะนั้นเมื่อได้เมล็ดมาก็นําไปปลูกได้เลยไม่ควรเก็บไว้แต่เมล็ดพันธุ์บางชนิดสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปีก็ยังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง เช่น ปอเทืองโสนอินเดีย ฯลฯ ฉะนั้น จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ดังนี้คือ

– เก็บไว้ในโอ่ง ถัง ปี๊บ ไห หรือกล่องที่สามารถปิดได้มิดชิด แมลงไม่สามารถเข้าไปได้และอย่าเก็บไว้ในที่ชื้น

– ใช้เมล็ดพันธุ์คลุกขี้เถ้าแกลบ

– ใช้สารเคมีคลุกเมล็ด

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

จัดการดินอย่างไร จึงใช้น้ำน้อย

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1.การคลุมดิน ( Mulching )

เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนำน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ


-ชนิดวัสดุคลุมดิน
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

-ประโยชน์ของการคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ
-รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
-ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำและลดการชะล้างพังทลายของดิน
ด้านเคมี
-ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2.การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่นการปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping )

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือตะกูลหญ้า

-ชนิดวัสดุคลุมดิน
พืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว ( ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนแอฟริกัน ถั่วมะแฮะ ) ถั่วปินตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

พืชตระกูลหญ้า หญ้าเนเปีย หญ้าแพงโกลา หญ้ากินนี

 

แฝก ( ตัดใบคลุมดิน )

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดีเพราะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ
-ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
-ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน
-รักษาความชุ่มชื้นในดิน
ด้านเคมี
-เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช คืนความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านชีวภาพ
-เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทำให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านอื่น ๆ
-ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี -เพิ่มรายได้ / ลดค่าใช้จ่าย

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบได้ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ระบบการปลูกพืช การจัดการดินที่ใช้น้ำน้อยด้วยระบบการปลูกพืชโดยการนำพืชปุ๋ยสดมาใช้ในพื้นที่ เป็นการพักดินจากการปลูกพืชหลัก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหาร ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และคงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมต่อไป ระบบการปลูกพืช มีดังนี้
1.ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ( Crop rotation ) คือการปลูกพืชสองชนิด หรือมากกว่าหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ด้วยการจัดชนิดของพืชและเวลาปลูกให้เหมาะสม เช่น
-การปลูกและไถกลบปอเทือง ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน
-การไถกลบถั่วพุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 15วัน ก่อนปลูกงาขาว
2.ระบบปลูกพืชแซม ( Inter cropping ) คือการปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในพื้นที่ และเวลาเดียวกัน ซึ่งพืชชนิดที่สอง จะปลูกแซมลงในระหว่างแถวของพืชแรก หรือพืชหลัก ซึ่งระบบรากของพืชทั้ง 2 ชนิด จะมีความลึกแตกต่างกัน เช่น
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วพุ่ม
-การปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียว


3.ระบบปลูกพืชแบบแถบพืช ( Strip cropping ) คือการปลูกพืชที่มีระยะปลูกถี่และห่างเป็นแถบสลับกันขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับ หรืออาจไม่เป็นไปตามแนวระดับก็ได้ เช่น
-การปลูกแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( กระถินผสมถัวมะแฮะ ) จะสามารถลดปริมาณการสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ที่มีความลาดชันและช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้
4.ระบบปลูกพืชคลุมดิน ( Cover cropping ) คือการปลูกพืชหญ้า หรือพืชตระกูลถั่วคลุมดินซึ่งจะช่วยควบคุมการกร่อนของดิน และช่วยปรับปรุงบำรุงดิน เช่น
– การปลูกถั่วปินตอย ถั่วคุดซู่ (Kudzu) ถั่วคาโลโปโกเนียม ( Calopogonium )และถั่วเวอราโน( Verano ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดินได้
– การปลูกถั่วเซนโตรซีมา( Centrosema ) กับถั่วคาโลโปโกเนียม( Calopogonium ) ปลูกคลุมดินจะช่วยเก็บความชื้นในดินมากยิ่งขึ้น
5.ระบบปลูกพืชเหลื่อมฤดู ( Relay cropping ) คือการปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกัน โดยพืชชนิดที่สองจะปลูกในระหว่างแถวของพืชแรกซึ่งอยู่ในช่วงสะสมน้ำหนักของผลผลิตแต่ยังสุกแก่ไม่เต็มที่
6.การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน ( Alley cropping ) คือการปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน พบในพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยและต้องการปลูกพืชตามแนวระดับ
หลักปฏิบัติถ้าต้องปลูกพืชหลังนาในสภาพน้ำน้อย
การปลูกพืชหลังนา ในสภาพพื้นที่มีน้ำจำกัด โดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำตลอดฤดูปลูกควรปฏิบัติดังนี้
-เลือกพืชปลูกที่มีอายุสั้น พืชทนแล้ง พืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว นิยมปลูกพืชตระกูลถั่ว
-เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อม เลือกใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เป็นเมล็ดที่สะอาด สมบูรณ์ไม่ลีบเล็ก
-เตรียมดินและปลูกเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว ในขณะความชื้นยังมีอยู่ในนา ซึ่งทดสอบโดยกำดินด้วยมือ ถ้ายังจับตัวเป็นก้อนไม่แตกร่วน แสดงว่าความชื้นยังมีพอ ปฏิบัติดังนี้
หว่านก่อนเกี่ยวข้าว 1 – 2 วัน ปล่อยให้เมล็ดงอก หรืออาจใช้รถไถคราดกลบจะช่วยให้งอกได้สม่ำเสมอ มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
หว่านหลังเก็บเกี่ยวข้าว หว่านเมล็ดพืชอายุสั้น พืชตระกูลถั่ว หรือ พืชปุ๋ยสดในแปลงนา ปล่อยให้เมล็ดงอก หรือใช้รถไถเตรียมดินที่ยังมีความชื้นพอหว่านเมล็ดพันธุ์ปลูก และคราดกลบ จะทำให้งอกได้สม่ำเสมอเจริญเติบโตดีขึ้น

*** แนะนำเคล็ดลับการใช้ดินเทพ ***

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 1ไร่ ในพื้นที่ที่ไม่มีพืชประธาน
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง : กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
—————————-

เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

เพลี้ย เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก ที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์สูงมาก บางชนิดมีปีก บางชนิดกระโดดได้ไกล ส่วนรูปลักษณ์ของแต่ละสายพันธุ์ก็แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง เพลี้ยเป็นแมลงตัวอ่อนที่มีวงจรชีวิตไม่ยืนยาวนัก แต่สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เพลี้ยที่โตเต็มวัยแล้วจะออกลูกได้หลายสิบตัวต่อครั้ง และยังสามารถออกลูกได้ตลอดชีวิตของมันอีกด้วย เมื่อไรที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม เพลี้ยจะเริ่มแพร่ระบาดในเรือกสวนไร่นาเป็นวงกว้าง พร้อมสร้างความเสียหายรุนแรงต่อพืชผลทางการเกษตร หากไม่มีการรับมือที่ดีก็จะสูญเสียผลผลิตส่วนใหญ่ไปอย่างน่าเสียดาย การทำความรู้จักกับเพลี้ยแต่ละชนิดที่พบได้บ่อยจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเกษตรกร จะได้รู้ว่าพืชที่เราเพาะปลูกอยู่นั้นสุ่มเสี่ยงกับเพลี้ยแบบใดบ้าง และควรจะเตรียมการป้องกันอย่างไร

 

เพลี้ยอ่อน

จุดเด่นของเพลี้ยอ่อนคือปากแบบแทงดูดที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสสู่เซลล์พืชได้ ในช่วงที่ยังเป็นตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กมาก ลำตัวอ้วนป้อมสีเหลืองอ่อน มีขา 6 คู่ที่มองเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าเพลี้ยอ่อนตอนแรกเกิดจะคล้ายคลึงกันหมด แต่ในระยะ 5-6 วันจะผ่านการลอกคราบอีก 4 ครั้ง ทำให้สีลำตัวเปลี่ยนแปลงไปและมีเอกลักษณะเฉพาะสายพันธุ์บางอย่างโดดเด่นขึ้นมา คุณพัชรินทร์ ครุฑเมืองกล่าวไว้ว่า เพลี้ยอ่อนบางชนิดจะมีลำตัวสีเขียว บางชนิดมีลำตัวสีเหลือง และอาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้ ตัวอย่างของเพลี้ยอ่อนที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยอ่อนยาสูบ เพลี้ยอ่อนแตง เพลี้ยอ่อนฝ้าย เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยอ่อนจะเริ่มสร้างความเสียหายให้พืชตั้งแต่ยังไม่โตเต็มวัย ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช จนทำให้เซลล์พืชเหี่ยวแห้ง ส่วนใบมักจะแสดงอาการให้เห็นก่อน เริ่มตั้งแต่ใบมีรอยด่าง สีใบซีดเหลือง แล้วก็หลุดร่วงไปในท้ายที่สุด หากเพลี้ยอ่อนยังไม่ถูกกำจัดก็จะทำลายต้นพืชมากขึ้นจนถึงขั้นหยุดเจริญเติบโตและตายไป ยิ่งกว่านั้น เพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคพืชอื่นๆ อีกด้วย

 

 

 

 

เพลี้ยไฟ

ตามปกติเพลี้ยไฟจะมีลำตัวเรียวยาวและมีปีกแคบแนบข้างลำตัว ขนาดตัวยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนกับตัวที่โตเต็มวัยแล้วมีรูปร่างลักษณะไม่ต่างกันมากนัก นอกจากเฉดสีที่เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นน้ำตาลปนเหลืองเมื่ออายุมากขึ้น หรืออาจเห็นเป็นสีโทนส้มอมน้ำตาลบ้างในบางสายพันธุ์ เพลี้ยไฟจะออกลูกจำนวนมากในแต่ละครั้งไม่ว่าจะได้รับการผสมพันธุ์หรือไม่ก็ตาม ช่วงที่ต้นพืชแตกยอดอ่อนจะพบการระบาดของเพลี้ยไฟมากเป็นพิเศษ แต่ก็มีข้อดีตรงที่พวกมันชอบอยู่อาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้สังเกตเห็นได้ง่าย คุณศิริณี พูนไชยศรี จากกองกีฏและสัตววิทยา ได้แยกประเภทของเพลี้ยไฟเอาไว้มากกว่า 9 ชนิด ซึ่งตัวอย่างที่เกษตรกรควรทำความรู้จักไว้ก็คือ เพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไฟมังคุด เพลี้ยไฟดอกไม้ เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยไฟจะทำลายต้นพืชในทุกช่วงการเจริญเติบโต เนื่องจากมีการระบาดของเพลี้ยไฟได้ตลอดทั้งปี ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเจาะดูดน้ำเลี้ยงของพืชไปใช้ จนเห็นบริเวณที่ถูกทำลายเป็นเส้นทางสีขาวในระยะแรก ต่อมาจึงเริ่มเหี่ยวแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ ถ้าเป็นส่วนยอดอ่อนก็จะเกิดการบิดงอ ขั้วผลกลายเป็นสีเทาเงิน ในหน้าแล้งจะรุนแรงจนผลหลุดร่วงได้ง่าย กรณีที่เพลี้ยไฟระบาดอย่างรุนแรงจะทำส่งผลให้พืชแคระแกร็นและหยุดการเจริญเติบโต

 

 

 

 

เพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งมีลักษณะอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างโดดเด่น คือมีผงแป้งปกคลุมอยู่ทั่วลำตัวไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหนก็ตาม รูปร่างของเพลี้ยแป้งค่อนข้างอ้วนกลม มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ตัวเมียไม่มีปีกและต้องลอกคราบ 3 ครั้งก่อนวางไข่ ขณะที่ตัวผู้จะมีปีก ลำตัวเล็กกว่า และลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ความน่ากลัวของเพลี้ยแป้งคือมีมดเป็นพาหะ ช่วยให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้างได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยให้เพลี้ยมีชีวิตรอดอยู่ใต้ดินในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมด้วย

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยแป้งทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช โดยเน้นที่ส่วนของผล ตา ดอก และใบมากเป็นพิเศษ ตัวอ่อนจะแฝงตัวอยู่ในช่อดอกหรือยอดอ่อนทำให้มองเห็นได้ยาก ระหว่างนั้นก็จะขับถ่ายของเหลวที่ดึงดูดราดำไปพร้อมกัน สัญญาณที่บอกว่าต้นพืชกำลังได้รับความเสียหายจากเพลี้ยแป้ง คือผงสีขาวที่กระจุกตัวอยู่บนต้นพืช และมีมดคอยลำเลียงผงเหล่านั้นไปตามจุดต่างๆ นอกจากต้นพืชจะเหลืองซีดและหยุดการเติบโตแล้ว ผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพต่ำลงด้วย

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยแป้งลาย

เพลี้ยแป้งลายมีรูปร่างคล้ายลิ่ม ผิวด้านนอกมีสีเทาอ่อน ผงแป้งที่ปกคลุมมีความมันเงาเล็กน้อย พบการระบาดในมันสำปะหลังมากที่สุด รองลงมาเป็นไม้ผลและไม้ดอกทั่วไป เพลี้ยชนิดนี้จะขยายพันธุ์ได้เร็วในฤดูฝน แต่ก็มักจะถูกกำจัดโดยตัวห้ำซึ่งเป็นเพลี้ยอีกสายพันธุ์หนึ่ง จึงไม่ค่อยสร้างความเสียหายให้เกษตรกรมากมายนัก

  1. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์

ลำตัวของเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์เป็นรูปทรงไข่ที่ค่อนข้างแบน และมีสีเทาอมชมพู นอกจากผงแป้งที่ปกคลุมอยู่ด้านบนแล้วก็ยังมีเส้นแป้งแนบข้างลำตัวด้วย ส่วนใหญ่พบการระบาดในไร่มันสำปะหลัง โดยจะกระจุกตัวอยู่ตามบริเวณโคนต้นเป็นหลัก

  1. เพลี้ยแป้งสีเขียว

ลักษณะของเพลี้ยแป้งสีเขียวนั้นคล้ายกับพันธุ์แจ๊คเบียดเลย์ เพียงแค่มีลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลืองเท่านั้นเอง ปกติจะพบได้ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงฤดูฝน เพลี้ยชนิดนี้มีช่วงอายุที่แปรผันตามอุณหภูมิด้วย ยิ่งอากาศเย็นมากเท่าไรก็ยิ่งช่วยให้เพลี้ยมีอายุยืนยาวมากขึ้นเท่านั้น

  1. เพลี้ยแป้งสีชมพู

ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช แห่งคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง นี่ถือเป็นเพลี้ยที่สร้างความเสียหายได้มากที่สุด เพลี้ยแป้งสีชมพูมีลำตัวเป็นทรงไข่ ผิวนอกเป็นสีชมพูที่ปกคลุมด้วยแป้งสีขาว นอกจากจะขยายพันธุ์ได้รวดเร็วแล้ว ก็ยังควบคุมป้องกันได้ยาก แต่ก็มีข้อดีตรงที่เราจะไม่เห็นการระบาดของเพลี้ยชนิดนี้ในฤดูฝนเลย

เพลี้ยจักจั่น

เพลี้ยจักจั่นที่โตเต็มวัยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5.5-6.5 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีความกว้างป้านแล้วเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง มีขาหลังค่อนข้างยาวและแข็งแรงจึงกระโดดได้ไกล ทุกครั้งที่กระโดดจะมีแรงดีดที่ทำให้เกิดเสียง พืชต้นไหนที่มีเพลี้ยจักจั่นมาก เมื่อมันถูกรบกวนจนต้องกระโดดไปมา เราก็จะได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเพลี้ยจักจั่นคือแต้มจุดบนลำตัว หลังผ่านการลอกคราบครบ 4 ครั้ง ลวดลายบนตัวก็ยิ่งเด่นชัดมากขึ้น

ลักษณะการทำลาย

นักวิชาการของกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าบริเวณโคนก้านจะถูกเพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นอันดับแรก เราจึงเห็นความผิดปกติที่ส่วนใบได้ในทันที โดยใบอ่อนจะบิดงอ ขอบใบแห้งกรอบ พืชบางชนิดมีสีใบที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคใบขาวในต้นอ้อย เป็นต้น ถ้าบังเอิญอยู่ในช่วงออกดอกก็จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง ติดผลน้อย หลังจากต้นพืชเข้าสู่ช่วงออกผลแล้ว เพลี้ยจักจั่นจะลดน้อยลงเองตามธรรมชาติ แต่จะทิ้งสารที่ก่อให้เกิดราดำเอาไว้ สร้างผลเสียให้ผลผลิตต่อเนื่องไปอีก

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกล่าวว่า เพลี้ยจักจั่นสีเขียวสร้างปัญหาให้กับนาข้าวค่อนข้างมาก พวกมันจะอพยพเข้าท้องนาตั้งแต่ระยะต้นกล้า จากนั้นก็ขยายพันธุ์แล้วทำลายต้นข้าวไปเรื่อยๆ ลักษณะของเพลี้ยชนิดนี้คือมีลำตัวสีเขียวอ่อนและมีจุดแต้มสีดำบนส่วนหัว เคลื่อนไหวรวดเร็วและบินได้ไกลหลายกิโลเมตร

  1. เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล

เพลี้ยชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร ทั่วทั้งตัวจะมีจุดสีน้ำตาลอ่อนขนาดเล็กแต้มอยู่ โดยมีช่วงอายุประมาณ 50-70 วัน เป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำให้เกิดโรคใบขาวในต้นอ้อย มีการระบาดอย่างมากในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

  1. เพลี้ยจักจั่นหลังขาว

เพลี้ยจักจั่นหลังขาวก็เป็นอีกหนึ่งตัวการของโรคใบขาวในต้นอ้อยเช่นกัน จุดเด่นอยู่ที่มีแถบสีขาวพาดผ่านกลางลำตัวตามแนวยาว ในช่วงยังเป็นตัวอ่อนอาจทำให้สับสนกับพันธุ์ลายจุดสีน้ำตาลอยู่บ้าง เพราะต้องลอกคราบครั้งสุดท้ายก่อนถึงจะมีแถบขาวให้เห็น ขนาดลำตัวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร และระบาดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

เพลี้ยกระโดด

เพลี้ยกระโดดจัดเป็นแมลงจำพวกปากดูด ลำตัวอ้วนป้อมเล็กน้อยและมีปีกที่แข็งแรงจนสามารถอพยพย้ายถิ่นด้วยระยะทางไกลได้ ทุกสายพันธุ์จะปีกทั้งแบบสั้นและแบบยาว เพลี้ยกระโดดที่โตเต็มวัยแล้วจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และพวกมันจะวางไข่คราวละ 100 ฟองเป็นอย่างต่ำ จุดที่ทำให้สังเกตการระบาดของเพลี้ยกระโดดได้ง่ายขึ้นคือลักษณะการเรียงไข่ตามเส้นกลางของใบข้าว และมีรอยช้ำสีน้ำตาลตรงพื้นที่วางไข่ชัดเจน

ลักษณะการทำลาย

การเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดจะเริ่มตั้งแต่ระยะต้นกล้า โดยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเพื่อการเติบโต และขยายพันธุ์หลายรุ่นในฤดูกาลเพาะปลูกเดียว ก่อนที่ต้นข้าวจะออกดอกเพลี้ยรุ่นหลังก็พัฒนาเป็นสายพันธุ์ปีกยาวเพื่อรอการอพยพ ความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะกระจุกตัวเป็นหย่อมๆ ขณะที่เพลี้ยกระโดดหลังขาวนั้นทำลายเป็นวงกว้างอย่างสม่ำเสมอ ต้นข้าวจะมีอาการใบเหลืองส้มไปจนถึงน้ำตาลเข้ม ใบแห้ง ต้นแคระแกร็น และทยอยตายไป งานส่งเสริมการเกษตร เทศบาลตำบลยางหล่อ ระบุว่าเพลี้ยเหล่านี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างมากกว่าบริเวณอื่น

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลำตัวของเพลี้ยชนิดนี้จะมีสีน้ำตาลอ่อนเสมอกันตั้งแต่หัวจรดหาง แม้แต่ส่วนปีกก็เป็นสีเดียวกับลำตัวด้วย ตัวเมียที่มีปีกสั้นจะมีรูปร่างกลมมากกว่าตัวปีกยาว และสามารถวางไข่ได้มากกว่าประมาณ 2 เท่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบอยู่ในจุดที่มีความชื้นสูง ดังนั้นมันจะย้ายมารวมกันบริเวณโคนกอข้าวหรือพื้นดินเมื่อนาข้าวขาดน้ำ

  1. เพลี้ยกระโดดหลังขาว

ลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ส่วนปีกจะมีจุดดำเล็กๆ กระจายตัวอยู่และมีแถบสีขาวตรงช่วงอก เมื่อยังเป็นตัวอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาวจะรวมกลุ่มกันอยู่บริเวณโคนกอข้าว แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะย้ายมาอาศัยในจุดที่สูงกว่านั้น อาจเป็นช่วงกลางลำต้นหรือปลายยอดข้าวก็ได้

 

เพลี้ยไก่แจ้

เพลี้ยไก่แจ้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าเพลี้ยไก่ฟ้า เนื่องจากตัวอ่อนระยะแรกจะมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยช่วงท้ายของลำตัวจะมีปุยขาวเป็นเส้นยาวคล้ายหางไก่ เมื่อผ่านการลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ผิวด้านนอกจะกลายเป็นสีน้ำตาลปนเขียว หนวดยาว ปีกใส ช่วงลำตัวยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร พอถึงช่วงขยายพันธุ์จะทำการวางไข่ภายในเนื้อเยื่อพืช จุดที่เพลี้ยวางไข่ไว้จะมีตุ่มนูนขึ้นมาพร้อมกับเกิดวงสีเหลืองหรือน้ำตาลเป็นกลุ่มๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เพลี้ยไก่แจ้ในแต่ละรุ่นนั้นมีอายุได้ยาวนานถึง 6 เดือนทีเดียว และเรานิยมเรียกชื่อเพลี้ยสายพันธุ์นี้ตามต้นพืชที่มันเข้าทำลายด้วย เช่น เพลี้ยไก่แจ้ลำไย เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

แม้ว่าการเลือกเข้าทำลายสายพันธุ์พืชของเพลี้ยไก่แจ้แต่ละกลุ่มจะต่างกัน เช่น กลุ่มหนึ่งเจาะจงเข้าจัดการกับต้นลำไยโดยเฉพาะ อีกกลุ่มเน้นเข้าจัดการกับต้นทุเรียน เป็นต้น แต่ลักษณะการสร้างความเสียหายก็คล้ายคลึงกันหมด คือตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ส่วนที่เป็นใบอ่อนและยอดอ่อนจะได้รับผลกระทบก่อน ใบจะหงิกงอและไม่คลี่ออกตามธรรมชาติ มีสีเหลืองซีดและแห้งกรอบ ไม่นานก็จะหลุดร่วงไป นอกจากนี้ระหว่างที่ตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะขับของเหลวออกมาด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดราบนต้นพืชด้วย

เพลี้ยหอย

เพลี้ยหอยเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กที่มีรูปร่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละสายพันธุ์ ต้นพืชที่เป็นเป้าหมายและช่วงเวลาในการแพร่ระบาดก็ต่างกันด้วย เหตุที่เรียกว่าเพลี้ยหอยเพราะมีจุดร่วมหนึ่งเหมือนกัน นั่นคือมีเกราะหุ้มลำตัวคล้ายเปลือกหอย แต่ก็ยังแยกเป็นแบบเกราะแข็งกับเกราะอ่อนอีก ส่วนมากเพลี้ยหอยจะไม่ได้มีเกราะมาตั้งแต่แรกเริ่ม ต้องผ่านการลอกคราบและเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชเสียก่อน

ลักษณะการทำลาย

รูปแบบการสร้างความเสียหายของเพลี้ยหอยทุกชนิดจะคล้ายคลึงกับเพลี้ยอ่อน คือเจาะเซลล์พืชเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจนต้นพืชนั้นเสื่อมโทรม ในระยะแรกอาจจะเป็นการเสียรูปทรงของใบอ่อน สีใบเหลืองซีดและเหี่ยวย่น บางส่วนอาจหลุดจากขั้วไป นอกจากนี้เพลี้ยหอยบางชนิดยังสามารถปล่อยของเหลวที่ทำให้เกิดเชื้อราเกาะติดที่ผิวนอกของต้นพืชได้ด้วย

 

 

 

 

 

 

  1. เพลี้ยหอยเกราะอ่อน

เป็นเพลี้ยหอยที่มีรูปร่างคล้ายไข่ไก่สีชมพูอมส้ม ขนาดประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร เพศเมียจะมีแผ่นไขมันสีขาวปกคลุมทั่วตัว แต่เพศผู้จะลำตัวสีเข้มกว่าเล็กน้อยและมีปีกบางใส ในฤดูขยายพันธุ์เพลี้ยหอยเกราะอ่อนสามารถวางไข่ได้ครั้งละ 600-2000 ฟอง ที่ต้องวางไข่มากขนาดนี้เพราะตัวอ่อนใช้เวลานานกว่าจะโตเต็มวัย ส่วนมากพบการระบาดในลำไย ลิ้นจี่และเงาะ

  1. เพลี้ยหอยข้าวตอก

เพลี้ยหอยข้าวตอกจะมีขนาดลำตัวประมาณ 5 มิลลิเมตร ผิวรอบนอกมีชั้นไขมันปกคลุมทำให้ดูเหมือนเมล็ดข้าวตอก กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมุลว่าเพลี้ยหอยข้าวตอกตัวเมียจะวางไข่หลายพันฟองเพื่อเพิ่มจำนวนตัวอ่อนที่เป็นสีสนิม จากนั้นตัวอ่อนจะหาตำแหน่งดูดกินน้ำเลี้ยงพร้อมสร้างชั้นไขมันคลุมตัวเอง ไม่เคลื่อนที่ไปไหนอีก พบว่าระบาดมากในลำไยและลิ้นจี่

  1. เพลี้ยหอยเกล็ด

แม้ว่าเพลี้ยหอยเกล็ดจะเข้าทำลายพืชหลายชนิด แต่จากสถิติพบว่าระบาดในมันสำปะหลังและทุเรียนมากเป็นพิเศษ รูปร่างของเพลี้ยหอยเกล็ดจะคล้ายกับเปลือกหอยขนาดเล็กที่เป็นเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมทั่วต้นพืช เพลี้ยจะเคลื่อนที่ได้แค่ช่วงตัวอ่อนระยะแรกเท่านั้น หลังผ่านการลอกคราบก็จะทิ้งคราบเก่าสะสมไปเรื่อยๆ พร้อมกับแผ่ขยายเป็นวงกว้างปิดพื้นผิวของต้นพืชจนหมด

  1. เพลี้ยหอยสีเขียว

เพลี้ยหอยสีเขียวที่โตเต็มวัยแล้วจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ลำตัวเป็นรูปไข่ ท้องแบนหลังโป่ง และมีเกราะแข็งหุ้มอยู่ชั้นนอกสุด หลังจากดูดกินน้ำเลี้ยงได้แล้วก็จะขับถ่ายของเหลวมาปกคลุมต้นพืชจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จากข้อมูลในเอกสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่าเพลี้ยชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้ต้นกาแฟสูงมาก แต่ก็มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่ด้วย เช่น แตนเบียน ด้วงเต่าสีส้ม เป็นต้น

  1. เพลี้ยหอยสีแดง

นี่คือเพลี้ยหอยเกราะอ่อนอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ลำตัวเป็นทรงกลมเหมือนโล่สีน้ำตาลแดง เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีเพียงแค่ตัวผู้เท่านั้นที่มีปีก เป็นกลุ่มเพลี้ยที่เน้นเข้าทำลายพืชตระกูลส้มโดยเฉพาะ สายพันธุ์พืชที่พบปัญหาได้บ่อยคือส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง และมะนาว

การป้องกันกำจัด

สายพันธุ์เพลี้ยทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อยในบ้านเราเท่านั้น การจะระบุสายพันธุ์ที่ชัดเจนเพื่อจัดการป้องกันจึงเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร อีกทั้งระยะเวลาในการระบาดก็มีผลอย่างมากต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ยิ่งปล่อยทิ้งไว้นานเท่าไรผลผลิตก็ยิ่งเสียหายมากเท่านั้น ข้อดีคือเราสามารถใช้วิธีการป้องกันกำจัดแบบเดียวกันกับเพลี้ยทุกชนิดได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

1.หมั่นสำรวจแปลงเพาะปลูกอยู่เสมอ เพื่อให้เห็นสัญญาณการระบาดของเพลี้ยตั้งแต่เนิ่นๆ และเร่งจัดการได้ทันท่วงที พร้อมกับตัดแต่งพุ่มใบไม่ให้หนาแน่นรกทึบจนเกินไป

2.หากพบเพลี้ยจำนวนเล็กน้อยในต้นพืช สามารถไล่เพลี้ยที่หลบซ่อนอยู่ให้หลุดออกไปจากต้นพืชได้ ด้วยการฉีดน้ำใส่ยอดอ่อน ปลายกิ่ง และช่อดอก โดยต้องทำต่อเนื่องหลายครั้งจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเพลี้ยกลับมาอีก

3.ถ้าการระบาดของเพลี้ยเริ่มกินวงกว้างขึ้น แต่ยังไม่หนักหนาเกินไป สามารถใช้วิธีตัดกิ่งก้านที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่ไปเผาทำลายได้ หรือหากเป็นเพลี้ยอาศัยแบบไม่เคลื่อนที่ จะใช้วิธีรูดเฉพาะตัวเพลี้ยไปทำลายก็ได้

4.กรณีที่เพลี้ยระบาดรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อกำจัดเพลี้ยเหล่านั้น ซึ่งสูตรสารเคมีที่ใช้มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย เช่น ไพมีโทรซีน อิมิดาคลอพริด ไทอะมีทอกแซม ฟิโพรนิล คาร์บาริล บูโพรเฟซิน เป็นต้น โดยอัตราส่วนในการใช้งานก็ให้ปรับตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่เหมาะสมกับเพลี้ยแต่ละชนิด

5.สำหรับพืชที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น เช่น มันสำปะหลัง ต้นข้าว เป็นต้น ให้เลือกเพาะปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ต้านทานโรค หรือแช่เมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์ในน้ำยาป้องกันศัตรูพืชก่อนเพาะปลูก

6.ใช้ปุ๋ยเร่งใบกระตุ้นการแตกใบอ่อนเพื่อให้ต้นพืชแตกยอดพร้อมกันทั้งหมด จะช่วยลดระยะการเข้าทำลายของเพลี้ยให้สั้นลงได้

7.ระวังป้องกันแมลงพาหะที่ช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยบางชนิด เช่น มดที่ช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยอ่อน เป็นต้น จะใช้เป็นสารเคมีหรือสมุนไพรกำจัดแมลงก็ได้ ขณะเดียวกันก็ให้รักษาศัตรูเพลี้ยตามธรรมชาติเอาไว้ด้วย

8.ฉีดพ่นสารป้องกันและยับยั้งเชื้อราทุกครั้ง หลังกำจัดเพลี้ยชนิดที่ขับถ่ายของเหลวดึงดูดเชื้อราได้

นอกจากนี้การศึกษาว่าพืชที่เราเพาะปลูกมีโอกาสพบเจอกับเพลี้ยชนิดใดบ้าง และการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้นในช่วงไหนของปี ก็จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อเตรียมการป้องกันได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

**คำแนะนำเพิ่มเติม

โดยสามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง สามารถผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ  ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอะมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี   ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพ

-ระยะหลังเก็บเกี่ยว( ฟื้นสภาพต้น ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะใบอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะสะสมอาหาร ( ใบเพสลาด ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะเริ่มออกดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะติดผลผ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะขยายขนาดผล ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

ขอบคุณ : ภาพ และข้อมูลอ้างอิงจาก 

– เพลี้ยอ่อนแมลงพาหะนำโรคพืช, พัชรินทร์ ครุฑเมือง

– แมลง-ไร ศัตรูไม้ผล, เคหะการเกษตร

– เพลี้ยจั๊กจั่น, สำนักวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว

– เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ,องค์ความรู้เรื่องข้าว กรมการข้าว

– เอกสารวิชาการของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– เพลี้ยไฟ, คุณศิริณี พูนไชยศรี

– เพลี้ยแป้ง ,สำนักงาน เกษตรจังหวักตราด ดร.อุดมศักด์ เลิศสุชาตวนิช

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

การปลููก และดูแลมันสำปะหลังแบบขั้นเทพ

การปลูกและการดูแลมันสำปะหลังแบบขั้นเทพ

การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลผลิตมันสำปะหลัง

หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี

เช่นการ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือการฉีดผลิตภัณฑ์ไร่เทพ ลงดินเพื่อเพิ่มสารอาหารในดิน

 

 

การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง

หลักสำคัญก็คือ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าดินดี ควรปลูกพันธุ์ระยอง 5 และ ระยอง 72 และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลาง ควรปลูกพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบ่ง 60 ระยอง 9 และพันธุ์ยอดฮิต แขกดำ ส่วนพันธุ์ระยอง 7 เหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรำยที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริบเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

การเตรียมดิน

ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่ำงน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และ

ทำลำยวัชพืชต่ำง ๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาล 3 ติดทายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาล 7 อีก 1 ครั้ง จะได้

ผลผลิตมันสำปะหลังสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้ำงของดิน และถ้ำดิน

ระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย

 

การเตรียมท่อนพันธุ์

การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 ซม. เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 10เดือนขึ้นไป แช่ท่อนพันธุ์ในอาหารเสริมพืชไร่เทพ โดยผสม 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยแช่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือ 1คืนแล้วนำไปปลูกในแปลง

การปลูก

หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูกที่มีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด เลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตำถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 ซม. ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของ

ความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 ม. และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่

เตรียมไว้ ควรปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ กำรดูแลรักษาระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก  การปักตรง 90 องศา และปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน มันสำปะหลังจะงอกเร็ว และสะดวกต่อ

การกำจัดวัชพืช, การปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่มง่ายต่อกำรเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15% การปลูกที่ได้ผลผลิตสูงก็คือ กำรปักตรง 90 องศา และเทคนิคการเฉือนตาข้างของท่อนปลูกออกเพื่อให้เกิดหัว

เพิ่มขึ้นอย่ากระทำโดยเด็ดขาด เพราะรากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกก็มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารได้แล้ว และการเฉือนอาจทำให้เกิดเชื้อราที่ท่อนพันธุ์ได้

การใส่ปุ๋ย

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลง

ตำมไปด้วย ดังนั้นกำรปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจาก

ปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากนี้ควรเสริมธาตุอาหารให้พืชด้วยการฉีดพ่นอาหารเสริมไร่เทพทางใบ ในอัตราส่วน ไร่เทพ 1ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของมันสำปะหลังได้ดีขึ้น (ข้อแนะนำก่อนฉีดพ่นอาหารเสริมไร่เทพทางใบ ควรกำจัดวัชพืชก่อน) สามารถฉีดได้เรื่อยจะครบอายุการเก็บเกี่ยว

การควบคุมวัชพืช

ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลาวิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัวและจะกำจัดวัชพืชไม่ทัน ให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการกำจัด

วัชพืชโดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง หลังจำก 4 เดือน ไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระท ำ อาจเริ่มที่ 15

วันหลังจากปลูก ยิ่งล่ำช้ำออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูกและอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการ

ฉีดสารเคมีคุมเมล็ดวัชพืชหลังจากการปลูกมันสำปะหลัง 1-2 วัน เป็นการคลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรก ๆ หลังจากใส่ปุ๋ยครบและกำจัดวัชพืชได้ดังกล่าวแล้วก็เพียงแต่รอครบเวลา 12 เดือน หลังปลูกก็จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่ต่ำ

กว่า 7-10 ตันต่อไร่แน่นอน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-