Tag Archives: มะนาว

การปลูกมะนาว

การปลูกมะนาว

มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่งที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ มะนาวเป็นพืชที่มีประโยชน์และคุณค่ามาก เนื่องจากสามารถใช้ปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา เพราะมีวิตมินซีสูงสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรและนิยมนำไปใช้ในเครื่องสำอาง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบ มีความต้องการมะนาวสูงขึ้นทุกปี ตามเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้มะนาวมีบทบาทสำคัญทางการค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นมะนาวจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติถึง 5 – 10 เท่า เนื่องจากในฤดูแล้งมะนาวจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จึงทำให้มีผู้สนใจปลูกมะนาวนอกฤดูมากขึ้น

พันธุ์มะนาว

พันธุ์มะนาวที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ได้แก่
1.มะนาวแป้น ทรงผลแป้นและมีขนาดกลาง เปลือกบาง สามรถให้ผลผลิตได้ตลอดปี มีหลายพันธุ์ เช่น แป้นรำไพ แป้นพิจิตร แป้นทราย แป้นจริยา เป็นต้น
2.มะนาวหนัง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกค่อนข้างหนาจึงทำให้รักษาผลไว้ได้นาน
3.มะนาวไข่ ผลมีขนาดและลักษณะคล้ายกับมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง คือผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมมน ขนาดผลโตกว่าและมีเปลือกบางกว่ามะนาวหนัง
4.มะนาวตาฮิติ มีลักษณะเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่ ไม่มีเมล็ด และมีเปลือกหนา
5.มะนาวพวง มีลักษณะรูปทรงกลมรี เปลือกหนา ติดผลเป็นช่อมากกว่า 10ผล และให้ผลผลิตตลอดปี

การปลูก

มะนาวสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี มีผลดก และคุณภาพดีก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก คือ ควรมีปริมาณอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 3เปอร์เซ็นต์ และควรเลือกพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรสูงเกิน 1เมตร แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรมีการยกร่องปลูก เพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี โดยเตรียมพื้นที่คันดิน ให้มีพื้นที่กว้างประมาณ 6 – 8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำ เพื่อการระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1เมตร พื้นร่องกว้าง 0.50 – 0.70 เมตร ค่า pH ประมาณ 5.5-6.0 โดยใช้ระยะปลูกประมาณ 4×4 เมตร หรือ 6×6 เมตร ก่อนนำกิ่งพันธุ์ปลูกให้เตรียมดินหากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำให้บำรุงดินในหลุมปลูก ( ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ) ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเข้ากับดินที่ขุดมาอัตราหลุมละ 1กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต 0.50 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 0.1 กิโลกรัม แล้วกลบดินลงไปในหลุม เนื่องจากมะนาวเป็นพืชตระเดียวกับส้ม ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจแพร่มาจากส้มควรเลือกพื้นที่ให้ห่างจากแหล่งปลูกส้มเดิมที่มีแมลงเป็นพาหะอย่างน้อย 10 กิโลเมตร **คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 80 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร หลังผสมแล้วนำไปรดรอบโคนต้น ต้นละ 3-5 ลิตรหลังปลูกให้ทั่วถึง

การดูแลรักษา

1.การให้น้ำ การปลูกมะนาวในระยะแรกควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง หลังปลูกประมาณ 15 วัน ต้นมะนาวจะสามารถตั้งตัวได้ ควรให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น แล้วควรงดให้น้ำช่วงเดือนมีนาคม จนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับสามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอกช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม หลังจากมะนาวติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล
2.การใส่ปุ๋ย หลังจากมะนาวได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.50 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจากพรวนดินกำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวณรอบทรงพุ่ม แล้วให้น้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลาย เมื่อมะนาวอายุ 1ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 300 กรัม และมะนาวอายุ 2ปี ให้เพิ่มปริมาณปุ๋ยปีละ 2ครั้ง ครั้งละประมาณ 1กิโลกรัมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของต้น และเมื่อมะนาวอายุ 3ปี จะเริ่มให้ผลผลิต จากนั้นช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใสปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม / ต้น ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืชโดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น **คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1 ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองทุก 15 วันในแปลงมะนาวให้ทั่วถึงทั้งแปลง
3.การกำจัดวัชพืช ในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนระบบราก วิธีการกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น กลูโฟซิเนต ไพริเบนโซซิม เป็นต้น โดยการใช้จะต้องระวังอย่าให้ละอองสารนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ใบเหลืองเป็นจุดไหม้ทั้งใบ ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นสารตอนลมสงบ4.การค้ำกิ่ง เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาว เพื่อป้องกันกิ่งฉีก หัก หรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผลและยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้โดยการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2วิธี คือ
– 4.1 การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ทำเป็นง่ามสอดเข้ากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วผูกเชือกมัดกิ่งไว้


– 4.2 การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยมรอบต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งขนาดใหญ่ซิ่งวิธีนี้จะมั่นคงกว่าวิธีแรก

5.การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและช่วยให้ติดผลมาก ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้งและกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด ( กิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง ) แล้วนำไปเผาทำลายอย่าปล่อยทิ้งเพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

โรคของมะนาว


1.โรคแคงเกอร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนทั้งใบ กิ่งก้านและผล โดยการที่ใบและผลจะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟูนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้านเริ่มแรกจะมีแผลฟูนูนสีเหลือง จากนั้นแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอนและไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มาก ๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกันและกำจัด เช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอต อบาเม็กติน หรือสไปนีโทแรม เป็นต้น
2.โรคราดำ เกิดจากเชื้อราลักษณะอาการบริเวณใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำสกปรก ทำให้ผลไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ และฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด อเซทามิพริด อีมาเม็กตินเบนโซเอต เพื่อป้องกันแมลงประเภทปากดูด เช่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรสนิม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคราดำ เนื่องจากแมลงเหล่านั้นถ่ายมูลที่มีองค์ประกอบที่เป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารของราดำ
3.โรคกรีนนิ่งหรือใบแก้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการบริเวณใบจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ สังกะสีและแมกนีเซียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้อยู่ระหว่าง 6.0-6.5
4.โรคยางไหล เกิดจากเชื้อราลักษณะอาการมียางไหลบริเวณลำต้นและกิ่งก้านเปลือกจะเน่า และแผลจะลุกลามถึงเนื้อไม้
การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงส่องทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดง หรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลาย
5.โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการรากฝอยและรากแขนงเน่าสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมาๆจะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด อย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยคอยปุ๋ยหมักมากเกินไปในช่วงฤดูฝน หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสอีธิลอลูมินั่ม ฟอสโฟนิคแอซิด เป็นต้น

แมลงศัตรูของมะนาว


1.หนอนชอนใบ จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ สามารถเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นไม่ติดผล
การป้องกันกำจัด โดยการตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กลุ่มอีมาเม็กตินเบนโซเอต อะบาเม็กติน ไซเปอร์เมทริน
2.หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
การป้องกันกำจัด ตรวจดูตามใบอ่อน และยอดอ่อนของมะนาว เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็ให้เก็บมาทำลาย หรือฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เช่นเดียวกับหนอนชอนใบ
3.เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลของการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาดจะขึ้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลจะถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตามความยาวของผล
การป้องกันและกำจัดเด็ดผลที่แคระแกร็นออก หรือหากพบการทำลายของเพลี้ยไฟ ให้ฉีดพ่นด้วย สารกำจัดแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด อเซทามิพริด อีมาเม็กตินเบนโซเอต หรืออบาเม็กติน เป็นต้น
4.ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบแล้วใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมาผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน ในตอนเช้าหรือเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้ หรือหากระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยสาร ไพริดาเบน ไดโคโฟล อมีทราซ เป็นต้น
**คำแนะนำเพิ่มเติม ผสมไร่เทพอัตรา 1ซอง / น้ำ 100 ลิตร และดินเทพ อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองทุก 15 วันในแปลงมะนาวให้ทั่วถึง

การเก็บเกี่ยวมะนาว

มะนาวมีอายุเก็บเกี่ยว 7-8 เดือนหลังจากดอกบาน การเก็บมะนาว กรณีต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนักสามารถเก็บโดยใช้มือปลิด แต่หากต้นสูงนิยมเก็บโดยใช้มีดหรือตะขอผูกติดกับด้ามไม้รวกยาว คล้องและกระตุกผลมะนาวลงมา แต่ถ้าต้องการมะนาวที่มีคุณภาพไม่บอบช้ำ ควรใช้ตระกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากขั้วของผลเริ่มมีสีเหลืองเล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหายในขณะขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้วางจำหน่ายได้ไม่นานและทำให้ผลเน่าเสียหายได้เร็ว
การจัดการหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
วิธีเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นานต้องคัดแยกผลมะนาว โดยเลือกเอาผลมะนาวที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่าและควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วยแล้วนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกซ์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรงเพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดบรรจุแข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ
ที่มา เรื่องการปลูกมะนาว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท
*** เคล็ดลับการใช้ไร่เทพ และดินเทพ กับมะนาว ***
-ระยะหลังเก็บเกี่ยว ( ฟื้นสภาพต้น ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะใบอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะสะสมอาหาร ( ใบเพสลาด ) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน


-ระยะเริ่มออกดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน


-ระยะติดผลอ่อน ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะขยายขนาดผล ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-