Tag Archives: แมลง

วัชพืชตัวร้าย … ปัญหาใหญ่ของชาวนา

เลี่ยงไม่ได้เลยกับปัญหาเรื่องหญ้าในนาข้าวของชาวนาที่ต้องพบเจอ แต่หากมีวิธีจัดการที่ถูกต้องและรวดเร็วก็จะทำให้ความเสียหายลดน้อยลง ซึ่งจะพบว่าวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงนาข้าวจะต้องใช้สารป้องกันกำจัดที่เฉพาะเจาะจงกับวัชพืชนั้นๆ และเคล็ดลับไร่เทพที่อยากแนะนำให้ผสมดินเทพลงไปด้วยเพื่อช่วยลดแรงตึงผิวและให้สารป้องกันกำจัดวัชพืชแพร่เข้าสู่ใบได้ดีและเร็วขึ้น ทำให้สารเหล่านั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัตราการใช้ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร สามารถผสมฉีดพ่นพร้อมสารป้องกันกำจัดวัชพืช

หญ้าข้าวนก หรือ หญ้าพุ่มพวง (Bamyard grass) ใบอ่อนจะเป็นคลื่นสีเขียวอ่อนถึงสีเขียว เส้นใบสีเขียวอ่อน ใบจะยาวกว่าใบข้าว ดอกเป็นช่อ  สารกำจัดวัชพืช ประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์ ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น ควินคลอแรก, ไซฮาโลฟอบ-บิวทิล, บีสไพริแบก-โซเดียม, ฟีนอกซาพรอป-พี-เอทิล, โพรพานิล

หญ้าดอกขาว ลำต้นตรงหรือโน้ม ความสูง 12-120 ซ.ม.  ใบเรียบและปรกแหลมและเรียวยาว  กาบใบเรียบ มีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแผ่นบาง  สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์ ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น ฟีนอกซาพรอป-พี-เอทิล, ไซฮาโลฟอพ-บิวทิล, ควิสซาโลฟอพ-พี-เทฟูริล

กกขนาก  ลำต้นมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมไม่มีข้อปล้อง  ใบไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ   สารกำจัดวัชพืช ประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์ ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น เมทซัลฟูรอน-เมทธิล+คลอริมูรอน-เอทธิล, 2,4-D,บีสไพริแบก-โซเดียม, โพรพานิล, ไพราโซซัลฟูรอน-เอทธิล

กกทราย ลำต้นมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมไม่มีข้อปล้อง ใบไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ  สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์, ออกซาไดอะซอน ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น เมทซัลฟูรอน-เมทธิล+คลอริมูรอน-เอทธิล, 2,4-D, บีสไพริแบก-โซเดียม, โพรพานิล

หนวดปลาดุก ใบแตกขึ้นเป็นกอ  แบนและบอบบางคล้ายพัด  ลำต้นอาจมีลักษณะกลมหรือเป็นสามเหลี่ยมไม่มีข้อปล้อง ใบไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ  ใบแหลมแผ่นใบเล็กและยาว สารกำจัดวัชพืช ประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์ ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น เมทซัลฟูรอน-เมทธิล+คลอริมูรอน-เอทธิล, 2,4-D, บีสไพริแบก-โซเดียม, โพรพานิ

 

ข้าวแกร่ง ต้องเสริมเกราะ …ด้วยโล่เขียว

กรมอุตุนิยมแนะเกษตรกรว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะที่แปรปรวน โดยพื้นที่ที่ฝนตกหนัก ดินและอากาศมีความชื้นสูง ให้เกษตรกรเฝ้าระวังและป้องกัน โรคไหม้ข้าว (Rice Blast Disease) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae ส่วนพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอให้เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพ

เมื่อควบคุมสภาพอากาศไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือ “ข้าวแกร่ง ต้องเสริมเกราะ ด้วยโล่เขียว” มาเสริมเกราะป้องกันให้กับข้าวด้วยโล่เขียว ซึ่งโล่เขียวมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้ข้าวทนต่อสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสม สามารถทนต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยให้ใบมีความเขียวเข้ม “รากขาว แตกกอดี ใบเขียวทน ต้นแข็งแรง”

โล่เขียวมีส่วนประกอบของแมกนีเซียม (Mg) และสังกะสี (Zn) โดยแมกนีเซียม (Mg) จะช่วยให้ข้าวมีใบเขียวเข้ม ช่วยสร้างสร้างพลังงานดูดซึมสารอาหารต่างๆ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และสังกะสี (Zn) จะช่วยแตกตาดอกและตายอด เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ที่สำคัญช่วยให้พืชทนทานต่อสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี

รากขาว คือรากที่สมบูรณ์และแข็งแรง

แตกกอดี คือจำนวนเยอะและขนาดใหญ่

ใบเขียวทน คือใบสีเขียวเข้ม ทนต่อโรคและแมลง

ต้นแข็งแรง คือต้นยืดตรง ไม่คดงอ

 

 

ปลูกมะเขือเทศให้งาม

มะเขือเทศ

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum Mill. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมพืชหนึ่งของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และมะเขือเทศรับประทานผลสด จากสถิติการปลูกพืชผักรายปีของกรมส่งเสริมการเกษตร แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทยประมาณปีละ 40,000 ไร่ ในช่วงปี 2532 – 2533 เป็นช่วงที่มีการขยายพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุดถึง 90,000 ไร่ แล้วค่อย ๆ ลดลงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูกมะเขือเทศส่วนใหญ่ 80 – 90 % เป็นการปลูกสำหรับส่งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปริมาณการผลิตขึ้นอยู่กับภาวะความต้องการของตลาดโลก เมื่อประเทศต่าง ๆ สามารถผลิตมะเขือเทศได้ดีทำให้มีปริมาณผลิตภัณฑ์มะเขือเทศมากเกินความต้องการ   ราคาผลผลิตตกต่ำจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลง มีผลให้พื้นที่ปลูกในประเทศไทยลดลงด้วย    สำหรับพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเพื่อบริโภคผลสดคาดว่า มีเพียงประมาณ  8,000 – 9,000 ไร่ คนไทยคุ้นเคยกับการรับประทานมะเขือเทศผลเล็ก สีชมพู มานานโดยนำไปใช้ปรุงรสและกลิ่นของอาหาร เช่น ส้มตำ อย่างไรก็ดีการบริโภคมะเขือเทศ ไม่จำกัดอยู่เพียงลักษณะผลเล็กสีชมพูเท่านั้น  คนไทยยังนำมะเขือเทศผลใหญ่สีแดง ที่ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมมาบริโภคด้วย  นอกจากนี้หลังจากที่มีการนำมะเขือเทศผลเล็กจิ๋ว หรือมะเขือเทศเชอรี่ ซึ่งมีน้ำหนักผลน้อยกว่า 10 กรัม มาวางจำหน่ายในท้องตลาดปรากฎว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจมะเขือเทศเชอรี่ค่อนข้างมากเพราะเป็นมะเขือเทศที่มีรสหวานเมล็ดน้อยสามารถนำไปบริโภคโดยตรงแทนผลไม้ได้

       ลักษณะการเจริญเติบโต

       ลักษณะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศแบ่งออกเป็นลักษณะดังนี้

       แบบเลื้อย   มะเขือเทศประเภทนี้ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะสามารถเจริญเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุดมีกิ่งแขนงขนาดใกล้เคียงกับลำต้น 2 – 3 แขนง และมีแขนงย่อยได้อีกไม่จำกัด ช่อดอกแรกเกิดระหว่างข้อที่ 8 และ 9   ช่อดอกต่อมาจะเกิดขึ้นทุก ๆ 3 ข้อ ลำต้นอาจจะสูงหรือยาวกว่า 10 เมตร

       แบบพุ่ม   มีลำต้นตั้งตรงกิ่งแขนงหลายแขนงเกิดตามข้อบนลำต้นด้านล่าง และอาจมีแขนงย่อยได้อีก ช่อดอกเกิดระหว่างข้อทุกข้อในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะหยุดการเจริญเติบโต มะเขือเทศบางพันธุ์เมื่อตายอดเกิดช่อดอกแล้วจะมีกิ่งแขนงเกิดที่ข้อใต้ช่อดอกเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เรียกว่าเจริญเติบโต

       สภาพภูมิอากาศและฤดูปลูกที่เหมาะสม

       มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของมะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ที่ระหว่าง 25 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16 – 20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยมาก ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาว โดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย  การปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน คือ ฤดูฝนจะมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตกถ้าต้องการจะปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ

  1. เลือกพื้นที่ปลูกที่สูง มีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ
  2. ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5 – 6.8
  3. ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละฤดู คือให้ผลดกในฤดูฝน และฤดูร้อน
  4. มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูกต้อง คือเตรียมดินใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง ฉีดพ่นสารสมุนไพรหรือสารชีวภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันกําจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ ไม่ปล่อยให้โรคทําลายก่อนแล้วจึงป้องกันกําจัด

       สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิ

       มะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย ความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะสมประมาณ 5.5 – 7.0 และเป็นดินที่ระบายน้ำดี มะเขือเทศไม่ชอบน้ำขังแฉะ ถ้าฝนตกติดต่อกันจะต้องเร่งระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ควรเป็นแหล่งที่ไม่เคยปลูกมะเขือเทศมาก่อนในระยะ 1 – 2 ปีที่ผ่านมา เพราะจะมีโรคและแมลงสะสมทำให้การป้องกันกำจัดทำได้ยาก

       ปัญหาการไม่ติดผลและการแก้ไข

       ในฤดูหนาวสามารถปลูกมะเขือเทศได้ง่ายที่สุด แต่การบริโภคมะเขือเทศไม่ได้ถูกจำกัดเพียงฤดูเดียว ดังนั้นจึงมีความพยายามปลูกมะเขือเทศนอกฤดูในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งปัญหาที่สำคัญคืออุณหภูมิสูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ทำให้ดอกมะเขือเทศร่วงไม่ติดผล แต่เนื่องจากราคาผลผลิตในช่วงปลายฤดูร้อนค่อนข้างสูง จึงมีเกษตรกรยอมเสี่ยงปลูก การแก้ไขปัญหาการไม่ติดผลของมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูร้อนสามารถทำได้หลายวิธี

  1. ปลูกมะเขือเทศบนภูเขาสูง ปกติบนภูเขาสูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าในพื้นราบ จึงมีการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูกันมาก เช่น ที่จังหวัดเชียงราย เพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่บนภูเขาสูงมักมีปัญหาแหล่งน้ำจำกัด อาจใช้ปลูกมะเขือเทศได้ไม่ตลอดฤดูปลูก จึงต้องเลือกแหล่งที่มีน้ำสมบูรณ์จริง ๆ
  2. ใช้พันธุ์ทนร้อน ร่วมกับการจัดการที่ดี พันธุ์มะเขือเทศทั่วไปจะไม่สามารถติดผลได้ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส แต่พันธุ์ทนร้อนสามารถติดผลได้แม้ว่าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีถ้าอุณหภูมิกลางวันสูงเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ก็ทำให้มะเขือเทศพันธุ์ทนร้อนติดผลได้ยาก การปลูกมะเขือเทศในฤดูร้อน นอกจากจะใช้พันธุ์ทนร้อนแล้วจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอย่างประณีต โดยเฉพาะการให้น้ำทั้งนี้เพราะเมื่ออากาศร้อนและแห้ง ต้นมะเขือเทศต้องการน้ำมากกว่าในฤดูปลูกปกติถึง 2 เท่า และการระเหยน้ำจากดินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการให้น้ำบ่อยครั้งขึ้น ถ้าเป็นการให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอยควรให้ทุกวันตอนเช้า เพื่อให้ดินและอากาศรอบ ๆ แปลงปลูกมีความชื้นพอเพียง และเป็นการลดอุณหภูมิในแปลงปลูกลงด้วย
  3. การฉีดพ่นมารฮอร์โมนช่วยเร่งการติดตามผลและอาหารเสริม การใช้ฮอร์โมน 4-CPA (chloro phenoxy acetic acid) ความเข้มข้น 25 – 50 ppm. ช่วยให้เปอร์เซ็นต์การติดผลของมะเขือเทศเพิ่มขึ้น แต่ก่อนฉีดพ่นฮอร์โมนนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพของต้นมะเขือเทศว่ามีความแข็งแรงพร้อมที่จะติดผลได้หรือไม่ (โดยสังเกตจากขนาดของก้านช่อดอก ถ้าก้านช่อดอกมีขนาดใหญ่แนวโน้มที่จะติดผลได้มีมากกว่าก้านช่อดอกที่มีขนาดเล็ก)  และช่วงที่ฉีดพ่นควรเป็นช่วงที่มีปริมาณดอกค่อนข้างมาก สารฮอร์โมนชนิดนี้ เมื่อฉีดพ่นถูกใบมักทำให้ใบผิดปกติม้วนงอ ใบยอดหดเล็กลง (การใช้สารฮอร์โมนช่วยให้ผลผลิตในมะเขือเทศพันธุ์ผลโต มักใช้พู่กันจุ่มฮอร์โมนป้ายตามช่อดอกไม่ให้ถูกใบ) ผลที่เติบโตขึ้นเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด และบ่อยครั้งจะพบผลที่มีรูปร่างผิดปกติ จึงไม่ควรฉีดพ่นเกินกว่า 2 ครั้ง และควรฉีดพ่นในช่วงที่อากาศไม่ร้อน เช่น ตอนเช้ามืดหรือตอนเย็น อย่างไรก็ดีแม้ว่าสารฮอร์โมนจะช่วยให้เกิดการติดผลได้ แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศไม่สมบูรณ์ ก็ไม่สามารถทำให้ผลที่ติดแล้วเจริญเติบโตต่อไปเป็นผลที่มีรูปร่างปกติได้ จึงอาจจำเป็นต้องฉีดพ่นด้วยอาหารเสริมทางใบ และบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินพร้อมกับให้น้ำอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ขึ้น มีอาหารส่งไปยังผลอย่างพอเพียง ผลจะเติบโตเป็นผลที่มีรูปร่างปกติต่อไป

       พันธุ์ปลูก

       พันธุ์มะเขือเทศที่ใช้ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพันธุ์ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ โดยโรงงานที่รับซื้อผลผลิตเป็นผู้จัดหามา  ส่วนพันธุ์มะเขือเทศผลเล็กสีชมพูสำหรับรับประทานสด เกษตรกรอาจเลือกซื้อได้จากร้านค้าเมล็ดพันธุ์ หรือเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศทนร้อนที่มีลักษณะผลสีชมพูคล้ายพันธุ์สีดาจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ สีดาทิพย์ 1, สีดาทิพย์ 2, สีดาทิพย์ 3 และมะเขือเทศลูกผสมสีดาทิพย์ 92

 นอกจากนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ไต้หวัน นำพันธุ์มะเขือเทศผลเล็กจิ๋วหรือมะเขือเทศเชอรี่ เข้ามาปลูกทดสอบหลายพันธุ์ พันธุ์ที่น่าสนใจมากคือ CH154 และ CH 155 ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ มีการเจริญเติบโตแบบกึ่งเลื้อย ความสูงของต้น ประมาณ 100 – 150 ซม. มีกิ่งแขนง 6 – 10 แขนง อายุดอกบานประมาณ 40 – 45 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ช่อดอกเกิดบนลำต้นเกือบทุกข้อ แต่ละช่อดอกมีดอกย่อย 8 – 15 ดอก ในฤดูหนาวสามารถติดผลได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีผลมากกว่า 300 ผลต่อต้น ผลผลิตประมาณ 4 – 5 ตันต่อไร่   รูปร่างผลยาวรี รสหวาน เนื้อแน่น มีเมล็ดน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด ผลเริ่มสุกแดงประมาณ 50 วัน หลังจากย้ายปลูกหรือประมาณ 70 – 75 วันหลังจากหยอดเมล็ด   การเก็บเกี่ยวผลควรรอให้ผลสุกแดงจนสีผลเป็นสีเข้ม จะมีรสชาติหวานกว่าผลที่เพิ่งเริ่มสุก และเมื่อผลสุกแล้วสามารถปล่อยทิ้งไว้บนต้นได้นานถึง 20 วัน โดยผลไม่เน่าเละซึ่งเป็นข้อดีที่สามารถชลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปได้ระยะหนึ่ง  มะเขือเทศเชอรี่พันธุ์ CH154 และ CH155 นี้ เป็นพันธุ์ผสมปล่อยสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อไปได้ เมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็กกว่ามะเขือเทศทั่วไปโดยน้ำหนักเมล็ด 1 กรัมมีจำนวนเมล็ดประมาณ  450 – 500 เมล็ด

       การปลูก

       การปลูกทำได้ 2 วิธี 

       

      1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก   โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30 – 40 กรัม หยอดลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าว หรือ หญ้าแห้งบาง ๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุมแปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โรคที่สำคัญในแปลงกล้า คือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกัน ความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17 – 22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข็งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมาก หลังจากย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมักจะใช้กล้าอายุประมาณ 21 – 25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3 – 4 ใบ

  1. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่าย แต่จะเสียเวลาและแรงงานในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80 – 100 กรัม ต่อไร่ สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร ระยะระหว่างต้น 25 – 50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่นจะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น ๆ

       การปฏิบัติดูแลรักษา

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างมากในแปลงมะเขือเทศ เริ่มตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังจากย้ายปลูกหากปล่อยให้วัชพืชขึ้นในแปลง จะส่งผลท้าให้ทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศลดลง

      -การใช้แรงงาน หรือเครื่องมือกล การใช้มือถอน หรือใช้จอบถาก อาจท้า 1-2 ครั้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตของผัก โดยเฉพาะวัชพืชที่ขยายพันธุ์ ด้วยหัว หรือเหง้า เช่น แห้วหมู ควรเก็บออกให้มากที่สุด

      – การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตกหรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 – 40 % แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเธี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรคลุมให้ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป

       – การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 – 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 – 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช

       – การใส่ปุ๋ย

  1. ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2,000 กก./ไร่ และโบแรกซ์ 4 กก./ไร่
  2. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 7 – 10 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 46 – 0 – 0 หรือ 21 – 0 – 0 อัตรา 10 หรือ 20 กก./ไร่ ถ้าเปลี่ยนแปลงปลูกที่เคยปลูกผักกินใบ เช่น ผักชี มาก่อนควรใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 แทน
  3. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 21 – 25 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กก./ไร่
  4. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 40 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 30 กก./ไร่
  5. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 60 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศค่อนข้างโทรมมีผลน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5

       ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมเช่น ร้อนเกินไปหรือมีฝนตกบ่อยทำให้ต้นมะเขือเทศไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีอาการเฝือใบ อาจช่วยได้โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรต่าง ๆ ตามระยะการเจริญเติบโต เช่น ในระยะยังไม่ออกดอกอาจใช้ปุ๋ยใบสูตรเสมอ เช่น 25 – 25 – 25 ส่วนในระยะออกดอกแล้วควรใช้ปุ๋ยใบที่มีฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง เช่น 10 – 23 – 20 หรือ 10 – 30 – 20 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยใบที่มีธาตุอาหารรองหลายชนิดอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส เหล็ก สังกะสี โบรอน จะช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

       – การให้น้ำ ระยะที่มะเขือเทศต้องการน้ำมากคือ ช่วงแรกของการเติบโตและช่วงที่ผลกำลังขยายขนาด (ประมาณ 35 – 50 วัน หลังจากย้ายกล้า) สำหรับช่วงที่กำลังติดผล (20 – 35 วัน) ไม่ต้องการน้ำมากนักแต่ต้องการการพรวนดิน เพื่อให้รากเจริญเติบโตลงไปได้ลึก และรากกระจายทางด้านข้างได้สะดวก

       – การปักค้าง มีความจำเป็นมากเมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน หรือ ปลูกด้วยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแบบเลื้อย การปักค้างแบบค้างเดี๋ยวหรือแบบกระโจม จะช่วยให้ผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้นกว่าการไม่ปักค้าง 20 % และทำให้การฉีดยาป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติงานอื่น ๆ ในแปลงสะดวกขึ้น นอกจากปักค้างแล้วต้องหมั่นผูกต้นมะเขือเทศติดกับค้างด้วย มิฉะนั้นแขนงที่เกิดใหม่จะเจริญเติบโตทอดไปกับดินทำให้ผลเน่าเสียหายได้

 การป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ โรคที่สำคัญได้แก่

      1.โรคกล้าเน่า-เน่าคอดินสาเหตุ (เชื้อรา Pythium perilum Drechsler) ราเข้าทำลายเมล็ด ทำให้เมล็ดเน่าทั้งที่ยังไม่งอก หรืองอกอยู่ในดิน ซึ่งทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากเมล็ดงอกโผล่จากดินแล้วเจริญเป็นต้นกล้า ราเข้าทำลายที่ระดับดินโคนต้นกล้าเกิดอาการฉ่ำน้ำ ต้นกล้าล้มพับอยู่เหนือดิน แต่ใบเลี้ยงยังคงเขียว ไม่มีอาการเหี่ยว หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ความชื้นสูง จะทำให้ต้นกล้าเน่าเป็นหย่อมๆ ในแปลงกล้าหรือในกระบะเพาะกล้า

การป้องกันกำจัด : 1. แปลงเพาะกล้าควรย่อยดินให้ละเอียดและตากแดดเป็นเวลานานพอสมควรก่อนหว่านเมล็ด

  1. ไม่เพาะกล้าและรดน้ำในแปลงกล้ามากเกินไป
  2. แปลงกล้าควรมีการระบายน้ำได้ดี
  3. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล เพื่อควบคุมราที่อาจติดมากับเมล็ดและป้องกันการเข้าทำลายจากราอื่นที่อยู่ในดิน
  4. หากพบว่ามีการระบาดของโรค ให้รีบควบคุมราด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และเก็บต้นกล้าที่เป็นโรคออกจากแปลง เพื่อน้าไปเผาทิ้งทำลาย

       2.โรคใบไหม้ สาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora infestans มักเกิดกับใบล่างของต้น อาการใบไหม้ เริ่มแรกใบเป็นจุดช้ำสีเขียวเข้มและขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็ว ส่วนด้านล่างของใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก บนแผลพบเส้นใยและกลุ่มสปอร์สีขาวอยู่รอบ ๆ เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง ในบางครั้งโรคแสดงอาการที่ส่วนของกิ่งและลำต้น โดยมีลักษณะเป็นจุดช้ำน้ำและมีแผลสีดำเช่นเดียวกับอาการที่ใบ ถ้าเกิดแผลที่โคนกิ่งจะทำให้ส่วนยอดของกิ่งแสดงอาการเหี่ยวเฉา เนื่องจากน้ำและอาหารส่งไปเลี้ยงส่วยยอดได้ไม่ หากมีการเข้าทำลายอย่างรุนแรงพืชจะตายภายใน 1สัปดาห์

การป้องกันกำจัด : 1. ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง

  1. เมื่อพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรค ควรรีบถอนออกเผาทำลาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราที่เป็น

สาเหตุโรคแพร่ระบาด

  1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศในบริเวณที่เคยมีโรคนี้ระบาด
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่น เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 72% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 70 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

      โรคราแป้ง สาเหตุ : เชื้อรา Oidiopsis sp. ลักษณะอาการ : พบกลุ่มสปอร์และเส้นใยสีขาว-เทาบนผิวใบ ลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายแป้งฝุ่นหรือผงชอล์กปกคลุม อาการเริ่มแรกมักเป็นหย่อมๆ แล้วขยายจนเต็มใบ ถ้าเป็น รุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย อาการส่วนใหญ่มักเกิดกับใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนที่เจริญเต็มที่แล้ว และในสภาพอากาศเย็นจะทำให้เชื้อลุกลามไปยังกิ่งได้

การป้องกันกำจัด : 1. ตัดแต่งกิ่ง ใบ ให้ทรงต้นโปร่ง และเก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อลดแพร่กระจายของโรค

  1. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งที่ตัดแต่ง
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ซัลเฟอร์ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน

      โรคใบหงิกเหลือง สาเหตุ : เชื้อไวรัส Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV ใบอ่อนที่แตกใหม่มีขนาดเล็ก ขอบใบม้วนงอ ผิวใบไม่เรียบและมีสีเหลือง ต่อมาใบยอดเป็นพุ่มและหงิกเหลือง ช่อดอกฝ่อทำให้ดอกหลุดร่วงง่าย ถ้าเชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นกล้าพืชแสดงอาการของโรคอย่างรุนแรง ต้นแคระแกร็น และไม่ติดดอก

การป้องกันกำจัด : 1. ถ้าพบต้นที่เป็นโรคควรถอนต้นพืชที่เป็นโรค เผาทำลายทิ้งทันที

  1. กำจัดพืชอาศัยชนิดอื่นในแปลงปลูก เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อและแมลงพาหะ
  2. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยของไวรัส

 การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ    แมลงศัตรูที่สำคัญมีดังนี้

      หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm)  หนอนชนิดนี้ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิดเข้าทำลายมะเขือเทศโดยการกัดกินส่วนของ ดอก ใบ และเจาะผลมะเขือเทศ หนอน ขนาดใหญ่ (วัย 4-5) มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงสูง

การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพื่อกำจัดดักแด้หนอนเจาะสมอฝ้ายที่อยู่ในดิน การทำลายซากพืชอาหาร ทำให้ช่วยลดการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้ายในการปลูกมะเขือเทศครั้งต่อไป

  1. การใช้วิธีกล เช่น เก็บหนอนไปทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
  2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstakii อัตรา 60-80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในช่วงเวลาเย็น
  3. การใช้เชื้อไวรัส เอ็นพีวี (นิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนเจาะสมอฝ้าย DOA BIO V2 (กรมวิชาการเกษตร) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ในช่วงเวลาเย็นโดยผสมกับสารจับใบ
  4. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด เช่น อินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี หรือ สไปนีโทแรม 12% เอสซี หรือ  อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 15, 20 และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามล้าดับ

      แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) แมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเทศ โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบ และเป็นพาหะน้าโรคที่เกิดจากไวรัส ทำให้ใบหงิก ยอดไม่เจริญ ไม่ออกดอก และ ต้นมะเขือเทศแคระแกร็นไม่สมบูรณ์

การป้องกันกำจัด  1. คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้าด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 25% เอสที อัตรา 40 กรัม/เมล็ด 1 กก.

  1. ใช้อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นตามการระบาด

      แมลงวันหนอนชอนใบ (leaf miner flies) แมลงวันหนอนชอนใบมีหลายชนิด พืชผักหรือไม้ดอกบางชนิดที่ถูกทำลายเกิดจากตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็ก วางไข่ภายในผิวใบ หนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ถ้าระบาดรุนแรง จะทำให้ใบร่วง เพศเมียวางไข่ที่มีขนาดเล็กภายในผิวพืช ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อน้าใบพืชมาส่องดูจะพบตัวหนอนตัวเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งแสง ใส อยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด  1. การใช้วิธีกล การเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายเนื่องจากหนอนชอนใบตามพื้นดิน จะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย

  1. การใช้สารสกัดสะเดาอัตรา 100 พีพีเอ็ม สามารถป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบได้ดี
  2. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เบตาไซฟลูทริน 2.5% อีซีหรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 30 มล. และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ

      หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) หนอนกระทู้ผักเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด หนอนวัยแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ต่อมาการทำลายรุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่และกัดกินพืชอย่างรวดเร็ว กัดกินทั้ง ใบ ดอก ผล การทำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยวางไข่และพบการระบาดได้ตลอดทั้งปี

การป้องกันกำจัด

  1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้และลดแหล่งสะสมและขยายพันธุ์
  2. การใช้กลวิธี โดยการเก็บกลุ่มไข่ และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
  3. การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus- thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki การใช้เชื้อไวรัส (นิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนกระทู้ผัก
  4. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น คลอร์ฟินาเพอร์ (chlorfenapyr), อินดอกซาคาร์บ (indoxacarb), สไปนีโทแรม (spinetoram) ตามคำแนะนำในฉลาก

        การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 50-60 วันหลังปลูก โดยมะเขือ เทศที่ส่งขายโรงงานอุตสาหกรรมเก็บเมื่อผลยังคงสีเขียวและเริ่มเปลี่ยนสีและปลิดขั้วออก ส่วนมะเขือเทศที่ใช้รับประทานสดเก็บเมื่อผลสุกและให้มีขั้วผลกลุ่มไม่ทอดเลื้อย สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งต้น กลุ่มทอดเลื้อย จะทยอยเก็บเกี่ยวได้นานต่อเนื่อง 2-3 เดือน

      

ที่มาข้อมูล : รู้จริงเรื่องพืช (กรมวิชาการเกษตร) , ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับมะเขือเทศ

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกแปลง           :         ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะตั้งตัว (อายุ 7-10 วัน)           :          โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150  ลิตร     ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะเจริญทางลำต้น-ใบ (อายุ 10-25 วัน)  :  โล่เขียว 100 ซีซี+ไร่เทพ 1ซองผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 7-10 วัน

– ระยะดอก-ผลเล็ก (อายุ 25-35 วัน)      :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100  ลิตร      ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะขยายผลสร้างเนื้อ (อายุ 35-50 วัน)   :   โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

– ระยะเริ่มต้นเก็บเกี่ยว (อายุ 50-80 วัน)   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร   ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  7-10 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปลูกพริกให้ผลผลิตสูง

 

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ต่อพื้นที่ได้น่าสนใจชนิดหนึ่ง โดยในพื้นที่ปลูกประมาณ 1 ไร่สามารถสร้างได้เฉลี่ยประมาณ 60000 – 100000 บาท  เลยทีเดียว (ข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร) แถมยังเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนอากาศร้อน และปลูกได้ทุกพื้นที่ ทำให้ในแต่ละปีประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 1 แสนไร่ โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ “พริกขี้หนูผลใหญ่” ปัจจุบันความนิยมบริโภคพริกในประเทศนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เกษตรกรหลายพื้นที่เผชิญปัญหาปริมาณและคุณภาพของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ทั้งจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน และปัญหาดินเสื่อมสภาพจากการปลูกพืชชนิดเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน พริกเป็นพืชผักที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 400,000 ไร่ อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยรวมทั้งคนเอเชียทุกครัวเรือน “ ขาดพริกไม่ได้ ” จะต้องมีพริกเกี่ยวข้องในมื้ออาหารที่บริโภคเป็นประจําทุกวัน แม้กระทั่งพริกสด และผลิตภัณฑ์พริกยังถูกส่งไปจําหน่ายในประเทศใกล้เคียง หรือในแถบยุโรป อเมริกา ที่คนเอเซียไปอยู่อาศัย นอกจากใช้บริโภคผลสดแล้ว ผลผลิตยังถูกนําไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมทําผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากพริก เช่น ซอสพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกงเผ็ด พริกแห้ง พริกป่นและยาบรรเทาอาการปวด แมลงกัดต่อย

  1. พันธุ์พริก พริกที่ปลูกในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามขนาดผล

1.1.กลุ่มพริกผลใหญ่ : พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหนุ่ม และพริกเหลือง ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-3 เซนติเมตร รูปร่างผลมีหลายแบบ ส่วนมากผล เรียวยาว ปลายผลแหลม สีผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีเหลือง ส้ม หรือสีแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ผิวผลมัน ผิวอาจเรียบหรือย่น รสชาติค่อนข้างเผ็ด พริกชี้ฟ้า และพริกมันใช้ผลสดทั้งเขียวและแดง ประกอบอาหาร เช่น ผัด แกง และนําไปทําซอสพริก น้ำจิ้มต่าง ๆ ผลแดงเมื่อตากแห้งให้สีแดงสวย นําไปทําเครื่องแกงเผ็ดและพริกป่น สําหรับพริกเหลืองใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงเผ็ด ผัด หรือดองน้ำส้ม ส่วนพริกหนุ่มใช้ทําน้ำพริกหนุ่ม ซอสพริก แต่ไม่นิยมนําไปทําพริกแห้งและพริกป่นเพราะสีไม่สวย เมล็ดพันธุ์ที่มีจําหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ มีพันธุ์ผสมปล่อยอยู่ในแหล่งที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อเนื่องกันมา เช่น พริกมันดําบางช้าง มันดําบางซอ

พริกหยวก ผลยาว 4-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-4 เซนติเมตร ผลยาวรูปทรงกรวย ปลายผล แหลม ตรง ผิวมันและเรียบ เนื้อหนา ผลอ่อนมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีเหลือง และสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกแก่มสีีแดง รสชาติเผ็ดน้อย ใช้ประกอบอาหาร เช่น หลน ผัด ย่าง หรือพริกหยวกยัดไส้

พริกหวาน หรือพริกยักษ์ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 5-12 เซนติเมตร รูปร่างผล ทรงกระบอก ผิวมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกแก่มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง น้ำตาล และม่วง เนื้อหนา รสชาติไม่เผ็ด รับประทานเป็นผักสดในจานสลัด ผัด ทําพริกยัดไส้อบหรือนึ่ง พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด

1.2.กลุ่มพริกผลเล็ก : พริกขี้หนูผลใหญ่ ความยาวผลตั้งแต่ 3-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 0.3-1.0 เซนติเมตร ผลเรียวปลายแหลม ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดงสด รสชาติเผ็ด ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ำพริก ส้มตํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม หรือรับประทานสด ผลแดงทําพริกแห้ง และพริกป่น พันธุ์ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เองเช่น พันธุ์ยอดสน หัวเรือ จินดา ห้วยสีทน แต่พันธุ์ลูกผสมจากบริษัทต่าง ๆได้รับ ความนิยมมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตสูง สีผลมีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์พื้นบ้าน ก้านผลใหญ่ เช่นพันธุ์ซุบเปอร์ฮอท

พริกขี้หนูผลเล็ก ผลขนาดเล็ก ความยาวผลน้อยกว่า 3 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดง รสชาติเผ็ดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทน้ำพริก ต้มยํา ส้มตํา ยํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม และรับประทานสด พบเห็นทั่วไปคือ พริกขี้หนูสวน พริกกระเหรี่ยง

  1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พริกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน ชื้น แสงแดดไม่จัดจนเกินไป จึงมักพบเห็นพริกเติบโตใต้ ต้นไม้ใหญ่ได้ดีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริก อยู่ในช่วง 20 – 30 องศาเซลเซียส (ยกเว้น พริกหวาน ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 18 – 27 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส ทําให้ดอกร่วง และถ้าอุณหภูมิปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน อาจทําให้ผลอ่อนร่วงด้วย นอกจากนี้การขาดน้ำก็มีผลให้ดอกร่วงเช่นกัน พริกชอบดินร่วนโปร่ง ไม่มีน้ำขังแฉะ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม ประมาณ 6.0-6.5 การปลูกพริกในฤดูฝนจําเป็นต้องเลือกปลูกบนที่ดอน หรือดินร่วนทรายหรือยกแปลงปลูกให้สูงเท่าที่จะทําได้เพื่อให้การระบายน้ำ ออกจากแปลงปลูกทําได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน และดินควรได้รับปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก อย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ร่วนโปร่ง และเป็นอาหารสําหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ต้นพริกแข็งแรง ทนทานโรคได้ดี                                                                                                         
  2. การเจริญเติบโต พริกเจริญเติบโตเป็นลําต้นเดี่ยวตั้งตรง เมื่อเติบโตจนถึงข้อที่ 9-15 จะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ เรียกว่าง่ามแรก และที่ง่ามแรกจะมีตาดอกแรกเป็นดอกเดี่ยว 1 ดอก หรือในพริกขี้หนูสวนอาจมีดอก 1-2 ดอก การเจริญเติบโตต่อไปจะแตกยอด จาก 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง ไปเรื่อย ๆ พริกออกดอกที่ข้อเกือบทุกข้อที่โคนลําต้นหลักใต้ง่ามแรก จะมีแขนงย่อยแตกตามข้อ 3-5 แขนง แขนงย่อยอาจมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ สามารถให้ดอกติดผลได้ถ้าใช้ระยะปลูกห่าง แต่ถ้าระยะปลูกแคบ แขนงมักไม่ค่อยสมบูรณ์ติดผลขนาดเล็ก ดังนั้นการปลูกพริกใหญ่จึงมักเด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแย่งอาหารจาก ลําต้นหลักสําหรับพริกขี้หนูซึ่งปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างกว่าพริกผลใหญ่ อาจไม่เด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่าม แรกออกทั้งหมดก็ได้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนงเก็บไว้จะได้ผลผลิตจากกิ่งแขนงด้วย เพราะพริกขี้หนูมีผลขนาดเล็ก ขนาดผลอาจเล็กลงบ้าง แต่ไม่แตกต่างจากผลปรกติมากนัก                                                                                                                                                                                                                                     
  3. เมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกมี 2 ประเภท 1. เมล็ดพันธุ์ลูกผสม มีจําหน่ายตามร้านขายวัสดุเกษตรทั่วไป เมื่อปลูกแล้วไม่ควรเก็บพันธุ์ปลูกต่อไปอีก เพราะรูปร่างผลจะเปลี่ยนแปลงไป มีหลายขนาดหลายลักษณะแตกต่างจากรุ่นแรกที่ซื้อเมล็ดมา ทําให้ตลาดไม่รับซื้อผลผลิต 2. เมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดที่ได้จากท้องถิ่นที่เก็บพันธุ์ปลูกต่อ ๆ กันมานาน มีความแปรปรวนของทรงต้นและลักษณะผลบ้าง ผลผลิตมักจะต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่มีลักษณะเฉพาะตัวดีเด่นในแต่ละพันธุ์เช่น พริกพันธุ์ยอดสน เมื่อตากแห้งแล้วก้านผลมีสีทองสวย การเก็บเมล็ดพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์สามารถทําได้ในพันธุ์ทั้งสองประเภท แต่การคัดพันธุ์จาก เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 6-7 ชั่ว จึงจะได้สายพันธุ์ที่นิ่งคือ มีลักษณะสม่ำเสมอ เหมือนกันในทุกชั่วที่เก็บเมล็ดปลูกต่อ ๆ กันไป ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมการผสมเกสร และคัดเลือก ลักษณะที่ตรงตามต้องการของตลาด ซึ่งผู้ทําการคัดเลือกต้องมีความรู้ในการคัดพันธุ์พอสมควร ส่วนพันธุ์ผสมปล่อยที่มีลักษณะต่าง ๆ แปรปรวนอยู่บ้าง วิธีการคัดพันธุ์คือเลือกต้นที่มีลักษณะดี เช่นผลดก ผลตรง ผลใหญ่ต้นตั้งตรงแข็งแรง แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ดีอาจมีต้นที่มีลักษณะดีหลายต้น เก็บเมล็ดแยกต้นกันนําไปปลูกต่อจากนั้นคัดเลือกต้นที่ดี โดยยึดลักษณะเช่นที่เคยคัดเลือกมาซ้ำ 2-4 ชั่ว ก็จะได้พันธุ์ปลูกที่ดีมีลักษณะตามที่เราคัดเลือก และถ้าให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเร็วขึ้น จะต้องควบคุมการผสมเกสร เพื่อให้ต้นพริกที่เราคัดเลือกไว้ติดผลจากเกสรในดอกเดียวกันหรือของต้นเดียวกัน โดยใช้สําลีหุ้มดอกที่ยังตูมอยู่ ไม่ให้แมลงมาผสมเกสรในดอกนั้น ดอกที่เราคลุมด้วยสําลีจะได้ละอองเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน ติดเป็นผล และผลนี้จะได้เมล็ดเรียกว่าเป็นการผสมตัวเอง ถ้าทําอย่างนี้ไปหลายๆครั้งที่นําเมล็ดไปปลูก ก็จะได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเป็นพันธุ์ของเราเอง และเมื่อลักษณะต่าง ๆ สม่ำเสมอกันทุกต้นแล้วก็ไม่ ต้องทําการผสมตัวเองอีก เก็บเมล็ดจากทุกต้นรวมกันเป็นพันธุ์ปลูกได้ เมล็ดพันธุ์พริกที่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรแกะเมล็ดออกจากผลที่สุกแดงแล้วโดยเร็วจะแกะเมล็ดขณะผลสด หรือเมื่อผลแห้งก็ได้แต่ไม่ควรปล่อยให้ผลที่แห้งแล้วทิ้งไว้นานเกิน 30 วัน เพราะเมล็ดที่อยู่ใน ผลจะเสื่อมความงอกไปเรื่อย ๆ หลังจากแกะเมล็ดออกแล้วควรผึ่งในที่ร่ม หรือตากแดดเฉพาะตอนเช้า ประมาณ 3-4 วัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่นสนิท หรือถุงพลาสติกหนาปิดถุงให้สนิท นําไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้นานกว่า 1 ปี
  4. การปลูกปฏิบัติดูแลรักษา

5.1 การเตรียมแปลงเพาะกล้าหรือวัสดุเพาะกล้า เลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้าที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ขุดดินยกแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับสภาพดินให้ร่วนโปร่งโดยเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหมัก หรือถ่านแกลบ หรือแกลบอัตรา 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ ใช้ไม้ขีดบนผิวหน้าแปลงเป็นรอยตื้นๆประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร แต่ละรอยห่างกัน 10 เซนติเมตร วางเมล็ดพริกลงในรอยห่างกัน 2-3 เซนติเมตร ใช้ถ่านแกลบผสมปุ๋ยหมัก กลบเมล็ดบาง ๆ นำไม้ไผ่มาโค้งเป็นโครงคลุมด้วยตาข่ายไนล่อนป้องกันฝนและแสงแดดจัด เกินไปในระยะต้นกล้ายังอ่อน สําหรับการเพาะกล้าในถาดเพาะ อาจใช้ดินร่วนตามโคนไม้หรือกอไผ่ที่ใบร่วงทับถมและย่อยสลาย ดีแล้ว ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ร่วนซุยโปร่งพรุน อุ้มน้ำดีน้ำหนักเบา หาได้ในท้องถิ่นมาผสมกันเป็น วัสดุเพาะเช่น 1. ดินร่วน : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก อัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร ขณะที่ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันควรรดน้ำเล็กน้อย เพื่อให้วัสดุมีความชื้นพอสมควร ซึ่งจะช่วยให้น้ำซึมลงในวัสดุได้อย่างทั่วถึงเมื่อรดน้ำภายหลังหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว

5.2 การเพาะเมล็ด การป้องกันเชื้อโรคติดมากับเมล็ด ทําโดยนําเมล็ดแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 50 องศา เซลเซียส (ทําโดยใช้น้ำต้มจนเดือด 1 กระป๋องนมขนาดเล็กผสมกับน้ำเย็น 1 กระป๋องนมขนาดใหญ่ ควร เตรียมน้ำอุ่นปริมาณมาก ๆ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ได้นาน หรือแช่ในกระติกน้ำก็ได้) ประมาณ 30 นาทีจากนั้น ผึ่งเมล็ดให้แห้งคลุกยากันรา เช่น เบนเลท แล้วนําไปหยอดลงแปลงปลูกหรือถาดเพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด กลบเมล็ดบาง ๆ รดน้ำแล้วรดด้วยไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราจากวัสดุปลูกเข้าทําลายเมล็ด ปรกติเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะมีความสมบูรณ์ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย สามารถงอกได้ 99-100 % ดังนั้นจึงไม่จําเป็นต้องหยอดเมล็ดเผื่อเกินกว่าหลุมละ 1 เมล็ด ช่วงที่สําคัญที่สุดของการเพาะกล้าอยู่ในช่วง 7 วันหลังจากหยอดเมล็ด ขบวนการงอกเริ่มต้นด้วยเมล็ดดูดน้ำเข้าไป ขบวนการหายใจเริ่มทํางาน สร้างน้ำย่อยในเมล็ด เพื่อเปลี่ยนอาหารที่สะสมไว้เป็นพลังงานในการงอก ระยะนี้ต้องการความชื้นและออกซิเจนจากอากาศ ดังนั้นหลังจากแช่เมล็ดให้ดูดน้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้วจึงนําเมล็ดมาห่อด้วยผ้าชื้นเรียกว่าการบ่ม

ถ้าหยอดเมล็ดลงถาดเพาะโดยไม่มีการบ่มเมล็ด จะต้องรดน้ำรักษาความชื้นถาดเพาะให้สม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะไว้ถ้าวัสดุปลูกแห้งเกินไปเมล็ดที่เริ่มงอกจะชะงักการเติบโต ในมุมกลับถ้าแช่เมล็ดในน้ำนานเกินไปหรืออยู่ในวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ก็จะทําให้เมล็ดขาดอากาศตายได้เช่นกัน การปฏิบัติที่จำเป็นคือ เตรียมวัสดุเพาะอย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆหลายๆ ครั้งให้เข้ากัน ดีบรรจุในถาดให้เต็มหลุมพอดีทุกหลุม หยอดเมล็ดด้วยความระมัดระวัง ไม่ทําให้รากที่เพิ่งเริ่มปริหักออก ทําหลุมหยอดเมล็ดให้ลึกสม่ำเสมอกัน และกลบเมล็ดด้วยวัสดุปลูกบาง ๆ ไม่หนาเกินกว่า 1 เซนติเมตร ดูแลความชื้นในถาดเพาะให้ชื้นพอดีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน การควบคุมความชื้นในถาดเพาะให้ สม่ำเสมอทําได้โดยรดน้ำน้อยๆบ่อยๆ หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะซึ่งเป็นการ ”บ่มถาดเพาะ” เมื่อเมล็ดงอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้าพลาสติกออก การใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเป็นวิธีรักษาความชื้นของดินในถาด เพาะได้ดีสามารถหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะได้ทันทีโดยไม่ต้องนําเมล็ดแช่น้ำและบ่มเมล็ดให้มีรากปริออกก่อน ช่วยให้การหยอดเมล็ดทําได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น (การบ่มเมล็ดด้วยการนําเมล็ดแช่น้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้ว ห่อเมล็ดด้วยผ้าชื้นๆ บ่มในกระติกหรือภาชนะที่มีฝาปิด 2-3 วัน เป็นการช่วยให้เมล็ดงอก แต่หลังจากหยอดเมล็ดแล้วหากแปลงปลูกหรือถาดเพาะมีความชื้นไม่สม่ำเสมอ รากที่ปริออกอาจแห้งตายได้ และการหยอดเมล็ดที่เริ่มปริทําได้ช้า และยากกว่าการหยอดด้วยเมล็ดแห้ง) หลังจากต้นกล้างอกแล้ว ดูแลต้นกล้าในถาดเพาะต่อไปอีก 30 วัน โดยในช่วง 15 และ 20 วัน หลังจากหยอดเมล็ด รดปุ๋ยเคมีสูตร 15: 15 : 15 ละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากรดปุ๋ย แล้วรดน้ำตามเบาๆเพื่อล้างปุ๋ยออกจากใบ และก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ควรทําให้ต้นกล้าพริก แข็งแรงทนทานโดยเปิดตาข่ายที่คลุมต้นกล้าออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดมากขึ้นหรือลดปริมาณน้ำที่ให้ลง อาจงดน้ำนานขึ้นจนต้นกล้าเริ่มเหี่ยวแล้วให้น้ำใหม่ ทําเช่นนี้ 2 ครั้งเป็นการกระตุ้นให้ต้นกล้าสะสมอาหารไว้ในต้นมากขึ้นกว่าปรกติเพื่อใช้ในการงอกรากใหม่ต้นกล้าที่ดีควรมีลําต้นแข็ง ไม่อวบฉ่ำน้ำ การทําให้ต้น กล้าแข็งแรงก่อนย้ายปลูกเป็นการเตรียมความพร้อมต้นกล้าที่จะออกไปสู่แปลงปลูกที่สภาพแวดล้อม เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน ต้นกล้าจะรอดตายมากขึ้น กรณีที่ไม่สามารถย้ายปลูกได้ตามกําหนด ต้นกล้าอยู่ ในถาดเพาะเป็นเวลานาน 50-60 วัน ทําให้รากขดเป็นวง ก่อนนําไปย้ายปลูกควรกรีดด้วยมีดหรือใช้กรรไกร ตัดรากตามแนวเดียวกับลําต้น 1-2 รอย เป็นการตัดรากเพื่อให้รากใหม่เกิดขึ้นได้ง่าย

5.3. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก แปลงปลูกควรได้รับการไถพรวนให้ดินร่วนโปร่งและตากแดดไว้อย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคทางดิน เติมปุ๋ยคอกหมักหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่และถ้าดินในแปลงปลูกมี pHต่ำ ก่อนไถพรวนทุกครั้งที่ปลูกพริกควรหว่านปูนโดโลไมท์ประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร หน้าแปลงปลูกกว้าง 100-120 เซนติเมตร แล้วแต่ขนาดพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้เว้น ช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจํานวนต้นที่เหมาะสมสําหรับพริกผลใหญ่ ประมาณ 5,000-6000 ต้นต่อไร่ พริกผลเล็กประมาณ 4000 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ดีระยะปลูกผันแปรตาม พันธุ์และฤดูปลูก ถ้าเตรียมแปลงปลูกกว้าง 120 เซนติเมตร (ใช้พลาสติกหน้ากว้าง 120 เซนติเมตร) ปลูก 3 แถวบนแปลง ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร มีช่องทางเดินระหว่างแปลง 80 เซนติเมตร จะปลูกได้ 6,000 ต้นต่อไร่ หรือถ้าเตรียมแปลงกว้าง 1 เมตร คลุมแปลงด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร จะปลูกได้ 5,340 ต้นต่อไร่ซึ่ง การปลูกพริกที่ใช้จํานวนต้นมากถึง 8000-10000 ต้นต่อไร่ (ปลูก 4 แถวและใช้ระยะระหว่างต้น 35-40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50-60 เซนติเมตร) มักพบว่าต้นพริกที่อยู่กลางแปลง ให้ผลพริกขนาด เล็กและผลผลิตไม่มาก อีกทั้งเมื่อเกิดโรคในแปลงจะทําให้การระบาดของโรครวดเร็วและรุนแรงมากกว่า เนื่องจากต้นพริกเบียดกันแน่นอากาศในแปลงถ่ายเทไม่สะดวก ต้นที่อยู่กลางแปลงมักอ่อนแอเพราะได้รับ น้ำและแสงแดดไม่เพียงพอ

5.4 การคลุมแปลงปลูก วัตถุประสงค์ของการคลุมแปลงปลูกคือ ป้องกันหน้าดินไม่ให้แน่นหลังจากฝนตก รักษาความชื้นในดิน ป้องกันผิวหน้าดินไม่ให้กระทบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิดินจึงไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนกระทบกับการ เจริญเติบโตของรากพริก และช่วยป้องกันวัชพืชด้วยวัสดุที่ใช้คลุมแปลงเช่น ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ใบหญ้าคา หรือพลาสติก ในฤดูร้อนข้อดีของการใช้ฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมแปลงปลูกคือ จะช่วยให้แปลงปลูกมีอุณหภูมิต่ำเหมาะสมกับพืชกว่าการใช้พลาสติก

5.5.การตัดแต่งกิ่งแขนง พริกผลใหญ่ควรปลิดแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด ทําโดยใช้มือปลิดขณะที่แขนงยังมีขนาด เล็กยาวไม่เกิน 10-15 เซนติเมตร (อายุประมาณดอกแรกบาน) ถ้าเด็ดช้าแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยาก และเป็นแผลใหญ่ อาจต้องใช้กรรไกรตัด ซึ่งจะเสียเวลาและอาจทําให้โรคแพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง จากกรรไกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การเด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออก จะช่วยให้ต้นพริกไม่ต้องเสียอาหารที่สร้างได้ ไปเลี้ยงกิ่งที่อยู่ใต้ทรงพุ่ม และทําให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเท เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งการพ่นยากําจัดศัตรูพืชทําได้ทั่วถึง ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และยังช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลพริกทําได้ สะดวก ผู้ปลูกมักไม่อยากเด็ดแขนงด้านล่างออกเพราะบางแขนงสามารถติดผลได้บ้าง แต่ถ้าสังเกตดูจะ พบว่าแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกมักจะติดผลน้อย ส่วนใหญ่ไม่ติดผลหรือติดผลขนาดเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นแขนง ขนาดเล็ก นอกจากนี้ถ้าย้ายปลูกต้นกล้าพริกอายุมากเกิน 40 วัน ควรเด็ดดอกแรกทิ้งด้วยเพราะดอกแรกเกิดที่ง่ามแรกจะติดเป็นผลที่ห้อยลงติดกับดินหรือพลาสติกคลุมแปลงทําให้ปลายผลงอ หรือผลอาจเน่าเสียและการเด็ดผลแรกออกยังช่วยให้ต้นพริกเติบโตได้ดีกว่าปล่อยให้ติดผลตั้งแต่ต้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเติบโตของพริกเช่น ฝนตกหนักติดต่อกันไม่ค่อยมีแสงแดด เป็นต้น

5.6 การใส่ปุ๋ย มีหลักการดังนี้ 1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี 2. ใส่ปุ๋ยที่มีสัดส่วนธาตุอาหารตามสัดส่วนที่พืชใช้ส่วนใหญ่พืชที่มีผลมักต้องการ N:P:K ประมาณ 3:1:4 คือต้องการ K และ N มาก ส่วน P ใช้น้อย 3. อัตราปุ๋ยที่ใส่ขึ้นกับผลผลิตคือ ถ้าพืชให้ผลผลิตมากก็ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ให้ตลอดฤดูจะตกประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง) 4. เวลาที่ใส่ปุ๋ยตรงกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชคือ ในช่วงแรกหลังย้ายปลูก พืชยังมีขนาดเล็กไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ช่วงที่พืชเติบโตอย่างรวดเร็วมักจะเป็นช่วงอายุ 25-60 วันหลังย้ายปลูก จึงต้องใส่ปุ๋ยค่อนข้างมากในช่วงนี้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ย อาจปฏิบัติดังนี้ – ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แบบหว่านลงแปลงก่อนเตรียมแปลง หรือใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่และต้องคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ดีก่อนย้ายปลูก เพื่อไม่ให้รากต้นพริกกระทบกับปุ๋ยเคมีโดยตรง  ครั้งที่ 1 อายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้างต้นด้วย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 2 อายุ 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 3 อายุ 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 4 อายุ 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

5.7 โรคและแมลงศัตรูพริก

โรคที่สำคัญอาการและการป้องกันกําจัด

1.โรคกุ้งแห้ง หรือแอนแทรคโนส (Anthracnose) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Colletotrichum spp.

    อาการของโรค ผลพริกที่เป็นโรคนี้ผิวผลยุบตัว ลงเป็นรอยบุ๋ม ฉ่ำน้ำ เมื่อแผล ขยายขนาด จะเห็นรอยแผลเป็น วงซ้อนกัน ส่วนกลางแผลมีเมือก สีส้มปนดํา สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค คือสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 30-32 องศา เซลเซียส และฝนตกพรํา ๆ เชื้อรา นี้สามารถปลิวตามลม และ ตกค้างในดิน เมื่อสภาพเหมาะสม เชื้อจะเจริญแพร่กระจายอย่าง รวดเร็ว

   การป้องกันกำจัดโรค  1. เลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค 2. บํารุงต้นให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์เพราะทําให้สปอร์ แพร่กระจายได้ดีและไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะทําให้ผลอวบน้ำ อ่อนแอต่อการ เข้าทําลายของเชื้อโรค 3. เก็บผลเป็นโรคออกจาก แปลงปลูก นําไปเผาทิ้ง เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 4. ไม่ควรปลูกพริกเบียดกัน แน่นทึบจนเกินไป ตัดแต่งทรง พุ่มให้โปร่งเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก 5. ใช้สารเคมีควบคุม เช่น Azoxystrobin, Mancozeb 

2.โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) เชื้อสาเหตุคือ เชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum)

อาการของโรค ต้นพริกเหี่ยวแบบเฉียบพลัน โดย ต้นพริกและใบยังเขียวอยู่ เมื่อตัด โคนต้นระดับคอดิน จะพบท่อ ลําเลียงอาหารช้ำมีสีน้ำตาลเมื่อ ตัดส่วนที่แสดงอาการโรคแช่ใน น้ำ จะเห็นน้ำยางสีขาวขุ่นไหล จากบริเวณท่อลําเลียง

การป้องกันกำจัด 1. ไม่ปลูกพริกในพื้นที่ที่มีประวัติการเกิดโรคเหี่ยวเขียวมาก่อน 2. หมั่นตรวจแปลงปลูกถ้าพบ ต้นเป็นโรคให้นำออกจากแปลงไปเผาไฟทันที 3. การให้น้ำตามร่องควรแบ่งแปลงเป็นช่วง ๆ และกักน้ำเฉพาะร่องนั้น ๆ เพื่อป้องกันการ กระจายของเชื้อแบคทีเรียไป ทั่วทั้งแปลง  4. ปลูกพืชหมุนเวียนและหลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้ำในที่เดิมติดต่อกัน

3.โรคใบด่าง (Cucumber mosaic virus, CMV) เชื้อสาเหตุคือ ไวรัสใบด่างแตง Cucumber mosaic virus

อาการของโรค ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียว อ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิด เบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระแก็รน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิด เบี้ยวผิวขรุขระ จ้ำนูน สีผลไม่ สม่ำเสมอ พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูด น้ำ-อาหารจากพืชและปล่อยเชื้อ เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด  1. พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด แมลงในระยะต้นกล้า โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส หรือคลุม แปลงกล้าด้วยมุ้งไนล่อน 32 ตา ต่อนิ้ว 2. กําจัดวัชพืชในแปลงและรอบ ๆ แปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน 3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นเป็นโรคในระยะแรก ต้องกําจัด ออกจากแปลงทันทีเพราะต้น เป็นโรคจะไม่ให้ผลผลิต และเป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไป

4.โรคใบจุดตากบ (Frog-eye leaf spot) เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อรา Cercospora spp.

อาการของโรค ลักษณะเป็นอาการโรคบนใบแผลกลม ขอบสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบ เมื่อระบาดรุนแรง แผลเชื่อมต่อ ถึงกันทําให้ใบไหม้แห้งกรอบและร่วง แผลบนก้านผลลักษณะยาวรี หรือยาวกลม ขอบแผลสีเข้ม เนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลง

การป้องกันกำจัด  1. หมั่นสํารวจแปลงปลูกพริก เมื่อพบใบเป็นโรคเพียงเล็กน้อย ให้ใช้สารเคมี Mancozeb  พ่นป้องกันทันที 2. หลีกเลี่ยงการขังน้ำระหว่าง ร่องปลูกเป็นเวลานาน ต่อเนื่องกัน เนื่องจากทําให้ ความชื้นในแปลงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี 3. ทําความสะอาดแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเชื้อที่ติดมากับใบที่ ร่วงตามพื้น

5.โรครากเน่าและโคนเน่า (Collar and root rot) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Phytophthora spp.และ Pythium spp.

อาการของโรค จะเกิดอาการเน่าคอดิน ต้นกล้าหักยุบและตาย ในต้นพริกที่โตแล้ว ต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและโคนต้นมีแถบสีดําปน น้ำตาลเข้ม เริ่มจากโคนต้นลาม ไปยอด ปลายรากมีสีดําหรือ น้ำตาลเข้ม และผิวรากลอกหลุด ง่ายเมื่อจับดึงท่อน้ำท่ออาหารมีสี น้ำตาล

การป้องกันกำจัด 1. หลีกเลี่ยงการรดน้ำแปลง กล้าหรือถาดเพาะในตอนเย็น 2. เพาะกล้าในวัสดุที่ปลอดเชื้อ 3. กําจัดต้นที่เป็นโรคจากแปลงปลูก และทําลายโดยนําไปเผา 4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลด ปริมาณเชื้อในดินโดยสลับกับ พืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด ถั่วหรือผักกินใบ 5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ 50-100 กิโลกรัม ผสมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมโรย โคนต้น

แมลงศัตรูพริกการเข้าทำลายและการป้องกันกําจัด

1.เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis Hood) เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงในส่วนยอด อ่อน ใบอ่อน ตาดอกและผลพริก ทําให้พริกชะงักการเจริญเติบโต ยอดอ่อนหงิก ใบห่อ ขอบใบม้วน ขึ้นทางด้านบนทั้งสองข้าง ใบมี ลักษณะเป็นคลื่น ผิวใบด้านล่าง ก้านใบ ก้านดอก และยอดพริก เกิดรอยด้านสีน้ำตาล ดอกร่วง ผล บิดเบี้ยว หงิกงอ สภาพที่เหมาะสม คือ อากาศแห้ง อุณหภูมิสูง

การป้องกันกำจัด 1. กําจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยไฟ 2. ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ช่วยเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก 3. ควรปรับสูตรปุ๋ยให้มีสัดส่วน ไนโตรเจนต่ำลง และเพิ่มการฉีดพ่นด้วยโล่เขียวตามอัตราแนะนำเพื่อให้เซลล์พืชแข็งแรง

2.เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนเข้าทําลายดูดกินน้ำ เลี้ยงส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน ทําให้ใบหงิกงอ เป็นคลื่น ต้นชะงักการเจริญเติบโต มักจะพบมดมา กินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา และมีราดำลงทําลายด้วย

การป้องกันกำจัด 1. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดปริมาณเพลี้ยอ่อน 2. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และใช้สารป้องกันกำจัดฉีดพ่น

3.ไรขาว (Polyphagotarsonemus latus Banks) ไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน และใบอ่อน ทาให้ใบหงิก ขอบใบ ม้วนลง ใบเรียวเล็ก หนาแข็งและ เปราะ ถ้าระบาดรุนแรง ยอดอ่อน ที่ถูกไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยง จะแตกเป็นฝอย ต้นพริกไม่เจริญเติบโต และไม่ติดผล

การป้องกันกำจัด 1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และ ใช้สารเคมีพ่น หรือใช้สาร กํามะถันผงพ่นเป็นระยะ ๆ ในช่วงที่เริ่มระบาด

4.แมลงวันพริก (Bactrocera latifrons) แมลงวันพริกเพศเมียวางไข่ภายใน ผลพริก เมื่อฟักเป็นตัวหนอน จะกัดกินภายในผลพริก เห็นเป็นรอยทาง ไส้พริกมีสีดำ ต่อมาผลพริกจะ เน่าและร่วง

การป้องกันกำจัด 1. ใช้สารล่อแมลง คือลาตีลัวร์ (Lati-lure) ร่วมกับสารฆ่าแมลง ใส่ในกับดักแมลง เพื่อล่อแมลงวันพริกเพศผู้

5.หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนเข้า ทําลายโดยกัดกินดอกและเจาะกิน ภายในผลพริก

 การป้องกันกำจัด ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์และเชื้อ แบคทีเรีย (BT) พ่นในช่วงเย็น หลังให้น้ำแปลงปลูก

 

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน(คู่มือการปลูกพริกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับพริก

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก       ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)                 ใช้โล่เขียว    50 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                              ใช้โล่เขียว  100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะก่อนดอกชุดแรก                        ใช้โล่เขียว  200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต                        ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง  ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

            

วิธีง่ายๆ ในการไล่เพลี้ย

วิธีง่ายๆ ไล่เพลี้ย ศัตรูตัวร้ายของเกษตรกร

หน้าร้อนทีไรก็มีเพลี้ยแป้ง มากวนใจทุกที ไม่ต้องกังวลไป ไร่เทพมีสูตรมาขจัดเพลี้ยแป้งให้อยู่หมัด! 😉
.
👉1 น้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจานชนิดไม่มีสารฟอกขาว ซึ่งมีฤทธิ์ลดแรงตึงผิว ทำให้ขี้ผึงที่เพลี้ยแป้งสร้างคลุมตัวเสียไป และหายใจไม่ได้ โดยใช้อัตราส่วนน้ำยาล้างจาน 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร หากได้ผลก็จะเห็นเพลี้ยแป้งฝ่อแห้งไป
.
👉2.พริกสด
เพิ่มความรุนแรงขึ้นอีกด้วยการผสมกับพริกสด ซึ่งมีสารรบกวนระบบการดูดซึมอาหารของเพลี้ยแป้ง ในอัตราส่วน พริกสดตำละเอียด 1- 2 ช้อนชา น้ำยาล้างจานชนิดไม่มีสารฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมและหอมแดงสดอย่างละ 1 หัวใหญ่ นำไปปั่นโดยผสมน้ำบ้างเพื่อให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำอีก 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำมากรอง ก่อนนำไปใช้งาน ในกรณีที่เป็นต้นไม้ที่มีใบอ่อน อาจลองแค่บางจุดก่อน เพราะใบอ่อนอาจไหม้ได้
.
👉3. เหล้าขาว
หากสูตรเบื้องต้นยังไม่สาแก่ใจ แต่ยังกลัวสารเคมีรุนแรงอยู่ ลองใช้สูตรเหล้าขาว 2 ขวด น้ำส้มสายชู 5 % 1 ลิตร สาร EM 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร และน้ำสะอาด 10 ลิตร นำทั้งหมดมาผสมกันและหมักไว้นาน 10 – 15 วัน หมั่นคนไม่ให้ส่วนผสมนอนก้น และอย่าปิดฝาแน่นสนิทเพื่อให้ก๊าซที่เกิดขึ้นระบายออกได้ พอครบกำหนดแล้วให้ใช้ปริมาณ 1-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร นำไปฉีดพ่นพืชผักทุก 3 วัน สลับกับพ่นปุ๋ยน้ำ หากเป็นพืชสวน พ่นทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
.
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไร่เทพ ผสมในอัตราส่วน 1 ซอง ต่อน้ำ 100-200 ลิตร เพราะ มีสารฟูลวิค แอซิด (FULVIC ACID) ที่ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้าเคมีต่างๆ ในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการมีชีวิตของ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประจุไฟฟ้าทางเคมีในเซลล์สิ่งมีชีวิตที่สมดุลทำให้สิ่งมีชีวิตในแข็งแรง เจริญเติบโตเต็มที่และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขาดสมดุลจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นอ่อนแอ เป็นโรค และตายในที่สุด
ไล่ “เพลี้ยไฟ” ไปจากไร่เรา! ชิ้ววววววว
👉สูตรสมุนไพรกำจัดเพลี้ยไฟ :
1.ยาสูบ 1 ขีด
2.มะพร้าวขูด 2 ขีด
3.น้ำสับปะรดสุก 1 ลิตร
4.กาแฟผง 1 ขีด
5. น้ำเปล่า 1 ลิตร
ขั้นตอนการทำ :
1.นำยาสูบ 1 ขีด และมะพร้าวขูด 2 ขีด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำร้อนลงไป 1 ลิตร พอเริ่มเย็นก็ให้กรองและคั้นเอาเฉพาะน้ำจะได้สารสกัดยาสูบกะทิสด
2.น้ำผลสับปะรดสุก 1 ลิตร ผสมกับน้ำสารกัดยาสูบกะทิสด
3.เติมกาแฟผงอีก 1 ขีด คนให้เข้ากันก็จะได้สารกำจัดเพลี้ยไฟ
อัตราการใช้ :
ให้ผสมสารธรรมชาติกำจัดเพลี้ยไฟกับน้ำในอัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดช่วงที่ไม้ผลออกดอกหรือพลเพลี้ย แต่ถ้าพบเพลี้ยไฟระบาดอยู่อีก ก็ให้ฉีดพ่นซ้ำภายใน 7 วัน สารดังกล่าวจะมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทของเพลี้ยไฟ ตัวอ่อนและไข่
.
สารธรรมชาติกำจัดเพลี้ยไฟ ปลอดภัยต่อทั้งตัวเกษตรกรและผู้บริโภค อีกทั้งมีต้นทุนผลิตลิตรละประมาณ 100 บาท สามารถนำไปปรับใช้กับการกำจัดเพลี้ยไฟในสวนผลไม้อื่นๆ ได้
.
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=4816…
.
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไร่เทพ ผสมในอัตราส่วน 1 ซอง ต่อน้ำ 100-200 ลิตร เพราะ มีสารฟูลวิค แอซิด (FULVIC ACID) ที่ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้าเคมีต่างๆ ในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการมีชีวิตของ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประจุไฟฟ้าทางเคมีในเซลล์สิ่งมีชีวิตที่สมดุลทำให้สิ่งมีชีวิตในแข็งแรง เจริญเติบโตเต็มที่และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขาดสมดุลจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นอ่อนแอ เป็นโรค และตายในที่สุด
.
.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-