ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายนานาชาติด้านน้ำ และระบบนิเวศในนาข้าว (International Network for Water and Ecosystem in Paddy Fields, INWEPF) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับนาข้าว ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งเครือข่ายนี้เมื่อปีพ.ศ.2547 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 17 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บังกลาเทศ จีน เนปาล อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา เวียดนาม อียิปต์ ปากีสถาน อินเดีย และไทย
เทคนิคการทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว หรือ AWD (Alternative Wetting and Drying) เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดน้ำในการทำนาที่หลาย ๆ ประเทศนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ สำหรับประเทศไทยบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัดเป็นหนึ่งในผู้นำ ที่ร่วมส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่มีอาชีพทำนานำไปปฏิบัติอย่างได้ผล จนเป็นที่แพร่หลายและทุกภาคส่วนให้การยอมรับ การทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวนั้นได้มีการศึกษาวิจัย และพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาได้ถึงร้อยละ28 ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำนาแบบทั่วไป ซึ่งโดยปกติจะใช้น้ำปริมาณ 1200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาแบบแกล้งข้าวจะใช้น้ำเพียง 860ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เท่านั้น นอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำแล้วยังช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยการใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลงจากไร่ละ ประมาณ 5600 บาท เหลือประมาณ 3400 บาท หรือราวร้อยละ 40 รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้น เพิ่มผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 1200 กิโลกรัม เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นและที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้นเยาวชนรุ่นหลัง ๆ จึงหันมาสนใจการทำนาซึ่งจะเป็นการรักษาพื้นที่ชลประทาน ให้คงที่เกิดความสามัคคีในชุมชนที่ไม่ต้องแย่งน้ำกันต่อไป
เทคนิคการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว
การทำนาแบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” (Alternate Wetting and Drying : AWD) หรือเรียกอีกอย่างว่า การทำนาแบบใช้น้ำน้อย คือการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรง โดยทั่วไปจะขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 เซนติเมตร ในช่วงหลังปักดำ จนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้องออกดอกจึงจะเพิ่มระดับน้ำในแปลงอยู่ที่ 7-10 เซนติเมตร ช่วงที่ปล่อยให้ข้าวขาดน้ำหรือแกล้งข้าวมี 2 ช่วงคือ
ครั้งที่ 1 ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้น (อายุข้าว 35-45 วัน) เป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าระดับน้ำ ในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา
ครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวแตกกอสูงสุด (อายุข้าว 60-65 วัน) เป็นเวลาอีก 14 วัน เช่นเดียวกัน หรือ จนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหงแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา
*** หมายเหตุ – วิธีการทำนาเปียกสลับแห้งนี้ไม่เหมาะกับดินทรายและดินเค็ม
– ควรหลีกเลี่ยงช่วงข้าวตั้งท้อง อย่าปล่อยให้น้ำแห้ง
– ข้าวแต่ละพันธุ์มีอายุแตกต่างกันตามชนิดและพื้นที่ปลูก
การทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวส่งผลดีต่อข้าวดังนี้
1) ความชื้นที่โคนกอข้าวต่ำอุณหภูมิหน้าดินจะสูง ๆ ต่ำ ๆ ช่วยป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
2) ต้นข้าวไม่อวบน้ำ ลำต้นแข็ง แตกกอดี แตกรากใหม่มากขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหาร
3) ลดการหักล้มของต้นข้าว และช่วยประหยัดน้ำได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์
4) จุลินทรีย์สามารถใช้ออกซิเจน สำหรับการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
โดยทั่วไปการทำนาจะมีขั้นตอนอยู่ประมาณ 7-8 ขั้นตอน เริ่มจากการเตรียมดินไปจนถึงการดูแล รักษาต้นข้าวให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้
การเตรียมดิน : ลดการเผาตอซังและปรับปรุงคุณภาพดินด้วยปุ๋ยพืชสด โดยก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตให้หว่านปอเทืองในวันที่มีการเก็บเกี่ยว แล้วรถเกี่ยวจะกระจายฟาง เพื่อให้คลุมดินรักษาความชื้นไว้ และไม่ต้องทำการไถกลบเมล็ดปอเทืองก็จะงอกภายใน 3 วัน เมื่อปอเทืองออกดอก (50-60 วันหลังหว่าน) จึงทำการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดต่อไป การเตรียมดินเมื่อปอเทือง ออกดอกจะทำการไถกลบ หมักเทือกโดยใช้สารชีวภาพเร่งการย่อยสลายของปอเทือง ฟางข้าว และเศษวัชพืช โดยปกติฟางข้าวจะย่อยเองได้ 15-20 วัน แต่หากใช้สารชีวภาพช่วยเร่งจะย่อยได้ 7 วัน
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ : โดยทั่วไปการเตรียมเมล็ดพันธุ์คุณภาพประมาณ 10-20 กิโลกรัม/ไร่ แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโครเดอมาร์ นาน 24 ชั่วโมง บ่มเมล็ดพันธุ์ไว้ 1 วัน แล้วนำไปหว่าน
การหว่านเมล็ดพันธุ์ : ระบายน้ำออกให้หมด แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ด้วยเครื่องมือให้สม่ำเสมอ
1- อายุข้าวได้ 1 วัน ฉีดยาคุมวัชพืช 2- ถ้าพื้นที่ตรงไหนไม่เสมอ มีน้ำขังข้าวจะไม่งอกจึงใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา ใส่ทำให้ข้าวงอก ดีไม่ตาย 3- การผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์จะต้องไม่มีการซ่อมข้าวเพราะ จะทำให้การสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ไม่สม่ำเสมอ
การเพาะกล้า(นาดำ) 1- ควรเพาะกล้าก่อนปลูกไม่เกิน 20 วัน และเมื่อถอนกล้าไปปลูกรากข้าวจะต้องได้รับการ กระทบกระเทือนน้อย 2- แช่เมล็ดพันธุ์ นาน 12-24 ชั่วโมง ในน้ำอุ่น 35-40 องศาเซลเซียส จะดีที่สุดหรือตามแบบที่เคยทำมาหากมีปัญหาเรื่องบั่ว ขอแนะนำให้แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำสะเดา
การขนย้ายกล้า 1- ย้ายต้นอ่อนเมื่ออายุไม่เกิน 20 วัน หากปลูกต้นกล้าที่แก่กว่านี้การผลิตหน่อ หรือแตกหน่อจะลดลง 2- ควรถอนต้นกล้าเบาๆ เพื่อรบกวนต้นกล้าน้อยที่สุด คอยระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจาก เมล็ด และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง 3- ให้ขนย้ายต้นกล้าไปยังแปลงปลูกทันที แล้วปักดำไม่เกินครึ่งชั่วโมงหลังจากถอนต้นกล้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้รากต้นกล้าแห้ง 4-ให้ถอนต้นกล้าและขนย้ายอย่างเบามือ อย่าให้ช้ำ อย่าล้างราก อย่าทิ้งไว้กลางแดด เพราะต้นกล้าอ่อน ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากต้นกล้าได้รับการสัมผัสเบา ๆ การเติบโตจะไม่ชะงัก และใบจะไม่เหลือง
การดำนาหรือปักดำ 1- ปักดำต้นกล้าทีละต้นจะให้ผลดีที่สุด เพราะต้นข้าวจะแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดดกัน 2- ปลูกเป็นรูปตาราง 40×40 หรือ 33×33 หรือ 25×25 เซนติเมตร (ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง) เพื่อให้ต้นกล้าอยู่ห่างกัน ให้รากได้แผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น อีกทั้งยังสะดวกในการกำจัดวัชพืชระหว่างแถวและระหว่างต้น 3- การปลูกระยะ 40×40 เซนติเมตร จะปลูกได้เร็วกว่าเหมาะกับแปลงใหญ่ๆ ซึ่งง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และเน้นประหยัดเมล็ดพันธุ์ 4- เผื่อต้นกล้าไว้ปักที่ขอบแปลง เอาไว้แทนต้นกล้าที่ตายหรือเสียหาย
การควบคุมน้ำในแปลงนา : การควบคุมน้ำในแปลงนา
1- ขณะดำนาให้ใช้น้ำแต่น้อย โดยให้น้ำมากพอที่จะทำ ให้ดินเป็นโคลนเท่านั้น
2- เมื่อข้าวเริ่มตั้งตัวหลังจากปักดำประมาณ 10 วัน เติมน้ำเข้านาให้ท่วมสูงจากดินไม่เกิน 5 เซนติเมตร
3- ขณะที่ข้าวแตกกอสามารถทำให้นาแห้งได้ 2 ครั้ง · ครั้งที่ 1 ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้น (อายุข้าว 35-45 วัน) เป็นเวลา 14 วัน หรือ จนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา · ครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวแตกกอสูงสุด (อายุข้าว 60-65 วัน) เป็นเวลาอีก 14 วัน เช่นเดียวกัน หรือจนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหงแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา
4- หลังจากหน้าดินแตก ก็ค่อยใส่ปุ๋ยลงไปในนา ปุ๋ยจะลงไปในรอยแตก ทำให้รากข้าวดูดซึม สารอาหารได้เต็มที่
5- เมื่อข้าวเริ่มออกรวงปล่อยให้น้ำท่วม 7-10 เซนติเมตร **หากข้าวขาดน้ำในระยะนี้เมล็ดจะลีบ และผลผลิตลดลง
6- ปล่อยน้ำออกจากนาก่อนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน
*** ข้อเท็จจริง*** การปล่อยให้ผืนนาแห้งจนดินแตกในช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตนั้น ช่วยให้ข้าวได้รับแสงแดดอย่าง เพียงพอ รากได้รับออกซิเจนมากขึ้น มีการเกิดรากใหม่หาอาหารได้มากขึ้น ข้าวมีการแตกกอดี ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง มีไส้เดือนมาช่วยย่อยอินทรียวัตถุในนา
การดูแลรักษา
การกำจัดวัชพืช : ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง อาจใช้เครื่องทุ่นแรงที่ผลิตจากโรงงาน (Rotary Weeder) หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง หรือถอนด้วยมือก็ได้ ในการกำจัดวัชพืชต้องใช้เวลา และแรงงานมากพอสมควร แต่ในการกำจัดวัชพืชแต่ละครั้งช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่คุ้มกับการลงทุน เพราะทำให้อากาศเข้าไปในดินได้มากซึ่งเป็นเหตุให้รากข้าวได้รับ ออกซิเจนโดยตรง มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
การควบคุมและกำจัดศัตรูพืช : การทำนาเปียกสลับแห้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงสมบูรณ์สามารถต้านโรคและศัตรูพืชได้ดีกว่านาน้ำขัง ทั่วไป วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีทางธรรมชาติมีดังนี้
1- แมลงและโรคบางชนิดใช้สารธรรมชาติ เช่นสะเดาป้องกันและกำจัดได้ 2- ปู ให้ใช้เมล็ดมะขาม, ดอกทองกวาว, ยอดมันสำปะหลัง, กับดัก 3- หอยเชอรี่ใช้กับดักและสมุนไพรบางชนิดฉีดพ่น 4- การใช้แหนแดง เพื่อคลุมหน้าดินป้องกันวัชพืช เป็นปุ๋ยพืชสด ตรึงไนโตรเจนในอากาศและเป็นอาหารเป็ด 5- การเลี้ยงเป็ดในนาเพื่อให้กินแมลง วัชพืช หอยเชอรี่ รบกวนแหล่งที่อยู่แมลงศัตรูพืชในนา ย่ำหญ้า ( โดยปล่อยเป็ดเข้านาหลังปักดำแล้ว 4 สัปดาห์ )
การใช้สารชีวภัณฑ์ต้านโรคและแมลง
1- ข้าวอายุ 1-20 วัน จะมีเพลี้ยไฟเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีด พ่นให้ทั่วแปลง
2- ข้าวอายุ 20-40 วัน จะมีหนอนเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อบีที อัตรา 50 ซีซี และผสมเชื้อราไตร โครเดอร์มา อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง
3- ข้าวอายุ 50-90 วัน จะเป็นเชื้อรา (ถ้ามี) ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง
4- ข้าวอายุ 50-90 วัน จะมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย และเชื้อราเมตาไรเซียม อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง
การให้ปุ๋ย : ครั้งที่1 ข้าวอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 18-46-0 จำนวน 8 กิโลกรัม/ไร่ และสูตร 0-0-60 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่
ครั้งที่2 ข้าวอายุ 50-55 วันแต่ที่สำคัญต้องนำต้นที่สมบูรณ์ที่สุดมาผ่าต้นดูถ้าในโคน ต้นคล้ายขนนกแปลว่าข้าวเริ่มสร้างรวง ให้ใส่ปุ๋ยได้ทันทีเพราะเป็นระยะที่เราสามารถเพิ่มปริมาณเมล็ด ของข้าวในแต่ละรวงได้ แต่ถ้าดูที่อายุข้าวอาจจะเป็นการใส่ปุ๋ยไม่ตรงช่วง เพราะการฉีดสารกำจัดวัชพืชและการให้น้ำแต่ละครั้งทำให้ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงการออกรวง และเพิ่มปริมาณผลผลิตของข้าวแต่ละฤดูกาลได้ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 18-46-0 จำนวน 8 กิโลกรัม/ไร่ และ สูตร 0-0-60 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่
ครั้งที่3 ให้ดูข้าวมีความสมบูรณ์แค่ไหนถ้าไม่สมบูรณ์ให้ใส่ สูตร 46-0-0 ประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ หรือตามความเหมาะสม *** หมายเหตุ การฉีดสารป้องกันกำจัดโรคแมลงจะต้องสำรวจระบบนิเวศก่อนทุกครั้ง ถ้าไม่ถึงขั้นระบาดก็ไม่ต้องฉีด การใช้สารชีวภัณฑ์จะฉีดเวลาตอนเย็น
วางแผนการดำเนินการ : วิธีการทำนาแกล้งข้าว หลังจากการปักดำจะทำการขังน้ำในแปลงนาที่ระดับ 5 เซนติเมตร เหนือผิวดิน และทำการปล่อยให้น้ำในแปลงแห้ง จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งแรกหลังปักดำเมื่อต้นข้าวอายุ 35-45 วันจะหยุดส่งน้ำเข้าแปลง และปล่อยให้น้ำแห้งจนระดับน้ำแห้งต่ำกว่าผิวดิน 15 เซนติเมตร หรือไม่ให้น้ำจนครบจำนวน 14 วัน แล้วจึงส่งน้ำกลับมาที่ระดับ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดิน ครั้งที่ 2 เมื่อต้นข้าวอายุ 55-65 วัน จะปล่อยให้น้ำแห้งต่ำกว่าผิวดิน 15 เซนติเมตร หรือไม่ให้น้ำจนครบ 14 วัน แล้วจึงส่งน้ำกลับมาที่ระดับ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดินอีกครั้ง และเมื่อถึงระยะที่ข้าวออกดอกประมาณร้อยละ75 ของแปลงจะส่งน้ำเพื่อให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงขึ้นอยู่ที่ ระดับ 7-10 เซนติเมตรเหนือผิวดิน และเมื่อข้าวเริ่มสุกจะหยุดส่งน้ำ และระบายน้ำออกจากแปลงก่อนเก็บ เกี่ยวประมาณ 15 วัน
วิธีการให้น้ำแปลงเพาะปลูก
: จัดทำกระบอกวัดระดับน้ำหรือท่อแกล้งข้าวโดยใช้ท่อ PVC อย่างหนา ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว สูง 30 เซนติเมตร เจาะรูโดยรอบ 40รู โดยเว้นระยะ 5 เซนติเมตรที่ปลายขอบด้านบน และช่วงความลึก เมื่อนำไปฝังลงไปในแปลงนา กดให้ท่อจมลงไปในดินให้เสมอกับส่วนที่เจาะรู หรือประมาณ 25 เซนติเมตร โดยจะเหลือส่วนที่ไม่เจาะรูอยู่เหนือผิวดิน 5 เซนติเมตร
การรวบรวมข้อมูล
1- บันทึกจำนวนครั้งที่ส่งน้ำ ระดับหรือปริมาณน้ำที่ส่งและระบายน้ำทุกครั้ง
2- บันทึกข้อมูล วัน ชื่อสารและอัตราการใช้สารเคมี หรือชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ และปริมาณการใช้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และสารต่าง ๆ ฉีดพ่นทางใบ และอื่น ๆ
3- วัดองค์ประกอบผลผลิตดังนี้ จำนวนต้นต่อกอ ความสูงของต้นข้าว น้ำหนักผลผลิตจากตัวอย่างกอข้าว จำนวน 10 จุด น้ำหนักข้าวทั้งหมดหลังเก็บเกี่ยวทั้งแปลง
4- ทำบัญชีบันทึกต้นทุนการผลิตตลอดการเพาะปลูก
อ้างอิง : กรมการข้าว , สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน
คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับนาข้าว
การใช้ดินเทพ
– ช่วงเตรียมแปลง ทำเทือก : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ แล้วทำการปั่นดิน ลูบเทือก
การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว
– ระยะต้นกล้า : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 10-15 วัน
– ระยะแตกกอ : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150-200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 10-15 วัน
– ระยะสร้างรวงอ่อน : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 10-15 วัน
– ระยะข้าวตั้งท้อง : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 10-15 วัน
– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว : โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 10-15 วัน
.
ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-