Tag Archives: การปรับปรุงดิน

ปลูกอ้อย คั้นน้ำ

ปลูกอ้อย คั้นน้ำ

พันธุ์อ้อยคั้นน้ำที่เรานิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำอ้อยสดในประเทศไทยเรานั้นมีพันธุ์หลัก ๆ คือพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และ พันธุ์สิงคโปร์ เมื่อปี 2562 กรมวิชาการเกษตรได้มีการเปิดตัวพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ คือพันธุ์ศรีสำโรง 1 และล่าสุดวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ได้ทำการเปิดตัวอ้อยคั้นน้ำโดยใช้ชื่อพันธุ์ ว่า “กวก. สุพรรณบุรี 1 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหากจะพิจารณาเลือกพันธุ์มาปลูก ต้องคำนึงถึงความหวาน สีและความหอมของกลิ่น โดยความหวานที่เหมาะสม คือ 13-17 องศาบริกซ์

พันธุ์อ้อย กวก.สุพรรณบุรี 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เป็นหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาทั้งด้านพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมของอ้อย ได้ทำการวิจัยและพัฒนาในระหว่างปี 2547-2564 รวมระยะเวลา 17 ปี ตั้งแต่กระบวนการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และประเมินผลผลิตขั้นต่าง ๆ เพื่อศึกษาข้อมูลด้านผลผลิต และคุณภาพน้ำอ้อยในแปลงทดลองหน่วยงานเครือข่ายของกรมวิชาการเกษตร และในไร่เกษตรกรที่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยคั้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย จนถึงการประเมินความพึงพอใจและการยอมรับจากเกษตรกรผู้ผลิต จำหน่าย และบริโภค จนประสบผลสำเร็จ ได้อ้อยคั้นน้ำพันธุ์ใหม่ผ่านการรับรองพันธุ์พืชจากคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “กวก.สุพรรณบุรี 1” มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 3622 ลิตรต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 26 ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 11.43 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 21 สีน้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม รสชาติหวาน มีความหวาน 21.54 องศาบริกซ์

อ้อยพันธุ์สิงคโปร์ หรือที่เรียกกันว่าอ้อยสำลี เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรไทยเราใช้ปลูกกันมายาวนานมากว่า 30-40 ปี ให้ผลผลิตอ้อยที่มีผิวเนื้ออ่อน ชานอ้อยนิ่มเมื่อหีบออกมาแล้วจะได้น้ำอ้อยสดสีเหลืองปนเขียว กลิ่นหอม และมีความหวาน 13-15 องศาบริกซ์ ต้นอ้อยที่ได้จะมีลำสีเหลืองแก่ ปล้องสั้นระหว่างปล้องจะมีลำนูนป่อง คล้ายข้าวต้มมัด มีใบสีเขียว แตกกอประมาณกอละ 3-4 ลำ ไม่สามารถไว้ตอได้ ไม่ต้านทานโรคลำต้นเน่าแดง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน สามารถปลูกได้ดีในบริเวณที่ลุ่ม

พันธุ์สุพรรณบุรี50 เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาขึ้น เพื่อแก้จุดด้อยที่มีในพันธุ์สิงคโปร์ โดยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นอ้อยคั้นน้ำที่ให้ความหวาน สี และกลิ่นได้ดีกว่าพันธุ์สิงคโปร์ และยังสามารถไว้ตอได้ถึง 4 ครั้ง แตกกอได้มากถึงกอละ 5-6 ลำและยังมีการปรับตัวสภาพแวดล้อมได้ดีปลูกได้ทั้งที่ลุ่มและที่ดอน และยังต้านทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวเท่ากันกับพันธุ์สิงคโปร์คือ 8 เดือน แต่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า โดยให้ผลผลิตถึงไร่ละ 4,600-5,200 ลิตร เทียบกับพันธุ์สิงคโปร์ที่ให้ผลผลิตไร่ละ 2,100-2,800 ลิตร และยังให้ความหวานได้ถึง 15-17 องศาบริกซ์ ทำให้เพื่อนเกษตรกรหลายพื้นที่หันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้น เพราะได้ผลผลิตสูงและยังสามารถลดต้นทุนได้ เพราะสามารถไว้กอได้  ส่วนพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ล่าสุดคือพันธุ์ศรีสำโรง 1 นั้น เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับสภาพการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีผลผลิตมากกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยให้ผลผลิตถึงไร่ละ 5,647 ลิตรและมีความหวานถึง 17.1 องศาบริกซ์ ส่วนของสีและความหอมนั้นเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและตลาด  อ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ ที่ได้จากการผสมสายพันธุ์ของอ้อยพันธุ์ SP074 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 2533 เสร็จสิ้นการทดลอง ในปี 2539 ลักษณะประจำพันธุ์ มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอก ค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญสีเหลืองและนูน ข้อโปน แตกกอดี เจริญเติบโตเร็ว

การปลูกอ้อย : อ้อยเป็นพืชจัดอยู่ตระกูลหญ้า มีแหล่งกำเนิดที่เกาะนิวกินี ในมหาสมุทรแปซิฟิค ลักษณะภายนอกประกอบด้วยลำต้นที่มีข้อปล้องชัดเจนมีใบเกิดสลับข้างกัน มีส่วนกาบใบหุ้มต้นไว้ โดยกาบใบจะมีไขและขนอยู่ด้วย รากอ้อยเป็นระบบรากฝอยแต่แข็งแรง สามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึก ลำต้นอ้อยสามารถแตกหน่อได้จากตาของข้อด้านล่างๆที่อยู่ชิดดิน

อ้อยจัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งร้อน มีปริมาณน้ำฝนและแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่สูงกว่า 20 องศาเซลเซียส โดยมีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอ ต้องมีปริมาณน้ำฝน 1500 มิลลิเมตรต่อปี อ้อยขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ที่มีอากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก เพราะต้นอ้อยในช่วงเล็กไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้ ดินที่ปลูกจะต้องมีสภาพความเป็นกรด – ด่างที่เหมาะสม มีอินทรียวัตถุและมีธาตุอาหารที่สมบูรณ์

การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย : ควรเป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขังหรือพื้นที่ราบ มีหน้าดินลึกอย่างน้อย 20นิ้ว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานการคมนาคมขนส่งสะดวก

การเตรียมดิน : การเตรียมดินเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกอ้อย เพราะอ้อยมีระบบรากยาวประมาณ 4 เมตร เมื่อปลูกแล้วสามารถรักษาไว้ได้หลายปี เป็นการแตกหน่อใหม่เป็นอ้อยตอ การเตรียมดินที่ดีปฏิบัติดังนี้

1.การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้งและไถขณะที่ดินมีความชื้น พอเหมาะควรไถลึกไม่ต่ำกว่า 20 นิ้ว จะช่วยให้รากหยั่งลึก แข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี ถ้าชั้นล่างเป็นดินดานควรไถระเบิดดินดานก่อนปลูก

2.การปรับพื้นที่ การปรับระดับพื้นที่จะช่วยในการระบายน้ำท่วมขัง คือการไถหน้าดินมากองรวมกัน แล้วปรับระดับดินให้ได้ระดับเดียวกัน และเกลี่ยปรับหน้าดินให้เสมอทั่วทั้งแปลง อาจมีการเติมอินทรียวัตถุต่าง ๆในพื้นที่ ๆ ดินไม่ดี ประมาณ 1-2 ตัน/ไร่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของดิน

3.การเลือกพันธุ์อ้อย การเลือกพันธุ์อ้อยควรมีการพิจารณารายละเอียดดังนี้

 มีการเลือกพันธุ์อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เช่น พันธุ์กลาง พันธุ์หนัก พันธุ์เบา  ให้ผลผลิตต่อไร่มาก และค่าความหวานสูง กลิ่นหอม รสชาติดี  มีความต้านทานต่อโรคและแมลง  มีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และสามารถไว้ตอได้ 2-3 ปี

ฤดูการปลูกอ้อยและวิธีการดูแลบำรุงรักษา

ฤดูกาลปลูกแบ่งเป็น 2 ฤดูคือ  1) ต้นฤดูฝน เขตชลประทานระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ – เดือนเมษายน

2) ปลายฤดูฝนเน้นการปลูกอ้อยข้ามแล้ง เดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม ในพื้นที่ ๆ เป็นดินร่วนปนทราย

วิธีการปลูกอ้อย : 1.ยกร่องปลูกให้มีระยะระหว่างร่อง 1.0-1.5 เมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝน ยกร่องแล้วควรปลูกทันที เพื่อรักษาความชื้นในดิน

2.รองพื้นร่องปลูกด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ที่ผ่านการหมักไว้จนได้ที่ แล้วลอกกาบใบอ้อย ใช้มีดสับท่อนละ 2-3ตา แล้วนำไปวางเรียงปลูกเป็นระยะในร่องปลูกที่เตรียมไว้ ถ้าปลูกฤดูฝนกลบหนา 5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฝน ให้กลบประมาณ 10-15 เซนติเมตร  แล้วรดน้ำตามให้ความชุ่มชื้นตามแนวร่องปลูกให้สม่ำเสมอทั่วแปลง

3.การปลูกจะใช้แรงงานคนวางท่อนพันธุ์ สับ และกลบ หรือใช้เครื่องปลูก ถ้าใช้เครื่องปลูกอ้อยเครื่องปลูกจะเปิดร่อง ใส่ปุ๋ย วางท่อนพันธุ์และกลบดินโดยอัตโนมัติ

4.ในบางพื้นที่ถ้ามีมากเพียงพอ เกษตรกรจะปล่อยน้ำเข้าตามร่องก่อนปลูกอ้อย เมื่อดินแห้งหมาด ๆ จึงนำท่อนพันธุ์ลงแปลงปลูก แล้วกลบดินให้แน่นพอประมาณ หนา 10-15 เซนติเมตร

การบำรุงดูแลรักษา อ้อยมีการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 4 ระยะคือ

1.ระยะงอก : เริ่มปลูก–1เดือนครึ่ง อ้อยจะใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นจากดิน ปุ๋ยรองพื้นจะช่วยให้รากแข็งแรง

2.ระยะแตกกอ : อายุ1เดือนครึ่ง-3เดือน ต้องการธาตุไนโตรเจนมากเพื่อใช้ในการแตกกอและช่วยให้หน่อเจริญเติบโต

3.ระยะย่างปล้อง : อายุ 4 – 5เดือน เป็นระยะกำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อย เป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องใช้ปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ อากาศ น้ำและปุ๋ย

4.ระยะสุกแก่ : เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวเป็นระยะสะสมน้ำตาล ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องใสปุ๋ยทางดิน  อาจฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบและน้ำตาลทางด่วนเพิ่มเติมได้ในช่วงนี้

การใส่ปุ๋ย : การใส่ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกพืชในปัจจุบัน ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดิน ร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีควรมีธาตุอาหารหลักครบทั้ง 3 ตัว ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สูตรแนะนำคือ 15-15-15 และ 15-5-25 เป็นต้น

ดินร่วนปนทราย : ครั้งที่1 แนะนำปุ๋ยสูตร 15-15-15, 15-5-25 หรือ 16-16-8 รองก้นร่องพร้อมปลูก หลังแต่งตอ 1เดือน อัตรา 20-25 กิโลกรัม / ไร่  ครั้งที่2 เมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 50-60 กิโลกรัม / ไร่  **ถ้าเป็นอ้อยตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) อัตรา 20 กิโลกรัม / ไร่

ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว : ครั้งที่1 แนะนำปุ๋ยสูตร 18-12-6 , 15-15-15  หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1เดือน อัตรา 30 กิโลกรัม / ไร่  ครั้งที่2 เมื่ออายุ 2-3เดือน อัตรา 40 กิโลกรัม / ไร่  อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทาน เมื่ออ้อยอายุ 2-3เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) ในอัตรา 20 กิโลกรัม / ไร่  **การให้ปุ๋ยทางดินทุกครั้งทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะที่ดินมีความชื้น โดยโรยข้างแถวห่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วฝังกลบ

การให้น้ำ : สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตชลประทานหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรให้น้ำทันทีหลังการปลูกโดยระบบน้ำหยดตามร่องปลูก  หรือสูบน้ำเข้าร่องโดยไม่ต้องระบายน้ำออก

ต้องระวังไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันเกิน 20 วัน ในขณะอ้อยกำลังเจริญเติบโต เช่นช่วงแตกกอ ระยะย่างปล้อง เป็นการสร้างขนาดลำอ้อย และสะสมน้ำตาล

งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2เดือน กรณีฝนตกหนักควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงทันที

อ้อยตอ หลังตัดแต่งตอแล้วควรให้น้ำทันที

การกำจัดวัชพืช : การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4เดือนแรก ถ้าหากวัชพืชมากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง การกำจัดวัชพืชในการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ควรใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรทุ่นแรง เช่น รถพรวนดิน ตัดหญ้า เป็นต้น ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช

 

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคใบขาว : สาเหตุเกิดจาก เชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่เจริญเติบโตในต้นอ้อย หรือในแมลงพาหะเท่านั้น และแมลงพาหะที่ถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมา มี 2ชนิด คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล และเพลี้ยจั๊กจั่นหลังขาว

ลักษณะอาการ : ใบอ้อยเรียวแคบ สีเขียวอ่อน แตกกอเป็นฝอย พบทุกระยะการเจริญเติบโต อาการปรากฎชัดเจนในอ้อยตอที่แตกใหม่อายุ 4-5 เดือนขึ้นไป จะสังเกตได้จากการแตกหน่อสีขาวที่โคนกอหรือตาข้าง พบโรคได้ในทุกแหล่งปลูก และสามารถแพร่ระบาดได้ผ่านทางท่อนพันธุ์ 

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝนในแหล่งปลูกที่เป็นดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด : 1) ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค หากมีความจำเป็นให้แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง

2) ขุดอ้อยที่เป็นโรค ไปเผาหรือฝังทำลายนอกแปลงปลูก เพราะเสี่ยงที่แมลงพาหะจะมาดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายทอดเชื้อใบขาวไปยังกออื่น ๆ

3) ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรโรค เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วพร้า ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือข้าวโพด เป็นต้น  

4) ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคนี้ต่อเนื่อง ให้ทำการรื้อแปลงและทำลายตออ้อยทิ้ง

โรคเหี่ยวเน่าแดง :  สาเหตุจาก เชื้อรา 2 ชนิด Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum

ลักษณะอาการ : ยอดเหลืองแห้ง เนื้อในลำอ้อยเน่าช้ำสีแดง เมื่อผ่าในลำจะเห็นเนื้ออ้อยเน่าช้ำเป็นสีแดงเป็นจ้ำ หรือเนื้ออ้อยเน่าเป็นสีน้ำตาลปนม่วง อ้อยปลูกใหม่จะเริ่มแสดงอาการในเดือนที่ 6-7 ทำให้ผลผลิตเสียหาย และอ้อยตอ จะเริ่มแสดงอาการในเดือนที่ 2-3 หลังจากแต่งตอ เชื้อราสาเหตุติดมากับท่อนพันธุ์  แพร่ขยายไปตามดิน สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม และไหลไปกับน้ำ พบระบาดในแหล่งปลูกภาคกลาง

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝน

การป้องกันกำจัด : 1) ปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค

2)ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค

3)ถ้าพบมีการระบาดในแปลงอ้อยปลูก งดการให้ปุ๋ยและน้ำทันที แล้วรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน

4)ปลูกพืชสลับ เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือถั่วเหลืองก่อนปลูกอ้อยฤดูใหม่

5)ทำลายซากตอเก่าโดยการคราดออกและทำการเผาทำลาย  และไถตากดิน ประมาณ 3 ครั้ง ก่อนปลูกใหม่

โรคแส้ดำ : สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต้นอ้อย

ลักษณะอาการ : ส่วนยอดจะดูเป็นก้านแข็งยาว คล้าย ๆ แส้สีดำ ในส่วนของตออ้อย ถ้าเป็นโรคนี้รุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกรน ดูคล้ายกอตะไคร้ จากนั้นจะแห้งตายทั้งกอผลผลิตจะลดลงมาก ในตอถัดไปมักจะพบโรคนี้ในทุกแหล่งปลูก เชื้อราสาเหตุติดมากับท่อนพันธุ์  แพร่ขยายไปตามดิน สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม และไหลไปกับน้ำ ทำให้ผลผลิตในพันธุ์อ่อนแอต่อโรคจะลดลง 50-80 เปอร์เซ็นต์

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงได้ในทุกฤดู

การป้องกันและกำจัด : 1) ปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์อ้อยที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค

2) ไถทำลายอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งของเชื้อแพร่ระบาดต่อไปในอ้อยปลูก

3) หากอยู่ในพื้นที่เป็นโรครุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์อ่อนแอไม่ต้านทานโรค

4) แช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารป้องกันกำจัดโรคพืช

แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

หนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนเจาะลำต้นอ้อย

ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลเข้มวางไข่เป็นกลุ่มตามใบ กาบใบและลำต้น ตัวหนอนสีขาวนวล โตเต็มที่ประมาณ 2เซนติเมตร มีจุดกลม ขนาดหัวเข็มหมุดหลังลำตัว หนอนจะเจาะเข้าต้นอ้อยบริเวณส่วนยอด แล้วกัดกินเนื้ออ้อย ลงมาถึงโคนต้นพบการระบาดในทุกแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ใกล้แหล่งน้ำหรือติดกับนาข้าว มักเข้าทำลายตั้งแต่ช่วงอ้อยย่างปล้อง อายุประมาณ 5เดือน ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัด : 1) หลังเก็บเกี่ยวใช้ใบอ้อยคลุมดินเพื่อป้องกันการทำลายของหนอน

2) ในแหล่งที่มีการระบาดประจำใช้พันธุ์ที่ต้านทาน

3) ตัดและทำลายต้นที่มีหนอนเข้าทำลายออกจากแปลง

4) ใช้สารชีวภัณฑ์ บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ป้องกันกำจัดหนอน หรือปล่อยแตนเบียนไข่ 20,000 ตัวต่อไร่ เป็นวิธีธรรมชาติ

หนอนกอลายจุดเล็ก

ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาล ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลเข้มมีจุดสีน้ำตาลอยู่ข้างละจุด ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน วางไข่เป็นกลุ่มที่ใบ  ตัวหนอนมีลายสีน้ำตาลดำ สลับขาว หัวสีน้ำตาลเข้ม มีจุดขนาดเล็กบนหลังปล้องละคู่ มักทิ้งตัวลงมากัดกิน ส่วนเจริญเติบโตอ้อย  ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย พบการระบาดในทุกแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดในช่วงอุณหภูมิสูงและอากาศแห้งแล้ง หรือช่วงตั้งแต่อ้อยเริ่มแตกกอ อายุประมาณ 1-4เดือน

การป้องกันกำจัด : 1) หลังเก็บเกี่ยวใช้ใบอ้อยคลุมดินเพื่อป้องกันการทำลายของหนอน

2) ในแหล่งที่มีการระบาดประจำใช้พันธุ์ที่ต้านทาน

3) ตัดและทำลายต้นที่มีหนอนเข้าทำลายออกจากแปลง

4) ใช้สารชีวภัณฑ์ บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ป้องกันกำจัดหนอน หรือปล่อยแตนเบียนไข่ 20,000 ตัวต่อไร่ เป็นวิธีธรรมชาติ

ด้วงหนวดยาว

ลักษณะการเข้าทำลาย : เป็นแมลงศัตรูในดิน ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลแดง เพศเมียส่วนท้องมีลักษณะมน ส่วนเพศผู้ตรงปลายเว้าพบระบาดมากในดินร่วนปนทราย วางไข่ใกล้โคนต้นอ้อย หนอนมีรูปร่างแบนทรงกระบอก สีขาวนวล กัดกินบริเวณรากและเหง้าอ้อย ทำให้ต้นเป็นโพรงแห้งตายทั้งกอ

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในดินร่วนปนทรายช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน

การป้องกันกำจัด : 1) ถ้าเกิดการระบาดทำลายอ้อยปลูกเกิน 24 เปอร์เซ็นต์ ควรไถทิ้งหลังเก็บเกี่ยว

2) ไถตาก ไถพรวนดินหลายๆรอบ ก่อนปลูกอ้อยในแปลง

3) ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เป็นระยะที่พบตัวเต็มวัยจำนวนมาก ใช้กับดักหลุมปูผ้าพลาสติกแล้วจับไปทำลาย

4) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัด

แมลงนูนหลวง

ลักษณะการเข้าทำลาย : เป็นศัตรูในดินตัวเต็มวัยปีกแข็ง วางไข่ในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร หนอนมีลักษณะโค้งงอ สีขาวนวล ปากมีเขี้ยวใหญ่แข็งแรง กัดกินรากอ้อยเหง้าออ้อย แห้งตายทั้งกอ ทำให้อ้อยหักล้ม

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด : 1) ใช้ไฟล่อแมลงและจับตัวเต็มวัยไปทำลาย

2) ไถตาก ไถพรวนดินหลายๆรอบเพื่อทำลายไข่และหนอนในดิน ก่อนปลูกอ้อยในแปลง

3) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัด

ปลวก

ลักษณะการเข้าทำลาย : สร้างรังอยู่ใต้ดินลำตัวสีขาว เข้าทำลายลำอ้อยในระดับต่ำกว่าผิวดิน  กัดกินอ้อยเป็นโพรงแล้วบรรจุดินอัดเข้าแทนที่ เข้าทำลายอ้อยในทุกระยะการเจริญเติบโต พบการระบาดในทุกระยะแหล่งปลูกอ้อย

ช่วงเวลาระบาด : ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน

การป้องกันกำจัด : 1) ไถดะ 1-2 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน ไถพรวน 2-3 ครั้ง

2) ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียม ป้องกันกำจัดปลวกใต้ดิน

การเก็บเกี่ยว : ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือน หลังปลูก ให้น้ำอ้อยมีค่าความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส หรือค่าบริกซ์ส่วนตรงกลาง และปลายลำแตกต่างกันน้อยกว่า 2

 

วิธีการเก็บเกี่ยว : ใช้มีดถากใบและกาบใบออกทั้ง 2ด้าน แล้วตัดอ้อยให้ชิดดิน  ควรตัดยอดอ้อยต่ำกว่าคอใบประมาณ 25-30 เซนติเมตร ในอ้อยที่ยังไม่ออกดอก และตัดต่ำจากใบธง ประมาณ 100-150 เซนติเมตร ในอ้อยที่ออกดอก แล้วใช้ยอดอ้อยมัดโคนและปลาย มัดละ 10ลำ แล้ววางเรียงกันในไร่

 

การบันทึกข้อมูลแปลง : เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในทุกช่วงเวลา เพื่อให้มีการตรวจสอบได้หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการผลิตพืช และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ดังนี้

1) สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝน

2) พันธุ์ที่ใช้ปลูก และวันที่ปลูก

3) วันที่ให้ปุ๋ย ให้น้ำและปริมาณ  ชนิดปุ๋ยและอัตราการให้

4) วันที่เริ่มมีศัตรูพืชระบาด ชนิดและปริมาณ (โรค และแมลง)

5) วันที่เก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่าย ปริมาณ คุณภาพ ราคาผลผลิต และรายได้

6) ปัญหา อุปสรรค ตลอดฤดูกาลปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง

ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือการปลูกอ้อย (กรมส่งเสริมการเกษตร) , ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี  

      : เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ (ปิยพร วิสระพันธุ์) , สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับอ้อย

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก     :    ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะงอก ( เริ่มปลูก-1เดือนครึ่ง )       :  โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะแตกกอ ( 1เดือนครึ่ง-3เดือน )    : โล่เขียว 100-200 ซีซี+ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะย่างปล้อง ( 4-6เดือน )              :  โล่เขียว 200 ซีซี+ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะแก่และสุก ( 8เดือน-เก็บเกี่ยว )  :  โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

 

 

 

 

มะละกอพืชทำเงิน

นอกจากใช้บริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจําวันแล้ว ผลมะละกอดิบ ผล มะละกอสุก และส่วนของยางยังใช้เป็นประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกหลาย ๆ ด้าน เช่น เนื้อมะละกอดิบสามารถนําไปทํามะละกอเชื่อม แช่อิ่ม ดองเค็ม หรือใช้ในโรงงานปลา กระป๋อง ผลมะละกอสุกสามารถใช้ทํานํ้าผลไม้ ผลิตซอส ผลไม้กระป๋อง แยมลูกกวาด และ มะละกอผง เปลือกมะละกอใช้ทําเป็นอาหารสัตว์ หรือสีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในโรงงานผลิตเบียร์ ผลิตนํ้าปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมี และเครื่องสําอางค์ เป็นต้น

มะละกอ เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานผลสุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในต่างประเทศนั้นนิยมมะละกอพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็ก มีนํ้าหนักต่อผลไม้เกิน 600 กรัม แต่มะละกอของไทยยังมีปริมาณการผลิตเพื่อการส่งออกโดยตรงมีน้อย และพันธุ์ที่ปลูกส่วนมาก เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะสําหรับส่งตลาดต่างประเทศ สถานีวิจัยปากช่องได้ผลิตมะละกอสายพันธุ์บริสุทธิ์ปากช่อง 1 ซึ่งมีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป มีรสหวาน 12-14 องศาบริกส์ นํ้าหนักผล 350 กรัม เป็นพันธุ์ที่เหมาะสําหรับส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้าพันธุ์หนึ่ง นอกจากคุณสมบัติของผลดังกล่าวแล้ว มะละกอพันธุ์นี้จะมีลักษณะใบมี 7 แฉกใหญ่ ใบกว้าง 50-60 ซม. ยาว 45-50 ซม. ก้านใบสีเขียวปนม่วง ยาว 70-75 ซม. ระยะเวลาปลูกประมาณ 8 เดือน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้ให้ผลผลิต 30- 35 กิโลกรัมต่อต้นในระยะ 18 เดือน และค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง

พันธุ์มะละกอที่คนไทยคุ้นเคยกันดี คือมะละกอแขกดำ มะละกอแขกดำมีจุดเริ่มต้นที่อำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี จากนั้นก็กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ มะละกอเป็นพืชที่กลายพันธุ์ง่ายเมื่อนำไปปลูกถิ่นอื่นนาน ๆ ลักษณะก็จะเปลี่ยนไป เมื่อพบสิ่งที่ดีผู้ปลูกก็จะเก็บสิ่งนั้นไว้ สถานีวิจัยพืชสวนท่าพระจังหวัดขอนแก่นนำมะละกอแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ ได้ชื่อว่า “แขกดำท่าพระ” ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษนำแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ได้ชื่อว่า “แขกดำศรีสะเกษ” เกษตรกรที่จังหวัดจันทบุรี ปลูกมะละกอแขกดำกันมากจนเกิดการกลายพันธุ์ รู้จักกันดีในนาม “แขกดำหนองแหวน” และพันธุ์อื่น ๆเช่น มะละกอฮอลแลนด์  มะละกอพันธุ์ครั่ง   มะละกอพันธุ์แขกนวล   มะละกอพันธุ์ท่าพระ 1, 2 และ 3 เป็นต้น

การผลิตมะละกอให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพจะต้องเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่การเตรียมต้นกล้า การเตรียมแปลงปลูก การปลูกและการดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนี้

การเตรียมต้นกล้ามะละกอ

มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวาง และต้นกล้าที่งอกใหม่ๆต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ ได้ 2 แบบ คือ

  1. เพาะเมล็ดลงถุง
  2. เพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ แล้วย้ายลงถุง
  3. การเพาะเมล็ดลงถุง การเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรงนั้นเป็นวิธีที่สะดวก เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ด ให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจเป็นเศษหญ้าสับ แกลบ ถ่านหรือเปลือกถั่วก็ได้ แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น นําดินที่ผสมแล้ว ใส่ถุงขนาด 5×8นิ้ว ที่เจาะรูระบายนํ้าเรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รูตั้งเรียงไว้กลางแจ้งใน บริเวณที่สามารถให้นํ้าได้อย่างสมํ่าเสมอทุกวัน หลังจากนั้นฝังเมล็ดมะละกอลงไปใต้ดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร ถุงละ 3 เมล็ด รดนํ้าให้ชุ่มทุกเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 10-14 วัน หลังปลูก เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ ถอนต้นที่อ่อนแอออก ในการเพาะเมล็ดนี้ควรฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดรา พวกแมนโคเซบผสมยาป้องกันแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส และสารจับใบฉีดครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่มงอก และหลังจากนั้น ฉีดทุก ๆ 10 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูกซึ่งจะสามารถย้ายกล้าปลูกเมื่อเพาะเมล็ด ได้ 45-60 วัน หลังจากถอนแยกต้นกล้าเหลือต้นเดียวแล้ว อาจสามารถเร่งให้ต้นกล้าเจริญเติบโต ได้เร็วขึ้นโดยให้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ที่มีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วย โดยใช้ปุ๋ยอัตรา 2 ช้อน แกงต่อนํ้า 20 ลิตร และผสมไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนแนะนำ ฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน
  4. การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ หรือกะบะเพาะแล้วย้ายลงถุง เตรียมแปลงเพาะกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร ให้ความยาวแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือใต้ ย่อยดินให้ละเอียดและผสมปุ๋ยคอกประมาณตารางเมตรละ 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าปุ๋ยคอกกับดินที่ย้อยแล้วให้เข้ากัน แล้วยกเป็นรูปแปลงสูงจากระดับดิน เดิม 15 ซม. แล้วใช้ไม้ขีดทําร่องแถวตามความกว้างของแปลงลึกประมาณ 1 ซม. ให้แถวห่างกัน 25 ซม. จากนั้นโรยเมล็ดมะละกอลงในร่องแถวให้ห่างกันพอประมาณ จนตลอดแปลง หลังจากนั้นจึงรดนํ้าให้ชุ่ม ผสมด้วยยาฆ่าแมลงเพื่อกันมดคาบเมล็ดไป อาจใช้เซฟวิน 85 หรือ S-85 ก็ได้และรดนํ้าให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น-เมื่อต้นกล้ามีใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือ ประมาณ 21-25 วัน หลังจากเพาะให้ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกขนาด 5×8 นิ้ว ถุงละ 1 ต้น ตั้งเรียงไว้ในที่ร่มมีแสง 50% ฉีดยาพ่นป้องกันโรคแมลง และให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรง

การเพาะเมล็ดลงกะบะพลาสติกก็ปฏิบัติคล้ายๆกัน โดยเอากระดาษหนังสือ พิมพ์รองก้นตะกร้าพลาสติก แล้วใส่ดินผสมเช่นเดียวกับที่เตรียมสําหรับเพาะในถุงลงไป เกลี่ยผิวหน้าดินให้เรียบ ทําร่องแถวเพาะห่างกันประมาณ 10 ซม. แล้วนําเมล็ดมะละกอหยอดลงไป รดนํ้าให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น เมื่อกล้ามีใบจริงแล้วจึงย้ายลงถุงต่อไป และเมื่อต้นกล้าในถุงแข็งแรงดีแล้วจึงนําไปปลูกได้ ระยะเวลาตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงย้ายกล้าลงปลูกในแปลงได้ใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการเพาะกล้ามะละกออยู่ในช่วงกลางเดือน มกราคม สามารถย้ายกล้าปลูกได้ในราวกลางเดือนมีนาคมและจะเริ่มเก็บผลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลไม้ชนิด อื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทําให้จําหน่ายได้ราคาสูง

การเลือกพื้นที่ปลูกและการการเตรียมแปลง

มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายนํ้าได้ดีมีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบนํ้าขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ ควรทําแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่มใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทําให้ไม่สะดวกในการป้องกันกําจัดศัตรูของมะละกอ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร แหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผิวมะละกอบาง ทําให้เกิดการชอกชํ้าในการขนส่งได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

  1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อย ดินให้เล็กด้วยผาน 7
  2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูก อีก 2 หลักโดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
  3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับ ระยะปลูก
  4. ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา และใส่ร็อกฟอสเฟตลงไปอีก 100 กรัม ถ้าไม่มีร็อกฟอสเฟตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่แทนจํานวน 20 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดีแล้วใช้จอบกลบ ดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
  5. ก่อนปลูกหาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทําเครื่องหมายที่ตําแหน่ง 0.00, 0.50 เมตร และ 1 เมตร เป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกด้าน

ช่วงเวลาและฤดูการปลูก

ปกติแนะนําให้เกษตรกรเพาะกล้าในช่วงกลางหรือปลายเดือนมกราคม ซึ่งจะสามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกได้ประมาณกลางเดือนมีนาคม และจะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม เป็นต้นไปซึ่งจะเป็นช่วงที่มีผลไม้ประเภทอื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทําให้มะละกอมีราคาสูง ถึงแม้ว่าเกษตรกรชาวสวนที่ปลูกโดยอาศัยนํ้าฝน ก็จะมีผลผลิตออกขายได้ยาวนาน แต่ถ้าเพาะเมล็ดช้าหรือย้ายปลูกช้าจะทําให้ช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลตรงกับช่วงแล้งต้องให้นํ้าชลประทานมากจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขึ้น มาก การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงที่ได้ราคาสูงจะได้น้อยกว่า

วิธีการปลูก

ให้นําต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุง พลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตําแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดย เฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดนํ้าให้ชุ่ม  ถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝน จะช่วยประหยัดทุนและแรงงานในการให้นํ้า โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้นํ้ากับต้นกล้ามะละกอจนตั้งตัวได้โดยรดนํ้า 2-3 วันต่อครั้ง และที่สําคัญคือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผล เป็นช่วงที่ต้องการนํ้ามาก การขาดนํ้าจะทําให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์ การให้นํ้ากับต้นมะละกออย่างสมํ่าเสมอ จึงทําให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอน หรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การให้ปุ๋ย

ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สําหรับรองก้นหลุมนั้น ยังไม่พอเพียงสําหรับการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต จึงต้องมีการให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่มีลําต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือน โดยแบ่งใส่ 3- 4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น และใช้ปุ๋ยทางใบเช่น โล่เขียว + ไร่เทพ ตามอัตราส่วนแนะนำ  ฉีดพ่นเป็นละอองฝอย ทุก ๆ 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกง ต่อนํ้า 20 ลิตร ขณะเดียวกัน ก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตรา ต้นละ 50 กรัมหลังจาก ย้ายปลูก 1 เดือน และใส่ทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสม กับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้น วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้ใส่ปุ๋ยหว่านทางดิน พรวนกลบแล้วรดนํ้าตาม อย่าใส่ปุ๋ยกลบโคนต้น

การกำจัดวัชพืช

ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซม ร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถวระหว่างต้นเมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้น หรือรากมะละกอ จะทําให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทําให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้น ให้หนา ๆ จะทําให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่

การติดดอกออกผล

มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้นคือ ต้นตัวผู้จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจํานวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผลหรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจําหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ

ต้นตัวเมียจะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลําต้น เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน

ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตําแหน่งของเกสร ตัวผู้ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทําให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทําให้ผลบิดเบี้ยวและดอกสมบูรณ์เพศที่ทําให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์ เพศสองชนิดหลังนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรผู้ปลูกต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ นอกจากนั้น แม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมากทําให้ผลเล็กได้จึงขอแนะนําให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลาย ช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สมํ่าเสมอกันทั้งต้น ถ้าทําทั้งสวนจะทําให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย 

โรคและแมลงศัตรูพืชในมะละกอ

เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลําตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้น ฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีนํ้าตาล ถ้าเป็นกับผลทําให้ผลกร้านเป็นสีนํ้าตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบถ้าพบอาจใช้นํ้าฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือใช้ยาฆ่าแมลงพวก ไดเมโธเอท หรือโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุก 5-7 วัน

ไรแดง เป็นสัตวขนาดเล็กมี 8 ขา จะทําให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ๆ จะพบตัวไรสีคลํ้า ๆ อยู่เป็นจํานวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาว กระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติคือด้วงเต่าเล็ก ตัวดําลําตัวรีตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี ถ้ามีไรระบาดมากให้ใช้ยากําจัดไรพวก ไดโคโฟล , อามีทราซ หรือ ไพริดาเบน ตามอัตราส่วนผู้ผลิตแนะนำฉีดพ่นในช่วงที่มีการระบาด

แมลงวันทอง แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทําลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ ทําให้ หนอนที่ฟักเป็นตัว ทําลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้น ตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจุด ช่วงที่ทําความเสียหายให้กับ เกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน มักจะพบในมะละกอสุกทําให้ผู้บริโภคเสียความ รู้สึกในการรับประทาน

การป้องกัน แนวทางป้องกันคือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น ร่วมกับการใช้มาลาไธออนฉีดพ่นทําลายตัวเต็มวัย และล่อตัวผู้ด้วย เมธิลยูจีนอล ผสมยาฆ่าแมลงพวกมาลาไธออน อัตรา 1:1 หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสียเนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึกๆ หรือเผาไฟ

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สําคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบว่ากําลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิต ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง   

โรคพืชที่มักพบในมะละกอ

โรคใบด่าง

อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สี ซีดต่อมาใบร่วงและทําให้ต้นตาย สําหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบ สั้นใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิต น้อยหรือไม่ได้ผลผลิตเลย

สาเหตุเกิดจากเชื้อปาปายาริงสปอทไวรัส ถ้าพบว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นํา มีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทําให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยอื่น ๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกตินอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้

โรคราแป้ง

ลักษณะอาการ อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบและผล ใบอ่อนที่ถูกทําลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมาก ๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้านและขรุขระไม่น่าดูส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่ นอน

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลม แพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว

การป้องกันกําจัด ควรพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรครา เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไดโนแคพ 20 กรัมต่อนํ้า 30 ลิตร

โรคโคนเน่า  

ลักษณะอาการ อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลําต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทําให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตาย หรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลําต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับนํ้าเข้าทําลายต้นอื่น

การป้องกันและกําจัด ถ้าหากมีนํ้าท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มี การระบายนํ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งจําเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทําลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทําลายก็ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลคซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร,  ฟอสอีธิลอลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เป็นต้น

โรคแอนแทรคโนส

ลักษณะอาการ อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีนํ้าตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุก ลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อรา ชนิดนี้ทําลายทั้งใบอ่อนและผล ความสําคัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุ ผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนําเชื้อโรคไป

การป้องกันและกําจัด ถ้าโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แมนโคเซป แคปแทน 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

มะละกอจะมีผลเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 7-8 เดือน และจะให้ผลแก่ทะยอยกันไปเรื่อย ๆ มะละกอมีอายุยืนยาวมากน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ยิ่งอายุมากตําแหน่งของผลจะอยู่สูงขึ้นไปมาก ทําให้ไม่สะดวกในการเก็บเกี่ยวผล การปลูกมะละกอในบางเขตจึงนิยม เก็บเกี่ยวผลจนอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี จึงปลูกใหม่ ปกติผลผลิตมะละกอจะได้ 3-4 ตัน ต่อไร่ ถ้าใช้ระยะปลูก 4 x 3 เมตร แต่ถ้าปลูกให้ถี่ขึ้นจะได้ผลผลิตสูงขึ้น มะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยมีผลในฤดูแล้ง เนื่องจากการขาดนํ้าชลประทานทําให้ดอก และผลอ่อนมะละกอร่วง จึงมีความจําเป็นมากจะต้องปลูกในแหล่งที่มีนํ้าชลประทาน เพื่อให้ได้ ผลผลิตสูงและต่อเนื่องยาวนาน

การเก็บเกี่ยวผลให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้วผลมะละกอให้ติดต้น แล้วตัดขั้วผลมะละกอที่ยาวออกภายหลัง ห้ามใช้มือบิดผลเพราะทําให้ขั้วชํ้า และเชื้อราสามารถจะเข้าทําลายทางขั้วที่ติดต้นทําให้ต้นเน่าเสียหายได้ เลือกเก็บเกี่ยวผลที่มีผิวสีส้มประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวผลผลที่เก็บควรใส่ภาชนะหรือเข่งที่กรุกระดาษหลาย ๆ ชั้นหรือกล่อง กระดาษ ระวังไม่ให้ยางเปื้อนผิว ติดผลวางเข่งหรือกล่องไวในที่ร่มเคลื่อนย้ายไปที่คัดขนาด ด้วยความระมัดระวัง

สรุป : การปลูกมะละกอให้ได้ผลและมีคุณภาพได้ผลดี ต้องมีการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเมื่อกล้ามะละกอยังเล็กจนกระทั่งถึงระยะเก็บเกี่ยวผลโดยยึดหลัก ดังนี้

  1. ต้นกล้าต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่อยู่ในถุงนานเกินไป
  2. หลุมปลูกต้องมีการระบายนํ้าดีมีอาหารอุดมสมบูรณ์
  3. ให้นํ้าชลประทานอย่างสมํ่าเสมอไม่ให้ขาดนํ้าโดยเฉพาะช่วงติดผลและผลเจริญ
  4. มีการให้ปุ๋ยเพิ่ม และมีการป้องกันแมลงและโรคอย่างต่อเนื่อง
  5. มีการตรวจดูทําลายวัชพืชและพืชอาศัยของโรคแมลง ในบริเวณข้างเคียงไม่ให้รบกวน
  6. ในระยะที่ต้นมะละกอยังเล็ก ควรตรวจดูต้นโดยเฉพาะใบแก่ด้านบน และด้านล่างใบว่ามีไร เพลี้ยไฟ หรือโรคจุดเข้าทําลายหรือไม่
  7. ตรวจดูว่ามีต้นแคระแกร็น หรือต้นใบด่างยอดด่างหรือไม่ ถ้าพบต้นแคระแก็รนให้ถอนต้นตรวจดูราก ถ้าใบด่างให้ถอนและเผาไฟทําลายทิ้ง
  8. เก็บใบและต้นใบแห้ง ออกเผาไฟ
  9. นอกจากฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดแมลงที่ต้นและใบแล้ว ให้ราดยาป้องกันกําจัดแมลงที่โคนต้นป้องกันมด และฆ่าเพลี้ยหอยมายังส่วนผลทุก 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
  10. เก็บเกี่ยวผลที่ผิวเริ่มมีสีเหลืองประมาณ 5% ของพื้นที่ผิวผลมะละกอ

อ้างอิง : การปลูกมะละกอ ( คุณฉลองชัย แบบประเสริฐ ) , เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ ( วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2562 )

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับมะละกอ

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก : ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ หรือใช้บัวรดในหลุมปลูก 3-5 ลิตร/หลุม ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)   :   โล่เขียว 50-80 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                :    โล่เขียว  100  ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100-150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะก่อนออกดอก             :    โล่เขียว  200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต         :    โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง  ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

            

 

ปลูกพริกให้ผลผลิตสูง

 

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ต่อพื้นที่ได้น่าสนใจชนิดหนึ่ง โดยในพื้นที่ปลูกประมาณ 1 ไร่สามารถสร้างได้เฉลี่ยประมาณ 60000 – 100000 บาท  เลยทีเดียว (ข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร) แถมยังเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนอากาศร้อน และปลูกได้ทุกพื้นที่ ทำให้ในแต่ละปีประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 1 แสนไร่ โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ “พริกขี้หนูผลใหญ่” ปัจจุบันความนิยมบริโภคพริกในประเทศนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เกษตรกรหลายพื้นที่เผชิญปัญหาปริมาณและคุณภาพของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ทั้งจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน และปัญหาดินเสื่อมสภาพจากการปลูกพืชชนิดเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน พริกเป็นพืชผักที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 400,000 ไร่ อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยรวมทั้งคนเอเชียทุกครัวเรือน “ ขาดพริกไม่ได้ ” จะต้องมีพริกเกี่ยวข้องในมื้ออาหารที่บริโภคเป็นประจําทุกวัน แม้กระทั่งพริกสด และผลิตภัณฑ์พริกยังถูกส่งไปจําหน่ายในประเทศใกล้เคียง หรือในแถบยุโรป อเมริกา ที่คนเอเซียไปอยู่อาศัย นอกจากใช้บริโภคผลสดแล้ว ผลผลิตยังถูกนําไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมทําผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากพริก เช่น ซอสพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกงเผ็ด พริกแห้ง พริกป่นและยาบรรเทาอาการปวด แมลงกัดต่อย

  1. พันธุ์พริก พริกที่ปลูกในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามขนาดผล

1.1.กลุ่มพริกผลใหญ่ : พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหนุ่ม และพริกเหลือง ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-3 เซนติเมตร รูปร่างผลมีหลายแบบ ส่วนมากผล เรียวยาว ปลายผลแหลม สีผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีเหลือง ส้ม หรือสีแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ผิวผลมัน ผิวอาจเรียบหรือย่น รสชาติค่อนข้างเผ็ด พริกชี้ฟ้า และพริกมันใช้ผลสดทั้งเขียวและแดง ประกอบอาหาร เช่น ผัด แกง และนําไปทําซอสพริก น้ำจิ้มต่าง ๆ ผลแดงเมื่อตากแห้งให้สีแดงสวย นําไปทําเครื่องแกงเผ็ดและพริกป่น สําหรับพริกเหลืองใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงเผ็ด ผัด หรือดองน้ำส้ม ส่วนพริกหนุ่มใช้ทําน้ำพริกหนุ่ม ซอสพริก แต่ไม่นิยมนําไปทําพริกแห้งและพริกป่นเพราะสีไม่สวย เมล็ดพันธุ์ที่มีจําหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ มีพันธุ์ผสมปล่อยอยู่ในแหล่งที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อเนื่องกันมา เช่น พริกมันดําบางช้าง มันดําบางซอ

พริกหยวก ผลยาว 4-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-4 เซนติเมตร ผลยาวรูปทรงกรวย ปลายผล แหลม ตรง ผิวมันและเรียบ เนื้อหนา ผลอ่อนมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีเหลือง และสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกแก่มสีีแดง รสชาติเผ็ดน้อย ใช้ประกอบอาหาร เช่น หลน ผัด ย่าง หรือพริกหยวกยัดไส้

พริกหวาน หรือพริกยักษ์ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 5-12 เซนติเมตร รูปร่างผล ทรงกระบอก ผิวมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกแก่มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง น้ำตาล และม่วง เนื้อหนา รสชาติไม่เผ็ด รับประทานเป็นผักสดในจานสลัด ผัด ทําพริกยัดไส้อบหรือนึ่ง พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด

1.2.กลุ่มพริกผลเล็ก : พริกขี้หนูผลใหญ่ ความยาวผลตั้งแต่ 3-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 0.3-1.0 เซนติเมตร ผลเรียวปลายแหลม ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดงสด รสชาติเผ็ด ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ำพริก ส้มตํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม หรือรับประทานสด ผลแดงทําพริกแห้ง และพริกป่น พันธุ์ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เองเช่น พันธุ์ยอดสน หัวเรือ จินดา ห้วยสีทน แต่พันธุ์ลูกผสมจากบริษัทต่าง ๆได้รับ ความนิยมมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตสูง สีผลมีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์พื้นบ้าน ก้านผลใหญ่ เช่นพันธุ์ซุบเปอร์ฮอท

พริกขี้หนูผลเล็ก ผลขนาดเล็ก ความยาวผลน้อยกว่า 3 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดง รสชาติเผ็ดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทน้ำพริก ต้มยํา ส้มตํา ยํา เครื่องแกง น้ำจิ้ม และรับประทานสด พบเห็นทั่วไปคือ พริกขี้หนูสวน พริกกระเหรี่ยง

  1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พริกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน ชื้น แสงแดดไม่จัดจนเกินไป จึงมักพบเห็นพริกเติบโตใต้ ต้นไม้ใหญ่ได้ดีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริก อยู่ในช่วง 20 – 30 องศาเซลเซียส (ยกเว้น พริกหวาน ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 18 – 27 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส ทําให้ดอกร่วง และถ้าอุณหภูมิปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน อาจทําให้ผลอ่อนร่วงด้วย นอกจากนี้การขาดน้ำก็มีผลให้ดอกร่วงเช่นกัน พริกชอบดินร่วนโปร่ง ไม่มีน้ำขังแฉะ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม ประมาณ 6.0-6.5 การปลูกพริกในฤดูฝนจําเป็นต้องเลือกปลูกบนที่ดอน หรือดินร่วนทรายหรือยกแปลงปลูกให้สูงเท่าที่จะทําได้เพื่อให้การระบายน้ำ ออกจากแปลงปลูกทําได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน และดินควรได้รับปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก อย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ร่วนโปร่ง และเป็นอาหารสําหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ต้นพริกแข็งแรง ทนทานโรคได้ดี                                                                                                         
  2. การเจริญเติบโต พริกเจริญเติบโตเป็นลําต้นเดี่ยวตั้งตรง เมื่อเติบโตจนถึงข้อที่ 9-15 จะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ เรียกว่าง่ามแรก และที่ง่ามแรกจะมีตาดอกแรกเป็นดอกเดี่ยว 1 ดอก หรือในพริกขี้หนูสวนอาจมีดอก 1-2 ดอก การเจริญเติบโตต่อไปจะแตกยอด จาก 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง ไปเรื่อย ๆ พริกออกดอกที่ข้อเกือบทุกข้อที่โคนลําต้นหลักใต้ง่ามแรก จะมีแขนงย่อยแตกตามข้อ 3-5 แขนง แขนงย่อยอาจมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ สามารถให้ดอกติดผลได้ถ้าใช้ระยะปลูกห่าง แต่ถ้าระยะปลูกแคบ แขนงมักไม่ค่อยสมบูรณ์ติดผลขนาดเล็ก ดังนั้นการปลูกพริกใหญ่จึงมักเด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแย่งอาหารจาก ลําต้นหลักสําหรับพริกขี้หนูซึ่งปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างกว่าพริกผลใหญ่ อาจไม่เด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่าม แรกออกทั้งหมดก็ได้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนงเก็บไว้จะได้ผลผลิตจากกิ่งแขนงด้วย เพราะพริกขี้หนูมีผลขนาดเล็ก ขนาดผลอาจเล็กลงบ้าง แต่ไม่แตกต่างจากผลปรกติมากนัก                                                                                                                                                                                                                                     
  3. เมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกมี 2 ประเภท 1. เมล็ดพันธุ์ลูกผสม มีจําหน่ายตามร้านขายวัสดุเกษตรทั่วไป เมื่อปลูกแล้วไม่ควรเก็บพันธุ์ปลูกต่อไปอีก เพราะรูปร่างผลจะเปลี่ยนแปลงไป มีหลายขนาดหลายลักษณะแตกต่างจากรุ่นแรกที่ซื้อเมล็ดมา ทําให้ตลาดไม่รับซื้อผลผลิต 2. เมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดที่ได้จากท้องถิ่นที่เก็บพันธุ์ปลูกต่อ ๆ กันมานาน มีความแปรปรวนของทรงต้นและลักษณะผลบ้าง ผลผลิตมักจะต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่มีลักษณะเฉพาะตัวดีเด่นในแต่ละพันธุ์เช่น พริกพันธุ์ยอดสน เมื่อตากแห้งแล้วก้านผลมีสีทองสวย การเก็บเมล็ดพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์สามารถทําได้ในพันธุ์ทั้งสองประเภท แต่การคัดพันธุ์จาก เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 6-7 ชั่ว จึงจะได้สายพันธุ์ที่นิ่งคือ มีลักษณะสม่ำเสมอ เหมือนกันในทุกชั่วที่เก็บเมล็ดปลูกต่อ ๆ กันไป ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมการผสมเกสร และคัดเลือก ลักษณะที่ตรงตามต้องการของตลาด ซึ่งผู้ทําการคัดเลือกต้องมีความรู้ในการคัดพันธุ์พอสมควร ส่วนพันธุ์ผสมปล่อยที่มีลักษณะต่าง ๆ แปรปรวนอยู่บ้าง วิธีการคัดพันธุ์คือเลือกต้นที่มีลักษณะดี เช่นผลดก ผลตรง ผลใหญ่ต้นตั้งตรงแข็งแรง แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ดีอาจมีต้นที่มีลักษณะดีหลายต้น เก็บเมล็ดแยกต้นกันนําไปปลูกต่อจากนั้นคัดเลือกต้นที่ดี โดยยึดลักษณะเช่นที่เคยคัดเลือกมาซ้ำ 2-4 ชั่ว ก็จะได้พันธุ์ปลูกที่ดีมีลักษณะตามที่เราคัดเลือก และถ้าให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเร็วขึ้น จะต้องควบคุมการผสมเกสร เพื่อให้ต้นพริกที่เราคัดเลือกไว้ติดผลจากเกสรในดอกเดียวกันหรือของต้นเดียวกัน โดยใช้สําลีหุ้มดอกที่ยังตูมอยู่ ไม่ให้แมลงมาผสมเกสรในดอกนั้น ดอกที่เราคลุมด้วยสําลีจะได้ละอองเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน ติดเป็นผล และผลนี้จะได้เมล็ดเรียกว่าเป็นการผสมตัวเอง ถ้าทําอย่างนี้ไปหลายๆครั้งที่นําเมล็ดไปปลูก ก็จะได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะสม่ำเสมอเป็นพันธุ์ของเราเอง และเมื่อลักษณะต่าง ๆ สม่ำเสมอกันทุกต้นแล้วก็ไม่ ต้องทําการผสมตัวเองอีก เก็บเมล็ดจากทุกต้นรวมกันเป็นพันธุ์ปลูกได้ เมล็ดพันธุ์พริกที่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรแกะเมล็ดออกจากผลที่สุกแดงแล้วโดยเร็วจะแกะเมล็ดขณะผลสด หรือเมื่อผลแห้งก็ได้แต่ไม่ควรปล่อยให้ผลที่แห้งแล้วทิ้งไว้นานเกิน 30 วัน เพราะเมล็ดที่อยู่ใน ผลจะเสื่อมความงอกไปเรื่อย ๆ หลังจากแกะเมล็ดออกแล้วควรผึ่งในที่ร่ม หรือตากแดดเฉพาะตอนเช้า ประมาณ 3-4 วัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่นสนิท หรือถุงพลาสติกหนาปิดถุงให้สนิท นําไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้นานกว่า 1 ปี
  4. การปลูกปฏิบัติดูแลรักษา

5.1 การเตรียมแปลงเพาะกล้าหรือวัสดุเพาะกล้า เลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้าที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ขุดดินยกแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับสภาพดินให้ร่วนโปร่งโดยเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหมัก หรือถ่านแกลบ หรือแกลบอัตรา 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ ใช้ไม้ขีดบนผิวหน้าแปลงเป็นรอยตื้นๆประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร แต่ละรอยห่างกัน 10 เซนติเมตร วางเมล็ดพริกลงในรอยห่างกัน 2-3 เซนติเมตร ใช้ถ่านแกลบผสมปุ๋ยหมัก กลบเมล็ดบาง ๆ นำไม้ไผ่มาโค้งเป็นโครงคลุมด้วยตาข่ายไนล่อนป้องกันฝนและแสงแดดจัด เกินไปในระยะต้นกล้ายังอ่อน สําหรับการเพาะกล้าในถาดเพาะ อาจใช้ดินร่วนตามโคนไม้หรือกอไผ่ที่ใบร่วงทับถมและย่อยสลาย ดีแล้ว ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหมัก หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ร่วนซุยโปร่งพรุน อุ้มน้ำดีน้ำหนักเบา หาได้ในท้องถิ่นมาผสมกันเป็น วัสดุเพาะเช่น 1. ดินร่วน : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก อัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร ขณะที่ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันควรรดน้ำเล็กน้อย เพื่อให้วัสดุมีความชื้นพอสมควร ซึ่งจะช่วยให้น้ำซึมลงในวัสดุได้อย่างทั่วถึงเมื่อรดน้ำภายหลังหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว

5.2 การเพาะเมล็ด การป้องกันเชื้อโรคติดมากับเมล็ด ทําโดยนําเมล็ดแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 50 องศา เซลเซียส (ทําโดยใช้น้ำต้มจนเดือด 1 กระป๋องนมขนาดเล็กผสมกับน้ำเย็น 1 กระป๋องนมขนาดใหญ่ ควร เตรียมน้ำอุ่นปริมาณมาก ๆ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ได้นาน หรือแช่ในกระติกน้ำก็ได้) ประมาณ 30 นาทีจากนั้น ผึ่งเมล็ดให้แห้งคลุกยากันรา เช่น เบนเลท แล้วนําไปหยอดลงแปลงปลูกหรือถาดเพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด กลบเมล็ดบาง ๆ รดน้ำแล้วรดด้วยไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราจากวัสดุปลูกเข้าทําลายเมล็ด ปรกติเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะมีความสมบูรณ์ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย สามารถงอกได้ 99-100 % ดังนั้นจึงไม่จําเป็นต้องหยอดเมล็ดเผื่อเกินกว่าหลุมละ 1 เมล็ด ช่วงที่สําคัญที่สุดของการเพาะกล้าอยู่ในช่วง 7 วันหลังจากหยอดเมล็ด ขบวนการงอกเริ่มต้นด้วยเมล็ดดูดน้ำเข้าไป ขบวนการหายใจเริ่มทํางาน สร้างน้ำย่อยในเมล็ด เพื่อเปลี่ยนอาหารที่สะสมไว้เป็นพลังงานในการงอก ระยะนี้ต้องการความชื้นและออกซิเจนจากอากาศ ดังนั้นหลังจากแช่เมล็ดให้ดูดน้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้วจึงนําเมล็ดมาห่อด้วยผ้าชื้นเรียกว่าการบ่ม

ถ้าหยอดเมล็ดลงถาดเพาะโดยไม่มีการบ่มเมล็ด จะต้องรดน้ำรักษาความชื้นถาดเพาะให้สม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะไว้ถ้าวัสดุปลูกแห้งเกินไปเมล็ดที่เริ่มงอกจะชะงักการเติบโต ในมุมกลับถ้าแช่เมล็ดในน้ำนานเกินไปหรืออยู่ในวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ก็จะทําให้เมล็ดขาดอากาศตายได้เช่นกัน การปฏิบัติที่จำเป็นคือ เตรียมวัสดุเพาะอย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆหลายๆ ครั้งให้เข้ากัน ดีบรรจุในถาดให้เต็มหลุมพอดีทุกหลุม หยอดเมล็ดด้วยความระมัดระวัง ไม่ทําให้รากที่เพิ่งเริ่มปริหักออก ทําหลุมหยอดเมล็ดให้ลึกสม่ำเสมอกัน และกลบเมล็ดด้วยวัสดุปลูกบาง ๆ ไม่หนาเกินกว่า 1 เซนติเมตร ดูแลความชื้นในถาดเพาะให้ชื้นพอดีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 3-5 วัน การควบคุมความชื้นในถาดเพาะให้ สม่ำเสมอทําได้โดยรดน้ำน้อยๆบ่อยๆ หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะซึ่งเป็นการ ”บ่มถาดเพาะ” เมื่อเมล็ดงอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้าพลาสติกออก การใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเป็นวิธีรักษาความชื้นของดินในถาด เพาะได้ดีสามารถหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะได้ทันทีโดยไม่ต้องนําเมล็ดแช่น้ำและบ่มเมล็ดให้มีรากปริออกก่อน ช่วยให้การหยอดเมล็ดทําได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น (การบ่มเมล็ดด้วยการนําเมล็ดแช่น้ำ 6-12 ชั่วโมงแล้ว ห่อเมล็ดด้วยผ้าชื้นๆ บ่มในกระติกหรือภาชนะที่มีฝาปิด 2-3 วัน เป็นการช่วยให้เมล็ดงอก แต่หลังจากหยอดเมล็ดแล้วหากแปลงปลูกหรือถาดเพาะมีความชื้นไม่สม่ำเสมอ รากที่ปริออกอาจแห้งตายได้ และการหยอดเมล็ดที่เริ่มปริทําได้ช้า และยากกว่าการหยอดด้วยเมล็ดแห้ง) หลังจากต้นกล้างอกแล้ว ดูแลต้นกล้าในถาดเพาะต่อไปอีก 30 วัน โดยในช่วง 15 และ 20 วัน หลังจากหยอดเมล็ด รดปุ๋ยเคมีสูตร 15: 15 : 15 ละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากรดปุ๋ย แล้วรดน้ำตามเบาๆเพื่อล้างปุ๋ยออกจากใบ และก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ควรทําให้ต้นกล้าพริก แข็งแรงทนทานโดยเปิดตาข่ายที่คลุมต้นกล้าออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดมากขึ้นหรือลดปริมาณน้ำที่ให้ลง อาจงดน้ำนานขึ้นจนต้นกล้าเริ่มเหี่ยวแล้วให้น้ำใหม่ ทําเช่นนี้ 2 ครั้งเป็นการกระตุ้นให้ต้นกล้าสะสมอาหารไว้ในต้นมากขึ้นกว่าปรกติเพื่อใช้ในการงอกรากใหม่ต้นกล้าที่ดีควรมีลําต้นแข็ง ไม่อวบฉ่ำน้ำ การทําให้ต้น กล้าแข็งแรงก่อนย้ายปลูกเป็นการเตรียมความพร้อมต้นกล้าที่จะออกไปสู่แปลงปลูกที่สภาพแวดล้อม เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน ต้นกล้าจะรอดตายมากขึ้น กรณีที่ไม่สามารถย้ายปลูกได้ตามกําหนด ต้นกล้าอยู่ ในถาดเพาะเป็นเวลานาน 50-60 วัน ทําให้รากขดเป็นวง ก่อนนําไปย้ายปลูกควรกรีดด้วยมีดหรือใช้กรรไกร ตัดรากตามแนวเดียวกับลําต้น 1-2 รอย เป็นการตัดรากเพื่อให้รากใหม่เกิดขึ้นได้ง่าย

5.3. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก แปลงปลูกควรได้รับการไถพรวนให้ดินร่วนโปร่งและตากแดดไว้อย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคทางดิน เติมปุ๋ยคอกหมักหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่และถ้าดินในแปลงปลูกมี pHต่ำ ก่อนไถพรวนทุกครั้งที่ปลูกพริกควรหว่านปูนโดโลไมท์ประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร หน้าแปลงปลูกกว้าง 100-120 เซนติเมตร แล้วแต่ขนาดพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้เว้น ช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจํานวนต้นที่เหมาะสมสําหรับพริกผลใหญ่ ประมาณ 5,000-6000 ต้นต่อไร่ พริกผลเล็กประมาณ 4000 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ดีระยะปลูกผันแปรตาม พันธุ์และฤดูปลูก ถ้าเตรียมแปลงปลูกกว้าง 120 เซนติเมตร (ใช้พลาสติกหน้ากว้าง 120 เซนติเมตร) ปลูก 3 แถวบนแปลง ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร มีช่องทางเดินระหว่างแปลง 80 เซนติเมตร จะปลูกได้ 6,000 ต้นต่อไร่ หรือถ้าเตรียมแปลงกว้าง 1 เมตร คลุมแปลงด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร จะปลูกได้ 5,340 ต้นต่อไร่ซึ่ง การปลูกพริกที่ใช้จํานวนต้นมากถึง 8000-10000 ต้นต่อไร่ (ปลูก 4 แถวและใช้ระยะระหว่างต้น 35-40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50-60 เซนติเมตร) มักพบว่าต้นพริกที่อยู่กลางแปลง ให้ผลพริกขนาด เล็กและผลผลิตไม่มาก อีกทั้งเมื่อเกิดโรคในแปลงจะทําให้การระบาดของโรครวดเร็วและรุนแรงมากกว่า เนื่องจากต้นพริกเบียดกันแน่นอากาศในแปลงถ่ายเทไม่สะดวก ต้นที่อยู่กลางแปลงมักอ่อนแอเพราะได้รับ น้ำและแสงแดดไม่เพียงพอ

5.4 การคลุมแปลงปลูก วัตถุประสงค์ของการคลุมแปลงปลูกคือ ป้องกันหน้าดินไม่ให้แน่นหลังจากฝนตก รักษาความชื้นในดิน ป้องกันผิวหน้าดินไม่ให้กระทบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิดินจึงไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนกระทบกับการ เจริญเติบโตของรากพริก และช่วยป้องกันวัชพืชด้วยวัสดุที่ใช้คลุมแปลงเช่น ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ใบหญ้าคา หรือพลาสติก ในฤดูร้อนข้อดีของการใช้ฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมแปลงปลูกคือ จะช่วยให้แปลงปลูกมีอุณหภูมิต่ำเหมาะสมกับพืชกว่าการใช้พลาสติก

5.5.การตัดแต่งกิ่งแขนง พริกผลใหญ่ควรปลิดแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด ทําโดยใช้มือปลิดขณะที่แขนงยังมีขนาด เล็กยาวไม่เกิน 10-15 เซนติเมตร (อายุประมาณดอกแรกบาน) ถ้าเด็ดช้าแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยาก และเป็นแผลใหญ่ อาจต้องใช้กรรไกรตัด ซึ่งจะเสียเวลาและอาจทําให้โรคแพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง จากกรรไกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การเด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออก จะช่วยให้ต้นพริกไม่ต้องเสียอาหารที่สร้างได้ ไปเลี้ยงกิ่งที่อยู่ใต้ทรงพุ่ม และทําให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเท เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งการพ่นยากําจัดศัตรูพืชทําได้ทั่วถึง ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และยังช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลพริกทําได้ สะดวก ผู้ปลูกมักไม่อยากเด็ดแขนงด้านล่างออกเพราะบางแขนงสามารถติดผลได้บ้าง แต่ถ้าสังเกตดูจะ พบว่าแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกมักจะติดผลน้อย ส่วนใหญ่ไม่ติดผลหรือติดผลขนาดเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นแขนง ขนาดเล็ก นอกจากนี้ถ้าย้ายปลูกต้นกล้าพริกอายุมากเกิน 40 วัน ควรเด็ดดอกแรกทิ้งด้วยเพราะดอกแรกเกิดที่ง่ามแรกจะติดเป็นผลที่ห้อยลงติดกับดินหรือพลาสติกคลุมแปลงทําให้ปลายผลงอ หรือผลอาจเน่าเสียและการเด็ดผลแรกออกยังช่วยให้ต้นพริกเติบโตได้ดีกว่าปล่อยให้ติดผลตั้งแต่ต้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเติบโตของพริกเช่น ฝนตกหนักติดต่อกันไม่ค่อยมีแสงแดด เป็นต้น

5.6 การใส่ปุ๋ย มีหลักการดังนี้ 1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี 2. ใส่ปุ๋ยที่มีสัดส่วนธาตุอาหารตามสัดส่วนที่พืชใช้ส่วนใหญ่พืชที่มีผลมักต้องการ N:P:K ประมาณ 3:1:4 คือต้องการ K และ N มาก ส่วน P ใช้น้อย 3. อัตราปุ๋ยที่ใส่ขึ้นกับผลผลิตคือ ถ้าพืชให้ผลผลิตมากก็ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ให้ตลอดฤดูจะตกประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง) 4. เวลาที่ใส่ปุ๋ยตรงกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชคือ ในช่วงแรกหลังย้ายปลูก พืชยังมีขนาดเล็กไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ช่วงที่พืชเติบโตอย่างรวดเร็วมักจะเป็นช่วงอายุ 25-60 วันหลังย้ายปลูก จึงต้องใส่ปุ๋ยค่อนข้างมากในช่วงนี้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ย อาจปฏิบัติดังนี้ – ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แบบหว่านลงแปลงก่อนเตรียมแปลง หรือใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่และต้องคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ดีก่อนย้ายปลูก เพื่อไม่ให้รากต้นพริกกระทบกับปุ๋ยเคมีโดยตรง  ครั้งที่ 1 อายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้างต้นด้วย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 2 อายุ 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 3 อายุ 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 4 อายุ 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

5.7 โรคและแมลงศัตรูพริก

โรคที่สำคัญอาการและการป้องกันกําจัด

1.โรคกุ้งแห้ง หรือแอนแทรคโนส (Anthracnose) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Colletotrichum spp.

    อาการของโรค ผลพริกที่เป็นโรคนี้ผิวผลยุบตัว ลงเป็นรอยบุ๋ม ฉ่ำน้ำ เมื่อแผล ขยายขนาด จะเห็นรอยแผลเป็น วงซ้อนกัน ส่วนกลางแผลมีเมือก สีส้มปนดํา สภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค คือสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 30-32 องศา เซลเซียส และฝนตกพรํา ๆ เชื้อรา นี้สามารถปลิวตามลม และ ตกค้างในดิน เมื่อสภาพเหมาะสม เชื้อจะเจริญแพร่กระจายอย่าง รวดเร็ว

   การป้องกันกำจัดโรค  1. เลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค 2. บํารุงต้นให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์เพราะทําให้สปอร์ แพร่กระจายได้ดีและไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะทําให้ผลอวบน้ำ อ่อนแอต่อการ เข้าทําลายของเชื้อโรค 3. เก็บผลเป็นโรคออกจาก แปลงปลูก นําไปเผาทิ้ง เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 4. ไม่ควรปลูกพริกเบียดกัน แน่นทึบจนเกินไป ตัดแต่งทรง พุ่มให้โปร่งเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก 5. ใช้สารเคมีควบคุม เช่น Azoxystrobin, Mancozeb 

2.โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) เชื้อสาเหตุคือ เชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia solanacearum)

อาการของโรค ต้นพริกเหี่ยวแบบเฉียบพลัน โดย ต้นพริกและใบยังเขียวอยู่ เมื่อตัด โคนต้นระดับคอดิน จะพบท่อ ลําเลียงอาหารช้ำมีสีน้ำตาลเมื่อ ตัดส่วนที่แสดงอาการโรคแช่ใน น้ำ จะเห็นน้ำยางสีขาวขุ่นไหล จากบริเวณท่อลําเลียง

การป้องกันกำจัด 1. ไม่ปลูกพริกในพื้นที่ที่มีประวัติการเกิดโรคเหี่ยวเขียวมาก่อน 2. หมั่นตรวจแปลงปลูกถ้าพบ ต้นเป็นโรคให้นำออกจากแปลงไปเผาไฟทันที 3. การให้น้ำตามร่องควรแบ่งแปลงเป็นช่วง ๆ และกักน้ำเฉพาะร่องนั้น ๆ เพื่อป้องกันการ กระจายของเชื้อแบคทีเรียไป ทั่วทั้งแปลง  4. ปลูกพืชหมุนเวียนและหลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้ำในที่เดิมติดต่อกัน

3.โรคใบด่าง (Cucumber mosaic virus, CMV) เชื้อสาเหตุคือ ไวรัสใบด่างแตง Cucumber mosaic virus

อาการของโรค ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียว อ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิด เบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระแก็รน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิด เบี้ยวผิวขรุขระ จ้ำนูน สีผลไม่ สม่ำเสมอ พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูด น้ำ-อาหารจากพืชและปล่อยเชื้อ เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด  1. พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด แมลงในระยะต้นกล้า โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไวรัส หรือคลุม แปลงกล้าด้วยมุ้งไนล่อน 32 ตา ต่อนิ้ว 2. กําจัดวัชพืชในแปลงและรอบ ๆ แปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน 3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นเป็นโรคในระยะแรก ต้องกําจัด ออกจากแปลงทันทีเพราะต้น เป็นโรคจะไม่ให้ผลผลิต และเป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไป

4.โรคใบจุดตากบ (Frog-eye leaf spot) เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อรา Cercospora spp.

อาการของโรค ลักษณะเป็นอาการโรคบนใบแผลกลม ขอบสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบ เมื่อระบาดรุนแรง แผลเชื่อมต่อ ถึงกันทําให้ใบไหม้แห้งกรอบและร่วง แผลบนก้านผลลักษณะยาวรี หรือยาวกลม ขอบแผลสีเข้ม เนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลง

การป้องกันกำจัด  1. หมั่นสํารวจแปลงปลูกพริก เมื่อพบใบเป็นโรคเพียงเล็กน้อย ให้ใช้สารเคมี Mancozeb  พ่นป้องกันทันที 2. หลีกเลี่ยงการขังน้ำระหว่าง ร่องปลูกเป็นเวลานาน ต่อเนื่องกัน เนื่องจากทําให้ ความชื้นในแปลงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี 3. ทําความสะอาดแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเชื้อที่ติดมากับใบที่ ร่วงตามพื้น

5.โรครากเน่าและโคนเน่า (Collar and root rot) เชื้อสาเหตุคือเชื้อรา Phytophthora spp.และ Pythium spp.

อาการของโรค จะเกิดอาการเน่าคอดิน ต้นกล้าหักยุบและตาย ในต้นพริกที่โตแล้ว ต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและโคนต้นมีแถบสีดําปน น้ำตาลเข้ม เริ่มจากโคนต้นลาม ไปยอด ปลายรากมีสีดําหรือ น้ำตาลเข้ม และผิวรากลอกหลุด ง่ายเมื่อจับดึงท่อน้ำท่ออาหารมีสี น้ำตาล

การป้องกันกำจัด 1. หลีกเลี่ยงการรดน้ำแปลง กล้าหรือถาดเพาะในตอนเย็น 2. เพาะกล้าในวัสดุที่ปลอดเชื้อ 3. กําจัดต้นที่เป็นโรคจากแปลงปลูก และทําลายโดยนําไปเผา 4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลด ปริมาณเชื้อในดินโดยสลับกับ พืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด ถั่วหรือผักกินใบ 5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ 50-100 กิโลกรัม ผสมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมโรย โคนต้น

แมลงศัตรูพริกการเข้าทำลายและการป้องกันกําจัด

1.เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis Hood) เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงในส่วนยอด อ่อน ใบอ่อน ตาดอกและผลพริก ทําให้พริกชะงักการเจริญเติบโต ยอดอ่อนหงิก ใบห่อ ขอบใบม้วน ขึ้นทางด้านบนทั้งสองข้าง ใบมี ลักษณะเป็นคลื่น ผิวใบด้านล่าง ก้านใบ ก้านดอก และยอดพริก เกิดรอยด้านสีน้ำตาล ดอกร่วง ผล บิดเบี้ยว หงิกงอ สภาพที่เหมาะสม คือ อากาศแห้ง อุณหภูมิสูง

การป้องกันกำจัด 1. กําจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยไฟ 2. ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ช่วยเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก 3. ควรปรับสูตรปุ๋ยให้มีสัดส่วน ไนโตรเจนต่ำลง และเพิ่มการฉีดพ่นด้วยโล่เขียวตามอัตราแนะนำเพื่อให้เซลล์พืชแข็งแรง

2.เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนเข้าทําลายดูดกินน้ำ เลี้ยงส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน ทําให้ใบหงิกงอ เป็นคลื่น ต้นชะงักการเจริญเติบโต มักจะพบมดมา กินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา และมีราดำลงทําลายด้วย

การป้องกันกำจัด 1. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดปริมาณเพลี้ยอ่อน 2. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และใช้สารป้องกันกำจัดฉีดพ่น

3.ไรขาว (Polyphagotarsonemus latus Banks) ไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน และใบอ่อน ทาให้ใบหงิก ขอบใบ ม้วนลง ใบเรียวเล็ก หนาแข็งและ เปราะ ถ้าระบาดรุนแรง ยอดอ่อน ที่ถูกไรขาวดูดกินน้ำเลี้ยง จะแตกเป็นฝอย ต้นพริกไม่เจริญเติบโต และไม่ติดผล

การป้องกันกำจัด 1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และ ใช้สารเคมีพ่น หรือใช้สาร กํามะถันผงพ่นเป็นระยะ ๆ ในช่วงที่เริ่มระบาด

4.แมลงวันพริก (Bactrocera latifrons) แมลงวันพริกเพศเมียวางไข่ภายใน ผลพริก เมื่อฟักเป็นตัวหนอน จะกัดกินภายในผลพริก เห็นเป็นรอยทาง ไส้พริกมีสีดำ ต่อมาผลพริกจะ เน่าและร่วง

การป้องกันกำจัด 1. ใช้สารล่อแมลง คือลาตีลัวร์ (Lati-lure) ร่วมกับสารฆ่าแมลง ใส่ในกับดักแมลง เพื่อล่อแมลงวันพริกเพศผู้

5.หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนเข้า ทําลายโดยกัดกินดอกและเจาะกิน ภายในผลพริก

 การป้องกันกำจัด ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์และเชื้อ แบคทีเรีย (BT) พ่นในช่วงเย็น หลังให้น้ำแปลงปลูก

 

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน(คู่มือการปลูกพริกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน)

 

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับพริก

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก       ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)                 ใช้โล่เขียว    50 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                              ใช้โล่เขียว  100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะก่อนดอกชุดแรก                        ใช้โล่เขียว  200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต                        ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง  ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

            

การปลูกผักกาดขาวปลี

ผักกาดขาวปลี

ผักใบใหญ่ ต้นขาว อวบ กินง่ายและอยู่ในหลายเมนูประจำบ้านของคนไทย หากินได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นเป็นพืชผักเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดต่อเนื่องทั้งปี ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกผักกาดขาวปลีประมาณ 30816 ไร่ ครอบคลุม 31 จังหวัด โดยแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กาญจนบุรี และตาก ทั้งนี้ แม้ว่า  จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 4 แต่มีผลผลิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เฉลี่ย 3734 กิโลกรัม / ไร่ (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร : พฤศจิกายน 2561)   ผักกาดขาวปลีมีระบบรากตื้น จึงต้องการความชื้นที่พอเพียงและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะระยะที่ห่อหัว ควรรักษาความชื้นไว้ 70-85เปอร์เซ็นต์ ของความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน  หากขาดนํ้าจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต พืชจะแสดงอาการขาดโบรอน และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชสังเกตได้จากลำต้นจะกลวง เนื้อเยื่อเป็นสีดำ ต้นแคระแกร็น ส่วนแกนหรือไส้ของลำต้นจะเกิดอาการแยกแตกออก หรือเน่ากลวง ระบบรากจะไม่สมบูรณ์บางครั้งจะเน่าเสีย แต่ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระบาดของโรคได้  ที่สำคัญระหว่างการปลูกต้องคอยตรวจแปลงให้ละเอียด เพราะหากมีโรคและแมลงเข้ามา จะได้จัดการได้ทันท่วงที โรคจะได้ไม่ลามระบาดสร้างความเสียหาย

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage) เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวันและในประเทศไทย ผักกาดขาวปลีนับว่าเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายส่วนที่ใช้บริโภคได้แก่ส่วนใบ รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรด-ด่าง(pH)ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6.0-6.8  และอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศา เซลเซียส ควรได้รับแสงแดดตลอดวัน

พันธุ์ผักกาดขาวปลี แบ่งตามลักษณะของปลีได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พันธุ์ปลียาว มีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลี หรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง

2.พันธุ์ปลีกลม ลักษณะทรงสั้นกว่า อ้วนกลมกว่า เช่น พันธุ์ซาลาเดียไฮบริด, พันธุ์ทรงบิค คอล ไพรด์ไอบริด ฯลฯ มักเป็นพันธุ์เบาอายุสั้น

3.พันธุ์ปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย พวกนี้มักไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้อากาศไม่หนาวฝนตกชุก ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) ความอร่อยน่ากินและเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้

พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่เกษตรกรนิยมใช้ เช่น – ตราดอกโบตั๋น – ตราช้าง – ตราเครื่องบิน – ตราเครื่องบินพิเศษ – พันธุ์เทียนจิน – พันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 (เป็นพันธุ์ที่ทนร้อนปานกลาง)                                                                                                         

การเตรียมดิน

1. แปลงเพาะกล้า ควรไถดินให้ดีตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก พรวนย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึก เกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน

2.การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่าง กัน เซนติเมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1.0 เซนติเมตร หรือทําเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การเพาะและการย้ายกล้า   

 

ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1 เซนติเมตร  หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ด ควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้อง กันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศ มืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 25 วัน

การปฏิบัติดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 50-100 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่ง โดยใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อ ผักกาดอายุ 14 วัน ครั้งที่ 3 ใส่เมื่อผักกาดอายุ 30 วัน โดยโรยข้างต้นแล้วรดนํ้า สําหรับพวกพันธุ์ปลียาวและปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ย ไนโตรเจน เช่น แคลเซียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 20-30 ก.ก. / ไร่ เมื่ออายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้แล้วรดนํ้าตามทันที ระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบเพราะจะทําให้ใบไหม้
  2. การให้นํ้า ผักกาดขาวปลีต้องการนํ้ามากและสมํ่าเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้นํ้าอย่างเพียงพอในช่วงการเจริญเติบโต และโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
  3. การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทําการพรวนประมาณ 2 -3 ครั้ง การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์ – พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดย เลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง) – พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอด เมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคและถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควรแต่ไม่มากนัก เหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระหว่างการขนส่ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ     

  1. 1. โรคเน่าเละ (Soft rot) สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำนํ้า ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อย และเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิว ดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐาน ว่าเชื้อราบางชนิดทําลายไว้ก่อน การป้องกันกําจัด 1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา 2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน 3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์อัตรา 10-20 กรัม/นํ้า 20 ลิตร  4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร็ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
  2. 2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทําให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลําต้น เพราะผุเปื่อย เป็นสีนํ้าตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด   1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดีมีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก   2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า  3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว  4. ใช้ยาป้องกันกําจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า

  1. 3. โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP. ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียด กันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่า และ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลช้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้ง ตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม

การป้องกันกําจัด  1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป  2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายนํ้าในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายนํ้ารดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูนใส่รดแทนนํ้าในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย

  1. 4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะ บิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกําจัด 1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค 2. กําจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย 3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี โอเมทโทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./นํ้า 20 ลิตร

  1. 5. โรครานํ้าค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.) ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทําให้ใบไหม้ การป้องกันกําจัด เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง
  2. 6. โรคใบจุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.) ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน การป้องกันกําจัด หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงศัตรูในผักกาดขาวปลี

หนอนใยผัก (Dimondback moth) หนอนใยผักมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดชีวิต แหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักวงศ์กะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด

การป้องกันกำจัด

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียวสีเหลือง ทุก 7-10 วัน / ครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้ 0.79 : 1 และเมื่อติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง จำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์ และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ตในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 เมช (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทาน ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตผักกาดขาวปลีให้เกิดความเสียหายได้ สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่ 1

 

ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย (P. sinuata) และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน (P. chontanica) ชนิดที่ สำคัญ คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน ด้วงหมัดผักช่วงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกล ๆ

วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน

การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี หรือ โพรไทโอฟอส 50% อีซี/อัตรา 40 กรัม, 50 มล. และ 40 มล. / น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารกำจัดแมลงเช่น ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซตามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดีกว่า

ที่มา      :    รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)

                การปลูกผักกาดขาวปลี (กรมส่งเสริมการเกษตร)

คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับผักกาดขาวปลี

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า(แตกใบอ่อน)      ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                   ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะเข้าปลี                           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว                ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน 

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

มันสำปะหลังทำเงิน

มันสำปะหลังทำเงิน

ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่ามันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร มีราคาในอยู่ในเกณฑ์ดี และปรับสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เพราะทั่วโลกมีความต้องการแปรรูปและเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ และ เอทานอล

ปี 2563 โลกมีผลผลิตมันสำปะหลังกว่า 300 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญ 5 อันดับแรกคือ ไนจีเรีย มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 19.82 รองลงมาคือ คองโก ร้อยละ 13.55 ไทย เป็นอันดับ 3 ร้อยละ 9.58 กานา ร้อยละ 7.21 และอินโดนีเซีย ร้อยละ 6.05

ปี 2565 คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกสูงถึง 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท และปี 2566 ก็คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังที่สำคัญของไทย ยังมีความต้องการ อีกทั้งผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้มีแนวโน้มว่าต่างประเทศจะนำเข้ามันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ ทำอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้น  ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยังระบุว่า ปี 2566 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10 ล้านไร่เศษ ผลผลิต 34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ทีมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 9 ล้าน 9 แสนไร่ ผลผลิต 34 ล้านตัน และราคาขายที่อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรขยายพื้นที่ปลูกจากอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างต่อเนื่อง เพราะใช้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการปลูกมันสำปะหลัง

ข้อมูลจากเครือข่ายผู้ปลูกมันสำปะหลัง และนักวิชาการด้านการเกษตร ชี้ให้เห็นว่า สาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคามันสำปะหลังปรับสูงขึ้น เพราะผลผลิตเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกหนักช่วงปลายปี 2565 และเสียหายจากโรคและศัตรูพืช ราคามันช่วงต้นปี 2566 จึงปรับสูงขึ้นทำให้เกษตรกรขายได้กำไร แต่อีกส่วนหนึ่งก็แทบไม่มีมันขาย

คาดการณ์ว่าต้นปี 2567 มีแนวโน้มที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก ราคาอาจปรับลดลง เพราะต้องดูความต้องการของตลาดต่างประเทศที่อาจเปลี่ยนแปลง หันกลับไปใช้ข้าวโพดแทนมันสำปะหลังในการผลิตอาหารสัตว์ และเอทานอล สิ่งสำคัญคือ เมื่อราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก เกษตรกรจึงต้องปรับตัว เรียนรู้การบำรุงรักษาดิน วิธีลดต้นทุนการผลิต เน้นเก็บหัวมันครบอายุ มีค่าแป้งสูง หรือปลูกมันคุณภาพ เร่งจัดการควบคุมโรคระบาด ทั้งโรคใบด่างและศัตรูพืช เช่นเพลี้ย และ ไรแดง ไม่ให้ระบาดในพื้นที่วงกว้าง ที่ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัด และทำให้ผลผลิตเสียหาย

ที่ผ่านมาไทยนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น เพื่อแปรรูปส่งออกนอกจากเป็นประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังอันดับ 3 ของโลกแล้ว ประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน ไทยมีโรงงานแป้งมันสำปะหลังกว่า 1,200 โรงงาน และช่วงนี้ตามแนวชายแดนก็เริ่มมีการขนมัน จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา เพื่อแปรรูปเตรียมส่งออกอย่างต่อเนื่อง  รถบรรทุกพวงของผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง ทยอยเข้ามาจอดต่อแถว เพื่อรอคิวลงแพขนานยนต์ ที่บริเวณด่านศุลกากรบึงกาฬ บ้านพันลำ ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

เป็นการตีรถเปล่าข้ามไปบรรทุกมันสับปะหลัง ตากแห้ง หรือมันเส้น จากประเทศลาว เพื่อส่งเข้าโรงงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยข้อมูลการนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรบึงกาฬ เฉพาะมันเส้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค้าการนำเข้ามันเส้น รวมกว่า 570 ล้านบาท และเพิ่มมากขึ้นชัดเจน ในเดือนมกราคมมูลค่ากว่า 225 ล้านบาท เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มเป็น 282 ล้านบาท ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ปี 2561 – 2565 ประเทศไทยนำเข้าหัวมันสำปะหลัง มันเส้น มันอัดเม็ด มันฝาน และแป้งมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากลาว และกัมพูชา ปี 2561 นำเข้ากว่า 2 ล้านตัน มูลค่ากว่า 9,500 ล้านบาท เพิ่มเป็นปริมาณ 4 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 หมื่น 9 พันล้านบาท ในปี 2565  เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอสำหรับแปรรูป เพื่อส่งออก ประกอบกับประเทศจีนมีความต้องการมันเส้นเป็นจำนวนมาก ปี 2566 คาดว่าปริมาณการนำเข้าจะใกล้เคียงกับปี 2565 โดยไทยมีโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง 1,205 แห่ง จังหวัดนครราชสีมามีมากที่สุดคือ 162 แห่ง

มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดปีแต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ( เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ) ถึง 65 เปอร์เซ็นต์และปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง ( เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ การเลือกฤดูปลูกของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. ปริมาณน้ำฝน การปลูกในช่วงต้นฤดูปริมาณน้ำฝนยังไม่มากนัก จึงมีเวลาเตรียมดินแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี
  2. ชนิดดิน ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรีแต่ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน
  3. พันธุ์มันสำปะหลัง พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองถ้าเก็บเกี่ยวในฤดูฝนจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ และการขนส่งลำบากจึงนิยมปลูกปลายฤดู เพื่อการเก็บเกี่ยวและขนส่งในฤดูแล้งจะได้คุณภาพและราคาดี

การปลูกมันสำปะหลัง

 การเตรียมดิน

1) ดินปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย เป็นดินไร่ในที่นาดอน หรือที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบลาดชัน ชุดดินแต่ละชุดมีสมบัติแตกต่างกัน คุณสมบัติที่สำคัญที่ใช้ในการจำแนกชนิดดิน และเพื่อกำหนดคำแนะนำเบื้องต้น ในการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช คือ ประเภทเนื้อดิน 3 แบบ คือ ดินเนื้อละเอียดดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ  ประเภทเนื้อดินของดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทยคือ ดินร่วนปนทราย รองลงมาคือ ดินทราย ดินเหนียวสีแดง และดินเหนียวสีดำที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

2) ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลังควรเป็นดินเนื้อปานกลาง เช่น ดินร่วนปนทรายแปูงดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินเนื้อหยาบ ประเภทดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวที่มีการจัดการดินดีทำให้ดินมีสมบัติเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ เคมีชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชและปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ดินมีความโปร่งซุย

3) คุณสมบัติของดินที่จำกัดการเติบโตของมันสำปะหลัง ดินมันสำปะหลังในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายร่วน และดินร่วนปนทราย ดินประเภทนี้ในชั้นดินบน มีอนุภาคดินขนาดเม็ดทรายสูง และแร่ดินเหนียวต่าง ๆ มีโครงสร้างอุ้มน้ำไม่ดี และดูดยึดธาตุอาหารพืชได้น้อย เกิดการชะล้างละลายของธาตุอาหารพืชได้ง่าย อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดานใต้ผิวดิน ชั้นน้ำใต้ดินชั่วคราว และอาจเกิดแผ่นแข็งปิดผิวดิน ถ้าจัดการดินไม่ดีทำให้ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ำต่ำ เกิดการไหลบ่าของน้ำ น้ำท่วมขังบนผิวดิน และเกิดการกร่อนดิน ที่สำคัญคือ มีปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชในดินต่ำ มีผลทำให้สมบัติโดยรวมเป็นดินที่จำกัดการเติบโต และทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ ดินปลูกมันสำปะหลังในบางพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียดประเภทดินเหนียวสีแดง สีเทาดำ หรือสีดำ มีคุณสมบัติแน่นทึบ ระบายน้ำและอากาศไม่ดีและถ้าเป็น ดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะมีปัญหาขาดธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี

4) การไถ มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ส่วนของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวคือ ส่วนของหัวที่เกิดจากการขยายใหญ่ของรากดังนั้นการ เตรียมดินที่ดีโดยการไถให้ลึกและพรวนดินให้ร่วนซุย นอกจากจะช่วยทำลายวัชพืชในแปลงปลูกเดิมให้หมดสิ้นแล้ว ยังช่วยให้ดินมีการระบายน้ำได้ดีและมีผลทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกสัมผัสกับดินได้มาก ความงอกดีจำนวนต้นอยู่รอดสูง มันสำปะหลังจะสามารถลงหัวได้ดีผลผลิตที่จะได้จะสูงขึ้นด้วย

        *** คำแนะนำเพิ่มเติม  ใช้ดินเทพฉีดพ่นลงดินช่วงเตรียมแปลง หรือยกร่อง ก่อนปลูกหรือปักท่อนพันธุ์ลงในแปลง โดยใช้ดินเทพในอัตรา 40-50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่  จะเพิ่มความร่วนซุยในดิน แก้ปัญหาชั้นดินแน่น และนำพาอาหารจุลินทรีย์ น้ำ และอากาศ แทรกซึมลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปได้มากกว่าปกติ

การเตรียมท่อนพันธุ์

การจัดการแปลงมันสำปะหลังที่ดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่บริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์มีความสม่ำเสมอไม่มีพันธุ์อื่นปลอมปน และจะทำให้ได้ต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่แข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากศัตรูพืช สิ่งที่ควรพิจารณาในจัดการแปลงมันสำปะหลังที่ดีมีดังนี้

พันธุ์และการเตรียมท่อนพันธุ์

– พันธุ์ควรใช้ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตามคำแนะนำของทางราชการ หรือสถาบันการศึกษาที่มีการศึกษาและวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง

– การคัดเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นพันธุ์ที่มาจากแปลงที่มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากการระบาดของศัตรูพืช และเป็นต้นพันธุ์ที่มีตาสมบูรณ์

– อายุต้นพันธุ์ควรใช้ต้นพันธุ์อายุ 8 เดือน ถึง 14 เดือน และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2 cm ณ กึ่งกลางลำต้น

– การเตรียมและแช่ท่อนพันธุ์  ตัดต้นพันธุ์มันสำปะหลังเป็นท่อน ยาวประมาณ 20–25 cm โดยให้แต่ละท่อนมีตาไม่น้อยกว่า 7 ตา จากนั้นนำ ท่อนพันธุ์มากำจัดเพลี้ยแป้งด้วยการแช่ในสารเคมี เช่น สารไทอะมีโทแซม 25% หรือ อิมิดาโคลพริด 70 % WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูเเรน 10 % WG อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 5 – 10 นาที

***คำแนะนำเพิ่มเติม ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์ประมาณ 3 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มการงอกของรากและการแตกรากใหม่สม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงให้ระบบรากมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมให้แตกใบได้เร็วขึ้น

 การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ควรให้ระยะปลูกอยู่ที่ประมาณ 80×100 เซนติเมตร ปลูกได้ตั้งแต่ช่วงต้นฝนถึงปลายฝน หรือในขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ง่ายเพียงมีความชื้นเล็กน้อย

การดูแลรักษา มีข้อปฏิบัติดังนี้ 

1) มันสำปะหลังอายุ 14 วันหรือเริ่มแตกใบอ่อน เริ่มฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ

2) มันสำปะหลังอายุ 1 เดือน ฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ

3) เริ่มดายหญ้าเมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ด้วยเคียวเกี่ยวหญ้า แล้วนำหญ้าวัชพืชต่าง ๆ มาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หรือใช้รถไถเล็กพรวนดินกำจัดหญ้าตามร่องมันสำปะหลัง

4) ตัดแต่งกิ่งมันสำปะหลังเมื่อมันอายุ 2 เดือน โดยให้เหลือกิ่งไว้ 2 กิ่งหันไปทางทิศเหนือ – ใต้ลักษณะคล้ายตัว V เพื่อให้ได้รับแสงแดดเท่ากันทั้ง 2 ด้าน

5) ช่วงมันอายุ 3-5 เดือน ฉีดพ่นบำรุงด้วยไร่เทพ + โล่เขียว ตามอัตราส่วนที่แนะนำ เพื่อเร่งขยายหัวมัน สร้างแป้ง ให้มีความสมบูรณ์ สังเกตมันเริ่มขยายหัวช่วงอายุ 5 เดือน จะมีรอยแยกของดินและจะเริ่มมีความยาวประมาณ  50 เซนติเมตร

การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยสารไดยูรอน หลังจากการปลูกทันทีไม่ควรเกิน  2 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ การใช้สารคุมวัชพืชให้ใช้ตามอัตราส่วนในฉลากแนะนำให้ถูกต้อง

 การใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก. / ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังจะมีรากแขนง  และรากฝอยมากที่สุดหลังจากอายุ 45 วันเป็นต้นไป ระยะนี้รากจะดูดซึมธาตุอาหารในดินขึ้นไปสะสมไว้ในราก และลำต้น มันสำปะหลังจะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เกิดเป็นแป้งมาสะสมในราก ทำให้รากแขนงขยายขนาดกลายเป็นหัว  กำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก             กำจัดวัชพืชครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยสารกลูโฟซิเนต ( ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตา และลำต้นมัน )

 

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไปเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำ ปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคาในขณะนั้น และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน  มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลงสู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

แหล่งข้อมูล :  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์, ข่าวเศรษฐกิจ ไทยพีบีเอส 22 มี.ค. 66

                    :  มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

คำแนะนำการใช้กับมันสำปะหลัง

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมดิน ยกร่อง เตรียมปลูก           ใช้ดินเทพ  50 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1ไร่ ก่อนปลูก

 

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะแตกใบอ่อน                    ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

– ระยะเจริญเติบโต                    ใช้โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะพัฒนาทรงพุ่ม                 ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน                    

– ระยะพัฒนาราก-สะสมอาหาร  ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน

– ระยะขยายหัว-สร้างแป้ง           ใช้โล่เขียว 200 ซีซี + ไร่เทพ 2 ซอง ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก  10-15 วัน            

โล่เขียว เป็นปุ๋ยชนิดน้ำประกอบไปด้วย ธาตุแมกนีเซียม, สังกะสีและสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง ช่วยให้พืชทนทานต่อโรคได้ดีขึ้น ส่งเสริมการสังเคราะห์แสงที่เข้มข้นทำให้ใบเขียวเข้ม ช่วยให้พืชทนต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้นได้ดี เช่นในช่วงเวลาอากาศเย็นหรือหนาวจัด สภาวะแล้งขาดน้ำ  ฝนตกชุกฟ้าปิด และน้ำท่วม   

ไร่เทพอาหารเสริมพืช  ประกอบไปด้วยสารฮิวมิค สาหร่ายทะเล สารฟูลวิค กรดอมิโนจากสัตว์ทะเล และสารวิตามินต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยฟื้นฟูระบบรากที่เสียหาย กระตุ้นการแตกรากใหม่ เพิ่มปริมาณรากฝอย และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ รากพืชแข็งแรงดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น และช่วยลำเลียงสารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ต่าง ๆ จากราก และใบพืชไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยอินทรีย์

 

คือปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นซากพืช ซากสัตว์ ผลิตผลที่ได้จากตัวสัตว์ หรือแม้แต่เศษซากจากกระบวนการบางอย่างของเหล่าจุลินทรีย์ ความแตกต่างของที่มาส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยอินทรีย์นั้นแตกต่างกัน และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนและเป็นต้นแบบเพื่อการต่อยอดให้กับปุ๋ยประเภทอื่น เรารู้จักการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่ยังไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบของมันเสียอีก โดยคาดว่าปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกน่าจะเป็นชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้งาน


1. ปุ๋ยคอก (Animal manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ตัวอย่างของประเภทสัตว์ที่นิยมใช้กันได้แก่ มูลโค มูลไก่ มูลเป็ด และมูลสุกร แน่นอนว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่มูลของสัตว์เหล่านี้หาได้ง่ายกว่า อีกทั้งส่วนมากยังเป็นผลพลอยได้ของการเกษตรเชิงผสมผสานอยู่แล้วด้วย มูลสัตว์นั้นไม่ใช่ของเสียแต่เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารมาแล้ว จึงมีธาตุอาหารหลายชนิดที่ดีต่อพืชและดิน


2. ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากระบวนการหมักจนเกิดการย่อยสลายในเชิงชีววิทยา จากข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์กล่าวว่า ส่วนมากนิยมใช้ของเหลือในกิจกรรมทางการเกษตร เช่น หยวกกล้วย ฟางข้าว เป็นต้น นำวัตถุดิบมาทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำไปหมักในสภาวะอันเหมาะสม เพื่อรอให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ของมัน สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์เป็นปุ๋ยหมักที่มีเนื้อยุ่ย อนุภาคแยกจากกันได้โดยง่าย มีคุณสมบัติพร้อมทั้งการบำรุงและปรับปรุงกายภาพของดิน


3. ปุ๋ยพืชสด (Green manure) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเลือกพืชบางชนิดมาเพาะปลูกในพื้นที่ เมื่อโตได้ระยะหนึ่งก็ไถกลบเพื่อให้พืชนั้นย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ จุดเด่นของปุ๋ยชนิดนี้อยู่ที่การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่ดิน เพราะพืชที่นิยมใช้ทำปุ๋ยพืชสดนั้น นอกจากต้องเติบโตได้เร็วแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติตรึงธาตุไนโตรเจนได้ดีมากด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วทั้งหมด ปอเทือง โสน เป็นต้น จะเรียกว่าเป็นการบำรุงดินครั้งใหญ่หลังจากเสื่อมโทรมเพราะการเพาะปลูกก่อนหน้านี้ก็ได้

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2550 หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากความหมายของปุ๋ยชีวภาพแล้ว ยังมีคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยชีวภาพที่ควรทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้ซื้อ หรือจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “ ชนิดของจุลินทรีย์ ” หมายความว่า กลุ่มหรือสกุลของจุลินทรีย์ เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์ “ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ” หมายความว่า จุลินทรีย์ชีวภาพที่มี จำนวนเซลล์ต่อหน่วยสูงซึ่งถูกเพาะเลี้ยงโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ “ วัสดุรองรับ ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง ” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารับรองถึงจำนวนเซลล์รวม หรือจำนวนสปอร์รวม หรือจำนวนตามที่หน่วยวัดอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีอยู่ในปุ๋ยชีวภาพหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ตนผลิตหรือนำข้าแล้วแต่กรณี “ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค ” หมายความว่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์สัตว์ หรือพืชและให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ สามารถแบ่งตามลักษณะการให้ธาตุอาหารแก่พืช ได้ 2 ประเภท คือ

1.ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์สร้างธาตุอาหารพืชจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชได้ในปัจจุบันพบเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ประกอบด้วยแบคทีเรีย และแอคติโนมัยสีท จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีชุดยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ไนโตรจีเนส ( Nitrogenase enzyme ) และควบคุมกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศที่มีประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบในจีโนมปุ๋ยชีวภาพประเภทนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะ
ความสัมพันธ์กับพืชอาศัยได้ 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ( Symbiotic nitrogen fixation ) ปุ๋ยชีวภาพกลุ่มนี้ มีแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากเป็นส่วนประกอบ สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้กับพืชอาศัยได้มากกว่า 50-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ชนิดของพืชอาศัย รวมทั้งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่มีการสร้างโครงสร้างพิเศษอยู่กับ พืชอาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ได้แก่ การสร้างปมของแบคทีเรียไรโซเบียม กับพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ การสร้างปมที่รากสน ของแฟรงเคีย ( Frankia ) การสร้างปมที่รากปรงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลนอสทอค ( Nostoc ) การอาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดง ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลอะนาบีนา ( Anabaena ) เป็นต้น ในกลุ่มนี้พืชอาศัยจะได้รับไนโตรเจนที่ตรึงได้ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ไปใช้โดยตรง สามารถนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิต และคุณภาพพืชได้อย่างมีระสิทธิภาพ


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ ( Non-symbiotic nitrogen fixation ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน จึงสามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชที่อาศัยระหว่าง 5 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสกุลของจุลินทรีย์ชนิดของพืชอาศัย และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
2.1 แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช ได้แก่ สกุลอะโซโตแบคเตอร์ ( Azotobacter ) และ สกุลไบเจอริงเคีย ( Beijerinckia ) เป็นต้น
2.2 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน บริเวณรากพืช และภายในรากพืชชั้นนอก ได้แก่ สกุลอะโซสไปริลลัม ( Azospirillum ) และสกุลบาซิลลัส ( Bacillus ) เป็นต้น
2.3 แบคทีเรียที่พบอาศัยอยู่ภายในต้นและใบพืช ได้แก่ กลูคอนอะซีโตแบคเตอร์ไดอะโซโตรฟิคัส ( Gluconacetobacter diazotrophicus ) ที่พบในอ้อย และกาแฟ สกุลเฮอบาสไปริลลัม ( Herbaspirillum ) ที่พบในข้าว อ้อย และพืชเส้นใยบางชนิด และสกุลอะโซอาร์คัส ( Azoarcus ) ที่พบในข้าวและหญ้า เป็นต้น

2. ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชปุ๋ยชีวภาพในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ให้เป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี จะสร้างกรดอินทรีย์ หรือเอนไซม์บางชนิด เพื่อละลายธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา ประกอบด้วยกลุ่มราไมคอร์ไรซาที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยจะสร้างเส้นใยเข้าไปในราก และเส้นใยบางส่วนจะเจริญอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช ช่วยดูดธาตุอาหารต่าง ๆ และละลายฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดิน แล้วส่งผ่านธาตุอาหารไปทางเส้นใยราเข้าสู่รากพืช ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตอย่างเพียงพอ ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาที่มีการนำมาใช้ทางการเกษตรมี 2 กลุ่ม คือ 1) อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ( Arbuscular mycorrhiza ) ใช้กับพืชสวน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และ 2) เอ็คโตไมคอร์ไรซา ( Ectomycorrhiza ) ใช้กับไม้ผลไม้ป่า และไม้โตเร็ว


กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่ม ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส โดยการสร้างและปลดปล่อยกรดอินทรีย์และกรดอนินทรีย์ ออกมานอกเซลล์เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสะสมในดิน นอกจากนี้ยังสร้างและปลดปล่อยเอนไซม์บางชนิดออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในดิน ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างเอนไซม์ไฟเตส ( Phytase ) ในการย่อยสลายไฟเตท ( Phytate ) และปลดปล่อย โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ( HPO42 – ) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ( H2PO4 – ) ออกมาในสารละลายดิน ซึ่งพืชจะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตต่อไป
กลุ่มที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม ประกอบด้วยจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียม ได้แก่ สกุลบาร์ซิลลัส ( Bacillus ) สกุลคลาโดสปอริออยเดส ( Cladosporioides ) สกุลคลาโดสปอเรียม ( Cladosporium ) สกุลคลอสทริเดียม ( Clostridium ) สกุลเพนนิซิลเลียม ( Penicillium ) และสกุลไทโอบาร์ซิลลัส ( Thiobacillus ) เป็นต้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างกรดอินทรีย์ และอนินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากการตรึงของแร่ดินเหนียวบางชนิดจึงสามารถใช้เป็นจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ สามารถใช้ได้ผลดีทั้ง ในพืชสวนและพืชไร่

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

มหัศจรรย์ “แฝก”อุ้มน้ำ ห่มดิน

มหัศจรรย์ “ แฝก ” อุ้มน้ำ ห่มดิน

ลักษณะของแฝก
แฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่
๑.กลุ่มพันธุ์แฝกกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ
๒.กลุ่มพันธุ์แฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
แฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

ลักษณะพิเศษของแฝก

การที่แฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
๑.มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
๒.มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
๓.แฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
๔.ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
๕.มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
๖.ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
๗.บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
๘.ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
๙.ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

การขยายพันธุ์แฝก

การขยายแม่พันธุ์ คือ การนำแม่พันธุ์แฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. การขยายแม่พันธุ์แฝก
๑.๑การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น ๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุได้ ๑ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๑.๒ การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน ๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป

 


๒. การขยายกล้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
๒.๑ การเตรียมกล้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (๒x๖ นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
๒.๒ การเตรียมกล้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว ๑-๒ เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน

การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกแฝก

๑.การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
๒.การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
๓.การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
๔.การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
๕.การปลูกกล้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
๖.ความห่างของแถวแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง ๑.๕-๓ เมตร
๗.กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
๘.ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง

การดูแลรักษาแฝก

 

๑.การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ ๔๕ ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วแฝก ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
๒.การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า ๑๕ วันขึ้นไป
๓.การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕ เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้แฝกแตกใบเขียว ในฤดูแล้ง
๔.การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวแฝกก็จะเป็นการช่วยให้แฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวแฝกได้ชัดเจน ช่วยให้แฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
๕.การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วแฝกที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่

การปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม

 

สำหรับการปลูกแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกแฝกในพื้นที่ลาดชัน
ควรปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร แฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน ๔-๖ เดือน
๒.การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ
นำกล้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ และแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกแฝก ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกแฝกไม่เกิน ๒ เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ ควรปลูกแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
๓.การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้
ควรปลูกแฝกในสวนผลไม้ ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล ๒.๕ เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ แฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป
๔.การปลูกแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่
การปลูกแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกแฝก หรือปลูกแฝกเป็นแนะระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น ในช่วงต้นฤดูฝน
๕.การปลูกแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม
ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องแฝก จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
๖.การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน
ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง ๑ แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ และระบบรากของแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย

รูปแบบการปลูกแฝกตามหลักวิชาการ

เพื่อให้การดำเนินการปลูกแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ ซึ่งประกอบด้วย
๑.การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
การปลูกแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร โดยปลูกแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถว ตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก
๒.สระน้ำปลูก ๒ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกห่างขอบบ่อ ๕๐ เซนติเมตร จนรอบบ่อ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
๓.อ่างเก็บน้ำปลูก ๓ แถว
-แถวที่ ๑ ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวตั้ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคัน หรือสันอ่างเก็บน้ำ
-แถวที่ ๓ ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
๔.ปลูกริมคลองส่งน้ำ ๑ แถว ห่างขอบคลองส่ง ๓๐ เซนติเมตร
๕.ปลูกบนร่องสวน ๑ แถว ห่างขอบแปลง ๓๐ เซนติเมตร
๖.ปลูกอยู่บนไหล่ถนน ๑ แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
๗.ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๓ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๙ เมตร
๘.ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้
-ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด ๑ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร
-ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด ๒ เมตร เป็นระยะทาง ๑๒ เมตร
-ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด ๓ เมตร เป็นระยะทาง ๑๘ เมตร

การปลูกแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
ข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ปลูกถั่วเหลือง ไรโซเบียมเอาอยู่!

      มีการวิจัยหนึ่ง จากนักวิชาการโรคพืช งานจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 (เกือบ 50 ปีมาแล้ว) ที่จังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งผลการทดลองนั้นปรากฏว่า การใส่เชื้อไรโซเบียมให้กับถั่วเหลืองอย่างเดียวสามารถทำให้ผลผลิตสูงเท่าๆกัน กับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว และการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ การใช้ไรโซเบียมอย่างเดียวนั้นกลับได้ผลผลิตเยอะกว่าอีกด้วย!

ใครอยากอ่านงานวิจัยอายุ 50 ปีนี้ ตามกันไปได้ที่ : การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองโดยการใช้เชื้อไรโซเบียมและปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง การปลูกถั่วเหลือฝักสดหรือถั่วแระญี่ปุ่น ให้ไปศึกษากันเพิ่มอีกด้วย

บทความนี้ ฤทธิรอนขอนำเสนอ การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินด้วยจุลินทรีย์ไรโซเบียมกันครับ

ไรโซเบียม คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

ไรโซเบียมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่าจุลินทรีย์ในดิน มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนลงสู่พื้นดินและเข้าไปอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วบริเวณรากของมัน จึงมักถูกเรียกว่า “จุลินทรีย์ปมรากถั่ว”

ขอบคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการชะล้างของฝน หรือ การเปลี่ยนกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน ลอยกลับสู่อากาศ 

นอกจากนี้ แท้จริงแล้วไรโซเบียมไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนและมันก็ยังคงสร้างปมรากได้ดีแม้ดินนั้นจะไม่ค่อยมีไนโตรเจนมากนัก แต่ที่สำคัญ คือมันทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการส่วนตัวของพืชตระกูลถั่ว ทันทีที่ถั่วต้องการไนโตรเจน เช่น ระยะเริ่มติดฝัก ไรโซเบียมก็จะจัดการตรึงไนโตรเจนส่งไปยังเมล็ดโดยตรงทันที! ซึ่งต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ย มันจะถูกส่งไป”เปลี่ยนรูปแบบ” ที่ใบก่อน แล้วจึงค่อยส่งมาที่เมล็ด ดังนั้น เมื่อถั่วเหลืองมีปมอยู่ที่ราก ไรโซเบียมก็จะทำหน้าที่ของมัน ทำให้เมล็ดสมบูรณ์และผลผลิตสูง (นักวิจัยยังบอกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วงแรก จะทำให้พืชเขียวจริง แต่ก็ไม่ได้การรันตีในเรื่องของผลผลิต)

ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการปลูกถั่ว แต่แนะนำให้ใช้เชื้อไรโซเบียมแทน

ถั่วเหลืองฝักสด ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง

ในขณะที่ดอกเบี้ย จากหนี้เก่าของค่าปุ๋ยจากการปลูกข้าวรอบที่แล้ว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าข้าวที่ฉีดไร่เทพ ชาวนาก็ต้องมาปวดหัวอีกรอบว่า ข้าวนาปรังครั้งนี้เอายังไงดี ครั้นจะลงทุนปลูกข้าวอีกทีก็รู้สึกเข็ดขยาด ครั้นจะปล่อยทิ้งให้ที่นาว่างเปล่า ก็เสียโอกาสโดยใช่เหตุ อย่ากระนั้นเลย วันนี้ฤทธิรอน ของอาสาหาข้อมูลมาแบ่งบันกับพี่น้องชาวนา ให้หันมาปลูก ถั่วเหลืองฝักสดแทนการปลูกข้าวนาปรังกันครับ

เก็บเกี่ยวไว (สั้นกว่าเท่าตัว) ใช้น้ำน้อย (กว่า 5 เท่า)

ถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) เป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 68-70 วัน ในขณะที่ข้าวนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ต่างกันเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เพียง 300 ลบ.ม ต่อไร่ น้อยกว่าข้าวนาถึง 5 เท่า คือ 1500 ลบ.ม. เหมาะมากสำหรับช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

แก้ดินเสื่อม เสริมไนโตเจน

การทำนาอย่างต่อเนื่องโดยปีหนึ่ง 2-3 ครั้งนั้น ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม การปลูกพืชหมุนเวียน จึงเป็นทางออก นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วนั้นยังมีจุลินทรีย์ในปมราก (ไรโซเบียม) ช่วยตรึงไนโตเจนลงสู่พื้นดิน และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถไถ่กลบ กลายเป็นปุ๋ยพืชสด  ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดินอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีปลูกถั่วเหลืองฝักสดโดยละเอียดสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่:

เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 50 โดย ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/soybean.pdf

 

นอกจากนี้ยังสามารถ รับชมข้อมูลการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ตามลิ้งนี้

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก