Tag Archives: ข้าว

คำเตือน! หนาว ร้อน แล้ง …เตรียมพร้อมรับมือ

การปลูกข้าวหลังน้ำลดเป็นช่วงปลายฤดูฝนและฤดูหนาว จะต้องพิจารณาเรื่องอากาศหนาวด้วย เพราะหากข้าวกระทบต่ออากาศหนาวเย็น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว โดยเฉพาะหากอุณหภูมิลดลงถึง 16 °C ในช่วงที่ข้าวออกรวงจะทำให้เกิดปัญหาและทำให้ผลผลิตของข้าวอาจจะลดลงได้ โดยปัญหาที่มากับอากาศหนาวคือจะทำให้รวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ ปลายรวงในส่วนที่เหนือกาบใบธงจะตั้ง และไม่โน้มรวง ทำให้เมล็ดจะลีบบางเมล็ดจนถึงเกือบทั้งหมดรวง สาเหตุที่เมล็ดลีบเพราะข้าวไม่ผสมเกสร และอุณหภูมิลดลงมากและต่อเนื่องจะทำให้ระบบการเจริญเติบโตของข้าวหยุดชะงัก กระบวนการในเซลล์พืชจะทำงานผิดปกติและรากจะไม่ดูดซึมธาตุอาหาร หรือที่เรียกว่า ข้าวไม่กินปุ๋ย เมื่อข้าวออกดอกเกสรจะผสมไม่ติดหรือเมล็ดเป็นหมัน ผลผลิตต่ำมากจนถึงไม่ได้ผลผลิตเลย

แนะนำสำหรับการปลูกข้าวหลังน้ำลด

  1. การวิเคราะห์ดิน ควรมีการวิเคราะห์ตัวอย่างดินในนาก่อนปลูก เพราะพื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วมอาจมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารทั้งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง การวิเคราะห์ดินจะสามารถทราบความต้องการปุ๋ยที่แท้จริงของข้าวในแปลงนั้นๆ
  2. พันธุ์ข้าว ต้องใช้พันธุ์ข้าวชนิดไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้นและทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี

3.วันปลูก ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรหลีกเลี่ยงวันปลูกที่ระยะข้าวตั้งท้องถึงออกดอกไม่ให้ได้รับผลกระทบต่ออาการหนาวเย็น จากข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลังสามารถเริ่มปลูกได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป

  1. การเตรียมดิน การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวหลังน้ำลดในพื้นที่นาน้ำท่วม ใช้วิธีการเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว โดยทั่วไป เมื่อน้ำลดจนสามารถที่จะเตรียมดินได้แล้วสามารถเตรียมดินปลูกเหมือนการเตรียมดินตามฤดูกาลปกติ โดยใช้ดินเทพเพื่อปรับสภาพโครงสร้างดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก
  2. การปลูกข้าวแบบหว่านน้ำตม หลังน้ำลดควรใช้วิธีหว่านน้ำตม เพราะพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น
  3. การปลูกแบบเป็นยกสลับแห้ง สามารถใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยยังคงรักษาเสถียรภาพผลผลิตข้าวได้ดี และเป็นวิธีการใช้น้ำแบบประหยัด
  4. การใช้ปัจจัยการผลิต
    7.1 หมั่นดูแลตรวจสอบ ความผิดปกติของต้นข้าวและให้งดการใส่ปุ๋ยในช่วงอากาศหนาวเย็นเนื่องจากข้าวดูดซึมธาตุอาหารได้น้อย
    7.2 หากจะใส่ปุ๋ย ควรเน้นปุ๋ยในกลุ่มฟอตเฟตจะช่วยลดผลกระทบจากอุณหภูมิต่ำได้ เพราะธาตุฟอฟอรัส (P) ช่วยในการสังเคราะห์แสงและช่วยให้ข้าวทนทานต่ออากาศเย็น
    7.3 หากสภาพอากาศหนาวต่อเนื่อง ข้าวมีการเจิญเติบโตไม่ดีอาจส่งผลกระทบต่อการออกรวงและ ผลผลิตควรเพิ่มประสิทธิภาพโดยการฉีดพ่นซิงค์หรือสังกะสี (Zn) เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมน NAA เพื่อกระตุ้นให้ข้าวออกรวง ลดการหลุดร่วงของดอกและผล และยังมีส่วนช่วยในกระบวนการสังคราะห์แสง ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีอยู่ในปุ๋ยโล่เขียว ไร่เทพ และไร่เทพโกลด์
    7.4 ข้าวที่ปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นมักมีโรคที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง ควรใช้วิธีป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพ เช่น การลดใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นสารเคมี
    7.6 เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 20 °C ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเร่งฟื้นฟูต้น
  1. การปฏิบัติดูแลรักษา การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวที่ปลูกหลังน้ำลด สามารถปฏิบัติดูแลรักษา เหมือนการปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงในนาชลประทาน ในการป้องกันกำจัดโรค แมลง ศัตรูข้าว วัชพืช ตามความจำเป็น

ลดปัญหาข้าวดีด…ได้ด้วยดินเทพ

ดินเทพ ช่วยลดปัญหาข้าวดีดได้ โดยใช้ในขั้นตอนการตีดิน เพราะดินเทพจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเศษซากอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินมีธาตุอาหาร ช่วยให้ดินฟู ร่วนซุย และเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยลดความเป็นกรดในดิน และช่วยปรับโครงสร้างดิน  ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการเพาะปลูก อัตราการใช้ ดินเทพ 1 ขวด ใช้ได้ 10-12 ไร่

 

สาเหตุการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช        

การแพร่ระบาดของข้าววัชพืช  มาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ

1. ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวเนื่องจากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวจากแหล่งไม่มีคุณภาพ ในรอบ 1 ปี

2. ติดมากับอุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือเตรียมดิน,  เก็บเกี่ยวหรือภาชนะบรรจุข้าว โดยเฉพาะรถเกี่ยวนวดข้าว

3. ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาจากนาข้าว

4. การแพร่ไปกับน้ำ ในระบบชลประทาน

5. ติดไปกับอาหารเสริมของเป็ดที่ปล่อยในนาข้าว ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกที่มีราคาถูก มีสิ่งเจือปน

 

วิธีลดปัญหาข้าวดีด

เลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐาน

1.ทำความสะอาดเครื่องจักร และอุปกรณ์ทุกครั้งก่อน

2.เลือกใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่มีส่วนผสมที่มาจากนาข้าว และไม่มีเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งปลอมปน

3.ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งเข้ามากินเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้ง หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต

4.กำจัดด้วยวิธีเขตกรรม เช่น ล่อให้เมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งงอกแล้วไถกลบ 1-3 ครั้ง

5.เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากนาหว่าน เป็นนาดำ หรือการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า

6.ใช้ดินเทพ ในขั้นตอนการตีดินเพื่อย่อยสลายเศษซากอินทรียวัตถุในดิน และเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในดิน 1ขวดใช้ได้ 10-12 ไร่

เก็บเกี่ยวช่วงไหน…ขายดีราคาดี

“ระยะพลับพลึง”
ระยะที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวที่สุด คือระยะที่เรียกว่า “ระยะพลับพลึง” ซึ่งจะได้ข้าวที่มีคุณภาพดี เมล็ดเต่งเต็มรวง น้ำหนักดี ขัดสีดี และขายได้ราคาดี ไม่โดนตัดราคาตอนขายแน่นอน
การเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง คือ เมล็ดข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกือบทั้งหมด ยกเว้นบางเมล็ดที่โคนรวงยังเขียวอยู่ ประมาณ 30 วันหลังข้าวออกดอก 80 เปอร์เซ็นต์ และต้องเก็บเกี่ยวในสภาพนาแห้ง หรืออย่างน้อยไม่มีน้ำขังในนา
กรณีเกี่ยวก่อน ข้าวยังไม่โตเต็มที่ทำให้น้ำหนักเบา เมล็ดรีบ มีข้าวเขียวติดรวง เนื้อแป้งในเมล็ดข้าวน้อย มีความชื้นสูง
กรณีเกี่ยวหลัง ข้าวแก่เกิน เมล็ดจะหลุดล่วงง่าย เมล็ดแห้งกรอบ

การนวดข้าว
1. การใช้คนนวดหรือนวดด้วยเท้า เป็นวิธีที่ดีทำให้ข้าวไม่เสียคุณภาพ และมีการสูญเสียน้อยแต่ต้องใช้เวลาและเปลืองแรงงานมาก ไม่เหมาะกับการทำนามาก ๆ
2. การใช้สัตว์นวด ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพการสีแต่จะมีการสูญเสีย
3. การนวดโดยวิธี การนวดวิธีนี้จะทำให้เกิดการสูญเสียอันเกิดจากแรงของการฟาด ทำให้มีเมล็ดบางส่วนกระเด็นสูญหายไป
4. นวดโดยรถไถหรือแทรกเตอร์ วิธีนี้เมล็ดข้าวจะมีการแตกร้าวและแตกหักเวลาสีบ้าง
5. การใช้เครื่องเกี่ยวนวด เครื่องจะทำการเกี่ยวและนวดข้าวออกมาเลยเมล็ดข้าวที่นวดได้จะออกมาจากเครื่องนวดและบรรจุในถังเก็บหรือในกระสอบ ความสูญเสียข้าวขึ้นอยู่กับความเร็วของรถเกี่ยว อายุข้าว ความชื้นเมล็ด การล้มของข้าว

อ้างอิง : กรมการข้าว, กรมการค้าภายใน

ผ่านวิกฤตภัยแล้ง..ด้วยไร่เทพ

ลุงพงษ์ นิลพัฒน์  เป็นเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก มีแปลงนามากกว่า 100 ไร่ ทำนามาตลอดชีวิต  อาศัยอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุงพงษ์ เล่าว่า หลังจากหว่านข้าวไปเจอวิกฤตภัยแล้ง

ถึงขนาดที่ว่าน้ำในคลองก็ไม่มีให้วิดมาใช้ ลุงเลยตัดสินใจฉีดพ่นไร่เทพเพิ่มอีก 2 รอบ เพื่อให้ไร่เทพไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช ส่งผลให้พืชสามารถเจริญเติบโตต่อได้  และไร่เทพนอกจากจะช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้ในสภาวะที่ไม่ปกติแล้ว ยังช่วยทำให้ดินมีความอุ้มน้ำ ร่วนซุยไม่แข็งกระด้างอีกด้วย ในขณะที่แปลงนาข้างๆ ต้นข้าวล้มตายเกิดความเสียหายอย่างมาก แต่แปลงนาลุงได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีนำไปขายโรงสีได้ราคาดีด้วย

เคล็ดลับขั้นเทพ .. นาลุงจะมีนกเยอะมากมากินข้าวเปลือกตอนหว่านข้าวปลูกข้าว ดังนั้นลุงใช้วิธีการหว่านเผื่อให้นกด้วยกล่าวคือ หว่านข้าวในจำนวนที่มากขึ้นถึงแม้จะมีนกกินข้าวไปก็จะยังเหลือข้าวที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นต้นข้าวได้ ทำให้ไม่มีปัญหานกกินข้าวหมด

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำได้ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

ข้าวจมน้ำ 7 วัน แต่ข้าวไม่ตาย

เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ .. นาข้าวของนายสุชาติ กิ่งนอก ชาวนาบ้านถนนถั่ว หมู่ที่ 10 ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ปลูกข้าวพันธุ์ หอมมะลิ 105 เป็นนาข้าวพื้นที่รับน้ำ โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต่ำ น้ำจะไหลมารวมกันที่นี่

ที่ผ่านมาฝนตกอย่างต่อเนื่องนายสุชาติจึงเตรียมรับมือกับน้ำที่มีปริมาณมาก ด้วยการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ตรา ไร่เทพ โดยฉีดพ่นก่อนน้ำจะมาถึงประมาณ 1 สัปดาห์ พอน้ำเข้าท่วมพื้นที่นาทำให้ต้นข้าวที่กำลังโตถูกน้ำท่วมจนเกือบมิดปลายยอดใบ ซึ่งมวลน้ำไม่เพียงแค่ไหลผ่านนาไป แต่ต้นข้าวในนาต้องแช่อยู่ในน้ำยาวนานเป็นสัปดาห์ ในขณะที่แปลงนาข้างๆต้นข้าวเกิดความเสียหายอย่างมาก ในทางกลับกันแปลงนาของนายสุชาติต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้และให้ผลผลิตได้เหมือนเดิม

ไร่เทพ จะช่วยทำให้ต้นข้าวมีความมีความเสถียรในเซลล์และระบบรากที่ดี ซึ่งจะสังเกตได้ว่ารากจะมีจำนวนมาก ในขณะที่เกิดน้ำท่วมต้นข้าวมีรากบางส่วนที่เสียหายไป แต่เนื่องด้วยรากที่มีจำนวนมากนั้นจึงจะยังมีรากบางส่วนที่ไม่เกิดความเสียหายยังคงสามารถเลี้ยงต้นข้าวให้เจริญเติบโตต่อไปได้จนให้ผลผลิตได้ แต่หากว่าต้นข้าวที่มีรากน้อยถ้าน้ำท่วมรากจะเกิดการเสียหายทั้งหมดส่งผลให้พืชไม่ฟื้นตัวหรืออาจจะตายในที่สุดเพราะรากเน่าเสีย

จ่ายแพงไปทำไม??

ของใช้ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป อยากให้เกษตรกรได้ใช้ของดีที่มีราคาไม่แพง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ ที่เมื่อวิเคราะห์ราคากับปริมาณที่ใช้ จะเห็นได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม เพราะราคาที่จ่ายไปกับผลลัพธ์ที่ได้กลับมารับประกันได้เลย การันตีด้วยยอดลูกค้าที่อยู่กับเรายาวนานกว่า 10 ปี

หากท่านกำลังเจอปัญหาพืชเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง พืชขาดธาตุอาหาร ดินเสีย ดินเค็ม ดินแข็ง ไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก รวมถึงปัญหาที่ได้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรเหล่านี้จะหมดไป หากเกษตรกรหันมาให้ผลิตภัณฑ์ของเรา

ไร่เทพ อาหารเสริมพืช จะช่วยให้พืชโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มผลผลิต ลูกดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง น้ำหนักดี มีคุณภาพดี

โล่เขียว จะช่วยให้พืชเขียวทน เขียวนาน ต้านทานโรคและแมลง และช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ดินเทพ เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ทำให้ดินฟู ร่วนซุย ไร้สารตกค้าง ช่วยให้ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก และยังสามารถใช้แทนสารจับใบได้ ช่วยให้สารแผ่กระจายทั่วใบและพืชนำไปใช้ได้เลย

 

ราคาไม่แพง .. หากต้องการผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ไร่เทพ 1 ซอง ฉีดพ่นได้ 3-5 ไร่

โล่เขียว 1 ขวด (1000ml.) ฉีดพ่นได้ 15 ไร่

ดินเทพ 1 ขวด (500ml.) ฉีดพ่นได้ 12 ไร่

 

7 เคล็ดลับขั้นเทพ ทำนาให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ

ประชากรส่วนใหญ่ของสังคมไทยปลูกข้าวทำนาเป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่โบราณ เราจึงขอแนะนำเคล็ดลับขั้นเทพ ทำนาให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ต้องเริ่มที่ไร่เทพ เพื่อประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถนำแนวทางในการปฏิบัติในทุกๆขั้นตอนของการทำนาได้ (อ่านต่อด้านล่าง)

1.ดินดี คือ ดินที่เหมาะต่อการเพาะปลูก ซึ่งการเตรียมดินจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะดินเป็นปัจจัยหลักของธาตุอาหารสำหรับข้าว แนะนำให้ใช้ “ดินเทพ” ในการปรับโครงสร้างดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก และการไม่เผาฟางจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะการเผาฟางจะทำลายสภาพดิน เคล็ดลับขั้นเทพแนะทำให้ใช้ดินเทพช่วยเร่งการสลายตอซังข้าว ช่วยสร้างธาตุในดิน ดินดี ร่วนซุย ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง

2.เมล็ดพันธุ์ดี คือ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี และใช้ “ไร่เทพ” ผสมกับ “ดินเทพ” แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนหว่านจะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก และช่วยลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ มีอัตราการใช้ดังนี้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

3.ปุ๋ยดี คือ ต้องมีการให้ปุ๋ยทางใบ “โล่เขียว” ช่วยพืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมยังทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมะสม ทนต่อโรคและแมลง และให้ปุ๋ยทางดินไปพร้อมกันด้วย

4.บำรุงดี คือ การบำรุงด้วยอาหารเสริมพืช “ตราไร่เทพ” จะทำให้ช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ระบบรากเดินดี ลำล้นแข็งแรง และมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ แนะนำให้ใช้ไร่เทพผสมดินเทพ (สารจับใบ) ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 10-15 วัน

5.น้ำดี คือ การจัดการน้ำอย่างเหมาะสม การนำน้ำเข้า-ออกนา ตามระยะของข้าว โดยให้เอาน้ำเข้าก่อนตีดิน หลังทำเทือกเสร็จแล้วให้ระบายน้ำออกให้ดินแห้งแบบหมาดๆแล้วจึงหว่านข้าว และปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ

6.การดูแลดี คือการดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต เพราะเนื่องด้วยในปัจจุบันจะมีโรคพืชโรคแมลงที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้การดูแลแปลงนาต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อเวลานั้นๆ

7.การเก็บเกี่ยวดี คือ ควรเก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม โดยการเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง คือระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวที่นับจากวันที่ข้าวออกดอกไปแล้ว 28-30 วัน และเก็บเกี่ยวในสภาพที่นาแห้ง หรืออย่างน้อยก็ไม่มีน้ำขังในนาจะช่วยลดการสูญเสียผลผลิตจากข้าวที่ร่วงระหว่างการเก็บเกี่ยวได้ 20%

 

   

เคล็ดลับแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว

วันนี้ขอแนะนำเคล็ดลับการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนที่จะหว่านลงแปลงนา ด้วยวิธีง่ายๆ “เคล็ดลับไร่เทพ” ซึ่งประโยชน์ของการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงขึ้น ทำให้งอกได้ไว ลดการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ข้าวออกสม่ำเสมอ ทำให้ข้าวมีรากมากขึ้น ทำให้มีการเจริญเติบโตได้ดี และข้าวแตกกอดี โตได้อย่างสมบูรณ์

การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพสูงจะช่วยบำรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวจนกระทั่งงอกเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ซึ่งเคล็ดลับนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าวเลย

อัตราการใช้

-กรณีรดหัวกระสอบ ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร **รดให้เปียกชุ่มทั้งกระสอบ**

(กรณีนี้จะรดหลังแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำแล้ว ให้รดไร่เทกับดินเทพที่หัวกระสอบให้ชุ่มก่อนนำไปหว่านในนาข้าว)

-กรณีแช่ 3 ชั่วโมง ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

-กรณีแช่ข้ามคืน (10 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ใช้ไร่เทพ 1 ซอง ต่อน้ำ 200 ลิตร กับ ดินเทพ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

ไม่ต้องกังวล .. น้ำท่วมนาแต่ข้าวไม่ตาย

ตอนนี้ประเทศไทยตอนบนพบกับวิกฤตน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากมาเร็วและหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เกิดความเสียหายในพื้นที่จังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ตาก เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา และ สุโขทัย ซึ่งส่งผลต่อภาคการเกษตรด้วย ดังนั้นในพื้นที่ที่น้ำจะไหลผ่านลงสู่ทะเลอ่าวไทย เกษตรกรควรมีการเตรียมรับมือกับมวลน้ำจำนวนมาก

 

เราไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำได้แต่เราสามารถที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวช่วยได้ กล่าวคือตัวช่วยให้พืชสามารถทนได้กว่าปกติในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต แต่พืชจะสามารถเติบโตให้สามารถให้ผลผลิตได้ และฟื้นตัวได้ไวหากสามารถรีบระบายน้ำออกได้ทันเวลา

 

 

โล่เขียว มีส่วนผสมของแมกนีเซียมกับสังกะสี จะช่วยทำให้พืชเขียวทน เขียวนาน ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งจะช่วยพืชทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี

ไร่เทพ จะช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้พืชนำสารอาหารไปใช้ได้ทันที ส่งผลให้เพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำหนัก และมีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ที่สำคัญช่วยฟื้นฟูได้ดี

ดินเทพ ในกรณีใช้เป็นสารจับใบเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไร่เทพกับโล่เขียว

 

 

อัตราการใช้

โล่เขียว 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ 100 ลิตร

ดินเทพ 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร

สามารถผสมกันแล้วฉีดพ่นทางใบ เป็นละอองไปเกาะไม่ต้องจี้ ฉีดพ่นก่อน 10 โมงเช้า หรือหลัง 5 โมงเย็น

ข้าวแกร่ง ต้องเสริมเกราะ …ด้วยโล่เขียว

กรมอุตุนิยมแนะเกษตรกรว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะที่แปรปรวน โดยพื้นที่ที่ฝนตกหนัก ดินและอากาศมีความชื้นสูง ให้เกษตรกรเฝ้าระวังและป้องกัน โรคไหม้ข้าว (Rice Blast Disease) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae ส่วนพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอให้เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพ

เมื่อควบคุมสภาพอากาศไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือ “ข้าวแกร่ง ต้องเสริมเกราะ ด้วยโล่เขียว” มาเสริมเกราะป้องกันให้กับข้าวด้วยโล่เขียว ซึ่งโล่เขียวมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้ข้าวทนต่อสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสม สามารถทนต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยให้ใบมีความเขียวเข้ม “รากขาว แตกกอดี ใบเขียวทน ต้นแข็งแรง”

โล่เขียวมีส่วนประกอบของแมกนีเซียม (Mg) และสังกะสี (Zn) โดยแมกนีเซียม (Mg) จะช่วยให้ข้าวมีใบเขียวเข้ม ช่วยสร้างสร้างพลังงานดูดซึมสารอาหารต่างๆ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และสังกะสี (Zn) จะช่วยแตกตาดอกและตายอด เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ที่สำคัญช่วยให้พืชทนทานต่อสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี

รากขาว คือรากที่สมบูรณ์และแข็งแรง

แตกกอดี คือจำนวนเยอะและขนาดใหญ่

ใบเขียวทน คือใบสีเขียวเข้ม ทนต่อโรคและแมลง

ต้นแข็งแรง คือต้นยืดตรง ไม่คดงอ

 

 

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ช่วงนี้เพลี้ยไฟระบาดลงแปลงนาเป็นจำนวนมาก จัดได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องพบเจอ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ฝนที่ทิ้งช่วงยาวนาน รวมทั้งการหนีตายจากแปลงใกล้เคียง

แต่หากเจอเพลี้ยไฟแล้ว ทำไงดี?
ปัญหานี้ตอบได้จากประสบการณ์จริงของแปลงนาผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ กล่าวคือ นาข้าว 50 ไร่ แปลงนี้ มีอายุ 15 วัน ได้ฉีดผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ รอบแรกในอัตราการใช้ดังนี้ ไร่เทพ 12 ซอง ดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) และโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา ส่วนนี้จะทำให้ข้าวได้รากอย่างสมบูรณ์และต้นแข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตไปในระยะต่อไป

แต่พอข้าวอายุ 20 วัน เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยไฟในพื้นที่ซึ่งทางเราไม่ได้ฉีดป้องไว้ก่อน เนื่องด้วยไร่เทพมีคุณสมบัติพิเศษที่มีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ในช่วงแรกเพลี้ยไฟยังไม่มาลงแปลงมาจะเห็นว่าเมื่อเทียบกับแปลงนาข้างๆ แปลงนาที่ไม่ได้ใช้ไร่เทพเพลี้ยลงใบข้าวมีสีเขียวอ่อน ซึ่งแตกต่างกับแปลงนาที่ใช้ไร่เทพอย่างชัดเจน แต่เมื่อแปลงนาข้างๆมีการฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยไฟแล้วนั้น ทำให้เพลี้ยไฟเหล่านั้นหนีตายมาแปลงข้างๆ เกิดความเสียหายจากการโดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นข้าวเกิดปลายใบไหม้ ข้าวมีอาการเหลือง แต่เมื่อเทียบอาการเพลี้ยลงแปลงนากับแปลงนาที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ แล้วพบว่าแปลงนาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ มีสีเหลืองที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเจอเพลี้ยไฟหนีตามาลงแปลงนา จึงฉีดพ่นยากำจัดเพลี้ยไฟร่วมกับผลิตภัณฑ์ ตราไร่เทพ อัตราการใช้ไร่เทพ 10 ซอง ผสมโล่เขียว 4 ขวด (4000 มิลลิลิตร) และดินเทพ 400 ซีซี (20 ฝา) โดยใช้โดรนเกษตรฉีดพ่นทั่วแปลงนา

หลังการฉีดพ่น 3 วัน เห็นได้ว่า ข้าวมีการฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้อย่างรวดเร็ว จากที่ต้นข้าวที่มีสีอมเหลืองและใบมีอาการโค้งงอ ปลายใบไหม้ ตอนนี้ต้นข้าวกลับมามีความเขียวสด ต้นข้าวยืดตรงไม่โค้งงอ ระบบรากมีความสมบูรณ์ รากเยอะ รากขาวดูสะอาดไม่เป็นโรค และพร้อมจะยึดเกาะดินที่ร่วนซุยพยุงต้นให้เติบโตต่อไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าแปลงนาข้าวจะเกิดปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นถูกแก้ไขได้ถูกวิธีและรวดเร็วปัญหาเหล่านั่นก็จะหมดไป

#ไร่เทพ #ดินเทพ #โล่เขียว #เพลี้ยไฟ #นาข้าว #เกษตรกร

เจอเพลี้ยไฟ ทำไงดี?

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

คุณเชอรี่ มนต์พิชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ตราไร่เทพ เห็นความสำคัญในการให้โอกาส และการศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิตให้หลุดพ้นจากความจนได้ เนื่องจากปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม เด็กและเยาวชนหลายๆ คนกลายเป็นเด็กด้อยโอกาส ทำให้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณเชอรี่จึงได้มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กๆ พื้นที่ห่างไกล และขาดแคลน ผ่านมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการ “ส่งเสริมการศึกษาให้สว่างไสว สร้างอนาคตที่สดใสให้น้อง” และร่วมบริจาคและจุดไฟแห่งปัญญาให้แก่เด็กๆ เพื่อให้อนาคตของพวกเขาส่องสว่าง และพร้อมส่งต่อสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม โดยพร้อมเป็นแรงสนับสนุนที่จะช่วย “จุดประกายความรู้ สู่พัฒนาการสมวัย” ของเด็กยากไร้ที่ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณเชอรี่ ได้มีการมอบทุนการศึกษานี้อย่างต่อเนื่องและตั้งใจจะทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ไร่เทพปันน้ำใจ “มอบทุการศึกษา ให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน”

ไร่เทพสัญจรสหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว

 

ไร่เทพสัญจรสหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว

 เก็บตกบรรยากาศความประทับใจในบูธไร่เทพสัญจร ณ สหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว จำกัด

“ผลิตภัณฑ์ ตรา ไร่เทพ มีจัดจำหน่ายให้เกษตรกรในสหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว” แล้วนะครับ

               

 

   

ไร่เทพสัญจรสหกรณ์บางน้ำเปรี้ยว

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

ไม่เผาฟาง-สร้างธาตุในดิน

             

                  หลังฤดูการเก็บเกี่ยวก่อนที่จะเข้าหน้าฝนที่เป็นฤดูการปลูกข้าวของเกษตรกร ด้วยหลายๆปัจจัยจึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถเผาฟางได้ วิธีการย่อยสลายตอซังจึงเป็นวิธีที่นิยมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่วิธีการนี้ต้องอาศัยเวลาในการย่อยสลายเพื่อให้อินทรียวัตถุในดินได้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์และเกิดแร่ธาตุอาหารในดินสำหรับการปลูกข้าวครั้งใหม่ได้ แต่ถ้าการย่อยสลายฟางข้าวไม่สมบูรณ์และเริ่มการปลูกข้าวครั้ง ใหม่ทันที ข้าวจะไม่โตและตายในที่สุด ดังนั้นการมีสารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซัง นับเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

“การทำนาโดยไม่เผาตอซังและฟางข้าว มีผลดี คือ รักษาโครงสร้างของดินให้คงสภาพร่วนซุยไม่แข็งกระด้าง ลดปัญหามลพิษทางอากาศ และลดการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญของพืชไม่สูญเสียไป”

ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาฟาง

1.ฝุ่น PM2.5 : ทำให้เกิดฝฝุ่น ควันและก๊าซพิษ “อันตรายถึงชีวิต”

2.ทําให้พื้นที่เพาะปลูกเสื่อมโทรมทำลายบอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินต้องใช้ดินเทพปรับโครงสร้างดิน “พืชจะอ่อนแอ”

3.ทำลายธาตุอาหารในดิน ทำลายอินทรียวัตถุในดิน สูญเสียธาตุอาหารจากฟาง “ดินมีธาตุอาหารต่ำ”

4.ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น : ธาตุอาหารจะละลายให้พืชดูดกินได้น้อยลง “พืชจะขาดธาตุอาหาร”

5.ทำลายสิ่งมีชีวิต ที่มีประโยชน์ในดิน “ผลผลิตลด”

ฟางข้าวที่อยู่ในนานั้นสามารถเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ย เพราะฟางข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสสูงมากเป็นประโยชน์ต่อดิน โดยมีวิธีการทำดังนี้

  1. นำฟางมาหมักกลบกับดิน แล้วใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย “ดินเทพ” เข้าไป
  2. การใส่จุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายโดยใช้สารปรับโครงสร้างดิน “ดินเทพ” หรือจะหมักเองจากจุลินทรีย์หน่อกล้วยก็ได้ เพราะในหน่อกล้วยมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่โคนกล้วยอยู่แล้วเพราะมีความชื้น จุลินทรีย์ชอบเกาะกลุ่มอยู่ ก็นำมาขยายเชื้อ โดยการใช้กากน้ำตาลผสมกับหน่อกล้วยสับ แล้วก็หมักทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นก็นำมาบีบให้เกิดหัวเชื้อ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย หลังจากนั้นก็นำไปใส่กับน้ำเปล่าแล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คนทุกวัน ทิ้งไว้ประมาณ 5 วัน แล้วก็นำไปปล่อยในแปลงนา
  3. เวลานำไปปล่อยในแปลงนา คนปล่อยไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในนา เพราะเราต้องปล่อยน้ำเข้านาอยู่แล้ว ให้หยด “ดินเทพ” ลงทางเข้าประตูน้ำ เพราะน้ำไปถึงไหนตัวดินเทพก็วิ่งตามไปถึงนั่นเหมือนกัน หรือสามารถเจาะขวด “ดินเทพ” และผูกไปกับท้ายรถตี โดยไม่จำเป็นต้องเดินให้เหนื่อย นี่เป็นเทคนิคง่ายๆ
  4. อัตราส่วนการใช้ดินเทพ 1 ขวด (500 มิลลิลิตร) ใช้ได้ 10-12 ไร่ หรือยิ่งใส่มากก็ยิ่งสลายเร็ว โดยดินเทพจะไปย่อยสลายฟาง เศษวัสดุต่างๆ ที่อยู่ในนาที่เป็นอินทรียวัตถุให้ดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ควรหมักไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน เพื่อให้คายก๊าซ เพราะในฟางข้าวเกิดการทับถมกันอยู่ในดิน จะเกิดก๊าซ มีความร้อน ถ้าก๊าซคายไม่หมดจะทำให้ข้าวต้นเหลืองแห้ง ถ้าเราหว่านข้าวไปแล้วก๊าซไม่หมดแล้วต้นข้าวเหลือง ให้แก้โดยวิธีปล่อยน้ำออกให้แห้ง ให้ดินแตกเป็นหัวระแหงออกมา ให้อากาศเข้าไปถ่ายเทดูดก๊าซออกมาได้ นี่คือวิธีง่ายๆ

 

 

 

 

“การหมักฟางจะทำให้เราประหยัดต้นทุน โดยจะได้ทั้งฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารฟอสฟอรัสจะช่วยในการทำให้ข้าวแข็งแรง และป้องกันโรค ส่วนโพแทสเซียมจะช่วยในการสร้างรวง และสร้างแป้งให้ข้าว ซึ่งสองแร่ธาตุนี้มีอยู่แล้วในฟางข้าว เขาจึงใช้ฟางข้าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

#ดินเทพ #ดินฟู #ร่วนซุย #ปลอดภัย #ไร้สารตกค้าง

เทคนิคการทำนาแกล้งข้าว

ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายนานาชาติด้านน้ำ และระบบนิเวศในนาข้าว (International Network for Water and Ecosystem in Paddy Fields, INWEPF) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับนาข้าว  ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งเครือข่ายนี้เมื่อปีพ.ศ.2547  ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 17 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บังกลาเทศ จีน เนปาล อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้          ศรีลังกา  เวียดนาม  อียิปต์  ปากีสถาน  อินเดีย และไทย

เทคนิคการทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว หรือ AWD (Alternative Wetting and Drying) เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดน้ำในการทำนาที่หลาย ๆ ประเทศนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ สำหรับประเทศไทยบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัดเป็นหนึ่งในผู้นำ ที่ร่วมส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่มีอาชีพทำนานำไปปฏิบัติอย่างได้ผล จนเป็นที่แพร่หลายและทุกภาคส่วนให้การยอมรับ การทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวนั้นได้มีการศึกษาวิจัย  และพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาได้ถึงร้อยละ28  ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำนาแบบทั่วไป  ซึ่งโดยปกติจะใช้น้ำปริมาณ 1200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาแบบแกล้งข้าวจะใช้น้ำเพียง 860ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เท่านั้น นอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำแล้วยังช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยการใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลงจากไร่ละ ประมาณ 5600 บาท เหลือประมาณ 3400 บาท หรือราวร้อยละ 40 รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้น เพิ่มผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 1200 กิโลกรัม  เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นและที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้นเยาวชนรุ่นหลัง ๆ  จึงหันมาสนใจการทำนาซึ่งจะเป็นการรักษาพื้นที่ชลประทาน ให้คงที่เกิดความสามัคคีในชุมชนที่ไม่ต้องแย่งน้ำกันต่อไป

เทคนิคการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว

การทำนาแบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” (Alternate Wetting and Drying : AWD) หรือเรียกอีกอย่างว่า การทำนาแบบใช้น้ำน้อย คือการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรง โดยทั่วไปจะขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 เซนติเมตร ในช่วงหลังปักดำ จนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้องออกดอกจึงจะเพิ่มระดับน้ำในแปลงอยู่ที่ 7-10 เซนติเมตร  ช่วงที่ปล่อยให้ข้าวขาดน้ำหรือแกล้งข้าวมี 2 ช่วงคือ

ครั้งที่ 1 ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้น (อายุข้าว 35-45 วัน) เป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าระดับน้ำ ในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

ครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวแตกกอสูงสุด (อายุข้าว 60-65 วัน) เป็นเวลาอีก 14 วัน เช่นเดียวกัน หรือ จนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหงแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

*** หมายเหตุ         – วิธีการทำนาเปียกสลับแห้งนี้ไม่เหมาะกับดินทรายและดินเค็ม  

– ควรหลีกเลี่ยงช่วงข้าวตั้งท้อง อย่าปล่อยให้น้ำแห้ง

– ข้าวแต่ละพันธุ์มีอายุแตกต่างกันตามชนิดและพื้นที่ปลูก

การทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวส่งผลดีต่อข้าวดังนี้

1) ความชื้นที่โคนกอข้าวต่ำอุณหภูมิหน้าดินจะสูง ๆ ต่ำ ๆ ช่วยป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

2) ต้นข้าวไม่อวบน้ำ  ลำต้นแข็ง แตกกอดี  แตกรากใหม่มากขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหาร

3) ลดการหักล้มของต้นข้าว และช่วยประหยัดน้ำได้  30 – 50  เปอร์เซ็นต์

4) จุลินทรีย์สามารถใช้ออกซิเจน สำหรับการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

โดยทั่วไปการทำนาจะมีขั้นตอนอยู่ประมาณ 7-8 ขั้นตอน เริ่มจากการเตรียมดินไปจนถึงการดูแล รักษาต้นข้าวให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้

การเตรียมดิน : ลดการเผาตอซังและปรับปรุงคุณภาพดินด้วยปุ๋ยพืชสด โดยก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตให้หว่านปอเทืองในวันที่มีการเก็บเกี่ยว แล้วรถเกี่ยวจะกระจายฟาง เพื่อให้คลุมดินรักษาความชื้นไว้ และไม่ต้องทำการไถกลบเมล็ดปอเทืองก็จะงอกภายใน 3 วัน เมื่อปอเทืองออกดอก (50-60 วันหลังหว่าน) จึงทำการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดต่อไป การเตรียมดินเมื่อปอเทือง ออกดอกจะทำการไถกลบ หมักเทือกโดยใช้สารชีวภาพเร่งการย่อยสลายของปอเทือง ฟางข้าว และเศษวัชพืช โดยปกติฟางข้าวจะย่อยเองได้ 15-20 วัน แต่หากใช้สารชีวภาพช่วยเร่งจะย่อยได้ 7 วัน

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ : โดยทั่วไปการเตรียมเมล็ดพันธุ์คุณภาพประมาณ 10-20 กิโลกรัม/ไร่ แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโครเดอมาร์ นาน 24 ชั่วโมง บ่มเมล็ดพันธุ์ไว้ 1 วัน แล้วนำไปหว่าน

การหว่านเมล็ดพันธุ์ : ระบายน้ำออกให้หมด แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ด้วยเครื่องมือให้สม่ำเสมอ

1- อายุข้าวได้ 1 วัน ฉีดยาคุมวัชพืช    2- ถ้าพื้นที่ตรงไหนไม่เสมอ มีน้ำขังข้าวจะไม่งอกจึงใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา ใส่ทำให้ข้าวงอก ดีไม่ตาย    3- การผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์จะต้องไม่มีการซ่อมข้าวเพราะ จะทำให้การสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ไม่สม่ำเสมอ

การเพาะกล้า(นาดำ)   1- ควรเพาะกล้าก่อนปลูกไม่เกิน 20 วัน และเมื่อถอนกล้าไปปลูกรากข้าวจะต้องได้รับการ กระทบกระเทือนน้อย      2- แช่เมล็ดพันธุ์ นาน 12-24 ชั่วโมง ในน้ำอุ่น 35-40 องศาเซลเซียส จะดีที่สุดหรือตามแบบที่เคยทำมาหากมีปัญหาเรื่องบั่ว ขอแนะนำให้แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำสะเดา

การขนย้ายกล้า   1- ย้ายต้นอ่อนเมื่ออายุไม่เกิน 20 วัน หากปลูกต้นกล้าที่แก่กว่านี้การผลิตหน่อ หรือแตกหน่อจะลดลง     2- ควรถอนต้นกล้าเบาๆ เพื่อรบกวนต้นกล้าน้อยที่สุด คอยระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจาก เมล็ด และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง   3- ให้ขนย้ายต้นกล้าไปยังแปลงปลูกทันที แล้วปักดำไม่เกินครึ่งชั่วโมงหลังจากถอนต้นกล้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้รากต้นกล้าแห้ง   4-ให้ถอนต้นกล้าและขนย้ายอย่างเบามือ อย่าให้ช้ำ อย่าล้างราก อย่าทิ้งไว้กลางแดด เพราะต้นกล้าอ่อน ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากต้นกล้าได้รับการสัมผัสเบา ๆ การเติบโตจะไม่ชะงัก และใบจะไม่เหลือง

การดำนาหรือปักดำ  1- ปักดำต้นกล้าทีละต้นจะให้ผลดีที่สุด เพราะต้นข้าวจะแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดดกัน        2- ปลูกเป็นรูปตาราง 40×40 หรือ 33×33 หรือ 25×25 เซนติเมตร (ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง) เพื่อให้ต้นกล้าอยู่ห่างกัน ให้รากได้แผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น อีกทั้งยังสะดวกในการกำจัดวัชพืชระหว่างแถวและระหว่างต้น    3- การปลูกระยะ 40×40 เซนติเมตร จะปลูกได้เร็วกว่าเหมาะกับแปลงใหญ่ๆ ซึ่งง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และเน้นประหยัดเมล็ดพันธุ์   4- เผื่อต้นกล้าไว้ปักที่ขอบแปลง เอาไว้แทนต้นกล้าที่ตายหรือเสียหาย

การควบคุมน้ำในแปลงนา  :  การควบคุมน้ำในแปลงนา  

1- ขณะดำนาให้ใช้น้ำแต่น้อย โดยให้น้ำมากพอที่จะทำ ให้ดินเป็นโคลนเท่านั้น   

2- เมื่อข้าวเริ่มตั้งตัวหลังจากปักดำประมาณ 10 วัน เติมน้ำเข้านาให้ท่วมสูงจากดินไม่เกิน  5 เซนติเมตร

3- ขณะที่ข้าวแตกกอสามารถทำให้นาแห้งได้ 2 ครั้ง   · ครั้งที่ 1 ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้น (อายุข้าว 35-45 วัน) เป็นเวลา 14 วัน หรือ จนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา   · ครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวแตกกอสูงสุด (อายุข้าว 60-65 วัน) เป็นเวลาอีก 14 วัน เช่นเดียวกัน หรือจนกว่าระดับน้ำในแปลงนาจะลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร หรือดินในแปลงนาแตกระแหงแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา   

4- หลังจากหน้าดินแตก ก็ค่อยใส่ปุ๋ยลงไปในนา ปุ๋ยจะลงไปในรอยแตก ทำให้รากข้าวดูดซึม สารอาหารได้เต็มที่   

5- เมื่อข้าวเริ่มออกรวงปล่อยให้น้ำท่วม 7-10 เซนติเมตร **หากข้าวขาดน้ำในระยะนี้เมล็ดจะลีบ และผลผลิตลดลง   

6- ปล่อยน้ำออกจากนาก่อนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน 

*** ข้อเท็จจริง*** การปล่อยให้ผืนนาแห้งจนดินแตกในช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตนั้น ช่วยให้ข้าวได้รับแสงแดดอย่าง เพียงพอ รากได้รับออกซิเจนมากขึ้น มีการเกิดรากใหม่หาอาหารได้มากขึ้น ข้าวมีการแตกกอดี ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง มีไส้เดือนมาช่วยย่อยอินทรียวัตถุในนา

การดูแลรักษา

การกำจัดวัชพืช : ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง อาจใช้เครื่องทุ่นแรงที่ผลิตจากโรงงาน (Rotary Weeder) หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง หรือถอนด้วยมือก็ได้ ในการกำจัดวัชพืชต้องใช้เวลา และแรงงานมากพอสมควร แต่ในการกำจัดวัชพืชแต่ละครั้งช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่คุ้มกับการลงทุน เพราะทำให้อากาศเข้าไปในดินได้มากซึ่งเป็นเหตุให้รากข้าวได้รับ ออกซิเจนโดยตรง มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว

การควบคุมและกำจัดศัตรูพืช : การทำนาเปียกสลับแห้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงสมบูรณ์สามารถต้านโรคและศัตรูพืชได้ดีกว่านาน้ำขัง ทั่วไป วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีทางธรรมชาติมีดังนี้

1- แมลงและโรคบางชนิดใช้สารธรรมชาติ เช่นสะเดาป้องกันและกำจัดได้  2- ปู ให้ใช้เมล็ดมะขาม, ดอกทองกวาว, ยอดมันสำปะหลัง, กับดัก   3- หอยเชอรี่ใช้กับดักและสมุนไพรบางชนิดฉีดพ่น   4- การใช้แหนแดง เพื่อคลุมหน้าดินป้องกันวัชพืช เป็นปุ๋ยพืชสด ตรึงไนโตรเจนในอากาศและเป็นอาหารเป็ด    5- การเลี้ยงเป็ดในนาเพื่อให้กินแมลง วัชพืช หอยเชอรี่ รบกวนแหล่งที่อยู่แมลงศัตรูพืชในนา ย่ำหญ้า ( โดยปล่อยเป็ดเข้านาหลังปักดำแล้ว 4 สัปดาห์ )

การใช้สารชีวภัณฑ์ต้านโรคและแมลง   

1- ข้าวอายุ 1-20 วัน จะมีเพลี้ยไฟเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีด พ่นให้ทั่วแปลง  

2- ข้าวอายุ 20-40 วัน จะมีหนอนเป็นศัตรู  (ถ้ามี) ใช้เชื้อบีที อัตรา 50 ซีซี และผสมเชื้อราไตร โครเดอร์มา อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง    

3- ข้าวอายุ 50-90 วัน จะเป็นเชื้อรา  (ถ้ามี) ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง 

4- ข้าวอายุ 50-90 วัน จะมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นศัตรู (ถ้ามี) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย และเชื้อราเมตาไรเซียม อัตรา 1 ถุง/น้ำ 25 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

การให้ปุ๋ย :  ครั้งที่1  ข้าวอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ สูตร 18-46-0 จำนวน 8 กิโลกรัม/ไร่ และสูตร 0-0-60 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่    

ครั้งที่2  ข้าวอายุ 50-55 วันแต่ที่สำคัญต้องนำต้นที่สมบูรณ์ที่สุดมาผ่าต้นดูถ้าในโคน ต้นคล้ายขนนกแปลว่าข้าวเริ่มสร้างรวง ให้ใส่ปุ๋ยได้ทันทีเพราะเป็นระยะที่เราสามารถเพิ่มปริมาณเมล็ด ของข้าวในแต่ละรวงได้ แต่ถ้าดูที่อายุข้าวอาจจะเป็นการใส่ปุ๋ยไม่ตรงช่วง เพราะการฉีดสารกำจัดวัชพืชและการให้น้ำแต่ละครั้งทำให้ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงการออกรวง และเพิ่มปริมาณผลผลิตของข้าวแต่ละฤดูกาลได้ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่  สูตร 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่  สูตร 18-46-0 จำนวน 8 กิโลกรัม/ไร่ และ สูตร 0-0-60 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่  

ครั้งที่3 ให้ดูข้าวมีความสมบูรณ์แค่ไหนถ้าไม่สมบูรณ์ให้ใส่ สูตร 46-0-0 ประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ หรือตามความเหมาะสม *** หมายเหตุ การฉีดสารป้องกันกำจัดโรคแมลงจะต้องสำรวจระบบนิเวศก่อนทุกครั้ง ถ้าไม่ถึงขั้นระบาดก็ไม่ต้องฉีด การใช้สารชีวภัณฑ์จะฉีดเวลาตอนเย็น

 

วางแผนการดำเนินการ : วิธีการทำนาแกล้งข้าว หลังจากการปักดำจะทำการขังน้ำในแปลงนาที่ระดับ 5 เซนติเมตร  เหนือผิวดิน และทำการปล่อยให้น้ำในแปลงแห้ง จำนวน 2 ครั้ง

ครั้งแรกหลังปักดำเมื่อต้นข้าวอายุ 35-45 วันจะหยุดส่งน้ำเข้าแปลง และปล่อยให้น้ำแห้งจนระดับน้ำแห้งต่ำกว่าผิวดิน 15 เซนติเมตร หรือไม่ให้น้ำจนครบจำนวน 14 วัน แล้วจึงส่งน้ำกลับมาที่ระดับ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดิน                                                ครั้งที่ 2 เมื่อต้นข้าวอายุ 55-65 วัน จะปล่อยให้น้ำแห้งต่ำกว่าผิวดิน 15 เซนติเมตร หรือไม่ให้น้ำจนครบ 14 วัน แล้วจึงส่งน้ำกลับมาที่ระดับ 5 เซนติเมตรเหนือผิวดินอีกครั้ง และเมื่อถึงระยะที่ข้าวออกดอกประมาณร้อยละ75 ของแปลงจะส่งน้ำเพื่อให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงขึ้นอยู่ที่ ระดับ 7-10 เซนติเมตรเหนือผิวดิน และเมื่อข้าวเริ่มสุกจะหยุดส่งน้ำ และระบายน้ำออกจากแปลงก่อนเก็บ เกี่ยวประมาณ 15 วัน

วิธีการให้น้ำแปลงเพาะปลูก

: จัดทำกระบอกวัดระดับน้ำหรือท่อแกล้งข้าวโดยใช้ท่อ PVC อย่างหนา ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว สูง 30 เซนติเมตร เจาะรูโดยรอบ 40รู โดยเว้นระยะ 5 เซนติเมตรที่ปลายขอบด้านบน และช่วงความลึก เมื่อนำไปฝังลงไปในแปลงนา  กดให้ท่อจมลงไปในดินให้เสมอกับส่วนที่เจาะรู หรือประมาณ 25 เซนติเมตร โดยจะเหลือส่วนที่ไม่เจาะรูอยู่เหนือผิวดิน 5 เซนติเมตร

 

การรวบรวมข้อมูล

1- บันทึกจำนวนครั้งที่ส่งน้ำ ระดับหรือปริมาณน้ำที่ส่งและระบายน้ำทุกครั้ง

2- บันทึกข้อมูล วัน  ชื่อสารและอัตราการใช้สารเคมี หรือชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ และปริมาณการใช้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และสารต่าง ๆ ฉีดพ่นทางใบ และอื่น ๆ

3- วัดองค์ประกอบผลผลิตดังนี้ จำนวนต้นต่อกอ  ความสูงของต้นข้าว  น้ำหนักผลผลิตจากตัวอย่างกอข้าว จำนวน 10 จุด น้ำหนักข้าวทั้งหมดหลังเก็บเกี่ยวทั้งแปลง

4- ทำบัญชีบันทึกต้นทุนการผลิตตลอดการเพาะปลูก

   อ้างอิง   :   กรมการข้าว , สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน

   คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ไร่เทพกับนาข้าว

การใช้ดินเทพ

– ช่วงเตรียมแปลง ทำเทือก    :    ดินเทพ 50 ซีซีผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ แล้วทำการปั่นดิน ลูบเทือก

การใช้ไร่เทพ และโล่เขียว

– ระยะต้นกล้า                   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  200 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะแตกกอ                   :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  150-200 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะสร้างรวงอ่อน          :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100-150 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะข้าวตั้งท้อง             :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ  100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

– ระยะก่อนเก็บเกี่ยว         :    โล่เขียว 100 ซีซี + ไร่เทพ 1 ซอง ผสมน้ำ   100 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  10-15 วัน

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

 

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

ปริมาณการใช้น้ำ 450 – 500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตร / ไร่ / ฤดูกาลผลผลิต ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม เพื่อไม่ให้กระทบแล้งในช่วงออกดอก ผสมเกสร ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี

การเลือกพื้นที่

เป็นพื้นที่เขตชลประทาน หรือพื้นที่สามารถให้น้ำได้ตลอดระยะเวลาปลูก ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินร่วนทราย ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้สำนักงานเกษตรอำเภอตรวจสอบชุดดิน / แผนที่ดินว่ามีความเหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือไม่ และดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 5.5 การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาล 3 หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากดินไว้ ประมาณ 5-7 วัน จึงไถแปรพร้อมคราด 2-3 ครั้ง เพื่อย่อยดินและให้ดินเก็บความชื้น ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่ และมีดินเป็นดินเหนียวควรทำร่องน้ำระหว่างแปลงเพื่อสะดวกต่อการส่งน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากแปลง ความกว้างของร่องน้ำประมาณ 0.75 – 1 เมตร

การเตรียมพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์สุวรรณ 4452 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทั้งพันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน
การปลูก ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวน 10,666 – 11,428 ต้นต่อไร่ และควรปลูกซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ยเคมี รองพื้นใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15 , 16-16-8 , 18-8-8 , 27-12-6 อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับดายหญ้าพูนโคนและให้น้ำไปตามร่อง
ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 7-8 สัปดาห์หลังปลูก เป็นระยะเริ่มออกไหม และช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้น และธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยข้างร่องหลังจากให้น้ำแล้ว

การใส่ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ตารางการใส่ปุ๋ยปลูกข้าวโพดหวานตามลักษณะดิน

1. ดินเหนียว

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 16-20-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– พร้อมดายหญ้า ใส่ปุ๋ย และใช้ดินกลบ

2. ดินร่วนปนทราย

– หลังปลูก 14 วัน สูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย 25-30 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน สูตร 46-0-0 อัตราปุ๋ย25-30 กก. / ไร่

3. ดินทราย

– หลังปลูก 14 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 50 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 25-30 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80 กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่
– ข้าวโพดอายุ 40 -45 วัน 21-0-0 อัตราปุ๋ย 80กก. / ไร่ หรือ ยูเรีย อัตราปุ๋ย 44 กก. / ไร่

การให้น้ำ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-500 มิลลิเมตร หรือ 720 – 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้ำครั้งต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวชั่วคราวของใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์รดน้ำแปลงข้าวโพด ควรให้แบบทั่วถึงทั้งแปลง หรือแบบปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้น


การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท อายุ 110-120 วันขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ หรือสังเกตจากใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวทั้งแปลง และควรตาก 1-2 แดด ก่อนกะเทาะเมล็ดจำหน่าย วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักร
ข้อจำกัดของการปลูกข้าวโพดสัตว์หลังนา
หลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด – ดินกรดถึงกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5)
หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำและที่น้ำท่วมขัง
หลีกเลี่ยงการปลูกล่าช้ากว่าเดือนธันวาคม

 


ข้อควรระวังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา

หนู จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูแล้งมักเข้ากัดกินทำลายลำต้นและฝักข้าวโพด เนื่องจากไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมกันกำจัดหนูในพื้นที่พร้อม ๆ กันเป็นบริเวณกว้างก่อนการปลูกข้าวโพด วิธีการป้องกำจัดโดยกำจัดวัชพืชบนคันนา หรือใช้วิธีกลร่วมกับการใช้สารพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งออกฤทธิ์เร็ว สลับกับโฟลคูมาเฟน เหยื่อพิษสำเร็จรูปประเภทออกฤทธิ์ช้า ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา
การตลาด เกษตรกรที่ผลิตส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ร้อยละ 90 ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์

**คำแนะนำเพิ่มเติม

สามารถใช้ไร่เทพอัตรา 1 ซอง ผสมน้ำ 100-200 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองในพืช จะมีสารจากธรรมชาติเข้าไปทำให้ระบบรากของพืชงอก และขยายลงดินได้ดีกว่าปกติ ส่งผลให้พืชโตเร็ว รากยาว การดูดธาตุอาหารในดินดีกว่าปกติ เพิ่มผลผลิต พืชโตเร็ว เพิ่มผล เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำตาล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ใช้ได้กับพืชทุกชนิด และยังมีสารพิเศษที่ช่วยให้พืชสร้างสารสังเคราะห์แสง ใบพืชจะเขียวดำ ไม่ใช่เขียวอ่อนเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้สารตระกูลอมิโนจะไปช่วยให้เข้าสู่สภาวะสมดุลที่ควรจะเป็น เช่น ในพืชผักกินใบ จะมีใบใหญ่หนา ได้น้ำหนักดี ส่วนในผลไม้ ไม้ดอก จะทำให้เกิดการแตกดอกใหม่ อีกทั้งยังทำให้พืชต้านทานโรคและแมลงได้ดี และไร่เทพ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิด

เคล็ดลับการใช้ไร่เทพกับข้าวโพด

– ระยะหลังงอก, ต้นอ่อน (7-14 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 150 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะเจริญเติบโต (25-30 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะออกดอกหัว (30-45 วัน) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
– ระยะฝักอ่อน-ก่อนเก็บเกี่ยว (45 วันขึ้นไป) ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
กลุ่มส่งเสริมพืชไร่อุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

การใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี

ปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้นพืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ10 ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมด จะทำปฏิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก พืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งปุ๋ยชนิดเดียวกันสูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิเช่นปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

(1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้องการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้ แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า “เกรด ปุ๋ย” หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O)สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ย เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามี อยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ มีอยู่ 5 กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม และเป็นที่ ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้ เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหาร ในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดิน นาในภาคกลาง ซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น ปุ๋ยสูตร 18-46-0 , 28-28-0 , 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น
สำหรับ “เรโช” ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสูตรปุ๋ย เรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อย ๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ของสูตรปุ๋ยนั้น ๆ เช่น 16-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8
20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหาร ตลอดด้วย 5
นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกัน ที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก 30 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก 60 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่า เป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดัง นั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา 50 กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะ ต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง 25 กก. / ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน
ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง ก็จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่ง และแต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน ส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณ และสัดส่วน เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้น สามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมี
ปุ๋ยที่มีเรโชของ N สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ P และ K มักจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้น เร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบ หรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรง ส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย ระดับความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสาน และภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น

(2) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโต และให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่าง ๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

(3) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ย จะช่วยยกระดับธาตุอาหาร ที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุอาหารนั้น ๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วง จังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ
(1) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก และการเติบโตในระยะ 30-45 วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่
(2) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอ และระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นระยะที่มีอายุ 45 – 60 วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก และ
(3) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้ จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืช ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
3.1 การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
3.2 การใส่ครั้งแรกคือ ใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทสเซียมนั้น จะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
3.3 การใส่ครั้งที่สอง ควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมาก ๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(4) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่ เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก เพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเตรท จะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทัน ก็จะสูญเสียไปหมด และไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไป โดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้ จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูก ชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดี จะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยา เพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเตรท (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก
ฟอสฟอรัสในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่าย แต่เมื่ออยู่ในดิน จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่าย ก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิม ก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1-5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืช จึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุด เพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดิน จะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไป ได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจน ที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่า ใส่บนผิวดิน
ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟต แต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ย ละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากมีประจุบวก ซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม จึงสามารถใส่บนผิวดิน หรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจน และในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็ จะน้อยกว่าด้วย
วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีที่สุด คือ พืชใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ลดการสูญเสีย ให้ใช้คาถา 4 ถูก คือ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี
ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร
หมายถึง ใส่ปุ๋ยสูตรเหมาะสม มีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และภูมิอากาศ
เช่น ปลูกข้าวในนาดินทรายแต่จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ที่ใช้กับนาดินเหนียว แบบนี้เรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตร เพราะนาดินทรายควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หรือ 16-16-8 จะถูกสูตรมากกว่า และถ้าจะให้ใส่ปุ๋ยถูกสูตรที่สุดควรต้องวิเคราะห์ดินแล้วคำนวณหาสูตรปุ๋ยสั่งตัดรายแปลงก็จะยิ่งได้ปุ๋ยที่ถูกสูตรมากยิ่งขึ้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอหรือพอดีกับความต้องการของพืช เช่น ปุ๋ยสั่งตัดสำหรับมันสำปะหลังให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-20 จำนวน 70 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าใส่ 100 กิโลกรัมก็มากเกินไปเกิดความสูญเสียไป 30 กิโลกรัมโดยไม่ได้ผลผลิตเพิ่ม หรือถ้าใส่เพียง 40 กิโลกรัมต่อไร่ก็น้อยเกินไป ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น
ใส่ปุ๋ยให้ถูกเวลา
หมายถึง ใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ถ้าจะใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลโต หรือเพิ่มน้ำหนัก ก็ต้องใส่ปุ๋ยก่อนช่วงที่พืชจะต้องใช้งานอย่างน้อย 30 วัน เพราะโพแทสเซียมเป็นธาตุเคลื่อนย้ายช้า ถ้าไปใส่ตอนที่ผลโตแล้วเรียกว่าใส่ปุ๋ยไม่ถูกเวลา เพราะกว่าปุ๋ยจะถูกลำเลียงขึ้นไปถึงใบ ผลก็แก่ได้เวลาเก็บไปแล้ว ปุ๋ยที่ใส่จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย หรือใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังก็ต้องใส่ในช่วงอายุ 45-90 วัน เพราะระบบรากสมบูรณ์ดีที่สุด ถ้าไปใส่ตอน 8 เดือนเพื่อระเบิดหัวจะไม่ได้ผลเพราะมันสำปะหลังอายุเกิน 4 เดือนเหลือรากน้อยมาก เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจึงมักสูญเสียไปมากกว่าจะโดดดูดมาใช้
ใส่ปุ๋ยให้ถูกวิธี
เช่น เวลาจะใส่ปุ๋ยนาข้าวก็อย่าใส่ตอนที่ระดับน้ำลึกนัก ปุ๋ยจะละลายหายไปเสียหมด ให้ใส่ตอนที่มีระดับน้ำประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือใส่ปุ๋ยยางพารา ปาล์มน้ำมัน หรือไม้ผล ก็ให้ใส่ที่แนวรัศมีพุ่มใบเพราะรากฝอยพืชอยู่บริเวณนั้น ไม่ใช่ใส่จนชิดโคนต้นที่มีแต่รากฝอยใหญ่ๆ ที่ดูดธาตุอาหารไม่ได้ เป็นต้น และดีที่สุดคือใส่ปุ๋ยแล้วควรกลบเพื่อลดการสูญเสีย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และ NPK Thailand

*** แนะนำการใช้ไร่เทพและดินเทพในนาข้าว ***


-ระยะต้นกล้า ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 


-ระยะแตกกอ ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะสร้างรวงสร้างช่อดอก ใช้ไร่เทพ 1ซอง+ดินเทพ 5-10ซีซี ผสมน้ำ 100ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทุก 10-15 วัน

 

-ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ใช้ไร่เทพ 1ซอง + ดินเทพ 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 10-15 วัน

*** วิธีการใช้ดินเทพช่วงเตรียมดิน ***
– ช่วงเตรียมดินก่อนปลูกพืช ใช้ดินเทพ 40 – 50 ซีซี ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นลงดินให้ทั่วแปลง 1 ไร่
ดินเทพ เป็นสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในโครงสร้างที่ลึกกว่าปกติของดิน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดสภาพความเป็นกรดของดิน ปรับโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยเพิ่มออกซิเจน และการแทรกซึมของน้ำสู่รากพืช ช่วยเพิ่มค่า Oganic metter ในดิน และสามารถใช้เป็นสารจับใบ ช่วยยึดเกาะใบพืช ช่วยทำให้น้ำแผ่กระจาย ช่วยจับแร่ธาตุทำให้ละอองน้ำยากระจายทั่วต้นพืชได้ดีขึ้น

 

.
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สารที่เป็นส่วนผสมสำคัญ
1. สารฮิวมิค (Humus หรือ Humic Substance )
2. ฟูลวิค แอซิด (Fulvic Acid)
3. อะมิโนจากสาหร่ายทะเล
4. อะมิโนจากเลือดปลา
5. สารพิเศษจากอิสราเอล
6. สารในกลุ่มอาหารพืชอื่นๆ
😊ไร่เทพ คุณภาพขั้นเทพ
สอบถามข้อมูล-เทคนิคการปลูกพืชชนิดต่างๆ เรามีทีมส่งเสริมการขายที่เชี่ยวชาญ พร้อมตอบคำถามเกษตรกรตลอดเวลา
🌾👀🌾🍅🍆🌽🍄🌰 🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐
—————————-
Tel. : 098-280-8200
—————————-

เชื้อราไมคอร์ไรซา ต่อแขนขาให้พืชยืดยาว

รู้หรือไม่ “ไมคอร์ไรซา” มันช่วยพืชได้เยอะมากเลย เช่นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุที่ดูดซึมยากๆ เช่นฟอสฟอรัส ดังนั้นก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า แล้วก็ใช้ร่วมกับสารเคมีทางการเกษตรบางชนิดด้วยเพราะว่ามันมีความทนทาน

.

“ไมคอร์ไรซา” เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในรากโดยไม่ทำร้ายพืช โดยสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่กันแบบพึงพาอาศัย ไมคอร์ไรซาช่วยดูดซึมสารอาหาร ส่วนพืชก็จะสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล ไปให้ไมคอร์ไรซ่าเจริญเติบโต

.

สามรถไปตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ได้

เช่น ไรโซเบียม

นอกจากนี้ เรายังรวมรวมงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับ ไมคอร์ไรซา

ไว้ดังต่อไปนี้

การจำแนกและคัดเลือกราไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการงอกของกล้วยไม้

การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี

การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์

ถั่วเหลืองฝักสด ปลูกทดแทนข้าวนาปรัง

ในขณะที่ดอกเบี้ย จากหนี้เก่าของค่าปุ๋ยจากการปลูกข้าวรอบที่แล้ว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าข้าวที่ฉีดไร่เทพ ชาวนาก็ต้องมาปวดหัวอีกรอบว่า ข้าวนาปรังครั้งนี้เอายังไงดี ครั้นจะลงทุนปลูกข้าวอีกทีก็รู้สึกเข็ดขยาด ครั้นจะปล่อยทิ้งให้ที่นาว่างเปล่า ก็เสียโอกาสโดยใช่เหตุ อย่ากระนั้นเลย วันนี้ฤทธิรอน ของอาสาหาข้อมูลมาแบ่งบันกับพี่น้องชาวนา ให้หันมาปลูก ถั่วเหลืองฝักสดแทนการปลูกข้าวนาปรังกันครับ

เก็บเกี่ยวไว (สั้นกว่าเท่าตัว) ใช้น้ำน้อย (กว่า 5 เท่า)

ถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) เป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวเพียง 68-70 วัน ในขณะที่ข้าวนาปรังมีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ต่างกันเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เพียง 300 ลบ.ม ต่อไร่ น้อยกว่าข้าวนาถึง 5 เท่า คือ 1500 ลบ.ม. เหมาะมากสำหรับช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

แก้ดินเสื่อม เสริมไนโตเจน

การทำนาอย่างต่อเนื่องโดยปีหนึ่ง 2-3 ครั้งนั้น ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม การปลูกพืชหมุนเวียน จึงเป็นทางออก นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วนั้นยังมีจุลินทรีย์ในปมราก (ไรโซเบียม) ช่วยตรึงไนโตเจนลงสู่พื้นดิน และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถไถ่กลบ กลายเป็นปุ๋ยพืชสด  ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดินอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดสนใจวิธีปลูกถั่วเหลืองฝักสดโดยละเอียดสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่:

เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 50 โดย ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/soybean.pdf

 

นอกจากนี้ยังสามารถ รับชมข้อมูลการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ตามลิ้งนี้

การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก

พันธุ์ข้าวต้านหนาวกข57

ชื่อพันธุ์: กข 57 ปทุมธานี 200 (Pathum Thani 200)
🌾ชนิด : ข้าวเจ้า
🌾คู่ผสม : ผสมพันธุ์ระหว่าง สุพรรณบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกะโดสีน้ำตาล กับ IR64
🌾ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง มุมปลายใบธงตั้งตรง
มุมใบธงตั้งตรง รวงยาวแน่นปานกลาง คอรวงโผล่เล็กน้อย สามารถลงปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรังอายุการเก็บเกี่ยว 115 วัน (นาดำ) 105-110 วัน (นาหว่าน)ลำต้นสูงประมาณ 115-120 เซนติเมตร
🌾ลักษณะเด่น : ลำต้นแข็งต้านทานเพลี้ยและบั่วได้ดี รวงยาวผลผลิตดี ชอบอากาศหนาวเย็น เหมาะสำหรับลงปลูกในฤดูหนาว ลงได้ทั้งสภาพพื้นนาที่เป็นดินเหนียว และดินทราย
🌾ผลผลิต : ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร
🌾ประวัติพันธุ์ –
ผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในปี 2537 จากนั้นนำไปปลูกคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จนได้สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ปลูกศึกษาพันธุ์และนำเช้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เปรียบเทียบและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงฤดูนาปลัง 2548 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงได้นำสายพันธ์ที่อยู่ในระหว่างการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีทั้งหมดจำนวน 140 สายพันธุ์ไปทดลองซ้ำปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเรือนทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พบว่าสายพันธุ์นี้เป็นเพียง 1 ใน 2 สายพันธุ์ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายในการทดลองคราวนั้นทั้งหมด 140 สายพันธุ์ จึงได้ถอนต้นกล้าของสายพันธุ์นี้จากกระบะทดสอบแมลงไปปักดำไว้ในกระถางแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดแบบแยกรวง ในฤดูนาปี 2548 แบ่งเมล็ดจากแต่ละรวงส่วนหนึ่งนำไปทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอีกครั้งส่วนเมล็ดที่เหลือนำไปปลูกในแปลงทดลองโดยแต่ละรวงให้รหัสสายพันธุ์เดียวกัน พบว่ามี 2 สายพันธุ์ ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับ MR-R คือ SPR94007 -27-2-9-3-1 และ SPR94007-27-2-9-3-2 จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ จากแปลงทดลองนำไปปลูกขยายพันธุ์และศึกษาลักษณะทางเกษตรในฤดูนาปรัง 2549 ถึงฤดูนาปี 2550 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์ SPR94007-27-2-9-3-2 เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีในฤดูนาปี 2550 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีตั้งแต่นาปี 2551 ถึงฤดูนาปี 2553 เปรียบเทียบผลผลิตในราษฎร์ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2554 ถึงฤดูนาปรัง 2555 ในขณะเดียวกันได้ทำการทดสอบการตอบสอนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และทดสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและปลูกทดสอบเสถียรภาพผลผลิต
🌾การรับรองพันธุ์: คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมการวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557
เครดิต : กองวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว